Categories
รายงานพิเศษ

สนช. ฟื้น กม. บัดนี้ –   ตั้งกระทรวงอุดมศึกษา

สนช.

“สนช. ฟื้น กม.”

ลิงค์: https://iqepi.com/31010/ หรือ
เรื่อง: ตั้งกระทรวงอุดมศึกษา
**ไม่ต้องผ่านภาค ก. ก.พ.**


เมื่อวันที่ 5 เมษายน นายสมคิด เลิศไพฑูรย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) ในฐานะสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ คณะอนุกรรมาธิการ (กมธ.) การอุดมศึกษาและ อาชีวศึกษาของ สนช. ที่มี นพ.เฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ อธิการบดีมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) เป็นประธาน ได้นำร่าง พ.ร.บ.การจัดตั้งกระทรวงการอุดมศึกษา ที่เสนอโดยที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) มาพิจารณา จากเดิมที่ ทปอ.เคยเสนอผ่านกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) แต่ต้องชะลอไป เพราะรัฐบาลมี นโยบายไม่ให้แต่ละกระทรวงยุ่งเกี่ยวกับการปรับโครงสร้าง จนกระทบงานสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาด้านต่างๆ โดยขั้นตอนต่อไปจะนำร่างกฎหมายดังกล่าวเข้าหารือ ในที่ประชุม กมธ.การศึกษาและกีฬา จากนั้นจะรวบรวมรายชื่อ สนช. 25 รายชื่อ เสนอให้ประธาน สนช.บรรจุเรื่องดังกล่าวในวาระการประชุม สนช.เพื่อพิจารณาต่อไป

  Youtube: iqepin LINE it! เพิ่มเพื่อน  

นายสมคิดกล่าวต่อว่า การที่คณะ อนุ กมธ.การอุดม ศึกษาฯนำร่าง พ.ร.บ. ดังกล่าวมาพิจารณา ไม่ถือว่าเป็นการขัดต่อนโยบายรัฐบาล เพราะ สนช.มีหน้าที่ในทางนิติบัญญัติและมีสิทธิเสนอกฎหมายเข้าสู่การพิจารณาได้ ซึ่งหากที่ประชุม สนช.ให้ความเห็นชอบ รัฐบาลจะมีทางเลือก 2 ทาง คือ เห็นชอบให้ สนช.เดินหน้าผลักดันกฎหมายฉบับดังกล่าวต่อไป หรือรัฐบาลขอนำร่างกลับไปพิจารณาเอง ซึ่งหากรัฐบาลไม่เห็นชอบตามที่ สนช.เสนอ ก็จะต้องมี คำตอบให้ให้ชัดเจนว่าทำไม่ถึงไม่เห็นชอบ ขณะเดียวกันการนำร่าง พ.ร.บ.การจัดตั้งกระทรวงการอุดมศึกษาขึ้นมาพิจารณาอีกครั้ง ก็จะทำให้สังคมเกิดความสนใจและเปรียบเทียบข้อดีข้อเสียระหว่างการแยกอุดมศึกษาออกจาก ศธ. และการรวมอุดมศึกษาไว้อยู่ภายใต้การบริหารงานของ ศธ. ถือเป็นการแสดงเจตนารมณ์ให้รัฐบาลเห็นว่าเรื่องนี้มีความสำคัญที่ควรผลักดันต่อไป

“ที่ผ่านมามหาวิทยาลัยต่างๆได้หารือและเห็นว่าการปรับโครงสร้างศธ.ตั้งแต่ปี2545ทำให้อุดมศึกษากลายเป็นเพียงหน่วยงานเล็กๆ ในหน่วยงานใหญ่ ได้รับการดูแลน้อยกว่าตอนที่เป็นทบวงมหาวิทยาลัย เพราะ ศธ.ต้องให้ความสำคัญกับการศึกษาขั้นพื้นฐาน มากกว่า อีกทั้งสายการบังคับบัญชาค่อนข้างมาก ทำให้เมื่อเสนอแนวทางการพัฒนามักจะเกิดความล่าช้า ไม่คล่องตัว แต่หากแยกอุดมศึกษาออกจาก ศธ. จะทำให้การทำงานมีความรวดเร็วขึ้น ส่งผลดีต่อการพัฒนาอุดมศึกษาในระยะยาว” นายสมคิดกล่าว

ที่มา: http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1428281508

Comments

comments