“สำนักงานตำรวจแห่งชาติ – ข้อมูลโครงการ CRIMES ที่จะเปิดสอบ ขรก.ตำรวจ 5,000 อัตรา”
ลิงค์: https://iqepi.com/?p=14430 หรือ
ตำแหน่ง: ข้อมูลโครงการ CRIMES ที่จะเปิดสอบ ขรก.ตำรวจ 5,000 อัตรา
ระดับการศึกษา: ปริญญาตรี
อัตราเงินเดือน:
อัตราว่าง: 5,000
ปฏิบัติงานที่:
เปิดรับสมัครตั้งแต่: –
**ไม่ต้องผ่านภาค ก. ก.พ.**
จากสรุปข้อสั่งการในการประชุม ศปก.ตร. ครั้งที่ 1096/57 (251) (228) เมื่อวันศุกร์ที่ 4 ก.ค. 2557 ณ ห้องประชุม ศปก.ตร. โดยมี พล.ต.อ.วัชรพล ประสารราชกิจ รรท.ผบ.ตร. เป็นประธาน ข้อสั่งการข้อที่ 3 ระบุว่า มอบ ปบช.สกพ. พิจารณาหลักเกณฑ์การรับสมัครบุคคลภายนอก วุฒิ ปริญญาตรี เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตำรวจชั้นประทวน ประเภทไม่มียศ จำนวน 5,000 อัตรา ที่ คสช. อนุมัติให้เพิ่มเติม โดยสรรหาจากบุคลในพื้นที่ เพื่อปฏิบัติงานในสายอำนวยการสนับสนุนและเทคโนโลยีของสถานีตำรวจ ในโครงการ CRIMES โดย ผบช.สกพ., ผบก.ทพ. และ ผบก.อต. เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบ
เห็นคำว่า “โครงการ CRIMES” ก็คิดว่าบางท่านอาจจะยังไม่ทราบว่าคืออะไร (เพราะส่วนตัวก็ไม่ทราบเช่นกัน^^) จึงพยายามสืบค้นดู เผื่อว่าหากจะสอบเป็นข้าราชการตำรวจในโครงการ CRIMES แต่ไม่ทราบเลยว่า CRIMES มีที่มาที่ไปอย่างไร มีความสำคัญ วัตถุประสงค์ ของโครงการ CRIMES ตลอดจนประโยชน์ของระบบ CRIMES ก็ออกจะแปลกๆ จริงไหมครับ และมีเปอร์เซ็นต์สูงที่จะเป็นบางส่วนของข้อสอบหากมีการสอบขึ้นมาเมื่อไรก็ตาม
ทำความรู้จักกันก่อน CRIMES คืออะไร??
CRIMES ย่อมาจาก Criminal Record and Information Management Enterprise System เป็นชื่อในระบบใหม่ใน “โครงการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศสถานีตำรวจ” ที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณจำนวน
293 ล้านบาทจากรัฐบาลในปีงบประมาณ 2550-2551 เพื่อลดการทำงานซ้ำซ้อนของพนักงานสอบสวนในสถานีตำรวจและหน่วยงานที่มีอำนาจ สอบสวนภายใต้สำนักงานตำรวจแห่งชาติกว่า 1,400 แห่ง โดยรวมระบบงานบางส่วนจากระบบ C3I, ระบบ CDS และ ระบบ POLIS ประกอบขึ้นเป็นระบบงานใหม่เพื่อให้เจ้าหน้าที่สามารถใช้งานได้อย่างเป็นขั้น ตอนตามการทำงาน ได้ผลลัพธ์อย่างรวดเร็วและถูกต้อง ลดการซ้ำซ้อน โดยระบบ CRIMES จะมีการเชื่อมโยงกับระบบ C3I, CDS และ AFIS ทำให้เจ้าหน้าที่ในสถานีตำรวจทำงานร่วมกับเจ้าหน้าที่ในกองทะเบียนประวัติ อาชญากร ได้รวดเร็วยิ่งขึ้น
สำหรับการนำระบบสารสนเทศมาใช้ในระดับสถานีตำรวจนั้น ตร. ได้จัดทำ “โครงการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศสถานีตำรวจ” หรือที่เรียกว่า ระบบ CRIMES (Criminal Record Information Management Enterprise System) ขึ้น ขณะนี้ ตร. โดย สทส. ได้ทำสัญญาซื้อขายระบบคอมพิวเตอร์ตามโครงการฯ กับ บริษัท สงขลา ฟินิชชิ่ง จำกัด ไปแล้ว เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2554 ซึ่งอยู่ในระหว่างดำเนินการ และกำหนดเสร็จสิ้นภายในระยะเวลา 540 วัน นับแต่วันลงนามในสัญญา ระบบ CRIMES นี้จะเปลี่ยนแปลงการทำงานด้านเอกสารแบบเดิมของสถานีตำรวจ มาทำงานด้วยระบบคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งเป็นการพัฒนางานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศให้กับสถานีตำรวจ ซึ่งเป็นหน่วยปฏิบัติการหลักของ
ล่าสุดกับCRIMES หน่วยเหนือ มีวิทยุสั่งการ เกี่ยวกับ CRIMES เมื่อวันที่ 4 พ.ค. 2555 ให้หน่วยงานใน ตร. สำรวจสถานที่ติดตั้งอุปกรณ์ตามโครงการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศสถานีตำรวจ (CRIMES) โดยจะได้รับการติดตั้งใช้งานที่หน่วยควบคุม (บช./ภ.จว.) และหน่วยงานระดับ สภ.
