“สรุปสาระสำคัญ รธน. (ชั่วคราว) 57 – สำนักเลขาธิการ คณะรักษาความสงบแห่งชาติสรุปสาระสำคัญ รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว2557”
ลิงค์: https://iqepi.com/?p=14550 หรือ
สำนักเลขาธิการ คณะรักษาความสงบแห่งชาติสรุปสาระสำคัญ รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว2557
เมื่อวันที่ 23 ก.ค. 2557 คณะทำงานด้านกฎหมายส่วนงานรักษาความสงบ สำนักเลขาธิการ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้..
สรุปสาระสำคัญของ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 โดยมีรายละเอียดดังนี้
1.พระมหากษัตริย์
-บทบัญญัติของหมวด 2 พระมหากษัตริย์ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ยังคงใช้บังคับอยู่ต่อไป
-ทรงใช้อำนาจอธิปไตยทางสภานิติบัญญัติแห่งชาติ คณะรัฐมนตรี และศาล
-ทรงมีพระราชอำนาจในการแต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี และสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ
-ทรงมีพระราชอำนาจในการยับยั้งร่างกฎหมายและร่างรัฐธรรมนูญ
-ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจในการตราพระราชกำหนดและพระราชกฤษฎีกา พระราชทานอภัยโทษ ทำหนังสือสัญญากับนานาประเทศ และแต่งตั้งข้าราชการและผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรตามรัฐธรรมนูญ
-ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจในการอื่นตามประเพณีการปกครองประเทศไทยในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
2.คณะองคมนตรี
-เป็นไปตามที่บัญญัติไว้ในหมวด 2 พระมหากษัตริย์ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ซึ่งยังคงใช้บังคับอยู่ต่อไป
3.สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.)
-สมาชิกจำนวนไม่เกิน 220 คน
-หัวหน้า คสช. คัดเลือกจากบุคคลภาคส่วนต่างๆ แล้วนำรายชื่อขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายเพื่อทรงแต่งตั้ง
-สมาชิกต้องมีสัญชาติไทยโดยการเกิดและมีอายุไม่ต่ำกว่าสี่สิบปี รวมทั้งต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่กำหนด เช่น ต้องไม่ดำรงตำแหน่งใดในพรรคการเมืองภายในเวลาสามปีก่อนวันที่ได้รับการแต่ง ตั้ง
-จะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี หรือสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติในขณะเดียวกันไม่ได้
-สมาชิก สนช. ไม่น้อยกว่า 25 คน มีสิทธิเสนอร่างพระราชบัญญัติ
4.คณะรัฐมนตรี
-ประกอบด้วยนายกรัฐมนตรีหนึ่งคน และรัฐมนตรีอื่นอีกจำนวนไม่เกิน 35 คน
-พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีตามมติของ สนช. แต่งตั้งรัฐมนตรีตามคำแนะนำของนายกรัฐมนตรี
-คณะรัฐมนตรีต้องถวายสัตย์ปฏิญาณต่อพระมหากษัตริย์ก่อนเข้ารับหน้าที่
-นายกรัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่งตามมติของ สนช. ที่เสนอโดย คสช.
-นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีต้องมีสัญชาติไทยโดยการเกิด มีอายุไม่ต่ำกว่าสี่สิบปี และสำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า รวมทั้งต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่กำหนด เช่น ต้องไม่เป็นสมาชิกพรรคการเมืองหรือดำรงตำแหน่งในพรรคการเมืองภายในเวลาสามปี ก่อนวันที่ได้รับการแต่งตั้ง
-นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีต้องไม่เป็นสมาชิก สนช. สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ กรรมาธิการ ยกร่างรัฐธรรมนูญ หรือสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น
5.คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)
-ประกอบด้วยบุคคลตามประกาศ คสช. ฉบับที่ 6/2557
-ในกรณีจำเป็น สามารถเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมผู้ดำรงตำแหน่งใน คสช. ได้ แต่รวมกันแล้วต้องไม่เกิน 15 คน และสามารถกำหนดให้หน่วยงานใดทำหน้าที่หน่วยธุรการของ คสช. ได้ตามที่เห็นสมควร
-สามารถแจ้งให้ ครม. ทราบ เพื่อดำเนินการใดๆ ที่เห็นสมควรได้
-ก่อนที่ ครม. จะเข้ารับหน้าที่ อำนาจของนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีเป็นของหัวหน้า คสช.
