Categories
ข้อมูลเตรียมสอบงานราชการ

ความแตกต่างของ “ปฏิบัติราชการแทน” กับ “รักษาราชการแทน”

“ความแตกต่างของ “ปฏิบัติราชการแทน” กับ “รักษาราชการแทน” 

ลิงค์: https://iqepi.com/?p=13923 หรือ


หากติดตามการเมืองในช่วงปีที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน ท่านจะคุ้นเคยกับคำว่า รักษาการแทน หรือ ปฏิบัติราชการแทน ค่อนข้างจะบ่อย แล้วเคยสงสัยกันหรือไม่ว่าคำว่า 2 คำนั้น แตกต่างกันอย่างไร ในฐานะของท่านที่เตรียมสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งเป็นข้าราชการ หรือบุคลากรในหน่วยงาน องค์กร ใดที่มีส่วนเกี่ยวข้อง หรือเป็นส่วนราชการหนึ่งในสังกัดกระทรวง กรม กอง ควรต้องทราบ เพราะบทความนี้จะเป็นบางส่วนที่อ้างอิงจาก พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 ซึ่งเป็นกฎหมายแม่บทในการปฏิบัติราชการ และ พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 และ พรฎ.ว่าด้วยการมอบอำนาจ พ.ศ.2550  ซึ่งกฎหมายเหล่านี้ล้วนเป็นส่วนหนึ่งในหลักสูตการสอบของหลายส่วนราชการที่เปิดรับสมัครสอบ

การปฏิบัติราชการแทน และการรักษาราชการแทน

ในการปฏิบัติราชการนั้น กฎหมายกำหนดให้มีการมอบอำนาจกันได้ และกำหนดให้ใช้คำสำหรับการมอบอำนาจกรณีต่างๆ แตกต่างกันไป ซึ่งปรากฎว่ามีผู้ใช้คำในกรณีการมอบอำนาจ เช่น ปฏิบัติราชการแทน รักษาราชการแทน รักษาการในตำแหน่ง หรือแม้แต่คำว่า ทำการแทน ทำให้เกิดความสับสน และสงสัยว่าการมอบอำนาจในการปฏิบัติราชการนั้นที่ถูกต้องจะต้องใช้คำใดและในกรณีใด

เมื่อพิจารณาตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 ซึ่งเป็นกฎหมายแม่บทในการปฏิบัติราชการ คำว่า “ปฏิบัติราชการแทน” บัญญัติอยู่ในหมวด 5 มาตรา 38-40 หมายถึงการมอบอำนาจในการสั่งการอนุญาต การอนุมมัติ การปฏิบัติราชการหรือการดำเนินการอื่นที่ผู้ดำรงตำแหน่งใดจะพึงปกิบัติหรือดำเนินการตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่งใด หรือมติของคณะรัฐมนตรีในเรื่องใด ให้ผู้ดำรงตำแหน่งอื่นในสว่นราชการเดียวกันหรือส่วนราชการอื่น หรือผู้ว่าราชการจังหวัดปฏิบัติราชการแทนได้ ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา ว่าด้วยการมอบอำนาจ พ.ศ.2550 เพื่อประโยชน์ในการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชน ความรวดเร็วในการปฏิบัติราชการ การกระจายความรับผิดชอบตามสภาพของตำแหน่งของผู้รับมอบอำนาจ และการมอบอำนาจนี้จะต้องทำเป็นหนังสือ โดยผู้ปฏิบัติราชการแทนจะมีอำนาจหน้าที่ เช่นเดียวกับผู้ซึ่งมอบอำนาจหรือมอบหมาย และการมอบอำนาจจะคงมีอยู่ตลอดไปจนกว่าจะมีการยกเลิกการมอบอำนาจนั้น ดังนั้น การปฏิบัติราชการแทนจึงเป็นการมอบอำนาจในกรณีที่ผู้ดำรงตำแหน่งนั้นสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ แต่มอบอำนาจให้บุคคลอื่นปฏิบัติหน้าที่แทนในบางเรื่อง เพื่อให้เกิดความรวดเร็ว สะดวกแก่ประชาชน และกระจายความรับผิดชอบ เช่น อธิบดีมอบอำนาจในการสั่งเพิกถอน หรือแก้ไขตามมาตรา 61 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน ให้รองอธิบดีปฏิบัติราชการแทนผู้ว่าราชการจังหวัดมอบอำนาจในการอนุมัติเกี่ยวกับการพัสดุ หรือการลาให้เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดปฏิบัติราชการแทน เป็นต้น

