Categories
งานราชการ-รัฐวิสาหกิจ เปิดสอบที่น่าสนใจ

กรมบังคับคดี เปิดรับสมัครสอบข้าราชการ 9 ม.ค. -29 ม.ค. 2562 รวม 93 อัตรา

title=กรมบังคับคดีกรมบังคับคดี

กรมบังคับคดี

ลิงค์: https://ehenx.com/1731/ หรือ
ตำแหน่ง: รวม93อัตรา,นิติกรปฏิบัติการ,นักวิชาการเงินและบัญชีปฏิบัติการ,เจ้าพนักงานการเงินและบัญชีปฏิบัติการ,เจ้าพนักงานธุรการปฏิบัติงาน
ระดับการศึกษา: ปวส.ทุกสาขา,ปวส.,ปริญญาตรี
อัตราเงินเดือน: 13,800-16,500
อัตราว่าง: 93
ปฏิบัติงานที่: กรุงเทพมหานคร
เปิดรับสมัครตั้งแต่: 9 ม.ค. – 29 ม.ค. 2562
**เฉพาะผู้สอบผ่านภาค ก. ก.พ.**



กรมบังคับคดี เปิดรับสมัครสอบ

ประกาศกรมบังคับคดี

เรื่อง รับสมัครสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการในตำแหน่งต่างๆ ของกรมบังคับคดี

ด้วยกรมบังคับคดีจะดำเนินการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุบุคคลเข้ารับราชการในตำแหน่งต่างๆ ของกรมบังคับคดี ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 53 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2551 และหนังสือสำนักงาน ก.พ. ที่ นร 1004/ว 17 ลงวันที่ 11 ธันวาคม 2556 เรื่อง การสรรหาโดยการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุบุคคลเข้ารับราชการ จึงประกาศรับสมัครสอบแข่งขันฯ ดังรายละเอียดต่อไปนี้

ชื่อตำแหน่ง กลุ่มงาน และรายละเอียดการจ้างงาน

ตำแหน่ง นิติกรปฏิบัติการ
จำนวน 50 อัตรา
อัตราเงินเดือน 15,000-16,500 บาท

ตำแหน่ง นักวิชาการเงินและบัญชีปฏิบัติการ
จำนวน 4 อัตรา
อัตราเงินเดือน 15,000-16,500 บาท

ตำแหน่ง เจ้าพนักงานการเงินและบัญชีปฏิบัติการ
จำนวน 27 อัตรา
อัตราเงินเดือน 11,500-12,650 บาท

ตำแหน่ง เจ้าพนักงานธุรการปฏิบัติงาน
จำนวน 12 อัตรา
อัตราเงินเดือน 11,500-12,650 บาท

คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง

นิติกรปฏิบัติการ
  1. ได้รับวุฒิการศึกษาปริญญาตรี หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกันในสาขาวิชานิติศาสตร์
  2. เป็นผู้ที่สอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไปของสำนักงาน ก.พ. ระดับปริญญาตรีขึ้นไป
นักวิชาการเงินและบัญชีปฏิบัติการ
  1. ได้รับวุฒิการศึกษาปริญญาตรีหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกันในสาขาวิชาการบัญชี สาขาวิชาบริหารธุรกิจ หรือสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์
  2. เป็นผู้ที่สอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไปของสำนักงาน ก.พ. ระดับปริญญาตรีขึ้นไป
เจ้าพนักงานการเงินและบัญชีปฏิบัติการ
  1. ได้รับวุฒิประกาศนียับตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หรืออนุปริญญาหลักสูตร 3 ปี ต่อจากประกาศนียบัตรประโยคมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกันในทุกสาขาวิชา
  2. เป็นผู้ที่สอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไปของสำนักงาน ก.พ. ระดับปริญญาตรีขึ้นไป
เจ้าพนักงานธุรการปฏิบัติงาน
  1. ได้รับวุฒิประกาศนียับตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หรืออนุปริญญาหลักสูตร 3 ปี ต่อจากประกาศนียบัตรประโยคมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกันในทุกสาขาวิชา
  2. เป็นผู้ที่สอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไปของสำนักงาน ก.พ. ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ขึ้นไป

ลักษณะงานที่ปฏิบัติ

นิติกรปฏิบัติการ

ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ที่ต้องใช้ความรู้ ความสามารถทางวิชาการในการทำงานปฏิบัติงานด้านนิติการ เกี่ยวกับการบังคับคดีแพ่ง คดีล้มละลาย การฟื้นฟูิจการของลูกหนี้ การวางทรัพย์ งานนิติการ การดำเนินการทางวินัยและจรรยา และการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัิงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่างๆ ดังนี้

1. ด้านการปฏิบัติการ

ด้านการบังคับคดีแพ่ง ดดยดำเนินการ

  1. ศึกษา วิเคราะห์ พิจารณาตรวจสอบเอกสารหลักฐานเกี่ยวกับการบังคับคดีแพ่ง ดำเนินการยึดทรัพย์ อายัดทรัพย์ ขับไล่ รื้อถอน ส่งมอบการครอบครอง หรือปฏิบัติตามคำสั่งศาลอย่างอื่น ตามที่ผู้นำยึดนัดหมาย โดยปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง และระเบียบคำสั่งกรมบังคับคดีที่เกี่ยวข้อง
  2. จัดการให้มีการเก็บรักษาทรัพย์ที่ยึดไว้ตามแต่กรณี รายงานการยึดทรัพย์พร้อมด้วยบัญชีทรัพย์ต่อศาล
  3. ทำประกาศขายทอดตลาดทรัพย์ ส่งประกาศให้ผู้มีส่วนได้เสียในคดีและปิดประกาศตามระเบียบ และดำเนินการขายทอดตลาดทรัพย์ หรือประมูลทรัพย์สินและโอนหรือส่งมอบทรัพย์แก่ผู้ซื้อ
  4. พิจารณา วินิจฉัย คำร้อง คำแถลงต่างๆ เกี่ยวกับการของดบังคับคดี การถอนการยึดการถอนการบังคับคดี การขอสวมสิทธิ์บังคับคดีแทน หรือวินิจฉัยคำร้องคำขออื่นที่เกี่ยวข้องกับการบังคับคดี เพื่อเสนอสั่งหรือเพื่อสั่งในฐานะเจ้าพนักงานบังคับคดี

ด้านการบังคับคดีล้มละลาย โดยดำเนินการ

  1. ทำประกาศแจ้งคำสั่ง/คำพิพากษาของศาล
  2. สอบสวนลูกหนี้เกี่ยวกับกิจการและทรัพย์สิน พร้อมทั้งแจ้งคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ให้บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบ
  3. เรียกประชุมเจ้าหนี้ และไต่สวนลูกหนี้
  4. รวบรวมและจำหน่ายทรัพย์สินของลูกหนี้ผู้ล้มละลาย และดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องกรณีลูกนหี้มีสิทธิ์เรียกร้อง
  5. ทำความเห็นคำสั่งในสำนวนสาขา เช่น สำนวนคำขอรับชำระหนี้ ทวงหนี้ ร้องขัดทรัพย์เพิกถอนการโอนต่างๆ เสนอผู้บังคับบัญชาให้ความรับผิดชอบ
  6. ขอให้ศาลสั่งปิดคดี เมื่อมีการแบ่งทรัพย์สินของลูกหนี้ ครั้งที่สุดแล้ว หรือดำเนินการอื่นใดในส่วนที่เกี่ยวข้อง
  7. ดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องหรือต่อเนื่องอื่นๆ เกี่ยวกับการบังคับคดีล้มละลาย

ด้านการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ โดยดำเนินการ

  1. ประกาศโฆษณา แจ้งคำสั่งศาล มีหนังสือแจ้งหน่วยงานต่างๆ แจ้งเจ้าหนี้ตามกฎหมาย
  2. ตรวจรับคำขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการ
  3. รายงานผลการยื่นคำขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการการโต้แย้งคำขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการเพื่อรายงานศาลทราบ
  4. พิจารณาวินิจฉัยคำขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการ
  5. ดำเนินการออกคำสั่งการขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการ กรณีการโต้แย้งคำขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการ
  6. ดำเนินการประชุมเจ้าหนี้ และรายงานผลการประชุมเจ้าหนี้ต่อศาล
  7. ดำเนินการติดตาม ตรวจสอบผลการส่งประกาศ และคำสั่งให้เจ้าหนี้ทราบ ตลอดจนการดำเนินการ ซึ่งต้องใช้วิชาชีพกฎหมายที่เกี่ยวกับการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ เช่น การทวงหนี้ การหักกลบลบหนี้ การเพิกถอนการโอน การวินิจฉัยการลงคะแนนเสียง เป็นต้น

