Categories
breaking news

แก้ พ.ร.บ.โรคติดต่อฯ สงสัยว่าเป็นโรคติดต่ออันตรายไม่แจ้งพนักงานควบคุมโรคมีความผิด

แก้ พ.ร.บ.โรคติดต่อฯ สงสัยว่าเป็นโรคติดต่ออันตรายไม่แจ้งพนักงานควบคุมโรคมีความผิด

ลิงค์: https://ehenx.com/12189/ หรือ
เรื่อง:


ครม.เคาะหลักการแก้ พ.ร.บ.โรคติดต่อฯ สงสัยว่าเป็นโรคติดต่ออันตรายต้องแจ้งพนักงานควบคุมโรค

ครม.อนุมัติหลักการร่างแก้ไขเพิ่มเติมพ.ร.บ.โรคติดต่อ ให้อำนาจผู้ว่าฯออกคำสั่งห้ามทำกิจกรรมหรือกิจการที่อาจก่อให้เกิดการแพร่ของโรคได้ กำหนดให้ผู้ที่สงสัยว่าเป็นโรคติดต่ออันตราย ต้องแจ้งเจ้าพนักงานควบคุมโรค ไม่แจ้งถือว่า มีความผิดต้องรับโทษตามที่กม.กำหนด

22 ธันวาคม 2563 นางสาวไตรศุลี  ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.)ได้อนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติโรคติดต่อ ซึ่งเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 เกี่ยวกับการดำเนินการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดต่อ เพื่อให้มาตรการทางกฎหมายมีความเหมาะสมในการแก้ไขปัญหาสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) และโรคติดต่ออื่นที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพ

  Youtube: iqepin LINE it! เพิ่มเพื่อน  

รวมทั้งกำหนดโทษสำหรับผู้ที่ฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อประจำด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศที่ให้แยกกักหรือกักกันโรค หรือผู้ที่ไม่แจ้งต่อเจ้าพนักงานควบคุมโรคเมื่อพบว่า ตนเป็นหรือสงสัยว่าเป็นโรคติดต่อเพื่อเป็นการป้องปรามไม่ให้ผู้ที่เดินทางกลับมาจากต่างประเทศหลีกเลี่ยงการกักตัวโดยหน่วยงานของรัฐ ซึ่งหลังจากครม.อนุมัติหลักการแล้วจะส่งให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วน แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาก่อนเสนอสภาผู้แทนราษฎรต่อไป

สำหรับสาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติที่แก้ไขเพิ่มเติมมีดังนี้คือ

1.กำหนดให้อธิบดีกรมควบคุมโรคมีอำนาจประกาศท้องที่หรือเมืองท่านอกราชอาณาจักรที่พบผู้ที่เป็นหรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าเป็นโรคติดต่อหรือโรคระบาดเฉพาะในกรณีที่มีความจำเป็นเร่งด่วนหรือฉุกเฉินอย่างยิ่งเพื่อป้องกันและควบคุมโรคติดต่อไม่ให้แพร่เข้ามาในราชอาณาจักร

Comments

comments

ข่าวงานราชการเปิดสอบ 2567-2569
Privacy Overview

This website uses cookies so that we can provide you with the best user experience possible. Cookie information is stored in your browser and performs functions such as recognising you when you return to our website and helping our team to understand which sections of the website you find most interesting and useful.