“คุรุสภา – จบสาขาอื่นอยากเป็นครูอาชีวะ”
ลิงค์: https://iqepi.com/?p=15216 หรือ
ตำแหน่ง: จบสาขาอื่นอยากเป็นครูอาชีวะ
ระดับการศึกษา:
อัตราเงินเดือน:
อัตราว่าง:
ปฏิบัติงานที่:
เปิดรับสมัครตั้งแต่: –
**ไม่ต้องผ่านภาค ก. ก.พ.**
หากต้องการเป็นข้าราชการครู จะครูผู้ช่วย ก็ต้องสอบครูผู้ช่วย แต่การจะสมัครสอบครูผู้ช่วยหนทางไม่ได้ง่ายอย่างที่คิดเพราะหากจบสายอื่นที่ไม่ใช่ ค.บ. หรือ ครุศาสตรบัณฑิต จะไม่มีใบประกอบวิชาชีพครู แล้วทำอย่างไรจะได้ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู ก็ต้องทำความเข้าใจกันก่อนว่า สองสามปีก่อนจะมีการสอบมาตรฐานวิชาชีพครู 9 มาตรฐาน จนเปลี่ยนมาเป็น 11 มาตรฐาน และสุดท้ายก็กลับไปที่ 9 มาตรฐานดังเดิม ในยุคแรกๆ ที่มีการสอบมาตรฐานวิชาชีพครู ไม่ว่าจะจบสาขาใดมาก็ไปสมัครสอบมาตรฐานวิชาชีพครูได้ แต่ปัจจุบันได้ยกเลิกแล้ว การจะสอบมาตรฐานวิชาชีพครูได้นั้นต้องเป็นครูที่ปฏิบัติการสอนอยู่ก่อนแล้วเท่านั้น โอกาสของผู้ที่จบสาขาอื่นก็มืดมนลง แม้ว่าครูในสาขาขาดแคลนก็ยังคงขาดแคลนอยู่
จากผลการประชุมคณะกรรมการร่วมพิจารณาหารูปแบบการให้ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู สำหรับผู้สอนในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวะศึกษา (สอศ.) โดยเฉพาะสาขาขาดแคลน มีมติเห็นชอบให้ดำเนินการ 3 แนวทาง ดังนี้
1. กรณีสาขาขาดแคลนที่ไม่มีการเปิดสอนในคณะครุศาสตร์ ศึกษาศาสตร์เลย สอศ.สามารถรับคนที่จบสายอื่นที่ไม่ใช่สายครูเข้ามาสอนได้ ซึ่งคุรุสภาจะออกใบอนุญาตปฏิบัติการสอน 90 วัน เพื่อใช้ในการสมัครสอบ และเมื่อบรรจุเป็นครูผู้ช่วยแล้วก็จะเข้าสู่กระบวนการพัฒนาวิชาชีพครู ไม่ว่าจะเป็นการเรียนหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตทางการศึกษา หรือตามหลักเกณฑ์ที่คุรุสภากำหนด ซึ่งใบอนุญาตการสอนชั่วคราวนี้ คุรุสภาจะออกให้ 3 ครั้ง แต่ละครั้งจะมีอายุ 2 ปี รวม 6 ปี และให้ สอศ. ติดต่อกับสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) เพื่อประสานมหาวิทยาลัยที่ผลิตครูเปิดสอนในสาขาขาดแคลนรวมทั้ง สอศ.อาจเปิดสอนหลักสูตรครูในสาขาที่ สอศ.ขาดแคลนเองก็ได้ หรือขอความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยโดยตรง แต่ทั้งหมดนี้ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ของคุรุสภาเรื่องมาตรฐานวิชาชีพครู
2. กรณีที่สถาบันผลิตครูเปิดสอนหลักสูตรสาขาขาดาแคลน แต่ไม่มีผู้สมัครเข้ารียน ให้ สอศ. หาแรงจูงใจและส่งเสริมให้เด็กไปเรียนในสถาบันเหล่านั้น เช่น การให้ทุนการศึกษา เพื่อกลับมาเป็นครูในสังกัด สอศ. แต่หากไม่มีผู้เข้าเรียนจริงๆ ให้ สอศ. เปิดสอนสาขาขาดแคลนหลักสูตร 4 ปี และให้เข้าสู่กระบวนการพัฒนาวิชาชีพครูตามระเบียบคุรุสภา
3. กรณีผู้สอนที่เป็นผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งบางคนไม่จบการศึกษาระดับปริญญาตรี แต่เป็นผู้อาวุโสและมีประสบการณ์มาก สอศ. จึงจ้างให้มาสอนนั้น ให้ สอศ.ส่งรายชื่อคนกลุ่มนี้มาให้คุรุสภาพิจารณาออกใบอนุญาตฯ เป็นรายกรณีไป
ทั้งนี้ จะนำมติดังกล่าวเข้าสู่ที่ประชุมคณะกรรมการคุรุสภาเพื่อพิจารณาเห็นชอบ ซึ่งไม่น่าจะมีปัญหา เพราะเป็นไปตามหลักการของคุรุสภาที่ต้องการให้ สอศ.จัดการศึกษาได้โดยไม่สะดุดอีกต่อไป
หนทางสำหรับคนที่ไม่ได้จบปริญญาตรีทางการศึกษาก็ยากลำบากเช่นนี้แล เพราะกำแพงที่คุรุสภาก่อไว้เพื่อป้องกันคนที่ไม่ได้จบปริญญาตรีทางการศึกษาต้องการจะได้ใบประกอบวิชาชีพครูเพื่อสอบบรรจุเป็นครูผู้ช่วย..ค่อนข้างสูงชันจนสุดท้ายก็คงจะปิดหมดทุกทาง ต้องกลับไปเรียน ปริญญาตรีใหม่อีก 5 ปีจึงจะได้สอบบรรจุครูผู้ช่วย ซึ่งไม่คุ้มค่าเวลาที่เสียไปแน่นอน
สมัครงาน คุรุสภา งานราชการ คุรุสภา รับสมัคร สอบ คุรุสภา 2557 สอบ คุรุสภา 57 คุรุสภา เปิดสอบ
วิธีการสมัครงาน คุรุสภา :
ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบ:
สอบวันที่:
ประกาศผลสอบ: