Categories
งานราชการ-รัฐวิสาหกิจ เปิดสอบที่น่าสนใจ

กรมราชทัณฑ์ เปิดรับสมัครสอบข้าราชการ 24 ธ.ค. -18 ม.ค. 2562 รวม 165 อัตรา

กรมราชทัณฑ์

กรมราชทัณฑ์

ลิงค์: https://ehenx.com/1646/ หรือ
ตำแหน่ง: รวม165อัตรา,นักทัณฑวิทยา,นักวิชาการอบรมและฝึกวิชาชีพ,เจ้าพนักงานราชทัณฑ์,เจ้าพนักงานอบรมและฝึกวิชาชีพ
ระดับการศึกษา: ปวส.ทุกสาขา,ปวส.,ปริญญาตรีทุกสาขา,ปริญญาตรี
อัตราเงินเดือน: 10,840-16,500
อัตราว่าง: 165
ปฏิบัติงานที่: กรุงเทพมหานคร
เปิดรับสมัครตั้งแต่: 24 ธ.ค. – 18 ม.ค. 2562
**เฉพาะผู้สอบผ่านภาค ก. ก.พ.**



กรมราชทัณฑ์ เปิดรับสมัครสอบ

ประกาศกรมราชทัณฑ์

เรื่อง รับสมัครสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการในสังกัดกรมราชทัณฑ์

ด้วยกรมราชทัณฑ์ จะดำเนินการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุบุคคลเข้ารับราชการในสังกัดกรมราชทัณฑ์ จึงประกาศรับสมัครบุคคลเข้ารับราชการ จึงประกาศรับสมัครสอบแข่งขันฯ ดังรายละเอียดต่อไปนี้

ชื่อตำแหน่ง กลุ่มงาน และรายละเอียดการจ้างงาน

ตำแหน่ง นักทัณฑวิทยาปฏิบัติการ (งานควบคุมผู้ต้องขังชายและอื่นๆ)

จำนวน 13 อัตรา

คุณวุฒิ ปริญญาตรี

อัตราเงินเดือน 15,000-16,500 บาท


ตำแหน่ง นักทัณฑวิทยาปฏิบัติการ (งานควบคุมผู้ต้องขังหญิงและอื่นๆ)

จำนวน 2 อัตรา

คุณวุฒิ ปริญญาตรี

อัตราเงินเดือน 15,000-16,500 บาท


ตำแหน่ง นักวิชาการอบรมและฝึกวิชาชีพปฏิบัติการ

จำนวน 25 อัตรา

คุณวุฒิ ปริญญาตรี

อัตราเงินเดือน 15,000-16,500 บาท


ตำแหน่ง เจ้พานักงานราชทัณฑ์ปฏิบัติงาน (งานควบคุมผู้ต้องขังชายและอื่นๆ)

จำนวน 100 อัตรา

คุณวุฒิ ปวส.

อัตราเงินเดือน 10,840-12,650 บาท


ตำแหน่ง เจ้าพนักงานอบรมและฝึกวิชาชีพปฏิบัติงานอื่นๆ)

จำนวน 25 อัตรา

คุณวุฒิ ปวส.