ด้านการวางทรัพย์/งานนิติการ โดยดำเนินการ

งานวางทรัพย์

  1. ตรวจสอบคำร้องขอวางทรัพย์ และเอกสารต่างๆ ของผู้วางทรัพย์ สอบสวนและพิจารณาให้ความเห็ฯการสั่งรับหรือไม่รับวางทรัพย์ ให้เจ้าหน้าที่ลงทะเบียนวางทรัพย์ และจัดทำบัญชีแยกประเภทเมื่อให้รับวางทรัพย์
  2. แจ้งผู้วางทรัพย์ และแจ้งการวางทรัพย์หรือวางเงินแก่นายทะเบียนที่เกี่ยวข้อง กรณีการวางทรัพย์หรือวางเงินเกี่ยวกับทรัพย์ที่มีทะเบียน
  3. พิจารณาคำร้องขอถอนทรัพย์ พิจารณาขออนุญาตต่อศาลนำทรัพย์ที่วางออกขายทอดตลาดทรัพย์ตามที่ลูกหนี้หรือผู้วางทรัพย์ให้ความยินยอมและมอบอำนาจ

งานนิติการ

  1. ดำเนินการตอบข้อหารือปัญหาทางกฎหมาย กฎ ระเบียบ คำสั่ง หลักเกณฑ์ และแนวทางในการปฏิบัติงานการบังคับคดีแพ่ง คดีล้มละลาย การฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ การวางทรัพย์ งานนิติการ การดำเนินการทางวินัยและจรรยา และการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท เพื่อให้ได้ข้อสรุปที่ชัดเจนร่วมกัน
  2. จัดทำข้อมูลคลังความรู้ทางวิชาการ เพื่อเป็นแหล่งค้นคว้าด้านกฎหมาย การเงินและบัญชีการบริหารงานทั่วไป และอื่นๆ
  3. ดำเนินการเกี่ยวกับการยกร่างกฎหมาย กฎกระทรวง ระเบียบ ข้อบังคับ คำสั่งต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการบังคับคดี และการปฏิบัิงานของเจ้าหน้าที่กรมบังคับคดี
  4. ดำเนินการตรวจสอบและจัดทำงานนิติกรรมสัญญา เช่น สัญญาซื้อ สัญญาจ้าง สัญญาจ้างเหมาบริการ หรือสัญญาลาศึกษาต่อ เป็นต้น

งานวินัย

  1. ดำเนินการทางวินัยข้าราชการ ลูกจ้างประจำ และพนักงานราชการที่ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัย เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมกับทุกฝ่ายในกระบวนการยุติธรรม
  2. ปฏิบัติงานเรื่องร้องเรียน การอุทธรณ์ การร้องทุกข์กล่าวโทษ และขอความเป็นธรรมเพื่อให้ได้รับสิทธิตามกฎ ระเบียบที่กำหนดไว้
  3. วิเคราะห์และพิจารณาเกี่ยวกับความรับผิดชอบทางละเมิดของเจ้าหน้าที่หน่วยงานของรัฐเพื่อให้สามารถวินิจฉัยการละเมิดได้
  4. ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการให้ได้รับเงินเดือนระหว่างลา และการลาที่ไม่อยู่ในอำนาจอธิบดีเพื่อให้เกิดสิทธิถูกต้องตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้
  5. ตอบข้อหารือเกี่ยวกับการดำเนินการทางวินัย แก่ผู้ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัย เพื่อให้เกิดความเข้าใจตรงกันในกระบวนการยุติธรรม
  6. จัดทำรายงานเกี่ยวกับการดำเนินการทางวินัย เรื่องร้องเรียน และสถิติการลงโทษทางวินัย เพื่อเป็นสถิติ และหลักฐานทางราชการในการปฏิบัติงาน
  7. ดำเนินกาส่งเสริมข้าราชการ ลูกจ้างประจำ และพนักงานราชการ ให้มีวินัย และรักษาคุณธรรม ตามข้อบังคับว่าด้วยจรรยาข้าราชการกรมบังคับคดี พ.ศ.2552 และข้อบังคับของ ก.พ. เพื่อให้เกิดความประพฤติที่เหมาะสมกับการเป็นข้าราชการ

