Categories
รายงานพิเศษ

สอบตำรวจ –  ตำรวจเกณฑ์ !?!..??????

“สอบตำรวจ –  ตำรวจเกณฑ์ !?!..??????”

ลิงค์: https://iqepi.com/?p=15707 หรือ
เรื่อง: ตำรวจเกณฑ์ !?!..??????
**ไม่ต้องผ่านภาค ก. ก.พ.**


อดีต..สู่..ปัจจุบัน

ในสมัยก่อนประกาศใช้ พ.ร.บ.ลักษณะเกณฑ์ทหาร ร.ศ. ๑๒๔ (พ.ศ. ๒๔๔๘) นั้น การเกณฑ์นั้นจะใช้วิธีเกณฑ์เลกไพร่เข้ารับราชการ เมื่อตรา พ.ร.บ.ลักษณเกณฑ์ทหารแล้ว จึงเริ่มเกณฑ์คนเข้ารับราชการทหาร แต่ในบางท้องที่ที่ยังไม่มีการจัดตั้งกรมกองทหาร หริอเป็นเขตที่มีข้อตกลงกับมหาอำนาจที่จะไม่ให้มีกองทหารก็ใช้วิธีเกณฑ์คน เข้ารับราชการเป็นตำรวจภูธรแทนการเป็นทหาร เช่นในท้องที่หัวเมืองมณฑลปักษ์ใต้และหัวเมืองระยะ ๕๐ กม. ตลอดฝั่งขวาแม่น้ำโขงก็ใช้วิธีเกณฑ์ชายฉกรรจ์เป็นตำรวจภูธรมาจนยกเลิกสิทธิ สภาพนอกอาณาเขต

ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๖๕ ได้มีพระบรมราชโองการให้รวมกระทรวงนครบาลเข้ากับกระทรวงมหาดไทย และโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) รับผิดชอบเป็น “เสาบดีกระทรงมหาดไทย … งานสำคัญงานแรกของท่าน คือการกราบบังคมทูลขอพระบรมราชานุญาตจัดตั้งกรมตำรวจ โดยให้รวมกรมพลตระเวนนครบาล สังกัดกระทรวงนครบาลเข้ากับกรมพลตระเวนภูธร อยู่ในสังกัดกระทรวงมหาดไทย โดยจัดตั้งกรมใหม่ให้ชื่อว่า “กรมตำรวจ” ในปี ๒๔๖๕

ทั้งนี้ แต่เดิมนั้นกรมพลตระเวนนครบาลเป็นกรมที่เกณฑ์เด็กหนุ่มอายุ ๑๘ ปี มาทำหน้าที่พลตระเวนในกรุงเทพฯ คือทำหน้าที่เป็นตำรวจเกณฑ์คนละ ๒ ปี คล้ายการเกณฑ์ทหาร แต่พลตระเวนไม่ได้รับการฝึกใดๆ ทั้งสิ้น พอถูกเกณฑ์เข้ามาก็ปฏิบัติหน้าที่รักษาคามสงบและและปาบโจรผู้ร้ายในมณฑล กรุงเทพฯ

ส่วน “กรมตระเวนหัวเมือง” ก็ใช้วิธีการเกณฑ์เด็กอายุ ๑๘ ปี มาทำงานคล้ายกับ “กรมพลตระเนนครบาล” นั่นเอง แต่รับผิดชอบพื้นที่ต่างจังหวัดทั่วราชอาณาจักร กรมนี้สังกัดกระทรวมหาดไทย

