"สตง. สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน"
ลิงค์: https://ehenx.com/9231/ หรือ
ตำแหน่ง: นักวิชาการตรวจเงินแผ่นดินปฏิบัติการ(บัญชี),นักวิชาการตรวจเงินแผ่นดินปฏิบัติการ(ดำเนินงาน),นิติกรปฏิบัติการ,วิศวกรปฏิบัติการ(โยธา),นักวิเคราะห์นโยบายและแผนปฏิบัติการ
ระดับการศึกษา: ปริญญาตรีทุกสาขา,ปริญญาตรี
อัตราเงินเดือน: 15,000-16,500
อัตราว่าง: 67
ปฏิบัติงานที่: กรุงเทพมหานคร
เปิดรับสมัครตั้งแต่: 8 ก.ค. – 31 ก.ค. 2563
**เฉพาะผู้สอบผ่านภาค ก. ก.พ.**
—
สตง. สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน เปิดรับสมัคร
เรื่อง รับสมัครสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน
ด้วยสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน จะดำเนินการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน อาศัยอำนาจตามความในข้อ 15 ข้อ 16 (4) แห่งระเบียบคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินว่าด้วยการบริหารบุคคล พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม จึงประกาศรับสมัครสอบแข่งขันฯ ดังรายละเอียดต่อไปนี้
นักวิชาการตรวจเงินแผ่นดินปฏิบัติการ (บัญชี)
อัตราว่าง : 50 อัตรา
อัตราเงินเดือน : 15000-16500 บาท
คุณวุฒิ : ปริญญาตรี
นักวิชาการตรวจเงินแผ่นดินปฏิบัติการ (ดำเนินงาน)
อัตราว่าง : 2 อัตรา
อัตราเงินเดือน : 15000-16500 บาท
คุณวุฒิ : ปริญญาตรี
นิติกรปฏิบัติการ
อัตราว่าง : 6 อัตรา
อัตราเงินเดือน : 15000-16500 บาท
คุณวุฒิ : ปริญญาตรี
วิศวกรปฏิบัติการ (โยธา)
อัตราว่าง : 7 อัตรา
อัตราเงินเดือน : 15000-16500 บาท
คุณวุฒิ : ปริญญาตรี
นักวิเคราะห์นโยบายและแผนปฏิบัติการ
อัตราว่าง : 2 อัตรา
อัตราเงินเดือน : 15000-16500 บาท
คุณวุฒิ : ปริญญาตรี
คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
นักวิชาการตรวจเงินแผ่นดินปฏิบัติการ (บัญชี)
จะต้องสำเร็จการศึกษาได้รับปริญญาตรีสาขาวิชาการบัญชี หรือเทียบเท่าบัญชี
นักวิชาการตรวจเงินแผ่นดินปฏิบัติการ (ดำเนินงาน)
จะต้องสำเร็จการศึกษาได้รับปริญญาตรีสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ หรือเทียบเท่าทางเศรษฐศาสตร์
นิติกรปฏิบัติการ
จะต้องสำเร็จการศกึษาได้รับปริญญาตรีสาขาวิชานิติศาสตร์
วิศวกรปฏิบัติการ (โยธา)
จะต้องสำเร็จการศึกษาได้รับปริญญาตรีสาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์ ทางวิศวกรรมโยธา ทางวิศวกรรมสิ่งแวดลอม ทางวิศวกรรมสุขาภิบาล ทางวิศวกรรมชลประทาน ทางวิศวกรรมโครงสร้าง หรือทางวิศวกรรมโยธาและบริหารงานก่อสร้าง
นักวิเคราะห์นโยบายและแผนปฏิบัติการ
จะต้องสำเร็จการศึกษาได้รับปริญญาตรี หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกันในทุกสาขาวิชา
ลักษณะงานที่ปฏิบัติ
นักวิชาการตรวจเงินแผ่นดินปฏิบัติการ (บัญชี)
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ที่ต้องใช้ความรู้ความสามารถทางวิชาการในการทำงาน ปฏิบัติงานเกี่ยวกับงานการตรวจเงินแผ่นดิน ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่างๆ ดังนี้
1. ด้านการปฏิบัติการ
- ตรวจเงินแผ่นดินตามนโยบายการตรวจเงินแผ่นดินและหลักเกณฑ์มาตรฐานเกี่ยวกับการตรวจเงินแผ่นดินที่คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินกำหนด มาตรฐานการสอบบัญชี และตามกฎมหายว่าด้วยวินัยการเงินการคลังของรัฐ
- ตรวจสอบรายงานการเงินที่หน่วยงานของรัฐส่งให้ตามกฎหมายว่าด้วยวินัยการเงินการคลังของรัฐ
- ตรวจสอบรายงานการเงินแผ่นดินประจำปีงบประมาณ และแสดงความเห็นว่าเป็นไปตามกฎหมายและตามความเป็นจริงหรือไม่
- ตรวจสอบบัญชีทุนสำรองเงินตราประจปี และแสดงความเห็นว่าเป็นไปตามกฎหมายและตามความเป็นจริงหรือไม่
- ดำเนินการตรวจสอบการใช้จ่ายเงินรายการลับหรือเงินที่มีลักษณะคล้ายเงินราชการลับของหน่วยงานรับตรวจ
