Categories
เหตุการณ์ปัจจุบัน

บัดนี้ –  เขตเศรษฐกิจพิเศษ

“”

ลิงค์: https://iqepi.com/19168/ หรือ
เรื่อง: เขตเศรษฐกิจพิเศษ
**ไม่ต้องผ่านภาค ก. ก.พ.**


เกี่ยวกับ การจัดตั้ง เขตเศรษฐกิจพิเศษ ซึ่งเป็นนโยบายของรัฐบาลเพื่อรองรับ AEC โดยการนำเสนอของกระทรวงการคลัง มีสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ (กนพ.) กำกับดูแลการดำเนินการของเขตเศรษฐกิจพิเศษให้เป็นไปตามนโยบาย สำหรับการเตรียมสอบงานราชการจะไม่ทราบเรื่องนี้เลยก็คงจะไม่ได้ เพราะเป็นเรื่องใหญ่ที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและส่งผลกระทบในหลายๆ ด้าน ก็อ่านไปเรื่อยๆ ไม่ต้องเครียด เก็บสะสมข้อมูลพอให้ทราบ เพื่อให้เข้าใจเรื่องราวเกี่ยวกับเขตเศรษฐกิจพิเศษที่จะมีการเพิ่มเติมเปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็ว เพราะทราบข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับเขตเศรษฐกิจพิเศษแล้ว

จาก การที่ประเทศไทยจะ เข้าสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ( ASEAN Economic Community: AEC) ในปี 2558 เพื่อรองรับการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนดังกล่าว รัฐบาลได้มีนโยบายที่จะจัดตั้ง “เขตเศรษฐกิจพิเศษ” ในจังหวัดต่างๆ ตามแนวชายแดน

เขตเศรษฐกิจพิเศษคืออะไร

เขตเศรษฐกิจพิเศษ  หมายถึง เขตพื้นที่ที่จัดตั้งขึ้นเป็นการเฉพาะตามกฎหมาย เพื่อประโยชน์ในการส่งเสริมสนับสนุน และอำนวยความสะดวก รวมทั้งให้สิทธิพิเศษบางประการในการดำเนินกิจการต่างๆ เช่น การอุตสาหกรรม การพาณิชยกรรม การบริการ หรือกิจการอื่นใดที่เป็นประโยชน์แก่การเศรษฐกิจของประเทศ

สิทธิ ประโยชน์ที่ผู้ ประกอบการอุตสาหกรรม การพาณิชยกรรม หรือกิจการอื่นใดที่เป็นประโยชน์แก่การเศรษฐกิจของประเทศ ได้รับอยู่แล้วตามกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบัน  ได้แก่ การส่งเสริมการลงทุน ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ.2520  การนิคมอุตสาหกรรม ตามพระราชบัญญัติการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พ.ศ.2522  และเขตปลอดอากร ตามพระราชบัญญัติศุลกากร พระพุทธศักราช 2496   โดยมีสาระสำคัญการให้สิทธิประโยชน์ ดังนี้

การ จัดตั้งเขต เศรษฐกิจพิเศษ ควรออกเป็นพระราชบัญญัติเช่นเดียวกับพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ.2520 และพระราชบัญญัติการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พ.ศ.2522 โดยการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติศุลกากร พระพุทธศักราช 2496  เพิ่มบทบัญญัติในหมวด 10 ตรี “เขตเศรษฐกิจพิเศษ” การจัดตั้งให้ออกเป็นประกาศกระทรวงการคลัง โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี และผู้ที่ประกอบการในเขตดังกล่าวได้รับสิทธิประโยชน์เช่นเดี่ยวกับผู้ได้รับ การส่งเสริมการลงทุน ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ.2520  ผู้ประกอบการในนิคมอุตสาหกรรม ตามพระราชบัญญัติการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พ.ศ.2522  และผู้ประกอบการในเขตปลอดอากร  ตามพระราชบัญญัติศุลกากร พระพุทธศักราช 2469  ตามรายละเอียดที่ได้กล่าวไว้แล้วข้างต้น

ประโยชน์ที่ได้รับจากการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษ 

การ ที่ประเทศไทยจะ เข้าสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ในปี 2558 และประเทศไทยมีสภาพทางภูมิศาสตร์เป็นศูนย์กลางของภูมิภาคเอเชียตะวันออก เฉียงใต้ การจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษ จะมีประโยชน์เป็นอย่างมากต่อประเทศไทย เพราะเป็นการสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจและส่งเสริมความสามารถในการแข่งขัน ของสินค้าไทยในตลาดประเทศเพื่อนบ้าน โดยมีประโยชน์ที่จะได้รับ ดังนี้

