Categories
งานราชการ-รัฐวิสาหกิจ เปิดสอบที่น่าสนใจ

กรมธนารักษ์ เปิดรับสมัครสอบข้าราชการ 30 ม.ค. -17 ก.พ. 2566 รวม 43 อัตรา,

กรมธนารักษ์

ลิงค์: https://ehenx.com/18032/ หรือ
ตำแหน่ง: นักประเมินราคาทรัพย์สินปฏิบัติการ,นักวิชาการคลังปฏิบัติการ,นักวิชาการคอมพิวเตอร์ปฏิบัติการ,นักวิชาการเงินและบัญชีปฏิบัติการ,นักวิชาการพัสดุปฏิบัติการ,เจ้าพนักงานการเงินและบัญชีปฏิบัติงาน,เจ้าพนักงานเครื่องคอมพิวเตอร์ปฏิบัติงาน,เจ้าพนักงานดูเงินปฏิบัติงาน,นายช่างโลหะปฏิบัติงาน,นายช่างสำรวจปฏิบัติงาน,นายช่างโยธาปฏิบัติงาน,สถาปนิกปฏิบัติการ,นายช่างศิลป์ปฏิบัติงาน,นายช่างศิลปกรรมปฏิบัติงาน
ระดับการศึกษา: ปวส.,ปริญญาตรีทุกสาขา,ปริญญาตรี
อัตราเงินเดือน: 11,500-16,500
อัตราว่าง: 43
ปฏิบัติงานที่: กรุงเทพมหานคร
เปิดรับสมัครตั้งแต่: 30 ม.ค. – 17 ก.พ. 2566
**เฉพาะผู้สอบผ่านภาค ก. ก.พ.**



กรมธนารักษ์ เปิดรับสมัคร

ประกาศกรมธนารักษ์

เรื่อง รับสมัครคัดเลือกเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการ

ด้วยกรมธนารักษ์จะดำเนินการคัดเลือกเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการ ในตำแหน่งสถาปนิกปฏิบัติการ ตำแหน่งนายช่างศิลป็ปฏิบัติงาน และตำแหน่งนายช่างศิลปกรรมปฏิบัติงาน ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕๕ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ และหนังสือสำนักงาน ก.พ. ที่ นร ๑๐๐๔.๑/ว ๑๖ ลงวันที่ ๑๑ ธันวาคม ๒๕๕๑ เรื่อง การคัดเลือกเพื่อบรรจุ บุคคลเข้ารับราชการ และ ที่ นร ๑๐๐๔/ว ๒๐ ลงวันที่ ๒๑ กันยายน ๒๕๖๔ เรื่อง วุฒิที่ ก.พ. กำหนดให้ คัดเลือกเพื่อบรรจุบุคคลเข้ารับราชการ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ – พ.ศ. ๒๕๖๖ จึงประกาศรับสมัคร คัดเลือกฯ ดังรายละเอียดต่อไปนี้

ชื่อตำแหน่ง กลุ่มงาน และรายละเอียดการจ้างงาน

นักประเมินราคาทรัพย์สินปฏิบัติการ

อัตราว่าง : 4 อัตรา

อัตราเงินเดือน : 15000-16500 บาท

คุณวุฒิ : ปริญญาตรี


นักวิชาการคลังปฏิบัติการ

อัตราว่าง : 1 อัตรา

อัตราเงินเดือน : 15000-16500 บาท

คุณวุฒิ : ปริญญาตรี


นักวิชาการคอมพิวเตอร์ปฏิบัติการ

อัตราว่าง : 1 อัตรา

อัตราเงินเดือน : 15000-16500 บาท

คุณวุฒิ : ปริญญาตรี


นักวิชาการเงินและบัญชีปฏิบัติการ

อัตราว่าง : 5 อัตรา

อัตราเงินเดือน : 15000-16500 บาท

คุณวุฒิ : ปริญญาตรี


นักวิชาการพัสดุปฏิบัติการ

อัตราว่าง : 1 อัตรา

อัตราเงินเดือน : 15000-16500 บาท

คุณวุฒิ : ปริญญาตรีทุกสาขา*


เจ้าพนักงานการเงินและบัญชีปฏิบัติงาน

อัตราว่าง : 6 อัตรา

อัตราเงินเดือน : 11500-12650 บาท

คุณวุฒิ : ปวส.


เจ้าพนักงานเครื่องคอมพิวเตอร์ปฏิบัติงาน

อัตราว่าง : 2 อัตรา

อัตราเงินเดือน : 11500-12650 บาท

คุณวุฒิ : ปวส.


เจ้าพนักงานดูเงินปฏิบัติงาน

อัตราว่าง : 7 อัตรา

อัตราเงินเดือน : 11500-12650 บาท

คุณวุฒิ : ปวส.


นายช่างโลหะปฏิบัติงาน

อัตราว่าง : 1 อัตรา

อัตราเงินเดือน : 11500-12650 บาท

คุณวุฒิ : ปวส.


นายช่างสำรวจปฏิบัติงาน

อัตราว่าง : 9 อัตรา

อัตราเงินเดือน : 11500-12650 บาท

คุณวุฒิ : ปวส.


นายช่างโยธาปฏิบัติงาน

อัตราว่าง : 2 อัตรา

อัตราเงินเดือน : 11500-12650 บาท

คุณวุฒิ : ปวส.


สถาปนิกปฏิบัติการ

อัตราว่าง : 1 อัตรา

อัตราเงินเดือน : 11500-12650 บาท

คุณวุฒิ : ปวส.


นายช่างศิลป์ปฏิบัติงาน

อัตราว่าง : 1 อัตรา

อัตราเงินเดือน : 11500-12650 บาท

คุณวุฒิ : ปวส.


นายช่างศิลปกรรมปฏิบัติงาน

อัตราว่าง : 2 อัตรา

อัตราเงินเดือน : 11500-12650 บาท

คุณวุฒิ : ปวส.

คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง

นักประเมินราคาทรัพย์สินปฏิบัติการ

ได้รับปริญญาตรีหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์
หรือสาขาวิชาบริหารธุรกิจ


นักวิชาการคลังปฏิบัติการ

ได้รับปริญญาตรีหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ไนระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาการบัญชี สาขาวิชานิติศาสตร์ สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ หรือสาขาวิชาบริหารธุรกิจ


นักวิชาการคอมพิวเตอร์ปฏิบัติการ

ได้รับปริญญาตรีหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบไดในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาใดสาขาวิชาหนึ่ง
ทางคอมพิวเตอร์


นักวิชาการเงินและบัญชีปฏิบัติการ

ได้รับปริญญาตรีหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาการบัญชี สาชาวิชาบริหารธุรกิจ หรือสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์


นักวิชาการพัสดุปฏิบัติการ

ได้รับปริญญาตรีหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกันในทุกสาขาวิชา


เจ้าพนักงานการเงินและบัญชีปฏิบัติงาน

ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน
ในสาขาวิชาการเงินและการธนาคาร หรือสาขาวิชาการบัญชี


เจ้าพนักงานเครื่องคอมพิวเตอร์ปฏิบัติงาน

ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพขั้นสูงหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน
ในสาขาวิชาอิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิชาเทคโนโลยีโทรคมนาคม หรือสาขาวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์