ความเป็นมา
สำนักงานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อการได้จัดทำโครงการพัฒนาพัฒนา เทคโนโลยีสารสนเทศ สถานีตำรวจเพื่อพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพให้กับสถานีตำรวจทั่วประเทศและ หน่วยงานที่มีอำนาจใน การสืบสวน สอบสวนคดีอาชญาซึ่งในปัจจุบันยังขาดการสนับสนุนเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัย ใน การปฏิบัติหน้าที่โดยจะทำการเชื่อมโยงเครือข่าย ระหว่างหน่วยงานที่มีอำนาจในการสืบสวนสอบสวนของ สำนักงาน เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารกับหน่วยงานกลางที่มีหน้าที่บันทึกและจัด เก็บข้อมูล ที่จำเป็นสำหรับงานสืบสวนสอบสวนเพื่อให้หน่วยงานที่มีอำนาจในการสืบสวนสอบ สวนสามารถบันทึก จัดเก็บและเรียกใช้ข้อมูลจากฐานข้อมูลกลางเดียวกันได้เสร็จสิ้น ณ หน่วยงานนั้นๆ และสามารถ ประสานงานแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงานอย่างรวดเร็ว ลดความซ้ำซ้อนของการนำเข้าและการ จัดเก็บข้อมูล เป็นวิธีลดขั้นตอนและระยะเวลาการปฏิบัติงานและรองรับการที่จะประสานงานแลก เปลี่ยนข้อมูลร่วมกับหน่วยงานต่างๆในกระบวนการยุติธรรมและหน่วยงานอื่นๆ ซึ่ง จะมีขึ้นในอนาคต
การจัดหาระบบคอมพิวเตอร์ในโครงการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศสถานีตำรวจเป็นงานที่ต้องอาศัย ความรู้และประสบการณ์เฉพาะด้านเนื่องจากระบบงานดังกล่าวใช้เทคโนโลยีสมัย ใหม่ที่มีความซับซ้อน ในการออกแบบเพื่อให้สนองรับต่อความต้องการใช้ระบบของสถานีตำรวจการจัดหาระบบ ต้องเสียเวลา การจัดเตรียมและดำเนินการอย่างมากจะต้องทำโดยความรอบคอบและระมัดระวังโดย อาศัยความรู้ทางศาสตร์เกี่ยวกับเครือค่ายระบบคอมพิวเตอร์การบริหารและดำเนินโครงการ
วัตถุประสงค์ของโครงการ
เพื่อปรับปรุงและเพิ่มประสิทธิภาพงานสืบสวน สอบสวน ป้องกันและปราบปรามอาซญากรรม ซึ่งเป็นภารกิจหลักของสถานีตำรวจและหน่วยงานอื่นที่มีอำนาจ
ความต้องการระบบในภาพรวม
สำนักงานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ต้องการระบบงานที่รองรับการป้อนข้อมูลเชิง ปฏิบัติ การด้านอาชญากรรมจากผู้ใช้ในสถานีลูกข่ายที่มีอำนาจในการสอบสวน และค้นหาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับงาน สืบสวน สอบสวน และปัองกันปราบปรามอาชญากรรม จากผู้ใช้ในสถานีลูกข่ายต่างๆ สามารถออกแบบ รายงานเอกสาร รายงานสถิติความต้องการของสำนักงานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มีความ ยืดหยุ่นและรองรับการพัฒนาระบบงานเพิ่มเติมในอนาคต อีกทั้งสามารถนำข้อมูลเชิงปฏิบัติงานมาปรับปรุง ไปสู่ข้อมูลเชิงบริหารได้ ดังนั้น ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศสถานีตำรวจมีความสามารถดังนี้
