Categories
ข้อมูลเตรียมสอบงานราชการ

เตรียมสอบ นักการทูต โดยนักการทูตรุ่นพี่

เตรียมสอบ นักการทูต โดยนักการทูตรุ่นพี่

ลิงค์: https://ehenx.com/14383/ หรือ
เรื่อง:

เตรียมสอบ นักการทูต โดย นักการทูตรุ่นพี่

เส้นทางลัดสู่ความสำเร็จ คือการเรียนรู้จากผู้ที่ประสบความสำเร็จ

ไปเจอบทความเตรียมสอบนักการทูตจากผู้ใช้ทวิตเตอร์ @cchakariya โดยบังเอิญเลยเก็บมาฝาก คิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์สำหรับผู้เตรียมสอบ นักการทูตปฏิบัติการ กระทรวงการต่างประเทศ ได้ใช้เป็นแนวทางในการเตรียมสอบตั้งแต่สอบข้อเขียนภาค ก+ข ไปจนถึงภาค ค. สัมภาษณ์ อ่านอย่างไร เตรียมตัวอย่างไร เพื่อสุดท้ายได้ขึ้นบัญชีเรียกบรรจุเป็น.. “นักการทูตปฏิบัติการ”

อ่ะ ในฐานะที่เหลือเวลาอีกแค่ 8 วันจะหมดเขตรับสมัครสอบทูต วันนี้เราจะมารีวิวการอ่านสอบ #นักการทูต ฉบับคนทำงานเลิกดึก เวลานอนยังไม่ค่อยมี ใครมีเพื่อนอยากสอบทูต หรืออยากลองสอบดูสักครั้ง รีไปเลยจ้า

1. ขอเล่าแบ๊คกราวน์ตัวเองก่อน เราจบรัฐศาสตร์การปกครอง แต่ไปเป็นcopywrite+branded content writer+ad planner อยู่สองปีกว่า เป็นสองปีที่ไม่ได้ใช้ความรู้เฉพาะทางที่เรียนมาเลย แต่โชคดีอย่างหนึ่งคือได้ใช้ภาษาอังกฤษเรื่อยๆ แบบไม่ใช่ภาษาทางการนัก

2.พอตั้งใจว่าจะสอบ เราไปนั่งดูสัดส่วนข้อสอบก่อน โอเค ภาค ก. ต้องสอบความรู้ทั่วไปบภาษาอังกฤษแบบช้อยส์ + ภาค ข. สอบความรู้เฉพาะทางกับอังกฤษ แบบเขียนเรียงความ แปลบทความ ย่อความ

3.สิ่งแรกที่เราทำคือเริ่มอ่านภาษาก่อน ใช้วิธีเข้าไปดูเว็บไซต์กระทรวง โทนการเขียนเขาประมาณไหน ใช้ tense อะไร แล้วก็ฝึกเขียนเรียงความภาษาอังกฤษ เป็นการติวทั้งภาค ก. และ ข. ไปในตัว พร้อม ๆ กับเริ่มทำสรุปข่าว คืออ่านข่าวทุกวัน จากหลายๆ สำนัก แล้วเอามาเขียนสรุป + พัฒนาการเหตุการณ์

4. ซึ่งเทคนิคการอ่านข่าว สำหรับภาค ก. คือ อ่านให้หมดทุกอย่าง ข่าวในประเทศ ต่างประเทศ อะไรอิน อะไรเป็นประเด็นร้อน ต้องรู้ให้หมด เพราะของพวกนี้แหละที่มันจะมาอยู่ในช้อยส์ให้เรางงเล่นว่า มาจากไหนวะ

5. นอกจากนี้ พวกนโยบายของกระทรวงฯ และนโยบายรัฐบาลก็อ่านๆ ไว้ด้วย อย่างที่รู้ว่านักการทูตคือการทำงานให้ประเทศ แล้วถ้าเราไม่รู้จริงเกี่ยวกับนโยบายของประเทศ แล้วจะทำงานได้ยังไงใช่มะ

