มักจะถูกถามถึงเสมอเกี่ยวกับ.. การสอบภาค ค. หรือสอบสัมภาาษณ์ ที่ปกติในการรับสมัครสอบจะมีการระบุหลักสูตรการสอบไว้แล้วก็ตาม แต่ก็ดูเหมือนจะกว้าง จนบางท่านก็จินตนาการไม่ออกว่าในสภาพความเป็นจริงจะต้องเผชิญกับสิ่งใด
ลองอ่านหลักสูตรการสอบตามประกาศรับสมัครสอบระบุไว้นะครับ
ประเมินบุคคลเพื่อพิจารณาความเหมาะสมกับตำแนห่งหน้าที่จกาประวัติส่วนตัว ประวัติการศึกษา ประวัติการทำงาน จากการสังเกตพฤติกรรมที่ปรากฎของผู้เข้าสอบ และจากการสัมภาษณ์ทั้งนี้ อาจใช้วิธีการอื่นใดเพิ่มเติมเพื่อพิจารณาความเหมาะสมในด้านต่างๆ เช่น ความรู้ที่อาจใช้เป็นประโยชน์ในการปฏิบัติงานในหน้าที่ ความสามารถ ประสบการณ์ ท่วงทีวาจา อุปนิสัย อารมณ์ ทัศนคติ จรรยาบรรณของข้าราชการพลเรือน คุณธรรม จริยธรรม การปรับตัวเข้ากับผู้ร่วมงาน รวมทั้งสังคม และสิ่งแวดล้อม ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ปฏิภาณไหวพริบ และบุคลิกภาพอย่างอื่น เป็นต้น และรวมถึงสมรรถนะหลัก สมรรถนะที่จำเป็นของตำแหน่ง
แต่ถามใครจะบอกได้ดีเท่าได้ลองด้วยตนเอง สนามซ้อมอาจช่วยได้ครับ ลองไปสมัครหน่วยงานที่อาจจะไม่ใช่เป้าหมายหลัก (แต่อาจจะมีความสนใจอยู่บ้าง) ท่านที่มุ่งมั่นจะก้าวสู่อาชีพข้าราชการทุกท่านน่าจะมีหน่วยงานหรือตำแหน่งที่ใฝ่ฝันอยู่แล้ว แต่ถ้าหน่วยงานนั้นๆ ยังไ่ม่เปิดรับสมัครทำไมไม่ลองสมัครสอบหน่วยงานที่อาจจะมีลักษณะใกล้เคียงกัน แม้การสอบครั้งนั้นๆ อาจจะไม่ได้บรรจุเป็นข้าราชการ อาจจะเป็น พนักงานราชการ หรือ ลูกจ้างชั่วคราว ก็ลองสมัครและสอบดูครับ จะได้มีประสบการณ์ และเห็นแนวทางการสอบภาค ค. หรือสอบสัมภาษณ์ เมื่อถึงเวลาที่หน่วยงานเป้าหมาย หรือตำแหน่งเป้าหมายเปิดรับสมัครสอบก็จะได้ไม่ต้องกลับมาเสียดายหลังการสอบว่าทำได้ไม่ดีพอ
เป็นความเห็นส่วนตัวนะครับ อาจจะไม่ใช่วิธีที่ดีที่สุด ^^