  1. เป็นการส่งเสริมการลงทุนในประเทศ เพราะประเทศไทยเป็นศูนย์กลางของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
  2. เป็นการส่งเสริมการส่งออก เพราะช่วยลดต้นทุนในการประกอบการต่างๆ เช่น ค่าแรงงานราคาถูกจากประเทศเพื่อนบ้าน
  3. เป็นการส่งเสริมให้มีการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ ในการผลิตสินค้าจากต่างประเทศเข้าดำเนินการในประเทศไทย
  4. เป็นศูนย์กลางการกระจายสินค้าจากประเทศไทย และประเทศต่างๆ ไปสู่ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศอื่นๆ
  5. ก่อให้เกิดการจ้างงานเพิ่มขึ้นในภูมิภาคต่างๆ ของประเทศไทย ที่มีการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษ

สาระสำคัญร่าง พ.ร.บ. เขตเศรษฐกิจพิเศษ พ.ศ.2548

1.เขต พิเศษ หมายถึง พื้นที่เฉพาะที่กำหนดขึ้นเพื่อประโยชน์ในการส่งเสริมสนับสนุน อำนวยความสะดวก รวมทั้งให้สิทธิพิเศษบางประการในการดำเนินกิจการต่างๆ ภายในเขตพื้นที่ เช่น การอุตสาหกรรม การเกษตรกรรม พาณิชยกรรม การท่องเที่ยว การบริหาร หรือการอื่นใด และยังเป็นการพัฒนาต้นแบบการบริหารจัดการที่ดี

***2.ให้ มีคณะกรรมการนโยบายเขตพิเศษ โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน มีอำนาจหน้าที่เสนอแนะนโยบายเขตพิเศษและการตั้งเขตพิเศษแต่ละแห่งต่อคณะ รัฐมนตรี รวมทั้งกำกับดูแลการดำเนินการของเขตพิเศษให้เป็นไปตามนโยบาย โดยมีสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพิเศษ ซึ่งมีสถานะเป็นองค์การมหาชน ทำหน้าที่ศึกษาถึงรายละเอียดที่จะตั้งเขตพิเศษ รวมทั้งเป็นฝ่ายวิชาการและธุรการให้คณะกรรมการนโยบายฯ

3.กำหนดให้มีกระบวนการจัดตั้งเขตพิเศษ การบริหารจัดการเขตพิเศษแต่ละเขตรายได้และอำนาจหน้าที่ของเขตพิเศษ

***4.เขต พิเศษอาจได้มาซึ่งที่ดิน/อสังหาริมทรัพย์เพื่อใช้ในการดำเนินงาน โดยจัดหาเอง เช่น ซื้อ เช่าซื้อ แลกเปลี่ยน เช่าระยะยาว เวนคืน ให้เอกชนนำที่ดินมาร่วมลงทุน เป็นต้น หรือได้มาโดยผลของกฎหมาย เช่น ให้ พรฏ.จัดตั้งเขตพิเศษมีผลเป็นการถอนสภาพสาธารณสมบัติของแผ่นดินในเขตที่กำหนด เป็นเขตพิเศษ และให้ตกเป็นของเขตพิเศษ โดยไม่ต้องดำเนินการตามกฎหมายที่ดิน

***5.กรณี ที่กฎหมายกำหนดให้การดำเนินการในเรื่องใดเป็นอำนาจของหน่วยงาน ของรัฐหรือคณะกรรมการตามกฎหมาย ให้เขตพิเศษมีอำนาจดำเนินการได้เช่นเดียวกับหน่วยงานของรัฐนั้น และให้ถือว่าผู้ว่าการเขตพิเศษเป็นและมีอำนาจเช่นเดียวกับเจ้าพนักงานตาม กฎหมายนั้น

6.การดำเนินการเรื่องใดที่กฎหมายกำหนดให้ต้องได้รับอนุญาต จากหน่วยงานของ รัฐ เขตพิเศษมีอำนาจดำเนินการได้โดยไม่ต้องขออนุญาต แต่ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดไว้สำหรับผู้ขออนุญาตตามกฎหมายนั้น

7.ถ้าเขตพิเศษ เห็นว่าหลักเกณฑ์ วิธีการเงื่อนไขที่กำหนดไว้สำหรับผู้ขออนุญาตตามกฎหมายใดเป็นอุปสรรคแก่ผู้ ประกอบการ/ผู้อยู่อาศัย ให้รายงานคณะกรรมการนโยบายเพื่อนำเสนอ ครม.ปรับปรุงหลักเกณฑ์ดังกล่าวได้ ยกเว้นกิจการที่อยู่ในอำนาจของ กทช.และ กสช

8.ถ้าพื้นที่ของเขตพิเศษครอบคลุมป่าสงวนแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าหรืออุทยานแห่งชาติ และเขตพิเศษนั้นมีวัตถุประสงค์ในการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ การดำเนินการของเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายดังกล่าวต้องสอดคล้องกับแผนและแนวทาง การดำเนินงานของเขตพิเศษ