อัตราเงินเดือน 10,840-12,650 บาท

คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง

นักทัณฑวิทยาปฏิบัติการ (งานควบคุมผู้ต้องขังชายและอื่นๆ)
  1. เป็นผู้ได้รับปริญญาตรีหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในทุกสาขาวิชา และ
  2. เป็นผู้สอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไป ระดับปริญญาตรีขึ้นไปของสำนักงาน ก.พ. และ
  3. เป็นชายที่มีร่างกายแข็งแรง สูงไม่น้อยกว่า 165 เซนติเมตร และรอบอก ไม่น้อยกว่า 80 เซนติเมตร แต่ถ้าขนาดของสัดส่วนใดสัดส่วนหนึ่งน้อยกว่าที่กำหนดไว้ไม่เกิน 2 เซนติเมตร ก็ให้ใช้ได้โดยอนุโลม เมื่อจำนวนรวมไม่น้อยกว่า 245 เซนติเมตร
นักทัณฑวิทยาปฏิบัติการ (งานควบคุมผู้ต้องขังหญิงและอื่นๆ)
  1. เป็นผู้ได้รับปริญญาตรีหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในทุกสาขาวิชา และ
  2. เป็นผู้สอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไป ระดับปริญญาตรีขึ้นไป ของสำนักงาน ก.พ. และ
  3. เป็นหญิงที่มีร่างกายแข็งแรงเหมาะสมแก่หน้าที่ควบคุมผู้ต้องขัง โดยมีส่วนสูงไม่น้อยกว่า 155 เซนติเมตร
นักวิชาการอบรมและฝึกวิชาชีพปฏิบัติการ
  1. เป็นผู้ได้รับปริญญาตรีหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในทุกสาขาวิชา
  2. เป็นผู้สอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไป ระดับปริญญาตรีขึ้นไป ของสำนักงาน ก.พ.
เจ้าพนักงานราชทัณฑ์ปฏิบัติงาน (งานควบคุมผู้ต้องขังชายและอื่นๆ)
  1. เป็นผู้ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิค (ปวท.) หรืออนุปริญญาหลักสูตร 2 ปี ต่อจากประกาศนียบัตรประโยคมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หรืออนุปริญญาหลักสูตร 3 ปี ต่อจาประกาศนียบัตรประโยคมัธยมศึกษาตอนปลาย ทุกสาขา และ
  2. เป็นผู้สอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไป ระดับ ปวท. ระดับอนุปริญญา และระดับ ปวส. ขึ้นไป ของสำนักงาน ก.พ.
  3. เป็นชายที่มีร่างกายแข็งแรง สูงไม่น้อยกว่า 165 เซนติเมตร และรอบอก ไม่น้อยกว่า 80 เซนติเมตร แต่ถ้าขนาดของสัดส่วนใดสัดส่วนหนึ่งน้อยกว่าที่กำหนดไว้ไม่เกิน 2 เซนติเมตร ก็ให้ใช้ได้โดยอนุโลม เมื่อจำนวนรวมไม่น้อยกว่า 245 เซนติเมตร
เจ้าพนักงานอบรมและฝึกวิชาชีพปฏิบัติงานอื่นๆ)
  1. เป็นผู้ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิค (ปวท.) หรืออนุปริญญาหลักสูตร 2 ปี ต่อจากประกาศนียบัตรประโยคมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หรืออนุปริญญาหลักสูตร 3 ปี ต่อจาประกาศนียบัตรประโยคมัธยมศึกษาตอนปลาย ทุกสาขา และ
  2. เป็นผู้สอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไป ระดับ ปวท. ระดับอนุปริญญา และระดับ ปวส. ขึ้นไป ของสำนักงาน ก.พ.

ลักษณะงานที่ปฏิบัติ

นักทัณฑวิทยาปฏิบัติการ (งานควบคุมผู้ต้องขังชายและอื่นๆ)

หน้าที่ความรับผิดชอบ

ปฏิบัติงานในฐานะผูปฏิบัติงานรดับต้น ที่ต้องใช้ความรู้ ความสามารถทางวิชาการ ในการทำงานปฏิบัติงานด้านราชทัณฑ์ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัิงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่างๆ ดังนี้

โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่างๆ ดังนี้

1. ด้านการปฏิบัติการ

  1. ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย เพื่อพัฒนาระบบ มาตรการ หลักเกณฑ์ เกี่ยวกับด้านทัณฑวิทยา และทัณฑปฏิบัติการ และดำเนินการให้เป็นไปตามหลักวิชาการ กฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ตลอดจนนโยบายของทางราชการ
  2. ศึกษา วิเคราะห์ ตรวจสอบ และดำเนินงานทัณฑวิทยาและทัณฑปฏิบัติในเรือนจำและสถานที่ควบคุมต่างๆ เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมาย หลักเกณฑ์และมาตรการที่กำหนด
  3. ศึกษา วิเคราะห์ และจัดทำมาตรฐานหลักสูตร กิจกรรม และคุณสมบัติผู้ต้องขังตลอดจนจัดการศึกษา อบรม พัฒนาพฤตินิสัย พัฒนาจิตใจ และฝึกวิชาชีพผู้ต้องขัง เพื่อการบำบัดฟื้นฟูหรือแก้ไขและพัฒนาพฤตินิสัยของผู้ต้องขัง
  4. ดำเนินการรวบรวม วิเคราะห์ และประมวลผลข้อมูลเกี่ยวกับสถิติผู้ต้องขังเพื่อประกอบการพิจารณากำหนดนโยบาย และสนับสนุนการบริหารงานของหน่วยงาน
  5. ดำเนินการสืบสวน สอบสวน เพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงกรณีผู้ต้องขังกระทำผิดวินัยและเสนอแนะการลงโทษทางวินัยดังกล่าว
  6. ดำเนินการจัดทำเอกสาร บทความ กิจกรรมต่างๆ ในการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับงานราชทัณฑ์ เพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน และการเรียนรู้ร่วมกันของข้าราชการและผู้สนใจ
  7. ศึกษาค้นคว้าและรวบรวมเอกสารเกี่ยวกับกิจการราชทัณฑ์ นวัตกรรมใหม่ๆ ติดตามความก้าวหน้าของทัณฑวิธีภายในประเทศและต่างประเทศ และเสนอแนะให้นำวิธีการที่เหมาะสม เพื่อนำมาปรับใช้ในงานราชทัณฑ์ของประเทศไทย
  8. ดำเนินการควบคุม ดูแลความเป็นอยู่และจัดสวัสดิการให้กับผู้ต้องขัง เพื่อให้ผู้ต้องขังสามารถดำรงชีพได้อย่างปกติและเหมาะสมตามมาตรฐานที่กำหนด
  9. ดำเนินการเกี่ยวกับการบริหารงานของเรือนจำ หรือสถานที่ควบคุมต่างๆ เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมาย หลักเกณฑ์และมาตรการที่กำหนด
  10. ปฏิบัติหน้าที่เข้าเวรรักษาการณ์นอกเวลาราชการ ตามระบบโครงสร้างเวรรักษาการณ์ของเรือนจำ หรือสถานที่ควบคุมต่างๆ เพื่อให้เกิดความปลอดภัยและความสงบเรียบร้อย

2. ด้านการวางแผน

วางแผนการทำงานที่รับผิดชอบ ร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงานหรือโครงการ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ที่กำหนด

3. ด้านการประสานงาน

  1. ประสานการทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน เพื่อให้เกิดความร่วมมือและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนด
  2. ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แก่บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย

4. ด้านการบริการ

  1. ให้คำปรึกษา แนะนำ และถ่ายทอดความรู้แก่เจ้าหน้าที่ระดับรองลงมาในการปฏิบัติหน้าที่เพื่อช่วยให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
  2. ให้คำปรึกษา แนะนำ การใช้ชีวิตในเรือนจำแก่ผู้ต้องขังเข้าใหม่ และตักเตือนเมื่อผู้ต้องขังจะกระทำผิดกฎ ระเบียบหรือกระทำผิดวินัย เพื่อสร้างความสงบเรียบร้อยภายในเรือนจำ
  3. ปรับปรุงและพัฒนางานบริการประชาชนที่เกี่ยวกับภารกิจของหน่วยงานเพื่อให้สามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  4. ให้คำปรึกษา แนะนำ ชี้แจงและตอบปัญหาเกี่ยวกับงานในหน้าที่ความรับผิดชอบเพื่อสร้างความเข้าใจในระบบงานราชทัณฑ์

ลักษณะพิเศษของงานที่ปฏิบัติ

เป็นเจ้าหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติงานในส่วนกลางของกรมราชทัณฑ์ เรือนจำ/ทัณฑสถาน ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค มีลักษณะงานในสภาพที่อาจเป็นอันตรายในสถานที่ที่ไม่น่าอภิรมย์และตรากตรำ โดยจะมีรอบความถี่ในการเข้าเวรรักษาการณ์นอกเหนือจากงานประจำ

นักทัณฑวิทยาปฏิบัติการ (งานควบคุมผู้ต้องขังหญิงและอื่นๆ)

หน้าที่ความรับผิดชอบ

ปฏิบัติงานในฐานะผูปฏิบัติงานรดับต้น ที่ต้องใช้ความรู้ ความสามารถทางวิชาการ ในการทำงานปฏิบัติงานด้านราชทัณฑ์ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัิงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่างๆ ดังนี้

โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่างๆ ดังนี้

1. ด้านการปฏิบัติการ

  1. ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย เพื่อพัฒนาระบบ มาตรการ หลักเกณฑ์ เกี่ยวกับด้านทัณฑวิทยา และทัณฑปฏิบัติการ และดำเนินการให้เป็นไปตามหลักวิชาการ กฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ตลอดจนนโยบายของทางราชการ
  2. ศึกษา วิเคราะห์ ตรวจสอบ และดำเนินงานทัณฑวิทยาและทัณฑปฏิบัติในเรือนจำและสถานที่ควบคุมต่างๆ เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมาย หลักเกณฑ์และมาตรการที่กำหนด
  3. ศึกษา วิเคราะห์ และจัดทำมาตรฐานหลักสูตร กิจกรรม และคุณสมบัติผู้ต้องขังตลอดจนจัดการศึกษา อบรม พัฒนาพฤตินิสัย พัฒนาจิตใจ และฝึกวิชาชีพผู้ต้องขัง เพื่อการบำบัดฟื้นฟูหรือแก้ไขและพัฒนาพฤตินิสัยของผู้ต้องขัง
  4. ดำเนินการรวบรวม วิเคราะห์ และประมวลผลข้อมูลเกี่ยวกับสถิติผู้ต้องขังเพื่อประกอบการพิจารณากำหนดนโยบาย และสนับสนุนการบริหารงานของหน่วยงาน
  5. ดำเนินการสืบสวน สอบสวน เพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงกรณีผู้ต้องขังกระทำผิดวินัยและเสนอแนะการลงโทษทางวินัยดังกล่าว
  6. ดำเนินการจัดทำเอกสาร บทความ กิจกรรมต่างๆ ในการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับงานราชทัณฑ์ เพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน และการเรียนรู้ร่วมกันของข้าราชการและผู้สนใจ
  7. ศึกษาค้นคว้าและรวบรวมเอกสารเกี่ยวกับกิจการราชทัณฑ์ นวัตกรรมใหม่ๆ ติดตามความก้าวหน้าของทัณฑวิธีภายในประเทศและต่างประเทศ และเสนอแนะให้นำวิธีการที่เหมาะสม เพื่อนำมาปรับใช้ในงานราชทัณฑ์ของประเทศไทย
  8. ดำเนินการควบคุม ดูแลความเป็นอยู่และจัดสวัสดิการให้กับผู้ต้องขัง เพื่อให้ผู้ต้องขังสามารถดำรงชีพได้อย่างปกติและเหมาะสมตามมาตรฐานที่กำหนด
  9. ดำเนินการเกี่ยวกับการบริหารงานของเรือนจำ หรือสถานที่ควบคุมต่างๆ เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมาย หลักเกณฑ์และมาตรการที่กำหนด
  10. ปฏิบัติหน้าที่เข้าเวรรักษาการณ์นอกเวลาราชการ ตามระบบโครงสร้างเวรรักษาการณ์ของเรือนจำ หรือสถานที่ควบคุมต่างๆ เพื่อให้เกิดความปลอดภัยและความสงบเรียบร้อย

2. ด้านการวางแผน

วางแผนการทำงานที่รับผิดชอบ ร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงานหรือโครงการ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ที่กำหนด

3. ด้านการประสานงาน

  1. ประสานการทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน เพื่อให้เกิดความร่วมมือและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนด
  2. ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แก่บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย

4. ด้านการบริการ

  1. ให้คำปรึกษา แนะนำ และถ่ายทอดความรู้แก่เจ้าหน้าที่ระดับรองลงมาในการปฏิบัติหน้าที่เพื่อช่วยให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
  2. ให้คำปรึกษา แนะนำ การใช้ชีวิตในเรือนจำแก่ผู้ต้องขังเข้าใหม่ และตักเตือนเมื่อผู้ต้องขังจะกระทำผิดกฎ ระเบียบหรือกระทำผิดวินัย เพื่อสร้างความสงบเรียบร้อยภายในเรือนจำ
  3. ปรับปรุงและพัฒนางานบริการประชาชนที่เกี่ยวกับภารกิจของหน่วยงานเพื่อให้สามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  4. ให้คำปรึกษา แนะนำ ชี้แจงและตอบปัญหาเกี่ยวกับงานในหน้าที่ความรับผิดชอบเพื่อสร้างความเข้าใจในระบบงานราชทัณฑ์

ลักษณะพิเศษของงานที่ปฏิบัติ

เป็นเจ้าหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติงานในส่วนกลางของกรมราชทัณฑ์ เรือนจำ/ทัณฑสถาน ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค มีลักษณะงานในสภาพที่อาจเป็นอันตรายในสถานที่ที่ไม่น่าอภิรมย์และตรากตรำ โดยจะมีรอบความถี่ในการเข้าเวรรักษาการณ์นอกเหนือจากงานประจำ

