“สปสช.”
ลิงค์: https://iqepi.com/32741/ หรือ
เรื่อง: เพิ่มยา 18 รายการเข้าสิทธิ “บัตรทอง” ยาเอดส์ มะเร็ง วัคซีนโปลิโอ ฯลฯ
—
บอร์ด สปสช.เห็นชอบเพิ่มยา 18 รายการเข้าสิทธิบัตรทอง
ทั้งยารักษาเอดส์ มะเร็ง วัคซีนโปลิโอ ฯลฯ
เภสัชกรหญิง เนตรนภิศ สุชนวณิช รองเลขาธิการ สปสช. เปิดเผยว่า บอร์ด สปสช.ได้มีมติเพิ่มยา 18 รายการเข้าสิทธิประโยชน์บัตรทองโดยมียาที่สำคัญ อาทิ
ภญ.เนตรนภิส สุชนวนิช รองเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บอร์ด สปสช.) เมื่อวันที่ 5 ต.ค. ที่ผ่านมา ได้มีมติเห็นชอบเพิ่มยาจำนวน 18 รายการ ให้แก่ผู้ใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (บัตรทอง) ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2559 เป็นต้นไป
ตามที่คณะอนุกรรมการพัฒนาสิทธิประโยชน์และระบบบริการ สปสช.เสนอ หลังจากที่คณะอนุกรรมการพัฒนาบัญชียาหลักแห่งชาติ มีมติเห็นชอบเพิ่มรายการยาใหม่ 18 รายการดังกล่าว เข้าสู่บัญชียาหลักแห่งชาติในปี 2558 ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างรอการประกาศลงในราชกิจจานุเบกษา โดยยาใหม่ทั้ง 18 รายการ ประกอบด้วย
-
วัคซีนป้องกันโปลิโอชนิดเชื้อตายรูปแบบฉีด (IPV)
-
วัคซีนโปลิโอชนิดเชื้อเป็นอ่อนฤทธิ์รูปแบบหยอดรับประทาน (OPV) ชนิด Bivalent
-
ยาโปรคาบาซีน แคปซูล (Procabazine capsule) ยารักษามะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดฮอดจ์กิน
-
ยาคาร์มัสทีน (Carmustine inj.) ประกอบการรักษามะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดฮอดจ์กินและนอนฮอดจ์กิน
-
ยาไตรแอมซิโนโลน อะเซโทไนด์ (Triamcinolone acetonide) ยาป้ายรักษาแผลเปื่อยในช่องปาก
-
ยาอิสพากัวลา ฮัสก์ (Ispaghula Husk) ยาเพิ่มกากในทางเดินอาหาร
-
ยาเพอร์เมทริน 1% (Permethrin1% cream, lotion) ยาทารักษาโลน
-
ยาเพอร์เมทริน 5% (Permethrin 5% cream ,lotion) ยาทารักษาหิดและโลน
-
ไอเวอร์เมกติน (Ivermectin tab) ยารักษาโรคหิดที่ใช้ยาทาไม่ได้ผล
-
ลีวีไทราซีแทม (Levetiracetam) ยารักษาผู้ป่วยที่มีประวัติแพ้ หรือไม่ตอบสนองต่อการใช้ ไดอะซีแพม ลอราซีแพม เฟนีโทอิน ฟีโนบาร์บิทัล และวาลโปรเอท
-
ยาฟีนอล (Phenol inj.) รักษากล้ามเนื้อหดเกร็ง
-
ยาแอลกอฮอล์ (Acetyl alcohol) รักษากล้ามเนื้อหดเกร็ง
-
อะบาคาเวียร์ (Abacavir tab) ยาต้านไวรัสเอดส์ สำหรับผู้ป่วยที่ใช้ยาทีโนโฟเวียร์ไม่ได้ และเด็กที่ติดเชื้อเอชไอวีอายุ 6 เดือนขึ้นไป
