Categories
รายงานพิเศษ

กรมบัญชีกลาง บัดนี้ –  นำร่องใช้ e-Market และ e-Bidding แทน e-auction กับส่วนราชการ 12 แห่ง 1 ม.ค. 58

“กรมบัญชีกลาง”

ลิงค์: https://iqepi.com/19115/ หรือ
เรื่อง: นำร่องใช้ e-Market และ e-Bidding แทน e-auction กับส่วนราชการ 12 แห่ง 1 ม.ค. 58
**ไม่ต้องผ่านภาค ก. ก.พ.**


ในส่วนนี้บางทีหากออกสอบในหัวข้อของเหตุการณ์ปัจจุบัน เข้าใจว่าจะมีบางคนอาจจะตอบว่าการจัดซื้อจัดจ้างในหน่วยงานราชการยังใช้ระบบ e-auction ก็ให้ทราบไว้ว่าตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2558 จะเปลี่ยนมาใช้ระบบ e-market และ e-bidding หลังทดลองใช้มาแล้ว 12 แห่งตั้งแต่ 1 พ.ย. 2557 และเมื่อวันที่ 25 พ.ย. 57 พล.ต.สรรเสริญ แก้วกำเนิด รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ประชุม ครม. เห็นชอบแนวทางปรับปรุงกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงานภาครัฐ ด้วยการนำ ระบบ e-Market มาใช้แทนระบบเดิม ซึ่งตามข้อมูลหลังจากนี้ทางกรมบัญชีกลางก็จะ เสนอยกเลิกระบบเดิมทั้ง 2 ฉบับ คือ ระเบียบพัสดุปี 2535 และ ระเบียบ e-Auction ปี 2549 จากนั้นก็จะออกระบบใหม่

กรมบัญชีกลางพร้อมเดินหน้านำระบบ e-Market และ e-Bidding มาแทน e-Auction ในการจัดซื้อจัดจ้าง เริ่มใช้ทดลองนำร่องกับส่วนราชการ 12 แห่ง ตั้งแต่ 1 มกราคม 2558 ลดปัญหาการฮั้วราคากันเองระหว่างภาคเอกชนที่เข้าร่วมประมูล

29 พ.ย. 2557 สำนักข่าวไทยรายงาน ว่านายมนัส แจ่มเวหา อธิบดีกรมบัญชีกลาง กล่าวว่า หลังจาก ครม. เห็นชอบแนวทางปรับปรุงกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงานภาครัฐ ด้วยการนำ ระบบ e-Market มาใช้แทนระบบเดิม ด้วยการให้เอกชนที่ผลิตหรือขายสินค้าประเภทต่างๆ นำราคาสินค้ามาขึ้นบนเว็บไซต์ของกรมบัญชีกลาง เช่น สินค้าคุรุภัณฑ์ วัสดุอุปกรณ์ หนังสือ ดิน สอ โต๊ะ ตู้เอกสาร นับหลายพันชนิดที่ใช้ในสำนักงาน เพื่อมเสนอราคาขายสินค้าผ่านระบบ e-Market  และให้หน่วยงานราชการเข้ามาดูและเปรียบเทียบราคาและใช้เป็นแหล่งอ้างอิง เพื่อใช้เปรียบเทียบระหว่างหน่วยงานรัฐในการจัดซื้อสินค้าประเภทเดียวกัน เพื่อไม่ให้ราคาสินค้าเกิดความแตกต่างกันมากเกินไปสำหรับการลงทุนที่มีความ ซับซ้อนมากขึ้นเป็นกรณีพิเศษ ในการจัดจ้างบริการด้านต่างๆ แก่หน่วยงาน การสร้างงานศิลปะ ให้นำระบบ e-Bidding  เพื่อให้หน่วยงานราชการเสนอความต้องการในสินค้าและบริการเพื่อให้บริษัท เอกชนเข้ามารับจ้างผลิตสินค้า เพื่อเป็นฐานข้อมูลในอนาคต เพื่อนำมาทดแทนระบบ e-Auction หลังลดปัญหาการฮั้วราคากันเองระหว่างภาคเอกชนที่เข้าร่วมประมูล  เพื่อไม่ให้ผู้ร่วมประมูลได้เจอหน้ากันทั้งส่วนราชการและผู้ประมูล โดยประมูลผ่านระบบของกรมบัญชีกลาง ขณะที่ระบบเดิมจะทำการประมูล e-Auction ผ่านตลาดตัวกลางจากบุคคลภายนอก ในส่วนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เตรียมเสนอรัฐบาลให้ใช้ประมูลในลักษณะเดียวกันด้วย เพราะเป็นหน่วยงานภาครัฐเหมือนกัน

