Categories
รายงานพิเศษ

ก.พ. – |พนักงานราชการ คือ??

ก.พ.

“ก.พ.”

ลิงค์: https://iqepi.com/34371/ หรือ
เรื่อง: พนักงานราชการ คือ??


ก.พ. เปิดรับสมัครสอบ

ระบบพนักงานราชการ
 
 

 

คลิ๊กที่นี่ *** ระเบียบ ประกาศ และหนังสือเวียนระบบพนักงานราชการ ***

***ประเภทพนักงานราชการ***การจัดทำกรอบอัตรากำลัง***การทำสัญญาจ้าง***เอกสาร คู่มือต่างๆ – ติดต่อ***

ที่มา

ภาย หลังการปรับเปลี่ยนโครงสร้างส่วนราชการตามการปฏิรูประบบ ราชการ เมื่อปี พ.ศ.2545 สำนักงาน ก.พ. ได้นำระบบลูกจ้างสัญญาจ้างเดิมมาปรับปรุงรูปแบบการจ้างงานในหน่วยงานภาครัฐ ให้มีความหลากหลายและยืดหยุ่นมากขึ้น รวมทั้งขยายผลให้มีความหลากหลายของรูปแบบการจ้างงานในส่วนของการจ้างผู้ทรง คุณวุฒิหรือผู้เชี่ยวชาญทั้งชาวไทยและต่างประเทศ โดยได้เปลี่ยนชื่อจาก “ลูกจ้างสัญญาจ้าง” เป็น “พนักงานราชการ” เพื่อดึงดูดใจและแสดงสถานะที่ชัดเจน ตลอดจนการวางระบบบริหารงานบุคคลที่เกี่ยวข้อง ตั้งแต่เรื่องการกำหนดลักษณะงาน ตำแหน่ง และกรอบอัตรากำลัง การกำหนดค่าตอบแทนและสิทธิประโยชน์ การสรรหาและเลือกสรร และการประเมินผลการปฏิบัติงาน ภายใต้หลักการบริหารทรัพยากรบุคคลที่สำคัญ คือ หลักสมรรถนะ (Competency) หลักผลงาน (Performance) และหลักคุณธรรม (Merit) ตลอดจนมอบอำนาจให้ส่วนราชการบริหารจัดการเอง เพื่อให้สอดคล้องกับการบริหารภาครัฐแนวใหม่ ดังนั้นระเบียบ หลักเกณฑ์และวิธีการต่างๆ จึงกำหนดไว้อย่างกว้าง ฯ เพื่อให้ส่วนราชการมีความอิสระและยืดหยุ่น

กลไก ของระบบพนักงานราชการประกอบด้วยคณะกรรมการบริหารพนักงานราชการ (คพร.) ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรีที่ได้รับมอบหมายจากนายกรัฐมนตรี เป็นประธานกรรมการ และคณะอนุกรรมการบริหารพนักงานราชการ (อ.คพร.) ทำหน้าที่แทน คพร. ในด้านต่าง ๆ จำนวน 3 คณะ ได้แก่

คณะที่ 1 ด้านการกำหนดลักษณะงานกรอบอัตรากำลังพนักงานราชการค่าตอบแทนและสิทธิประโยชน์

คณะที่ 2 ด้านการสรรหาและเลือกสรร และการประเมินผลการปฏิบัติงาน

คณะที่ 3 ด้านกฎหมายและวินัย

ความหมายของพนักงานราชการ

พนักงาน ราชการ หมายถึง บุคคลซึ่งได้รับการจ้างตามสัญญาจ้างโดยได้รับค่าตอบแทนจากงบประมาณของส่วน ราชการ เพื่อเป็นพนักงานของรัฐในการปฏิบัติงานให้กับส่วนราชการนั้น

ประเภทของพนักงานราชการ มี 2 ประเภท คือ

1. พนักงานราชการทั่วไป ได้แก่ พนักงานราชการซึ่งปฏิบัติในลักษณะเป็นงานประจำทั่วไป ประกอบด้วย 5 กลุ่ม คือ

1.1 กลุ่มงานบริการ

1.2 กลุ่มงานเทคนิค

1.3 กลุ่มงานบริหารทั่วไป

1.4 กลุ่มงานวิชาชีพเฉพาะ

1.5 กลุ่มงานเชี่ยวชาญเฉพาะ

2. พนักงานราชการพิเศษ ได้แก่ พนักงานราชการซึ่งปฏิบัติงานในลักษณะที่ต้องใช้ความรู้ความเชี่ยวชาญสูงมาก เป็นพิเศษ ปฏิบัติงานในเรื่องที่มีความสำคัญและจำเป็นเฉพาะเรื่องของส่วนราชการ มี 1 กลุ่ม คือ กลุ่มงานเชี่ยวชาญพิเศษ