  Youtube: iqepin LINE it! เพิ่มเพื่อน  

สำหรับคำว่า “รักษาราชการแทน” บัญญัติอยู่ในหมวด 6 มาตรา 41-50 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 หมายถึง กรณีไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งใดหรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ กฎหมายกำหนดให้ผู้ดำรงตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่งเข้าไปรักษาราชการแทนในตำแหน่งนั้น โดยผู้รักษาราชการแทนมีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับผู้ซึ่งที่ตนแทน การรักษาราชการแทนดังกล่าวเกิดขึ้นโดยผลของกฎหมายไม่ต้องมีการแต่งตั้ง และเมื่อมีผู้ดำรงตำแหน่งแล้วหรือมาปฏิบัติหน้าที่ได้แล้วการรักษาราชการแทนก็จสิ้นสุดลง ซึ่งตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 กำหนดให้มีการรักษาราชการแทนสำหรับบางตำแหน่ง เช่น นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวง/ทบวง เลขานุการรัฐมนตรี ปลัดกระทรวง/ทบวง รองปลัดกระทรวง/ทบวง อธิบดี รองอธิบดี เลขาธิการ รองเลขาธิการ ผู้อำนวยการ รองผู้อำนวยการ หรือตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่นซึ่งเทียบเท่าปลัดกระทรวงหรืออธิบดีในส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเป็นกรม รวมทั้งผู้ดำรงตำแหน่งเลขานุการกรม และผู้อำนวยการกอง หัวหน้ากอง หรือหัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเทียบเท่ากอง

ส่วนคำว่า “รักษาการในตำแหน่ง” ปรากฎอยู่ในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2551 ซึ่งกำหนดกรณีที่มิได้บัญญัติไว้ในกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน กรณีตำแหน่งข้าราชการพลเรือนที่เห็นสมควรรักษาการในตำแนห่งได้ ดังนั้น ในกรณีที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งใดๆ ซึ่งมิได้กำหนดไว้ในพระราชบัญยัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 จะใช้คำว่า “รักษาการในตำแหน่ง” โดยผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา 57 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2551 จะต้องมีคำสั่งแต่งตั้ง เช่น ตำแหน่งผู้อำนวยการส่วน หรือหัวหน้าฝ่ายในสำนัก/กองใดในกรมที่ดิน อธิบดีซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา 57 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2551 มีอำนาจแต่งตั้งผู้รักษาการในตำแหน่งได้

จึงสรุปได้ว่า ในการปฏิบัติหน้าที่ราชการนั้น แม้ผู้บังคับบัญชาอยู่ปฏิบัติหน้าที่หรือสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ก็สามารถมอบอำนาจให้ผู้ใต้บังคับบัญชาปฏิบัติหน้าที่แทนเพื่อความรวดเร็ว สะดวกแก่ประชาชน โดยการมอบอำนาจเป็นหนังสือ ซึ่งกรณีนี้ใช้คำว่า “ปฏิบัติราชการแทน” สำหรับกรณีที่ไม่มีผู้ดำรงตำแนห่งหรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ราชการได้ จะใช้คำว่า “รักษาราชการแทน” หรือ “รักษาการในตำแหน่ง” แล้วแต่กรณี “การรักษาราชการแทน” จะเกิดขึ้นโดยผลของกฎหมายไม่ต้องมีการแต่งตั้งเป็นไปโดยอัตโนมัติ ส่วน “การรักษาการในตำแหน่ง” ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุจะต้องมีคำสั่งแต่งตั้ง โดยผู้รักษาราชการแทน หรือรักษาการในตำแหน่ง จะมีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับผู้ซึ่งที่ตนแทน และเมื่อมีผู้ดำรงตำแหน่งแล้วหรือมาปฏิบัติหน้าที่ได้แล้วการรักษาราชการแทนหรือรักษาการในตำแหน่ง ก็จะสิ้นสุดลง ส่วนคำว่า “ทำการแทน” ไม่ปรากฎว่ามีบัญญัติไว้ในกฎหมายดังกล่าวแต่อย่างใด

อย่างไรก็ดี แม้กฎหมายจะกำหนดให้มีการมอบอำนาจในการปฏิบัติหน้าที่ราชการได้ แต่บางเรื่องผู้มอบอำนาจอาจไม่มอบอำนาจก็ได้ ตามมาตรา 6 แห่งพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการมอบอำนาจ พ.ศ.2550 โดยการกำหนดไม่ให้มีการมอบอำนาจในบางเรื่องได้ ดังเช่น กรณีที่กรมที่ดินมีคำสั่งกำหนดหน้าที่และทุนทรัพย์ในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมของเจ้าพนักงานที่ดิน ตามคำสั่งกรมที่ดิน ที่ 955/2552 ลงวันที่ 22 พฤษภาคม 2552 โดยกำหนดอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดนั้น

สมัครงาน ปฏิบัติราชการแทนรักษาราชการแทน งานราชการ ปฏิบัติราชการแทนรักษาราชการแทน รับสมัคร สอบ ปฏิบัติราชการแทนรักษาราชการแทน 2557 สอบ ปฏิบัติราชการแทนรักษาราชการแทน 57 ปฏิบัติราชการแทนรักษาราชการแทน เปิดสอบ


ดาวน์โหลดรายละเอียด/ประกาศรับสมัครสอบ คลิกที่นี่!!

Comments

comments