Categories
งานราชการเปิดสอบ-รัฐวิสาหกิจ เปิดสอบ ทั่วไป

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เปิดรับสมัครสอบพนักงานราชการ บัดนี้-1 ธ.ค. 2564

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)

ลิงค์: https://ehenx.com/15747/ หรือ
ตำแหน่ง: เภสัชกร,นักวิชาการอาหารและยา
ระดับการศึกษา: ปริญญาตรี,ปริญญาโท
อัตราเงินเดือน: 50,000-
อัตราว่าง: 2
ปฏิบัติงานที่: กรุงเทพมหานคร
เปิดรับสมัครตั้งแต่: บัดนี้ – 1 ธ.ค. 2564
**ไม่ต้องผ่านภาค ก. ก.พ.**



สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เปิดรับสมัคร

ประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา

เรื่อง รับสมัครบุคคลเพื่อเลือกสรรเป็นพนักงานราขการทั่วไป

ด้วยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ประสงค์จะรับสมัครบุคคลเพื่อจัดจ้างเป็น พนักงานราชการ ประเภททั่วไป ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามประกาศคณะกรรมการบริหารพนักงานราชการ เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการสรรหาและการเลือกสรรพนักงานราชการ และแบบสัญญาจ้างของ พนักงานราชการ พ.ศ.๒๕๕๒ ลงวันที่ ๑๑ กันยายน ๒๕๕๒ และประกาศคณะกรรมการบริหารพนักงานราชการ เรื่อง การกำหนดลักษณะงานและคุณสมบัติเฉพาะกลุ่มของงานและการจัดทำกรอบอัตรากำลังพนักงานราชการ พ.ศ.๒๕๕๔ ลงวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยพนักงานราชการ พ.ศ. ๒๕๔๗ ลงวันที่ ๑๓ มกราคม ๒๕๔๗ เกี่ยวกับการกำหนดคุณสมบัติสำหรับผู้ที่จะได้รับการว่าจ้างเป็นพนักงานราชการทั่วไป จึงประกาศรับสมัครบุคคลเพื่อเลือกสรรเป็นพนักงานราชการทั่วไป โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

ชื่อตำแหน่ง กลุ่มงาน และรายละเอียดการจ้างงาน

เภสัชกร

อัตราว่าง : 1 อัตรา

อัตราเงินเดือน : 50000- บาท

คุณวุฒิ : ปริญญาตรี,ปริญญาโท


นักวิชาการอาหารและยา

อัตราว่าง : 1 อัตรา

อัตราเงินเดือน : 50000- บาท

คุณวุฒิ : ปริญญาตรี,ปริญญาโท

คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง

เภสัชกร

๑. ได้รับปริญญาตรีหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกันในสาขาวิชาเภสัชศาสตร์ และ ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาเภสัชกรรมชั้นหนึ่ง หรือได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาฃีพ เภสัชกรรม จากสภาเภสัชกรรมและมีประสบการณ์ไนงานที่จะปฏิบัติ เป็นเวลาไม1น้อยกว่า ๑๕ ปี สำหรับวุฒิ ปริญญาตรี
๒. ได้รับปริญญาโทหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกันในสาขาวิชาเภสัชศาสตร์ และ ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาเภสัชกรรมชั้นหนึ่ง หรือได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิขาชีพ เภสัชกรรม จากสภาเภสัขกรรมและมีประสบการณ์ในงานที่จะปฏิบัติ เป็นเวลาไม่น้อยกว่า ๑๒ ปี สำหรับวุฒิ ปริญญาโท
๓. ได้รับปริญญาเอกหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกันในสาขาวิชาเภสัชศาสตร์ หรือได้รับวุฒิบัตรแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม และได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบ โรคศิลปะสาขาเภสัชกรรมชั้นหนึ่ง หรือได้รับในอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม จากสภาเภสัชกรรม และมีประสบการณ์ไนงานที่จะปฏิบัติ เป็นเวลาไม่น้อยกว่า ๑๐ ปี สำหรับวุฒิปริญญาเอก
๔. ได้รับปริญญาหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่ ก.พ. กำหนดว่าไข้เป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนี้ได้ และได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาเภสัชกรรมชั้นหนึ่ง หรือได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพ เภสัชกรรมจากสภาเภสัชกรรม และมีประสบการณ์ในงานที่จะปฏิบัติเป็นเวลาไม่ตํ่ากว่า ๑๕ปี และมีผลงาน เป็นที่ยอมรับในวงการนั้น


