Categories
งานราชการ-รัฐวิสาหกิจ เปิดสอบที่น่าสนใจ

กรมการข้าว เปิดรับสมัครสอบข้าราชการ 13 ธ.ค. -17 ธ.ค. 2564 รวม 27 อัตรา,

กรมการข้าว

ลิงค์: https://ehenx.com/15801/ หรือ
ตำแหน่ง: นักวิชาการเกษตรปฏิบัติการ,เจ้าพนักงานการเกษตรปฏิบัติงาน,นายช่างเครื่องกลปฏิบัติงาน,นักวิชาการเกษตรปฏิบัติการ(ด้านปฐพี)
ระดับการศึกษา: ปวส.,ปริญญาตรี,ปริญญาโท
อัตราเงินเดือน: 11,500-19,250
อัตราว่าง: 27
ปฏิบัติงานที่: กรุงเทพมหานคร
เปิดรับสมัครตั้งแต่: 13 ธ.ค. – 17 ธ.ค. 2564
**เฉพาะผู้สอบผ่านภาค ก. ก.พ.**



กรมการข้าว เปิดรับสมัคร

ประกาศกรมการข้าว

เรื่อง รับสมัครสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการในตำแหน่งนักวิชาการเกษตรปฏิบัติการ เจ้าพนักงานการเกษตรปฏิบัติงาน และนายช่างเครื่องกลปฏิบัติงาน

ด้วยกรมการข้าวจะดำเนินการสอบแช่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการ ในตำแหน่งนักวิชาการเกษตรปฏิบัติการ เจ้าพนักงานการเกษตรปฏิบัติงาน และนายช่างเครื่องกลปฏิบัติงาน ฉะนั้น อาศัยอำนาจความในมาตรา ๕๓ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ และหนังสือสำนักงาน ก.พ. ที่ นร ๑๐๐๔/ว ๑๗ ลงวันที่ ๑๑ ธันวาคม ๒๕๕๖ เรื่อง การสรรหาโดยการสอบแช่งขัน เพื่อบรรจุบุคคลเข้ารับราชการ จึงประกาศรับสมัครสอบแข่งขันฯ ดังรายละเอียดต่อไปนี้

ชื่อตำแหน่ง กลุ่มงาน และรายละเอียดการจ้างงาน

นักวิชาการเกษตรปฏิบัติการ

อัตราว่าง : 5 อัตรา

อัตราเงินเดือน : 15000-16500 บาท

คุณวุฒิ : ปริญญาตรี


เจ้าพนักงานการเกษตรปฏิบัติงาน

อัตราว่าง : 11 อัตรา

อัตราเงินเดือน : 11500-12650 บาท

คุณวุฒิ : ปวส.


นายช่างเครื่องกลปฏิบัติงาน

อัตราว่าง : 9 อัตรา

อัตราเงินเดือน : 11500-12650 บาท

คุณวุฒิ : ปวส.


นักวิชาการเกษตรปฏิบัติการ (ด้านปฐพี)

อัตราว่าง : 2 อัตรา

อัตราเงินเดือน : 17500-19250 บาท

คุณวุฒิ : ปริญญาโท

คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง

นักวิชาการเกษตรปฏิบัติการ

(1) ได้รับปริญญาตรีหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาเกษตรศาสตร์ และ
(2) เป็นผู้สอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไป ระดับปริญญาตรี ขึ้นไป
ของสำนักงาน ก.พ.


เจ้าพนักงานการเกษตรปฏิบัติงาน

(1) ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้
ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาเกษตรศาสตร์ สาขาวิชาธุรกิจเกษตรและสหกรณ์ สาขาวิชาอุตสาหกรรมเกษตร สาขาวิชาเกษตรอุตสาหกรรม สาขาวิชาการจัดการหลังการเก็บเกี่ยว สาขาวิชาพืชศาสตร์ หรือสาขาวิชาช่างกลการเกษตร หรือได้รับอนุปริญญาหลักสูตร 3 ปี ต่อจากประกาศนียบัตรมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า
ในสาขาวิชาเกษตรศาสตร์ และ
(2) เป็นผู้สอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไป ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หรืออนุปริญญา ขึ้นไป ของสำนักงาน ก.พ.


นายช่างเครื่องกลปฏิบัติงาน

(1) ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้
ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาเครื่องกล สาขาวิชาเทคนิคการผลิต สาขาวิชาเทคนิคโลหะ หรือสาขาวิชาเขียนแบบเครื่องกล หรือสาขาวิชาช่างกลการเกษตร และ
(2) เป็นผู้สอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไป ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ขึ้นไป ของสำนักงาน ก.พ.


