Categories
งานราชการ-รัฐวิสาหกิจ เปิดสอบที่น่าสนใจ

สตง. สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน เปิดรับสมัครสอบข้าราชการ 8 ก.ค. -31 ก.ค. 2563 รวม 67 อัตรา,

สตง.สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน

"สตง. สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน"

ลิงค์: https://ehenx.com/9231/ หรือ
ตำแหน่ง: นักวิชาการตรวจเงินแผ่นดินปฏิบัติการ(บัญชี),นักวิชาการตรวจเงินแผ่นดินปฏิบัติการ(ดำเนินงาน),นิติกรปฏิบัติการ,วิศวกรปฏิบัติการ(โยธา),นักวิเคราะห์นโยบายและแผนปฏิบัติการ
ระดับการศึกษา: ปริญญาตรีทุกสาขา,ปริญญาตรี
อัตราเงินเดือน: 15,000-16,500
อัตราว่าง: 67
ปฏิบัติงานที่: กรุงเทพมหานคร
เปิดรับสมัครตั้งแต่: 8 ก.ค. – 31 ก.ค. 2563
**เฉพาะผู้สอบผ่านภาค ก. ก.พ.**



สตง. สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน เปิดรับสมัคร

ประกาศสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน

เรื่อง รับสมัครสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน

ด้วยสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน จะดำเนินการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน อาศัยอำนาจตามความในข้อ 15 ข้อ 16 (4) แห่งระเบียบคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินว่าด้วยการบริหารบุคคล พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม จึงประกาศรับสมัครสอบแข่งขันฯ ดังรายละเอียดต่อไปนี้

ชื่อตำแหน่ง กลุ่มงาน และรายละเอียดการจ้างงาน

นักวิชาการตรวจเงินแผ่นดินปฏิบัติการ (บัญชี)

อัตราว่าง : 50 อัตรา

อัตราเงินเดือน : 15000-16500 บาท

คุณวุฒิ : ปริญญาตรี


นักวิชาการตรวจเงินแผ่นดินปฏิบัติการ (ดำเนินงาน)

อัตราว่าง : 2 อัตรา

อัตราเงินเดือน : 15000-16500 บาท

คุณวุฒิ : ปริญญาตรี


นิติกรปฏิบัติการ

อัตราว่าง : 6 อัตรา

อัตราเงินเดือน : 15000-16500 บาท

คุณวุฒิ : ปริญญาตรี


วิศวกรปฏิบัติการ (โยธา)

อัตราว่าง : 7 อัตรา

อัตราเงินเดือน : 15000-16500 บาท

คุณวุฒิ : ปริญญาตรี


นักวิเคราะห์นโยบายและแผนปฏิบัติการ

อัตราว่าง : 2 อัตรา

อัตราเงินเดือน : 15000-16500 บาท

คุณวุฒิ : ปริญญาตรี

คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง

นักวิชาการตรวจเงินแผ่นดินปฏิบัติการ (บัญชี)

จะต้องสำเร็จการศึกษาได้รับปริญญาตรีสาขาวิชาการบัญชี หรือเทียบเท่าบัญชี


นักวิชาการตรวจเงินแผ่นดินปฏิบัติการ (ดำเนินงาน)

จะต้องสำเร็จการศึกษาได้รับปริญญาตรีสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ หรือเทียบเท่าทางเศรษฐศาสตร์


นิติกรปฏิบัติการ

จะต้องสำเร็จการศกึษาได้รับปริญญาตรีสาขาวิชานิติศาสตร์


วิศวกรปฏิบัติการ (โยธา)

จะต้องสำเร็จการศึกษาได้รับปริญญาตรีสาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์ ทางวิศวกรรมโยธา ทางวิศวกรรมสิ่งแวดลอม ทางวิศวกรรมสุขาภิบาล ทางวิศวกรรมชลประทาน ทางวิศวกรรมโครงสร้าง หรือทางวิศวกรรมโยธาและบริหารงานก่อสร้าง


