ประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 22 (22nd ASEAN Summit)
วันที่ 23 เม.ย. 2556
ทำเนียบรัฐบาล
นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กำหนดการเดินทางเยือนประเทศบรูไนดารุสซาลาม เพื่อเข้าร่วมการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 22 (22nd ASEAN Summit) ระหว่างวันที่ 24-25 เมษายน 2556 ณ กรุงบันดาร์เสรีเบกาวัน
การประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 22 ประเทศบรูไนดารุสซาลามเป็นประธานอาเซียนและเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม โดยหัวข้อหลักในการประชุมคือ Our People, Our Future Together เพื่อ สะท้อนถึงความสำคัญของบทบาทประชาชนในการขับเคลื่อนอาเซียนและกำหนดอนาคตของ ภูมิภาค ซึ่งในการประชุมฯ ผู้นำอาเซียนจะได้ติดตามความคืบหน้าในการสร้างประชาคมอาเซียน และการการเร่งรัดให้เกิดการดำเนินการให้เป็นรูปธรรม ตามสิ่งที่ประเทศสมาชิกได้ตกลงกันไว้แล้วในการประชุมครั้งที่ผ่านๆมา
สำหรับประเทศไทย นายกรัฐมนตรีจะผลักดันสิ่งที่ไทยได้เคยเสนอต่อที่ประชุม ให้มีความคืบหน้าที่เป็นรูปธรรม เช่น แผนปฏิบัติการ Drug-free ASEAN, แผนปฏิบัติการเรื่องการค้ามนุษย์, การบริหารจัดการภัยพิบัติ, การระดมทุนสำหรับการสร้างความเชื่อมโยงระหว่างประเทศสมาชิก (connectivity) รวม ถึงการเร่งส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในประชาคมอาเซียน พร้อมการแสดงจุดยืนและวิสัยทัศน์ในทิศทางอนาคตของอาเซียน โดยเฉพาะการรักษาบรรยากาศที่ดีเพื่อให้เศรษฐกิจก้าวหน้าต่อไป และให้อาเซียนเป็นตัวขับเคลื่อนหลักของกรอบความร่วมมือต่างๆในภูมิภาค
นอก จากนี้ นายกรัฐมนตรีจะร่วมกับผู้นำอาเซียนติดตามสถานะความคืบหน้าของการรวมตัวเป็น ประชาคมอาเซียนของประเทศสมาชิก ที่กำลังจะเกิดขึ้นในปี 2015 นี้ (ASEAN Community Building) อันประกอบไปด้วย 3 เสาหลักสำคัญ ได้แก่ 1.เสาเศรษฐกิจ ด้วยการเร่งรัดมาตรการอำนวยความสะดวกการค้าการลงทุน เช่น ASEAN Single Window การปรับปรุงกฎระเบียบให้สอดคล้องกัน การเจรจา RCEP 2. เสาการเมืองและความมั่นคง – การส่งเสริมสันติภาพและเสถียรภาพ ผลักดันความร่วมมือเรื่องยาเสพติด การค้ามนุษย์ สิทธิมนุษยชน ธรรมาภิบาล และต่อต้านการทุจริต 3. เสาสังคมและวัฒนธรรม – การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคม และความพร้อมในการบริหารจัดการภัยพิบัติ
ในโอกาสนี้ นายกรัฐมนตรียังจะเสนอให้มีการเชื่อมโยง 3 เสาหลัก ผ่านกิจกรรมทางวัฒนธรรม การท่องเที่ยว เพื่อให้ประชาชนได้เกิดปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน รวมทั้งการสนับสนุนและผลักดันด้านการอำนวยความสะดวกและความช่วยเหลือด้านการ แพทย์ การสาธารณสุข และการศึกษา ระหว่างกันของประเทศสมาชิก อันจะเป็นการสอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชน นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรีมีกำหนดการเข้าร่วมการประชุม Indonesia-Malaysia-Thailand Growth Triangle (IMT-GT) ครั้งที่ 7 