-ในกรณีจำเป็น เช่น เพื่อประโยชน์ในการปฏิรูป เพื่อความสงบเรียบร้อยหรือความมั่นคง หัวหน้า คสช. โดยความเห็นชอบของ คสช. มีอำนาจสั่งการ ระงับยับยั้ง หรือกระทำการใดๆ ได้ และให้ถือว่าการนั้นชอบด้วยกฎหมายและรัฐธรรมนูญ และเป็นที่สุด แต่ให้รายงานให้ประธาน สนช. และนายกรัฐมนตรีทราบโดยเร็ว
6.สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.)
-ประกอบด้วยสมาชิก จำนวนไม่เกิน 250 คน ซึ่ง คสช. คัดเลือกจากรายชื่อที่คณะกรรมการสรรหาเสนอ โดยในจำนวนนี้ให้คัดเลือกจากบุคคลที่คณะกรรมการสรรหาประจำจังหวัดเสนอ จังหวัดละหนึ่งคน
-สมาชิกต้องมีสัญชาติไทยโดยการเกิดและมีอายุไม่ต่ำกว่าสามสิบห้าปี รวมทั้งต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่กำหนด เช่น ต้องไม่เป็นบุคคลล้มละลายหรือเคยเป็นบุคคลล้มละลายทุจริต
-ให้มีคณะกรรมการสรรหาบุคคลด้านต่าง ๆ 11 คณะ และให้มีคณะกรรมการสรรหาประจำจังหวัด ๆ ละ 1 คณะ เพื่อสรรหาจากบุคคลซึ่งมีภูมิลำเนาในจังหวัดนั้น ๆ
-รายละเอียดกระบวนการสรรหาและคัดเลือกเป็นไปตามที่กำหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกา
-อำนาจหน้าที่ของสภาปฏิรูปแห่งชาติ
(1)จัดทำแนวทางและข้อเสนอการปฏิรูปประเทศในด้านต่าง ๆ เพื่อเสนอ สนช. ครม. คสช. หรือหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง และถ้าเห็นว่าจำเป็นต้องตรากฎหมาย ก็เสนอร่างกฎหมายนั้นต่อ สนช. หรือ ครม. ได้ด้วย
(2)เสนอความเห็นหรือข้อเสนอแนะต่อคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ
(3)พิจารณาและให้ความเห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญที่คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญจัดทำขึ้น
-ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการในรัฐธรรมนูญฉบับถาวร
7.คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ
-ประกอบด้วยกรรมาธิการ จำนวน 36 คน ดังนี้
(1) ประธานกรรมาธิการตามที่ คสช. เสนอ
(2) กรรมาธิการ จำนวน 20 คน ตามที่สภาปฏิรูปแห่งชาติเสนอ
(3) กรรมาธิการตามที่ สนช. ครม. และ คสช. เสนอฝ่ายละ 5 คน
-ต้องไม่เป็นสมาชิกและไม่ดำรงตำแหน่งใดในพรรคการเมืองภายในเวลาสามปีก่อนวันที่ได้รับการแต่งตั้ง
-ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติต้องแต่งตั้งกรรมาธิการฯ ให้แล้วเสร็จภายใน 15 วันนับแต่วันที่มีการเรียกประชุมสภาปฏิรูปฯ เป็นครั้งแรก
-ห้ามดำรงตำแหน่งทางการเมืองภายในสองปีนับแต่วันที่พ้นจากการเป็นกรรมาธิการยกร่างฯ
-ต้องจัดทำร่างรัฐธรรมนูญให้แล้วเสร็จภายใน 120 วัน ถ้าทำไม่เสร็จต้องพ้นจากตำแหน่งและจะกลับมาเป็นอีกไม่ได้
8.กระบวนการยกร่างรัฐธรรมนูญ
-ให้สภาปฏิรูปฯ ส่งความเห็นหรือข้อเสนอแนะต่อคณะกรรมาธิการยกร่างฯ ภายใน 60 วันนับแต่วันที่มีการเรียกประชุมสภาปฏิรูปฯ เป็นครั้งแรก
-คณะกรรมาธิการยกร่างฯ ต้องจัดทำร่างรัฐธรรมนูญให้แล้วเสร็จภายใน 120 วันนับแต่วันที่ได้รับความเห็นหรือข้อเสนอแนะของสภาปฏิรูปฯ
-คณะกรรมาธิการยกร่างฯ ต้องส่งร่างรัฐธรรมนูญที่จัดทำเสร็จแล้วให้สภาปฏิรูปฯ ครม. และ คสช.