นักวิเคราะห์นโยบายและแผนปฏิบัติการ

จะต้องสำเร็จการศึกษาได้รับปริญญาตรี หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกันในทุกสาขาวิชา

ลักษณะงานที่ปฏิบัติ

นักวิชาการตรวจเงินแผ่นดินปฏิบัติการ (บัญชี)

ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ที่ต้องใช้ความรู้ความสามารถทางวิชาการในการทำงาน ปฏิบัติงานเกี่ยวกับงานการตรวจเงินแผ่นดิน ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่างๆ ดังนี้

1. ด้านการปฏิบัติการ

  1. ตรวจเงินแผ่นดินตามนโยบายการตรวจเงินแผ่นดินและหลักเกณฑ์มาตรฐานเกี่ยวกับการตรวจเงินแผ่นดินที่คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินกำหนด มาตรฐานการสอบบัญชี และตามกฎมหายว่าด้วยวินัยการเงินการคลังของรัฐ
  2. ตรวจสอบรายงานการเงินที่หน่วยงานของรัฐส่งให้ตามกฎหมายว่าด้วยวินัยการเงินการคลังของรัฐ
  3. ตรวจสอบรายงานการเงินแผ่นดินประจำปีงบประมาณ และแสดงความเห็นว่าเป็นไปตามกฎหมายและตามความเป็นจริงหรือไม่
  4. ตรวจสอบบัญชีทุนสำรองเงินตราประจปี และแสดงความเห็นว่าเป็นไปตามกฎหมายและตามความเป็นจริงหรือไม่
  5. ดำเนินการตรวจสอบการใช้จ่ายเงินรายการลับหรือเงินที่มีลักษณะคล้ายเงินราชการลับของหน่วยงานรับตรวจ
  6. ตรวจสอบเฉพาะส่วนที่เกี่ยวกับเงินอุดหนุนของหน่วยรับตรวจที่ได้รับเงินอุดหนุนหรือกิจการที่ได้รับเงิน หรือทรัพย์สินลงทุนจากหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ
  7. ดำเนินการตรวจสอบการจัดเก็บภาษีอากร ค่าธรรมเนียม และรายได้อื่นของหน่วยรับตรวจให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ และมติคณะรัฐมนตรี หรือแบบแผนการปฏิบัติราชการ
  8. ติดตามผลการดำเนินงานของหน่วยงานรับตรวจตามข้อเสนอแนะของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน
  9. ปฏิบัติงาด้านวิชาการตรวจเงินแผ่นดินซึ่งมีลักษณะงานเกี่ยวกับการศึกษา วิจัย วิเคราะห์ เสนอความเห็นเกี่ยวกับการพัฒนาระบบและมาตรฐานการตรวจเงินแผ่นดิน ตลอดจนการกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการตรวจสอบและการวินิจฉัยปัญหาที่สำคัญ
  10. ศึกษา วิจัย เพื่อพัฒนามาตรฐาน และคู่มือการตรวจสอบ รวมทั้งให้คำปรึกษา แนะนำในด้านวิชาการ มาตรการ มาตรฐาน และคู่มือการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบ
  11. ศึกษา วิจัย และติดตามความก้าวหน้าทางด้านการตรวจเงินแผ่นดินและด้านเทคโนโลยี เพื่อสร้างองค์ความรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อการเพิ่มประสิทธิผล และประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานตรวจสอบ เผยแพร่ผลงานการวิจัย องค์ความรู้ และนวัตกรรม ปรสานงานกับหน่วยงานภายในและภายนอกเพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางการวิจัย
  12. จัดทำแนวปฏิบัติหรือคู่มือการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์มาตรฐานเกี่ยวกับการตรวจเงินแผ่นดินทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ รวบรวมข้อตรวจพบและข้อเสนอแนะจากการตรวจสอบมาปรับปรุงแนวทางการตรวจสอบให้ทันสมัย เผยแพร่ให้ความรู้และให้คำปรึกษาแนะนำเกี่ยวกับแนวปฏิบัติหรือคู่มือการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์มาตรฐานเกี่ยวกับการตรวจเงินแผ่นดินที่คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินกำหนด
  13. ศึกษา วิเคราะห์ พัฒนาเทคนิค วิธีการตรวจสอบเพื่อประยุกต์ใช้กับงานตรวจสอบหรือองค์ความรู้และนวัตกรรมที่ได้จากการวิจัย เพื่อประยุกต์ใช้กับการตรวจสอบของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินให้เป็นรูปธรรม เผยแพร่ให้ความรู้และให้คำปรึกษาแนะนำในการนำแนวปฏิบัติและคู่มือการตรวจสอบไปใช้ประโยชน์
  14. ศึกษา ค้นคว้า และวิเคราะห์ เพื่อจัดทำความเห็ฯและข้อเสนอในการกำหนดหรือปรับปรุงมาตรฐาน มาตรการ คู่มือการปฏิบัติงาน และการควบคุมคุณภาพการตรวจสอบ ให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล
  15. จัดทำนโยบายการประกันคุณภาพและหลักเกณฑ์การสอบทานเพื่อการประกันคุณภาพ ติดตามผลการควบคุมคุณภาพ รวบรวมและติดตามผลการติดตามด้านคุณภาพการตรวจสอบทั้งภายในและภายนอก จัดทำรายงานผลการสอบทานการประกันคุณภาพ พร้อมข้อเสอนแนะในการปรับปรุงจุดอ่อนหรือข้อบกพร่องที่เกิดขึ้น เผยแพร่ ให้ความรู้และให้คำปรึกษาแนะนำในเรื่องที่เกี่ยวกับคุณภาพงานตรวจสอบ
  16. ปฏิบัติงานตามภารกิจอื่นที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน กฎหมายว่าด้วยวินัยการเงินการคลังของรัฐ และกฎหมายอื่น
  17. ปฏิบัติงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือตามที่ได้รับมอบหมาย

