สรุปตัวนี้..”ต้องปรับปรุงแก้ไข” เนื่องจากปัจจุบันรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 2 พ.ศ. 2554 แต่สรุปเหมือนว่าจะยังอัพเดตไม่ถึงตัวแก้ไขเพิ่มเติมทั้งฉบับ 1 และ 2 ไว้มีเวลาจะกลับมาปรับปรุงข้อมูลอีกที
องคมนตรี
- ที่มา:
- พระมหากษัตริย์แต่งตั้งตามพระราชอัธยาศัย
- ประธานรัฐสภาเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งประธานองคมนตรี
- ประธานองคมนตรีเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งองคมนตรี
- จำนวน:
- ประธานองคมนตรี 1 คน และองคมนตรีอื่นอีกไม่เกิน 18 คน
- หน้าที่:
- ถวายความเห็นต่อพระมหากษัตริย์ในพระราชกรณียกิจทั้งปวงที่พระมหากษัตริย์ทรงปรึกษา
วุฒิสภา
- ที่มา:
- การเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา
- การสรรหาสมาชิกวุฒิสภา
- จำนวน: 150 คน
- จำนวน 76 คน มาจากการเลือกตั้งของแต่ละจังหวัด ๆ ละ 1 คน
- จำนวน 74 คน มาจากการสรรหาของคณะกรรมการสรรหาวุฒิสภา
- วาระ: 6 ปี และจะดำรงตำแหน่งติดต่อกันเกินหนึ่งวาระไม่ได้
- ส.ว.ที่มาจากการเลือกตั้งเมื่อสิ้นสุดวาระต้องมีการเลือกตั้งใหม่ภายใน 30 วัน
- ส.ว. ที่มาจากการสรรหาเมื่อสิ้นสุดวาระต้องมีการสรรหาให้แล้วเสร็จภายใน 60 วัน
- หน้าที่:
- พิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่ผ่านมาจากสภาผู้แทนราษฎร
- ให้ความเห็นชอบในการแต่งตั้งองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญและองค์กรอื่นตามรัฐธรรมนูญ
- ควบคุมฝ่ายบริหารด้วยการตั้งกระทู้ และขอเปิดอภิปรายทั่วไป (ส.ว. 1/3)
- ให้ความเห็นชอบในการถอดถอนบุคคลที่ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
- คุณสมบัติ:
- สัญชาติไทยโดยการเกิด
- อายุไม่ต่ำกว่า 40 ปีบริบูรณ์
- สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า
- ไม่เป็นบุพการี คู่สมรส หรือบุตรของ ส.ส. หรือผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
- ไม่เป็นสมาชิกพรรคการเมือง หรือพ้นจากการเป็นสมาชิกพรรคการเมืองยังไม่เกิน 5 ปี
- ไม่เป็น ส.ส. หรือเคยเป็นส.ส. และพ้นจากการเป็น ส.ส.มาแล้วยังไม่เกิน 5 ปี
- ไม่เป็น ร.ม.ต. หรือผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและพ้นจากการดำรงตำแหน่งยังไม่เกิน 5 ปี
- ส.ว.ที่มีสมาชิกภาพสิ้นสุดมาแล้วไม่เกิน 2 ปีจะเป็น ร.ม.ต. หรือดำรงตำแหน่งทางการเมืองไม่ได้
สภาผู้แทนราษฎร
- ที่มา: มาจากการเลือกตั้งของประชาชน
- จำนวน: 480 คน
- จำนวน 400 คนมาจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขต ๆ ละ 3 คน
- จำนวน 80 คน มาจากการเลือกตั้งแบบสัดส่วน โดยแบ่งเขตพื้นที่ประเทศออกเป็น 8 กลุ่มกลุ่มละ 10 คน
- วาระ: 4 ปี
- ถ้าครบวาระให้จัดการเลือกตั้งใหม่ภายใน 45 วัน
- ถ้ายุบสภาให้มีการจัดการเลือกตั้งภายใน 45 – 60 วัน
- ห้ามควบรวมพรรคการเมืองในระหว่างอายุของสภาผู้แทนราษฎร
- หน้าที่:
- แต่งตั้งและควบคุมฝ่ายบริหาร
- ออกกฎหมาย (พระราชบัญญัติ)
- คุณสมบัติ:
- มีสัญชาติไทยโดยการเกิด
- อายุไม่ต่ำกว่า 25 ปีบริบูรณ์ในวันเลือกตั้ง
- เป็นสมาชิกพรรคการเมืองไม่น้อยกว่า 90 วัน
- มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน หรือเคยเกิด หรือเคยศึกษา (ไม่น้อยกว่า 5 ปี) หรือเคยรับราชการ และมีชื่อในทะเบียนบ้าน (ไม่น้อยกว่า 5 ปี) ในจังหวัดที่สมัครรับเลือกตั้ง