1. สามารถสามารถจัดเก็บข้อมูล ปรับปรุง ข้อมูลด้านงานอาชญากรรม จากหน่วยงานที่มีอำนาจใน การสอบสวน
2. สามารถค้นหาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับงานอาชญากรรม จากหน่วยงานเจ้าของข้อมูล
3. สามารถนำข้อมูลด้านงานอาชญากรรม มาใช้วิเคราะห์ ประมวลผลเพื่อสนับสนุนงานด้าน ปฏิบัติการ ด้านบริหาร และด้านสถิติ
4. สามารถควบคุม บันทึก และติดตามการใช้ทรัพยากรและข้อมูลของระบบ ตามสิทธิของผู้ใช้
5. สามารถทำงานรวมกับข้อมูลในฐานข้อมูลระบบสำนักงานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่มี อยู่อย่างมีประสิทธิภาพ
6. สามารถรองรับระบบงานอื่นๆที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
7. ระบบคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ในส่วนสถานีลูกข่ายต้องสามารถทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ และต้องเชื่อมโยงไปยังระบบคอมพิวเตอร์ส่วนกลางผ่านเครือค่ายเฉพาะของสำนักงานเทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อทำงานร่วมกับระบบงานทั้งหมดได้
ระบบสารสนเทศข้อมูลอาชญากรรมสำนักงานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสามารถจำแนกผู้ใช้เป็น 5 กลุ่ม ได้แก่
1.พนักงานสอบสวน,ผู้ช่วยพนักงานสอบสวน หรือเจ้าหน้าที่ประจำสถานีที่ติดตั้งเครื่องคอมพิวเตอร์ลูกข่าย ผู้มีหน้าที่บันทึกหรือเพิ่มเติมข้อมูลอาชญากรรมให้ถูกต้อง
2. เจ้าหน้าที่ตำรวจ ผู้มีหน้าที่ด้านสืบสวน ป้องกันและปราบปราม ที่ต้องใช้ข้อมูลในการดำเนินงาน
3. เจ้าหน้าที่ตำรวจ ผู้มีหน้าที่บริหารงานที่ต้องใช้ข้อมูลอาชญากรรมในด้านงานสถิติ
4. เจ้าหน้าที่ตำรวจประจำกองทะเบียนประวัติอาชญากร ผู้มีหน้าที่ตรวจสอบ ยืนยัน ประวัติผู้ต้องหาลายพิมพ์นิ้วมือ ภาพถ่ายและหมายจับ
5. เจ้าหน้าที่เทคนิค ผู้มีหน้าที่ด้านเทคนิคในการดำเนินการ บำรุงรักษาระบบ ให้สามารถทำงานได้ตลอดเวลาผู้เสนอราคาต้องวิเคราะห์ ออกแบบ และพัฒนาระบบสารสนเทศข้อมูลอาชญากรรมสำนักงานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารตามเงื่อนไขในเอกสารประกวดราคานี้โดยละเอียด ซึ่งแต่ละกลุ่มงานของสำนักงานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารประกอบด้วย 5 กลุ่มระบบงาน คือ
2.1 กลุ่มระบบงานบันทึก( Data Entry) ประกอบด้วย
2.1.1 ระบบงานบันทึกข้อมูล คดีอาญาทั่วไป คดีอุบัติเหตุจราจร เหตุทรัพย์หาย เหตุรถหาย เหตุคนหาย พลัดหลง เหตุคนตายไม่ทราบชื่อ แผนประทุษกรรม เหตุที่ต้องรายงาน
2.1.2 ระบบบันทึกและติดตามบุคคลพ้นโทษ
2.1.3 ระบบการขอหมายจับ ประกาศสืบจับ และถอนประกาศสืบจับ
2.1.4 ระบบการออกคำขอต่างๆ เช่นหมายจับ ผัดฝ้องฝากขัง
2.1.5 ระบบบันทึกการปล่อยตัวชั่วคราวและการประกันตัว
2.1.6 ระบบการขออายัดตัว และการรับรองการอายัดตัว
