Categories
สอบท้องถิ่น 2563-2564 เหตุการณ์ปัจจุบัน

ปกป้องภูมิปัญญาท้องถิ่น –  ความรู้เบื้องต้น สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์

ปกป้องภูมิปัญญาท้องถิ่น

“ปกป้องภูมิปัญญาท้องถิ่น”

ลิงค์: https://iqepi.com/31972/ หรือ
เรื่อง: ความรู้เบื้องต้น สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์


วันนี้ (15/7/58) เห็นข่าว อียู ขึ้นทะเบียน กาแฟดอยตุง ดอยช้าง เป็นสินค้าบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ และเตรียมขึ้นทะเบียนโอ่งมังกรราชบุรีต่อ จึงนำความรู้เบื้องต้นย่อๆ คร่าวๆ มาให้อ่านสำหรับท่านที่ยังไม่ทราบ ว่าต้องมีองค์ประกอบใดบ้างจึงจะเป็น “สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์” คัดลอกเพียงบางส่วนมาจากเว็บไซต์กรมทรัพย์สินทางปัญญา หากสนใจรายละเอียดลึกกว่านี้คลิกดูจากลิงค์ด้านล่าง

จากข่าว

EU ขึ้นทะเบียนกาแฟดอยตุงเป็นสินค้า GI

สหภาพยุโรป หรือ EU ลงประกาศขึ้นทะเบียนกาแฟดอยตุง และกาแฟดอยช้างของไทยเป็นสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ หรือ GI ในสหภาพยุโรปแล้ว เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคมที่ผ่านมา โดยจะมี ผลบังคับใช้ในอีก 20 วัน หรือวันที่ 3 สิงหาคม 2558

การประกาศขึ้นทะเบียน GI ส่งผลให้กาแฟดอยตุงและกาแฟดอยช้างของไทย สามารถใช้ตรา GI ในการทำตลาดได้ ผู้บริโภคในสหภาพยุโรปส่วนใหญ่ ให้ความสำคัญกับตรา GI ที่แสดงถึงลักษณะพิเศษ และคุณภาพของสินค้า และยอมจ่ายเงินในราคาที่สูงขึ้น เพื่อบริโภคสินค้าดังกล่าว

ในปี 2557 ไทยส่งออกกาแฟไปตลาดโลก 700 ตัน มูลค่า 3.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยส่งออกไป EU ราวร้อยละ 10 ของการส่งออกกาแฟโดยรวมของไทย 
– กาแฟดอยช้าง ส่งออกปีละ 400 ตัน ส่งออกไป แคนนาดา อังกฤษ อิตาลี มาเลเซีย เกาหลีใต้ และออสเตรเลีย 
– กาแฟดอยตุง ส่งออกไปญี่ปุ่น

แต่คาดว่าภายหลังจากที่กาแฟ ทั้งสองชนิดได้รับการขึ้นทะเบียน GI ใน EU จะช่วยเพิ่มโอกาส ให้ผู้ส่งออกกาแฟดอยตุงและกาแฟดอยช้าง ขยายตลาดในสหภาพยุโรปได้มากขึ้น

ปัจจุบันไทยขึ้นทะเบียนสินค้า GI แล้ว 70 รายการจาก 53 จังหวัด เช่น ข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้, ส้มโอนครชัยศรี, มะขามหวานเพชรบูรณ์ เป็นต้น และกระทรวงพาณิชย์มีแผนจะขึ้นทะเบียน GI ในอีก 24 จังหวัดที่เหลือให้ครบภายในปี 2560

“สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์” คือ ชื่อหรือสัญลักษณ์หรือสิ่งอื่นใดที่บอกแหล่งผลิตของสินค้าดยสามารถสื่อให้ผู้บริโภคเข้าใจได้ว่าสินค้านั้นมีคุณภาพหรือคุณลักษณะพิเศษแตกต่างจากสินค้าที่ผลิตในแหล่งผลิตอื่น เช่น มะขามหวานเพชรบูรณ์ที่ประกอบด้วยคำว่า มะขามหวานซึ่งบอกว่าสินค้าคืออะไรและคำว่าเพชรบูรณ์ซึ่งบอกแหล่งผลิตมะขามหวานดังกล่าว และยังสื่อให้คน ทั่วไปเข้าใจว่ามะขามหวานดังกล่าวมีคุณภาพสูงมีรสชาติหวานและไม่แฉะอันเป็นคุณลักษณะเฉพาะของมะขามหวานเพชรบูรณ์ ซึ่งได้รับอิทธิพลจากดินที่เหมาะสมสำหรับการปลูกมะขามและปริมาณน้ำฝนที่พอ เหมาะพอดีในจังหวัดเพชรบูรณ์ประกอบกับฝีมือการเพาะปลูกของเกษตรกรชาวเพชรบูรณ์ ซึ่งมีกรรมวิธีในการปลูกโดยเฉพาะจึงทำให้มะขามที่ปลูกในจังหวัดเพชรบูรณ์มีความหวานมากกว่าท้องถิ่นอื่น ฉะนั้น สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมีองค์ประกอบหรือปัจจัยสำคัญสองประการคือ ธรรมชาติกับมนุษย์ในแหล่งหรือท้องที่นั้น