ซึ่งจะเป็นการหารือร่วมกันระหว่างอินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย โดยนายกรัฐมนตรีจะผลักดันการเร่งรัดแผนการสร้างความเชื่อมโยง (Connectivity) ระหว่างอินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย ด้วยการเพิ่มเส้นทางการสร้างทางหลวงพิเศษ (Motorway) การ เพิ่มท่าเรือ การรวมตัวกันเพื่อเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ และเป็นศูนย์กลางการกระจายสินค้า รวมถึงการสร้างมาตรฐานร่วมกันในการรับรองสินค้าและบริการต่างๆ เช่น อาหารฮาลาล ยางพารา สินค้าเกษตร การท่องเที่ยว และการอำนวยความสะดวกด้านการการค้าหรือการเดินทางระหว่างจุดผ่านแดน (Custom Border)
เรียบเรียง : สิรินภา ปานสังข์
ที่มา : ทำเนียบรัฐบาล
24 เม.ษ 2556(13.30น)นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้เดินทางไปเข้าร่วมการประชุม 22nd ASEAN Summit ระหว่างวันที่ 24 – 25 เมษายน 2556 ณกรุงกรุงบันดาร์เสรีเบกาวัน ประเทศบรูไนดารุสซาลาม ซึ่งการประชุมครั้งนี้ใช้ชื่อว่า Our People, Our Future Together …
20.30น นายกรัฐมนตรี ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เดินทางถึง กรุงกรุงบันดาร์เสรีเบกาวัน ประเทศบรูไนดารุสซาลาม และได้เข้าร่วมงานเลี้ยงรับรองเพื่อเป็นเกียรติแก่ผู้นำอาเซียน 10 ประเทศ และนาย เล เลือง มินส์ เลขาธิการอาเซียน ได้รายงานสรุปผลของการคืบหน้า อาเซียน ก่อนการประชุมสุดยอดอาเซียน จะมีขึ้นในวันพรุ่งนี้( 25 เม.ย. 2556)
Venue of 22nd ASEAN Summit (2013)
Bandar Seri Begawan, Brunei Darussalam
การประชุมในครั้งนี้จะมุ่งเน้นในการให้ความสำคัญของบทบาทประชาชนในการขับ เคลื่อนอาเซียน การกำหนดอนาคตของภูมิภาคอาเซียน ร่วมถึงการติดตามความคืบหน้าของแต่ละประเทศ เพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ในอีก 2 ปีข้างหน้า ในงานเลี้ยงรับรองผู้นำอาเซียนนั้น ผู้นำอาเซียนต่างก็สวมเสื้อผ้าไหมทอพิเศษของประเทศบรูไนดารุสซาลาม ครั้งนี้ด้วย
25เม.ษ 2556
การประชุม 22nd ASEAN Summit… Our People, Our Future Together ได้เริ่มขึ้นอย่างเป็นทางการ ผู้นำอาเซียนได้ร่วมถ่ายภาพเป็นที่ระลึก ก่อนเข้าห้องประชุมในครั้งนี้
09.00-12.15 น. นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร เข้าร่วมการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 22 ที่สำนักนายกรัฐมนตรี เนื้อหาการประชุมสรุปผลการขับเคลื่อนของประชาชนสู่อาเซียนอย่างไร
เนื้อหาการประชุม 22nd ASEAN Summit ในครั้งนี้มุ่งเน้นความสำคัญของสันติภาพ เสถียรภาพ และความมั่นคงทางทะเลภายในภูมิภาค
โดย สุลต่านฮัสซานัล โบลเกียะห์แห่งบรูไนดารุสซาลามเป็นเจ้าภาพการประชุมในครั้งนี้
สาระการประชุมสรุปว่าบรรดาผู้นำอาเซียนจะขยายความสัมพันธ์ทางการค้ากับ ประเทศจีนฮ่องกง และบรรจุวาระการประชุมในการต้องการความร่วมมือจากประเทศจีนเกี่ยวกับแนวทาง ปฏิบัติในทะเลจีนใต้ เพื่อลดความตึงเครียดในน่านน้ำที่มีความสำคัญเชิงยุทธศาสตร์ในประเทศอาเซียน ใต้
