"กรมราชทัณฑ์ "
ลิงค์: https://ehenx.com/6197/ หรือ
ตำแหน่ง: เจ้าพนักงานราชทัณฑ์ปฏิบัติงาน
ระดับการศึกษา: ปวส.ทุกสาขา,ปวส.
อัตราเงินเดือน: 10,840-12,650
อัตราว่าง: 90
ปฏิบัติงานที่: กรุงเทพมหานคร
เปิดรับสมัครตั้งแต่: 7 ก.พ. – 28 ก.พ. 2563
**เฉพาะผู้สอบผ่านภาค ก. ก.พ.**
—
กรมราชทัณฑ์ เปิดรับสมัครสอบ
เรื่อง รับสมัครสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการในตำแหน่งเจ้าพนักงานราชทัณฑ์ปฏิบัติงาน (งานควบคุมผู้ต้องขังชายและอื่นๆ)
ด้วยกรมราชทัณฑ์ จะดำเนินการสอบแข่งขันเืพ่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการในตำแหน่ง เจ้าพนักงานราชทัณฑ์ปฏิบัติงาน (งานควบคุมผู้ต้องขังชายและอื่นๆ) ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 53 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2551 และหนังสือสำนักงาน ก.พ. ที่ นร 1004/ว 17 ลงวันที่ 11 ธันวาคม 2556 เรื่อง การสรรหาโดยการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุบุคคลเข้ารับราชการ จึงประกาศรับสมัครสอบแข่งขันฯ ดังรายละเอียดต่อไปนี้
เจ้าพนักงานราชทัณฑ์ปฏิบัติงาน
อัตราว่าง : 90 อัตรา
อัตราเงินเดือน : 10,840-12,650 บาท
คุณวุฒิ : ปวท., ปวส.
คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
เจ้าพนักงานราชทัณฑ์ปฏิบัติงาน
- ประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิค (ปวท.) หรืออนุปริญญาหลักสูตร 2 ปี ต่อจากประกาศนียบัตรมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า หรือ ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หรืออนุปริญญหลักสูตร 3 ปี ต่อจากประกาศนียบัตรมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า
- เป็นชายที่มีร่างกายแข็งแรง สูงไม่น้อยกว่า 165 เซนติเมตร และรอบอก ไม่น้อยกว่า 80 เซนติเมตร แต่ถ้าขนาดของสัดส่วนใดสัดส่วนหนึ่งน้อยกว่าที่กำหนดไว้ไม่เกิน 2 เซนติเมตร ก็ให้ใช้ได้โดยอนุโลม เมื่อจำนวสนรวมไม่น้อยกว่า 245 เซนติเมตร
- ผู้สมัครสอบต้องเป็นผู้สอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไป ระดับ ปวท. ระดับปนุปริญญา หรือระดับ ปวส. ขึ้นไป ของสำนักงาน ก.พ. ก่อนวันที่กรมราชทัณฑ์ประกาศขึ้นบัญชีผู้สอบแข่งขันได้
ลักษณะงานที่ปฏิบัติ
- ควบคุม ดูแลผู้ต้องขัง ให้อยู่ในระเบียบวินัย และปฏิบัติภารกิจประจำวัน ตามกฎระเบียบของเรือนจำหรือสถานที่ควบคุมต่างๆ ตลอดจนควบคุมผู้ต้องขังไปภายนอกเรือนจำ หรือสถานที่ดังกล่าว เพื่อไม่ให้มีการหลบหนีจากการควบคุม