  Youtube: iqepin LINE it! เพิ่มเพื่อน  

นักวิชาการอบรมและฝึกวิชาชีพปฏิบัติการ

หน้าที่ความรับผิดชอบ

ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้นซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญา ปฏิบัติงานด้านราชทัณฑ์ ตามแนวทาง แบบอย่าง ขั้นตอน และวิธีการที่ชัดเจน ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย

โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่างๆ ดังนี้

1. ด้านการปฏิบัติการ

  1. ศึกษาวิเคราะห์และจัดทำมาตรฐาน หลักสูตร กิจกรรมและคุณสมบัติของผู้ต้องขังและเด็กและเยาชน ในการจัดการศึกษา อบรมพัฒนาจิตใจ ฝึกวิชาชีพ และอภิบาลและการพินิจ เพื่อให้เด็กและเยาวชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี และเพื่อเป็นมาตรฐานในการดำเนินงานให้เหมาะสมกับผู้ต้องขังและเด็กและเยาวชน
  2. รวบรวม ศึกษา วิเคราะห์เกี่ยวกับปัญหาต่างๆ ในการจัดการศึกษา อบรมพัฒนาจิตใจ ฝึกวิชาชีพ และอภิบาลและการพินิจ เพื่อกำหนดแนวทางการดำเนินงานให้เหมาะสมกับผู้ต้องขังและเด็กและเยาวชน
  3. ดำเนินการจัดการศึกษา จัดทำสื่อการเรียนการสอน อบรมพัฒนาจิตใจ ฝึกวิชาชีพและอภิบาลและการพินิจผู้ต้องขังและเด็กและเยวาชน เพื่อให้โอกาสทางการศึกษาแก่เด็กและเยาวชน เหมาะสมกับสภาพปัญหาของเด็กและเยาวชน และเป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดไว้

2. ด้านการวางแผน

วางแผนการทำงานที่รับผิดชอบ ร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงานหรือโครงการ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ที่กำหนด

3. ด้านการประสานงาน

  1. ประสานการทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน เพื่อให้เกิดความร่วมมือและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนด
  2. ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แก่บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย

4. ด้านการบริการ

  1. ให้คำปรึกษา แนะนำ แก้ปัญหาด้านวิชาการ ที่เกี่ยวกับการจัดการศึกษา อบรมพัฒนาจิตใจ ฝึกวิชาชีพ และอภิบาลและการพินิจ เพื่อสร้างทัศนคติที่ดีและความพึงพอใจแก่เด็กและเยาวชน
  2. เผยแพร่ กาจัดการศึกษา อบรมพัฒนาจิตใจ ฝึกวิชาชีพ และอภิบาลและการพินิจแก่หน่วยงาน หรือบุคคลภายนอก เพื่อสร้างการยอมรับและให้โอกาสทางสังคมแก่เด็กและเยาวชนผู้กระทำผิด

ลักษณะพิเศษของงานที่ปฏิบัติ

เป็นเจ้าหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติงานในส่วนกลางของกรมราชทัณฑ์ เรือนจำ/ทัณฑสถาน ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค มีลักษณะงานในสภาพที่อาจเป็นอันตรายในสถานที่ที่ไม่น่าอภิรมย์และตรากตรำ โดยจะมีรอบความถี่ในการเข้าเวรรักษาการณ์นอกเหนือจากงานประจำ

เจ้าพนักงานราชทัณฑ์ปฏิบัติงาน (งานควบคุมผู้ต้องขังชายและอื่นๆ)

หน้าที่ความรับผิดชอบ

ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้นซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญา ปฏิบัติงานด้านราชทัณฑ์ ตามแนวทาง แบบอย่าง ขั้นตอน และวิธีการที่ชัดเจน ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย

โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่างๆ ดังนี้

1. ด้านการปฏิบัติการ

  1. ควบคุม ดูแลผู้ต้องขัง ให้อยู่ในระเบียบวินัย และปฏิบัติภารกิจประจำวัน ตามกฎรเบียบของเรือนจำไม่ให้หลบหนีจากการควบคุม รวมทั้งการควบคุมผู้ต้องขังไปภายนอกเรือนจำ
  2. ดำเนินการตามมาตรการควบคุมผู้ต้องขังและรักษาการเรือนจำ เช่น ตรวจนับยอดจำนวนผู้ต้องขัง ตรวจตรา รักษาการณ์รอบอาณาเขตเรือนจำ ทั้งภายในและภายนอกกำแพง ป้อมบนกำแพง ประตูเรือนจำ ตรวจค้นบุคคล ผู้ต้องขัง ยานพาหนะ และพัสดุสิ่งของที่ผ่านเข้าออกเรือนจำการหาข่าว ตลอดจนดำเนินการรักษาความปลอดภัยให้แก่ผู้บังคับบัญชา หรือบุคคลภายนอกที่เข้าเยี่ยมชม หรือติดต่อราชการในเรือนจำ รวมทั้งการจู่โจมตรวจค้นทั้งในกรณีปกติและในกรณีพิเศษ รวมทั้งดูแลความมั่นคงและความสงบเรียบร้อยของเรือนจำ
  3. ดำเนินการด้านทัณฑปฏิบัติและสืบสวน สอบสวน หาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับผู้ต้องขังและการพิจารณาเสนอการลงโทษทางวินัยผู้ต้องขัง
  4. สอนให้คำปรึกษา แนะนำและจัดการศึกษา จัดทำสื่อการเรียนการสอน อบรมพัฒนาจิตใจ และฝึกวิชาชีพ รวมถึง การบำบัดฟื้นฟูผู้ต้องขังที่ติดยาเสพติด
  5. ดำเนินการด้านการจัดสวัสดิการผู้ต้องขัง เช่น สูทกรรม การจัดเลี้ยงผู้ต้องขัง งานสงเคราะห์ผู้ต้องขัง เงินฝากผู้ต้องขัง ญาติเยี่ยม สันทนาการ และงานสวัสดิการอื่นที่เรือนจำจัดให้ผู้ต้องขัง
  6. ปฏิบัติหน้าที่เข้าเวรรักษาการณ์เรือนจำ นอกเวลาราชการ ตามระบบโครงสร้างของเรือนจำ

2. ด้านการบริการ

  1. ให้คำปรึกษา แนะนำ และถ่ายทอดความรู้แก่เจ้าหน้าที่ระดับรองลงมาในการปฏิบัติหน้าที่เพื่อช่วยให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
  2. รับเรื่องและพิจารณาคำร้องทุกข์ของผู้ต้องขังเพื่อเสนอผู้บังคับบัญชา หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้มีการแก้ไข หรือช่วยเหลือผู้ต้องขังต่อไป
  3. ให้บริการญาติในการเข้าเยี่ยมผู้ต้องขัง และการติดต่อประสานงานจากหน่วยงานหรือบุคลภายนอกและประชาชนทั่วไป

ลักษณะพิเศษของงานที่ปฏิบัติ

เป็นเจ้าหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติงานในส่วนกลางของกรมราชทัณฑ์ เรือนจำ/ทัณฑสถาน ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค มีลักษณะงานในสภาพที่อาจเป็นอันตรายในสถานที่ที่ไม่น่าอภิรมย์และตรากตรำ โดยจะมีรอบความถี่ในการเข้าเวรรักษาการณ์นอกเหนือจากงานประจำ

เจ้าพนักงานอบรมและฝึกวิชาชีพปฏิบัติงานอื่นๆ)

หน้าที่ความรับผิดชอบ

ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้นซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญา ปฏิบัติงานด้านราชทัณฑ์ ตามแนวทาง แบบอย่าง ขั้นตอน และวิธีการที่ชัดเจน ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย

โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่างๆ ดังนี้

1. ด้านการปฏิบัติการ

  1. อบรมและพัฒนานิสัย ทำการสอนวิชาสามัญและวิชาชีพสาขาต่างๆ ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ และควบคุมดูแลผู้ต้องขังและอภิบาลและการพินิจ
  2. กำหนดแบบหรือออกแบบ หรือดัดแปลงแบบผลิตภัณฑ์ ที่จะฝึกและการอภิบาลและการพินิจ เพื่อปรับปรุงแก้ไข การสอนภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติให้เหมาะสมกับสภาพการณ์
  3. รวบรวมข้อมูล จัดทำรายงาน จัดทำบัญชีผลิตภัณฑ์ต่างๆ คำนวณรายการและประมาณราคาเกี่ยวกับการฝึกวิชาชีพ
  4. ควบคุมการเบิกจ่าย การเก็บรักษาเครื่องมือ เครื่องใช้และวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการปฏิบัติงาน
  5. ปฏิบัติหน้าที่เข้าเวรรักษาการณ์เรือจำนอกเวลาราชการตามระบบโครงสร้างของเรือนจำ