9.เขตพิเศษมีอำนาจให้บริการแก่ผู้ประกอบ ธุรกิจ/อยู่อาศัย เช่น อนุมัติ ออกใบอนุญาต แทนหน่วยงานของรัฐที่มีอำนาจตามกฎหมายภายในพื้นที่เขตพิเศษ และเรียกเก็บค่าธรรมเนียม ซึ่งค่าธรรมเนียมหลังจากหักค่าใช้จ่ายไว้ไม่เกินร้อยละ 10 ให้ส่งเป็นรายได้ของหน่วยงานของรัฐที่มีอำนาจตามกฎหมาย ทั้งนี้การดำเนินการดังกล่าวต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายนั้นกำหนด และเมื่อดำเนินการแล้วต้องแจ้งให้หน่วยงานของรัฐที่มีอำนาจตามกฎหมายทราบ

10.ให้ เขตพิเศษมีอำนาจเช่นเดียวกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นภายในพื้นที่ เขตพิเศษ และเรียกเก็บค่าธรรมเนียมได้ โดยต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด เมื่อดำเนินการแล้วต้องแจ้งให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทราบ ค่าธรรมเนียมหลังจากหักค่าใช้จ่ายไว้ไม่เกินร้อยละ 10 ให้ส่งเป็นรายได้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

11.กรณีหน่วยงานของรัฐหรือ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเห็นว่าการดำเนินการ ของเขตพิเศษไม่ถูกต้องหรือไม่เหมาะสม ให้แจ้งเขตพิเศษเพื่อแก้ไข ถ้าเขตพิเศษไม่ดำเนินการให้เสนอคณะกรรมการนโยบายเพื่อวินิจฉัย

12.ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดและผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นกรรมการ โดยตำแหน่งในคณะกรรมการบริหารเขตพิเศษ

13.ผู้ประกอบการ/ผู้อยู่อาศัยในเขตพิเศษมีสิทธิ

(1) ได้รับการลดหย่อนหรือยกเว้นอากรขาเข้า ภาษีสรรพสามิต และค่าธรรมเนียมพิเศษตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน

(2) การลดหย่อนอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล

(3) หักค่าใช้จ่ายก่อนการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดานอกจากที่กำหนดในประมวลรัษฎากร

(4) นำคนต่างด้าวเข้ามาอยู่และทำงานในราชอาณาจักร

(5) สิทธิในการถือกรรมสิทธิ์ที่ดินของคนต่างด้าว

(6) สิทธิในการถือครองหรือเปิดบัญชีเงินฝากเป็นเงินตราต่างประเทศ

(7) สิทธิในการนำหรือส่งเงินออกไปนอกราชอาณาจักร

ข้อท้วงติงของแต่ละหน่วยงาน

=กระทรวงการคลัง

การ กำหนดให้เขตเศรษฐกิจพิเศษมีอำนาจดำเนินการได้เช่นเดียวกับหน่วยงานของ รัฐ หรือคณะกรรมการตามกฎหมายใดเป็นการเฉพาะนั้น อาจทำให้การพิจารณาอนุมัติหรืออนุญาตขาดการพิจารณาจากหน่วยงานที่มีความ เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน และควรกำหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมในเขตเศรษฐกิจพิเศษ

=กระทรวงกลาโหม

เห็น ควรตัดร่างมาตรา 62 (1) (2) มาตรา 64, 65 และ 66 ออก เนื่องจากกระทบต่อความมั่นคงของชาติ และตัดร่างมาตรา 88 และไม่สมควรกำหนดตามร่างมาตรา 99 เพราะอาจจะขัดต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 36 วรรคแรก

=กระทรวงวัฒนธรรม

ควรเพิ่มบทบัญญัติเพื่อปกป้องคุ้มครองโบราณสถาน และควรเพิ่มผู้แทนกระทรวงวัฒนธรรมในคณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจพิเศษด้วย

การ จัดตั้งสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตเศรษฐกิจพิเศษให้มีฐานะเป็น องค์กรมหาชน จะต้องไม่เป็นกิจการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร แต่เขตเศรษฐกิจพิเศษมีฐานะเป็นนิติบุคคลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และมีลักษณะเป็นการแสวงหากำไร

=กระทรวงสาธารณสุข

การกำหนดให้ ผู้ว่าการเขตเศรษฐกิจพิเศษ เป็นผู้มีอำนาจอนุมัติ อนุญาต ออกใบอนุญาต หรือให้ความเห็นชอบ หรือเป็นผู้มีอำนาจในการรับจดทะเบียนหรือรับแจ้งตามกฎหมายอื่นด้วยนั้น ควรมีการประเมินความคิดเห็นของทุกฝ่ายให้รอบคอบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปกครองส่วนท้องถิ่นตามรัฐธรรมนูญ

=สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี

ร่าง กฎหมายดังกล่าวอาจมีผลกระทบต่อการดำเนินงานตามอำนาจหน้าที่ขององค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น(อปท.) ตาม พ.ร.บ.กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542 ถ้าหากพื้นที่ของ อปท.ได้มีพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ

=สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

กฎหมาย ฉบับนี้ให้อำนาจที่จะให้มีการถมทะเลได้ ซึ่งนอกจากจะศึกษาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมแล้ว ควรต้องดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมก่อน

=องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน(องค์กรมหาชน)

เห็น ควรให้กำหนดการให้สิทธิพิเศษในการดำเนินกิจการตามร่างมาตรา 4 แต่เฉพาะ “การอุตสาหกรรม พาณิชยกรรม และกิจการที่เกี่ยวเนื่อง” เท่านั้น โดยควรตัดข้อความ “การท่องเที่ยว การบริการ และการอื่นใด” ออก

และใน ส่วนอำนาจหน้าที่ที่ซ้ำซ้อนกับส่วนราชการอื่น ควรมีบทบัญญัติกำหนดให้มีการบูรณาการความร่วมมือและประสานงานเพื่อใช้อำนาจ หน้าที่ร่วมกัน


 6 ใน 12 เขตเศรษฐกิจพิเศษของไทย

  

ความเห็นของภาคเอกชน : การพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน

ยุทธศาสตร์ การ พัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจและการขนส่งของภูมิภาคเอเชียตะวัน ออกเฉียงใต้ โดยภาครัฐได้มีการร่างกฎหมายเขตเศรษฐกิจชายแดน โดยวัตถุประสงค์สำคัญจะเป็นการใช้ประโยชน์พื้นที่ตามตะเข็บของชายแดน ซึ่งประเทศไทยมีชายแดนติดต่อกับหลายประเทศ ได้แก่ พม่า , ลาว , กัมพูชา ซึ่งหากรวมภาคใต้ก็จะมีมาเลเซีย โดยเหตุผลสำคัญประเทศไทยต้องการพัฒนาพื้นที่เขตลงทุนอุตสาหกรรมและพาณิชยก รรมให้เป็นประตูรองรับการเชื่อมโยงโครงการ ไม่ว่าจะเป็น GMS : Great Makong Subregion ซึ่งเป็นโครงการภายใต้ธนาคารแห่งเอเชีย ADB Bank 

โดย เฉพาะต้องการ เชื่อมโยงกับประเทศจีนตอนใต้ โดยการพัฒนาเขตเศรษฐกิจชายแดนที่น่าจะเป็นรูปธรรมน่าจะเป็นโครงการพัฒนา พื้นที่ทางส่วนเหนือของจังหวัดเชียงราย อาจจะเป็นที่แม่สายหรือที่อำเภอเชียงของ ซึ่งจะมีเส้นทางเชื่อมโยงกับเมืองเชียงรุ่งและเมืองคุนหมิง ซึ่งอยู่ในมณฑลยูนานของประเทศจีนตอนใต้  สำหรับโครงการนำร่องเศรษฐกิจชายแดนอีกแห่งหนึ่งน่าจะเป็นบริเวณชายแดน อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก กับเมืองเมียวดี ของพม่า เหตุผลสำคัญที่ทำให้โครงการเขตเศรษฐกิจชายแดนกลายเป็นประเด็นในปัจจุบันก็ เนื่องจากรัฐบาลต้องการจะให้มีการส่งเสริมการลงทุนจากประเทศเพื่อนบ้าน หรือจากนักลงทุนต่างชาติ รวมทั้ง นักลงทุนท้องถิ่นให้มาลงทุนในบริเวณพื้นที่ซึ่งรัฐบาลจะจัดสรร ตามตะเข็บชายแดน โดยการใช้ประโยชน์จากแรงงานต่างด้าวที่จะสามารถเข้ามาทำงานได้แบบเช้าไปเย็น กลับ อีกทั้งจะสามารถนำเข้าวัตถุดิบและส่งออกได้โดยเสรี

นอก จากนี้ จะเป็นแหล่งรองรับการเคลื่อนย้ายฐานการลงทุนในกลุ่มอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงาน (Labour Insentive) และอุตสาหกรรมที่ต้องพึ่งพาวัตถุดิบจากประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะวัตถุดิบประเภทไม้ โดยผู้ที่ลงทุนในเขตอุตสาหกรรมในเขตเศรษฐกิจชายแดนจะได้รับสิทธิประโยชน์จาก การยกเว้นภาษีนำเข้า , การยกเว้นภาษีเงินได้ รวมถึงการตั้งคลังสินค้าทัณฑ์บนและศูนย์กระจายสินค้าด้าน Logistics

