กระทรวงพลังงาน
ลิงค์: https://ehenx.com/18009/ หรือ
ตำแหน่ง: นิติกรปฏิบัติการ,นักวิชาการเงินและบัญชีปฏิบัติการ,เจ้าพนักงานการเงินและบัญชีปฏิบัติงาน,นายช่างเทคนิคปฏิบัติงาน
ระดับการศึกษา: ปวส.,ปริญญาตรี
อัตราเงินเดือน: 11,500-16,500
อัตราว่าง: 10
ปฏิบัติงานที่: กรุงเทพมหานคร
เปิดรับสมัครตั้งแต่: บัดนี้ – 27 ม.ค. 2566
**เฉพาะผู้สอบผ่านภาค ก. ก.พ.**
—
กระทรวงพลังงาน เปิดรับสมัคร
เรื่อง รับสมัครสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการ สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงพลังงาน
ด้วย สำนักงานปลัดกระทรวงพลังงาน จะคำเนินการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุบุคคล เข้ารับราชการ สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงพลังงาน ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕๓ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ และหนังสือสำนักงาน ก.พ. ที่ นร ๑๐๐๔/ว ๑๗ ลงวันที่ ๑๑ ธันวาคม ๒๕๕๖ เรื่อง การสรรหาโดยการสอบแข่งขันบรรจุบุคคลเข้ารับราชการ จึงประกาศ รับสมัครสอบแข่งขันๆ ดังรายละเอียดต่อไปนี้
นิติกรปฏิบัติการ
อัตราว่าง : 1 อัตรา
อัตราเงินเดือน : 15000-16500 บาท
คุณวุฒิ : ปริญญาตรี
นักวิชาการเงินและบัญชีปฏิบัติการ
อัตราว่าง : 1 อัตรา
อัตราเงินเดือน : 15000-16500 บาท
คุณวุฒิ : ปริญญาตรี
เจ้าพนักงานการเงินและบัญชีปฏิบัติงาน
อัตราว่าง : 2 อัตรา
อัตราเงินเดือน : 11500-12650 บาท
คุณวุฒิ : ปวส.
นายช่างเทคนิคปฏิบัติงาน
อัตราว่าง : 6 อัตรา
อัตราเงินเดือน : 11500-12650 บาท
คุณวุฒิ : ปวส.
นิติกรปฏิบัติการ
– ได้รับปริญญาตรี หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกันในสาขาวิชานิติศาสตร์ และ
– เป็นผู้สอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไป ของสํานักงาน ก.พ. ระดับปริญญาตรี ขึ้นไป
นักวิชาการเงินและบัญชีปฏิบัติการ
– ได้รับปริญญาตรี หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกันในสาขาวิชาการบัญชี และ
– เป็นผู้สอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไป ของสํานักงาน ก.พ. ระดับปริญญาตรี ขึ้นไป
เจ้าพนักงานการเงินและบัญชีปฏิบัติงาน
– ได้รับปประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกันในสาขาวิชาการบัญชี หรือสาขาวิชาการเงินและการธนาคาร และ
– เป็นผู้สอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไป ของสํานักงาน ก.พ. ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ขึ้นไป
นายช่างเทคนิคปฏิบัติงาน
– ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกันในสาขาวิชาก่อสร้าง สาขาวิชาเครื่องกล สาขาวิชาไฟฟ้ากำลัง สาขาวิชาอิเล็คกทรอนิกส์ สาขาวิชาโยธา สาขาวิชาเทคนิคโลหะ หรือสาขาวิชาสำรวจ และ
– เป็นผู้สอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไป ของสํานักงาน ก.พ. ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงขึ้นไป
นิติกรปฏิบัติการ
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ที่ต้องใช้ความรู้ความสามารถทางวิชาการในการทำงานปฏิบัติงาน ด้านนิติการ ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย (ปฏิบัติงานในส่วนกลาง)
หน้าที่ความรับผิดขอบหลัก
๑. ด้านการปฏิบัติการ
(๑) เสนอความเห็นแก่ผู้บังคับบัญชาในการตอบข้อหารือหรือวินิจฉัยป้ญหากฎหมายเกี่ยวกับ ระเบียบของทางราชการที่มีผลกระทบต่อการดำเนินงานของหน่วยงาน เพื่อเป็นข้อมูลสนับสนุนการพิจารณา ของผู้บังคับบัญชา