นักวิชาการอาหารและยา

๑. ได้รับปริญญาตรีหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกันในสาขาวิชาเภสัขศาสตร์ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ด้านอาหาร สาขาวิชาเทคโนโลยีอาหาร หรือสาขาอื่นที่เกี่ยวข้องด้านอาหาร และมีประสบการณ์ไนงานที่จะปฏิบัติ เป็นเวลาไม่น้อยกว่า ๑๕ ปี สำหรับวุฒิปริญญาตรี
๒. ได้รับปริญญาโทหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบไต้ในระดับเดียวกันในสาขาวิชาเภสัชศาสตร์ สาขาวิขาวิทยาศาสตร์ด้านอาหาร สาขาวิชาเทคโนโลยีอาหาร หรือสาขาอื่นที่เกี่ยวข้องด้านอาหาร และมีประสบการณ์ในงานที่จะปฏิบัติ เป็นเวลาไม,น้อยกว่า ๑๒ ปี สำหรับวุฒิปริญญาโท
๓. ได้รับปริญญาเอกหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกันในสาขาวิขาเภสัขศาสตร์ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ด้านอาหาร สาขาวิชาเทคโนโลยีอาหาร หรือสาขาอื่นที่เกี่ยวข้องด้านอาหาร และมี ประสบการณ์ในงานที่จะปฏิบัติ เป็นเวลาไม่น้อยกว่า ๑๐ ปี สำหรับวุฒิปริญญาเอก
๔. ได้รับปริญญาหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่ ก.พ. กำหนดว่าใช้เป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนี้ได้ และมีประสบการณ์ในงานที่จะปฏิบัติเป็นเวลาไม่ตํ่ากว่า ๑๕ ปี และมีผลงานเป็นที่ยอมรับในวงการนั้น

