Categories
งานราชการ-รัฐวิสาหกิจ เปิดสอบที่น่าสนใจ

กรมทรัพย์สินทางปัญญา เปิดรับสมัครสอบข้าราชการ 11 ม.ค. -31 ม.ค. 2565 รวม 9 อัตรา,

กรมทรัพย์สินทางปัญญา

ลิงค์: https://ehenx.com/15939/ หรือ
ตำแหน่ง: นิติกรปฏิบัติการ,นักวิชาการตรวจสอบสิทธิบัตรปฏิบัติการ(กลุ่มวิศวกรรม),นักวิชาการคอมพิวเตอร์ปฏิบัติการ
ระดับการศึกษา: ปริญญาตรี
อัตราเงินเดือน: 15,000-16,500
อัตราว่าง: 9
ปฏิบัติงานที่: กรุงเทพมหานคร
เปิดรับสมัครตั้งแต่: 11 ม.ค. – 31 ม.ค. 2565
**เฉพาะผู้สอบผ่านภาค ก. ก.พ.**



กรมทรัพย์สินทางปัญญา เปิดรับสมัคร

ประกาศกรมทรัพย์สินทางปัญญา

เรื่อง รับสมัครสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเช้ารับราชการ เป็นช้าราชการพลเรือนสามัญ

ด้วย กรมทรัพย์สินทางปัญญาจะดำเนินการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคล เช้ารับราชการในตำแหน่งนิติกรปฏิบัติการ ตำแหน่งนักวิชาการตรวจสอบสิทธิบัตรปฏิบัติการ (กลุ่มวิศวกรรม) และตำแหน่งนักวิชาการคอมพิวเตอร์ปฏิบัติการ ฉะนั้นอาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕๓ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบช้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ และหนังสือสำนักงาน ก.พ. ที่ นร ๑๐๐๔/ว ๑๗ ลงวันที่ ๑๑ ธันวาคม ๒๕๕๖ เรื่อง การสรรหาโดยการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุบุคคลเข้ารับราชการ จึงประกาศ รับสมัครสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการในสังกัดกรมทรัพย์สินทางปัญญา รายละเอียด ดังต่อไปนี้

ชื่อตำแหน่ง กลุ่มงาน และรายละเอียดการจ้างงาน

นิติกรปฏิบัติการ

อัตราว่าง : 3 อัตรา

อัตราเงินเดือน : 15000-16500 บาท

คุณวุฒิ : ปริญญาตรี


นักวิชาการตรวจสอบสิทธิบัตรปฏิบัติการ(กลุ่มวิศวกรรม)

อัตราว่าง : 2 อัตรา

อัตราเงินเดือน : 15000-16500 บาท

คุณวุฒิ : ปริญญาตรี


นักวิชาการคอมพิวเตอร์ปฏิบัติการ

อัตราว่าง : 4 อัตรา

อัตราเงินเดือน : 15000-16500 บาท

คุณวุฒิ : ปริญญาตรี

คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง

นิติกรปฏิบัติการ

ได้รับวุฒิปริญญาตรี หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกันในสาขาวิชานิติศาสตร์


นักวิชาการตรวจสอบสิทธิบัตรปฏิบัติการ(กลุ่มวิศวกรรม)

ได้รับวุฒิปริญญาตรี หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกันในสาขาวิชา วิศวกรรมศาสตร์ ทางวิศวกรรมเครื่องกล ทางวิศวกรรมอุตสาหการ ทางวิศวกรรมการผลิต ห่รือทางวิศวกรรมยาน


นักวิชาการคอมพิวเตอร์ปฏิบัติการ

ได้รับวุฒิปริญญาตรี หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกันในสาขาวิชาใดสาขาวิชาหนึ่ง ทางคอมพิวเตอร์

