Categories
ข้อมูลเตรียมสอบงานราชการ

พ.ร.บ.ป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ บัดนี้ –  มาตรา 21 การฆ่าสัตว์ไม่ผิดกฎหมาย

พ.ร.บ.ป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์

“พ.ร.บ.ป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์”

ลิงค์: https://iqepi.com/27038/ หรือ
เรื่อง: มาตรา 21 การฆ่าสัตว์ไม่ผิดกฎหมาย
**ไม่ต้องผ่านภาค ก. ก.พ.**


ดาวน์โหลด พ.ร.บ.ป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ คลิกที่นี่

ติดตามข่าวตั้งแต่ พ.ร.บ.ตัวนี้ ประกาศและบังคับใช้ ปรากฎว่าสิ่งที่ได้รับรู้ก็ค่อนข้างทึ่ง เช่น

ที่น่ากลัวไปกว่านั้น เมื่ออ่านเนื้อหาตามข่าว รวมทั้งความเห็นต่างๆ เกี่ยวกับข่าวพวกนี้ ในโซเชียลมีเดียว พบว่า ส่วนใหญ่จะมีความเห็นไปในทางเดียวกัน ว่าเรื่องแปลกๆ เหล่านี้ ต้นเหตุมาจาก “กลัวถูกจับ-ปรับจาก พ.ร.บ. ป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์” 

หลังจากเห็นข่าวก็ลงมือค้นและอ่านตัว พ.ร.บ.ป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ จากเว็บไซต์สำนักงานคณะกรรมการสํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ด้วยความสงสัยและไม่เชื่อว่าจะมีการร่าง พ.ร.บ. ที่เปิดโอกาสให้สัตว์เลี้ยงแสนรักของตัวเองหรือของใครกลายเป็นภัยคุกคาม มนุษย์ เพราะธรรมชาติสร้างให้สัตว์มีอาวุธป้องกันตัวติดกาย ไม่ว่าจะเป็นเขี้ยว เล็บ และที่สำคัญหากปล่อยปละละเลยโดยไม่เข้าควบคุมหรือดูแลยังเป็นพาหะนำโรค ติดต่อที่น่ากลัวอีกด้วย ไม่นับรวมกับสัญชาตญาณของสัตว์เวลาที่จะทำอันตรายแก่ใครไม่ว่าจะเป็นคนหรือ สัตว์ โดยจะตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ตามที จะสามารถทำอันตรายถึง “ตาย” ได้เลย และคิดว่าสมควรเผยแพร่ เพื่อให้เกิดความเข้าใจยิ่งขึ้น ตาม พ.ร.บ.ป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ กรณี “ห้ามมิให้ผู้ใดกระทำการอันเป็นการทารุณกรรมสัตว์โดยไม่มีเหตุอันสมควร” คำว่า “สมควร” ตามมาตรา 20 ในที่นี้จะถูกขยายความในมาตรา 21 ว่าระดับไหนเรียกว่าสมควร แบบไหนเรียกว่าไม่ทารุณ ซึ่งก็คือข้อยกเว้นตามมาตรา 20 นั่นละครับ ตามข่าวเหมือนว่าจะอ่านเพียง ม.20 แค่บรรทัดเดียว ถูกสัตว์กัดเลือดท่วมหูขาดตาฉีกก็ไม่กล้าทำอะไรเพื่อเป็นการระงับเหตุ ปล่อยให้สัตว์ร้ายไปทำร้ายคนอื่นๆ ต่อไป ต้องไปดูที่ ม.21 ถ้าเข้าลักษณะ ม.21 “ไม่ห้าม” ครับ

มาตรา 21 การกระทำดังต่อไปนี้ ไม่ถือว่าเป็นการทารุณกรรมสัตว์ตามมาตรา 20

(1) การฆ่าสัตว์เพื่อใช้เป็นอาหาร ทั้งนี้ เฉพาะสัตว์เลี้ยงเพื่อใช้เป็นอาหาร

(2) การฆ่าสัตว์ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมการฆ่าสัตว์และจำหน่ายเนื้อสัตว์

(3) การฆ่าสัตว์เพื่อควบคุมโรคระบาดตามกฎหมายว่าด้วยโรคระบาดสัตว์

(4) การฆ่าสัตว์ในกรณีที่สัตวแพทย์เห็นว่าสัตว์ป่วย พิการ หรือบาดเจ็บและไม่สามารถเยียวยา หรือรักษาให้มีชีวิตอยู่รอดได้โดยปราศจากความทุกข์ทรมาน