(๒) ศึกษา วิเคราะห์ และวิจัยเพื่อปรับปรุงกฎหมายและระเบียบเกี่ยวกับหน่วยงานทีรับผิดชอบ เพื่อให้ทันกับสถานการณ์และอำนวยความสะดวกในการทำงาน โดยพิจารณาถึงความเหมาะสมและเป็นธรรม ต่อทุกฝ่าย
(๓) ศึกษาข้อมูล รวบรวม แสวงหาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย เสนอความเห็นในการดำเนินการเรื่องใด ๆ ที่เกี่ยวกับวินัยข้าราชการ การร้องทุกข์ การพิทักษ์ระบบคุณธรรม รวมถึงการดำเนินการใด ๆ ตามกฎหมายปกครอง ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารราชการ และการดำเนินคดีของหน่วยงาน เพื่อใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน และสามารถดำเนินการได้อย่างถูกต้อง
๒. ต้านการวางแผน
วางแผนการทำงานที่รับผิดชอบ ร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงานหรือโครงการ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายและผลสัมฤทธิ้ที่กำหนด
๓. ด้านการประสานงาน
(๑) ประสานงานทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน เพื่อให้เกิดความร่วมมือ และผลสัมฤทธึ๋ตามที่กำหนด
(๒) ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ขัอเท็จจริง แก,บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้าง ความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย
๔. ด้านการบริการ
ให้คำปรึกษาแนะนำด้านกฎหมายแก,บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจ ในข้อกฎหมายที,เป็นปัญหา และให้ความรู้ถึงข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องและเป็นประโยชน์กับการดำเนินงานของบุคคล หรือหน่วยงานดังกล่าว
นักวิชาการเงินและบัญชีปฏิบัติการ
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ที่ต้องใช้ความรู้ความสามารถทางวิชาการในการทำงาน ปฏิบัติงานด้านวิชาการเงินและบัญชี ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย (ปฏิบัติงานในส่วนกลาง)
หน้าที่ความรับผิดชอบหลัก
๑. ด้านการปฏิบัติการ
(๑) จัดทำบัญชี เอกสารรายงานความเคลื่อนไหวทางการเงิน ทั้งเงินในและเงินนอกงบประมาณ เงินทุนหมุนเวียน เพื่อแสดงฐานะทางการเงินและใช้เป็นฐานข้อมูลที่ถูกต้องตามระเบียบวิธีการบัญชีของส่วนราชการ
(๒) รวบรวมข้อมูลและรายงานการเงินของส่วนราชการ เพื่อพร้อมที่จะปรับปรุงข้อมูลให้ถูกต้อง และ ทันสมัย
(๓) จัดทำและจัดสรรงบประมาณแก่หน่วยงานของรัฐเพื่อให้การจัดสรรงบประมาณ ตรงกับความจำเป็น และวัตถุประสงค์ของแต่ละหน่วยงาน
(๔) ศึกษาวิเคราะห์ผลการใช้จ่ายเงินงบประมาณของหน่วยงานภาครัฐ เพื่อให้การใช้จ่ายเงินเป็นไปอย่าง มีประสิทธิภาพ และใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงการจัดทำและจัดสรรงบประมาณ
(๕) ดูแลการรับและจ่ายเงิน สถานะทางการเงิน ตรวจสอบเอกสารสำคัญการรับ-จ่ายเงิน เพื่อให้การ รับ-จ่ายเงินขององค์กรมีประสิทธิภาพ การปฏิบัติการถูกต้องตามระเบียบปฏิบัติของราชการ
(๖) ถ่ายทอดความรู้ด้านการเงินและบัญชีแก่เจ้าหน้าที่ระดับรองลงมา เช่น ให้คำแนะนำในการ ปฏิบัติงาน วางโครงการกำหนดหลักสูตรและฟิกอบรม จัดทำคู่มือประจำสำหรับการฟิกอบรม และวิธีใช้อุปกรณ์ เครื่องมือที่ถูกต้อง เป็นต้น เพื่อถ่ายทอดความรู้ที่เป็นประโยชน์ในการปฏิบัติงานตามมาตรฐาน และข้อกำหนด
๒. ด้านการวางแผน
วางแผนการทำงานที่รับผิดชอบ ร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงานหรือโครงการ เพื่อให้ การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายและผลสัมถุทธี๋ที่กำหนด
๓. ด้านการประสานงาน
