Categories
งานราชการ-รัฐวิสาหกิจ เปิดสอบที่น่าสนใจ

กรมสรรพากร เปิดรับสมัครสอบข้าราชการ 25 ม.ค. -17 ก.พ. 2564 รวม 631 อัตรา,

กรมสรรพากร

ลิงค์: https://ehenx.com/12231/ หรือ
ตำแหน่ง: นักตรวจสอบภาษีปฏิบัติการ,เจ้าพนักงานสรรพากรปฏิบัติงาน,เจ้าพนักงานพัสดุปฏิับัติงาน
ระดับการศึกษา: ปวส.,ปริญญาตรี
อัตราเงินเดือน: 11,500-16,500
อัตราว่าง: 631
ปฏิบัติงานที่: กรุงเทพมหานคร
เปิดรับสมัครตั้งแต่: 25 ม.ค. – 17 ก.พ. 2564
**เฉพาะผู้สอบผ่านภาค ก. ก.พ.**



กรมสรรพากร เปิดรับสมัคร

ประกาศกรมสรรพากร

เรื่อง รับสมัครสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการในตำแหน่นักตรวจสอบภาษีปฏิบัติการ เจ้าพนักงานสรรพากรปฏิบัติงาน และเจ้าพนักงานพัสดุปฏิบัติงาน

ด้วยกรมสรรพากรจะดำเนินการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการในตำแหน่งนักตรวจสอบภาษีปฏิบัติการ เจ้าพนักงานสรรพากรปฏิบัติงาน และเจ้าพนักงานพัสดุปฏิบัิตงาน ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 53 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2551 และหนังสือสำนักงาน ก.พ. ที่ นร 1004/ว 17 ลงวันที่ 11 ธันวาคม 2556 เรื่อง การสรรหา โดยการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุบุคคลเข้ารับราชการ จึงประกาศรับสมัครสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการในตำแหน่งนักตรวจสอบภาษีปฏิบัติการ เจ้าพนักงานสรรพากรปฏิบัติงาน และเจ้าพนักงานพัสดุปฏิบัติงาน ดังรายละเอียดต่อไปนี้

ชื่อตำแหน่ง กลุ่มงาน และรายละเอียดการจ้างงาน

นักตรวจสอบภาษีปฏิบัติการ

ประเภท : วิชาการ ระดับปฏิบัติการ

อัตราว่าง :  อัตรา

อัตราเงินเดือน :  บาท

คุณวุฒิ : ปริญญาตรี


เจ้าพนักงานสรรพากรปฏิบัติงาน

ประเภท : ทั่วไป ระดับปฏิบัติงาน

อัตราว่าง :  อัตรา

อัตราเงินเดือน :  บาท

คุณวุฒิ : ปวส.


เจ้าพนักงานพัสดุปฏิับัติงาน

ประเภท : ทั่วไป ระดับปฏิบัติงาน

อัตราว่าง :  อัตรา

อัตราเงินเดือน :  บาท

คุณวุฒิ : ปวส.

คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง

นักตรวจสอบภาษีปฏิบัติการ

ได้รับปริญญาตรี หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาการบัญชี สาขาวิชาบริหารธุรกิจ ทางการบัญชี