เจ้าพนักงานดูเงินปฏิบัติงาน

ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพขั้นสูงหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาบัญชี สาขาวิชาการเงินและการธนาคาร สาขาวิชาการเลขานุการ สาขาวิชาการตลาด หรือสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ


นายช่างโลหะปฏิบัติงาน

ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพขั้นสูงหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาเทคนิคโลหะ สาขาวิชาเทคนิคการผลิต หรือสาขาวิชาเทคนิคการหล่อ


นายช่างสำรวจปฏิบัติงาน

ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพขั้นสูงหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาชาวิชาโยธา สาขาวิชาสำรวจ หรือสาขาวิชาการก่อสร้าง


นายช่างโยธาปฏิบัติงาน

ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพขั้นสูงหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน
ในสาขาวิชาโยธา หรือสาขาวิชาการก่อสร้าง


สถาปนิกปฏิบัติการ

ได้รับปริญญาตรีหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกันในสาขาวิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ และได้รับใบอนุญาตผู้ประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุมระดับภาคีสถาปนิกหรือสูงกว่า


นายช่างศิลป์ปฏิบัติงาน

ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพขั้นสูงหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน
ในสาขาวิชาวิจิตรศิลป็ หรือสาขาวิชาการออกแบบ


นายช่างศิลปกรรมปฏิบัติงาน

ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพขั้นสูงหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาวิจิตรศิลป็ สาขาวิชาศิลปหัตถกรรม สาขาวิชาเทคโนโลยีเครื่องเคลือบดินเผา หรือสาขาวิชา ศิลปะหัตถกรรมโลหะรูปพรรณและเครื่องประดับ

ลักษณะงานที่ปฏิบัติ

นักประเมินราคาทรัพย์สินปฏิบัติการ

ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ที่ต้องใช้ความรู้ ความสามารถทางวิชาการ ในการทำงาน ปฏิบัติงานด้านประเมินราคาที่ดินและทรัพย์สิน ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
๑. ด้านการปฏิบัติการ
(๑) ปฏิบัติงานเดินสำรวจภาคสนาม เพื่อเก็บข้อมูลและรายละเอียดต่าง ๆ เกี่ยวกับ แปลงที่ดิน การใช้ประโยชน์ การเข้าถึง ที่ตั้ง สิ่งอำนวยความสะดวกและแนวโน้ม ในการพัฒนา
(๒) วิเคราะห์ข้อมูลจากรายละเอียดในการเดินสำรวจภาคสนามทั้งข้อมูลที่ดินและข้อมูล โรงเรือน เพื่อกำหนดราคาประเมินที่ดิน สำหรับใช้เป็นเกณฑ์อ้างอิงหรือเป็นฐาน ในการจัดเก็บภาษีอากรและค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามกฎหมาย หรือเพื่อใช้ประโยชน์อย่างอื่นของรัฐ
(๓) ประเมินราคาที่ดินได้จากการกำหนดราคาเบื้องต้น พิจารณารวมพื้นที่ดำเนินการ ทั้งหมด โดยพิจารณาร่วมกับราคาหน่วยที่ดินในรอบบัญชีเดิม เพื่อจัดทำบัญชีราคา ประเมิน
(๔) วิเคราะห์และประเมินราคาทรัพย์สินโดยวิธีเปรียบเทียบราคาตลาด จากการหา ค่าตัวแปรที่มีผลกระทบต่อราคาที่ดินปานกลางและวิธีคิดจากรายได้ เพื่อให์ได้ราคา ประเมินที่เป็นปัจจุบันและใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากที่สุด
(๕) จัดทำรายงานการประเมินราคาทรัพย์สิน เพื่อใช้ในการประชุมชี้แจงและ เป็นเอกสารอ้างอิงในการดำเนินการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
(๖) ศึกษา วิจัย ระบบวิธีการ กระบวนการมาตรฐานการประเมินราคาทรัพย์สิน เพื่อพัฒนาระบบ วิธีการที่ใช้ในปัจจุบันให้ดียิ่งขึ้น
(๗) ปรับปรุงข้อมูลและวิเคราะห์ประเมินราคาใหม่เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูล เพื่อให้ ได้ราคาเป็นปัจจุบันเสมอ
๒. ด้านการวางแผน
วางแผนการทำงานที่รับผิดชอบ ร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงาน หรือโครงการ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายและผลสัมฤทธี้ที่กำหนด
๓. ด้านการประสานงาน
(๑) ประสานการทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน เพื่อให้เกิด ความร่วมมือและผลสัมฤทธึ๋ตามที่กำหนด
(๒) ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แกบุคคลหรือหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องเพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย
๔. ด้านการบริการ
แนะนำการใช้บัญชีราคาประเมินทรัพย์สิน เพื่อให้สำนักงานที่ดินและองค์การปกครอง ส่วนท้องถิ่นสามารถนำบัญชีราคาประเมินทรัพย์สินไปใช้ตามวัตถุประสงค์ตามกฎหมาย เป็นไปในทิศทางเดียวกัน


นักวิชาการคลังปฏิบัติการ

ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ที่ต้องใช้ความรู้ ความสามารถทางวิชาการ ในการทำงาน ปฏิบัติงานด้านการเงิน การคลัง การพัสดุ การบริหารเงินตรา การบริหารหนี้สาธารณะ และการงบประมาณ ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบและปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมี ลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
๑. ด้านการปฏิบัติการ
(๑) ศึกษา วิเคราะห์ ข้อมูลด้านการเงิน การคลัง การพัสดุ การบริหารเงินตรา การบริหาร หนี้สาธารณะ และการงบประมาณ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในระบบเศรษฐกิจ
(๒)วิเคราะห์ตรวจสอบในการเบิกจ่ายฎีกาเงินงบประมาณ เงินนอกงบประมาณ และอื่น ๆ ของส่วนราชการ เพื่อความถูกต้องและเป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับของทางราชการตัดสินใจที่ถูกต้อง
(๓) จัดทำรายงานการเงิน การคลัง เพื่อเสนอต่อผู้บังคับบัญชานำไปใช้ในการวิเคราะห์ และตัดสินใจ
(๔) ให้คำปรึกษาแนะนำด้านการเงิน การคลัง แกส่วนราชการต่าง ๆ เพื่อให้มีความเข้าใจ ที่ถูกต้อง
(๕) ศึกษา วิเคราะห์ พัฒนาระบบงานที่เกี่ยวช้องกับภารกิจหลักในด้านการเงิน การคลัง เพื่อให้การปฏิป้ติงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
(๖) รวบรวม ศึกษา ติดตามแผนการบริหารจัดการ การเคลื่อนไหวเหรียญกษาปณ์ในระบบ เศรษฐกิจ เพื่อจัดทำข้อมูลประกอบการวางแผนการบริหารจัดการ
(๗) ศึกษา วิเคราะห์ พัฒนาหลักเกณฑ์ กฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับ วิธีปฏิบัติทาง การเงิน การคลังที่เกี่ยวข้องเพื่อจัดทำคู่มือหลักเกณฑ์ต่าง ๆ
๒. ด้านการวางแผน
วางแผนการทำงานที่รับผิดชอบ ร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงาน หรือโครงการ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายและผลสัมฤทธี้ที่กำหนด
๓. ด้านการประสานงาน
(๑) ประสานการทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน เพื่อให้เกิด ความร่วมมือและผลสัมฤทธี๋ตามที่กำหนด
(๒) ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แก่บุคคลหรือหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องเพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย
๔. ด้านการบริการ
(๑) ให้คำแนะนำปรึกษาในเบื้องต้นแก,หน่วยงานราชการ หน่วยงานภาครัฐ เอกชน ข้าราชการ พนักงาน เจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือประชาชนทั่วไป เกี่ยวกับการเงิน การคลัง การพัสดุ การบริหารเงินตรา การบริหารหนี้สาธารณะ และการงบประมาณ เพื่อให้ ผู้ที่สนใจได้ทราบข้อมูลและความรู้ต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์
(๒) สำรวจและจัดเก็บข้อมูล ปรับปรุง หรือจัดทำฐานข้อมูล หรือระบบสารสนเทศ เกี่ยวกับการเงิน การคลัง การพัสดุ การบริหารเงินตรา การบริหารหนี้สาธารณะ และการงบประมาณ เทือการประมวล วิเคราะห์ และการนำเสนอนโยบาย ยุทธศาสตร์ มาตรการ แผนงาน/โครงการ หลักเกณฑ์ วิธีการเกี่ยวกับงานการเงิน การคลัง การพัสดุ การบริหารเงินตรา การบริหารหนี้สาธารณะ และการงบประมาณ
(๓) ดำเนินการเกียวกับการจัดทำเอกสาร ตำรา คูมือ ลือ เอกสารเผยแพร ในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อการเรียนรู้ และการทำความเข้าใจในเรืองต่าง ๆ เกี่ยวกับงาน การเงิน การคกัง การพัสดุ การบริหารเงินตรา การบริหารหนี้สาธารณะ และการงบประมาณ


