“สรุปแนวทางปฎิบัดิดามประกาศ ก.อบต. เวึอง มาดรฐานทั่วไปเกี่ยวกับโครงสร้างการแบ่งส่วนราชการ“
ลิงค์: https://ehenx.com/12366/ หรือ
เรื่อง:
สรุปแนวทางปฎิบ้ดิดามประกาศ ก.อบต. เวึอง มาดรฐานทั่วไปเกี่ยวกับโครงสร้างการแบ่งส่วนราชการ การบริหารและการปฏิบ้ติงานของพนักงานส่วนตำบล และกิจการอันเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลในองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๖๓
1. ให้ อบต. มี 3 ประเภท ได้แก่ ประเภทสามัญ ประเภทสามัญระดับสูง และประเภทพิเศษ
2. ให้ อบต. ประกาศกำหนด กอง สำนัก หรือส่วนราชการที่มีความจำเป็น (ส่วนราชการหลัก) ในการบริหารราชการของ อบต. ดังนี้
- สำนักปลัด อบต.
- สำนัก/กองคลัง
- สำนัก/กองช่าง
- สำนัก/กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
- สำนัก/กองยุทธศาสตร์และงบประมาณ
- สำำนัก/กองการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
- สำนัก/กองารเจ้าหน้าที่
- หน่วยตรวจสอบภายใน
ให้ส่วนราชการตาม 1-7 มีฐานะเป็นองหรือสำนัก และให้ 8 หน่วยตรวจสอบภายในมีฐานะต่ำกว่าหรือเทียบเท่ากอง โดยให้ขึ้นตรงต่อปลัด อบต.
3. อบต. อาจประกาศำหนด กอง สำนัก หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่น (ส่วนราชการที่อาจจัดตั้งได้) ในการบริารราชการของ อบต. ได้อีกจำนวน 18 ส่วนราชการ เช่น สำนักงานเลขานุการองค์การบริารส่วนตำบล กองการประปา กองป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ฯลฯ
4. ในคราแรกเมื่อ ก.อบต. จังหวัดได้มีประกาศฯ มาตรฐานเกี่ยวกับโครงสร้างฯ ใช้บังคับแล้ว ให้ อบต.สามัญ กำหนดส่วนราชการหลัก (บังคับในคราวแรกในการประกาศ) ประกอบด้วย สำนักปลัด อบต. สำนัก/กองคลัง สำนัก/กองช่าง และหน่วยตรวจสอบภายใน โดยความเห็นชอบของ ก.อบต. จังหวัด และไม่ต้องประเมินตัวชี้วัด
4.1 หาก อบต.สามัญใด มีส่วนราชการหลักอื่นอยู่แล้ว ก็ให้ประกาศกำหนด กอง สำนัก นั้นในคราวแรกด้วย เช่น อบต. ก. ส่วนราชการหลักอยู่ก่อนแล้ว ประกอบด้วย สำนักปลัด อบต. กองคลัง กองช่าง และกองการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ก็ให้ อบต. ก. ประกาศกำหนดส่วนราชการในคราวแรกประกอบด้วย สำนักปลัด อบต. กองคลัง กองช่างกองการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม และหน่วยตรวจสอบภายในโดยความเห็นชอบของ ก.อบต. จังหวัด และไม่ต้องประเมินตัวชี้วัด
4.2 หาก อบต. สามัญใด มีส่วนราชการหลัก และส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่น (ส่วนราชการที่อาจจัดตั้ง) อยู่ก่อนแล้ว ก็ให้ประกาศกำหนด กอง สำนัก นั้น ในคราวแรกด้วย เช่น อบต. ข. ส่วนราชการหลัก และส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่น (ส่วนราชากรที่อาจจัดตั้ง) อยู่ก่อนแล้ว ประกอบด้วย สำนักปลัด อบต. กองคลัง กองช่าง กองการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม และกองการประปา ก็ให้ อบต. ข. ประกาศกำหนดส่วนราชการในคราวแรก ประกอบด้วย สำนักปลัด อบต. กองคลัง กองช่าง กองการศึกษา กองการประปา และหน่วยตรวจสอบภายในโดยความเห็นชอบของ ก.อบต. จังหวัด และไม่ต้องประเมินตัวชี้วัด
5. ให้ อบต. ทุกแห่งกำหนดหน่วยตรวจสอบภายใน และกำหนดตำแหน่นักวิชาการตรวจสอบภายในอย่างน้อย 1 อัตรา โดยไม่ต้องประเมินปริมาณงาน หน้าที่คตวามรับผิดชบอหรือตัวชี้วัดดและเสนอให้ ก.อบต.จังหวัด พิจารณาให้ความเห็นชอบ(ในคราวแรก)
6. เมื่อ อบต.สามัญได้ดำเนินการประกาศสว่นราชการที่จำเป็น (ส่วนราชการหลัก) ในคราวแรกแล้วหากมีความประสงค์จะจัดตั้งส่วนราชการที่จำเป็น (ส่วนราชการหลัก) อื่นที่เหลือ จะต้องดำนินการประเมินปริมาณงาน หน้าที่ความรับิดชอบหรือตัวชี้วัดและเสนอให้ ก.อบต. จังหวัด พิจารณาให้ความเห็นชอบ
7. หาก อบต. สามัญประสงค์จะกำหนดส่วนราชการที่อาจจัดตั้งได้ จะต้องดำเนินการกำหนดส่วนราชการที่จำเป็น ส่วนราชการหลัก) ให้ครบถ้วนก่อน จึงจะดำเนินการได้
8. อบต. ประเภทสามัญณะดับสูง และ อบต.ประเภทพิเศษ ให้กำหนดส่วนราชการที่จำเป็น (ส่วนราชการหลัก) ให้ครบทั้ง 8 ส่วนราชการ
9. เอกสารที่ อบต. จะต้องเสนอ ก.อบต. จังหวัดให้ความเห็นชอบ ประกอบด้วย
9.1 ร่างประกาศ เรื่อง กำหนดโครงสร้างการแบ่งส่วนราชการ วิธีการบริหาร และการปฏิบัติของพนักงานส่วนตำบล และกิจการอันเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลในองค์การบริหารส่วนตำบล
9.2 ร่างประกาศ เรื่อง กำหนดกอง หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นขององค์การบริหารส่วนตำบล
9.3 โครงสร้างส่วนราชการ (เปรียบเทียบโครงสร้างเดิมกับโครงสร้างใหม่)
9.4 การวิเคราะห์การกำหนดตำแหน่ง
9.5 ภาระค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับเงินเดือนและประโยชน์ตอบแทนอื่น
9.6 แผนภูมิโครงสร้างการแบ่งส่วนราชการ
9.7 บัญชีแสดงจัดคนลงสู่ตำแหน่งและการกำหนดเลขที่ตำแหน่งในส่วนราชการ
10. เมื่อ อบต. ได้รับความเห็นชอบจาก ก.อบต. จังหวัดแล้วถือว่าเป็นการปรับปรุงแผนอัตรากำลัง 3 ปี โดย อบต.ต้องประกาศปรับปรุงแผนอัตรากำลัง 3 ปี ไปในคราวเดียวกัน และประกาศโครงสร้างส่วนราชการและอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการดังกล่าวต่อไป
ดาวน์โหลด