2.1.7 ระบบบันทึกผลการตรวจสอบประวัติ
2.1.8 ระบบรับเอกสารอิเล็กทรอนิกส์(e- Form) เช่น การรับเอกสารอเล็กทรอนิกส์ที่เจ้าหน้าที่บันทึกแบบ Off-line เพื่อนำเข้าสู่ระบบ เป็นต้น
2.2 กลุ่มระบบงานสืบค้นข้อมูล ( Data Search )
2.2.1 ระบบสืบค้นข้อมูลจากฐานข้อมูลแต่ละแหล่งข้อมูล โดยตรง ได้แก่ ข้อมูลในระบบสารสนเทศข้อมูล อาชญากรรมสำนักงานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ข้อมูลทะเบียนราษฏร์ ข้อมูลทะเบียน ยานพาหนะ ข้อมูลใบอนุญาตขับรถยนต์และจักรยานยนต์ ข้อมูลทะเบียนปืน ข้อมูลใบอนุญาต พกพาอาวุธ และ ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
2.2.2 ระบบสืบค้นข้อมูลจากฐานข้อมูลต่างๆในข้อ 2.1 หลายๆแหล่งพร้อมๆกัน โดยสามารถกำหนด หลักเกณฑ์และความสัมพันธ์ในการสืบค้น เช่น การค้นหารถยนต์ยี่ห้อ รุ่น สี ที่ใช้เป็นเครื่องมือในการก่ออาชญากรรมในระหว่างช่วงเวลา เป็นต้น
2.3 กลุ่มระบบงานบริการข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ( e-Data Services)
2.3.1 ระบบรายงานสถิติ ( Statistic Report) ตามรูปแบบต่างๆที่กำหนดไว้ เช่น นาฬิกาอาชญากรรม ตามประเภทคดี รายงานคดีประจำวัน เดือน ปี ตามสถานี จังกวัด ภาค หรือ ประเทศ เป็นต้น โดยระบบนี้สามารถแสดงผลบนจอภาพ หรือ สั่งพิมพ์ในระบบพิมพ์เอกสารในหัวข้อ 2.3.2 หรือ ส่งผ่านข้อมูลไปยังระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลในหัวข้อ 2.3.3
2.3.2 ระบบพิมพ์เอกสาร ( Form Printing) ตามรูปแบบต่างๆที่กำหนดไว้ เช่น คำขอหมายจับ หมายจับ คำขอผัดฟ้องฝากขังแบบรายงานคดีทั่วไป แบบรายงานคดีอุบัติเหตุจราจร รายงานสถิติต่างๆ ตาม หัวข้อ 2.3.1 เป็นต้นโดยระบบนี้จะทำงานในลักษณะ Web Services หรือ แบบ Report Servicesเพื่อให้บริการระบบอื่นๆ
2.3.3 ระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์(Data exchange) สำหรับการแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อนำข้อมูล เข้าสู้ระบบงานอื่นๆ เช่น ข้อมูลบุคคลพ้นโทษ เป็นต้น หรือ นำข้อมูลจากฐานข้อมูลไปใช้ในรูปแบบ XML,ASCII Text, Adobe Acrobat PDF และ Microsoft Word เป็นต้น
2.4 กลุ่มระบบแจ้งเตือน ( Alarm & Alert Services )
2.4.1 ระบบแจ้งเตือนเกี่ยวกับการครบกำหนดเวลาของงานต่างๆ( Alarm Service ) เช่น ครบกำหนดการส่งสำนวนคดี ครบกำหนดการขอผัดฟ้องฝากขัง เป็นต้น
2.4.2 ระบบแจ้งเตือนเกี่ยวกับการตรวจสอบอัตโนมัติ ( Alert Service ) เช่น การพบหมายจับอื่นๆขณะบันทึกข้อมูลของผู้ต้องหาการพบรถยนต์ของกลางเป็นรถยนต์ถูกแจ้งหาย เป็นต้น
2.4.3 ระบบแจ้งเตือนเกี่ยวกับการทำงานร่วมกัน ( Collaborative service ) เช่น การแจ้งข้อมูลเพิ่มเติมจากกองทะเบียนประวัติอาชญากร การแจ้งอายัดตัวจากสถานีอื่น เป็นต้น