ลักษณะงานที่ปฏิบัติ

เภสัชกร

ปฏิบัติงานในฐานะผู้เชี่ยวชาญเฉพาะที่ต้องใช้ความรู้ความสามารถทางวิชาการในการทำงาน ปฏิบัติงานเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ที่มีความจำเป็นต่อสถานการณ์โรคระบาดของไวรัสโควิด-๑๙ หรือสถานการณ์ ฉุกเฉินอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นยา วัคซีน ผลิตภัณฑ์สมุนไพร เครื่องสำอาง โดยอาศัยความรู้ ประสบการณ์ที่เกี่ยวข้อง กับการทำงาน มาพัฒนากระบวนการให้ปรึกษาและกำกับดูแลสถานที่ผลิต ให้มีมาตรฐานการผลิตตาม หลักเกณฑ์วิธีการที่ดี การให้คำปรึกษาระหว่างการวิจัย การขออนุญาตผลิตภัณฑ์สุขภาพดังกล่าว ให้มีคุณภาพ มีประสิทธิภาพ และมีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับในระดับสากล
โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติ ดังนี้
๑. ด้านปฏิบัติการ
๑. ศึกษา พัฒนาและปรับปรุง การจัดทำระบบในการให้คำปรึกษา แนะนำเพื่อรองรับ การพัฒนา สถานที่ผลิต นำเข้า จำหน่ายผลิตภัณฑ์สุขภาพจะนำมาใช้ในสถานการณ์โรคระบาดของไวรัสโควิด-๑๙ หรือสถานการณ์ฉุกเฉินอื่นๆ ตลอดจน พัฒนาระบบให้คำปรึกษารองรับกระบวนการอนุญาตระหว่างการวิจัย และการกำกับดูแลความปลอดภัยจากการใช้ตามแผนการจัดการความเสี่ยง (Risk Management Plan)
๒. ศึกษา วิเคราะห์ เสนอแนะนโยบายด้านคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ เพื่อให้เกิด ความปลอดภัยต่อประขาชนในการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพ ให้เป็นไปตามรูปแบบการดำเนินการเพื่อให้ ผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนทั้งในกองผลิตภัณฑ์และทีมงานวิจัยสามารถทำงานร่วมกันให้เกิดการพัฒนาแนวทาง รองรับด้านสถานที่ ผลิตภัณฑ์ ตั้งแต่เริ่มกระบวนการเริ่มวิจัย ระหว่างการวิจัย ไปจนถึงการผลิต
๓. ประเมินคำขออนุญาตสถานที่ การรับรองมาตรฐานการผลิต ด้านผลิตภัณฑ์ ตลอดจนให้ คำแนะนำทางวิชาการที่มีความซับช้อนและใช้เทคนิคขั้นสูง แก่เจ้าหน้าที่ นักวิจัย และผู้ประกอบการ ในการ พัฒนาปรับปรุงหลักเกณฑ์และแนวทางประเมินสถานที่และผลิตภัณฑ์สุขภาพในสถานการณ์โรคระบาดของ ไวรัสโควิด-๑๙ หรือสถานการณ์ฉุกเฉินอื่นๆ
๔. การให้คำแนะนำด้านวิชาการและทางเทคนิคตั้งแต่กระบวนการเริมต้นในการจัดตั้งสถานที่ กระบวนการผลิต การวิจัย ระหว่างการวิจัยผลิตภัณฑ์สุขภาพ โดยอ้างอิงตามหลักการที่เป็นแนวทางสากลที่ เหมาะสม เช่น ตามแนวทางขององค์การอนามัยโลกและประเทศที่มีระบบการกำกับดูแลยาที่เข้มงวด (Stringent authorities)
๕. พัฒนาระเบียบ ข้อกำหนด หรือกฎหมายใหม่ วางแผนหรือร่วมดำเนินการวางแผนหรือให้ คำปรึกษาแนะนำในการวางแผนโดยเชื่อมโยงหรือบูรณาการแผนงานโครงการที่เกี่ยวข้องด้านการกำกับดูแล ด้านสถานที่ ด้านผลิตภัณฑ์ ให้เป็นไปตามแผนงานในระดับกลยุทธ์ของส่วนราชการระดับกระทรวง ติดตาม ประเมินผลภาพรวม เพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายหรือสัมฤทธี้ที่กำหนด

  Youtube: iqepin LINE it! เพิ่มเพื่อน  

๖.ให้ข้อคิดเห็น และคำแนะนำแก,หน่วยงานระดับกระทรวง กรม รวมทั้งการประชุมทั้งในและ ต่างประเทศ เพื่อให้เกิดประโยชน์และความร่วมมือในการดำเนินงานร่วมกัน
๗. อื่นๆตามที่ได้รับมอบหมาย
ด้านการวางแผน
๑. แนะนำการวางแผนวิจัยพัฒนาเพื่อให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์ของสำนักงานคณะกรรมการ อาหารและยา จนสามารถทำให้เกิดการพัฒนาระบบการพิจารณามาตรฐานสถานที่ผลิต นำเข้า ขาย การขอ อนุญาตผลิตภัณฑ์ ในสภาวะการณ์ฉุกเฉินเพื่อรองรับสถานการณ์โรคระบาดและอุบัติใหม่ เข่น COVID-®๙ ต่อการอนุญาตสถานที่ และ ผลิตภัณฑ์ที่มีประสิทธิภาพในการสนับสนุนการผลิตผลิตภัณฑ์สุขภาพของประเทศไทย ตั้งแต่ด้นนํ้าเพื่อการพึ่งพาตนเองในการแล้ไขปัญหาสาธารณสุขของประเทศ
๒. พัฒนาแนวทางกำกับดูแลการผลิต นำเข้า ขาย และการขออนุญาตผลิตภัณฑ์เพื่อใช้ในสภาวะ ที่มีโรคระบาดใหญ่ในกรณีฉุกเฉิน
๓. เตรียมท่าทีประเทศไทย กระทรวงสาธารณสุข ในการเจรจาในเวที ความร่วมมือต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ด้านการประสานงาน
๑. เตรียมการรับการตรวจรับรองมาตรฐานการควบคุมจากองค์กรระหว่างประเทศ เข่น PIC/S หรือ WHO Pre Qualification เป็นต้น
๒. ร่วมประสานสัมพันธ์กับหน่วยงานทั้งภายในและภายนอก เพื่อให้เกิดความร่วมมือและ ผลสัมฤทธิ๋ตามที่กำหนด
ด้านการบริการ
รูปแบบการดำเนินการให้คำแนะนำให้อย่างเป็นทางการ และให้ผู้เกี่ยวข้องภายในกองผลิตภัณฑ์ และทีมวิจัยทำงานร่วมกันในการหาข้อสรุปในการให้คำแนะนำ