ลักษณะงานที่ปฏิบัติ

นิติกรปฏิบัติการ

ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ที่ต้องใช้ความรู้ความสามารถทางวิชาการในการทำงาน ปฏิบัติงานด้านนิติการ ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
๑. ด้านการปฏิบัติการ
๑.๑ ปฏิบัติงานด้านกฎหมาย โดยยกร่าง ปรับปรุง แก้ไขบทบัญญัติและอนุบัญญัติต่างๆ ให้ คำปรึกษาประชาชน และตอบข้อหารือด้านกฎหมาย และด้านสนธิสัญญาระหว่างประเทศที่เกี่ยวกับทรัพย์สินทาง ปัญญา ตลอดจนตรวจพิจารณาให้ความเห็นในประกาศ ระเบียบ คำสั่ง และนิติกรรมสัญญาต่างๆ
๑.๒ ปฏิบัติงานด้านพิจารณาคำขออุทธรณ์การจดทะเบียนของคณะกรรมการต่างๆ โดยตรวจ รับคำอุทธรณ์ คำร้องขอเพิกถอนการจดทะเบียน และเอกสารหลักฐานต่างๆ จัดทำสรุปสำนวนอุทธรณ์ พร้อมทั้ง ทำความเห็นเพื่อเสนอคณะกรรมการต่างๆ พิจารณา จัดเตรียมวาระและเอกสารสำหรับการประชุม จัดทำรายงาน การประชุม และร่างคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการอุทธรณ์ต่างๆ รวมทั้งจัดทำจำแนกคำวินิจฉัยอุทธรณ์แยก ตามประเด็นต่างๆ
๑.๓ ปฏิบัติงานด้านคดี โดยรวบรวมจัดทำสำเนาคำฟ้องและใบแต่งทนาย ประสานงานกับ พนักงานอัยการในการแต่งตั้งพนักงานอัยการแก้ต่างคดี และรวบรวมผลคดี และแจ้งให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบ
๑.๔ ปฏิบัติงานด้านการป้องกันและระงับข้อพิพาทด้านทรัพย์สินทางปัญญา โดยให้ คำปรึกษาข้อกฎหมายแก่หน่วยงานภาครัฐและเอกชน รวมทั้งประชาชนทั่วไปเกี่ยวกับการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทการ ประนอมข้อพิพาทและการอนุญาโตตุลาการด้านทรัพย์สินทางปัญญา
๑.๕ ประสานการป้องปรามการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา และปฏิบัติงานในฐานะพนักงาน เจ้าหน้าที่ตามกฎหมาย ให้ปากคำเป็นพยานต่อพนักงานสอบสวน พนักงานอัยการ และศาล
๑.๖ รับเรื่องร้องเรียนการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา ตรวจสอบข้อเท็จจริงและประสาน หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อดำเนินการตามกฎหมาย
๑.๗ ดำเนินการเกี่ยวกับการรับแจ้งขอรับความคุ้มครองเค่รื่องหมายการค้า ณ จุดนำเข้าและส่งออก
๑.๘ ศึกษาและวิเคราะห์ ตลอดจนให้คำปรึกษาและแนะนำเกี่ยวกับการป้องปรามการละเมิด ทรัพย์สินทางปัญญา
๑.๙ ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่
ได้รับมอบหมาย

๒. ด้านการวางแผน
วางแผนการทำงานที่รับผิดชอบ ร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงานหรือ โครงการ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายและผลสัมฤทธี้ที่กำหนด
๓. ด้านการประสานงาน
๓.๑ สามารถประสานงานทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน เพื่อให้เกิดความร่วมมือและผลส้มฤทธิ้ของงานที่กำหนด
๓.๒ ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แก่บุคคลหรือหน่วยงานที่ เกี่ยวข้องเพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย
๔. ด้านการบริการ
ให้คำปรึกษาแนะนำด้านกฎหมายแก่บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจ ในข้อกฎหมายที่เป็นปัญหา และให้ความรู้ถึงข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องและเป็นประโยชน์กับการดำเนินงานของ บุคคลหรือหน่วยงานดังกล่าว
๕. งานอื่นๆ ที่ได้รับมอบหมาย


นักวิชาการตรวจสอบสิทธิบัตรปฏิบัติการ(กลุ่มวิศวกรรม)

.ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ที่ต้องใช้ความรู้ความสามารถทางวิชาการในการ ทำงาน ปฏิบัติงานด้านวิชาการตรวจสอบสิทธิบัตร ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่างๆ ดังนี้
๑. ด้านการปฏิบัติการ
๑.๑ ตรวจสอบเอกสาร หลักฐานคำขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ด้านวิศวกรรมโดยตรวจสอบ
ทางเทคนิคหรือวิชาการที่เกี่ยวข้องกับการประดิษฐ์ เพื่อเสนอความเห็นในการจดทะเบียนสิทธิบัตรให้ถูกต้อง ตามเทคนิควิชาการและข้อกำหนดกฎหมาย
๑.๒ จำแนกสัญลักษณ์การประดิษฺฐ์ของสิทธิบัตรการประดิษฐ์ด้านวิศวกรรม เพื่อเป็น ฐานข้อมูลในการตรวจสอบ
๑.๓ ตรวจด้นข้อมูลด้านเทคนิคหรือวิชาการที่เกี่ยวกับการประดิษฐ์ด้านวิศวกรรม เพื่อประกอบการวิเคราะห์ ตรวจสอบ และจัดทำความเห็นในการพิจารณารับจดทะเบียนสิทธิบัตรการประดิษฐ์ เสนอต่อผู้บังคับบัญชา
๑.๔ พิจารณาคำคัดด้านการจดทะเบียนสิทธิบัตรการประดิษฐ์ด้านวิศวกรรม และจัดทำ ความเห็นเสนอต่อผู้บังคับบัญชา เพื่อพิจารณาในการรับจดทะเบียนสิทธิบัตรการประดิษฐ์
๑.๕ ศึกษาวิเคราะห์ด้านเทคนิควิชาการในสาขาที่เกี่ยวข้องทางด้านวิศวกรรม เพื่อรวบรวม จัดทำเอกสาร และคู่มือการปฏิบัติงาน
๑.๖ ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่ ได้รับมอบหมาย
๒. ด้านการวางแผน
วางแผน หรือร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงานหรือโครงการ เพื่อให้การ ดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายและผลสัมฤทธี้ที่กำหนด
๓. ด้านการประสานงาน
๓.๑ ประสานการทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงานเพื่อให้เกิด ความร่วมมือและผลสัมฤทธิ้ตามที่กำหนด
๓.๒ ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริงแก่บุคคลหรือหน่วยงานที่ เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย
๔. ด้านการบริการ
๔.๑ ให้คำปรึกษาแนะนำในระดับเบื้องต้นแก่ผู้ประกอบการ บุคคลทั่วไป รวมทั้งหน่วยงาน ที่เกี่ยวช้อง เพื่อให้การจดทะเบียนสิทธิบัตรการประดิษฐ์ถูกต้องสมบูรณ์ ตามกฎหมายกำหนด
๔.๒ เป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้ให้แก่ผู้ประกอบการและบุคคลทั่วไปเพื่อเสริมสร้าง ความรู้ความเข้าใจในกฎหมาย กฎ ระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวช้องด้านทรัพย์สินทางปัญญา
๕. งานอื่นๆ ที่ได้รับมอบหมาย

  Youtube: iqepin LINE it! เพิ่มเพื่อน  


นักวิชาการคอมพิวเตอร์ปฏิบัติการ

ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ทีต้องใช้ความรู้ความสามารถทางวิชาการในการท0างาน ปฏิบัติงานด้านวิชาการคอมพิวเตอร์ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่างๆ ดังนี้
๑. ด้านการปฏิบัติการ
๑.๑ ศึกษา วิเคราะห์ เสนอแนะ และดำเนินการจัดทำแผนแม่บท และแผนปฏิบัติงานเทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่อสารของกรมทรัพย์สินทางปัญญาเพื่อให้เกิดแผนพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของกรม ที่มีมาตรฐานและสอดคล้องกับสภาวการณ์ในปัจจุบัน
๑.๒ ศึกษา และดำเนินการขอตั้งและจัดทำงบประมาณประจำปีด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและ การลื่อสารของกรมทรัพย์สินทางปัญญา เพื่อให้ได้งบประมาณที่ตอบสนองความต้องการและทันต่อสภาวการณ์ ในปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงได้อย่างมีประสิทธิภาพ
๑.๓ ศึกษา วิเคราะห์ และสำรวจความต้องการความเป็นไบได้■ของระบบสารสนเทศและการสื่อสาร รวมทั้งฐานข้อมูล เพื่อนำไปพัฒนา ปรับปรุงระบบให้ตรงกับความต้องการได้อย่างมีประสิทธิภาพมากสูงสุด
๑.๔ วิเคราะห์ ออกแบบ พัฒนาเว็บไซต์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลสารสนเทศบนระบบเครือข่าย Internet เพื่อให้การเผยแพร่ข้อมูลเป็นไปอย่างทันเวลา ถูกต้องและครบล้วน
๑.๕ ทดสอบและติดตามการใช้งานระบบสารสนเทศของหน่วยงาน เพื่อจัดทำรายงานและ พัฒนาปรับปรุงระบบสารสนเทศให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น
๑.๖ ดูแล และจัดการเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย (Server) และระบบเครือข่ายและการ สื่อสารข้อมูล (Network) ของกรมทรัพย์สินทางปัญญา เพื่อให้มีความพร้อมรองรับการเข้าใช้งานระบบ สารสนเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพและต่อเนื่อง
๑.๗ ดูแล และตรวจสอบระบบรักษาความปลอดภัยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และ การสำรองข้อมูล เพื่อให้เกิดความปลอดภัยของข้อมูลตามมาตรฐานที่กำหนด
๑.๘ ดูแล และบำรุงรักษา การให้บริการเครือข่ายสื่อสารข้อมูล(Network) ครุภัณฑ์ คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆ เพื่อให้มีประสิทธิภาพและใช้งานได้อย่างต่อเนื่อง
๑.๙ ศึกษา วิเคราะห์ และสำรวจความต้องการ ความเป็นไปไต้ของระบบเทคโนโลยี เพื่อ นำไปพัฒนา ปรับปรุงระบบให้ตรงกับความต้องการได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
๑.๑๐ ศึกษา วิเคราะห์ ออกแบบและพัฒนาปรับปรุงระบบงานกรมทรัพย์สินทางปัญญา เพื่อให้ ตรงกับความต้องการของผู้ใช้งานและเหมาะสมกับสภาวการณ์ในปัจจุบัน
๑.๑๑ ให้คำปรึกษา แนะนำและร่วมเป็นกรรมการในงานเกี่ยวกับการพัฒนาระบบงาน เทคโนโลยีสารสนเทศและการลื่อสารให้กับกรมทรัพย์สินทางปัญญาและหน่วยงานภายนอก เพื่อให้กรมและ ผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบข้อมูล/ข้อเท็จจริงที่ถูกต้อง

