Categories
ข้อมูลเตรียมสอบงานราชการ

ราชกิจจานุเบกษาแก้ไขเพิ่มเติมล่าสุดพ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติพ.ศ.2562

ราชกิจจานุเบกษา

ราชกิจจานุเบกษา

ลิงค์: https://ehenx.com/2950/ หรือ
เรื่อง: แก้ไขเพิ่มเติมล่าสุดพ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติพ.ศ.2562


ราชกิจจานุเบกษา แก้ไขเพิ่มเติมล่าสุด พ.ร.บ. อุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2562

ประเด็นน่าสนใจ
  • พ.ร.บ. อุทยานฯ ฉบับเดิมนั้นใช้มานานแล้วจึงสมควรได้รับการแก้ไขให้ทันสมัยขึ้น เป็นการแก้ไขทั้งฉบับ โดยยกเลิก พ.ร.บ.อุทยานฯ ฉบับเก่า และใช้ฉบับปี 2562 นี้แทน
  • พ.ร.บ. อุทยานฯ พ.ศ. 2562 นี้จะมีผลบังคับใช้ใน 180 วันนับแต่วันประกาศนี้
  • ปรับเพิ่มโทษ ในหลายมาตรา และมีปรับปรุงครอบคลุมมากขึ้น
  • ท้องถิ่น จะได้รับส่วนแบ่งรายได้ จากการเก็บค่าบัตร ของอุทยานฯ ด้วย เพื่อใช้ในงานด้านอนุรักษ์ฯ
  • จนท. ได้เฮ มีจัดแบ่งรายได้ ช่วยเหลือกรณี บาดเจ็บ ป่วย เสียชีวิต หรือสู้คดีที่เกิดขึ้นในการปฏิบัติหน้าที่มีสินบนนำจับ ให้กับผู้ที่นำจับผู้กระทำความผิดได้ เพื่อเป็นขวัญกำลังใจเจ้าหน้าที่
  • บุกรุก ครอบครอง ทำบ้านพัก มีโทษหนักขึ้น, ไม่รื้อไม่ดำเนินการ โดนอีก พร้อมค่าปรับรายวัน

29 พ.ค. 2562 เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษาได้ประกาศ แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๖๒

สาระสำคัญใน พ.ร.บ. อุทยานฯ 2562

สำหรับในประเด็นสำคัญของการประกาศแก้ไข พ.ร.บ. อุทยานฯ นั้น เนื่องด้วยฉบับเก่านั้น ได้มีการใช้งานมาตั้งแต่ปีพ.ศ. 2504 โดยมีการแก้ไขครั้งล่าสุดปี 2535 ทำให้บทบัญญัติบางข้อ บางประการนั้น ไม่เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบันแล้ว โดยสาระสำคัญในการเปลี่ยนแปลงคือ

เพิ่มเติมให้มีการแบ่งสัดส่วนการจัดเก็บรายได้ที่เกิดขึ้น ให้แก่หน่วยงานปกครองส่วนท้องถิ่นอย่างเทศบาล – อบต. เพื่อใช้ในการดำเนินการส่งเสริมงานการอนุรักษ์ต่างๆ ด้วย (มาตรา 30 , ฉบับเดิม ไม่มีระบุไว้)

เงินเพื่อการอนุรักษ์ ของอุทยานฯ วนอุทยาน สวนพฤษศาสตร์ ฯลฯ ตาม พ.ร.บ. นี้ จะสามารถนำมาช่วยเหลือ จนท. อุทยาน หรือ จนท. ที่ปฏิบัติหน้าที่ได้แล้ว ทั้งในแง่การช่วยเหลือกรณี บาดเจ็บ เสียชีวิต หรือแม้กระทั่งสู้คดีจากการปฏิบัติหน้าที่ (มาตรา 32 (3), ฉบับเดิม ไม่มีระบุไว้)

มีการกำหนดให้ผู้ที่กระทำความเสียหายให้กับทรัพยากร ต้องชดใช้ค่าเสียหาย ซึ่งรวมไปถึงค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการฟื้นฟูการบุกรุกทำลายนั้นด้วย (มาตรา 40 )