  Youtube: iqepin LINE it! เพิ่มเพื่อน  

โดยธรรมชาตินั้นสร้างสิ่งแวดล้อมหรือวัตถุดิบให้แก่การผลิตสินค้า ส่วนมนุษย์นั้นใช้ทักษะ ความชำนาญ และภูมิปัญญาในการผลิตสินค้านั้น ทั้งสองปัจจัยจึงได้ก่อให้เกิดสินค้าที่มีคุณภาพหรือคุณลักษณะพิเศษเฉพาะ ด้วยเหตุนี้ สิทธิในสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์จึงเป็น “สิทธิชุมชน” หรือ “สิทธิของกลุ่มคนที่อยู่ในท้องถิ่น” ที่ผลิตสินค้านั้น

ข้อมูลการเตรียมความพร้อมการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์

ในเบื้องต้น ผู้ประกอบการผลิตจะต้องทำความเข้าใจก่อนว่า ไม่ใช่ชื่อพื้นที่ทุกพื้นที่หรือสินค้าทุกประเภทจำเป็นจะต้องได้รับการคุ้มครองเป็นสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ผู้ประกอบการผลิตควรจะต้องทำการศึกษาให้ดีและต้องพยายามรวมกลุ่มกันเพื่อพูดคุยหาข้อสรุป สำหรับขั้นตอนของการได้มาซึ่งสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์นั้น เราอาจสรุปออกมาไว้ได้ ดังนี้

  1. กำหนดสินค้าที่ต้องการคุ้มครอง และรวมกลุ่มผู้ประกอบการทั้งสายการผลิต (ตั้งแต่ผู้ผลิต วัตถุดิบต้นน้ำ จนถึงผู้ประกอบการแปรรูปปลายน้ำ) เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ของการขอขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ รวมทั้งในแง่มุมทางเศรษฐศาสตร์ว่า การขึ้นทะเบียนดังกล่าว จะให้ผลที่คุ้มค่าต่อกลุ่มหรือไม่ เมื่อเทียบกับค่าใช้จ่ายสำหรับระบบรับรองมาตรฐาน และกลุ่มจะมีแผนทำการตลาดเพื่อประชาสัมพันธ์สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์นั้นอย่างไรให้ติดตลาด
  2. กำหนดข้อกำหนดมาตรฐานขั้นต่ำของสินค้า รวมถึงมาตรฐานในการผลิตสินค้า(Specification and Standard of Production) โดยยึดความเข้าใจของผู้บริโภคเป็นหลัก เช่น ถ้าพูดถึงสินค้าจากแหล่งนี้ ผู้บริโภคจะนึกถึงคุณลักษณะอะไรเป็นสำคัญ
  3. กำหนดขอบเขตพื้นที่ในการผลิต (Zoning or Boundary setting) ตามสภาพของพื้นที่ที่เอื้อในการผลิตสินค้านั้นจริง (ไม่จำเป็นต้องเป็นไปตามเขตการปกครอง)
  4. ยกร่างคำขอขึ้นทะเบียนพร้อมทั้งจัดทำคู่มือปฎิบัติงานเพื่อใช้เป็นหลักฐานประกอบในการขอยื่นขึ้นทะเบียนตามกฎหมาย
  5. ยื่นคำขอขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ตามกฎหมายต่อกรมทรัพย์สินทางปัญญา
  6. จัดสร้างระบบการควบคุมการผลิตสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์(Control Plan) ให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในคำขอขึ้นทะเบียน ทั้งระบบการควบคุมภายในและระบบการควบคุมภายนอก และ/หรือ นำร่างมาตรฐานการผลิตมาขอรับรองกับหน่วยงานรับรอง (Certification Boby:CB) ว่าได้มาตรฐานหรือไม่
  7. ดำเนินจัดทำแผนการตลาดและประชาสัมพันธ์สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์นั้น โดยใช้คุณลักษณะพิเศษของสินค้าจากแหล่งภูมิศาสตร์นั้นเป็นตัวนำ เพื่อทำให้ผู้บริโภคสนใจและเกิดภาพลักษณ์เชื่อมโยงระหว่างคุณลักษณะพิเศษ กับพื้นที่แหล่งผลิตสินค้าที่เป็นสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ข้อสังเกต:

– การคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ตามกฎหมาย ถือเป็นสิทธิชุมชน
– สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ที่จะนำมาขึ้นทะเบียนจะต้องเป็นชื่อที่เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคและมีการใช้กันมาแล้ว ไม่ใช่สิ่งที่สามารถคิดขึ้นใหม่เพื่อนำมาขอขึ้นทะเบียนได้
– ผู้มีสิทธิใช้สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ภายใต้กฎหมาย คือ ผู้ผลิตสินค้าที่อยู่ในท้องถิ่นนั้นและผู้ประกอบการค้าที่เกี่ยวกับสินค้านั้น (ไม่ใช่เฉพาะแต่ผู้ขึ้นทะเบียน)

แหล่งที่มา: http://www.ipthailand.go.th/index.php?option=com_content&view=article&id=33&Itemid=259

Comments

comments