-
ริลพิไวรีน (Rilpivirine tab) ยาต้านไวรัสเอดส์ กรณีผู้ป่วยเกิดผลข้างเคียงทางจิตประสาทที่ทำให้ไม่สามารถใช้ยาเอฟฟาไวเรนซ์ได้
-
ยาสูตรผสมทีโนโฟเวียร์ ไดโซพรอกซิล ฟูมาเรต + เอ็มทริซิทานีน + เอฟฟาไวเรนซ์ (Tenofovir disoproxil fumarate + Emtricitabine + Effavirenz Tab)
-
ยาสูตรผสมทีโนโฟเวียร์ ไดโซพรอกซิล ฟูมาเรต + เอ็มตริไซตามีน (Tenofovir disoproxil fumarate + EmtricitabineTab)
-
ยาสูตรผสมอะบาคาเวียร์ + ลามิวูดีน ( Abacavir+ Lamivudine Tab) กรณีผู้ป่วยเกิดผลข้างเคียงทางจิตประสาทที่ทำให้ไม่สามารถใช้ยาเอฟฟาไวเรนซ์ได้
-
ยาทริปโทเรลิน และยาลูโปรเรลิน อะซิเตท (Triptorelin และ Leuprorelin acetate) รักษาผู้ป่วยมะเร็งต่อมลูกหมากระดับความเสี่ยงปานกลาง สูง และสูงมาก
ทั้งนี้ ภญ.เนตรนภิส ระบุด้วยว่า สำหรับการบรรจุวัคซีนป้องกันโรคโปลิโอทั้ง 2 ตัวนั้น เป็นการดำเนินงานตามนโยบายกวาดล้างโรคโปลิโอขององค์การอนามัยโลก (WHO) โดยวัคซีนชนิดหยอดที่บรรจุใหม่นั้นเป็นการปรับลดวัคซีนรวม 3 สายพันธุ์ เหลือเพียงสองสายพันธุ์ ส่วนในกลุ่มยามะเร็งนั้นถือว่าเป็นยาที่ค่าใช้จ่ายไม่สูงมาก และเป็นยาที่อยู่ในโปรโตคอลรักษามะเร็งอยู่แล้ว ขณะที่ยาต้านไวรัสเอดส์ในกลุ่มสูตรผสมส่งผลให้มีราคาถูกลง อีกทั้งเพิ่มความสะดวกต่อผู้ป่วยในการรับประทานยา จึงทำให้สามารถบรรจุในบัญชียาหลักฯ ได้ สำหรับยารักษาแผลในช่องปากนั้นเดิมทีเคบยรรจุอยู่ในบัญชียาหลักฯ มาก่อนแล้วแต่ถูกถอดออกไป แต่ภายหลังมีเสียงจากทันตแพทย์ว่าหายารักษาได้ยาก จึงนำกลับเข้ามาบรรจุอีกรอบ
-
ยารักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวี เป็นยาทางเลือกสำหรับผู้ป่วยที่ไม่สามารถใช้ยาเดิมได้ เช่น ยา”อะบาคาเวียร์”สำหรับผู้ป่วย เอชไอวีที่ไม่สามารถใช้ยา”เอฟฟาไวเรนซ์”ได้เนื่องจากเกิดผลข้างเคียงต่อจิตประสาท
- ยารักษามะเร็งต่อมน้ำเหลือง “โปรคาร์บาซีนแคปซูล” ยารักษามะเร็งต่อมลูกหมาก ที่สำคัญคือวัคซีนชนิดเชื้อตาย (ไอพีวี) สำหรับกวาดล้างโปลิโอตามนโยบายองค์การอนามัยโลกและ วัคซีนชนิดเชื้อเป็นอ่อนฤทธิ์ แบบหยอด โอพีวี สำหรับการกวาดล้างโปลิโอเช่นกัน ซึ่งยาใหม่ทั้ง 18 รายการ คณะอนุกรรมการพัฒนาสิทธิประโยชน์และระบบบริการของ สปสช.เห็นชอบเพิ่มสิทธิประโยชน์ และจะมีผลใช้ได้ในปี งบ59 หรือราวเดือนพฤศจิกายนนี้.สำนักข่าวไทย
แหล่งที่มา: http://social.tnews.co.th/content/163921/