นักวิชาการอาหารและยา

ปฏิบัติงานในฐานะผู้เชี่ยวชาญเฉพาะที่ต้องใช้ความรู้ความสามารถทางวิชาการในการปฏิบัติงาน เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์อาหาร ผลิตภัณฑ์สมุนไพร ผลิตภัณฑ์อาหารนวัตกรรม และการคุ้มครองผู้บริโภค ด้านผลิตภัณฑ์อาหาร โดยอาศัยความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ และความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ในทางวิชาการ ที่เกี่ยวช้องกับงาน รวมถึงการให้คำปรึกษาทางวิชาการกับเจ้าหน้าที่และผู้ประกอบการ ในการปฏิบัติงานที่ เกี่ยวข้องกับการวิจัย การพัฒนา การผลิตผลิตภัณฑ์อาหารและผลิตภัณฑ์อาหารนวัตกรรม และการจัดประเภท ผลิตภัณฑ์ เพื่อส่งเสริมนวัตกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค รวมทั้งการตัดสินใจและแกไขปัญหาที่มีความยุ่งยาก ซับช้อน และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติ ดังนี้
ด้านปฏิบัติการ
๑. ให้คำปรึกษาทางวิชาการกับผู้ประกอบการวิจัยพัฒนา ในการผลิตผลิตภัณฑ์อาหาร และผลิตภัณฑ์อาหารนวัตกรรม
๒. ให้คำปรึกษาวิชาการกับผู้ประกอบการ เพื่อวางแผนศึกษาวิจัย ในขั้นตอนต่างๆ ตลอดทั้ง วงจรผลิตภัณฑ์ ตั้งแต่การประเมินวินิจฉัย การจัดประเภทผลิตภัณฑ์อาหารและผลิตภัณฑ์อาหารนวัตกรรมการ ประเมินความเสี่ยงของอาหาร เพื่อผู้ประกอบการยื่นขออนุญาต
๓. ให้คำปรึกษาข้อเสนอแนะสำหรับการตรวจสอบ การติดตาม การกำกับดูแลผลิตภัณฑ์ และสถานที่ รวมถึงด้านการโฆษณา ด้านวิชาการ และด้านกฎหมาย เพื่อให้ถูกต้องตามกฎหมายที่กำหนด
๔. ให้คำปรึกษาด้านกฎ ระเบียบ หลักเกณฑ์ ข้อปฏิบัติและด้านวิชาการ ที่เกี่ยวข้องกับการจัด ประเภทผลิตภัณฑ์และผลิตภัณฑ์คาบเกี่ยว
๕. ศึกษา วิเคราะห์ เสนอแนะนโยบายด้านคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์อาหารและ ผลิตภัณฑ์อาหารนวัตกรรม เพื่อให้เกิดความปลอดภัยต่อประชาชนในการบริโภคผลิตภัณฑ์
๖. ให้ข้อเสนอแนะหรือความเห็นในการตัดสินใจด้านการควบคุมกำกับดูแลอาหารให้ผู้บริหารๆ เพื่อให้แกไขปัญหาระยะสั้นและระยะยาว เพื่อเตรียมความพร้อมในการพัฒนาระบบงานและบุคลากรสำหรับ งานคุ้มครองผู้บริโภคด้านอาหาร
ต้านการวางแผน
วางแผนหรือร่วมดำเนินการวางแผนหรือให้คำปรึกษาแนะนำในการวางแผนโดยเชื่อมโยง หรือบุรณาการแผนงานโครงการในระดับกลยุทธ์ของส่วนราชการระดับกระทรวง ติดตามประเมินผลภาพรวม เพื่อให้บรรลุตามเป๋าหมายหรือสัมฤทธี้ที่กำหนด