2. ด้านการวางแผน

มีส่วนร่วมในการดำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงานเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายและได้ผลสัมฤทธิ์ตามนโยบายและยุทธศาสตร์ที่กำหนด

3. ด้านการประสานงาน

  1. ประสานการทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน เพื่อให้เกิดความร่วมมือและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนดไว้
  2. ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แก่บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย

4. ด้านการบริการ

  1. ให้คำแนะนำ ตอบปัญหาเบื้องต้นเกี่ยวกับงานในหน้าที่ เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องหรือผู้ที่สนใจได้ทราบข้อมูลและความรู้ต่างๆ ที่เ็นประโยชน์
  2. บันทึกข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการตวจสอบทางระบบสารสนเทศหรือทางอื่นเพื่อให้ผู้สนใจสามารถนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ด้านสถิติ การศึกษาค้นคว้า และอื่นๆ ทีเ่ป็นประโยชน์ต่อการตรวจเงินแผ่นดิน

นักวิชาการตรวจเงินแผ่นดินปฏิบัติการ (ดำเนินงาน)

ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ที่ต้องใช้ความรู้ความสามารถทางวิชาการในการทำงาน ปฏิบัติงานเกี่ยวกับงานการตรวจสอบเงินแผ่นดิน ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัิตงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่างๆ ดังนี้