-สภาปฏิรูปฯ มีเวลาพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญ 10 วัน แล้วมีเวลายื่นคำขอแก้ไขเพิ่มเติมภายใน 30 วัน ครม. หรือ คสช. ก็สามารถเสนอความเห็นหรือยื่นคำขอแก้ไขเพิ่มเติมได้ภายใน 30 วัน
-คณะกรรมาธิการยกร่างฯ ต้องพิจารณาคำขอแก้ไขเพิ่มเติมให้แล้วเสร็จภายใน 60 วัน
-สภาปฏิรูปฯ พิจารณาให้ความเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญทั้งฉบับภายใน 15 วัน
-กรณีเห็นชอบ ให้ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาตินำร่างรัฐธรรมนูญขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย และเมื่อทรงลงพระปรมาภิไธยแล้ว ให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาและใช้บังคับได้
-รวมระยะเวลาทั้งสิ้น ประมาณ 10 เดือน นับแต่วันที่สภาปฏิรูปฯ เริ่มประชุมครั้งแรก
-กรณีสภาปฏิรูปฯ ไม่เห็นชอบหรือพิจารณาไม่แล้วเสร็จตามเวลาที่กำหนด หรือพระมหากษัตริย์ไม่เห็นชอบด้วย ร่างรัฐธรรมนูญนั้นเป็นอันตกไป และต้องแต่งตั้งสภาปฏิรูปฯ และคณะกรรมาธิการฯ ชุดใหม่ขึ้นมาแทน โดยที่คนเดิมจะกลับมาเป็นอีกไม่ได้
-กรณีคณะกรรมาธิการฯ ยกร่างไม่แล้วเสร็จภายในเวลาที่กำหนด ให้แต่งตั้งกรรมาธิการชุดใหม่ขึ้นมาแทนภายใน 15 วัน โดยที่คนเดิมจะกลับมาเป็นอีกไม่ได้
9.อื่นๆ
-ครม. และ คสช. สามารถร่วมกันเสนอร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ (ฉบับชั่วคราว) นี้ ต่อ สนช. เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ โดยร่างรัฐธรรมนูญฉบับแก้ไขเพิ่มเติมต้องมีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง ของสมาชิก สนช. ทั้งหมดเท่าที่มีอยู่
-ให้บรรดาประกาศและคำสั่ง คสช. ที่มีระหว่างวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 จนถึงวันที่ ครม. เข้ารับหน้าที่ รวมทั้งการกระทำตามประกาศและคำสั่งดังกล่าว ชอบด้วยกฎหมายและรัฐธรรมนูญ และเป็นที่สุด และให้บรรดาประกาศและคำสั่ง คสช. ที่ยังใช้บังคับอยู่มีผลใช้บังคับต่อไปจนกว่าจะมีการแก้ไขเพิ่มเติมหรือยก เลิก
-นิรโทษกรรมให้แก่บรรดาการกระทำทั้งหลายของหัวหน้าและ คสช. รวมทั้งบุคคลต่าง ๆ ซึ่งได้กระทำเนื่องในการยึดและควบคุมอำนาจการปกครองแผ่นดิน ไม่ว่าจะกระทำในวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 ก่อนวันนั้น หรือหลังจากวันนั้น ให้ผู้กระทำพ้นจากความผิดและความรับผิดโดยสิ้นเชิง
ที่มา: โพสท์ทูเดย์
สรุปประเด็นสำคัญ รธน.(ชั่วคราว) 57 ที่เปลี่ยนแปลงจาก รธน. ฉบับเดิม
มาตรา 5. กรณีไม่มีบทบัญญัติให้วินิจฉัยไปตามประเพณีการปกครองฯ (ม.7 ตาม รธน.ปกติ) แต่เพิ่ม
-กรณีเกี่ยวกับงานของสภานิติบัญญัติ ให้ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) วินิจฉัย
-กรณีนอกงานของ สภานิติบัญญัติ คสช. ครม. ศาล ให้ศาลรธน. วินิจฉัย
-กรณีของ ศาลฎีกา หรือ ศาลปกครอง ให้เป็นหน้าที่ของที่ประชุมใหญ่แต่ละศาล (กรณีที่เกี่ยวกับการพิจารณาพิพากษาคดี)
เกี่ยวกับ สนช.
