Categories
ข้อมูลเตรียมสอบงานราชการ

พ.ร.บ.ป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ บัดนี้ –  มาตรา 21 การฆ่าสัตว์ไม่ผิดกฎหมาย

พ.ร.บ.ป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์

“พ.ร.บ.ป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์”

ลิงค์: https://iqepi.com/27038/ หรือ
เรื่อง: มาตรา 21 การฆ่าสัตว์ไม่ผิดกฎหมาย
**ไม่ต้องผ่านภาค ก. ก.พ.**


ดาวน์โหลด พ.ร.บ.ป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ คลิกที่นี่

ติดตามข่าวตั้งแต่ พ.ร.บ.ตัวนี้ ประกาศและบังคับใช้ ปรากฎว่าสิ่งที่ได้รับรู้ก็ค่อนข้างทึ่ง เช่น

ที่น่ากลัวไปกว่านั้น เมื่ออ่านเนื้อหาตามข่าว รวมทั้งความเห็นต่างๆ เกี่ยวกับข่าวพวกนี้ ในโซเชียลมีเดียว พบว่า ส่วนใหญ่จะมีความเห็นไปในทางเดียวกัน ว่าเรื่องแปลกๆ เหล่านี้ ต้นเหตุมาจาก “กลัวถูกจับ-ปรับจาก พ.ร.บ. ป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์” 

หลังจากเห็นข่าวก็ลงมือค้นและอ่านตัว พ.ร.บ.ป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ จากเว็บไซต์สำนักงานคณะกรรมการสํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ด้วยความสงสัยและไม่เชื่อว่าจะมีการร่าง พ.ร.บ. ที่เปิดโอกาสให้สัตว์เลี้ยงแสนรักของตัวเองหรือของใครกลายเป็นภัยคุกคาม มนุษย์ เพราะธรรมชาติสร้างให้สัตว์มีอาวุธป้องกันตัวติดกาย ไม่ว่าจะเป็นเขี้ยว เล็บ และที่สำคัญหากปล่อยปละละเลยโดยไม่เข้าควบคุมหรือดูแลยังเป็นพาหะนำโรค ติดต่อที่น่ากลัวอีกด้วย ไม่นับรวมกับสัญชาตญาณของสัตว์เวลาที่จะทำอันตรายแก่ใครไม่ว่าจะเป็นคนหรือ สัตว์ โดยจะตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ตามที จะสามารถทำอันตรายถึง “ตาย” ได้เลย และคิดว่าสมควรเผยแพร่ เพื่อให้เกิดความเข้าใจยิ่งขึ้น ตาม พ.ร.บ.ป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ กรณี “ห้ามมิให้ผู้ใดกระทำการอันเป็นการทารุณกรรมสัตว์โดยไม่มีเหตุอันสมควร” คำว่า “สมควร” ตามมาตรา 20 ในที่นี้จะถูกขยายความในมาตรา 21 ว่าระดับไหนเรียกว่าสมควร แบบไหนเรียกว่าไม่ทารุณ ซึ่งก็คือข้อยกเว้นตามมาตรา 20 นั่นละครับ ตามข่าวเหมือนว่าจะอ่านเพียง ม.20 แค่บรรทัดเดียว ถูกสัตว์กัดเลือดท่วมหูขาดตาฉีกก็ไม่กล้าทำอะไรเพื่อเป็นการระงับเหตุ ปล่อยให้สัตว์ร้ายไปทำร้ายคนอื่นๆ ต่อไป ต้องไปดูที่ ม.21 ถ้าเข้าลักษณะ ม.21 “ไม่ห้าม” ครับ

มาตรา 21 การกระทำดังต่อไปนี้ ไม่ถือว่าเป็นการทารุณกรรมสัตว์ตามมาตรา 20

(1) การฆ่าสัตว์เพื่อใช้เป็นอาหาร ทั้งนี้ เฉพาะสัตว์เลี้ยงเพื่อใช้เป็นอาหาร

(2) การฆ่าสัตว์ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมการฆ่าสัตว์และจำหน่ายเนื้อสัตว์

(3) การฆ่าสัตว์เพื่อควบคุมโรคระบาดตามกฎหมายว่าด้วยโรคระบาดสัตว์

(4) การฆ่าสัตว์ในกรณีที่สัตวแพทย์เห็นว่าสัตว์ป่วย พิการ หรือบาดเจ็บและไม่สามารถเยียวยา หรือรักษาให้มีชีวิตอยู่รอดได้โดยปราศจากความทุกข์ทรมาน

