Categories
ข้อมูลเตรียมสอบงานราชการ

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ – |อ่านเตรียมสอบได้เลย แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (2560-2564)

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

“สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ”

ลิงค์: https://iqepi.com/36654/ หรือ
เรื่อง: อ่านเตรียมสอบได้เลย แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (2560-2564)


แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (2560-2564)

มติ ครม.อนุมัติแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 สอดรับยุทธศาสตร์ชาติ20ปี ยึด กรอบพัฒนาที่ยั่งยืน

 
พ.อ.อธิสิทธิ์ ไชยนุวัติ ผู้ช่วยโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.)ว่า ครม.มีมติอนุมัติแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่12พ.ศ.2560-2564

ทั้งนี้ได้เห็นชอบให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ , กระทรวงมหาดไทย , กระทรวงศึกษาธิการ และภาคีเครือข่ายด้านสุขภาพ ใช้แผนพัฒนาสุขภาพฉบับที่12เป็นกรอบแนวทางการดำเนินงานพัฒนาด้านสุขภาพของประเทศ ตามห้วงระยะเวลาของแผน สำหรับแผนพัฒนาแห่งชาติ ฉบับที่12จะสอดรับกับเป้าหมายยุทธศาสตร์ชาติระยะ20ปี และจะยึดกรอบเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน และสอดคล้องกับการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุข

ผู้ช่วยโฆษกประจำสำนักนายกฯ กล่าวว่า สำหรับแผนที่12มีสาระสำคัญ โดยมียุทธศาสตร์ทั้งหมด4ยุทธศาสตร์ ได้แก่ 1.สร้างเสริมสุขภาพคนไทยเชิงรุก ซึ่งจะให้ความสำคัญกับการสนับสนุนให้ทุกภาคส่วนมีศักยภาพ ความรู้ และทัศนคติที่ถูกต้องด้านสุขภาพ2.การสร้างความเป็นธรรม ความเลื่อมล้ำในการบริการสุขภาพ ที่จะให้ความสำคัญกับการปฏิรูประบบที่มีแพทย์ เวชศาสตร์ กระจายครบคลุมทุกพื้นที่3.การพัฒนาและสร้างกลไกเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ การบริหารจัดการกำลังคนด้านสุขภาพ โดยให้ความสำคัญกับการปฏิรูประบบ กลไก การบริหารจัดการกำลังคนด้านสุขภาพในทุกระดับ และ4.การพัฒนาและสร้างความเข้มแข็งในระบบสุขภาพ ซึ่งจะให้ความสำคัญกับการพัฒนา ระบบสนับสนุนการบริการสุขภาพ ระบบข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพ การเงิน การคลังด้านสุขภาพ รวมไปถึงยาและเทคโนโลยีด้านสุขภาพ

ร่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564)
เอกสารประกอบเล่ม 1 กระบวนการจัดทำแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12 และความเชื่อมโยงของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12 กับกรอบการพัฒนาสำคัญ
เอกสารประกอบเล่ม 2 การลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญภายใต้ (ร่าง) แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12
เอกสารประกอบเล่ม 3 Powerpoint Presentation แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12
Chart ขนาด A3 แผนผังสรุปสาระสำคัญของยุทธศาสตร์การพัฒนาของร่างแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12