ด้านการประสานงาน
๑. ประสานการทำงานภายในกระทรวง กรม หรือองค์การอื่นทั้งในและต่างประเทศ โดยมีบทบาท ในการเจรจา โน้มน้าวเพื่อให้เกิดความร่วมมือและผลสัมฤทธี้ตามที่กำหนดไว้
๒. ให้ข้อคิดเห็น และคำแนะนำแก่หน่วยงานระดับกระทรวง กรม รวมทั้งประชุมทั้งใน และต่างประเทศ เพื่อให้เกิดประโยชน์และความร่วมมือในการดำเนินงานร่วมกัน
๓. ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อสามารถให้คำแนะนำเกี่ยวกับหลักเกณฑ์และแนวทาง ในการวิจัยพัฒนาเพื่อลดความขั้าซ้อน
๔. สื่อสารประเด็นสำคัญในยุทธศาสตร์เกี่ยวกับการส่งเสริมพัฒนาและกำกับดูแลผลิตภัณฑ์ อาหารและผลิตภัณฑ์อาหารนวัตกรรม ต่อผู้กำหนดนโยบาย และสาธารณชน
ด้านการบริการ
๑. เป็นที่ปรึกษาระดับกระทรวง ในการปฏิบัติงานถ่ายทอดความรู้ด้านอาหาร และการคุ้มครอง ผู้บริโภคเพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจและสามารถปฏิบัติงานไต้อย่างถูกต้อง และมีประสิทธิภาพ
๒. กำหนดทิศทางในการพัฒนาศักยภาพบุคลากรและองค์กรเพื่อให้เป็นบุคลากรที่มีความ ชำนาญ และปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
๓. กำหนดเป้าหมายและทิศทางการพัฒนาระบบสารสนเทศที่เกี่ยวกับงานด้านอาหาร และการคุ้มครองผู้บริโภค เพื่อให้สอดคล้องและสนับสนุนภารกิจและยุทธศาสตร์ของกระทรวงสาธารณสุข
๔. แนะนำการวางแผนวิจัยพัฒนาเพื่อให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์ของสำนักงานคณะกรรมการ อาหารและยา จนสามารถทำให้เกิดผลิตภัณฑ์อาหารและผลิตภัณฑ์อาหารนวัตกรรมที่มีข้อมูลเพียงพอต่อการ อนุญาตผลิตภัณฑ์
๕. ให้คำปรึกษาแนะนำทางวิชาการที่มีความซับซ้อนและใช้เทคนิคขั้นสูง แก,เจ้าหน้าที่ นักวิจัย และผู้ประกอบการในการพัฒนาปรับปรุงหลักเกณฑ์และแนวทางประเมินผลิตภัณฑ์อาหารและผลิตภัณฑ์ สมุนไพร
๖. พัฒนาระบบในการสนับสนุนส่งเสริมผลิตภัณฑ์อาหาร

วิธีการสมัครงานพนักงานราชการ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)  :สมัครทางอินเทอร์เน็ต  

ผู้ประสงค์จะสมัครสอบ สมัครได้ทางอินเทอร์เน็ตเท่านั้น ตั้งแต่วันที่ บัดนี้ – 1 ธ.ค. 2564 ตลอด 24 ชั่วโมง ไม่เว้นวันหยุดราชการ

ดาวน์โหลดไฟล์ “สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)

แผนที่ ประกาศ 1 | เว็บรับสมัคร |

Comments

comments

ข่าวงานราชการเปิดสอบ 2567-2569
Privacy Overview

This website uses cookies so that we can provide you with the best user experience possible. Cookie information is stored in your browser and performs functions such as recognising you when you return to our website and helping our team to understand which sections of the website you find most interesting and useful.