-มีไม่เกิน 220 คน
-คสช. แต่งตั้งเป็นคนแต่งตั้ง ดูจากความสามารถความหลากหลาย
-ต้องไม่เคยดำรงตำแหน่งในพรรคการเมืองเป็นเวลา 3 ปี ,ไม่เป็นพระ/ นักบวช,ไม่ล้มละลาย, ไม่เคยถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง หรืออยู่ระหว่างนั้น,ไม่เคยถูกให้ออกจากราชการจากกรณีทุจริต ,ไม่เคยถูกคำพิพากษายึดทรัพย์จากคดีทุจริต หรือทำผิดต่อหน้าที่,ต้องไม่เคยติดคุกเว้นแต่เป็นความผิดลหุโทษ ,ต้องไม่เป็น สภาปฏิรูปหรือรัฐมนตรี
-ไม่ห้าม คสช. ไม่ห้ามข้าราชการประจำ **
-พ้นจากตำแหน่งเมื่อ ตาย ,ลาออก ,คสช.ปลด ,มีลักษณะต้องห้าม ,สนช.มีมติปลดกันเอง,ขาดประชุมเกินกำหนด
-ทำหน้าที่แทน สภาผู้แทน และ วุฒิสภา ,ตรากฎหมาย
-เปิดอภิปราย นายกฯ หรือ รัฐมนตรีได้ แต่ลงมติไม่ไว้วางใจไม่ได้
-ตั้งนายกฯ
เกี่ยวกับ นายกฯ และ ครม.
– นายกฯ 1 คน รัฐมนตรีไม่เกิน 35 คน
– นายกฯตั้งโดย สนช. ครม. ตั้งโดย นายกฯ
– ประธาน สนช. ปลดนายกฯได้ , นายกฯปลดรัฐมนตรีได้
– คุณสมบัติ สัญชาติไทยโดยการเกิด, อายุเกิน 40 , จบปปริญญาตรี ,ไม่เป็นสมาชิกพรรคกรเมืองภายใน 3 ปี ,ไม่เป็น สนช. สภาปฏิรูป กมธ.ยกร่าง รธน. สมาชิกสภาท้องถิ่น กรรมการองค์กรอิสระ ผู้พิพากษา
– ไม่ห้าม คสช. หรือ ข้าราชการประจำ
– อำนาจเป็นไปตาม ครม. ปกติ
เกี่ยวกับ สภาปฏิรูป
-มีจำนวนไม่เกิน 250 คน
-คสช. ถวายคำแนะนำในการตั้ง
-คุณสมบัติเหมือน สนช. แต่เคยเป็นสมาชิกพรรคการเมืองได้ (เปิดโอกาสนักการเมืองร่วม)
-วิธีสรรหา
oจังหวัด สรรหา
oกรรมการสรรหากลุ่มปฏิรูป 11 กลุ่ม
oให้ คสช. คัดเลือกเหลือ 250 คน โดยต้องมีจากจังหวัด จังหวัดละหนึ่งคน
-หน้าที่ศึกษา และ จัดทำแนวทางปฏิรูป เสนอความเห็นต่อ กมธ.ยกร่าง รธน. และเห็นชอบร่าง รธน.ฉบับใหม่
-ทำข้อเสนอจัดทำต่อ กมธ.ยกร่าง รธน. ภายใน 60 วัน นับจากประชุมครั้งแรก
เกี่ยวกับกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ
-จำนวน 36 คน
-ประธาน 1 คน คสช. เป็นคนเสนอ
-ประกอบด้วย สภาปฏิรูปเสนอ 20 คน , สนช.เสนอ 5 คน , ครม. เสนอ 5 คน คสช. เสนอ 5 คน
-ตั้งให้ได้ภายใน 15 วัน จากการประชุมสภาปฏิรูปครั้งแรก