๑.๑๒ ปฏิบัติงานและสนับถึนุนงานอื่นๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย เพื่อสนับสนุนให้กรมทรัพย์สิน ทางปัญญาและกระทรวงพาณิชย์ในภาพรวมบรรลุภารกิจที่กำหนดไว้
๒. ด้านการวางแผน
๒.๑ วางแผนการดำเนินงานและประสานผู้เกี่ยวข้องในการติดตามการดำเนินงานเพื่อให้ การปฏิบัติงานของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศส้มฤทธิ้ผลตามที่กำหนดไว้
๒.๒ ดำเนินการวางแผนศึกษา วิเคราะห์ โครงสร้างข้อมูลของกรมทรัพย์สินทางปัญญา เพื่อให้ การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
๒.๓ จัดทำแผนแม่บท ICT งบประมาณโครงการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศกรมทรัพย์สิน ทางปัญญา เพื่อให้โครงการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศสำเร็จตามเป้าหมาย
๒.๔ จัดทำแผนงานโครงการพิเศษตามที่ได้รับมอบหมายเพื่อให้โครงการด้านเทคโนโลยี สารสนเทศกรมทรัพย์สินทางปัญญาสำเร็จตามเป้าหมาย
๓. ด้านการประสานงาน
๓.๑ ประสานการทำงานร่วมกับผู้ร่วมงานในส่วนต่างๆ ทั้งหน่วยงานภายในและภายนอก ในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อให้เกิดความร่วมมือในการทำงาน รวมทั้งงานบริการด้าน ICT ได้ผลสัมฤทธี้ตามแผนที่วางไว้และเป็นเป็นไปในทิศทางเดียวกัน
๓.๒ ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริงแก่บุคคลหรือหน่วยงานที่ เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย
๔. ด้านการบริการ
๔.๑ ให้คำปรึกษา ตอบปัญหา ข้อสงสัยต่างๆของข้อมูลด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการ สื่อสาร ให้กับบุคคลอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งหน่วยงานภายในและภายนอกกรมฯรวมทั้งประชาชน เพื่อให้บุคคล เหล่านั้นได้รับทราบข้อมูล/ข้อเท็จจริงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่ลูกต้อง
๔.๒ ให้บริการข้อมูลด้านทรัพย์สินทางปัญญาทางช่องทางต่างๆแก่หน่วยงานภายใน ภายนอกและประชาชนเพื่อให้หน่วยงานภายในภายนอกและประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารด้านทรัพย์สินทางปัญญา ของกรมทรัพย์สินทางปัญญาผ่านช่องทางต่างๆ
๕. งานอื่นๆ ที่ได้รับมอบหมาย