นักวิชาการเกษตรปฏิบัติการ (ด้านปฐพี)

ได้รับปริญญาโท สาขาวิชาเกษตรศาสตร์ ทางปฐพีวิทยา ปฐพีศาสตร์

ลักษณะงานที่ปฏิบัติ

นักวิชาการเกษตรปฏิบัติการ

ปฏิบัติงานในฐานะผู้บริหารงานระดับต้น ที่ต้องใช้ความรู้ ความสามารถทางวิชาการในการทำงาน ปฏิบัติงานด้านวิชาการเกษตร ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย
โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่างๆ ดังนี้
1. ด้านการปฏิบัติการ
(1) ศึกษา พัฒนา มาตรการ และวิธีปฏิบัติการเกี่ยวกับ การควบคุม การผลิต การจำหน่ายการนำเข้า การส่งออกพืช พันธุ์พืช ปุ๋ย วัตถุมีพิษ ยาง รวมทั้งดำเนินการเกี่ยวกับการคุ้มครองพันธุ์พืช และการค้าพืชตามอนุสัญญา ซึ่งมีความยุ่งยากซับซ้อนมากต้องอาศัยความรู้ทางวิชาการ ความชำนาญงาน
และประสบการณ์สูงมาก เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมาย
(2) ศึกษา ค้นคว้า วิเคราะห์ วิจัย และพัฒนาด้านพืชเกี่ยวกับการอนุรักษ์
ด้านพฤกษศาสตร์ เทคโนโลยีชีวภาพ การปรับปรุงพันธุ์ การขยายพันธุ์ วิทยาการด้านพันธุ์ การเขตกรรม
การอารักขา งานวิทยาการก่อนและหลังการเก็บเกี่ยว การแปรรูป เพื่อเพิ่มมูลค่าและพัฒนาผลิตภัณฑ์ รวมทั้งงานด้านการผลิตสารบำรุงพืช และอื่นๆ ซึ่งมีความยุ่งยากซับซ้อนมากต้องอาศัยความรู้ทางวิชาการ
ความชำนาญงาน และประสบการณ์สูงมาก เพื่อให้ได้เทคโนโลยีที่เหมาะสมทางการเกษตร และช่วยพัฒนาผลผลิตให้ได้มาตราฐาน และปลอดภัย ทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค รวมทั้งผลกระทบของภูมิอากาศต่อการเกษตร
(3) ศึกษา ค้นคว้า วิเคราะห์ วิจัยและพัฒนาเกี่ยวกับดิน น้ำและการชลประทาน
ปุ๋ย วัตถุมีพิษการเกษตร ซึ่งมีความยุ่งยากซับซ้อนมากต้องอาศัยความรู้ทางวิชาการ ความชำนาญงาน
และประสบการณ์สูงมาก เพื่อเพิ่มผลผลิตพืชและปรับปรุงดินให้มีคุณภาพ
(4) ศึกษา วิเคราะห์ สถานการณ์การผลิต การตลาดของพืช สินค้าเกษตรและสินค้าเกษตรแปรรูป เช่น ปริมาณการผลิต การตลาด ราคาผลผลิต ภัยธรรมชาติ ศัตรูพืช และประเทศคู่แข่ง เป็นต้น ซึ่งมีความยุ่งยากซับซ้อนมากต้องอาศัยความรู้ทางวิชาการ ความชำนาญงาน และประสบการณ์สูงมาก เพื่อวางแผนและแนะนำการผลิต และการส่งเสริมให้เกษตรกร ผู้ประกอบการ สามารถผลิตให้ได้มาตรฐานคุณภาพสินค้าเกษตร
(5) ศึกษา ทดสอบ วิเคราะห์ และวิจัยเกี่ยวกับงานพัฒนาที่ดินด้านการอนุรักษ์ดินและน้ำ การปรับปรุงบำรุงดิน การแก้ไขดินที่มีปัญหา การวิเคราะห์สภาพการใช้ที่ดินและการวางแผนการใช้ที่ดิน เพื่อพัฒนาที่ดิน ซึ่งมีความยุ่งยากซับซ้อนมากต้องอาศัยความรู้ทางวิชาการ ความชำนาญงาน และประสบการณ์สูงมาก (6) ส่งเสริมและสนับสนุนในการให้บริการวิชาการถ่ายทอดเทคโนโลยีทางด้านการเกษตรและปัจจัยการผลิต และภูมิปัญญาท้องถิ่น ทั้งด้านพืช ตลอดจนการฝึกอบรมและสาธิต เพื่อให้เกษตรกรและผู้ที่เกี่ยวข้องได้นำไปใช้ประโยชน์
(7) ให้บริการด้านวิชาการทางการเกษตร เกี่ยวกับการวินิจฉัย ตรวจสอบ วิเคราะห์ ปัจจัยการผลิต โรคแมลงศัตรูพืช วัชพืช การตรวจสอบรับรองผลิตผล ผลิตภัณฑ์พืชและการเตือนภัยการระบาด
ของโรคแมลงศัตรูพืช เพื่อป้องกันกำจัดที่เหมาะสม
2. ด้านการวางแผน
วางแผนหรือร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานตามแผนงานหรือโครงการของหน่วยงานระดับสำนักหรือกอง และแก้ปัญหาในการปฏิบัติงาน เพื่อให้ดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ที่กำหนด
3. ด้านการประสานงาน
(1) ประสานการทำงานร่วมกันโดยมีบทบาทในการให้ความเห็นและคำแนะนำเบื้องต้นแก่สมาชิกในทีมงานหรือหน่วยงานอื่น เพื่อให้เกิดความร่วมมือและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนด
(2) ให้ข้อคิดเห็นหรือคำแนะนำเบื้องต้นแก่สมาชิกในทีมงานหรือบุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจและความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย
4. ด้านการบริการ
(1) รวบรวม จัดทำข้อมูล การจัดทำรายงาน เกี่ยวกับสารสนเทศทางการเกษตร สินค้าและบริการทางการเกษตร เพื่อใช้ในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ และให้บริการข้อมูลแก่ผู้ผลิต ผู้ประกอบการ และผู้เกี่ยวข้อง
(2) ให้คำปรึกษา แนะนำ จัดทำสื่อเผยแพร่ความรู้ทางวิชาการเกษตรแก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เกษตรกร ผู้ประกอบการ และประชาชนทั่วไป เพื่อสามารถนำความรู้ไปใช้ปฏิบัติให้เกิดประโยชน์
(3) ให้คำปรึกษา แนะนำ ในงานด้านวิชาการแก่เจ้าหน้าที่ระดับรองลงมาเพื่อให้สามารถดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