งานไกล่เกี่ยวข้อพิพาท

  1. ดำเนินการเกี่ยวกับคดีไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภายหลังจากที่ศาลมีคำพิพากษาทั้งก่อนและระหว่างการดำเนินการบังคับคดี เพื่อเกิดประโยชน์สูงสุด
  2. ติดตามและประเมินผลการไกล่เกลี่ยและจัดเก็บสถิติลักษณะของการเจรจาที่สัมฤทธิ์ผลจัดเป็นองค์ความรู้ในการดำเนินการ เพื่อเก็บเป็นหลักฐานในการปฏิบัติงานให้ดียิ่งขึ้น
  3. จัดอบรมผู้ทำหน้าที่ไกล่เกลี่ยที่มีประสิทธิภาพรวมทั้งจัดอบรมเผยแพร่ให้มีความรู้เกี่ยวกับการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในชั้นบังคับคดีให้แก่ประชาชน เพื่อให้เจ้าหน้าที่มีองค์ความรู้ในการปฏิบัิตงาน และประชาชนมีความเข้าใจในกระบวนการไกล่เกลี่ย
  4. ตรวจสอบคำร้องขอไกล่เกลี่ยและสำนวนคดีที่เกี่ยวข้อง จัดทำสำนวนไกล่เกลี่ยขึ้นใหม่ การไกล่เกลี่ยข้อพิพาท จัดทำรายงานการดำเนินกระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท ทำบันทึกข้อตกลงให้คู่กรณีในกรณีที่ไกล่เกลี่ยสำเร็จ ติดตามและดูแลให้คู่กรณีปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อตกลง
  5. จัดทำศูนย์ไกล่เกลี่ยให้เป็นศูนย์ข้อมูลที่จะให้ความรู้แก่ประชาชนเกี่ยวกับการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท
  6. ส่งเสริมให้มีการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในชั้นบังคับคดีทุกรูปแบบ

2. ด้านการวางแผน

วางแผนการทำงานที่รับผิดชอบ ร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานเกี่ยวกับการบังคับคดีแพ่ง คดีล้มละลาย การฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ การวางทรัพย์ งานนิติการ การดำเนินการทางวินัยและจรรยา และการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท ของหน่วยงานหรือโครงการ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ที่กำหนด

3. ด้านการประสานงาน

  1. ประสานการทำงานร่วกันทั้งเจ้าหน้าที่ภายในสำนัก กอง สำนักงานและบุคคลภายนอก หรือองค์การอื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดความร่วมมือและบรรลุผลสัมฤทธิ์ร่วมกัน
  2. ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง ด้านการบังคับคดีแพ่ง คดีล้มละลาย การฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ การวางทรัพย์ งานนิติการ การดำเนินการทางวินัยและจรรยา และการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทแก่บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจในการดำเนินการตามที่ได้รับมอบหมาย

4. ด้านการบริการ

  Youtube: iqepin LINE it! เพิ่มเพื่อน  

  1. ประสานงานในระดับกองและเจ้าหน้าที่ด้วยกันหรือหน่วยงานที่สูงกว่า กับหน่วยงานราชการเอกชน หรือประชาชนทั่วไป ที่มาติดต่อเพื่อขอความช่วยเหลือและขอความร่วมมือในงานการบังคับคดีแพ่ง คดีล้มละลาย การฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ การวางทรัพย์ งานนิติการ การดำเนินการทางวินัยและจรรยา และการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พร้อมแลกเปลี่ยนความรู้ และประสบการณ์ที่เป็นประโยชน์ต่อการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงาน
  2. ให้คำปรึกษา แนะนำด้านกฎหมายแก่ประชาชน รวมทั้งตอบปัญหาข้อสงสัยต่างๆ รวมถึงติดต่อประสานงานและอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้บังคับบัญชาในการปฏิบัติงานทั่วไป
นักวิชาการเงินและบัญชีปฏิบัติการ

ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ที่ต้องใช้ความรู้ ความสามารถทางวิชาการในการทำงาน ปฏิบัติงาด้านวิชาการเงินและบัญชี ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่างๆ ดังนี้