1. ด้านการปฏิบัติการ

  1. ตรวจสอบผลสัมฤทธิ์และประสิทธิภาพในการใช้จ่ายเงินและทรัพย์สินอื่นของหน่วยรับตรวจหรือที่อยู่ในความรับผิดชอบของหน่วยรับตรวจเพื่อแสดงความเห็นว่า เป็นไปตามวัตถุประสงค์ เป็นไปโดยมีประสิทธิภาพ ประหยัด ได้ผลตามเป้าหมาย และมีผลคุ้มค่าหรือไม่
  2. จัดทำข้อเสนอแนะให้แก่หน่วยรับตรวจในการเพิ่มผลสัมฤทะิ์และประสิทธิภาพในการใช้จ่ายเงินของหน่วยรับตรวจ
  3. ช่วยในการจัดทำรายงานการตรวจสอบ จัดทำข้อสังเกต และกระดาษทำการที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบ ตลอดจนช่วยในการติตามและประเมินผลการตรวจสอบงานที่รับผิดชอบหรือตามที่ได้รับมอบหมาย เพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปตามแผนงานและตัวชี้วัดอย่างมีประสิทธิภาพ
  4. ติดตามผลการดำเนินงานของหน่วยรับตรวจตามข้อเสนอแนะของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน
  5. ปฏิบัติงานด้านวิชาการตรวจเงินแผ่ดนินซึ่งมีลักษณะงานเกี่ยวกับการศึกษา วิจัย วิเคราะห์ เสนอความเห็นเกี่ยวกับการพัฒนาระบบและมาตรฐานการตรวจเงินแผ่นดิน ตลอดจนการกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการตวรจสอบและการวินิจฉัยปัญหาที่สำคัญ
  6. ศึกษา วิจัย เพื่อพัฒนามาตรฐาน และคู่มือการตรวจสอบ รวมทั้งให้คำปรึกษาแนะนำในด้านวิชาการ มาตรการ มาตรฐาน และคู่มือการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบ
  7. ศึกษา วิจัย และติดตามความก้าวหน้าทางด้านการตวจเงินแผ่นดินและด้านเทคโนโลยี เพื่อสร้างองค์ความรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อการเพิ่มประสิทธิผล และประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานตรวจสอบ เผยแพร่งานการวิจัย องค์ความรู้ และนัวตกรรม ประสานงานกับหน่วยงานภายในและภายนอกเพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางการวิจัย
  8. จัดทำแนวปฏิบัติหรือคู่มือการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์มาตรฐานเกี่ยวกับการตรวจเงินแผ่นดินทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ รวบรวมข้อตรวจพบและข้อเสนอแนะจากการตรวจสอบมาปรับปรุงแนวทางการตรวจสอบให้ทันสมัย เผยแพร่ให้ความรู้และให้คำปรึกษาแนะนำเกี่ยวกับแนวปฏิบัติหรือคู่มือการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์มาตรฐานเกี่ยวกับการตรวจเงินแผ่นดินที่คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินกำหนด
  9. ศึกษา วิเคราะห์ พัฒนาเทคนิค วิธีการตรวจสอบเพื่อประยุกต์ใช้กับงานตรวจสอบ หรือองค์ความรู้และนวัตกรรมที่ได้จากการวิจัย เพื่อประยุกต์ใช้กับการตรวจสอบของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินให้เป็นรูปธรรม เผยแพร่ให้ความรู้และให้คำปรึกษาแนะนำในการนำแนวปฏิบัติและคู่มือการตรวจสอบไปใช้ประโยชน์
  10. ศึกษา ค้นคว้า และวิเคราะห์ เพื่อจัดทำความเห็นและข้อเสนอในการกำหนดหรือปรับปรุง มาตรฐาน มาตรการ คู่มือการปฏิบัติงาน และการควบคุมคุณภาพการตรวจสอบ ให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล
  11. จัดทำนโยบายการประกันคุณภาพและหลักเกณฑ์การตสอบทานเพื่อการประกันคุณภาพ ติดตามผลการควบคุมคุณภาพ รวบรวมและติดตามผลการติดตามด้านคุณภาพการตรวจสอบทั้งภายในและภายนอก จัดทำรายงานผลการสอบทานการประกันคุณภาพ พร้อมข้อเสอนแนะในการปรับปรุงจุด่ออนหรือข้อบกพร่องที่เกิดขึ้น เผยแพร่ ให้ความรู้และให้คำปรึกษาแนะนำในเรื่องที่เกี่ยวกับคุณภาพงานตรวจสอบ
  12. ปฏิบัติงานตามภารกิจอื่นที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่ด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน กฎหมายว่าด้วยวินัยการเงินการคลังของรัฐ และกฎหมายอื่น
  13. ปฏิบัติงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือตามที่ได้รับมอบหมาย

2. ด้านการวางแผน

มีส่วนร่วมในการดำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงานเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายและได้ผลสัมฤทธิ์ตามนโยบายและยุทธศาสตร์ที่กำหนด