ในที่สุด การจัดกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจใหม่ในอดีตนั้น เจ้าพระยายมราช ได้ทรงยกเลิกการเณฑ์เด็กหนุ่มอายุ ๑๘ ปี มาทำหน้าที่เป็นตำรวจ ปฏิบัติหน้าที่เป็นพลตระเวนนครบาล และพลตระเวนหัวเมือง คือ ให้ยกเลิกเกณฑ์ตำรวจเกณฑ์นั่นเอง แต่ให้เริ่มจ้างชายที่อายุเกินกว่า ๒๐ ปี มาเป็นตำรวจอาชีพ โดยให้เงินเดือนเริ่มต้นเดือนละ ๒๐ บาท โดยผู้ที่ได้รับการคัดเลือกนั้นก็มักจะเป็นผู้ทีมีประสบการณ์ เคยเป็นพลตระเวนที่ถูกเกณฑ์ และมีประวัติที่ดีมาด้วย และจากนั้นกิจการตำรวจก็ได้ขยายตัวไปอย่างกว้างขวางทั่วทุกหัวมุมของ อาณาจักร เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยภายใน ที่ช่วยแบ่งเบาภาระหน้าที่ของทหาร และให้เหล่าทหารนั้น มีหน้าที่ในการปกป้องอธิปไตย อริราชศัตรูภายนอกเป็นหลัก และด้วยสถานการณ์บ้านเมือง พ.ร.บ.ลักษณะการเกณฑ์ทหาร จึงได้ถูกใช้มาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน แม้จะยกเลิก “ตำรวจเกณฑ์” ที่ครั้งหนึ่งเคยถูกก่อตั้งขึ้นมา เพื่อเกณฑ์ผู้คนมาทำหน้าที่พิทักษ์สันติราษฎร์ แต่บัดนี้เปลี่ยนแปลงไป หันมารับเอากำลังพลจากการสอบบรรจุเข้าไปเพื่อทำงาน เพื่อคัดสรรบุคคลที่มีใจรัก และมีความต้องการที่จะเป็นตำรวจจริงๆ เท่านั้น จึงเป็นอันยุติการเกณณฑ์ตำรวจไป ดังเหตุผลที่กล่าวมาข้างต้น

ปัจจุบัน..สู่..อนาคต

เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2557. ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.) พล.ต.อ.วัชรพล ประสารราชกิจ รักษาราชการแทนผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (รรท.ผบ.ตร.) เป็นประธานการประชุมบริหาร ตร. โดยมี รอง ผบ.ตร. ถึงผู้บัญชาการ (ผบช.) ทุกหน่วยและผู้บังคับการ (ผบก.) ในหน่วยขึ้นตรงสำนักงาน ผบ.ตร. ร่วมประชุม ใช้เวลาประชุมร่วม 3 ชั่วโมง ได้กล่าวเกี่ยวกับ “ตำรวจเกณฑ์” ไว้

  Youtube: iqepin LINE it! เพิ่มเพื่อน  

พล.ต.อ.วัชรพล กล่าวว่า สำนักงานตำรวจแห่งชาติ อยู่ระหว่างร่างกฎหมายใหม่ และปรับปรุงแก้ไขกฎหมายเดิมที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานของตำรวจ ประมาณ 19 ฉบับ รวมถึงแนวทางการปฏิรูปตำรวจที่จะมุ่งเน้นการกระจายอำนาจ หาก คสช. เห็นชอบก็ต้องแก้ไข พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ ให้สอดคล้องกับการปฏิรูป โดยกฎหมายที่จะเสนอไป อาทิ พ.ร.บ.การชุมชุมสาธารณะ พ.ร.บ.ตำรวจพลประจำการ หรือตำรวจเกณฑ์ พ.ร.บ.การรักษาความปลอดภัยเอกชน พ.ร.ฎ ตำรวจไม่มียศ พ.ร.บ.ไกล่เกลี่ยคดีอาญา เป็นต้น โดยก่อนหน้านี้ เคยเสนอ คสช. ให้ออกเป็นคำสั่ง คสช. เพื่อให้กฎหมายบางฉบับสามารถใช้บังคับได้ทันที แต่ คสช. เห็นว่าเป็นกฎหมายที่มีรายละเอียดมาก ให้ ตร. นำกลับมารอเสนอต่อสภานิติบัญญัติ