ลักษณะงานและคุณสมบัติเฉพาะของกลุ่มงาน โปรดดูประกาศ คพร. เรื่อง การกำหนดลักษณะงานและคุณสมบัติเฉพาะของกลุ่มงานและการจัดทำกรอบอัตรากำลังพนักงานราชการ 

การจัดทำกรอบอัตรากำลัง

ส่วน ราชการจะต้องทำกรอบอัตรากำลังที่มีระยะเวลา 4 ปี โดยพิจารณาถึงการใช้กำลังคนในภาพรวมของส่วนราชการ ให้มีความเหมาะสม สอดคล้องกับความจำเป็นตามภารกิจและยุทธศาสตร์ของส่วนราชการ

 ขั้นตอนการจัดทำกรอบอัตรากำลัง

 1. สำรวจภารกิจและอัตรากำลังมีอยู่ในปัจจุบัน

 2. ตรวจสอบภารกิจตาม ข้อ 1 โดยการวิเคราะห์ภารกิจและการใช้กำลังคน ดังนี้

 3. แยก ภารกิจที่ได้ตาม ข้อ 2 ออกเป็น 3 กลุ่ม คือ ภารกิจหลัก ภารกิจรอง และภารกิจสนับสนุน ตามแนวคิดในการจัดอัตรากำลังตามภารกิจ ดังนี้

ภารกิจหลัก หมายถึง งานตามกฎหมาย หรืองานกำหนดนโยบาย หรืองานที่ทำเพื่อความคงอยู่ขององค์กรตามบทบาทภารกิจของหน่วยงาน ผู้ปฏิบัติควรเป็นข้าราชการประมาณไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ที่เหลือเป็นพนักงานราชการหรือจ้างเหมา

ภารกิจรอง  หมาย ถึง งานที่ทำเพื่อสนับสนุนภารกิจหลัก หรือการนำนโยบายไปปฏิบัติ ผู้ปฏิบัติควรเป็นข้าราชการประมาณไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ที่เหลือเป็นพนักงานราชการหรือจ้างเหมา

ภารกิจสนับสนุน หมายถึง งานด้านธุรการและบริการผู้ปฏิบัติควรเป็นข้าราชการประมาณไม่น้อยกว่าร้อยละ 25 ที่เหลือเป็นพนักงานราชการหรือจ้างเหมา

 4. จัดทำตารางภารกิจและจำนวนกำลังคนที่ใช้ตาม ข้อ) 4 โดยแยกเป็นข้าราชการ พนักงานราชการ ลูกจ้างประจำ และอื่น ๆ

 5. แสดงจำนวนอัตรากำลังพนักงานราชการจาก ข้อ 5 แยกตามกลุ่มลักษณะงาน เป็นกรอบอัตรากำลังพนักงานราชการ

 6. เสนอกรอบอัตรากำลังที่ทำเสร็จแล้วต่อ อ.ก.พ. กระทรวง หรือคณะกรรมการที่ทำหน้าที่คล้าย อ.ก.พ. กระทรวงพิจารณาให้ความเห็นชอบ

  Youtube: iqepin LINE it! เพิ่มเพื่อน  

 7. เมื่อ อ.ก.พ. กระทรวงให้ความเห็นชอบแล้ว ส่งเรื่องมาที่สำนักงาน ก.พ. เพื่อเสนอต่อ คพร. พิจารณา

 8. เมื่อ ส่วนราชการได้รับแจ้งมติ คพร. ที่เห็นชอบกรอบอัตรากำลังพนักงานราชการแล้ว สามารถดำเนินการบริหารอัตรากำลังพนักงานราชการได้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ คพร. กำหนด ตามงบประมาณที่ได้รับการจัดสรร

หลักเกณฑ์การสรรหาและเลือกสรรพนักงานราชการทั่วไป โปรดดูประกาศ คพร. เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการสรรหาและการเลือกสรรพนักงานราชการ และแบบสัญญาจ้างของพนักงานราชการ

การทำสัญญาจ้าง

 1. ส่วน ราชการทำสัญญาจ้างผู้ผ่านการเลือกสรร ด้วยแบบสัญญาจ้างตามที่กำหนด โดยมีระยะเวลาตามความจำเป็นหรือความเหมาะสมกับภาระงาน เช่น 2 เดือน 3 เดือน หรือ 2 ปี 3 ปี แต่ต้องไม่เกิน 4 ปี

