“สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง “
ลิงค์: https://ehenx.com/15677/ หรือ
ตำแหน่ง: เศรษฐกร,นิติกร,นักวิชาการพัสดุ
ระดับการศึกษา: ปริญญาตรี,ปริญญาโททุกสาขา,ปริญญาโท
อัตราเงินเดือน: 15,000-19,250
อัตราว่าง: 11
ปฏิบัติงานที่: กรุงเทพมหานคร
เปิดรับสมัครตั้งแต่: 16 พ.ย. – 7 ธ.ค. 2564
**เฉพาะผู้สอบผ่านภาค ก. ก.พ.**
—
สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง เปิดรับสมัคร
เรื่อง รับสมัครสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการ ในตำแหน่งเศรษฐกรปฏิบัติการ
ด้วยสำนักงานเศรษฐกิจการคลังจะดำเนินการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคล เข้ารับราชการในตำแหน่งเศรษฐกรปฏิบัติการ ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕๓ แห่งพระราชบัญญัติ ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ และหนังสือสำนักงาน ก.พ. ที่ นร ๑๐๐๔/ว ๑๗ ลงวันที่ ๑๑ ธันวาคม ๒๕๕๖ เรื่อง การสรรหาโดยการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุบุคคลเข้ารับราชการ จึงประกาศรับสมัครสอบแข่งขัน เพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการ ดังรายละเอียดต่อไปนี้
เศรษฐกร
อัตราว่าง : 7 อัตรา
อัตราเงินเดือน : 15000-19250 บาท
คุณวุฒิ : ปริญญาตรี,ปริญญาโท
นิติกร
อัตราว่าง : 3 อัตรา
อัตราเงินเดือน : 15000-17500 บาท
คุณวุฒิ : ปริญญาตรี,ปริญญาโท
นักวิชาการพัสดุ
อัตราว่าง : 1 อัตรา
อัตราเงินเดือน : 17500-19250 บาท
คุณวุฒิ : ปริญญาโททุกสาขา*
คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
เศรษฐกร
- ได้รับปริญญาตรีหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ สาขาวิชาการบัญชี หรือสาขาวิชาบริหารธุรกิจ
- ได้รับปริญญาโทหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ สาขาวิชาการบัญชี หรือสาขาวิชาบริหารธุรกิจ
นิติกร
- ได้รับปริญญาตรีหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชานิติศาสตร์
- ได้รับปริญญาโทหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชานิติศาสตร์
นักวิชาการพัสดุ
- ได้รับปริญญาโทหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในทุกสาขาวิชา
ลักษณะงานที่ปฏิบัติ
เศรษฐกร
ปริญญาตรี
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ที่ต้องใช้ความรู้ ความสามารถทางวิชาการในการทำงาน ปฏิบัติงานด้านวิชาการเศรษฐกิจ ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
๑) ด้านการปฏิบัติการ
(๑) รวบรวมข้อมูลหรือวิเคราะห์สถานการณ์เศรษฐกิจเบื้องต้นที่ไม่ซับซ้อน ทั้งเศรษฐศาสตร์ มหภาคและจุลภาค (ด้านการคลัง การเงิน การออม การลงทุน ภาษี และเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ฯลฯ) เพื่อศึกษา วิเคราะห์ วิจัย ที่เกี่ยวกับด้านเศรษฐศาสตร์ ที่จะเป็นประโยชน์ ต่อการวางแผนกลยุทธ์ กำหนด นโยบาย แผนการ แนวทาง หลักเกณฑ์ มาตรการหรือดัชนีทางเศรษฐศาสตร์
(๒) ติดตามผลการศึกษา วิเคราะห์ วิจัย ในด้านใดด้านหนึ่งของการดำเนินนโยบาย มาตรการหรือ กิจกรรมด้านเศรษฐกิจ (ด้านการคลัง การเงิน การออม การลงทุน ภาษี และเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ฯลฯ) เพื่อจัดทำรายงานความก้าวหน้าและปัญหาที่เกี่ยวข้อง
๒) ด้านการวางแผน
วางแผนการทำงานที่รับผิดชอบ ร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงานหรือโครงการ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายผลสัมฤทธที่กำหนด
๓) ด้านการประสานงาน
ประสานการทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน เพื่อให้เกิดความร่วมมือ และผลส้มฤทธื้ตามที่กำหนด
๔) ด้านการบริการ