สำหรับการวางรากฐานการเชื่อมโยงอาเซียนthe Master Plan on ASEAN Connectivity (MPAC)ได้เปิดการประชุมสุดยอดอินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (Indonesia-Malaysia-Thailand Growth Triangle หรือ( IMT-GT) ครั้งที่ 7โครงสร้างพื้นฐานเชื่อมโยงอินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทยโดยการเพิ่ม การสร้างทางหลวงพิเศษ การเพิ่มท่าเรือ ได้รวมตัวกันเพื่อเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ,ศูนย์กลางการกระจายสินค้า,สร้าง มาตรฐานในการรับรองสินค้าและบริการต่างๆ เช่น อาหารฮาลาล ยางพารา สินค้าเกษตร การท่องเที่ยว,การอำนวยความสะดวกด้านการค้า การอำนวยความสะดวกในระหว่างเดินทางและจุดผ่านแดน ส่วนเรื่องปัญหาความไม่สงบในพื้นที่ภาคใต้นั้น ทั้ง 3 ประเทศจะเน้นความร่วมมือโดยรวม เพื่อให้เกิดความสงบและสันติภาพ
นายสีหศักดิ์ พวงเกตุแก้ว ปลัดกระทรวงการต่างประเทศกล่าวว่า ประเทศสมาชิกอาเซียนมีบทบาทในการแสดงท่าทีเพื่อให้เกาหลีเหนือหันมารับฟัง นอกจากนี้ ยังคาดว่าจะมีการหารือเรื่องแผนการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ในปี 2558
นายมาร์ตี้ นาตาเลกาวา รัฐมนตรีต่างประเทศอินโดนีเซีย เผยด้วยว่าผู้นำอินโดนีเซีย ได้พบหารือกับผู้นำพม่า เกี่ยวกับเหตุจลาจลต่อต้านชาวมุสลิมที่เกิดขึ้นในพม่าและแสดงความมั่นใจว่า รัฐบาลพม่ากำลังพยายามทำสิ่งที่ถูกต้องเพื่อยุติความขัดแย้ง
นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร ให้สัมภาษณ์ว่า ประเทศไทยได้ผลักดันสิ่งที่เคยเสนอให้มีความคืบหน้าที่เป็นรูปธรรม เช่น แผนปฏิบัติการ Drug-free ASEAN แผนปฏิบัติการเรื่องการค้ามนุษย์ การบริหารจัดการภัยพิบัติ การระดมทุนสำหรับการสร้างความเชื่อมโยงระหว่างประเทศสมาชิก ซึ่งเป็นไปตาม 3 เสาหลักที่ประกอบด้วย เศรษฐกิจ การเมืองและความมั่นคง และสังคมและวัฒนธรรม ห้มีการเชื่อมโยง 3 เสาหลัก ผ่านกิจกรรมทางวัฒนธรรม การท่องเที่ยว รวมทั้ง การสนับสนุนและผลักดันด้านการอำนวยความสะดวกและความช่วยเหลือด้านการแพทย์ การสาธารณสุข และการศึกษา นอกจากนี้จะถือโอกาสนี้เชิญผู้นำอาเซียน มาร่วมประชุมระดับผู้นำด้านน้ำแห่งภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (Water Summit) ในเดือน พ.ค. ที่ไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมอีกด้วย
จากนั้นจะร่วมงานเลี้ยงอาหารกลางวันเพื่อเป็นเกียรติแก่ผู้นำอาเซียน ณ สำนักนายกรัฐมนตรี
หลังจากนั้นนายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้ร่วมหารือทวิภาคีกับนายเต็ง เส่ง ประธานาธิบดีสาธารณรัฐแห่งสหภาพเหมียนม่าร์ เกี่ยวกับความคืบหน้าของ โครงการพัฒนาเศรษฐกิจในพื้นที่ชายแดนไทย-พม่า และโครงการท่าเรือน้ำลึกทวาย
สรุปผลการหารือในครั้งนี้ …นายกรัฐมนตรี ยิ่งลักษณ์ ชินวัตรได้แสดงความยินดีต่อพัฒนาการปฎิรูปภายในประเทศเมียนมาร์อย่างต่อ เนื่อง และประเทศไทยพร้อมที่จะให้การสนับสนุนในทุกๆ ด้าน โดยในปีนี้ถือเป็นโอกาสอันดียิ่งที่ทั้งสองประเทศจะได้ฉลองครบรอบ 65 ปีความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-ประเทศเมียนมาร์ และยินดีต้อนรับประธานาธิบดีแห่งเมียนมาร์เข้าร่วมการประชุมคณะกรรมาธิการ เศรษฐกิจและสังคมสำหรับเอเชียและแปซิฟิก (ESCAP) สมัยที่ 69 ณ กรุงเทพมหานคร ในวันที่ 29 เมษายน 2556 และการประชุมระดับผู้นำด้านน้ำแห่งภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ณ จังหวัดเชียงใหม่ในเดือนพฤษภาคม 2556 นี้