นักวิชาการคอมพิวเตอร์ปฏิบัติการ

ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ที่ต้องใช้ความรู้ ความสามารถทางวิชาการ ในการทำงาน ปฏิบัติงานด้านวิชาการคอมพิวเตอร์ ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบและปฏิบัติงานอื่น ตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
๑. ด้านการปฏิบัติการ
(๑) ติดตั้งเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ชุดคำสั่งระบบปฏิบัติการ ชุดคำสั่งสำเร็จรูป ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง เพื่อสนับสนุนให้งานเทคโนโลยี สารสนเทศ ดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับความต้องการของ หน่วยงาน
(๒) ประมวลผลและปรับปรุงแก้ไขแฟ้มข้อมูล เพื่อให้ข้อมูลที่ได้ถูกต้องแม่นยำและทันสมัย
(๓) ทดสอบคุณสมบัติด้านเทคนิคของระบบ เพื่อให้ระบบมีคุณสมบัติที่ถูกต้อง ตรงตาม ความต้องการและสภาพการใช้งานของหน่วยงาน
(๔) เขียนชุดคำสั่งตามข้อกำหนดของระบบงานประยุกต์ และระบบข้อมูลที่ได้วางแผนไว้ เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานเทคโนโลยีสารสนเทศให้ดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ
(๔) เขียนชุดคำสั่ง ทดสอบความถูกต้องของคำสั่ง แก้ไขข้อผิดพลาดของคำสั่ง เพื่อให้ ระบบปฏิบัติการทำงานได้อย่างถูกต้องแม่นยำและมีประสิทธิภาพ
(๖) ช่วยรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ความต้องการของระบบงานประยุกต์ และระบบ ข้อมูลของหน่วยงานที่ไม่ซับช้อน เพื่อพัฒนาระบบงานเทคโนโลยีสารสนเทศ ในหน่วยงานให้มีประสิทธิภาพ และตรงตามความต้องการของหน่วยงาน
(๗) ช่วยรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ ออกแบบ และพัฒนาระบบงานประยุกต์ เพื่อให้ ได้ระบบงานประยุกต์ที่ตรงตามคุณลักษณะและความต้องการของหน่วยงาน
(๘) รวบรวมข้อมูลประกอบการกำหนดคุณลักษณะเฉพาะของเครื่องคอมพิวเตอร์และ อุปกรณ์ ระบบเครือข่าย ระบบงานประยุกต์และระบบสารสนเทศ การจัดการระบบ การทำงานเครื่อง การติดตั้งระบบเครื่อง เพื่อให้[ด้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่เป็นมาตรฐาน เดียวกัน และตรงตามความต้องการใช้ของหน่วยงาน
(๙) ช่วยตรวจสอบ สืบคัน และรวบรวมข้อมูลการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศที่เช้าข่าย ไม่เหมาะสม ขัดต่อกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับที่กำหนด หรือไม่เป็นไปตาม มาตรฐานสากลเพื่อความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลหรือระบบ
(๑๐) ช่วยตรวจสอบและรวบรวมข้อมูลเพื่อประกอบการออกใบอนุญาต เพื่อให้การออก ใบอนุญาตเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด
๒. ด้านการวางแผน
วางแผนการทำงานที่รับผิดชอบ ร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงาน หรือโครงการ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายและผลสัมฤทธึ๋ที่กำหนด
๓. ด้านการประสานงาน
(๑) ประสานการทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน เพื่อให้เกิด ความร่วมมือและผลสัมฤทธิ้ตามที่กำหนด
(๒) ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แก่บุคคลหรือหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย
๔. ด้านการบริการ
(๑) ช่วยจัดทำคู่มือระบบและคู่มือผู้ใช้ เพื่อให้ผู้ใช้สามารถใช้งานคอมพิวเตอร์ได้ด้วย ตนเองอย่างมีประสิทธิภาพ
(๒) ดำเนินการฟิกอบรมหรือถ่ายทอดความรู้ สนับสนุนการใช้ระบบงานที่พัฒนา แก่เจ้าหน้าที่ผู้ใช้งาน เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจในด้านวิชาการคอมพิวเตอร์
(๓) ให้คำปรึกษาแนะนำแก่ผู้ใช้เมื่อมีปัญหาหรือข้อสงสัยในการใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อให้ผู้ใช้สามารถแก่ไขและใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ


นักวิชาการเงินและบัญชีปฏิบัติการ

ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ที่ต้องใช้ความรู้ ความสามารถทางวิชาการ ในการทำงาน ปฏิบัติงานด้านวิชาการเงินและบัญชี ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่น ตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
๑. ด้านการปฏิบัติการ
(๑) จัดทำบัญชี เอกสารรายงานความเคลื่อนไหวทางการเงิน ทั้งเงินในและเงินนอก งบประมาณ เงินทุนหมุนเวียน เพื่อแสดงสถานะทางการเงินและใช้เป็นฐานข้อมูล ที่ถูกต้องตามระเบียบวิธีการบัญชีของส่วนราชการ
(๒) รวบรวมข้อมูล และรายงานการเงินของส่วนราชการ เพื่อพร้อมที่จะปรับปรุงข้อมูล ให้ถูกต้องและทันสมัย
(๓) จัดทำและจัดสรรงบประมาณแก่หน่วยงานของรัฐเพื่อให้การจัดสรรงบประมาณตรงกับ ความจำเป็นและวัตถุประสงค์ของแต่ละหน่วยงาน
(๔) ศึกษาวิเคราะห์ผลการใช้จ่ายเงินงบประมาณของหน่วยงานภาครัฐ เพื่อให้การใช้ จ่ายเงินเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงการจัดทำ และจัดสรรงบประมาณ
(๕) ดูแลการรับและจ่ายเงิน สถานะทางการเงิน ตรวจสอบเอกสารสำคัญการรับ – จ่ายเงิน เพื่อให้การรับ – จ่ายเงินขององค์กรมีประสิทธิภาพ การปฏิบัติการถูกต้องตามระเบียบ ปฏิบัติของราชการ
(๖) ถ่ายทอดความรู้ด้านการเงินและบัญชี แกเจ้าหน้าที่ระดับรองลงมา เข่น ให้คำแนะนำ ในการปฏิบัติงาน วางโครงการกำหนดหลักสูตรและฟิกอบรม จัดทำคู่มือประจำสำหรับ การฟิกอบรมและวิธีใช้อุปกรณ์เครื่องมือที่ถูกต้อง เป็นต้น เพื่อถ่ายทอดความรู้ที่เป็น ประโยชน์ในการปฏิบัติงานตามมาตรฐานและข้อกำหนด
๒. ด้านการวางแผน
วางแผนการทำงานที่รับผิดชอบ ร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงาน หรือโครงการ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายและผลสัมถุทธี้ที่กำหนด
๓. ด้านการประสานงาน
(๑) ประสานการทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน เพื่อให้เกิด ความร่วมมือและผลสัมฤทธื้ตามที่กำหนด
(๒) ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แกบุคคลหรือหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับ
มอบหมาย
๔. ด้านการบริการ
(๑) ให้คำแนะนำ ตอบปัญหาและชี้แจงเกี่ยวกับงานการเงินและบัญชีที่ตนมีความรับผิดชอบ ในระดับเบื้องต้นแก่หน่วยงานราชการ เอกชน หรือประชาชนทั่วไป เพื่อให้ผู้ที่สนใจได้ ทราบข้อมูลและความรู้ต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์
(๒) จัดเก็บข้อมูลเบื้องต้น ทำสถิติ ปรับปรุง หรือจัดทำฐานข้อมูลหรือระบบสารสนเทศ ที่เกี่ยวกับงานการเงินและบัญชี เพื่อให้สอดคล้องและสนับสมุนภารกิจของหน่วยงาน และใช้ประกอบการพิจารณากำหนดนโยบาย แผนงาน หลักเกณฑ์ มาตรการต่าง ๆ


นักวิชาการพัสดุปฏิบัติการ

ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ที่ต้องใช้ความรู้ ความสามารถทางวิชาการ ในการทำงาน ปฏิบัติงานด้านวิชาการพัสดุ ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับ มอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
๑. ด้านการปฏิบัติการ
(๑) รวบรวมและศึกษาข้อมูลในงานพัสดุ เพื่อกำหนดคุณภาพและมาตรฐานของพัสดุ
(๒) ตรวจสอบและดูแลการจัดชื้อจัดจ้างแบบต่าง ๆ เช่น การตกลงราคา การสอบราคา ประกวดราคา วิธีพิเศษ และวิธีกรณีพิเศษ เพื่อให้เป็นไปตามระเบียบของสำนัก นายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ
(๓) จัดทำรายละเอียดบัญชี หรือทะเบียนคุมทรัพย์สินเกี่ยวกับคุณลักษณะเฉพาะของวัสดุ เพื่อให้สามารถตรวจสอบวัสดุต่าง ๆ ได้โดยสะดวก
(๔) ซ่อมแซมและดูแลรักษาพัสดุในครอบครอง เพื่อให้มีสภาพที่พร้อมใช้งาน
(๕) จำหน่ายพัสดุเมื่อชำรุดหรือเสื่อมสภาพ หรือไม่จำเป็นในการใช้งานทางราชการ อีกต่อไป เพื่อให้พัสดุเกิดประโยชน์ให้แก่ทางราชการได้มากที่สุด
(๖) ถ่ายทอดความรู้ด้านงานพัสดุแกเจ้าหน้าที่ระดับรองลงมา เช่น ให้คำแนะนำ ในการปฏิบัติงาน วางโครงการกำหนดหลักสูตรและฟิกอบรม จัดทำคู่มือประจำ สำหรับการฟิกอบรมและวิธีใช้อุปกรณ์เครื่องมือที่ถูกต้อง เป็นต้น เพื่อถ่ายทอดความรู้ ที่เป็นประโยชน์ในการปฏิบัติงานตามมาตรฐานและข้อกำหนด
๒. ด้านการวางแผน
วางแผนการทำงานที่รับผิดชอบ ร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงาน หรือโครงการ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายและผลสัมฤทธที่กำหนด
๓. ด้านการประสานงาน
(๑) ประสานการทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน เพื่อให้เกิด ความร่วมมือและผลสัมฤทซ็ตามที่กำหนด
(๒) ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แกบุคคลหรือหน่วยงาน ทีเกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามทีได้รับ
มอบหมาย
๔. ด้านการบริการ
(๑) ให้คำแนะนำ ตอบปัญหาและชี้แจงเกี่ยวกับงานพัสดุที่ตนมีความรับผิดชอบ ในระดับ เบื้องต้นแก่หน่วยงานราชการ เอกชน หรือประชาชนทั่วไป เพื่อให้ผู้ที่สนใจได้ทราบ ข้อมูลและความรู้ต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์
(๒) จัดเก็บข้อมูลเบื้องต้น ทำสถิติ ปรับปรุง หรือจัดทำฐานข้อมูลหรือระบบสารสนเทศ ที่เกี่ยวกับงานพัสดุ เพื่อให้สอดคล้องและสนับสนุนภารกิจของหน่วยงานและใช้ ประกอบการพิจารณากำหนดนโยบาย แผนงาน หลักเกณฑ์ มาตรการต่าง ๆ


เจ้าพนักงานการเงินและบัญชีปฏิบัติงาน

ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้นซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญา
ปฏิบัติงานด้านการเงินและบัญชี ตามแนวทาง แบบอย่าง ขั้นตอน และวิธีการที่ชัดเจนภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัดิงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
๑. ด้านการปฏิบัติการ
(ด) จัดทำและปฏิบัติงานด้านเอกสารทางการเงินและบัญชีในระดับต้น เพื่อให้งานเป็นไป ตามเป้าหมายที่กำหนด
(๒) รวบรวมรายละเอียดการจัดทำงบประมาณ เพื่อใช้ประกอบในการทำงบประมาณ ประจำปีของหน่วยงาน
(๓) ตรวจสอบและดูความถูกต้องของเอกสารสำคัญทางการเงิน เพื่อให้เกิดความถูกต้อง ในการปฏิบัติงาน
(๔) ประสานงานในระดับฝ่ายหรือกลุ่มกับหน่วยงานราชการ เอกชน หรือประชาชนทั่วไป เพื่อขอความช่วยเหลือและร่วมมือในงานและแลกเปลี่ยนความรู้ความเชี่ยวชาญ ที่เป็นประโยชน์ต่อการทำงานของหน่วยงาน
๒. ด้านการบริการ
(ด) ให้คำแนะนำ ตอบปัญหา ชี้แจงเกี่ยวกับงานการเงินและบัญชี แก่เจ้าหน้าที่ ระดับรองลงมา หน่วยงานราชการ เอกชน และประชาชนทั่วไป เพื่อถ่ายทอดความรู้ ความชำนาญแก่ผู้ที่สนใจ
(๒) ประสานงานในระดับกลุ่ม กับหน่วยงานราชการ เอกชน หรือประชาชนทั่วไป เพื่อขอ ความช่วยเหลือและความร่วมมือในงานการเงินและบัญชี และแลกเปลี่ยนความรู้ ความเชี่ยวชาญที่เป็นประโยชน์ต่อการทำงานของหน่วยงาน


