Categories
ข้อมูลเตรียมสอบงานราชการ

Digital Economy เศรษฐกิจดิจิทัล

Digital

“Digital Economy”

ลิงค์: https://iqepi.com/22670/
เรื่อง: เศรษฐกิจดิจิทัล


เศรษฐกิจดิจิตอล (digital economy)

ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงไป อย่างรวดเร็วแบบก้าวกระโดดของสังคมโลก โดยเฉพาะเมื่อเข้าสู่ยุคดิจิตอล การจะใช้ระบบเดิมๆ โดยไม่ปรับตัวตามกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลกก็คงเป็นไปไม่ได้ แม้ว่าปัจจุบันหลายประเทศผ่านช่วงเวลานี้ไปนานแล้ว แต่สำหรับประเทศไทยเพิ่งจะเริ่มขยับ

นอกเหนือจากการป้องกันการจะเป็นคำถามในหัวข้อเหตุการณ์ปัจจุบัน บางทีเรื่อง Digital Economy อาจจะสร้างแรงบันดาลใจให้กับบางท่าน เพราะไม่ใช่เรื่องไกลตัวและขอบเขตของระบบนี้ครอบคลุมไปทุกส่วนทั้งภาครัฐ เอกชน ไม่เฉพาะธุรกิจขนาดใหญ่ เท่านั้น แต่ครอบคลุมถึงธุรกิจขนาดเล็ก และประชาชนทั่วไป ในอนาคต และไม่ว่าจะยินยอมพร้อมใจหรือไม่ ช้าเร็วก็หนีไม่พ้น Digital Economy ในระหว่างที่ประเทศไทยกำลังวางโครงสร้างพัฒนาส่วนต่างๆ เพื่อเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ระบบ Digital Economy การทำความคุ้นเคยกันเสียแต่เนิ่นๆ ย่อมดีกว่าเพราะเรื่องของอนาคตยิ่งช้ายิ่งเสียโอกาส

ความหมายของ Digital Economy

เมื่อ เอ่ยถึง “เศรษฐกิจดิจิตอล” e-commerce หรือการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือการทำธุรกรรมผา่นสื่ออิเล็กทรอนิกส์ทุกๆ ช่องทาง น่าจะเป็นความคิดแรกของหลายๆ ท่าน ซึ่งจริงๆ แล้ว e-commerce เป็นเพียงส่วนหนึ่งของ Digital Economy เท่านั้น

“Digital Economy” หมายถึง เศรษฐกิจที่กิจกรรมทางเศรษฐกิจอาศัยเทคโนโลยีสารสนเทศหรือ IT ซึ่งมีอินเทอร์เน็ตเป็นหลัก เป็นปัจจัยสำคัญ หรือ ระบบเศรษฐกิจที่ยืนบนฐานความรู้ อันเป็นผลผลิตจากการค้าเสรีและการปฏิวัติเทคโนโลยีสารสนเทศในช่วงที่ผ่านมา โดยระบบเศรษฐกิจใหม่ เน้นเทคโนโลยีกับความรู้ของบุคคล สามารถผลิตสินค้ามีคุณภาพกว่าระบบเศรษฐกิจปัจจุบัน ที่มุ่งลดต้นทุนเป็นสำคัญ

ผู้บัญญัติศัพท์นี้ขึ้นเป็นคนแรกคือ Don Tapscott ผู้เขียนหนังสือชื่อ “The Digital Economy : Promise and Peril in the Age of Networked Intelligence” ในปี 1995

Digital Economy มีชื่ออื่นอีกเช่น The Internet Economy / The New Economy หรือ Web Economy อย่างไรก็ดีชื่อที่คนนิยมที่สุดคือ Digital Economy

Digital Technology เป็นฐานสำคัญของ IT ซึ่งอาศัยการใช้เลข 0 และ 1 ซึ่งอยู่ในลักษณะของ Binary System (ถ้าเป็น Decimal System ก็จะเป็นฐาน 10 กล่าวคือประกอบด้วยเลข 0 ถึง 9) ในการส่งสัญญาณ ซึ่งการส่งสัญญาณ 0 และ 1 ส่วนใหญ่กระทำผ่านใยแก้วนำแสง (Optic Fiber)