จัดเก็บข้อมูลเบื้องต้น ทำสถิติ ปรับปรุงหรือจัดทำฐานข้อมูลหรือระบบสารสนเทศ ในด้าน เศรษฐศาสตร์ เพื่อให้สอดคล้องและสนับสนุนภารกิจของสำนักงาน และประกอบการพิจารณากำหนดนโยบาย แผนงาน หลักเกณฑ์ มาตรการหรือดัชนีทางเศรษฐกิจด้านต่าง ๆ
ปริญญาโท
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ที่ต้องใช้ความรู้ ความสามารถทางวิชาการในการทำงาน ปฏิบัติงานด้านวิชาการเศรษฐกิจ ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
๑) ด้านการปฏิบัติการ
(๑) รวบรวมข้อมูลหรือวิเคราะห์สถานการณ์เศรษฐกิจเบื้องต้นที่ไม่ซับซ้อน ทั้งเศรษฐศาสตร์ มหภาคและจุลภาค (ด้านการคลัง การเงิน การออม การลงทุน ภาษี และเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ฯลฯ) เพื่อศึกษา วิเคราะห์ วิจัย หรือเสนอแนะประเด็นสำคัญหรือกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับด้านเศรษฐศาสตร์ ที่จะเป็นประโยชน์ ต่อการวางแผนกลยุทธ์ กำหนดนโยบาย แผนการ แนวทาง หลักเกณฑ์ มาตรการหรือดัชนี ทางเศรษฐศาสตร์
(๒) ติดตามผลการศึกษา วิเคราะห์ วิจัย ในด้านใดด้านหนึ่งของการดำเนินนโยบาย มาตรการหรือ กิจกรรมด้านเศรษฐกิจ (ด้านการคลัง การเงิน การออม การลงทุน ภาษี และเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ฯลฯ) เพื่อจัดทำรายงานความก้าวหน้าและสนับสนุนการเสนอแนวทางหรือวางแผนแนวทางแก้ไขหรือปรับปรุงปัญหา อุปสรรคที่เกิดขึ้น
(๓) สรุปรายงานเกี่ยวกับการปฏิบัติงานหรือการรวบรวมข้อมูลด้านการจัดทำดัชนีวัฏจักรเศรษฐกิจ โครงสร้างเศรษฐกิจ เครื่องชี้วัดทางเศรษฐศาสตร์ หรือแบบจำลองต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับทางเศรษฐศาสตร์ เพื่อสนับสนุนและประกอบการวิเคราะห์และคาดการณ์ผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงของนโยบาย ด้านเศรษฐกิจต่าง ๆ (ด้านการคลัง การเงิน การออม การลงทุน ภาษี และเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ฯลฯ) ของรัฐบาลต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ
๒) ด้านการวางแผน
วางแผนการทำงานที่รับผิดชอบ ร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงานหรือโครงการ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายผลสัมฤทธิ้ที่กำหนด
๓) ด้านการประสานงาน
(๑) ประสานการทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน เพื่อให้เกิดความร่วมมือ และผลส้มฤทธตามที่กำหนด
(๒) ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แก่บุคคลหรือหน่วยงานที,เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย
๔) ด้านการบริการ
(๑) ให้คำแนะนำหรือปรึกษาในเรื่องข้อมูลต่าง ๆ ทางเศรษฐศาสตร์ในระดับเบื้องต้น ให้แก่ หน่วยงานรา6ชการ เอกชน หรือประชาชนทั่วไปเพื่อให้ผู้ที่สนใจสามารถนำข้อมูลเหล่านี้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ สูงสุด
(๒) จัดเก็บข้อมูลเบื้องต้น ทำสถิติ ปรับปรุงหรือจัดทำฐานข้อมูลหรือระบบสารสนเทศ ในด้านเศรษฐศาสตร์ เพื่อให้สอดคล้องและสนับสนุนภารกิจของสำนักงาน และประกอบการพิจารณากำหนด นโยบาย แผนงาน หลักเกณฑ์ มาตรการหรือดัชนีทางเศรษฐกิจด้านต่าง ๆ
นิติกร
ปริญญาตรี
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ที่ต้องใช้ความรู้ ความสามารถทางวิชาการในการทำงาน ปฏิบัติงานด้านนิติการ ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
๑. ด้านการปฏิบัติการ
(๑) เสนอความเห็นแก่ผู้บังคับบัญชาในการตอบช้อหารือหรือวินิจฉัยปัญหากฎหมายด้านการเงิน สถาบันการเงิน สถาบันการเงินเฉพาะกิจ การคลัง ภาษี การออม การลงทุน และเศรษฐกิจระหว่างประเทศ รวมทั้งระเบียบของทางราชการที่มีผลกระทบต่อการดำเนินงานของหน่วยงาน เพื่อเป็นข้อมูลสนับสนุน การพิจารณาของผู้บังคับบัญชา