(๑) ประสานงานทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน เพื่อให้เกิดความร่วมมือ และผลสัมฤทธึ๋ตามที,กำหนด
(๒) ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แก,บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้าง ความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย
๔. ต้านการบริการ
(๑) ให้คำแนะนำ ตอบปัญหาและชี้แจงเกี่ยวกับงานการเงินและบัญชีที่ตนมีความรับผิดชอบ ในระดับเบื้องต้นแก่หน่วยงานราชการ เอกชน หรือประชาชนทั่วไป เพื่อให้ผู้ที่สนใจได้ทราบข้อมูล และความรู้ต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์
(๒) จัดเก็บข้อมูลเบื้องต้น ทำสถิติปรับปรุง หรือจัดทำฐานข้อมูลหรือระบบสารสนเทศ ที่เกี่ยวกับ งานการเงินและบัญชี เพื่อให้สอดคล้องและสนับสนุนภารกิจชองหน่วยงาน และใช้ประกอบการพิจารณา กำหนดนโยบาย แผนงาน หลักเกณฑ์มาตรการต่าง ๆ
เจ้าพนักงานการเงินและบัญชีปฏิบัติงาน
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้นซึ่งไม,จำเป็นต้องใชัผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญา ปฏิบัติงาน ด้านการเงินและบัญชี ตามแนวทาง แบบอย่าง ขั้นตอน และวิธีการที่ชัดเจน ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย (ปฏิบัติงานในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค)
หน้าที่ความรับผิดขอบหลัก
๑. ด้านการปฏิบัติการ
(ด) จัดทำและปฏิบัติงานด้านเอกสารทางการเงินและบัญชีในระดับต้น เพื่อให้งานเป็นไปตามเป้าหมาย ที่กำหนด
(๒) รวบรวมรายละเอียดการจัดทำงบประมาณ เพื่อใชัประกอบในการทำงบประมาณ ประจำปีของ หน่วยงาน
(๓) ตรวจสอบและดูความถูกต้องของเอกสารสำคัญทางการเงิน เพื่อให้เกิดความถูกต้องในการปฏิบัติงาน
(๔) ประสานงานในระดับฝ่ายหรือกลุ่มกับหน่วยงานราชการ เอกชน หรือประชาชนทั่วไป เพื่อขอ ความช่วยเหลือและร่วมมือในงานและแลกเปลี่ยนความรู้ความเชี่ยวชาญชาญที่เป็นประโยชน์ต,อการทำงาน ของหน่วยงาน
๒. ด้านการบริการ
(ด) ให้คำแนะนำ ตอบปัญหา ชี้แจงเกี่ยวกับงานการเงินและบัญชีแกเจ้าหน้าที่ระดับรองลงมา หน่วยงานราชการ เอกชน และประชาชนทั่วไป เพื่อถ่ายทอดความรู้ความชำนาญแก่ผู้ที่สนใจ
(๒) ประสานงานในระดับกลุ่ม กับหน่วยงานราชการ เอกชน หรือประชาชนทั่วไป เพื่อขอความช่วยเหลือ และความร่วมมือในงานการเงินและบัญชี และแลกเปลี่ยนความรู้ความเชี่ยวชาญที่เป็นประโยชน์ต่อการทำงาน ของหน่วยงาน
นายช่างเทคนิคปฏิบัติงาน
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้นซึ่งไม,จำเป็นต้องใช้ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญา ปฏิบัติงาน ด้านช่างเทคนิค ตามแนวทาง แบบอย่าง ขั้นตอน และวิธีการที่ชัดเจน ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และ ปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย (ปฏิบัติงานในส่วนภูมิภาค)
หน้าที่ความรับผิดชอบหลัก
๑. ด้านการปฏิบัติการ
(๑) รวบรวมข้อมูล พิจารณา กำกับดูแลคุณภาพ การค้า และการสำรองนํ้ามันเชื้อเพลิง และก๊าชปิโตรเลียม เช่น การออกใบอนุญาต โอนหรือแกั[ขเปลี่ยนแปลงเอกสารต่าง ๆ เป็นต้น เพื่อให้มีความปลอดภัยและเป็นไปตามแนวทาง ที่กฎหมายกำหนดไว้
(๒) ร่วมส่งเสริมการดำเนินงานด้านความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมของกิจการนํ้ามันเชื้อเพลิง การประกอบ ธุรกิจพลังงาน หรือกิจการเจาะสำรวจปิโตรเลียม เพื่อให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและถูกต้องตามกฎหมายที่กำหนดไว้