2. ด้านการบริการ

  1. ให้คำปรึกษา แนะนำ ตอบข้อหารือแก่ผู้ปฏิบัติงานหรือผู้ที่สนใจทั่วไปในงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องตามที่ได้รับมอบหมาย

ลักษณะพิเศษของงานที่ปฏิบัติ

เป็นเจ้าหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติงานในส่วนกลางของกรมราชทัณฑ์ เรือนจำ/ทัณฑสถาน ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค มีลักษณะงานในสภาพที่อาจเป็นอันตรายในสถานที่ที่ไม่น่าอภิรมย์และตรากตรำ โดยจะมีรอบความถี่ในการเข้าเวรรักษาการณ์นอกเหนือจากงานประจำ

วิชาที่สอบ

นักทัณฑวิทยาปฏิบัติการ (งานควบคุมผู้ต้องขังชายและอื่นๆ)

กรมราชทัณฑ์จะดำเนินการสอบโดยการประเมินความรู้ความสามารถ ทักษะ และสมรรถนะของผู้เข้าสอบแข่งขันฯ โดยหลักสูตรและวิธีการสอบแข่งขันฯ แบ่งออกเป็น 2 ภาค (คะแนนเต็ม 300 คะแนน) ดังนี้

การสอบเพื่อวัดความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง (คะแนนเต็ม 200 คะแนน)

ทดสอบความรู้ความเข้าใจที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานในตำแหน่งนักทัณฑวิทยาปฏิบัติการ โดยวิธีการสอบข้อเขียนตามขอบเขตวิชาที่ใช้ในการสอบ ดังนี้

  1. พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2551 เฉพาะหมวด 6 หมวด 7 หมวด 8 หมวด 9 และหมวด 10
  2. พระราชบัญญัติราชทัณฑื พ.ศ.2560
  3. พระราชบัญญัติวินัยข้าราชการกรมราชทัณฑ์ พ.ศ.2482 และจรรยาบรรณข้าราชการราชทัณฑ์
  4. พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546
  5. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับอาชญาวิทยาและทัณฑวิทยา และกระบวนการยุติธรรม
  6. เหตุการณ์ปัจจุบันที่เกี่ยวข้องกับงานราชทัณฑ์ และนโยบายของกรมราชทัณฑ์
นักทัณฑวิทยาปฏิบัติการ (งานควบคุมผู้ต้องขังหญิงและอื่นๆ)

กรมราชทัณฑ์จะดำเนินการสอบโดยการประเมินความรู้ความสามารถ ทักษะ และสมรรถนะของผู้เข้าสอบแข่งขันฯ โดยหลักสูตรและวิธีการสอบแข่งขันฯ แบ่งออกเป็น 2 ภาค (คะแนนเต็ม 300 คะแนน) ดังนี้

การสอบเพื่อวัดความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง (คะแนนเต็ม 200 คะแนน)

ทดสอบความรู้ความเข้าใจที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานในตำแหน่งนักทัณฑวิทยาปฏิบัติการ โดยวิธีการสอบข้อเขียนตามขอบเขตวิชาที่ใช้ในการสอบ ดังนี้

  1. พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2551 เฉพาะหมวด 6 หมวด 7 หมวด 8 หมวด 9 และหมวด 10
  2. พระราชบัญญัติราชทัณฑื พ.ศ.2560
  3. พระราชบัญญัติวินัยข้าราชการกรมราชทัณฑ์ พ.ศ.2482 และจรรยาบรรณข้าราชการราชทัณฑ์
  4. พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546
  5. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับอาชญาวิทยาและทัณฑวิทยา และกระบวนการยุติธรรม
  6. เหตุการณ์ปัจจุบันที่เกี่ยวข้องกับงานราชทัณฑ์ และนโยบายของกรมราชทัณฑ์
นักวิชาการอบรมและฝึกวิชาชีพปฏิบัติการ

กรมราชทัณฑ์จะดำเนินการสอบโดยการประเมินความรู้ความสามารถ ทักษะ และสมรรถนะของผู้เข้าสอบแข่งขันฯ โดยหลักสูตรและวิธีการสอบแข่งขันฯ แบ่งออกเป็น 2 ภาค (คะแนนเต็ม 300 คะแนน) ดังนี้

การสอบเพื่อวัดความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง (คะแนนเต็ม 200 คะแนน)