IT คือ การผนวกเทคโนโลยี คอมพิวเตอร์เข้ากับเทคโนโลยีโทรคมนาคม สังคมที่มีโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคม (เช่นเครือข่ายใยแก้วนำแสงเป็นตัวกลางนำเสียง ข้อมูลและภาพสู่โทรศัพท์และอุปกรณ์ไอทีทั้งหลาย / ชุมสาย / เสาส่งสัญญาณ / สถานีรีเลย์สัญญาณ ฯลฯ) ที่มีคุณภาพและครอบคลุมกว้างขวาง มีการบริหารจัดการเครือข่ายที่ดี ตลอดจนมีการประยุกต์ซอฟต์แวร์ และมีกลไกในการประสานการใช้โครงสร้างพื้นฐานที่ดี จะเป็นกุญแจสำคัญสู่การเป็น Digital Economy

ในช่วงปลายปี 2557 เศรษฐกิจดิจิตอล (digital economy)ได้รับความสนใจและกล่าวถึงมากขึ้นไม่ว่าจากสื่อหรือบุคคลในแวดวง ต่างๆ เมื่อ “ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล” รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจ ออกมาระบุว่า รัฐบาลมีแผนที่จะผลักดันการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ ให้อยู่บนเศรษฐกิจฐานดิจิตอล ให้เป็นรูปธรรมภายในระยะเวลา 1 ปี ทำให้ต้องมีการปรับโครงสร้างใหม่ของกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) และกระทรวง กรม หรือส่วนราชการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับดิจิตอลอย่าง และทำงานทับซ้อนกัน และยังต้องปรับแก้กฎหมายหลายฉบับ เช่น

  • พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550
  • พ.ร.บ.ประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ.2551
  • พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553
  • พ.ร.บ.การประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2544
  • พ.ร.บ.ธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์
  • พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
  • การตั้ง พ.ร.บ.เกี่ยวกับการโอนย้ายตั้งกรม กอง ใหม่ในกระทรวงและต้องแก้ พ.ร.ฎ. ของซิป้า

แนวคิดหลักของนโยบายนี้คือ ต้องนำ ดิจิตอล เข้าไปเสริมศักยภาพการทำงานของทุกกระทรวงที่มีดิจิตอลเข้าไปเกี่ยวข้องตลอด จนต้องนำไปเป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนภาคอุตสาหกรรมโดยเฉพาะเอสเอ็มอี ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมหลักของประเทศให้สามารถแข่งขันกับนานาประเทศได้

ล่าสุดกลางเดือน ธ.ค. 57 ครม. มีมติเห็นชอบให้เปลี่ยนชื่อ “กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือ ICT” เป็น..

“กระทรวงดิจิตอลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม”

เพื่อให้ครอบคลุมการทำงานในการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิตอล สำหรับอำนาจและ หน้าที่ของ “คณะกรรมการดิจิตอลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ” มีเป้าหมายเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจดิจิตอล 5 ด้านที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

แนวทางพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัล 5 ด้าน (Digital Economy Initiative)

  1. Hard Infrastructure ด้านโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีและการสื่อสาร เช่น การสร้างเครือข่ายอินเทอร์เน็ตให้มีความเสถียร ทั้งการเชื่อมต่อในประเทศและต่างประเทศ สัญญาณต้องไม่สะดุด มีดาต้า เซ็นเตอร์ เพื่อรองรับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง
  2. Soft Infrastructure ด้านโครงสร้างพื้นฐานด้านมาตรฐาน ความมั่นคง ความปลอดภัยสารสนเทศและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อที่จะทำให้เกิดความน่าเชื่อถือในธุรกรรมที่จะทำผ่านออนไลน์ สร้างความเชื่อมั่นในการทำธุรกิจ เช่น การทำระบบยืนยันตัวบุคคล เพื่อให้ผู้ทำธุรกิจรู้ว่าใครเป็นใครในโลกไซเบอร์ จะต้องมีการดูแลความมั่นคง ปลอดภัย ให้กับระบบที่ใช้ในการทำธุรกิจ เอกสารอิเล็กทรอนิกส์ที่กฎหมายรองรับ จะฟ้องร้องกันได้ทางศาล ศาลจะรับฟัง
  3. Service Infrastructure ด้านโครงสร้างบริการ ส่งเสริมการใช้ในระดับ Application การสร้างแพลตฟอร์มสำหรับการทำธุรกรรมและการสร้างธุรกิจของประเทศ เช่น Google search engine, Google map
  4. Digital Economy Promotion ด้านการส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิตอล การส่งเสริมอุตสาหกรรมด้าน Digital Economy รวมทั้งการวิจัยและพัฒนา (R&D) ด้าน Digital Economy (Promotion & Innovation) เพื่อจะนำพาผู้ที่มีศักยภาพทางธุรกิจไปสู่ความเป็นผู้ประกอบการในประเทศ โดยการพัฒนา Digital Skill ควบคู่กันไปให้ผู้ประกอบการ หมายความว่า จะใช้ digital รองรับการเติบโตของเศรษฐกิจทุกภาคส่วน
  5. Digital Society & Knowledge
    – Knowledge ด้านการสร้างองค์ความรู้และสังคมดิจิตอล
    ส่งเสริมความตระหนัก ความสำคัญ และความรู้ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต การพัฒนาให้เกิด
    – Digital Society ทุกคนมีโอกาสเท่าเทียมกันในการใช้ประโยชน์จากระบบ Digital ลดความได้เปรียบ เสียเปรียบ ลดความแตกต่างในการเข้าถึงเครือข่ายข้อมูลมหาศาลได้ ทุกคนเข้าถึงได้ ในราคาต้นทุนต่ำลง

