“คสช.”
ลิงค์: https://iqepi.com/33838/ หรือ
เรื่อง: นายกฯ ใช้ม.44 “โอนอาชีวะเอกชนเข้ารัฐ”
—
คสช. เปิดรับสมัครสอบ
คำสั่ง หน.คสช.ที่ ๘/๒๕๕๙ เรื่อง การบริหารจัดการรวมสถานศึกษาอาชีวศึกษาภาครัฐและภาคเอกชน
-สรุปว่า เพื่อให้การปฏิรูปการศึกษาและการบริหารราชการในกระทรวงศึกษาธิการเกิดประสิทธิภาพและมีความเหมาะสมมากยิ่งขึ้น สอดคล้องกับนโยบายกระทรวงศึกษาธิการในการรวมการบริหารจัดการสถานศึกษาอาชีวศึกษา ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ให้มีคุณภาพได้มาตรฐาน และมีความคล่องตัวยิ่งขึ้น เป็นกรณีจำเป็นเพื่อประโยชน์ในการปฏิรูปในด้านการศึกษา อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔๔ ของรัฐธรรมนูญฯ (ฉบับชั่วคราว)หน.คสช. มีคำสั่ง
– ให้โอนบรรดาอำนาจหน้าที่ของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงศึกษาธิการ ในส่วนที่เกี่ยวกับการดำเนินงานโรงเรียนในระบบ ประเภทอาชีวศึกษา ตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน ไปเป็นอำนาจหน้าที่ของสำนักงานคณะกรรมการ
การอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ และในกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามคำสั่งนี้ ให้เป็นไปตามคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
รายละเอียดดังนี้
คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 8/2559 เรื่อง การบริหารจัดการรวมสถานศึกษาอาชีวศึกษาภาครัฐและภาคเอกชน มีใจความว่า เพื่อให้การปฏิรูปการศึกษาและการบริหารราชการในกระทรวงศึกษาธิการเกิดประสิทธิภาพและมีความเหมาะสมมากยิ่งขึ้น สอดคล้องกับนโยบาย ศธ.ในการรวมการบริหารจัดการสถานศึกษาอาชีวศึกษา ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนให้มีคุณภาพมาตรฐาน และมีความคล่องตัวยิ่งขึ้นเป็นกรณีจำเป็นเพื่อประโยชน์ในการปฏิรูปด้านการศึกษา อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2547 หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) จึงมีคำสั่งดังต่อไปนี้
1.ให้โอนบรรดาอำนาจหน้าที่ของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) สำนักงานปลัด ศธ.ในส่วนที่เกี่ยวกับการดำเนินงานของโรงเรียนในระบบประเภทอาชีวศึกษา ตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชนและของข้าราชการ พนักงานราชการ และลูกจ้างของ สช. ในส่วนที่เกี่ยวกับการดำเนินงานในระบบ ประเภทอาชีวศึกษา ตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชนไปเป็นอำนาจหน้าที่ของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) หรือของข้าราชการ พนักงานราชการ และลูกจ้างของ สอศ.แล้วแต่กรณี
2.ให้โอนบรรดากิจการ ทรัพย์สิน งบประมาณ สิทธิ หนี้ ภาระผูกพัน ข้าราชการ พนักงานราชการ ลูกจ้าง และอัตรากำลังของ สช.ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานในโรงเรียนในระบบประเภทอาชีวศึกษาเป็นไปของ สอศ.ทั้งนี้ตามบัญชีที่รัฐมนตรีว่าการ ศธ.ประกาศกำหนด
3.บรรดาอำนาจหน้าที่ของเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (กช.) และพนักงานเจ้าหน้าที่ของ สช.ในการอนุญาต การมอบหมาย หรือการปฏิบัติการอื่นตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชนในส่วนที่เกี่ยวกับการดำเนินงานในโรงเรียนในระบบประเภทอาชีวศึกษาให้โอนไปเป็นอำนาจหน้าที่ของเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (กอศ.) หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ของ สอศ.แล้วแต่กรณี
ในการมอบหมายตามวรรคหนึ่ง เลขาธิการ กอศ.จะมอบหมายให้ผู้ดำรงตำแหน่งอื่นแทนการมอบหมายให้ผอ.สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาก็ได้
4.บรรดาบัญญัติแห่งกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง หรือมติคณะรัฐมนตรีที่อ้างถึง สช.หรือข้าราชการ เจ้าหน้าที่ของ สช.ที่เกี่ยวกับโรงเรียนในระบบประเภทอาชีวศึกษา ให้ถือว่าอ้างถึง สอศ.หรือข้าราชการหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ของ สอศ.แล้วแต่กรณี
5.บรรดาใบอนุญาตที่ผู้รับใบอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียนในระบบประเภทสามัญศึกษาหรือาชีวศึกษาและได้รับใบอนุญาตให้จัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรอาชีวศึกษา หรือหลักสูตรสามัญศึกษา แล้วแต่กรณีด้วย ให้ผู้รับใบอนุญาตมีสิทธิดำเนินการต่อไปตามที่ได้รับอนุญาต และให้สอศ.หรือ สช.แล้วแต่กรณีดำเนินการออกใบอนุญาตให้ใหม่ตามจำเป็นโดยเร็ว
6.บรรดาคำขออนุญาตหรือคำขออื่นใดในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานในโรงเรียนในระบบประเภทอาชีวศึกษา ที่ยื่นไว้ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชนก่อนวันที่คำสั่งนี้ใช้บังคับ ให้เป็นอันใช้ได้และให้ สช.ส่งมอบให้เลขาธิการ กอศ.เพื่อดำเนินการต่อไป
7.ในกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามคำสั่งนี้ ให้เป็นไปตามคำวินิจฉัยของ รมว.ศึกษาธิการ และ8.คำสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป สั่ง ณ วันที่ 12 ก.พ.2559 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้า คสช.
ด้าน ดร.ชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ เลขาธิการ กอศ. กล่าวว่า ขณะนี้ได้ทราบเรื่องคำสั่งดังกล่าวแล้ว โดยในวันพรุ่งนี้ (13 ก.พ.) เวลา 10.00 น. ตนจะได้เชิญนายอดินันท์ ปากบารา เลขาธิการ กช.และทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องมาหารือแนวทางการทำงานเบื้องต้น อาทิ การโอนภารกิจ บุคลากร สถานที่ และการส่งมอบงาน อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมา สอศ.และสช.ได้มีการเตรียมการวางแผนทำงานร่วมกันไว้อยู่แล้ว
ขณะที่ นายอดินันท์ กล่าวว่า ปัจจุบันการดูแลอาชีวศึกษาเอกชนนั้น เป็นหน้าที่ของ กลุ่มโรงเรียนเอกชนประเภทอาชีวศึกษา ซึ่งมีข้าราชการอยู่จำนวน 20 คน ซึ่งกลุ่มนี้จะต้องโอนไปอยู่สังกัด สอศ.ตามคำสั่งที่ปรากฏ ส่วนภารกิจอื่นๆจะได้มีการหารือกับทาง สอศ.ต่อไป