2.5 กลุ่มระบบงานบริหารจัดการข้อมูลและระบบ ( Data & System Management)
2.5.1 ระบบตรวจสอบคดีในความรับผิดชอบ และบริหารสิทธิเจ้าของคดี การเข้าถึงข้อมูลคดี
2.5.2 ระบบบริหารสิทธิต่างๆสำหรับระบบทั้งหมดผ่าน LDAP server สำหรับข้อมูล โปรแกรมระบบงานเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่ายและลูกข่าย อุปกรณ์ และผู้ใช้
2.5.3 ระบบ Backup/Restore/Archive ของข้อมูล ระบบงาน Operating และ System Software
2.5.4 ระบบบันทึกและตรวจสอบการทำงานต่างๆของผู้ใช้ระบบงานทั้งหมด ( Audit Trail/Logging)
2.5.5 ระบบบริหารการเชื่อมโยงและเฝ้าดูการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ลุกข่าย ( Client Management and Monitoring )
4.3 ผู้มีสิทธิใช้ระบบ
4.3.1 ผู้ปฎิบัติงานแต่ละตำแหน่งจะถูกกำหนดสิทธิ (Authorization) ในการเข้าถึง Resource และ Serviceของระบบโดยผู้ดูแลระบบสามารถจำกัดสิทธิการเข้าถึงข้อมูลและการเรียกใช้งานโปรแกรม แต่ละชนิดรวมทั้งสามารถกำหนด Owner และ Access ของ File และ Resourceต่างๆในระบบ
4.3.2 ในส่วนของระบบงานที่พัฒนาขึ้นจะต้องยอมให้ผู้ดูแลระบบสามารถระบุสิทธิการปฏิบัติงานของกลุ่มต่างๆได้โดย ในขั้นต้นประกอบด้วยกลุ่มดังนี้
1. เสมียนคดี
2. พนักงานสอบสวนเจ้าของคดี
3. หัวหน้าพนักงานสอบสวน
4. หัวหน้าสถานีตำรวจ
5. หัวหน้าหน่วยงานที่มีอำนาจสอบสวน
6. สารวัตรสืบสวนสอบสวนภูธรจังหวัด
7. รองผู้บังคับการจังหวัด
8. รองผู้บังคับการหน่วยงานที่มีอำนาจสอบสวน
9. ผู้บังคับการ
10. ผู้บังคับการหน่วยงานที่มีอำนาจสอบสวน
11. รองผู้บัญชาการที่เกี่ยวข้อง
12. ผู้บัญชาการ
13. เจ้าหน้าที่ฝ่ายประมวลผลข้อมูล
14. เจ้าหน้าที่กองทะเบียนประวัติอาชญากร
15. ผู้เกี่ยวข้องกับการสืบสวนข้อมูล
4.3.3 ผู้ดูแลระบบในส่วนกลางต้องสามารถกำหนดสิทธิให้กับผู้ใช้ ได้ดังต่อไปนี้เป็นอย่างน้อย
1. ติดตามคดีที่ตนเป็นเจ้าของ
2. ติดตามคดีภายในสถานีหรือหน่วยงานที่สังกัด
3. ติดตามผลคดีภายในจังหวัดหรือกองบังคับการที่สังกัด
4. ติดตามคดีของทุกหน่วยงาน
5. บันทึกข้อมูลคดี
6. ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลคดี
7. ออกหมายเลขคดี
8. โอนย้ายคดีที่เป็นเจ้าของไปให้หน่วยงานอื่น
9. โอนย้ายคดีภายในสถานีหรือหน่วยงานที่สังกัด
10. โอนย้ายคดีภายในจังหวัดหรือกองบังคับการที่สังกัด
11. โอนย้ายคดีไปหน่วยงานอื่นนอกสังกัด
12. ดูรายละเอียดคดีที่เป็นเจ้าของ
13. ดูรายละเอียดคดีภายในสถานีหรือหน่วยงานที่สังกัด
14. ดูรายละเอียดคดีภายในจังหวัดหรือกองบังคับการที่สังกัด
15. ดูสถิติคดีภายในสถานีหรือหน่วยงานที่สังกัด
16. ดูสถิติคดีภายในจังหวัดหรือกองบังคับการที่สังกัด
17. ดูสถิติคดีภายในภาคหรือกองปัญชาการที่สังกัด