สำหรับการเริ่มนำระบบ e-Market และระบบ e-Bidding  ให้เริ่มใช้ทดลองนำร่องกับส่วนราชการ 12 แห่ง ตั้งแต่ 1 มกราคม 2558 โดยเป็นส่วนราชการในสังกัดกระทรวงการคลัง 9 แห่ง ได้แก่

  1. สำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง
  2. สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
  3. กรมธนารักษ์
  4. กรมศุลกากร
  5. กรมสรรพสามิต
  6. กรมสรรพากร
  7. กรมบัญชีกลาง
  8. สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ
  9. สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ

โรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข 3 แห่ง ได้แก่

  1. โรงพยาบาลเลิดสิน
  2. โรงพยาบาลราชวิถี
  3. สถาบันโรคทรวงอก

โดยเร่งใช้กับสินค้านำร่องซึ่งเป็นวัสดุสำนักงาน 5 ประเภท ได้แก่

  1. กระดาษถ่ายเอกสาร
  2. ผงหมึก
  3. ตลับหมึก
  4. แฟ้มเอกสาร
  5. เทปกาว
  6. ซองเอกสาร
  7. ยารักษาโรค 2 ชนิด ได้แก่ ยารักษาโรคอัลไซเมอร์ และยารักษาโรคเบาหวาน

ทั้งนี้เพื่อให้ขยายโครงการดังกล่าวไปยังส่วนราชการอื่นเพิ่มเติมเพื่อให้ เป็นมาตรฐานเดียวกัน

ย่อๆ กับ e-market และ e-bidding

คณะรัฐมนตรี อนุมัติการจัดหาพัสดุด้วยวิธีตลาดอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Market: e-market) และด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Bidding: e-bidding) ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ เนื่องจากแนวทางเดิมที่เคยใช้ระบบ e-auction (ระบบการจัดซื้อ-จัดจ้างภาครัฐทางอิเล็กทรอนิกส์) มีขั้นตอนล่าช้า เน้นราคาต่ำเป็นหลัก ไม่ได้พิจารณาคุณภาพ โดยจะให้คณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุ (กวพ.) กำหนดส่วนราชการนำร่องเพื่อให้ดำเนินการ

  Youtube: iqepin LINE it! เพิ่มเพื่อน  

โดยมีแนวทางการจัดซื้อจัดจ้างแบบใหม่ ผ่านระบบ e-market มีขั้นตอนการเสนอราคาโดยใบเสนอราคา (Request For Quotation: RFQ) ครั้งหนึ่งมีราคาเกิน 100,000 บาท แต่ไม่เกิน 5,000,000 บาท ซึ่งผู้เสนอราคาสามารถเสนอราคาผ่านระบบ e–GP ในวันและเวลาทำการที่ส่วนราชการกำหนด เมื่อถึงกำหนดวันเสนอราคา ผู้เสนอราคาสามารถเสนอราคาได้เพียงครั้งเดียวโดยผู้เสนอราคาต่ำสุดเป็นผู้ชนะการเสนอราคา หากมีผู้เสนอราคาต่ำสุดเท่ากันหลายราย ให้พิจารณาผู้เสนอราคารายต่ำสุดที่เสนอราคาเข้ามาในระบบ e–GP ลำดับแรกเป็นผู้ชนะการเสนอราคาครั้งนั้น

*e-GP คือ ศูนย์กลางที่เป็นหน้าต่างในการบริการข้อมูล และดำเนินธุรกรรมทางการจัดซื้อจัดจ้างด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์

ส่วนการเสนอราคา โดยการประมูลอิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ การจัดหาพัสดุครั้งหนึ่งซึ่งมีราคาเกิน 5,000,000 บาท ซึ่งผู้เสนอราคาสามารถเสนอราคาผ่านระบบ e–GP ในวันและเวลาทำการที่ส่วนราชการกำหนด เมื่อถึงกำหนดวันเสนอราคา ผู้เสนอราคาสามารถเสนอราคาได้หลายครั้งภายในเวลา 30 นาที ผู้ที่เสนอราคาต่ำสุดจะมีสัญลักษณ์ปรากฏบนหน้าจอ ในกรณีมีผู้เสนอราคาต่ำสุดเท่ากันหลายรายให้พิจารณาผู้เสนอราคารายต่ำสุดที่เสนอราคาเข้ามาในระบบ e–GP ลำดับแรกเป็นผู้ชนะการเสนอราคาครั้งนั้นเช่นกัน