เจ้าพนักงานเครื่องคอมพิวเตอร์ปฏิบัติงาน

  Youtube: iqepin LINE it! เพิ่มเพื่อน  

ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้นซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญา
ปฏิบัติงานด้านเครื่องคอมพิวเตอร์ ตามแนวทาง แบบอย่าง ขั้นตอน และวิธีการที่ชัดเจน ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
๑. ด้านการปฏิบัติการ
(๑) ควบคุม ดูแล ติดตั้ง บำรุงรักษา ช่อมแชม ตรวจสอบการทำงาน แก้ไขปัญหาการใช้งาน ของระบบเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง ระบบเครือข่ายสื่อสาร รวมทั้งระบบ สนับสนุนต่าง ๆ เพื่อให้ระบบงานต่าง ๆ สามารถใช้งานได้อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ
(๒) ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการประมวลผลข้อมูล ปรับปรุง ดูแล รักษาความปลอดภัย จัดเก็บ สำรอง กู้คืนข้อมูล เพื่อสนับสนุนการใช้ประโยชน์ข้อมูล และป้องกันการสูญหายของข้อมูล
(๓) จัดทำทะเบียน รวบรวม และเก็บข้อมูลทางสถิติของการใช้งาน เพื่อการวางแผน
บำรุงรักษา
๒. ด้านการบริการ
(๑) ให้คำแนะนำ ตอบปัญหา แก้ไขปัญหา ให้แกผู้ใช้งานและผู้รับบริการทั้งภายในและ ภายนอกหน่วยงาน เพื่อให้สามารถใช้งานได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ
(๒) ประสาน แลกเปลี่ยนความรู้และข้อมูลต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกหน่วยงาน เพื่อประกอบการปฏิบัติงานได้อย่างครอบคลุม และมีประสิทธิภาพ


เจ้าพนักงานดูเงินปฏิบัติงาน

ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้นชึ่งไม่จำเป็นต้องใช้ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญา ปฏิบัติงานด้านดูเงิน ตามแนวทาง แบบอย่าง ขั้นตอน และวิธีการที่ชัดเจน ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอนตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
๑. ด้านการปฏิบัติการ
(๑) วางแผนและดำเนินงานด้านจ่ายแลกธนบัตรและเหรียญกษาปณ์ให้กับหน่วยงาน ราชการ รัฐวิสาหกิจ ธนาคารพาณิชย์ และประชาชนเพื่อตอบสนองความต้องการ ของผู้ใช้บริการได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว
(๒) ตรวจพิสูจน์ นับ คัด ธนบัตรและเหรียญกษาปณ์ปลอมแปลง ชำรุดที่แลกค่าได้ และแลกค่าไม่ได้ ตามกรอบกฎหมายที่ทางราชการกำหนด เพื่อให้การดำเนินการรับ จ่ายธนบัตร เหรียญกษาปณ์ เป็นไปอย่างแม่นยำและมีประสิทธิภาพ
(๓) จัดทำรายงานต่าง ๆ เช่น รายงานตรวจรับเงิน รายงานการนำส่งธนบัตรของธนาคารพาณิชย์ เพื่อให้สำนักงานคงคลังและผู้ที่เกี่ยวข้องในส่วนภูมิภาคได้รับทราบข้อมูลทางการเงิน ที่ถูกต้องสมบูรณ์
(๔) ประสานงานในระดับฝ่ายหรือกลุ่มกับหน่วยงานราชการ เอกชน หรือประชาชนทั่วไป เพื่อขอความช่วยเหลือและร่วมมือในงาน และแลกเปลี่ยนความรู้ความเชี่ยวชาญ ที่เป็นประโยชน์ต่อการทำงานของหน่วยงาน
(๕) ถ่ายทอดความรู้ด้านการคลังในส่วนที่เกี่ยวข้องแก่เจ้าหน้าที่ระดับรองลงมา เช่น ให้คำปรึกษาแนะนำในการปฏิบัติงาน วางโครงการกำหนดหลักสูตรและผึเกอบรม จัดทำคู่มือประจำสำหรับการผึเกอบรมและวิธีใช้อุปกรณ์เครื่องมือที่ถูกต้อง เป็นต้น เพื่อถ่ายทอดความรู้ที่เป็นประโยชน์ในการปฏิบัติงานตามมาตรฐานและข้อกำหนด
๒. ด้านการบริการ
(๑) ให้คำแนะนำ ตอบปัญหา ชี้แจงเกี่ยวกับงานการคลังในส่วนที่เกี่ยวข้องแก่เจ้าหน้าที่ รองลงมา เพื่อถ่ายทอดความรู้ ความชำนาญ แก่ผู้ที่สนใจ
(๒) ประสานงานในระดับกลุ่ม กับหน่วยงานราชการ เอกชน หรือประชาชนทั่วไป เพื่อขอ ความช่วยเหลือและความร่วมมือในงานการคลังในส่วนที่เกี่ยวข้องและแลกเปลี่ยน ความรู้ความเชี่ยวชาญที่เป็นประโยชน์ต่อการทำงานของหน่วยงาน


นายช่างโลหะปฏิบัติงาน

ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้นซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญา ปฏิบัติงานด้านช่างโลหะ ตามแนวทาง แบบอย่าง ขั้นตอน และวิธีการที่ชัดเจน ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
๑. ด้านการปฏิบัติการ
(๑) ควบคุมการดำเนินกิจการถลุงแร่ การควบคุมการหลอม หล่อโลหะและโลหะผสม การแยกโลหะผสม และการรีดโลหะ การทำโลหะบริสุทธี๋ การแปรรูปโลหะ
(๒) ดัดแปลง แก้ไข เครื่องมือและอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้ประกอบโลหกรรม
(๓) ตรวจสอบ ควบคุม โรงงานที่ได้รับอนุญาตแล้วให้ปฏิบัติตามกฎหมาย เงื่อนไข และระเบียบข้อบังคับที่ทางราชการกำหนด
๒. ด้านการบริการ
(๑) ให้คำแนะนำ ตอบปัญหา เกี่ยวกับงานโลหกรรมที่ตนมีความรับผิดชอบ แกหน่วยงาน ราชการ เอกชน หรือประชาชนทั่วไป เพื่อถ่ายทอดความรู้ความชำนาญด้านงาน โลหกรรมแก่ผู้ที่สนใจ
(๒) ประสานงานกับหน่วยงานราชการ เอกชน หรือประชาซนทั่วไป เพื่อขอความช่วยเหลือ และความร่วมมือในงานโลหกรรม เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อการทำงานของหน่วยงาน