1. ด้านการปฏิบัติการ

  1. จัดทำบัญชี เอกสารรายงานความเคลื่อนไหวทางการเงิน ทั้งเงินในและเงินนอกงบรปะมาณ เงินทุนหมุนเวียน เพื่อแสดงสถานะทางการเงินและใช้เป็นฐานข้อมูลที่ถูกต้องตามระเบียบวิธีการบัญชีของส่วนราชการ
  2. รวบรวมข้อมูล และรายานการเงินของส่วนราชการ เพื่อพร้อมที่จะปรับปรุงข้อมูลให้ถูกต้องและทันสมัย
  3. จัดทำและจัดสรรงบประมาณแก่หน่วยงานของรัฐเพื่อให้การจัดสรรงบประมาณ ตรงกับความจำเป็นและวัตถุประสงค์ของแต่ละหน่วยงาน
  4. ศึกษาวิเคราะห์ผลการใช้จ่ายเงินงบประมาณของหน่วยงานภาครัฐ เพื่อให้การใช้จ่ายเงินเป็นไปอย่างมีประสิทะิภาพ และใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงการจัดทำและจัดสรรงบประมาณ
  5. ดูแลการรับและจ่ายเงิน สถานะทางการเงิน ตรวจสอบเอกสารสำคัญการรับ-จ่ายเงินเพื่อให้การรับ-จ่ายเงินขององค์กรมีประสิทธิภาพ การปฏิบัติการถูกต้องตามระเบียบปฏิบัติของราชการ
  6. ถ่ายทอดความรู้ด้นการเงินและบัญชี แก่เจ้าหน้าที่ระดับรองลงมา เช่น ให้คำแนะนำในการปฏิบัติงาน วางโครงการกำหนดหลักสูตรและฝึกอบรม จัดทำคู่มือประจำสำหรับการฝึกอบรมและวิธีใช้อุปกรณ์เครื่องมือที่ถูกต้อง เป้นต้น เพื่อถ่ายทอดความรู้ที่เป็นประโยชน์ในการปฏิบัิงานตามมาตรฐานและข้อกำหนด
  7. คิดคำนวณยอดหนี้ตามคำพิพากษา ค่าธรมเนียมและค่าใช้จ่ายต่างๆ ในการบังคับคดี
  8. ช่วยตรวจสอบวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับกิจการและทรัพย์สินตามที่เจ้าพนักงานพิทักษ์มอบหมายเพื่อประกอบการพิจารณาเกี่ยวกับแผนฟื้นฟูกิจการ ตรวจสอบเอกสาร คำนวณหนี้ รับจ่ายเงิน จัดทำบัญชีในคดีฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้
  9. ตรวจสอบและวิเคราะหสำนวนคดีล้มละลาย จัดทำบัญชีส่วนแบ่งทรัพย์สินในคดีล้มละลาย และการชำระบัญชีตามคำสั่งศาล

2. ด้านการวางแผน

วางแผนการทำงานที่รับผิดชอบ ร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงาน หรือโครงการ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ที่กำหนด

3. ด้านการประสานงาน

  1. ประสานการทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน เพื่อให้เกิดความร่วมมือและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนด
  2. ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แก่บุคคลหรืหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย

4. ด้านการบริการ

  1. ให้คำแนะนำ ตอบปัญหาและชี้แจงเกี่ยวกับงานการเงินและบัญชีที่ตนมีความรับผิดชอบในระดับเบื้องต้นแก่หน่วยงานราชการ เอกชน หรอืประชาชนทั่วไป เพื่อให้ผู้ที่สนใจได้ทราบข้อมูลและความรู้ต่างๆ ที่เป็นประโยชน์
  2. จัดเก็บข้อมูลเบื้องต้น ทำสถิติ ปรับปรุง หรือจัดทำฐานข้อมูลหรือระบบสารสนเทศที่เกี่ยวกับงานการเงินและบัญชี เพื่อให้สอดคล้องและสนับสนุนภารกิจของหน่วยงาน และใช้ประกอบการพิจารณากำหนดนโยบาย แผนงาน หลักเกณฑ์ มารตรการต่างๆ
เจ้าพนักงานการเงินและบัญชีปฏิบัติการ

ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาปฏิบัติงานด้านการเงินและบัญชี ตามแนวทาง แบบอย่าง ขั้นตอน และวิธีการที่ชัดเจน ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่างๆ ดังนี้