 2. ให้ กรอกข้อความ หรือจัดทำรายละเอียดต่างๆ ในสัญญาจ้างให้ชัดเจนครบถ้วน และสมบูรณ์ ทั้งนี้เพราะในระบบพนักงานราชการ ส่วนราชการ จะต้องใช้สัญญาจ้างในการบริหารจัดการพนักงานราชการตลอดอายุสัญญา

 3. หัวหน้าส่วนราชการ หรือผู้ที่หัวหน้าส่วนราชการมอบหมายเป็นผู้ลงนามในสัญญาจ้างในฐานะส่วนราชการ กับคู่สัญญา คือ พนักงานราชการ

 4. ส่วนราชการต้องควบคุม หรือดูแลการปฎิบัติตามสัญญาจ้างในระหว่างสัญญา

 5. กรณี ที่สัญญาจ้างของพนักงานราชการสิ้นสุด และส่วนราชการมีภาระที่จำเป็นต้องต่อสัญญา ส่วนราชการต้องทำสัญญาจ้างใหม่ตามแนวทางของการทำสัญญาจ้างในครั้งแรก โดยให้เป็นไปตามข้อกำหนดเกี่ยวกับการประเมินผลการปฎิบัติงานตามประกาศ ค.พ.ร. เรื่องแนวทางการประเมินผลการปฎิบัติงานของพนักงานราชการ

การประเมินผลการปฏิบัติงานสำหรับพนักงานราชการ โปรดดูประกาศ คพร. เรื่อง แนวทางการประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานราชการ (แบบประเมินผลการปฏิบัติงานพนักงานราชการ-ท้ายประกาศ)

ดาวน์โหลด เอกสาร คู่มือต่างๆ

ปี 2555

 คู่มือการบริหารงานพนักงานราชการ 2555

——————————————————————-

ปี 2552

——————————————————————-
ปี 2551
หนังสือ 108 คำถาม กับ พนักงานราชการ
——————————————————————-
ปี 2548

กฎหมาย และระเบียบที่เกี่ยวข้อง NEW!
กับระบบพนักงานราชการ

——————————————————————-

ปี 2547

 คู่มือการบริหารงานพนักงานราชการ

 
  ปกหน้า ปกหลัง
  คำนำ สารบัญ
  ส่วนที่ 1 ความเป็นมา
  ส่วนที่ 2 ระเบียบว่าด้วยพนักงานราชการ
  ส่วนที่ 3 ประกาศคณะกรรมการบริหารพนักงานราชการ
  ส่วนที่ 4 ข้อมูลเปรียบเทียบ
  ส่วนที่ 5 คำถาม-คำตอบ พนักงานราชการ

 เอกสารนำเสนอในการประชุมชี้แจงส่วนราชการ เรื่อง ระบบพนักงาน
ราชการสู่ทางปฏิบัติ

  ข้อมูลเปรียบเทียบเจ้าหน้าที่ของรัฐ 5 ประเภท
  ระบบตำแหน่ง
  ระบบค่าตอบแทนและสิทธิประโยชน์
  ระบบสรรหาและเลือกสรร
  การประเมินผลการปฏิบัติงาน
  วินัยและสัญญาจ้าง

ติดต่อ

กลุ่มบริหารพนักงานราชการ สำนักพัฒนาระบบจำแนกตำแหน่งและค่าตอบแทน
สำนักงาน ก.พ. ถนนติวานนท์ ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
โทรศัพท์ :

หลักเกณฑ์ทั่วไป
0 2547 1000 ต่อ 6626
0 2547 1000 ต่อ 6625
0 2547 1000 ต่อ 6629
โทรสาร 0 2547 1437
การสรรหาและเลือกสรร
0 2547 1000 ต่อ 8740
0 2547 1000 ต่อ 8718
โทรสาร 0 2547 1346
การประเมินผลการปฏิบัติงาน
0 2547 1000 ต่อ 8828
กฎหมายและวินัย
0 2547 1000 ต่อ 8869

คลิ๊กที่นี่ *** ระเบียบ ประกาศ และหนังสือเวียนระบบพนักงานราชการ ***

แหล่งที่มา: http://www.ocsc.go.th/ocsc/th/index.php?option=com_content&view=category&layout=blog&id=90&Itemid=259

Comments

comments

ข่าวงานราชการเปิดสอบ 2567-2569
Privacy Overview

This website uses cookies so that we can provide you with the best user experience possible. Cookie information is stored in your browser and performs functions such as recognising you when you return to our website and helping our team to understand which sections of the website you find most interesting and useful.