เจ้าพนักงานสรรพากรปฏิบัติงาน

  1. ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกันในสาขาวิชาการบัญชี สาขาวิชาการเงินและการธนาคาร สาขาวิชาการตลาด สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ สาขาวิชาธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ สาขาวิชาภาษาต่างประเทศธุรกิจ สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์ สาขาวิชาการจัดการธุรกิจค้าปลีก สาขาวิชาการจัดการธุรกิจท่องเที่ยว สาขาวิชาการโฆษณาและประชาสัมพันะ์ สาขาวิชาการเลขานุการ สาขาวิชาการโรงแรมและบริการ สาขาวิชขาการจัดการทรัพยากรมนุษย์ สาขาวิชาบริหารธุรกิจ สาขาวิชาการจัดการ สาขาวิชาการจัดการสำนักงาน สาขาวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ หรือสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ จากสถาบันการศึกษาที่ ก.พ. รับรอง หรือ
  2. ได้รับอนุปริญญาหลักสูตร 3 ปี ต่อจากประกาศนียบัตรประโยคมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า ในสาขาวิชาการบัญชี สาขาวิชาบริหารธุรกิจ สาขาิชาการจัดการ สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ สาขาวิชาอุตสาหกรรมทบริการ สาขาวิชาใดสาขาวิชาหนึ่งทางการโฆษณาและประชาสัมพันธ์ หรือสาขาวิชาภาษาวรรณคดี จากสถาบันการศึกษาที่ ก.พ. รับรอง

เจ้าพนักงานพัสดุปฏิับัติงาน

  1. ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หรือคุณวุฒิอย่างอื่น ที่เทียบได้ในระดับเดียวกันในสาขาวิชาการบัญชี สาขาวิชาการเงินและการธนาคาร สาขาวิชาการตลาด สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ สาขาวิชาธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ สาขาวิชาภาษาต่างประเทศธุรกิจ สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์ สาขาวิชาการจัดการธุรกิจค้าปลีก สาขาวิชาการจัดการธุรกิจท่องเที่ยว สาขาวิชาการโฆษณาและประชาสัมพันธ์ สาขาวิชาการเลขานุการ สาขาวิชาการโรงแรมและบริการ สาขาวิชาการจัดการทรัพยกรมนุษย์ สาขาวิชาบริหารธุรกิจ สาขาิวชาการจัดการ สาขาวิชาการจัดการสำนักงาน สาขาวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ หรือสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ จากสถาับนการศึกษาที่ ก.พ. รับรอง หรือ
  2. ได้รับอนุปริญญาหลักสูตร 3 ปี ต่อจากประกาศนียบัตรประโยคมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า ในสาขาวิชาการบัญชี สาขาวิชาบริหารธุรกิจ สาขาวิชาการจัดการ สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ สาขาวิชาอุตสาหกรรมบริการ หรือสาขาวิชาใดสาขาวิชาหนึ่งทางการโฆษณาและประชาสัมพันธ์ หรือสาขาวิชาภาษา วรรณคดี จากสถาบันการศึกษาที่ ก.พ. รับรอง

ลักษณะงานที่ปฏิบัติ

นักตรวจสอบภาษีปฏิบัติการ

ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ที่ต้องใช้ความรู้ ความสามารถทางวิชาการในการทำงาน ปฏิบัติงาน้ดานตรวจสอบภาษี ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่างๆ ดังนี้

1. ด้านการปฏิบัติการ

  1. ตรวจสอบผู้เสียภาษีที่เป็นผู้ประกอบการที่อยู่ในความดูแลในเรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดเก็บภาษี เช่น ตรวจสภาพกิจการ วิเคราะห์ข้อมูลการยื่นแบบชำระภาษี ตรวจสอบยันใบกำกับภาษี ฯลฯ เพื่อให้การบริการจัดเก็บภาษีเป็นไปอย่างถูกต้องตามสภาพข้อเท็จจริง เกิดความเสมอภาคครบถ้วน และไม่ก่อให้เกิดหนี้ภาษีอากรค้าง
  2. ประมวลผลที่ได้จากการศึกษา วิเคราะห์และตรวจสอบข้อมูลเพื่อนำเสนอต่อผู้บังคับบัญชาและข้อพิจารณาลงนามอนุมัติผลการตรวจสอบต่อไป
  3. สืบสวน ป้องกัน ปราบปราม และจับกุมการหลีกเลี่ยง และลักลอบการหนีภาษี เพื่อให้การจ่ายภาษีอากรเป็นไปตามกฎหมายกำหนด