3. ด้านการประสานงาน

  1. ประสานการทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน เพื่อให้เกิดความร่วมมือและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนดไว้
  2. ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แก่บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย

4. ด้านการบริการ

  Youtube: iqepin LINE it! เพิ่มเพื่อน  

  1. ให้คำแนะนำ ตอบปัญหาเบื้องต้นเกี่ยวกับงานในหน้าที่ เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องหรือผู้ที่สนใจได้ทราบข้อมูลและความรู้ต่างๆ ที่เ็นประโยชน์
  2. บันทึกข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการตวจสอบทางระบบสารสนเทศหรือทางอื่นเพื่อให้ผู้สนใจสามารถนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ด้านสถิติ การศึกษาค้นคว้า และอื่นๆ ทีเ่ป็นประโยชน์ต่อการตรวจเงินแผ่นดิน

นิติกรปฏิบัติการ

ปฏิบัติงานในฐานะผู้ฏิบัติงานระดับต้น ที่ต้องใช้ความรู้ ความสามารถทางวิชาการในการทำงาน ปฏิบัติงานด้านนิติการ ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่างๆ ดังนี้

1. ด้านการปฏิบัติการ

  1. เสนอความเห็นแก่ผู้บังคับบัญชาในการตอบข้อหารือหรือวินิจฉัยปัญหากฎหมาย เกี่ยวกับระเบียบของทางราชการที่มีผลกระทบต่อการดำเนินงานของหน่วยงาน เพื่อเป็นข้อมูลสนับสนุนการพิจารณาของผู้บังคับบัญชา
  2. ศึกษา วิเคราะห์ และวิจัยเพื่อปรับปรุงกฎหมายและระเบียบเกี่ยวกับหน่วยงานที่รับผิดชอบเพื่อให้ทันกับสถานการณ์และอำนวยความสะดวกในการทำงาน โดยพิจารณาถึงความเหมาะสมและเป็นธรรมต่อทุกฝ่าย
  3. ศึกษาข้อมูล รวบรวมแสวงหาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย เสนอความเห็นในการดำเนินการเรื่องใดๆ ที่เกี่ยวกับวินัยข้าราชการ การร้องทุกข์ การพิทักษ์ระบบคุณธรรม รวมถึงการดำเนินการใดๆ ตามกฎหมายปกครองที่เกี่ยวข้องกับการบริหารราชการและการดำเนินคดีของหน่วยงาน เืพ่อใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงานและสามารถดำเนินการได้อย่างถูกต้อง

2. ด้านการวางแผน

มีส่วนร่วมในการดำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงานเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายและได้ผลสัมฤทธิ์ตามนโยบายและยุทธศาสตร์ที่กำหนด

3. ด้านการประสานงาน

  1. ประสานการทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน เพื่อให้เกิดความร่วมมือและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนดไว้
  2. ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แก่บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย

4. ด้านการบริการ

  1. ให้คำแนะนำ ตอบปัญหาเบื้องต้นเกี่ยวกับงานในหน้าที่ เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องหรือผู้ที่สนใจได้ทราบข้อมูลและความรู้ต่างๆ ที่เ็นประโยชน์
  2. บันทึกข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการตวจสอบทางระบบสารสนเทศหรือทางอื่นเพื่อให้ผู้สนใจสามารถนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ด้านสถิติ การศึกษาค้นคว้า และอื่นๆ ทีเ่ป็นประโยชน์ต่อการตรวจเงินแผ่นดิน

วิศวกรปฏิบัติการ (โยธา)

ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ที่ต้องใช้ความรู้ความสามารถทางวิชาการในการทำงานปฏิบัติงานด้านวิศวกรรมที่เกี่ยวข้องกับการตรวจเงินแผ่นดิน ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่างๆ ดังนี้