(5) การฆ่าสัตว์ตามพิธีกรรมหรือความเชื่อทางศาสนา

(6) การฆ่าสัตว์ในกรณีที่มีความจำเป็นเพื่อป้องกันอันตรายแก่ชีวิตหรือร่างกายของมนุษย์หรือสัตว์อื่น หรือป้องกันความเสียหายที่จะเกิดแก่ทรัพย์สิน

(7) การกระทำใดๆ ต่อร่างกายสัตว์ซึ่งเข้าลักษณะของการประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์ โดยผู้ประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์หรือผู้ซึ่งได้รับการยกเว้นให้กระทำได้โดยไม่ต้องขึ้นทะเบียนและได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์จากสัตวแพยทสภาตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพการสัตวแพทย์

(8) การตัด หู หาง ขน เขา หรืองาโดยมีเหตุอันสมควรและไม่เป็นอันตรายต่อสัตว์หรือการดำรงชีวิตของสัตว์

(9) การจัดให้มีการต่อสู้ของสัตว์ตามประเพณีท้องถิ่น

(10) การกระทำอื่นใดที่มีกฎหมายกำหนดให้สามารถกระทำได้เป็นการเฉพาะ

(11) การกระทำอื่นใดที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ

  Youtube: iqepin LINE it! เพิ่มเพื่อน  

หากพิจารณาตามข่าวแล้วก็น่าจะเข้าลักษณะของ ม.21 วงเล็บ 6 การฆ่าสัตว์กรณีที่มีความจำเป็นเพื้อป้องกันอันตรายแก่ชีวิตหรือร่างกายของมนุษย์หรือสัตว์อื่น หรือป้องกันความเสียหายที่จะเกิดแก่ทรัพย์สิน “ไม่ถือว่าเป็นการทารุณกรรมสัตว์ ตามมาตรา 20 ขนาดจัดให้มีการต่อสู้ของสัตว์ตามประเพณีท้องถิ่น ตาม ม.21 (9) ทั้งที่มองจากสภาพน่าจะเข้าลักษณะทารุณสัตว์ยังทำได้ไม่ผิดตาม ม.20 แล้วทำอันตรายเสียเลือดเสียเนื้อขนาดนั้นจะผิด ม.20 ก็ค่อนข้างจะแปลกๆ

เมืองไทยมีคนขี้เบื้อจำนวนหนึ่ง ที่นิยมซื้อหาลูกสัตว์มาเลี้ยงแล้วเอาไปทิ้งเมื่อเบื่อ ไหนจะมีคนใจบุญอีกจำนวนมากที่นิยมจะหาข้าวหาขนมให้สุนัขจรจัดกิน แต่ไม่เอาไปเลี้ยง ไม่ทราบว่ากลัวต้องรับผิดชอบหรือกลัวภาระ ทำให้มีสัตว์เร่ร่อนสัตว์จรจัดออกลูกออกหลานไร้คนดูแลและรับผิดชอบเต็มไปหมด ก็อย่าให้ถึงกับเด็กไทยต้องมีลักษณะพิกลพิการ ปากแหว่ง หูแหว่ง เพราะถูกสัตว์ทำร้าย แต่ไม่กล้าทำอะไรสัตว์เพราะกลัว กม.ตัวนี้ ด้วยความไม่เข้าใจเลย

สำหรับบทลงโทษ น่าจะสนใจส่วนของออกมาสำหรับลงโทษเจ้าของสัตว์ที่ไม่มีความรับผิดชอบ หรือไม่ใช่เจ้าของสัตว์แต่มีนิสัยของทารุณกรรมสัตว์เป็นนิจมากกว่า ถ้าแบบนั้นก็จัดไปหนักๆ เลย เพราะโทษก็พอสมน้ำสมเนื้อดี ยกเว้นกรณีศาลห้ามครอบครองสัตว์เพราะหากเป็นพวกคนขี้เบื่อเอาสัตว์ไปทิ้งก็สมความปรารถนาเลย จ่ายค่าปรับแค่ 40,000 บาท ส่วนตัวได้แค่ค่าอาหารสุนัขขนาดกลาง 4 ปีกว่าๆ ต่อ 1 ตัวเท่านั้น ไม่รวมวัคซีนนานาชนิด และค่ารักษากรณีเจ็บป่วยด้วยซ้ำ ถ้าเป็นสุนัขขนาดใหญ่ก็ไม่ต้องพูดถึงเลยว่าจะต้องใช้ค่าใช้จ่ายขนาดไหน