kissของแถม

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ มีทั้งหมด 11 ฉบับตั้งแต่พ.ศ.2504 จนถึงปัจจุบัน เกือบ 50 ปีที่ประเทศไทยได้ดำเนินการตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเป็นตัวแบบในการพัฒนาประเทศ ในอดีตที่ผ่านมามิติของกระบวนการพัฒนาส่วนใหญ่ได้เน้นการพัฒนาเศรษฐกิจเป็นหลัก และเป็นการกำหนดแผนพัฒนาฯจากส่วนกลางและนำไปสู่การปฏิบัติ  ทำให้ขาดมิติของการมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำหนดแผนพัฒนาฯ ส่วนมิติของการมีส่วนร่วมของประชาชนได้เพิ่งเกิดปรากฎขึ้นในแผนฯ ฉบับที่ 8 แต่กระบวนการจัดทำแผนพัฒนายังเป็นรูปแบบบนลงล่าง (top-down)ผู้บริหารประเทศเป็นผู้กำหนดนโยบายการพัฒนาชุมชน ส่งผลให้การพัฒนาไม่เป็นไปตามความต้องการที่แท้จริงของคนในชุมชน รวมถึงไม่สอดคล้องกับบริบทที่แตกต่างของแต่ละชุมชน ประเทศไทยได้ประกาศใช้แผนพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคม ฉบับแรกตั้งแต่ปี 2504 โดยอยู่ในสมัยของ พณ. นายกรัฐมนตรีจอมพล สฤิษดิ์ ธนะรัชต์ จนถึงปี พ.ศ. 2547 ประเทศไทยได้ประกาศใช้แผนพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคม มาแล้ว 10 ฉบับด้วยกัน โดยในแผนฯ แต่ละฉบับ มีจุดเน้นพอสรุปได้ดังนี้
 
 
แผนพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2504 – 2509) เป็นแผน ฯ ฉบับแรกและฉบับเดียวที่มีระยะเวลาของแผน 6 ปี จุดเน้นของแผน ฯ นี้คือ การปูพื้นฐานเพื่อการเร่งรัดพัฒนาประเทศด้านเศรษฐกิจ โดยเน้นลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure Facilities) อันได้แก่การแร่งรัดสร้างระบบชลประทาน พลังงาน ถนน ทางรถไฟและการคมนาคมอื่น ๆ รวมทั้งโครงการบริการต่าง ๆ (Services Project) เช่น โครงการวิจัยทดลองด้านเกษตร อุตสาหกรรม และโครงการพัฒนาการศึกษาสาธารณสุข
 
 
แผนพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2510 – 2514) เน้นการพัฒนาสังคม ยกระดับมาตรฐานการครองชีพ ขยายพลังการผลิตรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของประเทศ กระจายการพัฒนา และเร่งรัด การพัฒนาสู่ชนบท
 
 
แผนพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2515 – 2519) ยังมีจุดเน้นด้านการกระจายความเจริญสู่ชนบท พยายามลดช่องว่างคนรวยกับคนจน ขยายการผลิตและรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ เน้นให้เอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศ และให้ความสำคัญกับการวางแผนครอบครัว และการมีงานทำเป็นครั้งแรก
 
 
แผนพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2520 – 2524) มีการกระจายการพัฒนาในรูปแบบภาค และภูมิภาคเพื่อการเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร ปรับปรุงโครงสร้างอุตสาหกรรม มีโครงการผันเงิน อาสาพัฒนาชนบท การสร้างงานในชนบท(กสช) โดยมีการเน้นการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติที่สูญเสียไป
 
 
แผนพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2525 – 2529) เป็นแผนที่มีการกำหนดการดำเนินงานในเชิงรับ และเชิงรุก เน้นการแก้ปัญหาความยากจน โดยการกำหนดพื้นที่ตามระดับความยากจน มีพื้นที่เป้าหมาย ชนบทยากจนทั่วประเทศ 286 อำเภอ และรักษาวินัยทางการเงิน การคลัง แก้ปัญหาการขาดดุลการค้า
 
 
แผนพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 6 (พ.ศ. 2530 – 2534) เป็นแผนที่เน้นการพัฒนาคุณภาพชีวิต ส่งเสริมให้เอกชนเข้ามามีบทบาทในการพัฒนามากขึ้น เน้นให้มีการกระจายความเจริญสู่ภูมิภาคและชนบทมากขึ้น
 
 
แผนพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2535 – 2539) มุ่งเน้นการสร้างความสมดุลทางเศรษฐกิจ การกระจายรายได้ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และการพัฒนาคุณภาพสิ่งแวดล้อมควบคู่กันไป
 