บุกรุก ยึดครองที่ดิน แผ้วถาง ฯลฯ มีโทษจำคุก 4-20 ปี ปรับ 4 แสน – 2 ล้าน หรือทั้งจำทั้งปรับ กรณีพื้นที่ที่ถูกบุกรุกเป็นพื้นที่ลุ่มน้ำชั้น 1A โดนเพิ่มอีกครึ่งหนึ่ง (มาตรา 41 )

  Youtube: iqepin LINE it! เพิ่มเพื่อน  

เก็บหาของป่าที่ทำให้เกิดความเสียหายแก่ทรัพยากร มีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 5 แสน หรือทั้งจำทั้งปรับ ( มาตรา 42 )

หากเป็นทรัพยากรที่เกิดใหม่ตามฤดูกาล มูลค่าไม่เกิน 2 พันบาท มีโทษปรับไม่เกิน 5 พันบาท ( มาตรา 42 )

ล่าสัตว์ – ล่อสัตว์ – พาออกนอกเขตอุทยานฯ หรือ ทำอันตรายใด มีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 5 แสน หรือทั้งจำทั้งปรับ ( มาตรา 43 )

เปลี่ยนทางน้ำ กั้นลำน้ำ เบื่อปลา ในลำน้ำในเขตอุทยานฯ มีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 5 แสน หรือทั้งจำทั้งปรับ ( มาตรา 43 )

นำอุปกรณ์ล่าสัตว์ เข้าอุทยาน ปรับ 1 หมื่น แม้ว่าไม่ได้ใช้ก็ตาม ( มาตรา 44)

ยิงปืน จุดพลุ จุดไฟ เผาป่า จุดไฟ โดยไม่ได้รับอนุญาต โดนเต็มๆ จำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือ ปรับไม่เกิน 2 แสน หรือทั้งจำทั้งปรับ ( มาตรา 44 )

ย้ายหลักแนวเขตอุทยานฯ หรือทำลาย ก็โดนแน่นอน จำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 3 แสน หรือทั้งจำทั้งปรับ ( มาตรา 46 )

เจ้าหน้าที่ อุทยานฯ ไล่ออกนอกพื้นที่ ไม่ออกมีโทษ จำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรอืปรับไม่เกิน 5 หมื่น หรือทั้งจำทั้งปรับ ( มาตรา 49 )

บุกรุกพื้นที่ สร้างบ้านพัก ฯลฯ จนท. สั่งรื้อไม่ดำเนินการ มีโทษจำคุก 1-3 ปี ปรับไม่เกิน 3 แสน หรือทั้งจำทั้งปรับ หากยังดื้อไม่ดำเนินการอีก ปรับต่อวันละไม่เกิน 1 หมื่นบาท ( มาตรา 50 )

กรณีมีผู้นำจับ ตามฐานความผิด อัยการสามารถดำเนินการขอให้มีการจ่ายสินบนนำจับ จากค่าปรับที่เกิดขึ้น ไม่เกินครึ่งหนึ่งของค่าปรับ ( มาตรา 55 )

ของกลางในคดี ให้ริบเป็นของหลวง ( มาตรา 56 )

เก็บเห็ด หาของป่า ตามวิถีคนชายขอบทำได้ไหม?

ในบทเฉพาะกาล ได้มีการกล่าวถึงประเด็นของการ เก็บหาของป่า หรือใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่เกิดทดแทนได้ใหม่ในแต่ละฤดูกาลได้ หากไม่ส่งกระทบต่อระบบนิเวศและสภาพธรรมชาติ ซึ่งนอกจากนี้ ยังมีบัญญัติให้มีการจัดทำแบ่ง ( zoning) พื้นที่ของการอนุรักษ์ และการใช้ทรัพยากรธรรมชาติร่วมด้วย

ดังนั้น หากเป็นการเก็บหาของป่า ตามวิถีดั่งเดิมโดยไม่ส่งผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาตินั้นยังคงสามารถทำได้ รวมทั้ง ยังมี พ.ร.บ. ป่าชุมชน ที่จะเข้ามาประกอบกันในประเด็นนี้ด้วย

คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง

แก้ไขเพิ่มเติมล่าสุด พ.ร.บ. อุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2562

 

แก้ไขเพิ่มเติมล่าสุด พ.ร.บ. อุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2562

 

ดาวน์โหลดไฟล์ “ราชกิจจานุเบกษา

แผนที่ | ประกาศ 1 |

Comments

comments