18. ดูสถิติคดีภายนอกภาคหรือกองบัญชาการที่สังกัด
19. สืบค้นข้อมูลที่เกี่ยวข้อง(เช่น คนหาย พลัดหลงหมายจับทะเบียนราษฏร์และทะเบียนรถ)
ปัญหาที่พบจากการใช้งาน
1. ระบบ/การประมวลผลข้อมูลช้า ขัดข้อง, ข้อจำกัดทางด้าน Network ระบบ CRIMES มีแนวทางการแก้ไขดังต่อไปนี้
1.1 ใช้เทคโนโลยี AJAX เข้ามาช่วย เพื่อลดการส่งข้อมูลให้ส่งเฉพาะส่วนที่มีการ update เท่านั้น
1.2 มีระบบ Offline Mode เพื่อให้ยังคงสามารถบันทึกข้อมูลได้ขณะที่ Network ขัดข้อง
2. บุคลากรขาดความรู้ ความชำนาย ไม่สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ, ไม่เพียงพอระบบ CRIMES มีแนวทางการแก้ไขดังต่อไปนี้
2.1 มีการจัดฝึกอบรมผู้ปฏิบัติงานก่อนดำเนินการใช้งานจริง
2.2 สามารถเรียนรู้ผ่านระบบ e – learning ได้ตลอดเวลา
2.3 ออกแบบหน้าจอให้ง่ายต่อการใช้งาน และให้สามารถใช้งานได้โดยเป็นไปในแนวทางเดียวกัน
3. ข้อจำกัดด้านการเข้าถึงข้อมูล (เช่น ข้อมูลทะเบียนราษฎร์) ระบบ CRIMES มีแนวทางแก้ไขดังต่อไปนี้
3.1 มีระบบการจัดการสิทธิ์การใช้งานจากศูนย์กลางเพื่อให้ง่ายต่อการบริหารผู้ใช้งานและมีความปลอดภัย ของข้อมูลสูง
3.2 มีการกำหนด User Role อย่างชัดเจน
3.3 สำหรับข้อมูลทะเบียนราษฎร์ ให้ลดการใช้งานลงสำหรับการตรวจสอบข้อมูลเฉพาะหน้าบัตร โดยให้อ่านโดยตรงจาก Smart Card
4. ปัญหาจากรูปแบบการทำงานและการจัดเก็บข้อมูลที่ยังเป็นแบบ Manual, การทำงานซ้ำซ้อนของเจ้าหน้าทีตำรวจระบบ CRIMES มีแนวทางแก้ไขดังต่อไปนี้
4.1 ออกระบบให้ทำงานเป็นกระบวนการ (workflow) และให้บันทึกข้อมูลในระบบ
4.2 ข้อมูลที่ถูกบันทึกแล้ว จะโอนย้ายไปยังขั้นตอนถัดไปโดยที่ไม่ต้องพิมพ์ซ้ำ
4.3 ระบบค้นหาข้อมูล E-Data Service ที่ให้บริการสืบค้นข้อมูลที่บันทึกในระบบ
5. อุปกรณ์ Hardware ที่ไม่เพียงพอ และ/หรือ ไม่ Support การทำงานระบบ CRIMES มีแนวทางแก้ไขดังต่อไปนี้
5.1 เนื่องจากระบบเป็นแบบ Web Application จึงเข้าใช้งานได้จากทุกเครื่อง ที่มี Web Browser
5.2 ควบคุมความปลอดภัยได้จาก MAC Address Authentication
6. ความครบถ้วนสมบูรณ์ของโปรแกรมการใช้งานระบบ CRIMES มีแนวทางการแก้ไขดังต่อไปนี้
6.1 พัฒนาโปรแกรมให้สอดคล้องกับกระบวนการทำงาน (Workflow)
6.2 ลดการกรอกข้อมูลซ้ำซ้อน
6.3 ออกแบบระบบให้รองรับการออกรายงานที่เป็นระเบียบของกรมตำรวจได้
7. เมนูการใช้งานซ้ำซ้อน ซับซ้อน และยากแก่การใช้งานระบบ CRIMES มีแนวทางการแก้ไขดังต่อไปนี้
7.1 ใช้เมนูแบบ IPAD Wizard เข้ามาช่วยเพื่อให้ง่ายต่อการใช้งาน
7.2 มีเมนูการใช้งานไม่เกิน 2 ชั้น
7.3 ใส่ Icon ให้แก่เมนูเพื่อให้สื่อกับการใช้งาน
8. ข้อจำกัดด้านกฎระเบียบต่างๆ ระบบ CRIMES มีแนวทางการแก้ไขดังต่อไปนี้
8.1 แก้ไขกฏระเบียบเพื่อให้รองรับการทำงานมากขึ้น