นายช่างสำรวจปฏิบัติงาน

ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้นซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญา ปฏิบัติงานด้านช่างสำรวจ ตามแนวทาง แบบอย่าง ขั้นตอน และวิธีการที่ชัดเจน ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
๑. ด้านการปฏิบัติการ
(๑) สำรวจ รังวัด คำนวณ ตรวจสอบ จัดทำแผนที่ แผนผัง เพื่อให้ทราบรายละเอียด และเป็นไปตามแบบที่กำหนด สามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
(๒) แก้ไขปัญหาเบื้องต้นจากการปฏิบัติงาน เพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ และเป้าหมาย ชองงานที่กำหนดไว้
(๓) วัดระดับของภูมิประเทศ วางโครงข่ายหมุดหลักฐาน แผนที่ เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงาน ของหน่วยงาน
(๔) บันทึกข้อมูลรายละเอียดต่าง ๆ ที่ได้จากการสำรวจ และรายงานผลเพื่อติดตาม ความก้าวหน้าของงาน
(๔) กำหนดขั้นตอนการปฏิบัติงาน และตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล และรายละเอียด ต่าง ๆ ที่ได้จากการสำรวจ เพื่อให้ข้อมูลที่ได้มีความถูกต้อง
๒. ด้านการบริการ
(๑) ให้คำปรึกษา แนะนำ ทั้งในเชิงทักษะเฉพาะด้านและทักษะทั่วไป แก่บุคลากร ทุกสายงาน เพื่อให้บุคลากรมีความรู้ ความสามารถ และมีทักษะเหมาะสม แก่การปฏิบัติงานในหน้าที่
(๒) ติดต่อประสานกับหน่วยงานหรือเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไป อย่างมีประสิทธิภาพ และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องตามที่ได้รับมอบหมาย


นายช่างโยธาปฏิบัติงาน

ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้นซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญา
ปฏิบัติงานด้านช่างโยธา ตามแนวทาง แบบอย่าง ขั้นตอน และวิธีการที่ชัดเจน ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ด้งนี้
๑. ด้านการปฏิบัติการ
(๑) สำรวจออกแบบเขียนแบบก่อสร้างบำรุงรักษาโครงการก่อสร้างต่าง ๆ เพื่อให้ตรงตาม หลักวิชาช่าง ความต้องการของหน่วยงานและงบประมาณที่ได้รับ
(๒) ตรวจสอบแก่ไขและกำหนดรายละเอียดของงานให้ตรงกับแบบรูปและรายการ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
(๓) ถอดแบบ เพื่อสำรวจปริมาณวัสดุที่ใช้ตามหลักวิชาช่าง เพื่อประมาณราคาค่าก่อสร้าง
(๔) ควบคุมงานก่อสร้าง งานปรับปรุง และซ่อมแซม หรือตรวจการจ้างตามที่ได้รับมอบหมาย พร้อมรายงานความก้าวหน้าของงาน เพื่อให้เป็นไปตามระเบียบที่กำหนด
(๔) รวบรวมและจัดเก็บข้อมูล เพื่อการศึกษา วิเคราะห์ วิจัยในงานด้านช่าง
๒. ด้านการบริการ
(๑) ให้คำแนะนำ ตอบปัญหาและนืกอบรมเกี่ยวกับงานโยธาที่ตนมีความรับผิดชอบ แก่ผู้ใต้บังคับบัญชา หรือเจ้าหน้าที่ระดับรองลงมา หน่วยงานราชการ เอกชน หรือประชาชนทั่วไป เพื่อให้ผู้ที่สนใจได้รับทราบข้อมูล ความรู้ต่าง ๆ และมีทักษะ เหมาะสมแก่การปฏิบัติงาน
(๒) ประสานงานในระดับกลุ่ม กับหน่วยงานราชการ เอกชน หรือประชาชนทั่วไป เพื่อขอ ความช่วยเหลือและร่วมมือในงานโยธา และแลกเปลี่ยนความรู้ความเชี่ยวชาญ ที่เป็นประโยชน์ต่อการทำงานของหน่วยงานและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง ตามที่ได้รับมอบหมาย


สถาปนิกปฏิบัติการ

ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ที่ต้องใช้ความรู้ ความสามารถทางวิชาการ ในการทำงาน ปฏิบัติงานด้านสถาปัตยกรรม ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ ได้รับมอบหมาย
๑. ด้านการปฏิบัติการ
(๑) รวบรวมข้อมูล ศึกษาวิเคราะห์ เพื่อการกำหนดรายละเอียดโครงการทางสถาปัตยกรรมหลัก รวมทั้งการออกแบบวางผังเมืองประเภทต่าง ๆ และการเสนอโครงการพัฒนาเมือง
(๒) จัดทำแบบ งานปรับปรุงซ่อมแซมและต่อเดิม รวมถึงงานอนุรักษ์ทางสถาปัตยกรรม หลัก จัดทำงบประมาณ ราคาค่าก่อสร้าง เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการพื้นที่ใช้สอย ของหน่วยงาน และให้ได้สถาปัตยกรรมที่มีความเหมาะสม ประหยัด สอดคล้อง ตามข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
(๓) ออกแบบวางผังสภาพแวดล้อมทางกายภาพของพื้นที่ กลุ่มอาคาร ชุมชนและเมือง รวมทั้งการจัดรูปที่ดิน เพื่อให้ชุมชนน่าอยู่และมีสภาพแวดล้อมที่ดี
(๔) ควบคุมการก่อสร้าง ปรับปรุงซ่อมแซมและต่อเดิม รวมถึงงานอนุรักษ์ทาง สถาปัตยกรรมหลัก เพื่อให้เป็นไปตามรูปแบบและรายการที่กำหนด
(๕) ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย ข้อมูล จัดทำคู่มือ เกณฑ์ มาตรฐาน แนวทาง เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ และการออกแบบทางสถาปัตยกรรมหลัก
๒. ด้านการวางแผน
วางแผนการทำงานที่รับผิดชอบ ร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงาน หรือโครงการ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายและผลสัมฤทธึ๋ที่กำหนด
๓. ด้านการประสานงาน
(๑) ประสานการทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน เพื่อให้เกิด ความร่วมมือและผลสัมฤทธี้ตามที่กำหนด
(๒) ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แก่บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย
๔. ด้านการบริการ
(๑) ให้คำปรึกษา แนะนำ ตอบปัญหาชี้แจงและแก้ไขปัญหาเรื่องต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง กับหน้าที่ เพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปอย่างถูกต้อง
(๒) จัดเก็บข้อมูล และสถิติเบื้องต้น เพื่อปรับปรุงหรือจัดทำฐานข้อมูล/ระบบสารสนเทศ ที่เกี่ยวกับงานสถาปัตยกรรม และ/หรืองานอนุรักษ์ เพื่อให้สอดคล้องและสนับสบุน ภารกิจของหน่วยงาน และใช้ประกอบการพิจารณา กำหนดนโยบาย แผนงาน หลักเกณฑ์ มาตรฐานต่าง ๆ
(๓) ตรวจสอบความถูกต้องของแบบด้านสถาปัตยกรรมหลักเบื้องต้น ซึ่งจัดทำโดยเอกชน หรือหน่วยงานอื่น เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานของหน่วยงาน
(๔) ให้ความรู้ด้านวิชาการทางสถาปัตยกรรมระดับต้นทุกสาขาแก่บุคคลทั่วไปและ หน่วยงานต่าง ๆ เพื่อให้ผู้สนใจได้รับทราบข้อมูล ความรู้ต่าง ๆ และนำไปใช้ให้เกิด ประโยชน์สูงสุด
(๕) ร่วมเป็นกรรมการตรวจการจ้างที่เกี่ยวข้องกับงานสถาปัตยกรรมหลัก เพื่อให้เป็นไป ตามมาตรฐานหลักเกณฑ์ที่กำหนด