(๒) ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย และพัฒนาเพื่อเป็นข้อมูลประกอบการยกร่าง ปรับปรุงแก่ไขกฎหมาย ด้านการเงิน สถาบันการเงิน สถาบันการเงินเฉพาะกิจ การคลัง ภาษี การออม การลงทุน และเศรษฐกิจระหว่าง ประเทศ ทั้งระดับพระราขบัญญัติ และลำดับรอง รวมทั้งระเบียบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ทันกับสถานการณ์ และอำนวยความสะดวกในการทำงาน โดยพิจารณาถึงความเหมาะสมและเป็นธรรมต่อทุกฝ่าย
(๓) ศึกษาข้อมูล รวบรวม แสวงหาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย เสนอความเห็นในการดำเนินการ เรื่องใด ๆ ที่เกี่ยวกับวินัยข้าราชการ การร้องทุกข์ การพิทักษ์ระบบคุณธรรม รวมถึงการดำเนินการใด ๆ ตามกฎหมายปกครองที่เกี่ยวข้องกับการบริหารราชการ และการดำเนินคดีชองหน่วยงาน เพื่อใช้เป็นแนวทาง ในการปฏิบัติงาน และสามารถดำเนินการได้อย่างถูกต้อง
๒. ด้านการวางแผน
ร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานชองหน่วยงานหรือโครงการ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไป ตามเป้าหมายและผลส์มฤทธที่กำหนด
๓. ด้านการประสานงาน
(๑) ประสานการทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน เพื่อให้เกิดความร่วมมือ และผลส้มฤทธตามที่กำหนด
(๒) ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แก่บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย
๔. ด้านการบริการ
ให้คำปรึกษาแนะนำกฎหมายด้านการเงิน สถาบันการเงิน สถาบันการเงินเฉพาะกิจ การคลัง ภาษี การออม การลงทุน และเศรษฐกิจระหว่างประเทศ แก่บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ปริญญาโท
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ที่ต้องใช้ความรู้ ความสามารถทางวิชาการในการทำงาน ปฏิบัติงานด้านนิติการ ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
๑. ด้านการปฏิบัติการ
(๑) เสนอความเห็นแกผู้บังคับบัญชาในการตอบข้อหารือหรือวินิจฉัยปัญหากฎหมายด้านการเงิน สถาบันการเงิน สถาบันการเงินเฉพาะกิจ การคลัง ภาษี การออม การลงทุน และเศรษฐกิจระหว่างประเทศ รวมทั้งระเบียบชองทางราชการที่มีผลกระทบต่อการดำเนินงานของหน่วยงาน เพื่อเป็นข้อมูลสนับสนุน การพิจารณาชองผู้บังคับบัญชา
(๒) ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย และพัฒนาเพื่อยกร่าง ปรับปรุงแก้ไขกฎหมายด้านการเงิน สถาบัน การเงิน สถาบันการเงินเฉพาะกิจ การคลัง ภาษี การออม การลงทุน และเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ทั้งระดับ พระราชบัญญัติ และลำดับรอง รวมทั้งระเบียบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ทันกับสถานการณ์และอำนวยความสะดวก ในการทำงาน โดยพิจารณาถึงความเหมาะสมและเป็นธรรมต่อทุกฝ่าย
(๓) ศึกษาข้อมูล รวบรวม แสวงหาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย เสนอความเห็นในการดำเนินการ เรื่องใด ๆ ที่เกี่ยวกับวินัยข้าราชการ การร้องทุกข์ การพิทักษ์ระบบคุณธรรม รวมถึงการดำเนินการใด ๆ ตามกฎหมายปกครองที่เกี่ยวข้องกับการบริหารราชการ และการดำเนินคดีชองหน่วยงาน เพื่อใช้เป็นแนวทาง ในการปฏิบัติงาน และสามารถดำเนินการได้อย่างถูกต้อง
(๔) เป็นผู้แทนหน่วยงาน หรือกระทรวงการคลังในการประชุมต่าง ๆ เช่น คณะกรรมาธิการ คณะกรรมการ เป็นต้น ตลอดจนเป็นผู้แทนในการประชุมระหว่างประเทศ
๒. ด้านการวางแผน
วางแผนการทำงานที่รับผิดชอบ ร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงานหรือโครงการ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายและผลสัมฤทธื้ที่กำหนด
๓. ด้านการประสานงาน
(๑) ประสานการทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน เพื่อให้เกิดความร่วมมือ และผลสัมฤทธตามที่กำหนด