  Youtube: iqepin LINE it! เพิ่มเพื่อน  

โดยผู้ที่ลงทุนในเขตเศรษฐกิจชายแดนจะมีลักษณะแตกต่างไปจากนิคมอุตสาหกรรมโดยทั่วไปก็ตรงที่ ในเขตเศรษฐกิจชายแดน จะถือเป็นดินแดนพิเศษ ดูแลและบริหารโดยคณะกรรมการบริหารจัดการเขตเศรษฐกิจ ซึ่งประกอบด้วย กรรมการจากคนท้องถิ่น 6 คน และกรรมการจากภาครัฐอีก 4 คน ทำหน้าที่เป็นผู้บริหาร โดยมีอำนาจในการจัดตั้งองค์กรมีอำนาจเบ็ดเสร็จในการพัฒนาพื้นที่และการใช้ ประโยชน์ของพื้นที่ป่าไม้หรือป่าชุมชน โดยคณะกรรมการมีสิทธิที่จะนำที่ดินเหล่านั้นมาจัดสรรให้กับเอกชนไม่ว่าจะ เป็นสัญชาติไทยหรือต่างชาติ สามารถทำสัญญาเช่าเป็นระยะเวลาได้ถึง 99 ปี

เกี่ยวกับเรื่องเขตเศรษฐกิจชายแดน  มีผู้วิพากษ์ทั้งข้อดีและข้อเสีย หากมองในแง่ประโยชน์แล้วก็จะสามารถทำให้ประเทศไทยสามารถพัฒนาบริเวณชายแดน ไม่ว่าจะเป็นที่แม่สอด หรือที่เชียงราย หรือจังหวัดหนองคาย หรือในอีกหลายที่ให้สามารถสร้างเป็นเขตอุตสาหกรรม โดยประเทศไทยจะได้ประโยชน์จากการใช้แรงงานประเทศเพื่อนบ้านเป็นการแก้ปัญหา การขาดแคลนแรงงานไร้ทักษะ และแก้ปัญหาการทะลักเข้ามาในพื้นที่ส่วนกลางของแรงงานต่างด้าว

ส่วนข้อเสียนั้น มีผู้วิจารณ์ที่หลากหลายว่าจะเป็นการเสียอำนาจอธิปไตยหรือการให้อำนาจคณะ กรรมการมากเกินไปในการเวนคืนที่ดิน ถึงแม้ว่า จะมีกรรมการจากท้องถิ่น จะเป็นกรรมการที่จะรักษาความถูกต้อง แต่เรื่องของผลประโยชน์นั้น ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการเป็นกรรมการจากคนท้องถิ่นหรือเป็นคนภายนอก หากเป็นผลประโยชน์ซึ่งลงตัวกันแล้ว ก็ฮั้วกันได้ทั้งสิ้น นอกจากนี้ การให้ระยะเวลาเช่าที่ยาวเกินไป เมื่อเทียบกับประเทศจีนหรือประเทศเวียดนาม ซึ่งมีระยะเวลาให้เช่าที่ดินเพื่ออุตสาหกรรมไม่เกิน 50 ปี

อย่างไรก็ดี ข้อที่ควรพิจารณา หากเป็นนักลงทุนชาวจีน ซึ่งในประเทศของเขามีต้นทุนการผลิตที่ต่ำกว่าประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นค่าแรง , ค่าที่ดิน วัตถุดิบ อะไรเป็นเหตุจูงใจให้อยากมาลงทุนในเขตเศรษฐกิจชายแดนที่ตอนเหนือของเชียงราย เป็นไปได้หรือไม่ว่าเป็นเครื่องหมายสำคัญ ก็คือ แหล่งกำเนิดสินค้าในประเทศไทย “Thailand of Origin” เพื่อจะได้นำสินค้าเข้าไปในอาเซียนหรือไปแย่งตลาดของไทยเองในสหรัฐอเมริกา ซึ่งจีนกำลังมีปัญหาในเรื่องของโควตาสินค้า ซึ่งเกิดจากการถูกกดดันเกี่ยวกับค่าเงินหยวน

ดัง นั้น การพิจารณากฎหมายเกี่ยวกับเขตเศรษฐกิจพิเศษ จึงขอให้มีความรอบคอบ โดยข้อเท็จจริงแล้วประเทศไทยเองก็มีกฎหมายหลายฉบับไม่ว่าจะเป็นร่าง พรบ. เขตปลอดอากร , เขตอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออก (EPZ : Export Processing Zone) หรือเขต Free Zone ก็ ล้วนแต่ให้สิทธิใกล้เคียงกัน ทั้งนี้ เขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน ไม่ว่าจะเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษสะหวัน-เซโน ของ สปป.ลาว , เขตเศรษฐกิจพิเศษลาวบาว ของเวียดนาม , หรือที่มณฑลกวางสี, เมืองฉงชิ่ง , เมืองเซินเจิ้น ฯลฯ ในประเทศจีน ซึ่งล้วนเป็นประเทศซึ่งมีระบบปกครองเป็นสังคมนิยม เอกชนไม่มีสิทธิเป็นเจ้าของที่ดิน รัฐจึงสามารถจัดสรรให้กับต่างชาติเช่าได้