- ตรวจสอบเฉพาะส่วนที่เกี่ยวกับเงินอุดหนุนของหน่วยรับตรวจที่ได้รับเงินอุดหนุนหรือกิจการที่ได้รับเงิน หรือทรัพย์สินลงทุนจากหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ
- ดำเนินการตรวจสอบการจัดเก็บภาษีอากร ค่าธรรมเนียม และรายได้อื่นของหน่วยรับตรวจให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ และมติคณะรัฐมนตรี หรือแบบแผนการปฏิบัติราชการ
- ติดตามผลการดำเนินงานของหน่วยงานรับตรวจตามข้อเสนอแนะของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน
- ปฏิบัติงาด้านวิชาการตรวจเงินแผ่นดินซึ่งมีลักษณะงานเกี่ยวกับการศึกษา วิจัย วิเคราะห์ เสนอความเห็นเกี่ยวกับการพัฒนาระบบและมาตรฐานการตรวจเงินแผ่นดิน ตลอดจนการกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการตรวจสอบและการวินิจฉัยปัญหาที่สำคัญ
- ศึกษา วิจัย เพื่อพัฒนามาตรฐาน และคู่มือการตรวจสอบ รวมทั้งให้คำปรึกษา แนะนำในด้านวิชาการ มาตรการ มาตรฐาน และคู่มือการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบ
- ศึกษา วิจัย และติดตามความก้าวหน้าทางด้านการตรวจเงินแผ่นดินและด้านเทคโนโลยี เพื่อสร้างองค์ความรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อการเพิ่มประสิทธิผล และประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานตรวจสอบ เผยแพร่ผลงานการวิจัย องค์ความรู้ และนวัตกรรม ปรสานงานกับหน่วยงานภายในและภายนอกเพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางการวิจัย
- จัดทำแนวปฏิบัติหรือคู่มือการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์มาตรฐานเกี่ยวกับการตรวจเงินแผ่นดินทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ รวบรวมข้อตรวจพบและข้อเสนอแนะจากการตรวจสอบมาปรับปรุงแนวทางการตรวจสอบให้ทันสมัย เผยแพร่ให้ความรู้และให้คำปรึกษาแนะนำเกี่ยวกับแนวปฏิบัติหรือคู่มือการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์มาตรฐานเกี่ยวกับการตรวจเงินแผ่นดินที่คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินกำหนด
- ศึกษา วิเคราะห์ พัฒนาเทคนิค วิธีการตรวจสอบเพื่อประยุกต์ใช้กับงานตรวจสอบหรือองค์ความรู้และนวัตกรรมที่ได้จากการวิจัย เพื่อประยุกต์ใช้กับการตรวจสอบของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินให้เป็นรูปธรรม เผยแพร่ให้ความรู้และให้คำปรึกษาแนะนำในการนำแนวปฏิบัติและคู่มือการตรวจสอบไปใช้ประโยชน์
- ศึกษา ค้นคว้า และวิเคราะห์ เพื่อจัดทำความเห็ฯและข้อเสนอในการกำหนดหรือปรับปรุงมาตรฐาน มาตรการ คู่มือการปฏิบัติงาน และการควบคุมคุณภาพการตรวจสอบ ให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล
- จัดทำนโยบายการประกันคุณภาพและหลักเกณฑ์การสอบทานเพื่อการประกันคุณภาพ ติดตามผลการควบคุมคุณภาพ รวบรวมและติดตามผลการติดตามด้านคุณภาพการตรวจสอบทั้งภายในและภายนอก จัดทำรายงานผลการสอบทานการประกันคุณภาพ พร้อมข้อเสอนแนะในการปรับปรุงจุดอ่อนหรือข้อบกพร่องที่เกิดขึ้น เผยแพร่ ให้ความรู้และให้คำปรึกษาแนะนำในเรื่องที่เกี่ยวกับคุณภาพงานตรวจสอบ
- ปฏิบัติงานตามภารกิจอื่นที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน กฎหมายว่าด้วยวินัยการเงินการคลังของรัฐ และกฎหมายอื่น
- ปฏิบัติงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือตามที่ได้รับมอบหมาย
2. ด้านการวางแผน
มีส่วนร่วมในการดำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงานเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายและได้ผลสัมฤทธิ์ตามนโยบายและยุทธศาสตร์ที่กำหนด
3. ด้านการประสานงาน
- ประสานการทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน เพื่อให้เกิดความร่วมมือและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนดไว้
- ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แก่บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย
4. ด้านการบริการ
- ให้คำแนะนำ ตอบปัญหาเบื้องต้นเกี่ยวกับงานในหน้าที่ เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องหรือผู้ที่สนใจได้ทราบข้อมูลและความรู้ต่างๆ ที่เ็นประโยชน์
- บันทึกข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการตวจสอบทางระบบสารสนเทศหรือทางอื่นเพื่อให้ผู้สนใจสามารถนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ด้านสถิติ การศึกษาค้นคว้า และอื่นๆ ทีเ่ป็นประโยชน์ต่อการตรวจเงินแผ่นดิน
นักวิชาการตรวจเงินแผ่นดินปฏิบัติการ (ดำเนินงาน)
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ที่ต้องใช้ความรู้ความสามารถทางวิชาการในการทำงาน ปฏิบัติงานเกี่ยวกับงานการตรวจสอบเงินแผ่นดิน ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัิตงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่างๆ ดังนี้
1. ด้านการปฏิบัติการ
- ตรวจสอบผลสัมฤทธิ์และประสิทธิภาพในการใช้จ่ายเงินและทรัพย์สินอื่นของหน่วยรับตรวจหรือที่อยู่ในความรับผิดชอบของหน่วยรับตรวจเพื่อแสดงความเห็นว่า เป็นไปตามวัตถุประสงค์ เป็นไปโดยมีประสิทธิภาพ ประหยัด ได้ผลตามเป้าหมาย และมีผลคุ้มค่าหรือไม่
- จัดทำข้อเสนอแนะให้แก่หน่วยรับตรวจในการเพิ่มผลสัมฤทะิ์และประสิทธิภาพในการใช้จ่ายเงินของหน่วยรับตรวจ
- ช่วยในการจัดทำรายงานการตรวจสอบ จัดทำข้อสังเกต และกระดาษทำการที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบ ตลอดจนช่วยในการติตามและประเมินผลการตรวจสอบงานที่รับผิดชอบหรือตามที่ได้รับมอบหมาย เพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปตามแผนงานและตัวชี้วัดอย่างมีประสิทธิภาพ
- ติดตามผลการดำเนินงานของหน่วยรับตรวจตามข้อเสนอแนะของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน
- ปฏิบัติงานด้านวิชาการตรวจเงินแผ่ดนินซึ่งมีลักษณะงานเกี่ยวกับการศึกษา วิจัย วิเคราะห์ เสนอความเห็นเกี่ยวกับการพัฒนาระบบและมาตรฐานการตรวจเงินแผ่นดิน ตลอดจนการกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการตวรจสอบและการวินิจฉัยปัญหาที่สำคัญ
- ศึกษา วิจัย เพื่อพัฒนามาตรฐาน และคู่มือการตรวจสอบ รวมทั้งให้คำปรึกษาแนะนำในด้านวิชาการ มาตรการ มาตรฐาน และคู่มือการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบ
- ศึกษา วิจัย และติดตามความก้าวหน้าทางด้านการตวจเงินแผ่นดินและด้านเทคโนโลยี เพื่อสร้างองค์ความรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อการเพิ่มประสิทธิผล และประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานตรวจสอบ เผยแพร่งานการวิจัย องค์ความรู้ และนัวตกรรม ประสานงานกับหน่วยงานภายในและภายนอกเพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางการวิจัย
- จัดทำแนวปฏิบัติหรือคู่มือการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์มาตรฐานเกี่ยวกับการตรวจเงินแผ่นดินทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ รวบรวมข้อตรวจพบและข้อเสนอแนะจากการตรวจสอบมาปรับปรุงแนวทางการตรวจสอบให้ทันสมัย เผยแพร่ให้ความรู้และให้คำปรึกษาแนะนำเกี่ยวกับแนวปฏิบัติหรือคู่มือการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์มาตรฐานเกี่ยวกับการตรวจเงินแผ่นดินที่คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินกำหนด
- ศึกษา วิเคราะห์ พัฒนาเทคนิค วิธีการตรวจสอบเพื่อประยุกต์ใช้กับงานตรวจสอบ หรือองค์ความรู้และนวัตกรรมที่ได้จากการวิจัย เพื่อประยุกต์ใช้กับการตรวจสอบของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินให้เป็นรูปธรรม เผยแพร่ให้ความรู้และให้คำปรึกษาแนะนำในการนำแนวปฏิบัติและคู่มือการตรวจสอบไปใช้ประโยชน์