- ดำเนินกาตามมาตรการควบคุมผู้ต้องขัง และรักษาการณ์เรือนจำ หรือสถานที่ควบคุมต่างๆ เช่น ตรวจนับยอดจำนวนผู้ต้องขัง ตรวจตรา รักษาการณ์รอบอาณาเขตทั้งภายในและภายนอกกำแพง ป้อมบนกำแพง ประตูเข้าออก ตรวจค้นบุคคล ผู้ต้องขัง ยานพาหนะ และพัสดุสิ่งของที่ผ่านเข้าออก การหาข่าว ตลอดจนดำเนินการรักษาความปลอดภัยให้แก่ผู้บังคับบัญชา หรือบุคคลภายนอกที่เข้าเยี่ยมชม หรือติดต่อราชการ การจู่โจมตรวจค้นทั้งในกรณีปกติและในกรณีพิเศษเพื่อให้เกิดความปลอดภัยและความสงบเรียบร้อย
- ดำเนินการรกรณีผูต้องขัง แหกหักหลบหนี หรือก่อเหตุร้ายในเรือนจำ หรือสถานที่ควบคุมต่างๆ เพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อยและเป็นไปตามกฎหมาย หลักเกณฑ์ และมาตรการที่กำหนด
- ดำเนินการสืบสวน สอบสวน เพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงกรณีผู้ต้องขังกระทำผิดวินัยและเสนอแนะการลงโทษทางวินัยดังกล่าว
- ดำเนินการด้านทัณฑปฏิบัิตในเรือนจำ หรือสถานที่ควบคุมต่างๆ เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมาย หลักเกณฑ์ และมาตรการที่กำหนด
- รับและพิจารณาคำร้องทุกข์ของผู้ต้องขัง เพื่อเสนอต่อผู้บังคับบัญชา หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้มีการแก้ไข หรือช่วยเหลือผู้ต้องขังต่อไป
- สอน ให้คำปรึกษา แนะนำ และจัดการศึกษา จัดทำสื่อการเรียนการสอน อบรมพัฒนาจิตใจ และฝึกวิชาชีพ เพื่อการบำบัดฟื้นฟู หรือแก้ไขและพัฒนาพฤตินิสัยของผู้ต้องขัง
- ดำเนินการด้านการจัดสวัสดิการผู้ต้องขัง เช่น สูทกรม การจัดเลี้ยงผู้ต้องขัง งานสงเคราะห์ผู้ต้องขัง เงินฝากผู้ต้องขัง ญาติเยี่ยม สันทนาการ และงานสวัสดิการอื่นที่เรือนจำจัดให้ผูต้องขังเพื่อให้ผู้ต้องขังสามารถดำรงชีพได้อย่างปกติและเหมาะสมตามมาตรฐานที่กำหนด
- ดำเนินการเกี่ยวกับผลการบริหารงานของเรือนจำ หรือสถานที่ควบคุมต่างๆ เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมาย หลักเกณฑ์ และมาตรการที่กำหนด
- ปฏิบัติหน้าที่เข้าเวรรักษาการณ์นอกเวลาราชการ ตามระบบโครงสร้างเวรรักษาการณ์ของเรือนจำ หรือสถานที่ควบคุมต่างๆ เพื่อให้เกิความปลอดภัยและความสงบเรียบร้อย
วิชาที่สอบ
กรมราชทัณฑ์ จะะดำเนินการสอบแข่งขันเพื่อวัดความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง และความเหมาะสมกับตำแนห่ง (คะแนนเต็ม 300 คะแนน) ดังนี้
ทดสอบความรู้ความเข้าใจที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานในตำแหน่งเจ้าพนักงานราชทัณฑ์ปฏิบัติงาน โดยวิธีการสอบข้อเขียน ดังนี้
- พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2551 เฉพาะหมวด 6 หมวด 7 หมวด 8 หมวด 9 และหมวด 10
- พระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พ.ศ.2560 และกฎกระทรวงที่ออกตามความในพระราชบัญญัตินี้ (กฎกระทรวง กำหนดประโยชน์ของนักโทษเด็ดขาด และเงื่อนไขที่นักโทษเด็ดขาดซึ่งได้รับการลดวันต้องโทษจำคุกหรือการพักการลงชโทษและได้รับการปล่อยตัวต้องปฏิบัติ พ.ศ.2562)
- พระราชบัญญัติวินัยข้าราชการกรมราชทัณฑ์ พ.ศ.2482 และจรรยาบรรณข้าราชการกรมราชทัณฑ์
- พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546
- เหตุการณ์ปัจจุบันที่เกี่ยวข้องกับงานราชทัณฑ์ และนโยบายของกรมราชทัณฑ์
ประเมินบุคคลเพื่อพิจารณาความเหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่ โดยวิธีการทดสอบสมรรถภาพของร่างกาย และวิธีการสัมภาษณ์ ดังนี้
1. การทดสอบสมรรถภาพของร่างกาย (คะแนนเต็ม 50 คะแนน)
จะทดสอบสมรรถภาพของร่างกายด้านความแข็งแรงของร่างกาย ความคล่องตัว ความเร็ว ความอดทน โดยให้ผู้สมัครสอบวิ่งเป็นระยะทาง 1,000 เมตร ภายในระยะเวลาที่กำหนด โดยคะแนนที่ได้จะให้ลดหลั่นกันลงมาตามลำดับ ทั้งนี้ คะแนนที่ได้รับขึ้นอยู่ักบระยะเวลาที่ผู้สมัครสอบวิ่งทำเวลาได้ ดังนี้
- ผู้เข้าสอบวิ่งทำเวลาได้ไม่เกิน 4 นาที 20 วินาที ได้คะแนน 50 คะแนน
- ผู้เข้าสอบวิ่งทำเวลาได้ไม่เกิน 5 นาที ได้คะแนน 45 คะแนน
- ผู้เข้าสอบวิ่งทำเวลาได้ไม่เกิน 5 นาที 40 วินาที ได้คะแนน 40 คะแนน
- ผู้เข้าสอบวิ่งทำเวลาได้ไม่เกิน 6 นาที 20 วินาที ได้คะแนน 35 คะแนน
- ผู้เข้าสอบวิ่งทำเวลาได้ไม่เกิน 7 นาที ได้คะแนน 15 คะแนน
- ผู้เข้าสอบวิ่งทำเวลาได้ไม่เกิน 7 นาที หรือวิ่งไม่ถึง 1,000 เมตร ตามระยเทางที่กำหนด หรือวิ่งออกนอกลู่วิ่งก่อนกำหนดระยะทาง ได้คะแนน 0 คะแนน
2. การสัมภาษณ์ (คะแนนเต็ม 50 คะแนน)
เป็นการประเมินบุคคลเืพ่อพิจารณาความเหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่จากประวัติส่วนตัว ประวัติการศึกษา ประวัติการทำงาน จากากรสังเกตพฤติกรรมที่ปรากฎของผู้เข้าสอบ และจากการสัมภาษณ์ ทั้งนี้ อาจใช้วิธีการอื่นใดเพิ่มเติม เพื่อพิจารณาความเหมาะสมในด้านต่างๆ เช่น ความรู้ที่อาจใช้เป็นเประโยชน์ในการปฏิบัติงานในหน้าที่ ความสามารถ าประสบการณ์ ท่วงทีวาจา อุปนิสัย อารมณ์ ทัศนคติ จรรยาบรรณของข้าราชการพลเรือน คุณธรรม จริยธรรม การปรับตัวเข้ากับผู้ร่วมงาน รวมทั้งสังคม และสิ่งแวดล้อม ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ปฏิภาณ ไหวพริบ และบุคลิกภาพอื่น เป็นต้น และรวมถึงสมรรถนะหลัก สมรรถนะที่จำเป็นของตำแหน่ง
วิธีการสมัครงานข้าราชการ กรมราชทัณฑ์ :สมัครทางอินเทอร์เน็ต
ผู้ประสงค์จะสมัครสอบ สมัครได้ทางอินเทอร์เน็ตเท่านั้น ตั้งแต่วันที่ 7 ก.พ. – 28 ก.พ. 2563 ตลอด 24 ชั่วโมง ไม่เว้นวันหยุดราชการ
ดาวน์โหลดไฟล์ “กรมราชทัณฑ์
แผนที่ | ประกาศ 1 | เว็บรับสมัคร |