แต่ กรณีของประเทศ ไทย เป็นประเทศประชาธิปไตย ซึ่งมีความแตกต่างกัน ซึ่งเรื่องเศรษฐกิจพิเศษชายแดนนี้คงต้องมีการถกเถียง ทั้งส่วนของผู้ที่เห็นด้วย กับผู้ที่ไม่เห็นด้วยหรือมีความคิดแตกต่างกันไป แต่ทราบว่ารัฐบาลก็มีงบประมาณกว่า 1,300 ล้าน  ในการเตรียมพัฒนาเขตเศรษฐกิจชายแดนที่เชียงราย  หากคิดว่าเป็นประโยชน์ต่อประเทศแล้วก็ทำไป แต่ประเทศไทยไม่ได้เป็นของคนใดคนหนึ่ง เพียงแต่ขอให้คิดให้รอบคอบเพราะมีผลต่อลูกหลาน ทุกคนก็เกิดมาแล้วก็ต้องตายด้วยกันทั้งสิ้น ผลประโยชน์ที่ได้มาก็คงไม่มีใครที่จะแบกไปกับตนได้ เหลือเพียงแต่คุณความดีหรือการสาปแช่งเท่านั้น…

 


นางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ ปลัดกระทรวงคมนาคม

แผนโครงสร้างพื้นฐานเขต ศก.พิเศษของไทย

เมื่อวันที่ 7 ส.ค. ที่ผ่านมา นางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ได้ประชุมร่วมกับผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อเตรียมพร้อมในการประชุมคณะอนุกรรมการด้านโครงสร้างพื้นฐานและด่าน ศุลกากร ในวันที่ 18 ส.ค.นี้ ซึ่งจะมีการพิจารณาแผนและลำดับความสำคัญการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน แผนปรับปรุงด่านศุลกากร/ด่านชายแดน และแผนพัฒนานิคมอุตสาหกรรม เพื่อให้สามารถรองรับกิจกรรมในพื้นที่พัฒนาและจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษ เชื่อมโยงประเทศในภูมิภาคได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตามที่คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ (กนพ.) ที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เป็นประธานมอบหมายให้แล้วเสร็จภายในสิ้นเดือน ส.ค.นี้

ทั้งนี้ เป้าหมายในปี 2557-2558 จะมีการจัดตั้งเป็นเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษให้สมบูรณ์โดยพัฒนาพื้นที่ชายแดนที่มีศักยภาพ ได้แก่ 1.ด่าน แม่สอด จ.ตาก    2.ด่านอรัญประเทศ จ.สระแก้ว    3.ด่านหาดเล็ก (ท่าเรือคลองใหญ่) จ.ตราด   4.ด่านมุกดาหาร    5.ด่านสะเดา  6.ด่านปาดังเบซาร์ จ.สงขลา   ส่วนที่เหลืออีก 12 ด่านจะทยอยดำเนินการในระยะต่อไป

อย่าง ไรก็ตาม นอกจากคณะอนุกรรมการด้านโครงสร้างพื้นฐานและด่านศุลกากร จะพัฒนาโครงข่ายพื้นฐานทั้งบก น้ำ อากาศ รางให้เชื่อมโยงกับ 6 ด่านชายแดนอย่างสะดวกแล้ว จะต้องดูเรื่องการปรับปรุงด่านศุลกากร ระบบโครงสร้างพื้นฐานที่ด่านทั้งน้ำประปา ไฟฟ้า ให้ครอบคลุม รวมไปถึงการบริหารจัดการที่ด่าน ซึ่งในภาพรวมหน่วยงานของคมนาคม ได้มีแผนโครงข่ายเชื่อมโยงแต่ละด่านไว้แล้ว และพร้อมดำเนินการทันที

 

             รายงานข่าวว่าเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2557 คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ (กนพ.) ได้มีการประชุมครั้งที่ 1/2557 ณ กองบัญชาการกองทัพบก โดยมีหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา) เป็นประธานการประชุมสรุปสาระสาคัญของผลการประชุมได้ดังนี้

