Categories
ข้อมูลเตรียมสอบงานราชการ

สรุปสาระสำคัญรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2550

สรุปตัวนี้..”ต้องปรับปรุงแก้ไข” เนื่องจากปัจจุบันรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 2 พ.ศ. 2554 แต่สรุปเหมือนว่าจะยังอัพเดตไม่ถึงตัวแก้ไขเพิ่มเติมทั้งฉบับ 1 และ 2 ไว้มีเวลาจะกลับมาปรับปรุงข้อมูลอีกที

 องคมนตรี

  • ที่มา:
    • พระมหากษัตริย์แต่งตั้งตามพระราชอัธยาศัย
    • ประธานรัฐสภาเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งประธานองคมนตรี
    • ประธานองคมนตรีเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งองคมนตรี
  • จำนวน:
    •  ประธานองคมนตรี 1 คน และองคมนตรีอื่นอีกไม่เกิน 18 คน
  • หน้าที่:
    • ถวายความเห็นต่อพระมหากษัตริย์ในพระราชกรณียกิจทั้งปวงที่พระมหากษัตริย์ทรงปรึกษา

 วุฒิสภา

  • ที่มา:
    • การเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา
    • การสรรหาสมาชิกวุฒิสภา
  • จำนวน: 150 คน
    • จำนวน 76 คน มาจากการเลือกตั้งของแต่ละจังหวัด ๆ ละ 1 คน
    • จำนวน 74 คน มาจากการสรรหาของคณะกรรมการสรรหาวุฒิสภา
  • วาระ:  6 ปี และจะดำรงตำแหน่งติดต่อกันเกินหนึ่งวาระไม่ได้
    • ส.ว.ที่มาจากการเลือกตั้งเมื่อสิ้นสุดวาระต้องมีการเลือกตั้งใหม่ภายใน 30 วัน
    • ส.ว. ที่มาจากการสรรหาเมื่อสิ้นสุดวาระต้องมีการสรรหาให้แล้วเสร็จภายใน 60 วัน
  • หน้าที่:
    • พิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่ผ่านมาจากสภาผู้แทนราษฎร
    • ให้ความเห็นชอบในการแต่งตั้งองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญและองค์กรอื่นตามรัฐธรรมนูญ
    • ควบคุมฝ่ายบริหารด้วยการตั้งกระทู้ และขอเปิดอภิปรายทั่วไป (ส.ว. 1/3)
    • ให้ความเห็นชอบในการถอดถอนบุคคลที่ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
  • คุณสมบัติ:
    • สัญชาติไทยโดยการเกิด
    • อายุไม่ต่ำกว่า 40 ปีบริบูรณ์
    • สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า
    • ไม่เป็นบุพการี คู่สมรส หรือบุตรของ ส.ส. หรือผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
    • ไม่เป็นสมาชิกพรรคการเมือง หรือพ้นจากการเป็นสมาชิกพรรคการเมืองยังไม่เกิน 5 ปี
    • ไม่เป็น ส.ส. หรือเคยเป็นส.ส. และพ้นจากการเป็น ส.ส.มาแล้วยังไม่เกิน 5 ปี
    • ไม่เป็น ร.ม.ต. หรือผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและพ้นจากการดำรงตำแหน่งยังไม่เกิน 5 ปี
    • ส.ว.ที่มีสมาชิกภาพสิ้นสุดมาแล้วไม่เกิน 2 ปีจะเป็น ร.ม.ต. หรือดำรงตำแหน่งทางการเมืองไม่ได้