(๓) ตรวจสอบคุณภาพนํ้ามันตามแผนการตรวจประจำปี หรือการสุ่มตรวจด้วยเครื่องมือหรืออุปกรณ์ประจำ รถตรวจสอบเคลื่อนที่ รวมถึงการตรวจสอบปริมาณสำรองนํ้ามัน และการตรวจสอบถังนํ้ามันและก๊าชปิโตรเลียมเหลว ครบวาระ ๕-๑๐ ปี เพื่อให้เกิดความถูกต้อง รวดเร็ว และเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
(๔) ร่วมกำกับตรวจสอบผู้ผลิตพลังงานไฟฟ้า ซึ่งมีขนาดการผลิตรวมของแต่ละแหล่งผลิตตั้งแต่ ๒๐๐ กิโลโวลต์ แอมแปร์ ถึง ๙๙๙ กิโลโวลต์แอมแปร์ ทื่อยู่ในพื้นที่รับผิดชอบ เพื่อให้เกิดความถูกต้อง รวดเร็ว และเป็นไปตามที่กฎหมาย กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
(๕) ร่วมสนับสนุนและให้คำปรึกษาเกี่ยวกับงานด้านเทคนิค เพื่อให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องรับทราบแนวทาง และข้อมูลที่ถูกต้อง รวมทั้งการใช้เครื่องมือด้านพลังงานอย่างเหมาะสม และนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์
(๖) ร่วมดูแล บำรุงรักษา ช่อมแชมและตรวจสอบอาคาร สถานที่ อุปกรณ์เทคนิค ระบบสาธารณูปโภค เครื่องยนต์ หรือรถยนต์ที่ได้รับมอบหมาย เพื่อให้สำนักงานมีอุปกรณ์พร้อมใช้ และมีประสิทธิภาพสูงสุดในระยะยาว ให้อยู่ในสภาพที,พร้อมใช้งาน
(๗) ซ่อม สร้าง ผลิต ประกอบ ดัดแปลง เขียนหรือออกแบบ ติดตั้ง เครื่องจักร เครื่องยนต์ เครื่องมือ อุปกรณ์ต่าง ๆ ในสำนักงานพลังงานจังหวัด เพื่อให้เป็นไปตามหลักวิชาและมาตรฐานงานช่าง และให้เกิดความปลอดภัย
(๘) ดำเนินการเกี่ยวกับการจัดชื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุครุภัณฑ์ของหน่วยงาน เช่น การจัดเก็บ การดูแลรักษา การเบิกจ่าย และการจัดทำทะเบียนพัสดุครุภัณฑ์ วัสดุ และอุปกรณ์สำนักงานต่าง ๆ เป็นต้น เพื่อให้มีพัสดุ ครุภัณฑ์ วัสดุ และอุปกรณ์สำนักงานต่าง ๆ ที่เพียงพอ เหมาะสม มีคุณภาพ และอยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน
(๙) ประสานงานด้านแผนและยุทธศาสตร์ เพื่อขับเคลื่อนแผนปฏิบัติราชการด้านพลังงานระดับจังหวัด ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและบรรลุตามเป้าหมายที่กำหนดไว้
๒. ด้านการบริการ
(๑) ใหัคำปรึกษา แนะนำ จัดทำข้อมูลถ่ายทอดความรู้ทั้งในเซิงทักษะเฉพาะด้านและทักษะทั่วไป ให้แก่บุคลากรภายในหน่วยงานที่รับผิดชอบ หน่วยงานราชการ เอกชน และประชาชน เพื่อให้มีความรู้ความสามารถ และมีทักษะเหมาะสมแก่การปฏิบัติงานในหน้าที่
(๒) ติดต่อประสานกับหน่วยงานหรือเจัาหนัาที่ที่เกี่ยวข้อง เพื่อใหัการดำเนินงานเป็นไปอยาง มีประสิทธิภาพและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องตามที่ได้รับมอบหมาย
นิติกรปฏิบัติการ
จะดำเนินการทดสอบความรู้ความสามารถ และความเข้าใจเกี่ยวกับงานในตำแหน่งนิติกรปฏิบัติการ
โดยวิธีการสอบข้อเขียน ดังต่อไปนี้
ส่วนที่ ๑ ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการปฏิบัติราชการ (๕๐ คะแนน)
– วิสัยทัศน์ พันธกิจ โครงสร้าง อำนาจหน้าที่ ภารกิจ นโยบายและยุทธศาสตร์
ของสำนักงานปลัดกระทรวงพลังงาน และกระทรวงพลังงาน
ส่วนที่ ๒ ความรู้ความเช้าใจเกี่ยวกับลักษณะงานที่ปฏิบัติ (๑๕๐ คะแนน)
๑) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ และที่แก้ไขเพิ่มเดิม
๒) พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔ และที่แก้ไขเพิ่มเดิม
๓) พระราชบัญญัติวิธีการปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ และที่แกั1ขเพิ่มเดิม
๔) พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๓๙
๕) การดำเนินการทางวินัยของข้าราชการพลเรือนสามัญ ตามกฎ ก.พ. ว่าด้วยการดำเนินการ ทางวินัย พ.ศ. ๒๕๕๖
นักวิชาการเงินและบัญชีปฏิบัติการ