พล.ต.อ.วัชรพล กล่าวถึงการผลักดัน พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะ นั้น ได้ตั้งคณะทำงานขึ้นมาปรับปรุงแก้ไขร่าง พ.ร.บ. เดิม ที่เคยเสนอต่อรัฐบาลไป และผ่านการพิจารณาในสภาแล้ว ครั้งนี้เสนอใหม่ปรับปรุงให้เหมาะสมกับสภาพสังคมและสถานการณ์ โดยยังคงให้สิทธิประชาชนในการชุมนุม และรักษาสิทธิประชาชนโดยทั่วไป รวมถึงการบังคับใช้กฎหมาย โดยสาระสำคัญไม่ละเมิดสิทธิผู้ชุมนุม ไม่ได้กำหนดว่าต้องขออนุญาตก่อนชุมนุม เพียงแต่ต้องแจ้งก่อนการชุมนุม เพื่อเจ้าหน้าที่จะได้ดูแลความสงบเรียบร้อย และรักษาสิทธิของประชาชนที่ไม่เกี่ยวข้องกับการชุมนุม และอำนวยความสะดวกด้านจราจร ขณะเดียวกัน แม้ ตร. จะมีหน่วยงานกองบังคับการอารักขาและควบคุมฝูงชน อยู่แล้ว ในการดูแลความสงบเรียบร้อยการชุมนุม แต่ก็ไม่เพียงพอ ในครั้งนี้ ตร. จึงได้เสนอร่างกฎหมาย ให้มีตำรวจพลประจำการ หรือ “ตำรวจเกณฑ์” ลักษณะคล้ายทหารเกณฑ์ เป็นกำลังที่จะนำมาฝึกเพื่อใช้ในภารกิจรักษาความสงบเรียบร้อยการชุมนุม การรักษาความปลอดภัยสถานที่สำคัญ ซึ่งไม่ต้องมีทักษะงานตำรวจมาก แต่ฝึกเป็นกองกำลังที่มีวินัย สามารถดูแลความปลอดภัยได้

“แนวคิดนี้จะเป็นการปรับทัศนคติของชายไทย ว่า ไม่ใช่เพียงมีหน้าที่ในการรักษาชาติเท่านั้น ยังมีภารกิจหน้าที่ในการรักษาความสงบเรียบร้อยของสังคมด้วย เบื้องต้นหากกฎหมายนี้ผ่าน จะหารือ คสช. ขอกำลังส่วนนี้ประมาณ 10,000 นาย ซึ่งแต่ละปีมีการเกณฑ์ทหาร 100,000 นาย ก็จะขอให้เกณฑ์เพิ่มอีก 10,000 นาย เพื่อเป็นตำรวจเกณฑ์ ชุดแรก ตั้งใจว่าจะส่งไปตามแนวชายแดน ทำงานร่วมกับตำรวจตระเวนชายแดนเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ตำรวจเกณฑ์จะคล้ายพลตระเวนในสมัยก่อน แต่ไม่ใช่เรื่องล้าสมัย ในหลายประเทศก็มีตำรวจเกณฑ์ เช่น เกาหลีใต้ อิสราเอล สิงคโปร์” รรท.ผบ.ตร. กล่าว

พล.ต.อ.วัชรพล กล่าวว่า นอกจากนี้ จะเสนอกฎหมายการรักษาความปลอดภัยเอกชน เพื่อยกระดับมาตรฐานการรักษาความปลอดภัยของภาคเอกชน ที่มีผู้ปฏิบัติงานด้านนี้ 300,000 – 500,000 คน โดยจะฝึกอบรมให้มีมาตรฐานยึดโยงกับการทำงานของตำรวจเพื่อช่วยกันป้องกันปราบ ปรามอาชญากรรม อย่างไรก็ตาม ประเด็นนี้มีการผลักดันมาตั้งแต่สมัย พล.ต.อ.พรศักดิ์ ดุรงควิบูลย์ เป็น ผบ.ตร. ผ่านมา 15 ปี ก็ยังไม่เป็นรูปธรรม จึงใช้โอกาสนี้ผลักดันกฎหมายนี้

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง

Comments

comments