- ไม่เป็นสมาชิกวุฒิสภา หรือเคยเป็นสมาชิกวุฒิสภา และมีการสิ้นสุดสมาชิกภาพมาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี
- ไม่เป็นผู้บริหาร หรือสมาชิกสภาท้องถิ่น
- ไม่เป็นข้าราชการ พนักงานหรือลูกจ้างของหน่วยราชการ
- ไม่เป็นคณะกรรมการในองค์กรอิสระ และองค์กรอื่นในรัฐธรรมนูญ
- ไม่เป็นบุคคลที่มีลักษณะต้องห้ามไม่ให้ใช้สิทธิเลือกตั้ง ฯลฯ
การร่างพระราชบัญญัติ
- ผู้เสนอ
- คณะรัฐมนตรี
- ส.ส. จำนวนไม่น้อยกว่า 20 คน
- ศาลหรือองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ (เฉพาะกฎหมายที่เกี่ยวกับองค์กรฯ)
- ผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนไม่น้อยกว่า 10,000 คน (เกี่ยวกับสิทธิ และเสรีภาพของชนชาวไทย กับหน้าที่ของชนชาวไทย)
- ผู้พิจารณา
- สภาผู้แทนราษฎร
- วุฒิสภา
- ผู้ตรา
- พระมหากษัตริย์
- ถ้าเห็นชอบพระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธย
- ถ้าไม่เห็นชอบ ทรงพระราชทานคืนมายังรัฐสภา
- พระมหากษัตริย์
- มีผลบังคับใช้
- ถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
คุณสมบัติของบุคคลที่มีสิทธิเลือกตั้ง
- มีสัญชาติไทย ถ้าแปลงสัญชาติต้องได้สัญชาติไทยไม่น้อยกว่า 5 ปี
- อายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์ ในวันที่ 1 มกราคม ของปีที่มีการเลือกตั้ง
- มีรายชื่อในทะเบียนบ้านในเขตเลือกตั้งไม่น้อยกว่า 90 วัน นับถึงวันเลือกตั้ง
คุณสมบัติของบุคคลที่ไม่มีสิทธิเลือกตั้ง
- เป็นภิกษุ สามเณร นักพรต หรือนักบวช
- อยู่ในระหว่างถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง
- อยู่ในระหว่างต้องคุมขังอยู่โดยหมายของศาล
- วิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ
คณะรัฐมนตรี
- ที่มา:
- พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง
- ประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการฯ
- จำนวน:
- นายกรัฐมนตรี 1 คน
- รัฐมนตรีอื่นอีกไม่เกิน 35 คน
- วาระ: 4 ปี
- หน้าที่: บริหารราชการแผ่นดินตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ
- ด้านความมั่นคง
- ด้านการบริหารราชการแผ่นดิน (ส่วนกลาง , ส่วนภูมิภาคและส่วนท้องถิ่น)
- ด้านศาสนา สังคม สาธารณสุข การศึกษา และวัฒนธรรม
- ด้านกฎหมาย และการยุติธรรม
- ด้านการต่างประเทศ
- ด้านเศรษฐกิจ
- ด้านที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม
- ด้านวิทยาศาสตร์ ทรัพย์สินทางปัญญาและพลังงาน
- ด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน
- คุณสมบัติ:
- มีสัญชาติไทยโดยการเกิด
- มีอายุไม่ต่ำกว่า 35 ปีบริบูรณ์
- สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี หรือเทียบเท่า ( 4-8 ตามคุณสมบัติของ ส.ว. ข้อ 5 – 9 ของ ส.ส. ฯ)
การควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน
- การตั้งกระทู้
- ส.ส. หรือ ส.ว.ทุกคนมีสิทธิตั้งกระทู้ถามรัฐมนตรีในเรื่องที่เกี่ยวกับการงานในหน้าที่
- การเสนอญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจ
- ส.ส. จำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 5 มีสิทธิเข้าชื่อเสนอญัตติ อภิปรายทั่วไป เพื่อลงมติไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี และต้องเสนอชื่อ ผู้สมควรดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนต่อไปด้วย