-คุณสมบัติ ต้องไม่เป็นผู้ดำรงตำแหน่งางการเมือง แต่เป็น คสช. สนช. หรือสภาปฏิรูปได้ ,ไม่เป็นสมาชิกพรรคหรือดำรงตำแหน่งในพรรคการเมืองภายใน 3 ปี คุณสมบัติคล้ายสมาชิกสภาปฏิรูป ,ไม่เป็นผู้พิพากษาหรือดำรงตำแหน่งในองค์กรตามรัฐธรรมนูญ
-ห้ามดำรงตำแหน่งทางการเมือภายในสองปี หลัง พ้นจากตำแหน่ง
เกี่ยวกับการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญ
-ให้ร่าง รธน.ให้เสร็จใน 120 วัน นับแต่ได้รับความเห็นจากสภาปฏิรูป
oสภาปฏิรูป ต้องประชุมเพื่อพิจารณา เสนอแนะหรือให้คามเห็นให้แล้วเสร็จใน 10 วัน
oสภาปฏิรูปขอแก้ไขเพิ่มเติมได้อีก มีเวลา 30 วัน
-กมธ.ยกร่างฯ เสนอร่างให้ ครม. คสช. พิจารณาและ ขอแก้ไขเพิ่มเติมใน 30 วัน
-กมธ.ยกร่างแก้ไขเพิมเติมให้เสร็จภายใน 60 วัน นับจากวันครบกำหนดการยื่นแก้ ก่อนส่งให้สภาปฏิรูป
-สภาปฏิรูปต้องมีมติภายใน 15 วัน (แก้ไข เพิ่มเติมไม่ได้ เว้นแต่ไม่สาระสำคัญ หรือ กมธ.ยกร่างเห็นควรให้แก้ไขเพิ่มเติม)
-หากเห็นชอบ ให้นำขึ้นทูลเกล้าใน 30 วัน
-หากไม่เห้นชอบก็ให้ร่าง รธน. ตกไป และให้เริ่ม สภาปฏิรูปและ กมธ.ยกร่าง สิ้นสุดลง และเริ่มกระบวนการใหม่
-หาก รธน. ผ่าน ให้ กมธ.ยกร่างยังอยู่ เพื่อร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ต้องมีเรื่องดังนี้
-รับรองความเป็นราชอาณาจักรแบ่งแยกมิได้
-สร้างกลไกตรวตจสอบ และขจัดการทุจริต
-สร้างกลไก ในการตรวจสอบผู้เคยถูกคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายเรื่องการทุจริต ไม่ให้เข้ามาดำรงตำแหน่งทางการเมืองอย่างเด็ดขาด
-สร้างกลไกให้เจ้าหน้าที่รัฐ และผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พรรคการเมือง ไม่ถูกครอบงำหรือชี้นำจากบุคคลใดโดยไม่ชอบ
-สร้างกลไกเสริมสร้างความเข้มแข็งหลักนิติธรรม คุณะรรม จริยธรรม ธรรมาภิบาล
-สร้างกลไกป้องกันนโยบายประชานิยมที่สร้างความเสียหาย
-สร้างกลไกป้องกันมิให้ทำลายหลักการสำคัญของ รธน.
-สร้างกลไกผลักดันให้มีการปฏิรูปเรื่องสำคัญต่อไป
-พิจารณาความจำเป็นและความคุ้มค่าขององค์กรอิสระ
คสช.
-ให้ คสช. อยู่ต่อไป
-มีไม่เกิน 15 คน
-หากเห็นสมควร หัวหน้า คสช. หรือ นายกฯ อาจขอให้ประชุมร่วม คสช. – ครม. เพื่อแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบหรือความมั่นคง หรือเรื่องอื่น
-ยังคงอำนาจ ตรากฎหมาย ช่วงยังไม่มี สนช.