            1. ที่ประชุมคณะกรรมการ กนพ. รับทราบความก้าวหน้าการดาเนินงานของ สศช.ในช่วงปีที่ผ่านมา ได้แก่ (1) ศึกษาเพื่อวางยุทธศาสตร์การพัฒนาเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษในระดับประเทศและระดับพื้นที่ (2) หารือร่วมกับหน่วยงานในเรื่องการให้สิทธิประโยชน์ การให้บริการแบบจุดเดียวเบ็ดเสร็จ มาตรการสนับสนุนการใช้แรงงานต่างด้าว (3) เตรียมความพร้อม สร้างความเข้าใจและการรับฟังความความคิดเห็นของภาคส่วนการพัฒนาในพื้นที่ชายแดน (4) ศึกษาตัวอย่างรูปแบบการพัฒนาเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษในต่างประเทศ (5) สำรวจพื้นที่ชายแดนที่มีศักยภาพและโอกาสการเชื่อมโยงไปยังประเทศในภูมิภาคและ (6) ประสานความร่วมมือในระดับทวิภาคีกับประเทศกัมพูชาและประเทศมาเลเซียในการพัฒนาเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษร่วมกัน

            2. ที่ประชุมได้ให้ความเห็นชอบพื้นที่ที่มีศักยภาพเหมาะสมในการจัดตั้งเป็นเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษระยะแรกของไทยใน 5 พื้นที่ชายแดน เพื่อให้สามารถก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียนได้อย่างสมบูรณ์ในปี 2558 ได้แก่ (1) แม่สอด (2) อรัญประเทศ (3) ตราด (4) มุกดาหาร (5) สะเดา (ด่านศุลกากรสะเดาและปาดังเบซาร์) โดย เน้นการตอบสนองต่อเป้าหมายการพัฒนาทั้งในด้านเศรษฐกิจและความมั่นคงของ ประเทศ ในการเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน เพิ่มการจ้างงานและสร้างความเป็นอยู่ที่ดีให้ประชาชน แก้ปัญหาแรงงานต่างด้าวลักลอบเข้ามายังพื้นที่ตอนใน ปัญหาการลักลอบนำเข้าสินค้าเกษตรผิดกฎหมายจากประเทศเพื่อนบ้าน และปัญหาความแออัดบริเวณด่านชายแดน

            3. ที่ประชุมได้เห็นชอบหลักเกณฑ์และวิธีการสนับสนุนการจัดตั้งเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ 4 เรื่อง ได้แก่ (1) สิทธิประโยชน์สาหรับการลงทุน (2) การให้บริการจุดเดียวแบบเบ็ดเสร็จ (3) มาตรการสนับสนุนการใช้แรงงานต่างด้าว และ (4) การ พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและด่านศุลกากรในพื้นที่ เพื่อให้สามารถรองรับกิจกรรมในพื้นที่เขตเศรษฐกิจและเชื่อมโยงประเทศใน ภูมิภาคได้อย่างมีประสิทธิภาพ

            4. ที่ประชุมได้อนุมัติให้ตั้งคณะอนุกรรมการ 3 ชุดเพื่อเสนอแนวทางการดาเนินงานในส่วนที่ได้รับมอบหมายให้ กนพ. พิจารณาภายในเดือนสิงหาคม 2557 ได้แก่

                        (1) คณะอนุกรรมการด้านสิทธิประโยชน์ ขอบเขตพื้นที่ และศูนย์บริการเบ็ดเสร็จด้านการลงทุน เสนอขอบเขตและจัดหาพื้นที่ สิทธิประโยชน์ และแผนพัฒนาระบบบริการเบ็ดเสร็จด้านการลงทุน ปลัด กค. เป็นประธาน/ ผอ.สศค.เป็นเลขานุการ/สกท.และสศช. เป็นผู้ช่วยเลขานุการ

                        (2) คณะอนุกรรมการศูนย์บริการเบ็ดเสร็จด้านแรงงาน สาธารณสุข และความมั่นคงเสนอแนวทางจัดระบบการจ้างแรงงานต่างด้าว การพัฒนาฝีมือแรงงาน และแผนการจัดตั้ง One  Stop Service แรงงานต่างด้าว ปลัดรง.เป็นประธาน/รง.เป็นฝ่ายเลขานุการ/สศช. เป็นผู้ช่วยเลขานุการ

                        (3) คณะอนุกรรมการด้านโครงสร้างพื้นฐานและด่านศุลกากรเสนอแผนและลาดับความสาคัญการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน แผนปรับปรุงด่านศุลกากร/ด่านชายแดน และแผนพัฒนานิคมอุตสาหกรรม ปลัด คค. เป็นประธาน/ผอ.สนข.เป็นเลขานุการ/กรมศุลกากรและ สศช. เป็นผู้ช่วยเลขานุการ


            5. ให้ สศช. ทาการประเมินผลการดาเนินงานตามนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ 5 พื้นที่ (ตุลาคม 2557-ธันวาคม 2558) ในลักษณะ ก่อนหลัง ในประเด็นดังนี้ (1) ความก้าวหน้าการปฏิบัติงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (2) ความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ(3) ผลกระทบทางเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และความมั่นคง (4) ความพึงพอใจของภาคส่วนต่างๆ (5) ปัญหา อุปสรรคและแนวทางแก้ไขปรับปรุงเพื่อการปฏิบัติเป็นไปอย่างถูกต้องมี ประสิทธิภาพ และก่อประโยชน์ส่วนรวมของประเทศทั้งนี้เพื่อใช้ประกอบในการพัฒนาและจัดตั้ง เขตเศรษฐกิจพิเศษในระยะต่อไปให้มีประสิทธิภาพ