1. ด้านการปฏิบัติการ

  1. ตวจสอบการจัดซื้อจัดจ้าง การคำนวณ การออกแบบ หรือการก่อสร้างเกี่ยวกับอาคาร ถนน และสิ่งก่อสร้างทั่วไป
  2. การคำนวณราคากลางงานก่อสร้าง การสังเกตการณ์งานตรวจสอบการจัดซื้อจัดจ้าง และแสดงความเห็นว่า เป็นไปตามหลักวิชาการด้านวิศวกรรม กฎหมาย ระเบียบข้อบังคับและมติคณะรัฐมนตรี หรือไม่
  3. ชวยศึกษา ค้นคว้าในเรื่องต่างๆ ประกอบการวิเคราะห์ข้อมูลในการตรวจสอบแผนงาน งานโครงการ การจัดซื้อจัดจ้าง
  4. ตรวจสอบแผนผัง แผนปฏิบัติการ โครงสร้าง รายการคำนวณ รูปแบบทางวิศวกรรมต่างๆ ในงานที่รับผิดชอบให้ถูกต้องตามหลักกฎหมาย หลักวิชาการ และมาตรฐานสากล
  5. ช่วยในการจัดทำรายงานการตรวจสอบ จัดทำข้อสังเกต และกระดาษทำการที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบ ตลอดจนช่วยในการติดตามและประเมินผลการตรวจสอบงานที่รับผิดชอบหรือตามที่ได้รับมอบหมาย เพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปตามแผนงานและตัวชี้วัดอย่างมีประสิทธิภาพ
  6. ปฏิบัติงานอื่นที่เกี่ยวกับงานในความรับผิดชอบหรือตามที่ได้รับมอบหมายซึ่งจำเป็นต้องอาศัยผู้มีความรู้ความสามารถในทางวิศวกรรมศาสตร์

2. ด้านการวางแผน

มีส่วนร่วมในการดำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงานเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายและได้ผลสัมฤทธิ์ตามนโยบายและยุทธศาสตร์ที่กำหนด

3. ด้านการประสานงาน

  1. ประสานการทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน เพื่อให้เกิดความร่วมมือและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนดไว้
  2. ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แก่บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย

4. ด้านการบริการ

  1. ให้คำแนะนำ ตอบปัญหาเบื้องต้นเกี่ยวกับงานในหน้าที่ เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องหรือผู้ที่สนใจได้ทราบข้อมูลและความรู้ต่างๆ ที่เ็นประโยชน์
  2. บันทึกข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการตวจสอบทางระบบสารสนเทศหรือทางอื่นเพื่อให้ผู้สนใจสามารถนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ด้านสถิติ การศึกษาค้นคว้า และอื่นๆ ทีเ่ป็นประโยชน์ต่อการตรวจเงินแผ่นดิน

นักวิเคราะห์นโยบายและแผนปฏิบัติการ

ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานรนะดับต้น ที่ต้องใช้ความรู้ ความสามารถทางวิชาการในการทำงานปฏิบัติงานด้านวิเคราะห์นโยบายและการวางแผน ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่างๆ ดังนี้

1. ด้านการปฏิบัติการ

  1. รวบรวม วิเคราะห์ และประมวลนโยบายของรัฐบาลและสถานการณ์เศรษฐกิจ การเมืองและสังคม ทั้งในและต่างประเทศ เพื่อนำมาสรุปเสนอประกอบการกำหนดนโยบายและเป้าหมายของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน
  2. รวบรวมข้อมูลและศึกษาวิเคราะห์เบื้องต้นเกี่ยวกับภารกิจหลักและแผนกลยุทธ์ของสำนักงานการตวจเงินแผ่นดิน หรือทิศทางการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม การเมือง เพื่อวางแผนและกำหนดแผนการปฏิบัติงานหรือโครงการให้สามารถบรรลุเป้าหมายภารกิจของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน
  3. วิเคราะห์นโยบายของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน หรือนโยบาย แผนงาน และโครงการทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง การบริหาร เพื่อช่วยจัดทำแผนการปฏิบัติงาน แผนงาน โครงการ หรือกิจกรรมได้ตามวัตถุประสงค์
  4. สำรวจ รวบรวม และประมวลผลข้อมูล การดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาล และประเด็นปัญหาทางเศรษฐกิจ การเมืองและสังคม ทั้งในและต่างประเทศ เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับการจัดทำแผนงานหรือกำหนดยุทธศาสตร์การตวรจเงินแผ่นดิน
  5. ศึกษา วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างยุทธศาสตร์และนโยบาย เพื่อประกอบการเสนอแนะแนวทางการประสานผลักดันยุทธศาสตร์และนโยบาย ตลอดจนการติดตามประเมินผลให้สอดคล้องไปในแนวทางเดียวกัน
  6. ปฏิบัติงานอื่นที่เกี่ยวข้องกับงานนโยบายและแผน หรืองานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย

2. ด้านการวางแผน

มีส่วนร่วมในการดำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงานเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายและได้ผลสัมฤทธิ์ตามนโยบายและยุทธศาสตร์ที่กำหนด

3. ด้านการประสานงาน

  1. ประสานการทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน เพื่อให้เกิดความร่วมมือและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนดไว้
  2. ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แก่บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย

4. ด้านการบริการ

  1. ให้คำแนะนำ ตอบปัญหาเบื้องต้นเกี่ยวกับงานในหน้าที่ เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องหรือผู้ที่สนใจได้ทราบข้อมูลและความรู้ต่างๆ ที่เ็นประโยชน์
  2. บันทึกข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการตวจสอบทางระบบสารสนเทศหรือทางอื่นเพื่อให้ผู้สนใจสามารถนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ด้านสถิติ การศึกษาค้นคว้า และอื่นๆ ทีเ่ป็นประโยชน์ต่อการตรวจเงินแผ่นดิน

วิชาที่สอบ

หลักสูตรการสอบแข่งขันแบ่งออกเป็น 2 ภาค คือ

ภาคความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง (ภาค ข.) (คะแนนเต็ม 200 คะแนน) ทดสอบความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง โดยวิธีการสอบข้อเขียน

นักวิชาการตรวจเงินแผ่นดินปฏิบัติการ (บัญชี)

วิชาความรู้ความสามารถที่ใช้ในการปฏิบัติงาน (คะแนนเต็ม 200 คะแนน)

  1. หลักการทั่วไป กระบวนการ และเทคนิค/แนวปฏิบัติเกี่ยวกับการสอบบัญชี
  2. มาตรฐานการสอบบัญ๙ี มาตรฐานงานสอบทาน มาตรฐานงานที่ให้ความเชื่อมั่น และมาตรฐานงานบริการเกีา่ยวเนื่อง
  3. มาตรฐานการรายงานทางการเงิน
  4. มาตรฐานการบัญชีภาครัฐ และนโยบายการบัญชีภาครัฐ
  5. กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการสอบบัญชี ขอบเขตเนื้อหา ประกอบด้วย
    1. ประมวลรัษฎากร
    2. พระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ.2547
    3. พระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ.2543
    4. พระราชบัญญัติเงินคงคลัง พ.ศ.2491 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
    5. พระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ.2561
    6. พระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ.2561

นักวิชาการตรวจเงินแผ่นดินปฏิบัติการ (ดำเนินงาน)

วิชาความรู้ความสามารถที่ใช้ในการปฏิบัติงาน (คะแนนเต็ม 200 คะแนน)

  1. เศรษฐศาสตร์จุลภาคและมหภาค (Micro-Macro Economic)
  2. การวิเคราะห์ภาวะเศรษฐกิจ การเงินและการคลัง (Ecoomic Analysis)
  3. การวิเคราะห์โครงการ (Project Appraisal or Feasibility Study)
  4. การประเมินผลโครงการ (Project Evaluation)

นิติกรปฏิบัติการ

วิชาความรู้ความสามารถที่ใช้ในการปฏิบัติงาน (คะแนนเต็ม 200 คะแนน)