6. เคล็ดลับคือต้องเตรียมทั้ง ก. กับ ข. ไปพร้อมกันเลย อย่าคิดว่าถ้าไม่ผ่านภาค ก แล้วจะเสียเปล่า เพราะพอประกาศผลสอบ ก. ปุ๊บ วันที่สอบ ข. มันห่างกันแค่ไม่ถึงเดือน ถ้าไปเตรียมตอนนั้น ตาเหลือกแน่

7. อีกเคล็ดลับที่แนะนำคือ จงฝึกเขียนเรียงความ คือนอกจากความรู้ที่ต้องมี ต้องรู้ข่าวสารแล้ว การเขียนให้รู้เรื่องก็สำคัญนะ นึกภาพว่าถ้าเราเป็นกรรมการ ตรวจข้อสอบซ้ำๆ กันสองร้อยชิ้น คนที่ลำดับความคิดดี เขียนรู้เรื่อง มันอ่านสบายกว่าอยู่แล้ว

8. ณ ตอนนั้น ที่เริ่มอ่านหนังสือ เรายังทำงานอยู่ เข้างาน 10.00 เลิก 19.00 บางครั้งก็ 20.00 ถึงบ้านสามสี่ทุ่ม ก็จัดตารางเลยว่าถึงบ้านปุ๊บ อาบน้ำกินข้าว 1 ชม. แล้วอ่านหนังสือไปเลย 2 ชม. สลับวิชาไปว่าอยากอ่านอะไร วันเสาร์พักหนึ่งวัน วันอาทิตย์ฝึกเขียนเรียงความ ชีวิตช่วงนั้นทรหดมาก

  Youtube: iqepin LINE it! เพิ่มเพื่อน  

9. ซึ่งตอนสอบภาค ก. เสร็จ นี่ก็มีท้อนะ คือรู้สึกว่าความรู้ทั่วไปเราตอบผิดไปเยอะอยู่ ข้อที่จำได้คือเขาถามว่า หลินลับแล หลงลับแลคือชื่อของอะไร ซึ่งมันคือทุเรียน แต่เราตอบผิดเพราะเป็นคนไม่กินทุเรียน 555555

10. เดชะบุญจริงๆ ว่าเตรียม ข. ไว้ล่วงหน้าแล้ว พอประกาศผลว่าผ่าน เราเลยตาลีตาเหลือก กลับมาฟิตพาร์ทอื่นๆ เช่นการแปลภาษาไทย-อิ้ง อิ้ง-ไทย เขียนย่อสรุปความ ซึ่งของพวกนี้ไม่มีทางลัดเลยนอกจากฝึกทำบ่อยๆ อ่านเยอะๆ

11. เคล็ดลับภาค ข : อย่าชะล่าใจกับเวลา ระวังเขียนไม่ทัน

12. พาร์ทความรู้เฉพาะทางของภาค ข. ก็จะแบ่งเป็น 4 ข้อ ข้อบังคับให้ทำคือข้อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ อีก 3 ข้อคือ เศรษฐกิจรว.ปท. กฎหมายรว.ปท. และองค์การรว.ปท. จาก 3 ข้อนี้ให้เลือกทำแค่ 2 ข้อ เคล็ดลับคืออ่าน อ่าน และอ่าน เวลาจะเขียนอะไรขอให้มั่นใจว่าแม่นจริง

13. และนี่คือจุดพีคที่อยากย้ำกับทุกคนว่าให้มีสติมาก ๆ จัดสรรเวลาดี ๆ เพราะเราเองก็เกือบเขียนไม่ทัน และเท่าที่รู้มา มีหลายคนเลยที่ตกม้าตายเพราะเขียนข้อสอบไม่ทัน ทั้ง ๆ ที่อ่านมาอย่างแน่น

14. พอเข้าไปปุ๊บมันจะมีช่วงช๊อคข้อสอบก่อนแน่นอน และมันจะช๊อคไปประมาณสิบห้านาที 55555 เท่ากับเหลือเวลาเขียน 3 ข้อ อีกไม่มาก ฉะนั้นรีบตั้งสติ หมั่นดูนาฬิกา และจัดระเบียบความคิดดี ๆ