- ส.ส.จำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 6 มีสิทธิเข้าชื่อเสนอญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไป เพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายบุคคล
- ส.ว.จำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 มีสิทธิเข้าชื่อขอเปิดอภิปรายทั่วไป เพื่อให้คณะรัฐมนตรีแถลงข้อเท็จจริง หรือชี้แจงปัญหาเกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดินโดยไม่มีการลงมติ
- การถอดถอนออกจากตำแหน่ง
- ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนไม่น้อยกว่า 20,000 คน มีสิทธิเข้าชื่อร้องขอให้ถอดถอน ผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีฯลฯ ผู้ใดที่ร่ำรวยผิดปกติ ใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง ออกจากตำแหน่งต่อประธานรัฐสภา
ศาลรัฐธรรมนูญ
- องค์กร
- ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
- ที่มา
- พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคำแนะนำของวุฒิสภาจากบุคคลดังต่อไปนี้
- ผู้พิพากษาศาลฎีกา จำนวน 3 คน
- ตุลาการศาลปกครองสูงสุดจำนวน 2 คน
- ผู้ทรงคุณวุฒิสาขานิติศาสตร์ จำนวน 2 คน
- ผู้ทรงคุณวุฒิสาขารัฐศาสตร์ จำนวน 2 คน
- ประธานวุฒิสภาเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งประธานศาลฎีการัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
- พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคำแนะนำของวุฒิสภาจากบุคคลดังต่อไปนี้
- จำนวน
- ประธานศาลรัฐธรรมนูญ จำนวน 1 คน และตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ 8 คน
- วาระ
- 9 ปี และให้ดำรงตำแหน่งได้เพียงวาระเดียว
- คุณสมบัติตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
- มีสัญชาติไทยโดยการเกิด
- มีอายุไม่ต่ำกว่า 45 ปี
- ไม่เป็น ส.ส. , ส.ว. , ข้าราชการเมือง , สมาชิกสภาท้องถิ่น , ผู้บริหารท้องถิ่น
- ไม่เป็น หรือเคยเป็นสมาชิก หรือผู้ดำรงตำแหน่งอื่น ของพรรคการเมืองในระยะ 3 ปีก่อนดำรงตำหน่ง
- หน้าที่
- พิจารณาและวินิจฉัยว่ากฎหมายใดขัดแย้งรัฐธรรมนูญ
- พิจารณาและวินิจฉัยความขัดแย้งเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ระหว่างรัฐสภา คณะรัฐมนตรีหรือองค์กร ตามรัฐธรรมนูญที่มิใช่ศาล
ศาลยุติธรรม
- องค์กร
- คณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
- ที่มา
- พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งและการให้พ้นตำแหน่งของผู้พิพากษาศาลยุติธรรม โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
- คณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมประกอบด้วย
- ประธานศาลฎีกาเป็นประธาน
- กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในแต่ละชั้นศาล ได้แก่ ศาลฎีกา 6 คน ศาลอุทธรณ์ 4 คน ศาลชั้นต้น 2 คน
- กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ 8 คนและได้รับเลือกจากรัฐสภา
- ระดับของศาล – มี 3 ระดับ คือ
- ศาลชั้นต้น
- ศาลอุทธรณ์
- ศาลฎีกา
- หน้าที่
- พิจารณาคดีต่าง ๆ ตามระดับชั้นของศาล
- ศาลฎีกามีอำนาจพิจารณาและวินิจฉัยคดีเกี่ยวกับการเลือกตั้งและการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง ส.ส.และ ส.ว.