1. ด้านการปฏิบัติการ

  1. จัดทำและปฏิบัติงานด้านเอกสารทางการเงินและบัญชีในระดับต้น เพื่อให้งานเป็นไปตามเป้าหมายที่เกำหนด
  2. รวบรวมรายละเอียดการจัดทำงบประมาณ เพื่อใช้ประกอบในการงบประมาณประจำปีของหน่วยงาน
  3. ตรวจสอบและดูความถูกต้องของเอกสารสำคัญทางการเงิน เพื่อให้เกิดความถูกต้องในการปฏิบัติงาน
  4. ประสานงานในระดับฝ่ายหรือกลุ่มกับหน่วยงานราชการ เอกชน หรือประชาชนทั่วไปเพื่อขอความช่วยเหลือและร่วมมือในงานและแลกเปลี่ยนความรู้ความเชี่ยวชาญที่เป็นประโยชน์ต่อการทำงานของหน่วยงาน
  5. รับ-จ่ายเงินในคดีแพ่ง ล้มละลาย วางทรัพย์ จัดทำรายงานการเงินประจำวัน ประจำเดือน
  6. จัดทำบัญชีแสดงรายการรับ-จ่ายเงินในคดีให้แก่คู่ความ ผู้ร้องของเฉลี่ยทรัพย์ ผู้ร้องขอกันส่วนและผู้ร้องขอรับชำระหนี้จำนอง หรือบริสุทธิ์ก่อนเจ้าหนี้อื่น
  7. คิดค่าธรรมเนียมถอนการยึด การอายัด คำนวณยอดหนี้ตามคำพิพากษา และตรวจสำนวนศาลเพื่อคิดค่าฤชาธรรมเนียมศษลไว้ทำบัญชีและคิดยอดหนี้

2. ด้านการบริการ

  1. ให้คำแนะนำ ตอบปัญหา ชี้แจงเกี่ยวกับงานการเงินและบัญชี แก่เจ้าหน้าที่ระดับรองลงมา หน่วยงานราชการ เอกชน และประชาชนทั่วไป เพื่อถ่ายทอดความรู้ ความชำนาญแก่ผู้ที่สนใจ
  2. ประสานงานในระดับกลุ่ม กับหน่วยงานราชการ เอกชน หรือประชาชนทั่วไป เพื่อขอความช่วยเหลือและความร่วมมือในงานการเงินและบัญชี และแลกเปลี่ยนความรู้ความเชี่ยวชาญที่เป็นประโยชน์ต่การทำงานของหน่วยงาน
เจ้าพนักงานธุรการปฏิบัติงาน

ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัิงานระดับต้นซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้ผูสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาปฏิบัติงานด้านธุรการ สารบรรณ หรือบริการทั่วไป ตามแนวทาง แบบอย่าง ขึ้นตอน และวิธีการที่ชัดเจนภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่างๆ ดังนี้

1. ด้านการปฏิบัติการ

  1. ปฏิบัติงานด้านธุรการ งานสารบรรณ งานบริการทั่วไป เช่น การรับส่ง ลงทะเบียน ร่างหนังสือโต้ตอบ จัดเตรียมการประชุม การบันทึกข้อมูล เพื่อสนับสนุนให้งานต่างๆ ดำเนินไปได้โดยสะดวกราบรื่นและมีหลักฐานตรวจสอบได้
  2. รวบรวมข้อมูล จัดเก็บสถิติ เอกสาร หลักฐานหนังสือ ตามระเบียบวิธีปฏิบัติ เพื่อสะดวกต่อการค้นหา และเป็นหลักฐานทางราชการ
  3. ดำเนินการเกี่ยวกับพัสดุ ครุภัณฑ์ของสำนักงาน เพื่อให้มีอุปกรณ์ที่มีคุณภาพไว้ใช้งานและอยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน
  4. รวบรวมรายงานผลการปฏิบัิตงานและข้อมูลต่างๆ นำเสนอต่อผู้บังคับบัญชา เพื่อนำไปใช้เสนอแนะและปรับปรุงการปฏิบัติงานต่อไป
  5. ปฏิบัติงานธุรการคดี การตั้งเรื่องสำนวนยึดทรัพย์ สำนวนอายัดทรัพย์ สำนวนวางทรัพย์ และสำนวนสอบสวนกิจการแทน ตรวจยึดซ้ำ ตรวจอายัดซ้ำ ตรวจล้มละลาย ลงสารบบคำคู่ความ จัดเก็บเอกสารและจ่ายคืนเอกสารสิทธิ์ในคดีให้แก่ผู้มีส่วนได้เสียในคดี ดำเนินการปลดเผาทำลายเอกสาร ลงบันทึกรายงานการขายทอดตลาดของสำนักงานฯ รวมทั้งทำสถิติคดีประจำเดือน เอกสารหลักฐานหนังสือตามระเบียบวิธีปฏิบัติ เพื่อสะดวกต่อการค้นหา และเป็นหลักฐานทางราชการ
  6. ปฏิบัติงานแทนเจ้าพนักงานบังคับคดีในสำนวนอายัดทรัพย์สิน