15. หลังจากสอบ ข. เสร็จ มีเวลาได้หายใจหายคอแป๊บนึง เราก็เริ่มเตรียมภาค ค. ต่อ อย่างที่รู้กันว่างานของนักการทูตมันไม่ใช่แค่นั่งโต๊ะแล้วทำความเห็นวิชาการ มันต้องคุยกับคน ต้องเจรจา และต้องลงพื้นที่ในหลายครั้ง ดังนั้น ภาค ค. จะเป็นการสอบสัมภาษณ์ ดูทัศนคติ ดูการอยู่กับผู้คนของเรา

16. เอาจริงๆ ภาค ค. ก็เหมือนการสอบสัมภาษณ์งานแหละ ผู้ว่าจ้างก็ต้องอยากรู้ว่าเราทำอะไรได้บ้าง มีสกิลตรงไหนที่เอามาใช้กับงานได้ จุดเด่นของเราคืออะไรที่ทำให้เขาต้องเลือก

17. สิ่งที่เราทำคือประเมินตัวเองก่อนเลยว่ามีจุดเด่นอะไร ข้อเสียเปรียบของเราคือเราห่างความรู้วิชาการด้านไออาร์ไปนาน (ซึ่งแน่นอนว่าเราไปอ่านเพิ่ม) แต่จุดเด่นของเราคือมีความรู้จากสาขาวิชาอื่น ฉะนั้นเราเอาความรู้ตรงนี้มาทำอะไรให้กระทรวงฯ ให้ประเทศได้บ้าง?

18. อันนี้แนะนำเลยนะสำหรับคนที่รู้สึกว่าตัวเองไม่ได้มาจากสายไออาร์ หรือรู้สึกว่าตัวเองเรียนสิ่งที่ไม่เกี่ยวข้องมา จริง ๆ นักการทูตเปิดให้ทุกวุฒิสามารถสอบได้นะ เพราะต้องการให้มีคนจากหลากหลายสาขาความรู้มาช่วยกัน

19. ในรุ่นเรามีหลายคนที่ไม่ได้ทำงานสายไออาร์ หรือจบไออาร์มา แต่เขารู้ว่าตัวเองมีความพิเศษตรงนั้น และเอามาแสดงให้เห็นว่าเขาช่วยงานกระทรวงฯ ได้ยังไงบ้าง ซึ่งกลายเป็นจุดขายไปอีกด้วย ฉะนั้นอย่าท้อ มาสอบเลย สิ่งที่คุณทำมาอาจเป็นสิ่งที่กระทรวงฯ กำลังต้องการมาก ๆ เลยก็ได้

20. (จบ) เคล็ดลับ ภาค ค. คือ Be a better version of you อย่าเกร็ง อย่าเฟค ร่วมกิจกรรมให้เต็มที่และสนุกไปกับมัน enjoy the moment ซะ ภาคนี้สนุกที่สุดแล้ว เพราะเป็นโอกาสที่เราจะได้สนิทกับเพื่อน ๆ ที่จะต้องทำงานด้วยกันในอนาคต
ขอให้ทุกคนโชคดีค่ะ เจอกันในกระทรวงอย่าลืมทักด้วย!

1. ขอเล่าแบ๊คกราวน์ตัวเองก่อน เราจบรัฐศาสตร์การปกครอง แต่ไปเป็น copywrite+branded content writer+ad planner อยู่สองปีกว่า เป็นสองปีที่ไม่ได้ใช้ความรู้เฉพาะทางที่เรียนมาเลย แต่โชคดีอย่างหนึ่งคือได้ใช้ภาษาอังกฤษเรื่อยๆ แบบไม่ใช่ภาษาทางการนัก

— ชาคริยาผู้ไม่เคยนอนพอ (@CChakariya) January 31, 2021

Comments

comments

ข่าวงานราชการเปิดสอบ 2567-2569
Privacy Overview

This website uses cookies so that we can provide you with the best user experience possible. Cookie information is stored in your browser and performs functions such as recognising you when you return to our website and helping our team to understand which sections of the website you find most interesting and useful.