Categories
รายงานพิเศษ

คุรุสภา ใบอนุญาตชั่วคราว สำหรับ ป.ตรี ทุกสาขา ที่อยากเป็นครู

“คุรุสภา ใบอนุญาตชั่วคราว สำหรับ ปริญญาตรี ทุกสาขา ที่อยากเป็นครู”

ลิงค์: https://iqepi.com/?p=12602 หรือ


เรื่องมีอยู่ว่า.. เมื่อวันที่ 30 ม.ค. 57 บอร์ดคุรุสภา ปรับเกณฑ์การขอ “ใบอนุญาตชั่วคราว” หรือ “หนังสืออนุญาตให้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาโดยไม่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพทางการศึกษา”  เอื้อให้ผู้ที่จบปริญญาตรีทุกสาขา มีโอกาสได้ “ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู” อย่างถูกต้องภายใต้หลักเกณฑ์เดิม ซึ่งเดิมทีคุรุสภาออกใบอนุญาตชั่วคราว เพียงเฉพาะผู้ที่มีวุฒิการศึกษาอื่นซึ่งไม่ใช่วุฒิสายการศึกษาโดยตรงมาเป็นครูได้หากมีความจำเป็นและเน้นสาขาที่ขาดแคลนเท่านั้น ก็เป็นการขยายโอกาสให้สถานศึกษาสามารถรับผู้ที่มีวุฒิการศึกษาอื่นได้ทุกสาขา แต่ยังคงยึดหลักเกณฑ์เดิม คือ บุคคลดังกล่าวจะต้องมีโรงเรียนและชั่วโมงสอนแน่นอน จากนั้นคุรุสภาจะออกหนังสืออนุญาตให้ประกอบวิชาชีพครูโดยไม่มีใบอนุญาต หรือ ใบอนุญาตชั่วคราว ซึ่งมีระยะเวลา 2 ปี ต่อได้อีก 1 ครั้ง รวมเป็น 4 ปี โดยภายในระยะเวลาดังกล่าวบุคคลนั้นๆ จะต้องพัฒนาตนเองเพื่อให้ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูจากคุรุสภา เช่น

  • เรียนหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต หรือ ป.บัณฑิต
  • เรียนเพิ่มเติมในสาขาที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา

หากครบ 4 ปี (รวมต่ออายุ 1 ครั้ง) ยังไม่สามารถได้ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูก็จะไม่สามารถสอนได้อีก

เพื่อป้องกันความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนกับหลักฐานที่ใช้แสดงในการประอบวิชาชีพทางการศึกษาในการสมัครสอบครู หรือการบรรจุและแต่งตั้งข้าราชการครูขอกล่าวถึง หนังสือที่ ศธ 5103.3/116 ลงวันที่ 18 มีนาคม 2556 เรื่อง ชี้แจงหลักฐานที่ใช้แสดงในการสมัครสอบหรือการบรรจุและแต่งตั้งเป็นครูผู้ช่วย ที่ออกโดยสำนักงานเลขาธิการคุรุสภา ได้ชี้แจงเกี่ยวกับหลักฐานที่ใช้แสดงในการสมัครสอบหรือการบรรจุและแต่งตั้งเป็นครูผู้ช่วย ในความแตกต่างระหว่าง “ใบอนุญาตปฏิบัติการสอน” กับ “ใบอนุญาตชั่วคราว” หรือ “หนังสืออนุญาตให้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาโดยไม่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ” เนื่องจากปีที่ผ่านมาได้มีการเปลี่ยนแปลงให้สามารถใช้ “ใบอนุญาตประกอบการสอน” เป็นหลักฐานในการสมัครสอบครูผู้ช่วย เพิ่มเติมจากเดิมที่จะรับเฉพาะผู้ที่ได้รับ “ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู” เท่านั้น ก็เกิดความสับสนระหว่าง “ใบอนุญาตปฏิบัติการสอน” กับ “ใบอนุญาตชั่วคราว” หรือ “หนังสืออนุญาตให้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาโดยไม่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ” โดยมีการนำใบอนุญาตชั่วคราวไปเป็นหลักฐานแสดงการประกอบวิชาชีพเพื่อสมัครสอบหรือการบรรจุและแต่งตั้งเป็นครูผู้ช่วยแทนใบอนุญาตปฏิบัติการสอนหรือใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู ที่คุรุสภาให้ใช้เพียง ใบอนุญาตปฏิบัติการสอน กรณีที่ไม่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูเท่านั้นในการสมัครสอบหรือการบรรจุและแต่งตั้งเป็นครูผู้ช่วย

โดยในประกาศนี้ได้แนบรายละเอียดเกี่ยวกับหลักฐานที่ใช้แสดงในการประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ที่คุรุสภากำหนดไว้ทั้ง 4 ประเภท ดังนี้

1. ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู

 

หมายถึง หลักฐานซึ่งออกให้ผู้มีคุณสมบัติตามมาตรฐานความรู้และมาตรฐานประสบการณ์วิชาชีพตามข้อบังคับคุรุสภา มีสิทธิประกอบวิชาชีพครู ซึ่งเป็นวิชาชีพควบคุมตามกฎหมาย

การออกใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเป็นไปตามมาตรา 44 แห่งพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2546 ที่กำหนดคุณสมบัติของผู้ขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพควบคุม ดังนี้

  1. มีอายุไม่ต่ำกว่า 20 ปี บริบูรณ์
  2. มีวุฒิปริญญาทางการศึกษา หรือเทียบเท่า หรือคุณวุฒิอื่นที่คุรุสภารับรอง
  3. ผ่านเกณฑ์การประเมินปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาตามหลักสูตรปริญญาทางการศึกษาเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปี และผ่านเกณฑ์การประเมินปฏิบัติการสอนตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการคุรุสภากำหนด และเป็นไปตามข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ พ.ศ.2547

2. ใบอนุญาตปฏิบัติการสอน

  Youtube: iqepin LINE it! เพิ่มเพื่อน  

หมายถึง หลักฐานที่แสดงคุณสมบัติของผู้ถือว่ามีเฉพาะมาตรฐานความรู้วิชาชีพครูตามข้อบังคับคุรุสภา มีสิทธิประกอบวิชาชีพครู โดยอยู่ในความควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา และเมื่อได้ปฏิบัติการสอนเป็นเวลาต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 1 ปี ให้นำหลักฐานการผ่านการรับรองประสบการณ์การสอนจากสถานศึกษาประอบกับใบอนุญาตปฏิบัติการสอนมาขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูได้ ใบอนุญาตปฏิบัติการสอนนี้มีอายุใช้ได้ 2 ปี เมื่อครบอายุ 2 ปี แล้วสามารถขอรับใบอนุญาตปฏิบัิตการสอนได้อีกครั้งหนึ่ง

การออกใบอนุญาตปฏิบัติการสอนเป็นไป ตามที่กำหนดในพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2546 มาตรา 43 ที่กำหนดให้วิชาชีพครู ผู้บริาหรสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา และศึกษานิเทศก์ เป็นวิชาชีพควบคุม และห้ามมิให้ผู้ใดประกอบวิชาชีพควบคุม โดยไม่ได้รับอนุญาต เว้นแต่กรณีอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้ ตาม (3) คือนักเรียน นักศึกษา หรือผู้รับการฝึกอบรม หรือผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติการสอน ซึ่งทำการฝึกหัด หรืออบรมในความควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ซึ่งเป็นผู้ให้การศึกษา หรือฝึกอบรม ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการคุรุสภากำหนด และเป็นไปตามข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยการรับรองความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ เพื่อการประกอบวิชาชีพทางการศึกษา พ.ศ.2550

3. หนังสือรับรองสิทธิ

หมายถึง หนังสือที่สำนักงานเลขาธิการคุรุสภาออกให้แก่ผู้ยื่นคำขอขึ้นทะเบียนรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ที่มีคุณสมบัติครบถ้วนตามข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ พ.ศ.2547 และข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพ พ.ศ.2548 เพื่อใช้แสดงว่าผู้ถือหนังสือเป็นผู้มีสิทธิในการประกอบวิชาชีพทางการศึกษาและอยู่ในระหว่างการดำเนินการเสนอออกใบอนุญาตประอบวิชาชีพทางการศึกษา ให้ผู้ยื่นคำขอ หนังสือรับรองสิทธิมีอายุ 60 วัน นับตั้งแต่วันออก

4. หนังสืออนุญาตให้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาโดยไม่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพทางการศึกษา (ใบอนุญาตชั่วคราว)

หมายถึง หนังสือที่สำนักงานเลขาธิการคุรุสภาออกให้ผู้ที่ขาดคุณสมบัติในการขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพทางการศึกษาตามข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ พ.ศ.2547 และข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพ พ.ศ.2548 แต่หน่วยงานหรือสถานศึกษามีเหตุผลและความจำเป็นที่ต้องการให้ผู้นั้นประกอบวิชาชีพทางการศึกษาในสถานศึกษา เพื่อให้ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ประกอบวิชาชีพได้อย่างถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนด โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 46 แห่งพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทงาการศึกษา พ.ศ.2546 คณะกรรมการคุรุสภา จึงอนุมัติเป็นหลกัการมอบให้เลขาธิการคุรุสภาอนุญาตให้ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาที่ไม่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพทางการศึกษาประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ได้โดยไม่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ เป็นเวลา 2 ปี นับตั้งแต่วันที่ได้รับอนุญาตจากคุรุสภา โดยมีเงื่อนไขผู้ที่ได้รับใบอนุญาตจะต้องพัฒนาตนเองให้มีคุณสมบัติครบถ้วนตามที่คุรุสภากำหนด เพื่อขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพต่อไป และหากผู้ได้รับอนุญาตลาออกจากสถานศึกษาที่อขอนุญาตการอนุญาตดังกล่าวถือว่ายกเลิก

สมัครงาน คุรุสภา งานราชการ คุรุสภา รับสมัคร สอบ คุรุสภา 2557 สอบ คุรุสภา 57 คุรุสภา เปิดสอบ


ประกาศชี้แจงเกี่ยวกับใบอนุญาตปฏิบัติการสอนและใบอนุญาตชั่วคราว คลิกที่นี่!!

Comments

comments