- ศึกษา ค้นคว้า และวิเคราะห์ เพื่อจัดทำความเห็นและข้อเสนอในการกำหนดหรือปรับปรุง มาตรฐาน มาตรการ คู่มือการปฏิบัติงาน และการควบคุมคุณภาพการตรวจสอบ ให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล
- จัดทำนโยบายการประกันคุณภาพและหลักเกณฑ์การตสอบทานเพื่อการประกันคุณภาพ ติดตามผลการควบคุมคุณภาพ รวบรวมและติดตามผลการติดตามด้านคุณภาพการตรวจสอบทั้งภายในและภายนอก จัดทำรายงานผลการสอบทานการประกันคุณภาพ พร้อมข้อเสอนแนะในการปรับปรุงจุด่ออนหรือข้อบกพร่องที่เกิดขึ้น เผยแพร่ ให้ความรู้และให้คำปรึกษาแนะนำในเรื่องที่เกี่ยวกับคุณภาพงานตรวจสอบ
- ปฏิบัติงานตามภารกิจอื่นที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่ด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน กฎหมายว่าด้วยวินัยการเงินการคลังของรัฐ และกฎหมายอื่น
- ปฏิบัติงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือตามที่ได้รับมอบหมาย
2. ด้านการวางแผน
มีส่วนร่วมในการดำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงานเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายและได้ผลสัมฤทธิ์ตามนโยบายและยุทธศาสตร์ที่กำหนด
3. ด้านการประสานงาน
- ประสานการทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน เพื่อให้เกิดความร่วมมือและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนดไว้
- ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แก่บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย
4. ด้านการบริการ
- ให้คำแนะนำ ตอบปัญหาเบื้องต้นเกี่ยวกับงานในหน้าที่ เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องหรือผู้ที่สนใจได้ทราบข้อมูลและความรู้ต่างๆ ที่เ็นประโยชน์
- บันทึกข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการตวจสอบทางระบบสารสนเทศหรือทางอื่นเพื่อให้ผู้สนใจสามารถนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ด้านสถิติ การศึกษาค้นคว้า และอื่นๆ ทีเ่ป็นประโยชน์ต่อการตรวจเงินแผ่นดิน
นิติกรปฏิบัติการ
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ฏิบัติงานระดับต้น ที่ต้องใช้ความรู้ ความสามารถทางวิชาการในการทำงาน ปฏิบัติงานด้านนิติการ ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่างๆ ดังนี้
1. ด้านการปฏิบัติการ
- เสนอความเห็นแก่ผู้บังคับบัญชาในการตอบข้อหารือหรือวินิจฉัยปัญหากฎหมาย เกี่ยวกับระเบียบของทางราชการที่มีผลกระทบต่อการดำเนินงานของหน่วยงาน เพื่อเป็นข้อมูลสนับสนุนการพิจารณาของผู้บังคับบัญชา
- ศึกษา วิเคราะห์ และวิจัยเพื่อปรับปรุงกฎหมายและระเบียบเกี่ยวกับหน่วยงานที่รับผิดชอบเพื่อให้ทันกับสถานการณ์และอำนวยความสะดวกในการทำงาน โดยพิจารณาถึงความเหมาะสมและเป็นธรรมต่อทุกฝ่าย
- ศึกษาข้อมูล รวบรวมแสวงหาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย เสนอความเห็นในการดำเนินการเรื่องใดๆ ที่เกี่ยวกับวินัยข้าราชการ การร้องทุกข์ การพิทักษ์ระบบคุณธรรม รวมถึงการดำเนินการใดๆ ตามกฎหมายปกครองที่เกี่ยวข้องกับการบริหารราชการและการดำเนินคดีของหน่วยงาน เืพ่อใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงานและสามารถดำเนินการได้อย่างถูกต้อง
2. ด้านการวางแผน
มีส่วนร่วมในการดำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงานเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายและได้ผลสัมฤทธิ์ตามนโยบายและยุทธศาสตร์ที่กำหนด
3. ด้านการประสานงาน
- ประสานการทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน เพื่อให้เกิดความร่วมมือและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนดไว้
- ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แก่บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย
4. ด้านการบริการ