(๒) ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แก่บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย
๔. ด้านการบริการ
ให้คำปรึกษาแนะนำกฎทมายด้านการเงิน สถาบันการเงิน สถาบันการเงินเฉพาะกิจ การคลัง ภาษี การออม การลงทุน และเศรษฐกิจระหว่างประเทศ แกบุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจ ในข้อกฎหมายที่เป็นปัญหา และให้ความรู้ถึงข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องและเป็นประโยชน์กับการดำเนินงาน ของบุคคลหรือหน่วยงานดังกล่าว
นักวิชาการพัสดุ
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ที่ต้องใช้ความรู้ ความสามารถทางวิชาการในการทำงาน ปฏิบัติงานด้านวิชาการพัสดุ ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ แสะปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมี ลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
๑. ด้านการปฏิบัติการ
(๑) รวบรวมและศึกษาข้อมูลในงานพัสดุ เพื่อกำหนดคุณภาพ และมาตรฐานของพัสดุ
(๒) ตรวจสอบและดูแลการจัดซื้อจัดจ้างแบบต่าง ๆ เช่น การจัดซื้อจัดจ้างโดยวิธีเฉพาะเจาะจง การจัดซื้อจัดจ้างโดยวิธีตลาดอิเล็กทรอนิกส์ (e-Market) การจัดซื้อจัดจ้างโดยวิธีประกวดราคาด้วยวิธีการ ทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) เพื่อให้เป็นไปตาม ๑) พระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุ ภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖๐ ๒) ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖๐ และ ๓) กฎกระทรวง และหนังสือเวียนที่เกี่ยวข้อง
(๓) จัดทำรายละเอียดบัญชี หรือทะเบียนคุมทรัพย์สินเกี่ยวกับคุณลักษณะเฉพาะของวัสดุ เพื่อให้สามารถตรวจสอบวัสดุต่าง ๆ ได้โดยสะดวก
(๔) ซ่อมแซมและดูแลรักษาพัสดุในครอบครอง เพื่อให้มีสภาพที่พร้อมใช้งาน
(๕) จำหน่ายพัสดุเมื่อชำรุดหรือเสื่อมสภาพ หรือไมจำเป็นในการใช้งานทางราชการอีกต่อไป เพื่อให้ พัสดุเกิดประโยชน์ให้แก่ทางราชการได้มากที่สุด
(๖) ถ่ายทอดความรู้ด้านงานพัสดุแก่เจ้าหน้าที่ระดับรองลงมา เช่น ให้คำแนะนำในการปฏิบัติงาน วางโครงการกำหนดหลักสูตรและฟิกอบรม จัดทำคู่มือประจำสำหรับการฟิกอบรมและวิธีใช้อุปกรณ์เครื่องมือ ที่ถูกต้อง เป็นต้น เพื่อถ่ายทอดความรู้ที่เป็นประโยชน์ในการปฏิบัติงานตามมาตรฐานและข้อกำหนด
๒. ด้านการวางแผน
วางแผนการทำงานที่รับผิดชอบ ร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงานหรือโครงการ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายและผลสัมฤทธที่กำหนด
๓. ด้านการประสานงาน
(๑) ประสานการทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน เพื่อให้เกิดความร่วมมือ และผลสัมฤทธตามที่กำหนด
(๒) ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แก่บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย
๔. ด้านการบริการ
(๑) ให้คำแนะนำ ตอบปัญหาและชี้แจงเกี่ยวกับงานพัสดุที่ตนมีความรับผิดชอบ ในระดับเบื้องต้น แกหน่วยงานราชการ เอกชน หรือประชาชนทั่วไป เพื่อให้ผู้ที่สนใจได้ทราบข้อมูลและความรู้ต่าง ๆ ที่เป็น ประโยชน์
(๒) จัดเก็บข้อมูลเบื้องต้น ทำสถิติ ปรับปรุง หรือจัดทำฐานข้อมูลหรือระบบสารสนเทศ ที่เกี่ยวกับงานพัสดุ เพื่อให้สอดคล้องและสนับสนุนภารกิจของหน่วยงานและใช้ประกอบการพิจารณากำหนด นโยบาย แผนงาน หลักเกณฑ์ มาตรการต่าง ๆ
วิชาที่สอบ
เศรษฐกร
ปริญญาตรี
ทดสอบความรู้ความสามารถ ความเข้าใจเกี่ยวกับงานในตำแหน่งเศรษฐกรปฏิบัติการ โดยวิธี สอบข้อเขียน เกี่ยวกับ
๑. ความรู้ทางด้านเศรษฐกิจ (การประยุกต์ใช้ความรู้ทางเศรษฐศาสตร์ในการวิเคราะห์ สถานการณ์ทางเศรษฐกิจด้านมหภาค การคลัง การเงิน การออม การลงทุน ภาษี และเศรษฐกิจระหว่างประเทศ) คะแนนเต็ม ๑๕๐ คะแนน