วิชาที่สอบ

นิติกรปฏิบัติการ

ทดสอบความรู้ความสามารถโดยวิธีการสอบข้อเขียน (คะแนนเต็ม๒๐๐ คะแนน)รายละเอียดดังนี้ ๑. ข้อสอบปรนัย ๖๐ ข้อ (รวม ๑๒๐ คะแนน)
การทดสอบความรู้เกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา กรมทรัพย์สินทางปัญญา กฎหมาย ทรัพย์สินทางปัญญา กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ กฎหมายอาญา กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง และกฎหมาย วิธีพิจารณาความอาญา ความรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. ๒๕๔๐ พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ และที่แก้ไขเพิ่มเติม พระราชบัญญัติความรับผิด ทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๓๙ พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๐ และที่แก้ไขเพิ่มเติม พระราชบัญญัติระเบียบช้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ และที่แก้ไขเพิ่มเดิม และ พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.๒๕๓๔ และที่แก้ไขเพิ่มเดิม
๒. ข้อสอบอัตนัย ๓ ข้อ (รวม ๘๐ คะแนน)
(๑) การทดสอบทักษะทางด้านภาษาอังกฤษโดยการแปลจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย (๒๐ คะแนน)
(๒) การทดสอบวัดความรู้เกี่ยวกับกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง (การอธิบาย วิเคราะห์ เปรียบเทียบ) (๒๕ คะแนน)
(๓) การทดสอบวัดความรู้เกี่ยวกับกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง (กรณีศึกษา) (๓๕ คะแนน)


นักวิชาการตรวจสอบสิทธิบัตรปฏิบัติการ(กลุ่มวิศวกรรม)

ทดสอบความรู้ความสามารถโดยวิธีการสอบข้อเขียน (คะแนนเต็ม๒๐๐คะแนน)รายละเอียดดังนี้
๑. ข้อสอบปรนัย ๗๐ ข้อ (รวม ๑๔๐ คะแนน)
เป็นการทดสอบความรู้ที่ต้องใช้ในการปฏิบัติงานด้านวิศวกรรม ความรู้เกี่ยวกับทรัพย์สิน ทางปัญญา และกรมทรัพย์สินทางปัญญา
๒. ช้อสอบอัตนัย ๓ ข้อ (รวม ๖๐ คะแนน)
(๑) การทดสอบความร้ที่ต้องใช้ในการปฏิบัติงานด้านวิศวกรรม โดยการแปลจาก
ภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย (๒๐ คะแนน)
(๒) การแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญาโดยตอบเป็นภาษาอังกฤษ(๒๐ คะแนน)
(๓) การสรุปประเด็นโดยย่อ เป็นภาษาไทย (๒๐ คะแนน)


นักวิชาการคอมพิวเตอร์ปฏิบัติการ

ทดสอบความรู้ความสามารถโดยวิธีการสอบข้อเขียน (คะแนนเต็ม๒๐๐ คะแนน)รายละเอียดดังนี้ ๑. ข้อสอบปรนัย ๔๐ ข้อ (รวม ๘๐ คะแนน)
(๑) ทดสอบความรู้เกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา กรมทรัพย์สินทางปัญญา และองค์กรที่ เกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา
(๒) ทดสอบความรู้เกี่ยวกับกฎหมายที่เกี่ยวซ้อง ได้แก่ พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรม ทางอิเล็กทรอนิกส์พ.ศ. ๒๕๔๔และที่แก้ไขเพิ่มเดิม พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับ คอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๐ และที่แก้ไขเพิ่มเดิม พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ พ.ศ. ๒๕๖๒ และพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. ๒๕๖๒
๒. ข้อสอบอัตนัย (รวม ๑๒๐ คะแนน)
เป็นการทดสอบความรู้ด้านระบบคอมพิวเตอร์ ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และระบบ รักษาความมั่นคงปลอดภัยเทคโนโลยีสารสนเทศ

วิธีการสมัครงานข้าราชการ กรมทรัพย์สินทางปัญญา  :สมัครทางอินเทอร์เน็ต  

ผู้ประสงค์จะสมัครสอบ สมัครได้ทางอินเทอร์เน็ตเท่านั้น ตั้งแต่วันที่ 11 ม.ค. – 31 ม.ค. 2565 ตลอด 24 ชั่วโมง ไม่เว้นวันหยุดราชการ

ดาวน์โหลดไฟล์ “กรมทรัพย์สินทางปัญญา

แผนที่ ประกาศ 1 | เว็บรับสมัคร |

Comments

comments