โดยจะมีคณะกรรมการเฉพาะ ด้านทำหน้าที่ช่วยเหลือคณะกรรมการ ดิจิตอลฯ ในการกลั่นกรอง ติดตาม และประเมินผลการทำงานตามนโยบายอย่างใกล้ชิด

  Youtube: iqepin LINE it! เพิ่มเพื่อน  

วัตถุประสงค์ของนโยบาย Digital Economy

  1. เพื่อ นำดิจิตอลเสริมศักยภาพการทำงานของทุกกระทรวงที่มีดิจิตอลเข้าไปเกี่ยวข้อง ตลอดจนต้องนำไปเป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนภาคอุตสาหกรรมโดยเฉพาะเอสเอ็ม อี ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมหลักของประเทศให้สามารถแข่งขันกับนานาประเทศได้
  2. เพื่อทำให้ดิจิตอลเข้าไปมีส่วนช่วยในการแก้ไขปัญหาความยากจน
  3. เพื่อให้ประชาชนตระหนักถึงการใช้ไอซีทีอย่างชาญฉลาด ตลอดจนการควบคุมดูแลเว็บไซต์ที่ไม่เหมาะสม

สิ่งที่จะได้รับจากนโยบาย Digital Economy

  1. การ ลดต่ำลงของต้นทุนในการประกอบการไม่ว่าในด้านการผลิต ด้านการขาย (ลองจินตนาการสังคมที่ไม่มีอีเมล์ ไม่มีโทรศัพท์มือถือ ไม่มี Conference Call ดูว่าจะมีโสหุ้ยหรือ Transaction Cost ในการดำเนินการสูงเพียงใด)
  2. อำนวย ให้เกิดการต่อยอดในการผลิตสินค้าและบริการใหม่ออกสู่ตลอดเพื่อสนองความ ต้องการของผู้บริโภค ตัวอย่างเช่นการได้รับข้อมูลข่าวสารในเรื่องต่าง ๆ จากแหล่งอื่น ๆ ทั่วโลกเพื่อนำมาช่วยออกแบบผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ ๆ ฯลฯ
  3. การ ขยายตัวอย่างกว้างขวางยิ่งขึ้นของ E-commerce ท่ามกลางสภาวการณ์ที่ต้นทุนในการดำเนินการลดต่ำลง เช่น การขายของทางอินเทอร์เน็ตโดยไม่ต้องมีร้านค้า ความสะดวกของผู้ซื้อที่ไม่ต้องเดินทางไปหาซื้อของ เกษตรกรเปิด Application และรู้ได้ทันทีจากตำแหน่ง GPS ที่ตนอยู่ว่าในพื้นที่นั้นในปีนั้นควรปลูกพืชอะไร ฯลฯ
  4. ขยายการจ้าง งานและสร้างการจ้างงานในลักษณะใหม่ ๆ อันเป็นผลจากการเกิดสินค้าการตลาดและรูปแบบการค้าขายใหม่ เช่น นักกลยุทธ์การตลาดทาง social media ที่ปรึกษา E-commerce นักโฆษณาสินค้าทาง Social Media ฯลฯ
  5. อำนวยให้เกิดการลงทุนธุรกิจข้ามพรมแดนมากยิ่ง ขึ้น เช่น การจองโรงแรมและ ทริปท่องเที่ยว การลงทุนซื้อหุ้นต่างประเทศ การค้าขายเงินตราต่างประเทศ ฯลฯ
  6. สนับสนุนการเรียนรู้ของประชาชนซึ่งช่วยส่งเสริมคุณภาพของมนุษย์และแรงงาน เช่น การเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต / E-Learning ฯลฯ