2. ด้านการวางแผน

วางแผนการทำงานที่รับผิดชอบ ร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงานหรือโครงการ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ที่กำหนด

3. ด้านการประสานงาน

  1. ประสานการทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน เพื่อใดห้เกิดความร่วมมือและผลสัมฤทะิ์ตามที่กำหนด
  2. ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แก่บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย

4. ด้านการบริการ

ให้คำปรึกษาแนะนำด้านภาษีอากรแก่ผู้ประกอบการในความดูแล เพื่อสร้างความเข้าใจในนโยบายของส่วนราชการ รวมถึงข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และให้ผู้ประกอบการสามารถดำเนินธุรกิจและเสียภาษีไปในแนวทางที่ถูกต้องและเหมาะสมได้


เจ้าพนักงานสรรพากรปฏิบัติงาน

  Youtube: iqepin LINE it! เพิ่มเพื่อน  

ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้นซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญา ปฏิบัติงานด้านสรรพากร ตามแนวทาง แบบอย่าง ขั้นตอน และวิธีการที่ชัดเจน ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่างๆ ดังนี้

1. ด้านการปฏิบัติการ

  1. รับแบบแสดงรายการ คำร้อง คำขอรับใบอนุญาต และตรวจสอบความถูกต้อง ครบถ้วนของเอกสารหลักฐานต่างๆ และตรวจสอบ ควบคุมการตรวจสอบแยกแฟ้มแสดงรายการและเอกสารที่แนบพิจารณาคำร้อง คำขอหรือเรื่องราวอื่นๆ ในขั้นต้น เพื่อดำเนินการออกใบอนุญาตต่างๆ ตามที่ยื่นเรื่องขอไว้
  2. เก็บรักษาหรือค้นหาหลักฐานและเรื่องอื่นๆ ของผู้เสียภาษีและผู้ประกอบการและรวบรวมข้อมูล เพื่อจัดทำรายงานเสนอผู้บังคับบัญชา
  3. ควบคุม ตรวจสอบโรงงานในด้านการผลิต การบรรจุภาชนะ การปิดแสตมป์อากรการขนส่งและการจัดจำหน่าย เพื่อพิจารณาออกใบอนุญาตในการดำเนินงาน
  4. เร่งรัดภาษีอากรค้าง พิจารณาคืนภาษี ยกเว้นภาษี หรือเรียกค่าปรับ เพื่อเรียกเก็ฐภาษี
  5. รับเบิกจ่าย เก็บรักษา นำส่งเงิน แสตมป์อากรและแบบพิมพ์ ออกหลักฐาน ลงบัญชีและทะเบียนต่างๆ เพื่อเก็บรักษาหลักฐานต่างๆ ไว้เป็นข้อมูลของหน่วยงาน
  6. ปรับปรุง แก้ไข ติดตาม ประเมินผลและแก้ปัญหาขัดข้องในการปฏิบัติงานในหน่วยงานที่รับผิดชอบ เพื่อให้การดำเนินงานภายในหน่วยงานสำเร็จลุล่วง
  7. ช่วยคำนวณเกี่ยวกับภาษีอากรที่ไม่ยุ่งยาก ลงรหัสในแบบแสดงรายการเสียภาษีประมวลสถิติเกี่ยวกับภาษี เพื่อเป็นข้อมูลในการเก็บภาษีและเป็ฯข้อมูลในการดำเนินงานอื่นๆ
  8. ร่วมสอดส่องและตรวจการธุรกิจในอำเภอ/จังหวัด เพื่อควบคุม ดูแลการดำเนินงานและการจ่ายภาษีของธุรกิจ/ผู้เสียภาษีนั้นๆ
  9. ออกกำหนดรายรับขั้นต่ำในกิจการขนาดเล็กถึงใหญ่
  10. รวบรวมข้อมูลการปฏิบัติงาน เพื่อจัดทำรายงาน และเสนอผู้บังคับบัญชาในหน่วยงาน