ทดสอบความรู้ความเข้าใจที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานในตำแหน่งนักทัณฑวิทยาปฏิบัติการ โดยวิธีการสอบข้อเขียนตามขอบเขตวิชาที่ใช้ในการสอบ ดังนี้

  1. พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2551 เฉพาะหมวด 6 หมวด 7 หมวด 8 หมวด 9 และหมวด 10
  2. พระราชบัญญัติราชทัณฑื พ.ศ.2560
  3. พระราชบัญญัติวินัยข้าราชการกรมราชทัณฑ์ พ.ศ.2482 และจรรยาบรรณข้าราชการราชทัณฑ์
  4. พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546
  5. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับอาชญาวิทยาและทัณฑวิทยา และกระบวนการยุติธรรม
  6. เหตุการณ์ปัจจุบันที่เกี่ยวข้องกับงานราชทัณฑ์ และนโยบายของกรมราชทัณฑ์
เจ้าพนักงานราชทัณฑ์ปฏิบัติงาน (งานควบคุมผู้ต้องขังชายและอื่นๆ)

กรมราชทัณฑ์จะดำเนินการสอบโดยการประเมินความรู้ความสามารถ ทักษะ และสมรรถนะของผู้เข้าสอบแข่งขันฯ โดยหลักสูตรและวิธีการสอบแข่งขันฯ แบ่งออกเป็น 2 ภาค (คะแนนเต็ม 300 คะแนน) ดังนี้

การสอบเพื่อวัดความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง (คะแนนเต็ม 200 คะแนน)

ทดสอบความรู้ความเข้าใจที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานในตำแหน่งนักทัณฑวิทยาปฏิบัติการ โดยวิธีการสอบข้อเขียนตามขอบเขตวิชาที่ใช้ในการสอบ ดังนี้

  1. พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2551 เฉพาะหมวด 6 หมวด 7 หมวด 8 หมวด 9 และหมวด 10
  2. พระราชบัญญัติราชทัณฑื พ.ศ.2560
  3. พระราชบัญญัติวินัยข้าราชการกรมราชทัณฑ์ พ.ศ.2482 และจรรยาบรรณข้าราชการราชทัณฑ์
  4. พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546
  5. เหตุการณ์ปัจจุบันที่เกี่ยวข้องกับงานราชทัณฑ์ และนโยบายของกรมราชทัณฑ์
เจ้าพนักงานอบรมและฝึกวิชาชีพปฏิบัติงานอื่นๆ)

กรมราชทัณฑ์จะดำเนินการสอบโดยการประเมินความรู้ความสามารถ ทักษะ และสมรรถนะของผู้เข้าสอบแข่งขันฯ โดยหลักสูตรและวิธีการสอบแข่งขันฯ แบ่งออกเป็น 2 ภาค (คะแนนเต็ม 300 คะแนน) ดังนี้

การสอบเพื่อวัดความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง (คะแนนเต็ม 200 คะแนน)

ทดสอบความรู้ความเข้าใจที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานในตำแหน่งนักทัณฑวิทยาปฏิบัติการ โดยวิธีการสอบข้อเขียนตามขอบเขตวิชาที่ใช้ในการสอบ ดังนี้

  1. พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2551 เฉพาะหมวด 6 หมวด 7 หมวด 8 หมวด 9 และหมวด 10
  2. พระราชบัญญัติราชทัณฑื พ.ศ.2560
  3. พระราชบัญญัติวินัยข้าราชการกรมราชทัณฑ์ พ.ศ.2482 และจรรยาบรรณข้าราชการราชทัณฑ์
  4. พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546
  5. เหตุการณ์ปัจจุบันที่เกี่ยวข้องกับงานราชทัณฑ์ และนโยบายของกรมราชทัณฑ์

วิธีการสมัครงานข้าราชการ กรมราชทัณฑ์ :สมัครทางอินเทอร์เน็ต  

ผู้ประสงค์จะสมัครสอบ สมัครได้ทางอินเทอร์เน็ตเท่านั้น ตั้งแต่วันที่ 24 ธ.ค. – 18 ม.ค. 2562 ตลอด 24 ชั่วโมง ไม่เว้นวันหยุดราชการ

ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบ : 25 ม.ค. 2562

ดาวน์โหลดไฟล์ “กรมราชทัณฑ์

แผนที่ | ประกาศ 1 | เว็บรับสมัคร |

Comments

comments