นายช่างศิลป์ปฏิบัติงาน

ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้นซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญา
ปฏิบัติงานด้านช่างศิลป็ ตามแนวทาง แบบอย่าง ขั้นตอน และวิธีการที่ชัดเจน ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
๑. ด้านการปฏิบัติการ
(๑) ออกแบบงานศึลป็ บอร์ด ป้ายประกาศ ป้ายโฆษณา ฉาก เวทีของหน่วยงาน ผังสถานที่ สื่อสิ่งพิมพ์ เพื่อประกอบกิจกรรมต่างๆ ให้มีประสิทธิภาพ สวยงาม และสื่อ ความได้เป็นอย่างดี
(๒) ดูแล จัดเก็บ บำรุงรักษา ซ่อมแซมวัสดุอุปกรณ์การทำงานให้เป็นระบบเพื่อให้อุปกรณ์ อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานอยู่เสมอ
๒. ด้านงานบริการ
(๑) ให้คำแนะนำ การออกแบบ เทคนิค การจัดงานศิลป้ การจัดนิทรรศการแกบุคลากร ทั้งภายในและภายนอก เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในงานศิลป็
(๒) ช่วยจัดทำสื่อสิ่งพิมพ์ คู่มือ หนังสือ แผ่นพับและนิทรรศการ เพื่อเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ เสริมสร้างภาพพจน์ และส่งเสริมการออกแบบงานศิลป็


นายช่างศิลปกรรมปฏิบัติงาน

ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้นซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญา ปฏิบัติงานด้านช่างศิลปกรรม ตามแนวทาง แบบอย่าง ขั้นตอน และวิธีการที่ชัดเจน ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
๑. ด้านการปฏิบัติการ
(๑) ศึกษา ค้นคว้า รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวช้องทางด้านศิลปกรรม เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการ ออกแบบ เขียนแบบและอนุรักษ์งานศิลปกรรมแขนงต่างๆและงานช่างสิบหมู่
(๒) ออกแบบ เขียนแบบ และควบคุมการก่อสร้างตามแบบพุทธศิลป็ หรือการตกแต่ง ประดับประดาแบบไทยหรือการปฏิบัติงานช่างสิบหมู่ ออกแบบงานศิลปประยุกต์ งานด้านจิตรกรรม และประติมากรรม เพื่อสร้างสรรค์และอนุรักษ์งานศิลปกรรม ที่มีคุณค่า และมีความประณีตวิจิตรบรรจงให้คงอยู่สำหรับประชาชนได้ศึกษาต่อไป
(๓) ทำแผนผังงานศิลปกรรม เพื่อการขึ้นทะเบียนโบราณสถานการบูรณปฏิสังขรณ์ โบราณสถาน โบราณวัตถุ รวมทั้งการซ่อมสงวนรักษา เพื่ออนุรักษ์ผลงานศิลปกรรม ของไทยให้คงอยู่ต่อไป
๒. ด้านการบริการ
ประสานงานกับบุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ความช่วยเหลือในด้านที่ตนรับผิดชอบ

วิชาที่สอบ

นักประเมินราคาทรัพย์สินปฏิบัติการ

ทดสอบเพื่อวัดความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง โดยวิธีการสอบข้อเขียน ดังต่อไปนี้
(๑) ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพระราชบัญญัติการประเมินราคาทรัพย์สินเพื่อประโยชน์ แห่งรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๒
(๒) ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. ๒๕๖๒
(๓) ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ. ๒๕๒๒ และที่แก้ไขเพิ่มเดิม
(๔) ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎกระทรวงการกำหนดราคาที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้าง การจัดทำ บัญชีราคาประเมินที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้าง และแผนที่ประกอบการประเมินราคาที่ดิน
พ.ศ. ๒๕๖๓
(๕) ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎกระทรวงการกำหนดราคาประเมินห้องชุดและจัดทำบัญชี ราคาประเมินห้องชุด พ.ศ. ๒๕๖๓
(๖) ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระเบียบคณะกรรมการประเมินราคาทรัพย์สินเพื่อประโยชน์ แห่งรัฐว่าด้วยการคัดด้านราคาประเมินทรัพย์สิน พ.ศ. ๒๕๖๕
(๗) ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับประมวลกฎหมายที่ดิน
(๘) ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักสถิติเบื้องต้น
(๙) ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการประเมินค่าทรัพย์สินเบื้องต้น เช่น กระบวนการประเมินค่า ทรัพย์สินตามมาตรฐานสากล/หลักเบื้องต้นเกี่ยวกับมูลค่าทรัพย์สิน/องค์ประกอบและ ปัจจัยที่มีผลต่อการประเมินมูลค่าทรัพย์สิน/หลักการวิเคราะห์มูลค่าทรัพย์สิน/วิธีการ ประเมินมูลค่าทรัพย์สิน/เอกสารสิทธิที่ดินและระบบแผนที่


นักวิชาการคลังปฏิบัติการ

ทดสอบเพื่อวัดความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง โดยวิธีการสอบข้อเขียน ดังต่อไปนี้
(๑) ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับด้านเศรษฐศาสตร์
(๒) ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับด้านการเงินการคลัง การงบประมาณ
(๓) ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖๐ และระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุ ภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖๐
(๔) ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพระราชบัญญัติเงินตรา พ.ศ. ๒๕๐๑ และที่แก็ไขเพิ่มเดิม
(๕) ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพระราชบัญญัติเงินคงคลัง พ.ศ. ๒๔๙๑ และที่แกิไขเพิ่มเดิม
(๖) ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกเงินจากคลัง การรับเงิน การจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน และการนำเงินส่งคลัง พ.ศ. ๒๕๖๒


นักวิชาการคอมพิวเตอร์ปฏิบัติการ

ทดสอบเพื่อวัดความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง โดยวิธีการสอบข้อเขียน ดังต่อไปนี้ (๑) ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการวิเคราะห์และออกแบบระบบ พัฒนาระบบสารสนเทศ (๒) ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบคอมพิวเตอร์ ระบบฮาร์ดแวร์ (Hardware) ระบบซอฟต์แวร์ (Software) และระบบความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศ (Security)
(๓) ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้ภาษาทางคอมพิวเตอร์ เครื่องมือในการพัฒนาระบบงาน ประยุกต์ เช่น PHP , JavaScript 1 SQL เป็นต้น
(๔) ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบการบริหารจัดการข้อมูล (Database Management System) (๕) ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับการใช้งานระบบ คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ ดังนี้
(๕.๑) พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๐ และที่แก่ไขเพิ่มเดิม
(๕.๒) พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไชเบอร์ พ.ศ. ๒๕๖๒
(๕.๓) พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. ๒๕๖๒
(๕.๔) พระราชบัญญัติการบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล พ.ศ. ๒๕๖๒
(๕.๕) พระราชบัญญัติการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. ๒๕๖๕
(๖) ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data)
(๗) จรรยาบรรณของนักวิชาการคอมพิวเตอร์