2. ด้านการบริการ

  1. ติดต่อประสานงานกับบุคคลภายในหน่วยงานเดียวกันหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปด้วยความราบรื่น
  2. ให้บริการข้อมูลแก่ผู้มาติดต่อราชการเพื่อให้ได้รับข้อมูลที่จะนำไปใช้ประโยชน์ได้ต่อไป
  3. ผลิตเอกสารต่างๆ เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานตามภารกิจของหน่วยงาน และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องตามที่ได้รับมอบหมาย

วิชาที่สอบ

นิติกรปฏิบัติการ
  1. กฎหมายว่าด้วยล้มละลาย
  2. กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
  3. กฎหมายลักษณะพยาน
  4. กฎหมายแพ่งและพาณิชย์
  5. พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539
  6. พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของทางราชการ พ.ศ.2540
  7. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
  8. พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2551 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
  9. พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546
  10. ความรู้เกี่ยวกับสังคม เศรษฐกิจ การบริหารราชการ และแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี
นักวิชาการเงินและบัญชีปฏิบัติการ
  1. ความรู้เกี่ยวกับงานด้านการเงิน บัญชี และงบประมาณ
  2. การบริหารการเงินการคลังภาครัฐด้วยระบบอิเล็คทรอนิกส์ (GFMIS)
  3. หลักการบัญชีเบื้องต้น
  4. ความรู้เกี่ยวกับสังคม เศรษฐกิจ การบริหารราชการ และแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี
  5. พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2551 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
  6. พระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ.2502 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
  7. พระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ.2561
  8. พระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ.2560
  9. ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ.2560
  10. ระเบียบการเบิกจ่ายเงินจากคลัง การเก็บรักษาเงิน และการนำเงินส่งคลัง พ.ศ.2551
  11. ระเบียบเกี่ยวกับการเงินการคลัง
เจ้าพนักงานการเงินและบัญชีปฏิบัติการ
  1. ความรู้เกี่ยวกับงานด้านการเงิน บัญชี และงบประมาณ
  2. การบริหารการเงินการคลังภาครัฐด้วยระบบอิเล็คทรอนิกส์ (GFMIS)
  3. หลักการบัญชีเบื้องต้น
  4. ความรู้เกี่ยวกับสังคม เศรษฐกิจ การบริหารราชการ และแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี
  5. พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2551 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
  6. พระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ.2502 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
  7. พระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ.2561
  8. พระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ.2560
  9. ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ.2560
  10. ระเบียบการเบิกจ่ายเงินจากคลัง การเก็บรักษาเงิน และการนำเงินส่งคลัง พ.ศ.2551
  11. ระเบียบเกี่ยวกับการเงินการคลัง
เจ้าพนักงานธุรการปฏิบัติงาน
  1. ความรู้เกี่ยวกับเรื่องงานธุรการและงานสารบรรณ
  2. ความรู้เกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ
  3. ความรู้เกี่ยวกับสังคม เศรษฐกิจ การบริหารราชการ และแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี
  4. ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการลาของข้าราชการ พ.ศ.2555 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
  5. พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2551 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
  6. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
  7. พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ.2540

วิธีการสมัครงานข้าราชการ กรมบังคับคดี :สมัครทางอินเทอร์เน็ต  

ผู้ประสงค์จะสมัครสอบ สมัครได้ทางอินเทอร์เน็ตเท่านั้น ตั้งแต่วันที่ 9 ม.ค. – 29 ม.ค. 2562 ตลอด 24 ชั่วโมง ไม่เว้นวันหยุดราชการ

ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบ : 15 ก.พ. 2562

ดาวน์โหลดไฟล์ “กรมบังคับคดี

แผนที่ | ประกาศ 1 | เว็บรับสมัคร |

Comments

comments