  Youtube: iqepin LINE it! เพิ่มเพื่อน  


เจ้าพนักงานการเกษตรปฏิบัติงาน

ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้ผู้สำเร็จการศึกษา
ระดับปริญญา ปฏิบัติงานด้านการเกษตร ตามแนวทาง แบบอย่าง ขั้นตอน และวิธีการที่ชัดเจน ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่างๆ ดังนี้
1. ด้านการปฏิบัติการ
(1) ช่วยทำการศึกษา ค้นคว้า วิจัย พัฒนา ทดลอง ทดสอบ วิเคราะห์ ตรวจสอบ รับรองทางด้านวิชาการเกษตร เพื่อให้มีการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม
(2) ผลิต และให้บริการ ด้านพืช และปัจจัยการผลิต เพื่อให้ได้ผลผลิต
ตามเป้าหมาย และมีคุณภาพตามมาตรฐาน
(3) ปฏิบัติการด้านวิชาการเกษตร เช่น การดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย การพัฒนาที่ดิน การส่งเสริมการเกษตร การจัดการไร่นา การใช้น้ำชลประทาน เป็นต้น เพื่อสนับสนุน
งานวิชาการและเผยแพร่ความรู้แก่เกษตรกร
(4) ช่วยวางแผน ส่งเสริมการผลิต และจัดทำโครงการสนับสนุน การผลิต
ของเกษตรกร เพื่อเป็นการเพิ่มผลผลิตของเกษตรกร
2. ด้านการบริการ
(1) สาธิต แนะนำ ส่งเสริม ฝึกอบรม และถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร
เพื่อนำความรู้ไปปฏิบัติ
(2) ประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ และแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาการเกษตรเพื่อให้มีการแก้ไขปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ


นายช่างเครื่องกลปฏิบัติงาน

ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้ผู้สำเร็จการศึกษา
ระดับปริญญา ปฏิบัติงานด้านช่างเครื่องกล ตามแนวทาง แบบอย่าง ขั้นตอน และวิธีการที่ชัดเจน ภายใต้
การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่างๆ ดังนี้
1. ด้านการปฏิบัติการ
(1) ดำเนินการตรวจสอบ บำรุงรักษา ซ่อมแก้ไข ปรับปรุง เครื่องจักรกล ยานพาหนะ เครื่องมือ อุปกรณ์ และงานด้านเครื่องกล เพื่อให้พร้อมใช้อยู่เสมอ
(2) ดำเนินการออกแบบ เขียนแบบเครื่องกล การผลิตชิ้นส่วนเครื่องมือและอุปกรณ์ ติดตั้ง ทดลอง ทดสอบ สอบเทียบเครื่องมือ ประมาณราคา เครื่องจักรกล ยานพาหนะ และงานด้านเครื่องกล เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและเหมาะสมกับการใช้งาน
(3) สำรวจ รวบรวมข้อมูล จัดทำสถิติ ประวัติการบำรุงรักษา การซ่อมเครื่องจักรกล เครื่องมือกล ยานพาหนะ และงานด้านเครื่องกล เพื่อเป็นข้อมูลหลักฐานสำหรับนำไปใช้ในการพัฒนาปรับปรุงงาน
2. ด้านการบริการ
(1) ติดต่อประสานงานกับหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกส่วนราชการ
ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปด้วยความสะดวกรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
(2) ให้คำแนะนำและบริการแก่ผู้มาติดต่อราชการ เพื่อให้ประชาชนเกิดความรู้
ความเข้าใจ ในการทำงาน


นักวิชาการเกษตรปฏิบัติการ (ด้านปฐพี)

ปฏิบัติงานในฐานะผู้บริหารงานระดับต้น ที่ต้องใช้ความรู้ ความสามารถทางวิชาการในการทำงาน ปฏิบัติงานด้านวิชาการเกษตร ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย
โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่างๆ ดังนี้
1. ด้านการปฏิบัติการ
(1) ศึกษา พัฒนา ระบบการควบคุม การผลิต การจำหน่าย การนำเข้า การส่งออกพืช
พันธุ์พืช ปุ๋ย วัตถุมีพิษ ยาง รวมทั้งศึกษา พัฒนาการคุ้มครองพันธุ์พืช และการค้าพืชตามอนุสัญญา
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมาย
(2) ศึกษา ค้นคว้า วิเคราะห์ วิจัย และพัฒนาด้านพืชเกี่ยวกับการอนุรักษ์ด้านพฤกษศาสตร์ เทคโนโลยีชีวภาพ การปรับปรุงพันธุ์ การขยายพันธุ์ วิทยาการด้านพันธุ์ การเขตกรรม การอารักขา งานวิทยาการก่อนและหลังเก็บเกี่ยว การแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่าและพัฒนาผลิตภัณฑ์ รวมทั้งงานด้านการผลิตสายบำรุงพืช
และอื่นๆ เพื่อให้ได้เทคโนโลยีที่เหมาะสมทางการเกษตร และช่วยพัฒนาผลผลิตให้ได้มาตรฐาน และปลอดภัย ทั้งผู้ผลิต และผู้บริโภค รวมทั้งผลกระทบของภูมิอากาศต่อการเกษตร
(3) ศึกษา ค้นคว้า วิเคราะห์ วิจัยและพัฒนาเกี่ยวกับดิน น้ำและการชลประทาน ปุ๋ย วัตถุมีพิษการเกษตร เพื่อเพิ่มผลผลิตพืชและปรับปรุงดินให้มีคุณภาพ
(4) ศึกษา วิเคราะห์ สถานการณ์การผลิต การตลาดพืช สินค้าเกษตร และสินค้าเกษตร
แปรรูป เช่น ปริมาณการผลิต การตลาด ราคาผลผลิต ภัยธรรมชาติ ศัตรูพืช และประเทศคู่แข่ง เป็นต้น
เพื่อวางแผนและแนะนำการผลิต และการส่งเสริมให้เกษตรกร ผู้ประกอบการ สามารถผลิตให้ได้มาตรฐานคุณภาพสินค้าเกษตร
(5) ศึกษา ทดสอบ วิเคราะห์ และวิจัยเกี่ยวกับงานพัฒนาที่ดินด้านการอนุรักษ์ดินและน้ำ
การปรับปรุงดิน การแก้ไขดินที่มีปัญหา การวิเคราะห์สภาพการใช้ที่ดินและการวางแผนการใช้ที่ดิน
เพื่อพัฒนาที่ดิน
(6) ส่งเสริมและสนับสนุนในการให้บริการวิชาการ ถ่ายทอดเทคโนโลยีทางด้านเกษตร
และปัจจัยการผลิต และภูมิปัญญาท้องถิ่น ทั้งด้านพืช ตลอดจนการฝึกอบรมและสาธิตเพื่อให้เกษตรกร
และผู้ที่เกี่ยวข้องได้นำไปใช้ประโยชน์
(7) ให้บริการด้านวิชาการทางการเกษตร เกี่ยวกับการวินิจฉัย ตรวจสอบ วิเคราะห์ปัจจัย
การผลิต โรคแมลงศัตรูพืช วัชพืช การตรวจสอบรับรองผลิตผล ผลิตภัณฑ์พืช และการเตือนภัยการระบาด
ของแมลงศัตรูพืช เพื่อป้องกันกำจัดที่เหมาะสม
2. ด้านการวางแผน
วางแผนหรือร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานตามแผนงานหรือโครงการของหน่วยงานระดับสำนักหรือกอง และแก้ปัญหาในการปฏิบัติงาน เพื่อให้ดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ที่กำหนด
3. ด้านการประสานงาน
(1) ประสานการทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน เพื่อให้เกิด
ความร่วมมือและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนด
(2) ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แก่บุคคลหรือหน่วยงาน
ที่เกี่ยวข้องเพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย
4. ด้านการบริการ
(1) รวบรวม จัดทำข้อมูล การจัดทำรายงานเกี่ยวกับสารสนเทศทางการเกษตรเพื่อใช้
ในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ และให้บริการข้อมูลแก่ผู้ผลิต ผู้ประกอบการ และผู้เกี่ยวข้อง
(2) ให้คำปรึกษา แนะนำ จัดทำสื่อเผยแพร่ความรู้ทางวิชาการเกษตรแก่หน่วยงาน
ที่เกี่ยวข้อง เกษตรกร ผู้ประกอบการ และประชาชนทั่วไป เพื่อให้สามารถนำความรู้ไปใช้ปฏิบัติให้เกิดประโยชน์
(3) ให้คำปรึกษา แนะนำ ในงานด้านวิชาการแก่เจ้าหน้าที่ระดับรองลงมา เพื่อให้สามารถดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ

วิชาที่สอบ

นักวิชาการเกษตรปฏิบัติการ

(1) ความรู้ทั่วไปด้านการเกษตร
(2) ความรู้ด้านวิทยาการเมล็ดพันธุ์
(3) ความรู้ด้านพืชไร่
(4) ความรู้ด้านการปรับปรุงพันธุ์
(5) ความรู้ด้านเทคโนโลยีชีวภาพ
(6) ความรู้ด้านเทคโนโลยีการผลิตพืช


เจ้าพนักงานการเกษตรปฏิบัติงาน

(1) ความรู้พื้นฐานด้านการเกษตรทั่วไป
(2) การใช้และการจัดพื้นที่ทางการเกษตร
(3) การขยายพันธุ์และการปรับปรุงพันธุ์พืช
(4) เครื่องจักรเครื่องมือทางการเกษตร
(5) การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมทางการเกษตร


นายช่างเครื่องกลปฏิบัติงาน

ความรู้เกี่ยวกับการซ่อมแซม บำรุงรักษา เครื่องมือกลโรงงาน ระบบไฟฟ้า
ควบคุมเครื่องจักรกลเกษตร และยานพาหนะ


นักวิชาการเกษตรปฏิบัติการ (ด้านปฐพี)

ทดสอบความรู้ทางด้านปฐพี คุณสมบัติของดินและปุ๋ย และการจัดการ ดิน น้ำ ปุ๋ย
และเขตกรรม

วิธีการสมัครงานข้าราชการ กรมการข้าว  :สมัครทางอินเทอร์เน็ต  

ผู้ประสงค์จะสมัครสอบ สมัครได้ทางอินเทอร์เน็ตเท่านั้น ตั้งแต่วันที่ 13 ธ.ค. – 17 ธ.ค. 2564 ตลอด 24 ชั่วโมง ไม่เว้นวันหยุดราชการ

ดาวน์โหลดไฟล์ “กรมการข้าว

แผนที่ ประกาศ 1 | เว็บรับสมัคร |

Comments

comments