 
แผนพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2540 – 2544) ในแผนนี้ กำหนดให้ คนเป็นจุดหมายหลักของการพัฒนา เน้นเรื่องการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource Development) เน้นการวางแผนพัฒนาแบบองค์รวม หรือบูรณาการระหว่างเศรษฐกิจกับสังคมเข้าด้วยกัน มุ่งเน้นความเป็นไทย และสามารถแข่งขันในเวทีโลกได้
 
 
แผนพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2544 – 2549) เป็นแผนที่มีปรัชญาการพัฒนาบิรหารประเทศตามกระแสพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เรื่อง เศรษฐกิจแบบพอเพียง มุ่งเน้นการพัฒนาที่ยั่งยืนด้วยการวางรากฐานการพัฒนาประเทศให้เข้มแข็งยั่งยืน มีภูมิคุ้มกันทางเศรษฐกิจที่สามารถพึ่งตนเองได้ รวมทั้งความเข้มแข็งของชุมชนและเครือข่ายชุมชนให้เกิดการเชื่อมโยงการพัฒนาทั้งชนบทและเมืองอย่างยั่งยืน มีการดูแลจัดการทรัพยากร สิ่งแวดล้อม ควบคู่ไปกับการพัฒนาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับสังคมไทย เป้าหมายสำคัญของแผนฯ ฉบับนี้คือ การสร้างดุลภาพทางเศรษฐกิจ การยกระดับคุณภาพชีวิตการบริหารจัดการระบบราชการทั้งส่วนกลาง ภูมิภาค และท้องถิ่นที่ดี กระจายอำนาจให้เกิดการบริหารที่โปร่งใส ตรวจสอบได้ และเน้นการปราบปรามการทุจริตประพฤติมิชอบให้เกิดผล มีการดำเนินการทางเศรษฐกิจที่เอื้ออาทรต่อคนจน เปิดโอกาสและสร้างศักยภาพในการพัฒนาให้คนจนมีความเข้มแข็ง มีภูมิคุ้มกัน สามารพึ่งตนเองได้ สามารถลดอัตราคนจนให้เหลือไม่เกินร้อยละ 12 ของประชากรทั้งประเทศ
 
 
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 10 (พ.ศ.2550-2554)ป็นแผนที่การเตรียมความพร้อมของคนและระบบให้มีภูมิคุ้มกัน พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงและผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น โดยยังคงอัญเชิญ “ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” มาเป็นแนวปฏิบัติในการพัฒนาแบบบูรณาการเป็นองค์รวมที่มี “คนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา” ต่อเนื่องจากแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 และแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 และให้ความสำคัญต่อการรวมพลังสังคมจากทุกภาคส่วนให้มีส่วนร่วมดำเนินการในทุกขั้นตอนของแผนฯ พร้อมทั้งสร้างเครือข่ายการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาสู่การปฏิบัติ รวมทั้งการติดตามตรวจสอบผลการดำเนินงานตามแผนอย่างต่อเนื่อง มุ่งพัฒนาสู่ “สังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน (Green and Happiness Society)คนไทยมีคุณธรรมนำความรอบรู้ รู้เท่าทันโลก ครอบครัวอบอุ่น ชุมชนเข้มแข็ง สังคมสันติสุขเศรษฐกิจมีคุณภาพ เสถียรภาพ และเป็นธรรม สิ่งแวดล้อมมีคุณภาพและทรัพยากรธรรมชาติยั่งยืน อยู่ภายใต้ระบบบริหารจัดการประเทศที่มีธรรมาภิบาล ดำรงไว้ซึ่งระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และอยู่ในประชาคมโลกได้อย่างมีศักดิ์ศรี”
 
 
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11 และได้จัดทำวิสัยทัศน์ประเทศไทยสู่ปี 2570 ซึ่งสาระสำคัญในแต่ละประเด็นดังต่อไปนี้ คือ

  Youtube: iqepin LINE it! เพิ่มเพื่อน  

1.   ความท้าทายหลังวิกฤติเศรษฐกิจ :โอกาสของประเทศไทย ซึ่งได้วิเคราะห์แนวโน้มเศรษฐกิจและการเปลี่ยนแปลงทางด้านต่างๆ เช่น ด้านการเงิน ด้านพลังและอาหาร ด้านสังคม ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ด้านแนวคิดการบริหารจัดการเศรษฐกิจและธุรกิจ ด้านการค้าและความร่วมมือระหว่างประเทศและการเมืองโลก และโอกาสของประเทศไทย

2.   เศรษฐกิจสร้างสรรค์: ทางเลือกเศรษฐกิจไทย ได้วิเคราะห์และเสนอว่า เศรษฐกิจสร้างสรรค์ คือ แนวคิดการขับเคลื่อนเศรษฐกิจบนฐานของการใช้องค์ความรู้ (Knowledge) การศึกษา(Education) การสร้างสรรค์งาน (Creativity)และการใช้ทรัพย์สินทางปัญญา(Intellectual property)ที่เชื่อมโยงกับรากฐานทางวัฒนธรรม การสั่งสมความรู้ของสังคม และเทคโนโลยี นวัตกรรมสมัยใหม่

3.   ภาวะโลกร้อน :รู้วิกฤติ สร้างโอกาสการพัฒนา ได้วิเคราะห์แนวโน้มที่ประเทศไทยต้องเผชิญในอนาคตทั้งทางด้านการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ และยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านต่างๆเช่น ทิศทางการพัฒนาประเทศเป็นสังคมคาร์บอนต่ำ เศรษฐกิจจากฐานทรัพยากรชีวภาพ ความมั่นคงทางด้านอาหารและพลังงาน เป็นต้น

4.   สถาปัตยกรรมทางสังคม: ทางเลือกใหม่ของคนไทย ได้วิเคราะห์เกี่ยวกับการเสริมสร้างความเข้มแข็งจากฐานรากของประเทศไทย และสถาปัตยกรรมทางสังคมในระยะต่อไป เช่น  1)การปรับโครงสร้างทางสังคมให้เป็นสังคมที่มีคุณภาพโดยนำแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ต่อยอดกับทุนทางสังคม วางรากฐานการพัฒนาสังคมที่ฐานราก การออกแบบสังคมที่มีคุณภาพจากสังคมใน4 มิติคือ สังคมแห่งความเอื้ออาทรและความสมานฉันท์(Social Cohesion) ความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม (Socio-Economic Security) การรวมกลุ่มเพื่อสร้างโอกาสให้กับทุกคนอย่างเป็นธรรม(Social Inclusion) การเสริมสร้างพลังทางสังคม(Socail Empowerment) 2) พัฒนาคุณภาพของทุนมนุษย์ โดยเน้นกระบวนการพัฒนาที่คนเป็นศูนย์กลางทุกภาคส่วนสนับสนุน โดยภาคประชาชน ชุมชน เป็นผู้มีบทบาทเจ้าของเรื่อง เป็นกงล้อหลัก มีบทบาทสำคัญตลอดกระบวนการ ภาครัฐ ลดบทบาทความเป็นเจ้าของเพื่อเป็นผู้หนุนการสร้างศักยภาพของชุมชนและเอกชน

5.   สัญญาประชาคมใหม่: พลังขับเคลื่อนสังคมสู่สมดุล ได้วิเคราะห์และเสนอไว้ว่า สัญญาประชาคม หมายถึง ค่านิยมที่ประชาชนตกลงร่วมกันด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนและใช้เป็นแนวทางปฏิบัติร่วมกันในสังคมอย่างมีพลวัตตามการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจและสังคม โดยเน้นการดำรงชีวิตตามวัฒนธรรมอันดีของไทยตามภูมิภาคต่างๆยึดหลักคุณธรรมและความเป็นธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริตรักษาสิทธิของตนเองโดยไม่ละเมิดสิทธิของผู้อื่น ปฏิบัติหน้าที่พลเมืองให้ครบถ้วนและมีจิตสาธารณะ ยึดหลักแก้ไขความขัดแย้งในสังคมด้วยสันติวิธี เพื่อให้ประชาชนสามารถอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข ปลอดภัยและมีความมั่นคงในชีวิตและทรัพยสิน และได้มีทิศทางการพัฒนาสัญญาประชาคมใหม่ ไว้ 5 ประเด็น คือ

 1) ปรับกระบวนทัศน์ (paradigm) การพัฒนาประเทศใหม่โดยยึดประชาชนเป็นศูนย์กลางในการแก้ไขปัญหา

2) สร้างค่านิยมร่วม (Shared Value)

3) พัฒนากระบวนการสัญญาประชาคม บนพื้นฐานของการมีส่วนร่วมของประชาชนในทุกระดับตั้งแต่ระดับชุมชน ท้องถิ่นจนถึงระดับประเทศ โดยดำเนินการอย่างเป็นขั้นตอนตั้งแต่การสร้างความคิดร่วม (Social Consensus) การหาข้อสรุปที่ทุกฝ่ายให้การยอมรับและยึดถือ (Social Commitment)และนำไปสู่การปฏิบัติ(Action)โดยถ้วนหน้ากัน เพื่อสร้างความสงบสุขให้เกิดขึ้นในทุกพื้นที่ทั่วประเทศ โดย พัฒนากลไกในระดับภาพรวม และพัฒนากลไกลในระดับชุมชน

4) สร้างความแข็งแกร่งของโครงสร้าง กลไกและกระบวนการบริหารจัดการของทุกภาคส่วนของสังคม

5) ขับเคลื่อนและวางระบบการติดตามประเมินผลในทุกระดับ

                 จากเนื้อหาสาระโดยสรุปของแผนฯฉบับที่ 11และวิสัยทัศน์ประเทศไทยสู่ปี 2570 นั้นทำให้เห็นมิติของกระบวนการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นและการมีส่วนร่วมของประชาชนในหลายประเด็น  ที่สำคัญคือในส่วนของสถาปัตยกรรมทางสังคม ได้มีเนื้อหาที่สื่อถึงมิติในงานพัฒนาชุมชนท้องถิ่น ซึ่งเน้นให้ความสำคัญกับชุมชนเป็นหลักและเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในกระบวนการพัฒนา  ในส่วนของสัญญาประชาคมใหม่ ได้กล่าวถึง กระบวนการสัญญาประชาคม บนพื้นฐานของการมีส่วนร่วมของประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับชุมชน ท้องถิ่นจนถึงระดับประเทศ โดยดำเนินการอย่างเป็นขั้นตอนตั้งแต่การสร้างความคิดร่วม (Social Consensus) การหาข้อสรุปที่ทุกฝ่ายให้การยอมรับและยึดถือ (Social Commitment)และนำไปสู่การปฏิบัติ (Action) ซึ่งเป็นภาพรวมและแนวทางกว้างๆในการนำไปสู่การปฏิบัติต่อไป
 
                 เนื้อหาสาระของ แผนฯ11 ส่วนใหญ่กล่าวถึงเศรษฐกิจรวมทั้งแนวโน้มทางด้านเศรษฐกิจด้านอุตสาหกรรมเป็นส่วนใหญ่ ทำให้ยังมีเนื้อหาสาระบางส่วนที่ขาดหายไป เช่น มิติของการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น กรณีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้แก่ องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล เป็นต้น ซึ่งถือว่าเป็นองค์กรที่สามารถเอื้ออำนวยต่อการมีส่วนร่วมของประชาชน กระบวนการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น เพื่อให้สอดคล้องกับบริบทและทิศทางการพัฒนาของประเทศไทย และนำไปสู่การปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพต่อไป
ที่มา: https://sites.google.com/site/archcommunitydevelopment/national-developement-plan

Comments

comments

ข่าวงานราชการเปิดสอบ 2567-2569
Privacy Overview

This website uses cookies so that we can provide you with the best user experience possible. Cookie information is stored in your browser and performs functions such as recognising you when you return to our website and helping our team to understand which sections of the website you find most interesting and useful.