ความก้าวหน้าของโครงการท่าเรือน้ำลึกแหลมฉบัง-ทวาย คือ..ประเทศไทยได้จัดทำข้อตกลงผู้ถือหุ้นสำหรับการจดทะเบียนจัดตั้ง SPV (SPV Shareholder Agreement) และสัญญาสัมปทานแล้ว และเสนอให้ทางเมียนมาร์ได้พิจารณาต่อไป เพื่อทบทวนรูปแบบการเงินของโครงการร่วมกันในเดือนพฤษภาคม 2556 ณ.กรุงเทพมหานคร พร้อมกันนี้ประเทศไทยได้เชิญประเทศญี่ปุ่นเข้าร่วมเป็นหุ้นส่วนเชิง ยุทธศาสตร์อย่างเป็นทางการ ร่วมกับประเทศไทยและเมียนมาร์ ผู้นำทั้งสองยังได้มีการหารือในประเด็นอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับโครงการ เช่น การประชุมคณะกรรมการ ร่วมระดับสูงระหว่างไทย-เมียนมาร์ (Joint High-Level Committee หรือ JHC) การอำนวยความ ความสะดวกประชาชนย้ายออกจากพื้นที่โครงการการระดมทุน การพัฒนาเขตอุตสาหกรรมตามแนวชายแดน
ข้อสรุปรูปแบบการเงินและการสนับสนุนการใช้เงินบาทเป็นสกุลเงินที่สามารถ แลกเปลี่ยนได้อย่างเป็นทางการ ในเมียนมาร์ เพื่อส่งเสริมการลงทุนระหว่างต่างประเทศ โดยเฉพาะโครงการพัฒนาเขตเศรษฐกิจทวาย นายกรัฐมนตรี ยิ่งลักษณ์ ชินวัตรและนายเต็ง เส่ง ประธานาธิบดีเมียนมาร์ได้หารือกันในประเด็นชาวโรฮิงญา และกลุ่มผู้พลัดถิ่นชาว เมียนมาร์ โดยประเทศไทยขอความร่วมมืออย่างเป็นทางการเมียนมาร์ดำเนินการพิสูจน์ข้อมูล สถานภาพเพื่อแสวงหาทางออก ที่เหมาะสมให้กับบุคคลทั้งสองกลุ่มนี้ นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรีแสดงความยินดีต่อข้อริเริ่มของเมียนมาร์ ในการจะเปิดจุดผ่านแดนใหม่ 3 แห่ง ได้แก่ ด่านเจดีย์สามองค์-พญาตองซู, ด่านบ้านน้ำพุร้อน-ทิกิ, ด่านสิงขร-มอต่อง ซึ่งจะเป็นอีกช่องทางหนึ่งในการกระชับและเพิ่มพูนความสัมพันธ์ในระดับ ประชาชนและการพัฒนาเศรษฐกิจตามแนวชายแดนของทั้งสองประเทศด้วย
14.00 น.นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร เข้าร่วมการประชุมสุดยอด อินโดนีเซีย-มาเลเซียและประเทศไทย (IMT-GT) ครั้งที่ 7
นายกรัฐมนตรี ยังกล่าวถึง การประชุมสุดยอดอินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (Indonesia-Malaysia-Thailand Growth Triangle หรือ( IMT-GT) ครั้งที่ 7 ภายหลังการประชุมสุดยอดอาเซียน ว่า ได้ผลักดันการเร่งรัดแผนการสร้างความเชื่อมโยงระหว่าง อินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย ด้วยการเพิ่มเส้นทาง การสร้างทางหลวงพิเศษ การเพิ่มท่าเรือ การรวมตัวกันเพื่อเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ และเป็นศูนย์กลางการกระจายสินค้า รวมถึง การสร้างมาตรฐานในการรับรองสินค้าและบริการต่างๆ เช่น อาหารฮาลาล ยางพารา สินค้าเกษตร การท่องเที่ยว และการอำนวยความสะดวกด้านการค้า การเดินทางระหว่างจุดผ่านแดน ส่วนเรื่องปัญหาความไม่สงบในพื้นที่ภาคใต้นั้น ทั้ง 3 ประเทศจะเน้นความร่วมมือโดยรวม เพื่อให้เกิดความสงบและสันติภาพ