- ให้คำแนะนำ ตอบปัญหาเบื้องต้นเกี่ยวกับงานในหน้าที่ เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องหรือผู้ที่สนใจได้ทราบข้อมูลและความรู้ต่างๆ ที่เ็นประโยชน์
- บันทึกข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการตวจสอบทางระบบสารสนเทศหรือทางอื่นเพื่อให้ผู้สนใจสามารถนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ด้านสถิติ การศึกษาค้นคว้า และอื่นๆ ทีเ่ป็นประโยชน์ต่อการตรวจเงินแผ่นดิน
วิศวกรปฏิบัติการ (โยธา)
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ที่ต้องใช้ความรู้ความสามารถทางวิชาการในการทำงานปฏิบัติงานด้านวิศวกรรมที่เกี่ยวข้องกับการตรวจเงินแผ่นดิน ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่างๆ ดังนี้
1. ด้านการปฏิบัติการ
- ตวจสอบการจัดซื้อจัดจ้าง การคำนวณ การออกแบบ หรือการก่อสร้างเกี่ยวกับอาคาร ถนน และสิ่งก่อสร้างทั่วไป
- การคำนวณราคากลางงานก่อสร้าง การสังเกตการณ์งานตรวจสอบการจัดซื้อจัดจ้าง และแสดงความเห็นว่า เป็นไปตามหลักวิชาการด้านวิศวกรรม กฎหมาย ระเบียบข้อบังคับและมติคณะรัฐมนตรี หรือไม่
- ชวยศึกษา ค้นคว้าในเรื่องต่างๆ ประกอบการวิเคราะห์ข้อมูลในการตรวจสอบแผนงาน งานโครงการ การจัดซื้อจัดจ้าง
- ตรวจสอบแผนผัง แผนปฏิบัติการ โครงสร้าง รายการคำนวณ รูปแบบทางวิศวกรรมต่างๆ ในงานที่รับผิดชอบให้ถูกต้องตามหลักกฎหมาย หลักวิชาการ และมาตรฐานสากล
- ช่วยในการจัดทำรายงานการตรวจสอบ จัดทำข้อสังเกต และกระดาษทำการที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบ ตลอดจนช่วยในการติดตามและประเมินผลการตรวจสอบงานที่รับผิดชอบหรือตามที่ได้รับมอบหมาย เพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปตามแผนงานและตัวชี้วัดอย่างมีประสิทธิภาพ
- ปฏิบัติงานอื่นที่เกี่ยวกับงานในความรับผิดชอบหรือตามที่ได้รับมอบหมายซึ่งจำเป็นต้องอาศัยผู้มีความรู้ความสามารถในทางวิศวกรรมศาสตร์
2. ด้านการวางแผน
มีส่วนร่วมในการดำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงานเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายและได้ผลสัมฤทธิ์ตามนโยบายและยุทธศาสตร์ที่กำหนด
3. ด้านการประสานงาน
- ประสานการทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน เพื่อให้เกิดความร่วมมือและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนดไว้
- ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แก่บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย
4. ด้านการบริการ
- ให้คำแนะนำ ตอบปัญหาเบื้องต้นเกี่ยวกับงานในหน้าที่ เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องหรือผู้ที่สนใจได้ทราบข้อมูลและความรู้ต่างๆ ที่เ็นประโยชน์
- บันทึกข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการตวจสอบทางระบบสารสนเทศหรือทางอื่นเพื่อให้ผู้สนใจสามารถนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ด้านสถิติ การศึกษาค้นคว้า และอื่นๆ ทีเ่ป็นประโยชน์ต่อการตรวจเงินแผ่นดิน
นักวิเคราะห์นโยบายและแผนปฏิบัติการ
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานรนะดับต้น ที่ต้องใช้ความรู้ ความสามารถทางวิชาการในการทำงานปฏิบัติงานด้านวิเคราะห์นโยบายและการวางแผน ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่างๆ ดังนี้
1. ด้านการปฏิบัติการ
- รวบรวม วิเคราะห์ และประมวลนโยบายของรัฐบาลและสถานการณ์เศรษฐกิจ การเมืองและสังคม ทั้งในและต่างประเทศ เพื่อนำมาสรุปเสนอประกอบการกำหนดนโยบายและเป้าหมายของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน
- รวบรวมข้อมูลและศึกษาวิเคราะห์เบื้องต้นเกี่ยวกับภารกิจหลักและแผนกลยุทธ์ของสำนักงานการตวจเงินแผ่นดิน หรือทิศทางการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม การเมือง เพื่อวางแผนและกำหนดแผนการปฏิบัติงานหรือโครงการให้สามารถบรรลุเป้าหมายภารกิจของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน
- วิเคราะห์นโยบายของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน หรือนโยบาย แผนงาน และโครงการทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง การบริหาร เพื่อช่วยจัดทำแผนการปฏิบัติงาน แผนงาน โครงการ หรือกิจกรรมได้ตามวัตถุประสงค์
- สำรวจ รวบรวม และประมวลผลข้อมูล การดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาล และประเด็นปัญหาทางเศรษฐกิจ การเมืองและสังคม ทั้งในและต่างประเทศ เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับการจัดทำแผนงานหรือกำหนดยุทธศาสตร์การตวรจเงินแผ่นดิน
- ศึกษา วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างยุทธศาสตร์และนโยบาย เพื่อประกอบการเสนอแนะแนวทางการประสานผลักดันยุทธศาสตร์และนโยบาย ตลอดจนการติดตามประเมินผลให้สอดคล้องไปในแนวทางเดียวกัน
- ปฏิบัติงานอื่นที่เกี่ยวข้องกับงานนโยบายและแผน หรืองานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย
2. ด้านการวางแผน
มีส่วนร่วมในการดำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงานเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายและได้ผลสัมฤทธิ์ตามนโยบายและยุทธศาสตร์ที่กำหนด
3. ด้านการประสานงาน
- ประสานการทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน เพื่อให้เกิดความร่วมมือและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนดไว้
- ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แก่บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย
4. ด้านการบริการ
- ให้คำแนะนำ ตอบปัญหาเบื้องต้นเกี่ยวกับงานในหน้าที่ เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องหรือผู้ที่สนใจได้ทราบข้อมูลและความรู้ต่างๆ ที่เ็นประโยชน์
- บันทึกข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการตวจสอบทางระบบสารสนเทศหรือทางอื่นเพื่อให้ผู้สนใจสามารถนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ด้านสถิติ การศึกษาค้นคว้า และอื่นๆ ทีเ่ป็นประโยชน์ต่อการตรวจเงินแผ่นดิน
วิชาที่สอบ
หลักสูตรการสอบแข่งขันแบ่งออกเป็น 2 ภาค คือ
นักวิชาการตรวจเงินแผ่นดินปฏิบัติการ (บัญชี)
วิชาความรู้ความสามารถที่ใช้ในการปฏิบัติงาน (คะแนนเต็ม 200 คะแนน)
- หลักการทั่วไป กระบวนการ และเทคนิค/แนวปฏิบัติเกี่ยวกับการสอบบัญชี
- มาตรฐานการสอบบัญ๙ี มาตรฐานงานสอบทาน มาตรฐานงานที่ให้ความเชื่อมั่น และมาตรฐานงานบริการเกีา่ยวเนื่อง
- มาตรฐานการรายงานทางการเงิน
- มาตรฐานการบัญชีภาครัฐ และนโยบายการบัญชีภาครัฐ
- กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการสอบบัญชี ขอบเขตเนื้อหา ประกอบด้วย
- ประมวลรัษฎากร
- พระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ.2547
- พระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ.2543
- พระราชบัญญัติเงินคงคลัง พ.ศ.2491 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
- พระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ.2561
- พระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ.2561
นักวิชาการตรวจเงินแผ่นดินปฏิบัติการ (ดำเนินงาน)
วิชาความรู้ความสามารถที่ใช้ในการปฏิบัติงาน (คะแนนเต็ม 200 คะแนน)
- เศรษฐศาสตร์จุลภาคและมหภาค (Micro-Macro Economic)
- การวิเคราะห์ภาวะเศรษฐกิจ การเงินและการคลัง (Ecoomic Analysis)
- การวิเคราะห์โครงการ (Project Appraisal or Feasibility Study)
- การประเมินผลโครงการ (Project Evaluation)
นิติกรปฏิบัติการ
วิชาความรู้ความสามารถที่ใช้ในการปฏิบัติงาน (คะแนนเต็ม 200 คะแนน)
- รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560
- พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ.2561
- พระราชบัญญัติความรับิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539
- พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
- พระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ.2561
- พระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ.2561
- ประมลกฎหมายอาญา
- ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
- ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
- ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
- ประกาศคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการร้องทุกข์และการพิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์ ลงวันที่ 5 กันยายน พ.ศ.2562
- พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสาร พ.ศ.2540
วิศวกรปฏิบัติการ (โยธา)
วิชาความรู้ความสามารถที่ใช้ในการปฏิบัติงาน (คะแนนเต็ม 200 คะแนน)
- ความรู้พื้นฐานทางวิศวกรรมโยธา
- ความรู้เกี่ยวกับการควบคุม การบริหารงานก่อสร้าง
- ความรู้ด้านการสำรวจ งานก่อสร้างอาคาร งานก่อสร้างทาง งานก่อสร้างชลประทาน
- ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายการก่อสร้าง
- พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
- พระราชบัญญัติวิศวกร พ.ศ.2542
- พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
- พระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ.260
นักวิเคราะห์นโยบายและแผนปฏิบัติการ
วิชาความรู้ความสามารถที่ใช้ในการปฏิบัติงาน (คะแนนเต็ม 200 คะแนน)
- นโยบาย ยุทธศาสตร์ แผนงาน โครงการ การติดตามและการประเมินผล
- การบริหารงานแบบมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์
- นโยบายสาธารณะ
- การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการจัดการ
- ความรู้เกี่ยวกับ
- ยุทธศษสตร์ชาติระยะ 20 ปี (พ.ศ.2561-พ.ศ.2580)
- แผนปฏิรูปประเทศ
- แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560-พ.ศ.2564)
- นโยบายการตวจเงินแผ่นดิน (พ.ศ.2561-พ.ศ.2565) และยุทธศาสตร์การตรวจเงินแผ่นดิน (พ.ศ.2562-พ.ศ.2565)
- พระราชกษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบิรหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
- พระราชบัญญัติเงินคงคลัง พ.ศ.2491 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
- พระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ.2561
- พระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ.2561
- การประเมินด้วยแบบทดสอบทางจิตวิทยา (Psychological Tests) (ไม่มีผลเป็นคะแนน) เป็นการวัดคุณลักษณะและพฤติกรรมของผู้สอบแข่งขันด้วยวิะีการตามหลักการด้านจิตวิทยาเพื่อปรกอบการสัมภาษณ์
- การสัมภาษณ์รายบุคคล (Individual Interview) (คะแนนเต็ม 100 คะแนน) เพื่อพิจารณาความเหมาะสมกับตำแหน่ง โดยประเมินจากประวัติส่วนตัว ประวัติการศึกษา ประวัติการทำงาน พฤติกรรมที่ปรากฎทางอื่นของผู้เข้าสอบจากาการสัมภาษณ์ ประสบการณ์ ท่วงที วาจา อุปนิสัย อารมณ์ ทัศนคติ จรรยาบรรณของข้าราชการสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน คุณธรรมจริยธรรมสังคมและสิ่งแวดล้อม ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ปฏิภาณไหวพริบและบุคลิกภาพอย่างอื่น และอืื่นๆ ที่จำเป็นสำหรับการเป็นข้าราชการสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน
วิธีการสมัครงานข้าราชการ สตง. สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน :สมัครทางอินเทอร์เน็ต
ผู้ประสงค์จะสมัครสอบ สมัครได้ทางอินเทอร์เน็ตเท่านั้น ตั้งแต่วันที่ 8 ก.ค. – 31 ก.ค. 2563 ตลอด 24 ชั่วโมง ไม่เว้นวันหยุดราชการ
ดาวน์โหลดไฟล์ “สตง. สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน
แผนที่ | ประกาศ 1 | 2 | เว็บรับสมัคร |