8.2 รายงานที่สามารถออกจากระบบให้เป็นไปตามระเบียบของสำนักงานตำรวจ
9. รูปแบบเครือข่ายเฉพาะของระบบ POLIS ที่ไม่สามารถใช้งานผ่าน Internet ได้ ระบบ CRIMES มีแนวทางแก้ไขดังต่อไปนี้
9.1 อนาตคจะมีระบบ VPN เข้ามาช่วยให้สามารถเข้าใช้งานผ่านทาง Internet ได้
สิ่งที่ต้องการจากระบบ CRIMES
1. การใช้งานง่าย, ลดขั้นตอนการทำงานที่ซับซ้อนของระบบ CRIMES มีแนวทางการตอบสนองความต้องการดังนี้
1.1 ใช้เมนูแบบ IPAD Wizard เข้ามาช่วยเพื่อให้ง่ายต่อการใช้งาน
1.2 มีเมนูการใช้งานไม่เกิน 2 ชั้น
1.3 ใส่ Icon ให้แก่เมนูเพื่อให้สื่อกับการใช้งาน
2. ความสามารถในการสืบค้นข้อมูลและเชื่อต่อกับระบบอื่น/หน่วยงานภายนอกได้อย่างมีประสิทธิภาพ ระบบ CRIMES มีแนวทางการตอบสนองความต้องการดังนี้
2.1 มีการเชื่อมต่อกับหลายระบบงานซึ่งได้แก่ ฐานข้อมูลทะเบียนราษฏร์,ฐานข้อมูลกรมการขนส่ง,ฐานข้อมูลประวัติอาชญากร,ฐานข้อมูลประกันสังคม และฐานข้อมูลอาวุธปืน เป็นต้น
2.2 สามารถค้นหาข้อมูลที่เชื่อมต่อกับระบบอื่นได้อย่าง Real time
3. ความรวดเร็วในการใช้งาน ความสามารถในการใช้งานร่วมกับอุปกรณ์ไร้สาย และครอบคลุมการทำงานในทุกพื้นที่
3.1 อนาตคจะมีระบบ VPN เข้ามาช่วยให้สามารถเข้าใช้งานระบบร่วมกับอุปกรณ์ไร้สายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4. การออกเอกสาร และสถิติต่างๆ ได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์
4.1 ระบบสามารถออกเอกสารเพื่อช่วยเพิ่มความรวดเร็วการทำงานได้ ดังนี้
4.1.1 บันทึกคำให้การของผู้ร้องทุกข์ กล่าวโทษ หรือพยาน
4.1.2 บัญชีของกลางคดีอาญา
4.1.3 บัญชีทรัพท์ถูกประทุษร้าย / ได้คืน / ไม่ได้คืน
4.1.4 บันทึกคำให้การของผู้ต้องหา
4.1.5 แบบรายการตำหนิรูปพรรณทรัพย์ถูกประทุษร้ายหรือหาย/ได้คืน
4.1.6 แบบรายการตำหนิรูปพรรณรถยนต์หรือรถจักรยานยนต์ถูกโจรกรรม/ได้คืน
4.1.7 แบบรายงานศพไม่ทราบชื่อ
4.1.8 แบบรายงานพฤติการณ์และการเคลื่อนไหวของบุคคลพ้นโทษ
4.1.9 แบบแจ้งต่อการได้ตัวคนหายได้คืน
4.1.10 แบบการสืบสวนติดตามคนหาย
4.1.11 แบบแจ้งรูปพรรณคนหาย
4.1.12 บันทึกการแจ้งสิทธิของผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหา
4.1.13 รายงานประจำวันรับแจ้งเป็นหลักฐาน
4.1.14 แบบรายงานคดีอาญาทั่วไปและเหตุที่ต้องรายงาน
4.1.15 บันทึกเสนอสัญญาประกัน
4.1.16 คำร้องขอประกัน
4.1.17 คำร้องขอผัดฟ้องและฝากขัง ครั้งที่ 1
4.1.18 คำร้องขอผัดฟ้องและฝากขัง ครั้งที่ อื่นๆ
4.1.19 คำร้องขอหมายจับ
4.1.20 หมายจับ
4.1.21 แบบพิมพ์ลายนิ้วมือ ผู้ต้องหา
4.1.22 ประวัติตำหนิรูปพรรณ
4.1.23 แบบรายงานแผนประทุษกรรม ผ.1
4.1.24 แบบรายงานแผนประทุษกรรม ผ.2
4.1.25 แบบบรายงานคดีจราจรทางบก