  1. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560
  2. พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ.2561
  3. พระราชบัญญัติความรับิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539
  4. พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
  5. พระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ.2561
  6. พระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ.2561
  7. ประมลกฎหมายอาญา
  8. ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
  9. ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
  10. ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
  11. ประกาศคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการร้องทุกข์และการพิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์ ลงวันที่ 5 กันยายน พ.ศ.2562
  12. พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสาร พ.ศ.2540

วิศวกรปฏิบัติการ (โยธา)

วิชาความรู้ความสามารถที่ใช้ในการปฏิบัติงาน (คะแนนเต็ม 200 คะแนน)

  1. ความรู้พื้นฐานทางวิศวกรรมโยธา
  2. ความรู้เกี่ยวกับการควบคุม การบริหารงานก่อสร้าง
  3. ความรู้ด้านการสำรวจ งานก่อสร้างอาคาร งานก่อสร้างทาง งานก่อสร้างชลประทาน
  4. ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายการก่อสร้าง
    • พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
    • พระราชบัญญัติวิศวกร พ.ศ.2542
    • พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
  5. พระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ.260

นักวิเคราะห์นโยบายและแผนปฏิบัติการ

วิชาความรู้ความสามารถที่ใช้ในการปฏิบัติงาน (คะแนนเต็ม 200 คะแนน)

  1. นโยบาย ยุทธศาสตร์ แผนงาน โครงการ การติดตามและการประเมินผล
  2. การบริหารงานแบบมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์
  3. นโยบายสาธารณะ
  4. การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการจัดการ
  5. ความรู้เกี่ยวกับ
    1. ยุทธศษสตร์ชาติระยะ 20 ปี (พ.ศ.2561-พ.ศ.2580)
    2. แผนปฏิรูปประเทศ
    3. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560-พ.ศ.2564)
    4. นโยบายการตวจเงินแผ่นดิน (พ.ศ.2561-พ.ศ.2565) และยุทธศาสตร์การตรวจเงินแผ่นดิน (พ.ศ.2562-พ.ศ.2565)
    5. พระราชกษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบิรหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
    6. พระราชบัญญัติเงินคงคลัง พ.ศ.2491 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
    7. พระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ.2561
    8. พระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ.2561
ภาคความเหมาะสมกับตำแหน่ง (ภาค ค.) (คะแนนเต็ม 100 คะแนน) ทดสอบความเหมาะสมกับตำแหน่งที่จะบรรจุและแต่งตั้ง ดังนี้
  1. การประเมินด้วยแบบทดสอบทางจิตวิทยา (Psychological Tests) (ไม่มีผลเป็นคะแนน) เป็นการวัดคุณลักษณะและพฤติกรรมของผู้สอบแข่งขันด้วยวิะีการตามหลักการด้านจิตวิทยาเพื่อปรกอบการสัมภาษณ์
  2. การสัมภาษณ์รายบุคคล (Individual Interview) (คะแนนเต็ม 100 คะแนน) เพื่อพิจารณาความเหมาะสมกับตำแหน่ง โดยประเมินจากประวัติส่วนตัว ประวัติการศึกษา ประวัติการทำงาน พฤติกรรมที่ปรากฎทางอื่นของผู้เข้าสอบจากาการสัมภาษณ์ ประสบการณ์ ท่วงที วาจา อุปนิสัย อารมณ์ ทัศนคติ จรรยาบรรณของข้าราชการสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน คุณธรรมจริยธรรมสังคมและสิ่งแวดล้อม ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ปฏิภาณไหวพริบและบุคลิกภาพอย่างอื่น และอืื่นๆ ที่จำเป็นสำหรับการเป็นข้าราชการสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน

วิธีการสมัครงานข้าราชการ สตง. สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน :สมัครทางอินเทอร์เน็ต  

ผู้ประสงค์จะสมัครสอบ สมัครได้ทางอินเทอร์เน็ตเท่านั้น ตั้งแต่วันที่ 8 ก.ค. – 31 ก.ค. 2563 ตลอด 24 ชั่วโมง ไม่เว้นวันหยุดราชการ

ดาวน์โหลดไฟล์ “สตง. สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน

แผนที่ | ประกาศ 1 | 2 | เว็บรับสมัคร |

Comments

comments