จะดำเนินการทดสอบความรู้ความสามารถ และความเข้าใจเกี่ยวกับงานในตำแหน่งนักวิชาการเงิน และบัญชีปฏิบัติการ โดยวิธีการสอบข้อเขียน ดังต่อไปนี้
ส่วนที่ ๑ ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการปฏิบัติราชการ ( ๕๐ คะแนน)
– วิสัยทัศน์ พันธกิจ โครงสร้าง อำนาจหนัาที่ ภารกิจ นโยบายและยุทธศาสตร์
ของสำนักงานปลัดกระทรวงพลังงาน และกระทรวงพลังงาน
ส่วนที่ ๒ ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับลักษณะงานที่ปฏิบัติ (๑๕๐ คะแนน)
๑) พระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังชองรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑ หมวด ๓ วินัยการเงินการคลัง และ หมวด ๔ การบัญชี การรายงาน และการตรวจสอบ
๒) ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกเงินจากคลัง การรับเงิน การจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน และการนำเงินส่งคลัง พ.ศ. ๒๕๖๒ และที่แก้1ขเพิ่มเดิม
๓) ระบบการบริหารการเงินการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์ (GFMIS)
๔) การบัญชี และการบัญชีภาครัฐ
เจ้าพนักงานการเงินและบัญชีปฏิบัติงาน
จะดำเนินการทดสอบความรู้ความสามารถ และความเข้าใจเกี่ยวกับงานในตำแหน่งเจ้าพนักงานการเงิน
และบัญชีปฏิบัติงาน โดยวิธีการสอบข้อเขียน ดังต่อไปนี้
ส่วนที่ ๑ ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการปฏิบัติราชการ (๕๐ คะแนน)
– วิสัยทัศน์ พันธกิจ โครงสรัาง อำนาจหน้าที่ ภารกิจ นโยบายและยุทธศาสตร์
ของสำนักงานปลัดกระทรวงพลังงาน และกระทรวงพลังงาน
ส่วนที่ ๒ ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับลักษณะงานที่ปฏิบัติ (๑๕๐ คะแนน)
๑) พระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑ หมวด ๓ วินัยการเงินการคลัง และ หมวด ๔ การบัญชี การรายงาน และการตรวจสอบ
๒) ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกเงินจากคลัง การรับเงิน การจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน และการนำเงินส่งคลัง พ.ศ. ๒๕๖๒ และที่แกิไขเพิ่มเดิม
๓) ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกค่าใช้จ่ายในการบริหารงานของส่วนราชการ
พ.ศ. ๒๕๕๓
๔) ระบบการบริหารการเงินและการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์ (GFMIS)
๕) การบัญชี
นายช่างเทคนิคปฏิบัติงาน
จะดำเนินการทดสอบความรู้ความสามารถ และความเข้าใจเกี่ยวกับงานในตำแหน่งนายช่างเทคนิคปฏิบัติงาน โดยวิธีการสอบข้อเขียน ดังต่อไปนี้
ส่วนที่ ๑ ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการปฏิบัติราชการ (๕๐ คะแนน)
– วิสัยทัศน์ พันธกิจ โครงสร้าง อำนาจหน้าที่ ภารกิจ นโยบายและยุทธศาสตร์
ของสำนักงานปลัดกระทรวงพลังงาน และกระทรวงพลังงาน
ส่วนที่ ๒ ความรู้ความเช้าใจเกี่ยวกับลักษณะงานที่ปฏิบัติ (๑๕๐ คะแนน)
๑) กฎหมายด้านพลังงาน ดังนี้
– พระราชบัญญัติควบคุมนํ้ามันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๔๒ และฉบับที่แก้ไขเพิ่มเดิม
– พระราชบัญญัติการค้านํ้ามันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๔๓ และฉบับที่แก้ไขเพิ่มเดิม
๒ ) ความรู้พื้นฐานด้านงานช่าง การเขียนแบบ ACAD และการประมาณการด้าน วิศวกรรมต่าง ๆ ตามแบบ ปร.๔ ปร.๕
๓ ) ความรู้ด้านพลังงาน เทคโนโลยีพลังงาน การพัฒนาพลังงานทดแทน และการอนุรักษ์พลังงาน
ผู้ประสงค์จะสมัครสอบ สมัครได้ทางอินเทอร์เน็ตเท่านั้น ตั้งแต่วันที่ บัดนี้ – 27 ม.ค. 2566 ตลอด 24 ชั่วโมง ไม่เว้นวันหยุดราชการ
ประกาศรับสมัคร file 1 | เว็บรับสมัคร