4.2 ระบบสามารถคำนวณสถิติต่างๆ และแสดงผลในรูปแบบของกราฟข้อมูลได้อย่าง Real time
5. ความสามารถในการใช้ข้อมูลร่วมกันอย่างออนไลน์ และมีการแจ้งเตือนข้อมูลอย่าง Real time ระบบ CRIMES มีแนวทางการตอบสนองความต้องการดังนี้
5.1 ระบบสามารถแจ้งเตือนกำหนดการต่างๆในรูปแบบของปฏิทินงาน เช่น วันครบกำหนดการผัดฟ้อง เป็นต้น
5.2 ระบบจะทำการแจ้งเตือนโดยอัตโนมัติเมื่อบุคคลที่ เกี่ยวข้องกับคดีมีหมายจับโดยจะตรวจสอบข้อมูลกับฐานข้อมูลประวัติ อาชญากรอย่าง Real time
5.3 ระบบมีการออกแบบให้สามารถทำการรับ-ส่งข้อมูลจากส่วนงานที่เกี่ยวข้องโดยอัตโนมัติ
6. การจัดฝึกอบรมให้แก่เจ้าหน้าที่ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องระบบ CRIMES มีแนวทางการตอบสนองความต้องการดังนี้
6.1 มีการดำเนินการจัดการฝึกอบรมให้ผู้ที่เกี่ยวข้อง เข้าใจถึงระบบในภาพรวมและรายละเอียดของงานต่างๆ ให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพการฝึกอบรมแบ่งออกเป็น 6 กลุ่มดังนี้
6.1.1 การฝึกอบรมเจ้าหน้าที่บำรุงรักษาระบบสารสนเทศข้อมูลอาชญากรรมสำนักงานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในระดับสถานี
6.1.2 การฝึกอบรมผู้ใช้งานทั่วไป
6.1.3 การฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ฝึกอบรมการใช้งาน
6.1.4 การฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ดูแลระบบ (ส่วนกลาง)
6.1.5 การฝึกอบรมเจ้าหน้าที่พัฒนาระบบงาน
6.1.6 การนำเสนอต่อผู้บริหารในระดับจังหวัดภูธรภาคและส่วนกลาง
7. การนำเข้าข้อมูลที่ง่าย รวดเร็ว และถูกต้องสมบูรณ์ ระบบ CRIMES มีแนวทางการตอบสนองความต้องการดังนี้
7.1 ระบบสามารถตรวจสอบข้อมูลก่อนที่จะทำการบันทึกลงระบบ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ครบถ้วนสมบูรณ์
7.2 ระบบรองการกรอกข้อมูลแบบ Tab driven ซึ่งช่วยให้ผู้ใช้กรอกข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว
เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง http://crimes.police.go.th/
ท่านสามารถศึกษารายละเอียดของโครงการได้จากลิงค์ เพราะเมื่อมีการสอบไม่ว่าเมื่อไรสองไฟล์นี้อาจจะเป็นบางส่วนของข้อสอบก็ได้
สมัครงาน สำนักงานตำรวจแห่งชาติ งานราชการ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ รับสมัคร สอบ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ 2557 สอบ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ 57 สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เปิดสอบ
วิธีการสมัครงาน สำนักงานตำรวจแห่งชาติ :ไม่ระบุ
ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบ:
สอบวันที่:
ประกาศผลสอบ:
เว็บไซต์สมัครสอบงานราชการ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ คลิกที่นี่