บทกำหนดโทษ

มาตรา 20 ห้ามมิให้ผู้ใดกระทำการอันเป็นการทารุณกรรมสัตว์โดยไม่มีเหตุอันสมควร

มาตรา 22 ต้องดำเนินการจัดสวัสดิภาพสัตว์ให้แก่สัตว์ของตนให้เหมาะสมตามหลักเกณฑ์ฯ

มาตรา 23 ห้ามมิให้เจ้าของสัตว์ปล่อย ละทิ้ง หรือกระทำการใดๆ ให้สัตว์พ้นจากการดูแลของตนโดยไม่มีเหตุสมควร แต่ไม่รวมถึงการโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองให้แก่ผู้ซึ่งประสงค์จะนำสัตว์ไปดูแลแทน

มาตรา 24 การขนส่งสัตว์ หรือการนำสัตว์ไปใช้งานหรือใช้ในการแสดง เจ้าของสัตว์หรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องต้องจัดสวัสดิภาพสัตว์ให้เหมาะสม ตามหลักเกณฑ์ฯ

หากฝ่าฝืนมาตรา 20 หรือ ไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ฯ ตามมาตราา 22, 23, 24 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และศาลอาจสั่งห้ามมิให้เจ้าของหรือผู้กระทำความผิดนั้นครอบครองสัตว์ดังกล่าว และมอบให้หน่วยงานของรัฐหรือบุคคลที่เห็นสมควรเป็นผู้ครองครองหรือดูแลสัตว์นั้นต่อไป (ม.31, ม.32)

และเมื่อเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจปฏิบัติหน้าที่ตามอำนาจหน้าที่ตามมาตรา 25 คือ เรียกเจ้าของให้ส่งเอกสาร เข้าตรวจค้น (ไม่ต้องมีหมายค้นหากมีเหตุจำเป็น ตามมาตรา 25 (5)) ยึด อายัดสัตว์ หากเจ้าของสัตว์ไม่อำนวยความสะดวก (ม.28) มีโทษปรับไม่เกิน 20,000 บาท (ม.34)

อันนี้เผื่อออกสอบ

  • พ.ร.บ.ป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ.2557″ นิยมเรียกว่า พ.ร.บ.ตัวนี้ว่า พ.ร.บ.คุ้มครองสัตว์ ถ้าเป็นข้อสอบระวังผิดนะ
  • กรณีโทษปรับสถานเดียวให้อธิบดีกรมปศุสัตว์หรือผู้อธิบดีมอบหมายมีอำนาจเปรียบเทียบได้ และกำหนดชำระเงินค่าปรับภายใน 15 วัน ให้ถือว่าคดีเลิกกันตาม ป.วิ อาญา (ม.35)
  • ประกาศวันที่ 26 ธ.ค.57 บังคับใช้ 27 ธ.ค. 57 (ถัดจากวันประกาศในราชกิจจาฯ)
  • รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์รักษาการ
  • สัตว์ตามความหมายใน พ.ร.บ. สัตว์เลี้ยงเป็นสัตว์บ้าน พาหนะ เพื่อน อาหาร แสดง ทั้งที่มีและไม่มีเจ้าของ และสัตว์ที่อาศัยอยู่ในธรรมชาติด้วย
  • การทารุณกรรม หมายความวา่ การทำ หรือไม่ทำ จนเป็นเหตุให้สัตว์ได้รับความทุกข์ทรมานไม่ว่าทางร่างกายหรือจิตใจ เจ็บปวด เจ็บป่วย พิการ จนถึงตาย รวมทั้งใช้สัตว์ เด็ก แก่ พิการ ตั้งท้อง เจ็บป่วย ประกอบกามกิจ (???) หรือ ทำงานเกินสมควร และไม่สมควร เพื่อแสวงหาผลประโยชน์
  • เจ้าของสัตว์ คือ เจ้าของกรรมสิทธิ์ ครอบครองสัตว์หรือผู้ได้รับมอบหมายให้ดูแล ทั้งรับมอบจากเจ้าของกรรมสิทธิ์โดยตรง หรือได้รับมอบจากผู้ที่รับมอบให้ดูแลอีกที
  • มีคณะกรรมการป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ รวมแล้วไม่เกิน 7 คน เป็นกรรมการ ดำรงตำแหน่งคราวละ 4 ปี ห้ามเกิน 2 วาระติดต่อกัน

อย่างไรก็ตามควรดูรายละเอียดอ่านจาก พ.ร.บ. ฉบับเต็มด้วยนะครับ ผมก็ไม่ชำนาญเรื่อง กม. ^^

Comments

comments

ข่าวงานราชการเปิดสอบ 2567-2569
Privacy Overview

This website uses cookies so that we can provide you with the best user experience possible. Cookie information is stored in your browser and performs functions such as recognising you when you return to our website and helping our team to understand which sections of the website you find most interesting and useful.