ส่วนการประกวดราคาทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding) ผู้เสนอราคาสามารถเสนอราคาผ่านระบบ e–GP ในวันและเวลาทำการที่ส่วนราชการกำหนด ซึ่งหลักเกณฑ์การพิจารณาผู้เสนอราคาที่ชนะการเสนอราคานั้น ส่วนราชการสามารถกำหนดหลักเกณฑ์ได้ 2 ลักษณะ คือ 1. หลักเกณฑ์ราคา (price) การตัดสินผู้ชนะการเสนอราคาตัดสินจากผู้ที่เสนอราคารายต่ำสุด กรณีมีผู้เสนอราคารายต่ำสุดเท่ากันหลายรายให้พิจารณาผู้เสนอราคารายต่ำสุดที่เสนอราคาเข้ามาในระบบ e–GP ก่อนเป็นผู้ชนะการเสนอราคาครั้งนั้น

*ทางกรมบัญชีกลางได้พัฒนาระบบ e-GP ต่อเนื่องมาถึงระยะที่ 3 แล้ว โดยเป็นระบบอิเล็กทรอนิกส์ครบวงจร เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดซื้อจัดจ้าง และมีเป้าหมายเพิ่มความโปร่งใส สะดวกต่อการตรวจสอบ ลดปัญหาทุจริตคอรัปชั่น ลดความผิดพลาดในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ กระตุ้นให้เกิดการแข่งขันอย่างเป็นธรรม และลดปัญหาการฮั้วได้ในระดับหนึ่ง เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) และกระทรวงการคลัง (ข่าวแจกจากกรมบัญชีกลาง วันที่ 16 ต.ค.57)

หลักเกณฑ์ข้อที่ 2. การประเมินค่าประสิทธิภาพต่อราคา (price performance) เป็นเกณฑ์การพิจารณาค่าประสิทธิภาพต่อราคา ในกรณีที่ส่วนราชการเห็นว่า คุณลักษณะเฉพาะของพัสดุที่จะจัดหานั้น มิใช่พิจารณาจากพัสดุโดยใช้เกณฑ์ราคาเพียงอย่างเดียว แต่ควรจะนำการประเมินค่าประสิทธิภาพมาเปรียบเทียบกับราคาเป็นสำคัญ อันจะทำให้ส่วนราชการได้พัสดุที่มีคุณภาพดี โดยการตัดสินผู้ชนะการเสนอราคาจากผู้ที่มีคะแนนรวมสูงสุด มิใช่พิจารณาจากผู้เสนอราคารายต่ำสุดกรณีมีผู้เสนอราคา หากได้คะแนนสูงสุดเท่ากันหลายราย ให้พิจารณาคัดเลือกผู้เสนอราคาที่ได้คะแนนสูงสุดในตัวแปรหลักที่มีน้ำหนักมากที่สุดเป็นผู้ชนะการเสนอราคา และให้พิจารณาคัดเลือกผู้เสนอราคาที่เข้ามาในระบบ e–GP ในลำดับแรกเป็นผู้ชนะการเสนอราคา

ระบบ e-market และ ระบบ e-bidding ทัง้สองระบบดังกล่าวจะเน้นให้หน่วยงานภาครัฐสามารถจัดหาพัสดุให้สอดคล้องกับรูปแบบ ประเภทสินค้า เงินงบประมาณที่ได้รับ และระยะเวลาที่จัดหา เพื่อให้เกิดความคุ้มค่าในราคาที่เหมาะสมและทันเวลาที่ต้องการใช้งาน ส่วนผู้ค้าภาครัฐจะสามารถจัดซื้อจัดจ้างได้สะดวกและเท่าเทียมกัน และเป็นการพัฒนาสินค้าและบริการให้มีความเป็นมาตรฐาน รวมทั้งสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันให้ภาคธุรกิจของประเทศไทย

วิธีการสมัครงาน  กรมบัญชีกลาง :ตนเอง

คู่มือ โปรแกรมสาธิต และการแก้ปัญหาระบบงาน e-GP คลิกที่นี่

Comments

comments

ข่าวงานราชการเปิดสอบ 2567-2569
Privacy Overview

This website uses cookies so that we can provide you with the best user experience possible. Cookie information is stored in your browser and performs functions such as recognising you when you return to our website and helping our team to understand which sections of the website you find most interesting and useful.