นักวิชาการเงินและบัญชีปฏิบัติการ

ทดสอบเพื่อวัดความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง โดยวิธีการสอบข้อเขียน ดังต่อไปนี้
(๑) ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับบัญชี การเงินและงบประมาณ
(๒) ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๑
(๓) ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกเงินจากคลัง การรับเงิน การจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงินและการนำเงินส่งคลัง พ.ศ. ๒๕๖๒
(๔) ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๒
(๕) ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการบัญชีเบื้องต้น
(๖) ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทดรองราชการ พ.ศ. ๒๕๖๒


นักวิชาการพัสดุปฏิบัติการ

ทดสอบเพื่อวัดความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง โดยวิธีการสอบข้อเขียน ดังต่อไปนี้
๑. ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพระราชบัญญ้ติการจัดชื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖๐
๒. ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดชื้อจัดจ้างและการ บริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖๐
๓. ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. ๒๕๒๖ และที่แกไขเพิ่มเดิม
๔. ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎกระทรวง หนังสือเวียน และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องกับ การจัดชื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖๐


เจ้าพนักงานการเงินและบัญชีปฏิบัติงาน

ทดสอบเพื่อวัดความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง โดยวิธีการสอบข้อเขียน ดังต่อไปนี้ ด. ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระเบียบ กระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกเงินจากคลัง การรับเงิน
การจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงินและการนำเงินส่งคลัง พ.ศ. ๒๕๖๒
๒. ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการบัญชีเบื้องต้น
๓. ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทดรองราชการ พ.ศ. ๒๕๖๒
๔. ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพระราชบัญญัติการจัดชื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ
พ.ศ. ๒๕๖๐ และกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง
๕. ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. ๒๕๒๖ และที่แก้ไขเพิ่มเดิม


เจ้าพนักงานเครื่องคอมพิวเตอร์ปฏิบัติงาน

ทดสอบเพื่อวัดความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง โดยวิธีการสอบข้อเขียน ดังต่อไปนี้
๑. ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้คำสั่งของระบบปฏิบัติการในการควบคุม เครื่องคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ต่อพ่วง
๒. ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการบำรุงรักษาและแก้ไขปัญหาข้อชัดข้องของเครื่องคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์
๓. ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการบำรุงรักษาระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์และการสื่อสาร ข้อมูล
๔. ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดเก็บสำรองข้อมูล (Back up)ในระบบคอมพิวเตอร์ และการกู้คืนข้อมูล (Restore)
๕. ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการบำรุงรักษาระบบควบคุมไพ่ฟ้า ระบบปรับอากาศศูนย์ข้อมูล (Data center)
๖. ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. ๒๕๖๒


เจ้าพนักงานดูเงินปฏิบัติงาน

ทดสอบเพื่อวัดความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง โดยวิธีการสอบข้อเขียน ดังต่อไปนี้
๑. ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพระราชบัญญัติเงินตรา พ.ศ. ๒๕๐๑ และที่แก้ไขเพิ่มเดิม
๒. ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพระราชบัญญัติเงินคงคลัง พ.ศ. ๒๔๙๑ และที่แก้ไขเพิ่มเดิม
๓. ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการรับแลกเปลี่ยน เหรียญกษาปณ์ชำรุด พ.ศ. ๒๕๔๘
๔. ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเหรียญกษาปณ์ไทยและธนบัตรไทย
๕. ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้คอมพิวเตอร์
๖. ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการให้บริการ


นายช่างโลหะปฏิบัติงาน

ทดสอบเพื่อวัดความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง โดยวิธีการสอบข้อเขียน ดังต่อไปนี้
๑. ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวัสดุและโลหะวิทยา
๒. ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเทคนิคการผลิต
๓. ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโลหะรูปพรรณ / การแปรรูปโลหะ


นายช่างสำรวจปฏิบัติงาน

ทดสอบเพื่อวัดความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง โดยวิธีการสอบข้อเขียน ดังต่อไปนี้
(๑) ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับงานสำรวจและรังวัด ได้แก่ งานวงรอบชนิดต่าง ๆ การวัดมุม และปรับแก้มุม การวัดระยะ และการปรับแก้ระยะขั้นหรือเกณฑ์ของงานวงรอบ และการทำแผนที่รายละเอียด
(๒) ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการคำนวณและเขียนแผนที่ เป็นการคำนวณพื้นที่จากค่าพิกัด โดยวิธีพิกัดฉาก หลักการเขียนแผนที่ภูมิประเทศจากข้อมูลสำรวจ
(๓) ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการรังวัดทางดาราศาสตร์ และการรังวัดหมุดหลักฐานแผนที่ โดยดาวเทียมเบื้องต้น
(๔) ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแผนที่ภาพถ่ายทางอากาศ ได้แก่ การคำนวณมาตรส่วนบน ภาพถ่ายทางอากาศในงานแผนที่ หลักการแปรภาพถ่ายทางอากาศ
(๔) ความรู้ความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับระบบภูมิสารสนเทศ
(๖) ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพระราชบัญญ้ติที่ราชพัสดุ พ.ศ. ๒๔๖๒
(๗) ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับประมวลกฎหมายที่ดิน


นายช่างโยธาปฏิบัติงาน

ทดสอบเพื่อวัดความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง โดยวิธีการสอบข้อเขียน ดังต่อไปนี้
๑. ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. ๒๔๒๒ และที่แก่ไขเพิ่มเดิม รวมทั้งกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
๒. ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการควบคุมงานก่อสร้าง
๓. ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการประมาณราคาก่อสร้าง


สถาปนิกปฏิบัติการ

คัดเลือกเพื่อวัดความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง โดยวิธีการสอบข้อเขียนและวิธีปฏิบัติ ดังต่อไปนี้
๑. ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการออกแบบอาคารและผังพัฒนาต่าง ๆ
๒. ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการก่อสร้าง เช่น กฎหมายควบคุมอาคาร เทศบัญญัติเกี่ยวกับ การก่อสร้าง การบริหารงานก่อสร้าง
๓. ความถนัดด้านการออกแบบอาคารและงานสถาปัตยกรรมต่าง ๆ


นายช่างศิลป์ปฏิบัติงาน

คัดเลือกเพื่อวัดความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง โดยวิธีการสอบข้อเซียน และวิธีปฏิบัติ
ดังต่อไปนี้
(๑) ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการออกแบบและองค์ประกอบศิลป้
(๒) ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้โปรแกรมกราฟทิเค
(๓) ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการออกแบบตกแต่งสื่อและจัดนิทรรศการ (๔) ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับภารกิจงานของกรมธนารักษ์


นายช่างศิลปกรรมปฏิบัติงาน

ทดสอบเพื่อวัดความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง โดยวิธีปฏิบัติ ดังต่อไปนี้
(๑) ความรู้และความสามารถในการออกแบบเหรียญ
(๒) ความรู้และความสามารถในการวาดเส้น


วิธีการสมัครงานข้าราชการ กรมธนารักษ์  :สมัครทางอินเทอร์เน็ต  

ผู้ประสงค์จะสมัครสอบ สมัครได้ทางอินเทอร์เน็ตเท่านั้น ตั้งแต่วันที่ 30 ม.ค. – 17 ก.พ. 2566 ตลอด 24 ชั่วโมง ไม่เว้นวันหยุดราชการ

ดาวน์โหลดประกาศ/ใบสมัครกรมธนารักษ์

ประกาศรับสมัคร file 1 | file 2 | เว็บรับสมัคร

Comments

comments