- ศาลอุทธรณ์ มีอำนาจพิจารณา และวินิจฉัยคดีเกี่ยวกับการเลือกตั้งและการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่น และผู้บริหารท้องถิ่น
- ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง มีหน้าที่พิจารณา
ศาลปกครอง
- องค์กร
- คณะกรรมการตุลาการศาลปกครอง
- ที่มา
- คณะกรรมการตุลาการศาลปกครองและรัฐสภาเห็นชอบแล้วให้นายกรัฐมนตรีนำความกราบบังคมทูลพระมหากษัตริย์เพื่อทรงแต่งตั้ง
- จำนวน
- ประธานศาลปกครองสูงสุด จำนวน 1 คน และตุลาการศาลปกครอง 12 คน
- หน้าที่
- พิจารณาพิพากษาคดีพิพาทระหว่างหน่วยราชการ หน่วยงานราชการของรัฐ รัฐวิสาหกิจ องค์กรปกครองท้องถิ่นหรือองค์กรตามรัฐธรรมนูญหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกับเอกชน
- ระดับของศาล
- มี 2 ระดับ
- ศาลปกครองชั้นต้น
- ศาลปกครองสูงสุด
ศาลทหาร
- หน้าที่ – พิจารณาพิพากษาคดีอาญาทหาร
องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ
มี 4 องค์กร คือ
- คณะกรรมการการเลือกตั้ง (ก.ก.ต.)
- ผู้ตรวจการแผ่นดิน (ค.ต.ง.)
- คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.)
- คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.)
คณะกรรมการการเลือกตั้ง
- ที่มา
- พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคำแนะนำของวุฒิสภา
- ประธานวุฒิสภาเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้ง
- ประธานกรรมการและกรรมการการเลือกตั้ง
- คณะกรรมการสรรหากรรมการการเลือกตั้ง มีจำนวน 7 คน ได้แก่
- ประธานศาลฎีกา
- ประธานศาลรัฐธรรมนูญ
- ประธานศาลปกครองสูงสุด
- ประธานสภาผู้แทนราษฎร
- ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร
- บุคคลซึ่งที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาคัดเลือก 1 คน และ
- บุคคลที่ประชุมใหญ่ตุลาการศาลปกครองสูงสุดคัดเลือก 1 คน
- มีหน้าที่คัดเลือกกรรมการการเลือกตั้งจำนวน 3 คน เสนอต่อประธานวุฒิสภา
- ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีการพิจารณาสรรหากรรมการการเลือกตั้ง จำนวน 2 คน เสนอต่อประธานวุฒิสภา
- วุฒิสภาให้ความเห็นชอบและประธานวุฒิสภานำความกราบบังคมทูลพระมหากษัตริย์เพื่อทรงแต่งตั้ง
- พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคำแนะนำของวุฒิสภา
- จำนวน
- ประธานคณะกรรมการเลือกตั้ง จำนวน 1 คน และ
- กรรมการการเลือกตั้ง จำนวน 4 คน
- หน้าที่
- จัดการเลือกตั้งและเพิกถอนการเลือกตั้ง ส.ส. , ส.ว. , องค์กรปกครองท้องถิ่น รวมทั้งการลงประชามติ
- ควบคุมการดำเนินการเกี่ยวกับพรรคการเมือง
ผู้ตรวจการแผ่นดิน
- ที่มา
- พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคำแนะนำของวุฒิสภา
- ประธานวุฒิสภาเป็นผู้ลงนามสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้ง
- คณะกรรมการสรรหาผู้ตรวจการแผ่นดิน มีจำนวน 7 คน (เหมือนกับคณะกรรมการสรรหาคณะกรรมการเลือกตั้ง) ทำหน้าที่สรรหาผู้ตรวจการแผ่นดิน จำนวน 3 คนเสนอต่อประธานวุฒิสภา
- วุฒิสภาให้ความเห็นชอบ และประธานวุฒิสภานำความกราบบังคมทูลพระมหากษัตริย์เพื่อทรงแต่งตั้ง
- พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคำแนะนำของวุฒิสภา
- จำนวน
- ประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน จำนวน 1 คน และกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน จำนวน 2 คน
- วาระ
- 6 ปี และให้ดำรงตำแหน่งเพียงวาระเดียว
- หน้าที่
- พิจารณาและสอบสวนหาข้อเท็จจริงตามข้อร้องเรียน การไม่ปฏิบัติตามกฎหมายหรือละเว้นการปฏิบัติตามกฎหมายของข้าราชการ พนักงาน หน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจหรือราชการส่วนท้องถิ่น
- ดำเนินการเกี่ยวกับจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐ
- ติดตามประเมินผลและจัดทำข้อเสนอแนะในการปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ
คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามทุจริตแห่งชาติ
- ที่มา
- พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคำแนะนำของรัฐสภา
- ประธานวุฒิสภาเป็นผู้ลงนามสนองพระบรมราชโองการฯ
- คณะกรรมการสรรหาคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามทุจริตแห่งชาติ มีจำนวน 5 คน ประกอบด้วย
- ประธานฎีกา
- ประธานศาลรัฐธรรมนูญ
- ประธานศาลปกครองสูงสุด
- ประธานสภาผู้แทนราษฎร และ
- ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร ทำหน้าที่สรรหา
- คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามทุจริตแห่งชาติ จำนวน 9 คน เสนอต่อประธานวุฒิสภา
- วุฒิสภาให้ความเห็นชอบและประธานวุฒิสภานำความกราบบังคมทูลพระมหากษัตริย์เพื่อทรงแต่งตั้ง
- พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคำแนะนำของรัฐสภา
- จำนวน
- ประธานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามทุจริตแห่งชาติ จำนวน 1 คนและ
- คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามทุจริตแห่งชาติ จำนวน 8 คน
- วาระ
- 9 ปี และดำรงตำแหน่งได้เพียง 1 วาระ
- หน้าที่
- ไต่สวนและวินิจฉัยเจ้าหน้าที่ของรัฐตั้งแต่ผู้บริหารระดับสูง หรือข้าราชการตั้งแต่ผู้อำนวยการกองหรือเทียบเท่าขึ้นไป ร่ำรวยผิดปกติ กระทำความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่
- ไต่สวนข้อเท็จจริงและสรุปสำนวนการดำเนินคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เพื่อส่งไปยังศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
- ตรวจสอบความถูกต้องและความมีอยู่จริง รวมทั้งความเปลี่ยนแปลงของทรัพย์สินและหนี้สินของนายกรัฐมนตรี , รัฐมนตรี, ส.ส. , ส.ว. , ข้าราชการการเมือง, ผู้บริหารท้องถิ่นและสมาชิกสภาท้องถิ่น
- กำกับดูแลคุณธรรมและจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน
- ที่มา:
- พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามความเห็นชอบของวุฒิสภา
- ประธานวุฒิสภาเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการฯ
- จำนวน:
- ประธานกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน 1 คน และ
- กรรมการตรวจเงินแผ่นดินอีก 6 คน
- วาระ:
- 6 ปี และให้ดำรงตำแหน่งได้เพียงวาระเดียว
- หน้าที่:
- กำหนดหลักเกณฑ์มาตรฐานเกี่ยวกับการตรวจเงินแผ่นดิน
- ให้คำแนะนำและเสนอแนะแก้ไขข้อบกพร่องเกี่ยวกับการตรวจเงินแผ่นดิน
- แต่งตั้งคณะกรรมการวินัยทางการเงินและการคลัง เพื่อวินิจฉัยคดีทางวินัยทางการเงินและการคลัง
- คุณสมบัติ:
- มีความชำนาญและประสบการณ์ด้านการตรวจเงินแผ่นดิน การบัญชี การคลังและอื่น ๆ
- มีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์
องค์กรอื่นตามรัฐธรรมนูญ
- องค์กรอัยการ – มีอิสระในการพิจารณาสั่งคดี และการปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปโดยเที่ยงธรรม
- คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ – ตรวจสอบและรายงานการกระทำ หรือละเลยการกระทำอันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน
- สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ – ให้คำปรึกษาและข้อเสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรีในปัญหาต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจและสังคม รวมถึงกฎหมายที่เกี่ยวข้องการตรวจสอบทรัพย์สินผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
ต่อไปนี้ มีหน้าที่ยื่นบัญชีแสดงทรัพย์สินและหนี้สินของตน คู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามทุจริตแห่งชาติ ทุกครั้งที่รับตำแหน่ง หรือ พ้นตำแหน่ง
- นายกรัฐมนตรี
- รัฐมนตรี
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
- สมาชิกวุฒิสภา
- ข้าราชการการเมืองอื่น
- ผู้บริหารและสมาชิกสภาท้องถิ่น