“ทบทวนร่าง รธน. “
ลิงค์: https://iqepi.com/30961/ หรือ
เรื่อง: ผ่าน 212 มาตรา พิจารณาใหม่เรื่องอำนาจคณะกรรมการแต่งตั้งข้าราชการการส่วนท้องถิ่น
**ไม่ต้องผ่านภาค ก. ก.พ.**
—
ในการประชุมคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ยกร่างรัฐธรรมนูญ วาระพิจารณาทบทวนบทบัญญัติร่างรัฐธรรมนูญเป็นรายมาตรา และบันทึกเจตนารมณ์ ได้ผ่านการพิจารณา ในวันที่ 20 มี.ค. ไปแล้ว ทั้งสิ้น รวม 7 มาตรา โดยอยู่ในหมวด 6 ความสัมพันธ์ระหว่างข้าราชการ นักการเมือง และประชาชน จำนวน 1 มาตรา คือ มาตรา 206 ว่าด้วยบทบัญญัติที่ห้ามข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งมีตำแหน่งและเงินเดือนประจำ และไม่ใช่ข้าราชการการเมือง ไปดำรงตำแหน่งข้าราชการการเมืองหรือผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ทั้งนี้ในเจตนารมณ์ของการบังคับใช้เจ้าหน้าที่ของรัฐจะหมายความถึงกำนัน ผู้ใหญ่บ้านด้วย ขณะที่ร่างมาตราในหมวดนี้ที่เหลืออีก 4 มาตรา ตั้งแต่ มาตรา 207 – มาตรา 210 นั้นที่ประชุมได้ยกการพิจารณาไปครั้งถัดไป เพื่อรอกมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญที่มีความเชี่ยวชาญในประเด็นข้าราชการมาร่วมประชุมและช่วยพิจารณารวมถึงตอบข้อสงสัยของกมธ.โดยเฉพาะประเด็นรายละเอียดของข้าราชการในประเภทต่าง ๆ และอยู่ในหมวด 7 ว่าด้วยการกระจายอำนาจและการบริหารท้องถิ่น จำนวนทั้งสิ้น 6 มาตรา ซึ่งได้พิจารณาแล้วเสร็จทั้งหมด ตั้งแต่มาตรา 211 – มาตรา 216
ทั้งนี้มีประเด็นสำคัญ ในมาตรา 215 ว่าด้วยการรับรองสิทธิและเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการบริหารขององค์กรบริหารท้องถิ่น โดยในบทบัญญัติได้เขียนรวมถึง “การเปลี่ยนแปลงเขตการปกครองท้องถิ่น” ด้วย ซึ่งที่ประชุมมีผู้เสนอให้ตัดถ้อยคำดังกล่าวออกเพื่อให้เป็นอำนาจการดำเนินงานขององค์กรท้องถิ่นโดยตรง และหากให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมอาจต้องลงลึกในระดับของการทำประชามติ ขณะที่ มาตรา 216 ว่าด้วยการบริหารงานบุคคลขององค์กรบริหารท้องถิ่น ที่กำหนดให้มีคณะกรรมการดำเนินการแต่งตั้งข้าราชการการส่วนท้องถิ่นโดยระบบคุณธรรมในแต่ละจังหวัด ซึ่งที่ประชุมตั้งข้อสังเกตถึงที่มาของกรรมการชุดดังกล่าวรวมถึงอำนาจหน้าที่ เพราะมีข้อกังวลว่า หากให้อำนาจแต่งตั้ง โยกย้ายแบบเบ็ดเสร็จอาจเป็นเงื่อนไขที่จำกัดการบริหารจัดการบุคลากรท้องถิ่นได้ ทั้งนี้มีผู้เสนอว่าในอำนาจของกรรมการชุดดังกล่าวจะมีเพียง การรับอุทธรณ์ ร้องทุกข์ การพิจารณาทางวินัย ตามหลักคุณธรรมเท่านั้น นอกจากนั้นยังมีผู้เสนอให้แก้ไขชื่อคณะกรรมการฯเป็นกรรมการรับอุทธรณ์ แก้ปัญหาและพิทักษ์ระบบคุณธรรม ทำให้ที่ประชุมจะนำกลับมาพิจารณาอีกครั้งในการประชุมนัดถัดไป
ที่มา: http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/640150#sthash.9OQu2i38.dpuf