(5) การฆ่าสัตว์ตามพิธีกรรมหรือความเชื่อทางศาสนา

(6) การฆ่าสัตว์ในกรณีที่มีความจำเป็นเพื่อป้องกันอันตรายแก่ชีวิตหรือร่างกายของมนุษย์หรือสัตว์อื่น หรือป้องกันความเสียหายที่จะเกิดแก่ทรัพย์สิน

(7) การกระทำใดๆ ต่อร่างกายสัตว์ซึ่งเข้าลักษณะของการประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์ โดยผู้ประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์หรือผู้ซึ่งได้รับการยกเว้นให้กระทำได้โดยไม่ต้องขึ้นทะเบียนและได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์จากสัตวแพยทสภาตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพการสัตวแพทย์

(8) การตัด หู หาง ขน เขา หรืองาโดยมีเหตุอันสมควรและไม่เป็นอันตรายต่อสัตว์หรือการดำรงชีวิตของสัตว์

(9) การจัดให้มีการต่อสู้ของสัตว์ตามประเพณีท้องถิ่น

(10) การกระทำอื่นใดที่มีกฎหมายกำหนดให้สามารถกระทำได้เป็นการเฉพาะ

(11) การกระทำอื่นใดที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ

  Youtube: iqepin LINE it! เพิ่มเพื่อน  

หากพิจารณาตามข่าวแล้วก็น่าจะเข้าลักษณะของ ม.21 วงเล็บ 6 การฆ่าสัตว์กรณีที่มีความจำเป็นเพื้อป้องกันอันตรายแก่ชีวิตหรือร่างกายของมนุษย์หรือสัตว์อื่น หรือป้องกันความเสียหายที่จะเกิดแก่ทรัพย์สิน “ไม่ถือว่าเป็นการทารุณกรรมสัตว์ ตามมาตรา 20 ขนาดจัดให้มีการต่อสู้ของสัตว์ตามประเพณีท้องถิ่น ตาม ม.21 (9) ทั้งที่มองจากสภาพน่าจะเข้าลักษณะทารุณสัตว์ยังทำได้ไม่ผิดตาม ม.20 แล้วทำอันตรายเสียเลือดเสียเนื้อขนาดนั้นจะผิด ม.20 ก็ค่อนข้างจะแปลกๆ

เมืองไทยมีคนขี้เบื้อจำนวนหนึ่ง ที่นิยมซื้อหาลูกสัตว์มาเลี้ยงแล้วเอาไปทิ้งเมื่อเบื่อ ไหนจะมีคนใจบุญอีกจำนวนมากที่นิยมจะหาข้าวหาขนมให้สุนัขจรจัดกิน แต่ไม่เอาไปเลี้ยง ไม่ทราบว่ากลัวต้องรับผิดชอบหรือกลัวภาระ ทำให้มีสัตว์เร่ร่อนสัตว์จรจัดออกลูกออกหลานไร้คนดูแลและรับผิดชอบเต็มไปหมด ก็อย่าให้ถึงกับเด็กไทยต้องมีลักษณะพิกลพิการ ปากแหว่ง หูแหว่ง เพราะถูกสัตว์ทำร้าย แต่ไม่กล้าทำอะไรสัตว์เพราะกลัว กม.ตัวนี้ ด้วยความไม่เข้าใจเลย

สำหรับบทลงโทษ น่าจะสนใจส่วนของออกมาสำหรับลงโทษเจ้าของสัตว์ที่ไม่มีความรับผิดชอบ หรือไม่ใช่เจ้าของสัตว์แต่มีนิสัยของทารุณกรรมสัตว์เป็นนิจมากกว่า ถ้าแบบนั้นก็จัดไปหนักๆ เลย เพราะโทษก็พอสมน้ำสมเนื้อดี ยกเว้นกรณีศาลห้ามครอบครองสัตว์เพราะหากเป็นพวกคนขี้เบื่อเอาสัตว์ไปทิ้งก็สมความปรารถนาเลย จ่ายค่าปรับแค่ 40,000 บาท ส่วนตัวได้แค่ค่าอาหารสุนัขขนาดกลาง 4 ปีกว่าๆ ต่อ 1 ตัวเท่านั้น ไม่รวมวัคซีนนานาชนิด และค่ารักษากรณีเจ็บป่วยด้วยซ้ำ ถ้าเป็นสุนัขขนาดใหญ่ก็ไม่ต้องพูดถึงเลยว่าจะต้องใช้ค่าใช้จ่ายขนาดไหน