๒. ความรู้ภาษาอังกฤษเกี่ยวกับความรู้ทางด้านเศรษฐศาสตร์ (เขียนตอบเป็นภาษาอังกฤษ) คะแนนเต็ม ๕๐ คะแนน
ปริญญาโท
ทดสอบความรู้ความสามารถ ความเข้าใจเกี่ยวกับงานในตำแหน่งเศรษฐกรปฏิบัติการ โดยวิธี
สอบข้อเขียน เกี่ยวกับ
๑. ความรู้ทางด้านเศรษฐกิจ (การประยุกต์ใช้ความรู้ทางเศรษฐศาสตร์ในการวิเคราะห์ สถานการณ์ทางเศรษฐกิจด้านมหภาค การคลัง การเงิน การออม การลงทุน ภาษี และเศรษฐกิจระหว่างประเทศ) คะแนนเต็ม ๑๕๐ คะแนน
๒. ความรู้ภาษาอังกฤษเกี่ยวกับความรู้ทางด้านเศรษฐศาสตร์ (เขียนตอบเป็นภาษาอังกฤษ) คะแนนเต็ม ๕๐ คะแนน
นิติกร
ปริญญาตรี
ทดสอบความรู้ความสามารถ ความเข้าใจเกี่ยวกับงานในตำแหน่งนิติกรปฏิบัติการ โดยวิธีสอบ ข้อเขียน เกี่ยวกับ
๑. ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายทั่วไป เช่น รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๖๐ กฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางการปกครอง กฎหมายว่าด้วยข้อมูลชำวสารของราชการ และกฎหมาย ว่าด้วยคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เป็นต้น
๒. ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายเฉพาะ เช่น กฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล กฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน กฎหมายว่าด้วยหลักประกันทางธุรกิจ กฎหมายว่าด้วยวินัยการเงิน การคลังของรัฐ กฎหมายว่าด้วยภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง กฎหมายว่าด้วยสถาบันการเงินประชาชน และกฎหมายว่าด้วยกองทุนการออมแห่งชาติ เป็นต้น
ปริญญาโท
ทดสอบความรู้ความสามารถ ความเข้าใจเกี่ยวกับงานในตำแหน่งนิติกรปฏิบัติการ โดยวิธีสอบ ข้อเขียน เกี่ยวกับ
๑. ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายทั่วไป เช่น รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๖๐ กฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางการปกครอง กฎหมายว่าด้วยข้อมูลข่าวสารของราชการ และกฎหมาย ว่าด้วยคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เป็นต้น
๒. ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายเฉพาะ เข่น กฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล กฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน กฎหมายว่าด้วยหลักประกันทางธุรกิจ กฎหมายว่าด้วยวินัยการเงิน การคลังของรัฐ กฎหมายว่าด้วยภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง กฎหมายว่าด้วยสถาบันการเงินประชาชน และกฎหมายว่าด้วยกองทุนการออมแห่งชาติ เป็นต้น
นักวิชาการพัสดุ
ทดสอบความรู้ความสามารถ ความเข้าใจเกี่ยวกับงานในตำแหน่งนักวิชาการพัสดุปฏิบัติการ โดยวิธีสอบข้อเขียน เกี่ยวกับ
(๑) ความรู้เกี่ยวกับการบริหารและการจัดการ
(๒) ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุ ภาครัฐ เช่น พระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖๐ ระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖๐ กฎกระทรวงที,ออกตามพระราชบัญญัติ การจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖๐ และหนังสือเวียนที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น
วิธีการสมัครงานข้าราชการ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง :สมัครทางอินเทอร์เน็ต
ผู้ประสงค์จะสมัครสอบ สมัครได้ทางอินเทอร์เน็ตเท่านั้น ตั้งแต่วันที่ 16 พ.ย. – 7 ธ.ค. 2564 ตลอด 24 ชั่วโมง ไม่เว้นวันหยุดราชการ
ดาวน์โหลดไฟล์ “สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
แผนที่ ประกาศ 1 | 2 | 3 | เว็บรับสมัคร |