 สภาผู้แทนราษฎร

  • ที่มา: มาจากการเลือกตั้งของประชาชน
  • จำนวน: 480 คน
    • จำนวน 400 คนมาจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขต ๆ ละ 3 คน
    • จำนวน 80 คน มาจากการเลือกตั้งแบบสัดส่วน โดยแบ่งเขตพื้นที่ประเทศออกเป็น 8 กลุ่มกลุ่มละ 10 คน
  • วาระ: 4 ปี
    • ถ้าครบวาระให้จัดการเลือกตั้งใหม่ภายใน 45 วัน
    • ถ้ายุบสภาให้มีการจัดการเลือกตั้งภายใน 45 – 60 วัน
    • ห้ามควบรวมพรรคการเมืองในระหว่างอายุของสภาผู้แทนราษฎร
  • หน้าที่:
    • แต่งตั้งและควบคุมฝ่ายบริหาร
    • ออกกฎหมาย (พระราชบัญญัติ)
  • คุณสมบัติ:
    • มีสัญชาติไทยโดยการเกิด
    • อายุไม่ต่ำกว่า 25 ปีบริบูรณ์ในวันเลือกตั้ง
    • เป็นสมาชิกพรรคการเมืองไม่น้อยกว่า 90 วัน
    • มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน หรือเคยเกิด หรือเคยศึกษา (ไม่น้อยกว่า 5 ปี) หรือเคยรับราชการ และมีชื่อในทะเบียนบ้าน (ไม่น้อยกว่า 5 ปี) ในจังหวัดที่สมัครรับเลือกตั้ง
    • ไม่เป็นสมาชิกวุฒิสภา หรือเคยเป็นสมาชิกวุฒิสภา และมีการสิ้นสุดสมาชิกภาพมาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี
    • ไม่เป็นผู้บริหาร หรือสมาชิกสภาท้องถิ่น
    • ไม่เป็นข้าราชการ พนักงานหรือลูกจ้างของหน่วยราชการ
    • ไม่เป็นคณะกรรมการในองค์กรอิสระ และองค์กรอื่นในรัฐธรรมนูญ
    • ไม่เป็นบุคคลที่มีลักษณะต้องห้ามไม่ให้ใช้สิทธิเลือกตั้ง ฯลฯ

 การร่างพระราชบัญญัติ

  • ผู้เสนอ
    • คณะรัฐมนตรี
    • ส.ส. จำนวนไม่น้อยกว่า 20 คน
    • ศาลหรือองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ (เฉพาะกฎหมายที่เกี่ยวกับองค์กรฯ)
    • ผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนไม่น้อยกว่า 10,000 คน (เกี่ยวกับสิทธิ และเสรีภาพของชนชาวไทย กับหน้าที่ของชนชาวไทย)
  • ผู้พิจารณา
    • สภาผู้แทนราษฎร
    • วุฒิสภา
  • ผู้ตรา
    • พระมหากษัตริย์
      • ถ้าเห็นชอบพระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธย
      • ถ้าไม่เห็นชอบ ทรงพระราชทานคืนมายังรัฐสภา
  • มีผลบังคับใช้
    • ถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา

 คุณสมบัติของบุคคลที่มีสิทธิเลือกตั้ง

  • มีสัญชาติไทย ถ้าแปลงสัญชาติต้องได้สัญชาติไทยไม่น้อยกว่า 5 ปี
  • อายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์ ในวันที่ 1 มกราคม ของปีที่มีการเลือกตั้ง
  • มีรายชื่อในทะเบียนบ้านในเขตเลือกตั้งไม่น้อยกว่า 90 วัน นับถึงวันเลือกตั้ง

 คุณสมบัติของบุคคลที่ไม่มีสิทธิเลือกตั้ง

  • เป็นภิกษุ สามเณร นักพรต หรือนักบวช
  • อยู่ในระหว่างถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง
  • อยู่ในระหว่างต้องคุมขังอยู่โดยหมายของศาล
  • วิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ

 คณะรัฐมนตรี

  •  ที่มา:
    • พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง
    • ประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการฯ
  • จำนวน:
    • นายกรัฐมนตรี 1 คน
    • รัฐมนตรีอื่นอีกไม่เกิน 35 คน
  • วาระ: 4 ปี
  • หน้าที่: บริหารราชการแผ่นดินตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ
    • ด้านความมั่นคง
    • ด้านการบริหารราชการแผ่นดิน (ส่วนกลาง , ส่วนภูมิภาคและส่วนท้องถิ่น)
    • ด้านศาสนา สังคม สาธารณสุข การศึกษา และวัฒนธรรม
    • ด้านกฎหมาย และการยุติธรรม
    • ด้านการต่างประเทศ
    • ด้านเศรษฐกิจ
    • ด้านที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม
    • ด้านวิทยาศาสตร์ ทรัพย์สินทางปัญญาและพลังงาน
    • ด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน
  • คุณสมบัติ:
    • มีสัญชาติไทยโดยการเกิด
    • มีอายุไม่ต่ำกว่า 35 ปีบริบูรณ์
    • สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี หรือเทียบเท่า ( 4-8 ตามคุณสมบัติของ ส.ว. ข้อ 5 – 9 ของ ส.ส. ฯ)

 การควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน

  • การตั้งกระทู้
    • ส.ส. หรือ ส.ว.ทุกคนมีสิทธิตั้งกระทู้ถามรัฐมนตรีในเรื่องที่เกี่ยวกับการงานในหน้าที่
  • การเสนอญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจ
    • ส.ส. จำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 5 มีสิทธิเข้าชื่อเสนอญัตติ อภิปรายทั่วไป เพื่อลงมติไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี และต้องเสนอชื่อ ผู้สมควรดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนต่อไปด้วย
    • ส.ส.จำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 6 มีสิทธิเข้าชื่อเสนอญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไป เพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายบุคคล
    • ส.ว.จำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 มีสิทธิเข้าชื่อขอเปิดอภิปรายทั่วไป เพื่อให้คณะรัฐมนตรีแถลงข้อเท็จจริง หรือชี้แจงปัญหาเกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดินโดยไม่มีการลงมติ
  • การถอดถอนออกจากตำแหน่ง
    • ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนไม่น้อยกว่า 20,000 คน มีสิทธิเข้าชื่อร้องขอให้ถอดถอน ผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีฯลฯ ผู้ใดที่ร่ำรวยผิดปกติ ใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง ออกจากตำแหน่งต่อประธานรัฐสภา

 ศาลรัฐธรรมนูญ

  • องค์กร
    • ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
  • ที่มา
    • พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคำแนะนำของวุฒิสภาจากบุคคลดังต่อไปนี้
      • ผู้พิพากษาศาลฎีกา จำนวน 3 คน
      • ตุลาการศาลปกครองสูงสุดจำนวน 2 คน
      • ผู้ทรงคุณวุฒิสาขานิติศาสตร์ จำนวน 2 คน
      • ผู้ทรงคุณวุฒิสาขารัฐศาสตร์ จำนวน 2 คน
    • ประธานวุฒิสภาเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งประธานศาลฎีการัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
  • จำนวน
    • ประธานศาลรัฐธรรมนูญ จำนวน 1 คน และตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ 8 คน
  • วาระ
    • 9 ปี และให้ดำรงตำแหน่งได้เพียงวาระเดียว
  • คุณสมบัติตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
    • มีสัญชาติไทยโดยการเกิด
    • มีอายุไม่ต่ำกว่า 45 ปี
    • ไม่เป็น ส.ส. , ส.ว. , ข้าราชการเมือง , สมาชิกสภาท้องถิ่น , ผู้บริหารท้องถิ่น
    • ไม่เป็น หรือเคยเป็นสมาชิก หรือผู้ดำรงตำแหน่งอื่น ของพรรคการเมืองในระยะ 3 ปีก่อนดำรงตำหน่ง
  • หน้าที่
    • พิจารณาและวินิจฉัยว่ากฎหมายใดขัดแย้งรัฐธรรมนูญ
    • พิจารณาและวินิจฉัยความขัดแย้งเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ระหว่างรัฐสภา คณะรัฐมนตรีหรือองค์กร ตามรัฐธรรมนูญที่มิใช่ศาล

 ศาลยุติธรรม

  Youtube: iqepin LINE it! เพิ่มเพื่อน  

  • องค์กร
    • คณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
  • ที่มา
    • พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งและการให้พ้นตำแหน่งของผู้พิพากษาศาลยุติธรรม โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
  • คณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมประกอบด้วย
    • ประธานศาลฎีกาเป็นประธาน
    • กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในแต่ละชั้นศาล ได้แก่ ศาลฎีกา 6 คน ศาลอุทธรณ์ 4 คน ศาลชั้นต้น 2 คน
    • กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ 8 คนและได้รับเลือกจากรัฐสภา
  • ระดับของศาล – มี 3 ระดับ คือ
    • ศาลชั้นต้น
    • ศาลอุทธรณ์
    • ศาลฎีกา
  • หน้าที่
    • พิจารณาคดีต่าง ๆ ตามระดับชั้นของศาล
    • ศาลฎีกามีอำนาจพิจารณาและวินิจฉัยคดีเกี่ยวกับการเลือกตั้งและการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง ส.ส.และ ส.ว.
    • ศาลอุทธรณ์ มีอำนาจพิจารณา และวินิจฉัยคดีเกี่ยวกับการเลือกตั้งและการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่น และผู้บริหารท้องถิ่น
    • ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง มีหน้าที่พิจารณา