บทกำหนดโทษ

มาตรา 20 ห้ามมิให้ผู้ใดกระทำการอันเป็นการทารุณกรรมสัตว์โดยไม่มีเหตุอันสมควร

มาตรา 22 ต้องดำเนินการจัดสวัสดิภาพสัตว์ให้แก่สัตว์ของตนให้เหมาะสมตามหลักเกณฑ์ฯ

มาตรา 23 ห้ามมิให้เจ้าของสัตว์ปล่อย ละทิ้ง หรือกระทำการใดๆ ให้สัตว์พ้นจากการดูแลของตนโดยไม่มีเหตุสมควร แต่ไม่รวมถึงการโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองให้แก่ผู้ซึ่งประสงค์จะนำสัตว์ไปดูแลแทน

มาตรา 24 การขนส่งสัตว์ หรือการนำสัตว์ไปใช้งานหรือใช้ในการแสดง เจ้าของสัตว์หรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องต้องจัดสวัสดิภาพสัตว์ให้เหมาะสม ตามหลักเกณฑ์ฯ

หากฝ่าฝืนมาตรา 20 หรือ ไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ฯ ตามมาตราา 22, 23, 24 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และศาลอาจสั่งห้ามมิให้เจ้าของหรือผู้กระทำความผิดนั้นครอบครองสัตว์ดังกล่าว และมอบให้หน่วยงานของรัฐหรือบุคคลที่เห็นสมควรเป็นผู้ครองครองหรือดูแลสัตว์นั้นต่อไป (ม.31, ม.32)

และเมื่อเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจปฏิบัติหน้าที่ตามอำนาจหน้าที่ตามมาตรา 25 คือ เรียกเจ้าของให้ส่งเอกสาร เข้าตรวจค้น (ไม่ต้องมีหมายค้นหากมีเหตุจำเป็น ตามมาตรา 25 (5)) ยึด อายัดสัตว์ หากเจ้าของสัตว์ไม่อำนวยความสะดวก (ม.28) มีโทษปรับไม่เกิน 20,000 บาท (ม.34)

อันนี้เผื่อออกสอบ

  • พ.ร.บ.ป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ.2557″ นิยมเรียกว่า พ.ร.บ.ตัวนี้ว่า พ.ร.บ.คุ้มครองสัตว์ ถ้าเป็นข้อสอบระวังผิดนะ
  • กรณีโทษปรับสถานเดียวให้อธิบดีกรมปศุสัตว์หรือผู้อธิบดีมอบหมายมีอำนาจเปรียบเทียบได้ และกำหนดชำระเงินค่าปรับภายใน 15 วัน ให้ถือว่าคดีเลิกกันตาม ป.วิ อาญา (ม.35)
  • ประกาศวันที่ 26 ธ.ค.57 บังคับใช้ 27 ธ.ค. 57 (ถัดจากวันประกาศในราชกิจจาฯ)
  • รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์รักษาการ
  • สัตว์ตามความหมายใน พ.ร.บ. สัตว์เลี้ยงเป็นสัตว์บ้าน พาหนะ เพื่อน อาหาร แสดง ทั้งที่มีและไม่มีเจ้าของ และสัตว์ที่อาศัยอยู่ในธรรมชาติด้วย
  • การทารุณกรรม หมายความวา่ การทำ หรือไม่ทำ จนเป็นเหตุให้สัตว์ได้รับความทุกข์ทรมานไม่ว่าทางร่างกายหรือจิตใจ เจ็บปวด เจ็บป่วย พิการ จนถึงตาย รวมทั้งใช้สัตว์ เด็ก แก่ พิการ ตั้งท้อง เจ็บป่วย ประกอบกามกิจ (???) หรือ ทำงานเกินสมควร และไม่สมควร เพื่อแสวงหาผลประโยชน์
  • เจ้าของสัตว์ คือ เจ้าของกรรมสิทธิ์ ครอบครองสัตว์หรือผู้ได้รับมอบหมายให้ดูแล ทั้งรับมอบจากเจ้าของกรรมสิทธิ์โดยตรง หรือได้รับมอบจากผู้ที่รับมอบให้ดูแลอีกที
  • มีคณะกรรมการป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ รวมแล้วไม่เกิน 7 คน เป็นกรรมการ ดำรงตำแหน่งคราวละ 4 ปี ห้ามเกิน 2 วาระติดต่อกัน

อย่างไรก็ตามควรดูรายละเอียดอ่านจาก พ.ร.บ. ฉบับเต็มด้วยนะครับ ผมก็ไม่ชำนาญเรื่อง กม. ^^

Comments

comments