“กทม.“
ลิงค์: https://iqepi.com/37746/ หรือ
เรื่อง:
—
1 ก.ค. 60 เริ่มใช้ภาค ก. กทม. (ภาค ก. ก.พ. ใช้แทนได้)
ที่ผ่านมาหลายท่านคงคุ้นเคยกับ ภาค ก. ก.พ. เมื่อไม่นานมานี้ก็มี ภาค ก. ศาลยุติธรรม แต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2560 เป็นต้นไปจะมี ภาค ก. กทม. ที่มีลักษณะการใช้งานเหมือนภาค ก. ก.พ. เพียงแต่จะใช้สำหรับการสอบแข่งขันบรรจุเป็นข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญเท่านั้น แต่ทาง กทม. ใจดียอมให้ผู้ที่สอบผ่านภาค ก. ก.พ. สามารถยื่นหนังสือรับรองการสอบผ่านภาค ก. ก.พ. แทนการสอบภาค ก. กทม. ได้
เมื่อกรุงเทพมหานคร มีภาค ก. กทม. แล้วสิ่งที่ตามมาคือเกณฑ์การวัดผลในการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญที่จะเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ซึ่งจะสรุปให้ท่านทราบต่อไป หรือคลิกที่ลิงค์ด้านล่างไปอ่านเองก็ได้
จากการที่กรุงเทพมหานครเสนอขออนุมัติหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญ ในตำแหน่งประเภททั่วไป ระดับปฏิบัติงาน และตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับปฏิบัติการ โดยให้มีผลบังคับใช้วันที่ 1 กรกฎาคม 2560
ปัจจุบันสำนักางาน ก.ก. ได้ดำเนินการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญ เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญ ในตำแนห่งประเภททั่วไป ระดับปฏิบัตงาน และตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับปฏิบัติการ ตามมติ ก.ก. ครั้งที่ 1/2554 เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2554 ซึ่งกำหนดให้มีการสอบ 3 ภาค คือ ภาคความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก.) ภาคความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง (ภาค ขง) และภาคความเหมาะสมกับตำแหน่ง (ภาค ค.) ในคราวเดียวกัน ซึ่งพบว่าการสอบแข่งขันเข้ารับราชการของกรุงเทพมหานคร มีผู้สนใจสมัครสอบจำนวนมาก ทำให้ประสบกับปัญหาสถานที่จัดสอบที่ไม่สามารถรองรับกับจำนวนผู้สมัครสอบได้เพียงพอ และผู้ที่จะสมัครสอบต้องสำเร็จการศึกษาแล้วเท่านั้น ซึ่งไม่เปิดโอกาสให้ผู้ที่กำลังจะสำเร็จการศึกษาได้สมัครสอบเข้ารับราชการ สำนักงาน ก.ก. จึงเสนอขอปรับปรุงหลักเกณฑ์ วิธีการ แลเงื่อนไขการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุบุคคเข้ารับราชการเป็นข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญ ในตำแหน่งประเภททั่วไป ระดับปฏิบัติงาน และตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับปฏิบัติการ โดยกำหนดให้มีการสอบเพื่อวัดภาคความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก.) ก่อน ผู้สอบผ่านการสอบเพื่อวัดภาคความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก.) จะได้รับหนังสือรับรองผลการสอบผ่านาภคความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก.) ซึ่งไม่ได้กำหนดอายุการรับรอง และมีสิทธิ์สมัครสอบแข่งขันภาคความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง (ภาค ขง) และภาคความเหมาะสมกับตำแหน่ง (ภาค ค.) เมื่อมีตำแหน่งว่าง ซึ่งจะทำให้ประหยัดงบประมาณ และลดระยะเวลาในการสรรหา ทำให้สามารถเลือกสรรคนดี คนเก่งมาทดแทนตำแหน่งว่างได้เร็วขึ้น ทั้งยังเป็นการสรรหาเชิงรุก เปิดโอกาสให้ผู้ที่กำลังจะสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรในระดับการศึกษาที่กำหนดมีโอกาสสมัครสอบแข่งขันเข้ารับราชการเป็นข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญ ทำให้กรุงเทพมหานคร ได้คนเก่งที่จบการศึกษาใหม่เข้ามาปฏิบัติงานมากขึ้น
ทั้งนี้ทางกรุงเทพมหานครได้มอบให้ฝ่ายเลขานุการตรวจสอบข้อกฎหมายของกรุงเทพมหานครว่าสามารถรับสมัครผู้ที่กำลังจะสำเร็จการศึกษาเพื่อสอบวัดความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก.) ก่อนได้หรือไม่ หากไม่ขัดกับกฎหมายของกรุงเทพมหานคร ก็สามารถดำเนินการตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวได้ ซึ่งในความเห็นของสำนักงาน ก.ก. พิจารณาแล้วเห็นว่าไม่ขัดกับกฎหมายของกรุงเทพมหานครที่กำหนดไว้ในมาตรา 43 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการกรุงเทพมหานครเกี่ยวกับคุณสมบัติทั่วไป
ดังนั้น พื่อให้การสรรหาบุคคลเกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ เป้าหมายและยุทธศาสตร์การบริหารทรัพยากรบุคคลของกรุงเทพมหานคร จึงเห็นควรนำเสนอ ก.ก. พิจารณายกเลิกหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญ ในตำแหน่งประเทภทั่วไป ระดับปฏิบัติงาน และตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับปฏิบัติการ ตามมติ ก.ก. ครั้งที่ 1/2554 เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2554
มติที่ประชุมอนุมัติหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญ ในตำแหน่งประเภททั่วไป ระดับปฏิบัติงาน และตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับปฏิบัติการ ให้มีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 กรกฎาคม 2560
สรุปเข้าใจง่ายๆ ดังนี้
หลังจากวันที่ 1 กรกฎาคม 2560 เป็นต้นไป ท่านที่สมัครสอบแข่งขันเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการกรุงเทพมหานคร หากสอบภาค ก. ผ่านจะได้รับหนังสือรับรองการสอบผ่านภาค ก. กทม. เพื่อใช้แทนการสอบภาค ก. ในการสอบเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญครั้งต่อไป โดยทาง กทม.ก็ไม่ได้กำหนดอายุของภาค ก. กทม. นั่นคือสามารถใช้ได้ตลอดชีวิต แบ่งตามระดับคุณวุฒิเหมือน ภาค ก. ก.พ. ระดับคุณวุฒิที่สูงกว่าใช้แทนการสอบภาค ก. กทม.ในระดับคุณวุฒิที่ต่ำกว่าได้
ภาค ก. กทม.จะแบ่งเป็น 3 วิชาเหมือนภาค ก. ก.พ. คือ วิชาความสามารถทั่วไป วิชาภาษาไทย และวิชาภาษาอังกฤษ และเช่นเดียวกัน หากมีผลการทดสอบภาษาอังกฤษจาก TOEIC TOEFL IELTS CU-TEP Tu-GET ก็สามารถใช้ยื่นแทนการทดสอบวิชาภาษาอังกฤษได้
มาดูเกณฑ์การวัดผล จะเป็นผู้สอบผ่านได้หนังสือรับรองการสอบผ่าน ภาค ก. กทม. จะต้องทำคะแนนส่วนของวิชาความสามารถทั่วไป และวิชาภาษาไทยรวมกันไม่น้อยกว่า 60 คะแนน และทำคะแนนส่วนของวิชาภาษาอังกฤษได้ไม่น้อยกว่า 50 คะแนน
และเด็ดสุดคือ หากท่านมีหนังสือรับรองการสอบภาค ก. ก.พ. แล้วในระดับคุณวุฒิเดียวกันกับตำแหน่งที่ กทม.เปิดรับสมัครสอบ ก็สามารถนำมายื่นแทนการสอบภาค ก. กทม.ได้เลย
ลักษณะการวัดผลเช่นนี้ ทำให้การวัดผลการสอบของ กทม. เปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิง เนื่องจากปกติ กทม.จะตรวจข้อสอบภาค ก. หากผ่านเกณฑ์ 60% ก็จะไปตรวจภาค ข. และหากภาค ข. มีคะแนนเกิน 60% ก็ตรวจภาค ค. แล้วจึงจะนำคะแนนทั้งภาค ก. ภาค ข. และภาค ค. มารวมกัน เพราะไม่มีการเก็บผลการสอบภาค ก. แต่หลังจากนี้จะไม่นำคะแนนภาค ก. มาร่วมในการจัดลำดับอีกต่อไป ภาค ก. จะเป็นเพียงใบผ่านเพื่อไปสมัครสอบภาค ข. และภาค ค. เท่านั้น โดยการจัดลำดับเพื่อขึ้นบัญชีเรียกบรรจุจะใช้คะแนนภาค ข. และภาค ค. เท่านั้น โดยดูคะแนนส่วนของภาค ข. ก่อนหากเท่ากันจึงจะมาดูคะแนนส่วนของภาค ค. สรุปง่ายๆ คือการจัดลำดับเพื่อขึ้นบัญชีเรียกบรรจุความสำคัญจะอยู่ที่คะแนนของภาค ข. ล้วนๆ เลย
ดาวน์โหลดไฟล์ กทม. คลิกที่ลิงค์ด้านล่าง
ประกาศ 1 |