 ศาลปกครอง

  • องค์กร
    • คณะกรรมการตุลาการศาลปกครอง
  • ที่มา
    • คณะกรรมการตุลาการศาลปกครองและรัฐสภาเห็นชอบแล้วให้นายกรัฐมนตรีนำความกราบบังคมทูลพระมหากษัตริย์เพื่อทรงแต่งตั้ง
  • จำนวน
    • ประธานศาลปกครองสูงสุด จำนวน 1 คน และตุลาการศาลปกครอง 12 คน
  • หน้าที่
    • พิจารณาพิพากษาคดีพิพาทระหว่างหน่วยราชการ หน่วยงานราชการของรัฐ รัฐวิสาหกิจ องค์กรปกครองท้องถิ่นหรือองค์กรตามรัฐธรรมนูญหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกับเอกชน
  • ระดับของศาล
  • มี 2 ระดับ
    •  ศาลปกครองชั้นต้น
    •  ศาลปกครองสูงสุด

 ศาลทหาร

  • หน้าที่ – พิจารณาพิพากษาคดีอาญาทหาร

องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ 

มี 4 องค์กร คือ

  • คณะกรรมการการเลือกตั้ง (ก.ก.ต.)
  • ผู้ตรวจการแผ่นดิน (ค.ต.ง.)
  • คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.)
  • คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.)

 คณะกรรมการการเลือกตั้ง

  • ที่มา
    • พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคำแนะนำของวุฒิสภา
      • ประธานวุฒิสภาเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้ง
      • ประธานกรรมการและกรรมการการเลือกตั้ง
    • คณะกรรมการสรรหากรรมการการเลือกตั้ง มีจำนวน 7 คน ได้แก่
      • ประธานศาลฎีกา
      • ประธานศาลรัฐธรรมนูญ
      • ประธานศาลปกครองสูงสุด
      • ประธานสภาผู้แทนราษฎร
      • ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร
      • บุคคลซึ่งที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาคัดเลือก 1 คน และ
      • บุคคลที่ประชุมใหญ่ตุลาการศาลปกครองสูงสุดคัดเลือก 1 คน
      • มีหน้าที่คัดเลือกกรรมการการเลือกตั้งจำนวน 3 คน เสนอต่อประธานวุฒิสภา
    • ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีการพิจารณาสรรหากรรมการการเลือกตั้ง จำนวน 2 คน เสนอต่อประธานวุฒิสภา
    •  วุฒิสภาให้ความเห็นชอบและประธานวุฒิสภานำความกราบบังคมทูลพระมหากษัตริย์เพื่อทรงแต่งตั้ง
  •  จำนวน
    • ประธานคณะกรรมการเลือกตั้ง จำนวน 1 คน และ
    • กรรมการการเลือกตั้ง จำนวน 4 คน
  • หน้าที่
    • จัดการเลือกตั้งและเพิกถอนการเลือกตั้ง ส.ส. , ส.ว. , องค์กรปกครองท้องถิ่น รวมทั้งการลงประชามติ
    • ควบคุมการดำเนินการเกี่ยวกับพรรคการเมือง

 ผู้ตรวจการแผ่นดิน

  • ที่มา
    • พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคำแนะนำของวุฒิสภา
      • ประธานวุฒิสภาเป็นผู้ลงนามสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้ง
    • คณะกรรมการสรรหาผู้ตรวจการแผ่นดิน มีจำนวน 7 คน (เหมือนกับคณะกรรมการสรรหาคณะกรรมการเลือกตั้ง) ทำหน้าที่สรรหาผู้ตรวจการแผ่นดิน จำนวน 3 คนเสนอต่อประธานวุฒิสภา
    •  วุฒิสภาให้ความเห็นชอบ และประธานวุฒิสภานำความกราบบังคมทูลพระมหากษัตริย์เพื่อทรงแต่งตั้ง
  • จำนวน
    • ประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน จำนวน 1 คน และกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน จำนวน 2 คน
  • วาระ
    • 6 ปี และให้ดำรงตำแหน่งเพียงวาระเดียว
  • หน้าที่
    • พิจารณาและสอบสวนหาข้อเท็จจริงตามข้อร้องเรียน การไม่ปฏิบัติตามกฎหมายหรือละเว้นการปฏิบัติตามกฎหมายของข้าราชการ พนักงาน หน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจหรือราชการส่วนท้องถิ่น
    • ดำเนินการเกี่ยวกับจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐ
    • ติดตามประเมินผลและจัดทำข้อเสนอแนะในการปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ

 คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามทุจริตแห่งชาติ

  • ที่มา
    • พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคำแนะนำของรัฐสภา
      • ประธานวุฒิสภาเป็นผู้ลงนามสนองพระบรมราชโองการฯ
    • คณะกรรมการสรรหาคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามทุจริตแห่งชาติ มีจำนวน 5 คน ประกอบด้วย
      • ประธานฎีกา
      • ประธานศาลรัฐธรรมนูญ
      • ประธานศาลปกครองสูงสุด
      • ประธานสภาผู้แทนราษฎร และ
      • ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร ทำหน้าที่สรรหา
    • คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามทุจริตแห่งชาติ จำนวน 9 คน เสนอต่อประธานวุฒิสภา
    • วุฒิสภาให้ความเห็นชอบและประธานวุฒิสภานำความกราบบังคมทูลพระมหากษัตริย์เพื่อทรงแต่งตั้ง
  • จำนวน
    • ประธานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามทุจริตแห่งชาติ จำนวน 1 คนและ
    • คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามทุจริตแห่งชาติ จำนวน 8 คน
  • วาระ
    • 9 ปี และดำรงตำแหน่งได้เพียง 1 วาระ
  • หน้าที่
    • ไต่สวนและวินิจฉัยเจ้าหน้าที่ของรัฐตั้งแต่ผู้บริหารระดับสูง หรือข้าราชการตั้งแต่ผู้อำนวยการกองหรือเทียบเท่าขึ้นไป ร่ำรวยผิดปกติ กระทำความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่
    • ไต่สวนข้อเท็จจริงและสรุปสำนวนการดำเนินคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เพื่อส่งไปยังศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
    • ตรวจสอบความถูกต้องและความมีอยู่จริง รวมทั้งความเปลี่ยนแปลงของทรัพย์สินและหนี้สินของนายกรัฐมนตรี , รัฐมนตรี, ส.ส. , ส.ว. , ข้าราชการการเมือง, ผู้บริหารท้องถิ่นและสมาชิกสภาท้องถิ่น
    • กำกับดูแลคุณธรรมและจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง

 คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน

  • ที่มา:
    • พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามความเห็นชอบของวุฒิสภา
    • ประธานวุฒิสภาเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการฯ
  • จำนวน:
    • ประธานกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน 1 คน และ
    • กรรมการตรวจเงินแผ่นดินอีก 6 คน
  • วาระ:
    • 6 ปี และให้ดำรงตำแหน่งได้เพียงวาระเดียว
  • หน้าที่:
    • กำหนดหลักเกณฑ์มาตรฐานเกี่ยวกับการตรวจเงินแผ่นดิน
    • ให้คำแนะนำและเสนอแนะแก้ไขข้อบกพร่องเกี่ยวกับการตรวจเงินแผ่นดิน
    • แต่งตั้งคณะกรรมการวินัยทางการเงินและการคลัง เพื่อวินิจฉัยคดีทางวินัยทางการเงินและการคลัง
  • คุณสมบัติ:
    • มีความชำนาญและประสบการณ์ด้านการตรวจเงินแผ่นดิน การบัญชี การคลังและอื่น ๆ
    • มีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์

 องค์กรอื่นตามรัฐธรรมนูญ

  • องค์กรอัยการ – มีอิสระในการพิจารณาสั่งคดี และการปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปโดยเที่ยงธรรม
  • คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ  – ตรวจสอบและรายงานการกระทำ หรือละเลยการกระทำอันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน
  • สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ – ให้คำปรึกษาและข้อเสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรีในปัญหาต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจและสังคม รวมถึงกฎหมายที่เกี่ยวข้องการตรวจสอบทรัพย์สินผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง

 ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง

ต่อไปนี้ มีหน้าที่ยื่นบัญชีแสดงทรัพย์สินและหนี้สินของตน คู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามทุจริตแห่งชาติ ทุกครั้งที่รับตำแหน่ง หรือ พ้นตำแหน่ง

  • นายกรัฐมนตรี
  • รัฐมนตรี
  • สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
  • สมาชิกวุฒิสภา
  • ข้าราชการการเมืองอื่น
  • ผู้บริหารและสมาชิกสภาท้องถิ่น

Comments

comments

ข่าวงานราชการเปิดสอบ 2567-2569
Privacy Overview

This website uses cookies so that we can provide you with the best user experience possible. Cookie information is stored in your browser and performs functions such as recognising you when you return to our website and helping our team to understand which sections of the website you find most interesting and useful.