2. ด้านการบริการ

  1. ให้คำแนะนำเกี่ยวกับระเบียบและวิธีการปฏิบัติงานที่อยู่ในความรับผิดชอบแก่ผู้ร่วมงานหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อความเข้าใจอันดีในการปฏิบัติงาน และให้การดำเนินงานสำเร็จลุล่วง
  2. ประสานงานกับบุคคลภายในหน่วยงานเดียวกัน ต่างหน่วยงาน หรือประชาชนทั่วไป เพื่อให้บริการ หรือขอความช่วยเหลือในด้านที่ตนรับผิดชอบ

เจ้าพนักงานพัสดุปฏิับัติงาน

ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้นซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาปฏิบัติงานพัสดุ ตามแนวทาง แบบอย่าง ขั้นตอน และวิธีการที่ชัดเจน ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย

1. ด้านการปฏิบัติการ

  1. ปฏบิัติงานขั้นต้นเกี่ยวกับงานพัสดุในการจัดหา จัดซื้อ ว่าจ้าง การเก็บรักษา นำส่ง การซ่อมแซม และบำรุงรักษาพัสดุ ครุภัณฑ์ อุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ เพื่อให้อยู่ในสภาพดีพร้อมต่อการใช้งาน
  2. ทำทะเบียนการเบิกจ่ายพัสดุ การเก็บรักษาใบสำคัญหลักฐานและเอกสารเกี่ยวกับพัสดุ เพื่อรวบรวมไว้เป็นข้อมูลในการดำเนินงาน
  3. ร่างและตรวจสซื้อสัญญาซื้อ สัญญาจ้าง หนังสือโต้ตอบ บันทึกย่อเรื่องเกี่ยวกับงานพัสดุ เพื่อเป็นหลักฐานในการดำเนินงาน
  4. รายาน สรุปความเห็นเกี่ยวกับงานพัสดุ เพื่อจัดทำรายงาน และนำเสนอผู้บังคับบัญชาในหน่วยงาน
  5. ศึกษาและเสนอความเห็นเกี่ยวกับระเบียบงานพัสดุ เพื่อร่วมพัฒนาให้ระเบียบการปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพและรวดเร็วยิ่งขึ้น
  6. ชี้แจงรายละเอียดข้อเท็จจริงเกี่ยวกับงานพัสดุให้การปฏิบัติงานมีความโปร่งใสตรวจสอบได้

2. ด้านการบริการ

  1. ให้คำแนะนำเกี่ยวกับระเบียบและวิธีการปฏิบัติงานที่อยู่ในความรับผิดชอบแก่ผู้ร่วมงานหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อความเข้าใจอันดีในการปฏิบัติงาน และให้การดำเนินงานสำเร็จลุล่วง
  2. ประสานงานกับบุคคลภายในหน่วยงานเดียวกัน ต่างหน่วยงาน หรือประชาชนทั่วไป เพื่อให้บริการ หรือขอความช่วยเหลือในด้านที่ตนรับผิดชอบ

วิชาที่สอบ

นักตรวจสอบภาษีปฏิบัติการ

ทดสอบความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่งนักตรวจสอบภาษีปฏิบัติบัติการ โดยวิธีการสอบข้อเขียนแบบปรนัย จำนวน 100 ข้อ จำนวนเต็ม 200 คะแนน ใช้เวลาสอบ 3 ชั่วโมง โดยแบ่งเป็น 2 ส่วน ดังนี้

1. ส่วนที่ 1 จำนวน 85 ข้อ จำนวน 170 คะแนน ประกอบด้วย

  1. ความรู้เกี่ยวกับหลักการบัญชีและการวิเคราะห์งบการเงิน
  2. ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับประมวลรัษฎากร
  3. ความรู้เกี่ยวกับกรมสรรพากร วิสัยทัศน์ พันธกิจ โครงสร้าง อำนาจหน้าที่ และภารกิจ
  4. ความรู้ทั่วไป ความรู้เกี่ยวกับสภาพแวดล้อม ข่าวสารด้านเศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยีของประเทศไทยและต่างประเทศในปัจจุบัน