ระยะที่ 2

จาก การรายงานข่าวว่าทางภาครัฐและเอกชนเชียงรายได้ข่าวดีหลังจากประชุม ประชุมคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชน (กรอ.) จ.เชียงราย  มีการแจ้งในที่ประชุมว่าล่าสุด คสช.ได้กำหนดให้ จ.เชียงราย พร้อมด้วย จ.กาญจนบุรี จ.หนองคาย จ.นครพนม และ จ.นราธิวาส เป็นจังหวัดที่จะได้รับการพัฒนาในระยะที่ 2 ตั้งแต่ปี 2559 เป็นต้นไป โดยให้สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ทำการศึกษาและเก็บข้อมูล ในฐานะเลขานุการของคณะกรรมการนโยบายเขตเศรษฐกิจพิเศษ (กนพ.)

นาย จักรกฤช ธรรมศิริ รองผู้จัดการโครงการศึกษายุทธศาสตร์การพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ กล่าวว่าเชียงรายโชคดีที่เป็นกลุ่มจังหวัดที่จะพัฒนาเป็นเขตพัฒนาเศรษฐกิจ พิเศษในเฟส 2 เพราะจะได้รับทราบปัญหาจากกลุ่มจังหวัดแรกๆ และสามารถใช้เป็นข้อศึกษาได้อย่างละเอียดมากขึ้น โดยคณะจะเริ่มลงพื้นที่ จ.เชียงรายตั้งแต่กลางเดือน ส.ค. 57 เป็นต้นไป เพื่อเก็บข้อมูลอย่างรอบด้านทุกเรื่องตามนโยบายของ คสช.ที่เน้นให้ภาคเอกชนได้เข้ามามีส่วนร่วมให้มากที่สุด เริ่มจากการรับฟังความเห็นตั้งแต่กลางดือน ส.ค.-ก.ย. 57 และมีการศึกษาอย่างละเอียดครอบคลุมเรื่องผลกระทบในด้านต่างๆ ด้วย ส่วนเขตพื้นที่ที่จะจัดตั้งก็จะพิจารณาตามเขตการปกครองคือตำบล อำเภอ จังหวัด ซึ่งทำให้ง่ายขึ้นอีก

 

ใน การประชุมได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่าโครงการก่อสร้างเส้นทางรถไฟเชียง ของ-เด่นชัย ที่มีการผลักดันกันมานานนั้น ล่าสุด คสช.ได้ให้ความเห็นชอบแนวทางการพัฒนาเป็นระบบรถไฟทางคู่ในอนาคต โดยใช้ขนาดทางมาตรฐาน 1.435 เมตร (Standgard Gauge) รถไฟขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า ความเร็ว 160 กม./ชม. เป็น 1 ใน 2 โครงการ ในระยะเร่งด่วนแล้ว โดยให้สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) นำผลศึกษารถไฟความเร็วสูงเดิมมาศึกษาทบทวนเพื่อต่อยอดการออกแบบให้สัมพันธ์ กับแนวทางดังกล่าว ซึ่งจะเป็นเส้นทางที่เชื่อมโยงจากจีน-ลาว-ไทย-มาเลเซีย

      

ที่ ประชุม กรอ.เชียงรายครั้งนี้ยังมีการหารือเกี่ยวกับการจัดตั้งแลนด์มาร์กของ จ.เชียงราย เบื้องต้นกำหนดใช้สถานที่ ต.ป่าอ้อดอนชัย อ.เมือง ก่อนถึงวัดร่องขุ่น เนื้อที่ประมาณ 10 ไร่ และทางนายวิรุณ คำภิโล ที่ปรึกษาหอการค้า จ.เชียงราย แจ้งว่า หอการค้า จ.เชียงรายจะเป็นเจ้าภาพในการจัดประชุมหอการค้าทั่วประเทศในวันที่ 21-23 พ.ย.นี้ที่ มฟล. คาดว่าจะมีผู้เข้าไปร่วมงานทุกฝ่ายประมาณ 4,500-5,000 คน

 



ดาวน์โหลดประกาศรับสมัครสอบ คลิกที่นี่

Comments

comments

ข่าวงานราชการเปิดสอบ 2567-2569
Privacy Overview

This website uses cookies so that we can provide you with the best user experience possible. Cookie information is stored in your browser and performs functions such as recognising you when you return to our website and helping our team to understand which sections of the website you find most interesting and useful.