ประการ สำคัญ Digital Economy อำนวยให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจของภาคต่างๆ มีมูลค่าสูงยิ่งขึ้นและมีประสิทธิภาพสูงขึ้นด้วย นอกจากนี้ยังสนับสนุนความแข็งแกร่งในการกำหนดกลยุทธ์การตลาดอันเนื่องมาจาก การมีข่าวสารข้อมูลที่กว้างขวางและลึกซึ้งยิ่งขึ้น

ยุทธศาสตร์ดิจิทัล อีโคโนมี

  1. อินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ทุกตำบล 8 หมื่นล้านบาท
  2. บริการอิเล็กทรอนิกส์ของภาครัฐ
    1. Smart-Auction การจัดซื้อ-จัดจ้างผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Marking,e-Bidding)
    2. Smart-Education โครงข่ายการศึกษาไปยังโรงเรียนห่างไกล
    3. Smart-Health รักษาพยาบาลทางไกลผ่านอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง
    4. Smart-Government บริการภาครัฐผ่านอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง
    5. Smart-Agricuture พัฒนาระบบศูนย์ปฏิบัติการข้อมูลทางการเกษตร
  3. ให้เอกชนใช้โครงข่ายร่วมกันเพื่อลดค่าบริการ
  4. จัดตั้งหน่วยงานบรอดแบนด์แห่งชาติขยายโครงข่ายเคเบิลใยแก้วนำแสง
  5. เพิ่มการใช้บริการและธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ปัจจุบันมีมูลค่า 1.5 ล้านล้านบาท
  6. สนับสนุนการให้บริการ Mobile 3G 4G/LTE, WiFi หรือ FTTx

 

 

*จาก นสพ. post today

แนวคิดในการบริหารจัดการระบบเศรษฐกิจ 3 ขั้นตอน

  1. การค้าบนระบบดิจิตอล (Digital Commerce) การพัฒนาการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือการซื้อขายสินค้าบริการทางอินเตอร์เน็ต ในอดีตมักกล่าวถึง e-commerce แต่ในยุคปัจจุบันตลาดการค้าดิจิตอลได้แตกแขนงไปสู่ mobile-commerce และ Social Commerce ที่ขายของผ่านเว็บไซต์ออนไลน์ หรือการค้าบนระบบดิจิตอล ซึ่งจะช่วยกระตุ้นการพัฒนาเศรษฐกิจได้อย่างรวดเร็ว โดยพัฒนากระบวนการต่างๆ ในการซื้อขายบนโลกออนไลน์ ตั้งแต่การส่งคำสั่งซื้อ ชำระเงิน และการจัดส่ง
  2. การปรับตัวด้วยเทคโนโลยีดิจิตอล (Digital Transformation) โดยนำเอาเทคโนโลยีดิจิตอลต่างๆ มาประยุกต์ใช้ให้เกิดมูลค่าทางธุรกิจนอกเหนือจากการค้า มุ่งเน้นในเรื่องของประสิทธิภาพในการทำธุรกิจ และขีดความสามารถในการแข่งขันด้านการทำงาน ลดต้นทุน เพิ่มความพึงพอใจของลูกค้า มากกว่ายอดขาย
  3. การบริโภคเนื้อหาดิจิตอล (Digital Consumption) พัฒนาการนำเทคโนโลยีมาใช้เป็นช่องทางการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าหรือบริการ ที่มีอยู่เดิม และพัฒนาการใช้เทคโนโลยี Digital มาประยุกต์เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพในการทำธุรกิจ

โครงการนำร่อง

  1. ระบบ Enterprise Resource Planning(ERP)
  2. ระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด(CCTV)
  3. Application Program Interface(API)
  4. e-Market Place
  5. เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต และลดความเหลื่อมล้ำสำหรับผู้พิการ
  6. อินเทอร์เน็ตความเร็วสูง(บรอดแบนด์)

ตลอด จนจัดทำข้อมูลการบูรณาการโครงข่ายไฟเบอร์ออพติคส์ภาครัฐ เพื่อเตรียมนำเสนอต่อคณะกรรมการ Digital Economy แห่งชาติ ในส่วนของ Hard Infrastructure

ผู้มีส่วนร่วมต่อการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลของไทย

  • ภาครัฐ
  • ภาคสังคม
  • ธุรกิจขนาดใหญ่, ธุรกิจขนาด SMES, เศรษฐกิจฐานราก (ธุรกิจครัวเรือน,เกษตรกรขนาดเล็ก)
  • ประชาชนทั่วไป

ดาวน์โหลดข้อมูล

Comments

comments