2. ส่วนที่ 2 จำนวน 15 ข้อ จำนวน 30 คะแนน

ทดสอบความรู้ ความเข้า่ใจเกี่ยวกับภาษาัองกฤษ (Structure, Vocabulary, Reading Comprehension)


เจ้าพนักงานสรรพากรปฏิบัติงาน

ทดสอบความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่งเจ้าพนักงานสรรพากรปฏิบัติงาน โดยวิธีการสอบข้อเขียนแบบปรนัย จำนวน 100 ข้อ คะแนนเต็ม 200 คะแนน ใช้เวลาสอบ 3 ชั่วโมง โดยแบ่งเป็น 2 ส่วน ดังนี้

1. ส่วนที่ 1 จำนวน 85 ข้อ จำนวน 170 คะแนน ประกอบด้วย

  1. ความรู้ ความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับหลักภาษีอากร และประมวลรัษฎากร
  2. ความรู้เกี่ยวกับกรมสรรพากร วิสัยทัศน์ พันธกิจ โครงสร้าง อำนาจหน้าที่ และภารกิจ
  3. ความรู้ทั่วไป ความรู้เกี่ยวกับสภาพแวดล้อม ข่าวสารด้านเศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยีของประเทศไทยและต่างประเทศในปัจจุบัน

2. ส่วนที่ 2 จำนวน 15 ข้อ จำนวน 30 คะแนน

ทดสอบความรู้ ความเข้า่ใจเกี่ยวกับภาษาัองกฤษ (Structure, Vocabulary, Reading Comprehension)


เจ้าพนักงานพัสดุปฏิับัติงาน

ทดสอบความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่งเจ้าพนักงานพัสดุปฏิบัติงาน โดยวิธีการสอบข้อเขียน แบบปรนัย จำนวน 100 ข้อ คะแนนเต็ม 200 คะแนน ใช้เวลาสอบ 3 ชั่วโมง โดยแบ่งเป็น 2 ส่วน ดังนี้

1. ส่วนที่ 1 จำนวน 85 ข้อ จำนวน 170 คะแนน ประกอบด้วย

  1. ความรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้าง และการบริหารพัสดุภาครัฐ ความรู้ เกี่ยวกับระบบการบริหารการเงินและการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์ (GFMIS) และความรู้เกี่ยวกับระเบียบคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินว่าด้วยวินัยทางงบประมาณและการคลัง
  2. ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับสภาพแวดล้อม ข่าวสารด้านเศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยีของประเทศไทยและต่างประเทศในปัจจุบัน
  3. ความรู้ ความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับประมวลรัษฎากร
  4. ความรู้เกี่ยวกับกรมสรรพากร วิสัยทัศน์ พันธกิจ โครงสร้าง อำนาจหน้าที่ และภารกิจ

2. ส่วนที่ 2 จำนวน 15 ข้อ จำนวน 30 คะแนน

ทดสอบความรู้ ความเข้า่ใจเกี่ยวกับภาษาัองกฤษ (Structure, Vocabulary, Reading Comprehension)

วิธีการสมัครงานข้าราชการ กรมสรรพากร :สมัครทางอินเทอร์เน็ต  

ผู้ประสงค์จะสมัครสอบ สมัครได้ทางอินเทอร์เน็ตเท่านั้น ตั้งแต่วันที่ 25 ม.ค. – 17 ก.พ. 2564 ตลอด 24 ชั่วโมง ไม่เว้นวันหยุดราชการ

ดาวน์โหลดไฟล์ “กรมสรรพากร

แผนที่ ประกาศ 1 | เว็บรับสมัคร |

Comments

comments