-กรณีที่หัวหน้า คสช. เห็นจำเป็น มีอำนาจสั่งการ ระงับ ยับยั้ง การกระทำ ใม่ว่าการกระทำนั้นจะมีผลบังคับในทาง นิติบัญญัติ บริหารหรือ ตุลาการ และให้ถือว่าคำสั่งหรือการกระทำของ คสช. ชอบด้วยกฎหมายและรัฐธรรมนูญ (คสช.มีอำนาจเหนือ นิติบัญญัติ บริหาร ตุลาการ)
ศาลรธน.
-ยังคงมีอยู่ มีอำนาจหน้าที่พิจารณาว่ากฎหมายใดขัด รธน.
การแก้ รธน.
คสช. ครม. มีมติร่วมกันแก้ไข รธน. ฉบับนี้ได้
นิรโทษกรรม
-นิรโทษกรรมการกระทำและคำสั่ง คสช. ตั้งแต่ 22 พ.ค. – วันที่ ครม. เข้ารับตำแหน่ง
ที่มา: เนชั่นทีวี
สรุปสาระสำคัญ by..ไทยรัฐ
สาระสำคัญ แต่งตั้ง สนช.จำนวน 220 คน คุณสมบัติจะต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 40 ปี และไม่เป็นผู้ที่เคยถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง-ไล่ออกจากราชการ
วันนี้ (22 ก.ค.57) ภายหลังมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2557 และได้มีการประกาศในราชกิจจานุเบกษา แล้วนั้น เบื้องต้นจากการตรวจสอบมีเนื้อหาสาระสำคัญ ดังต่อไปนี้ รัฐธรรมนูญชั่วคราวปี 57 มีเนื้อหาทั้งหมด 48 มาตรา โดยมีสาระสำคัญในการแต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ซึ่งจะทำหน้าที่ออกกฎหมาย จำนวน 220 คน โดยจะต้องมีคุณสมบัติ อาทิ มีอายุไม่ต่ำกว่า 40 ปี ต้องไม่เป็นผู้ที่เคยถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง ต้องไม่เป็นผู้ที่เคยถูกไล่ออกจากราชการ และต้องไม่เคยถูกพิพากษาให้ทรัพย์ตกเป็นของแผ่นดิน โดยให้หัวหน้า คสช. เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้ง สนช. ประธาน สนช. และ รองประธาน สนช.
ขณะที่ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ซึ่งจะทำหน้าที่คล้ายสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) คือพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ที่ คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญเสนอมา และยังมีหน้าที่กำหนดวาระการปฏิรูปประเทศ จะมีทั้งสิ้น 250 คน ซึ่งจะต้องเป็นบุคคลสัญชาติไทย อายุไม่ต่ำกว่า 35 ปี โดยมีคุณสมบัติต้องห้าม เช่นเดียวกับ สนช. นอกจากนี้ยังได้กำหนดให้มี คณะกรรมาธิการ (กมธ.) ยกร่างรัฐธรรมนูญ จำนวน 36 คน ประกอบด้วย ประธาน กมธ. 1 คนโดย คสช.เป็นผู้เสนอ ที่เหลือให้ สปช.เสนอจำนวน 20 คน อีก 15 คนให้ สนช. คณะรัฐมนตรี และ คสช.เสนอฝ่ายละ 5 คน ทั้งนี้ได้กำหนดให้ กมธ.ยกร่างให้แล้วเสร็จภายใน 120 วัน รวมไปถึงกำหนดห้าม กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญดำรงตำแหน่งทางการเมืองในระยะเวลา 2 ปีหลังจากพ้นตำแหน่ง
ด้าน การแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีนั้น ได้กำหนดให้ สนช.ลงมติเพื่อทูลเกล้าฯ ผู้ที่เหมาะสมเป็นนายกฯ แก่พระมหากษัตริย์ รวมไปถึงรัฐมนตรีไม่เกิน 35 คน โดยได้กำหนดคุณสมบัติสำหรับผู้ที่มาเป็นนายกฯและรัฐมนตรีไว้ว่า ต้องไม่เป็นหรือเคยเป็นสมาชิกพรรคการเมืองในระยะเวลา 3 ปี ก่อนวันที่ได้รับการแต่งตั้ง รวมไปถึงต้องไม่เป็น สนช. สปช. กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ผู้พิพากษา ตุลาการ อัยการ กรรมการในองค์กรอิสระต่างๆ ด้วย
นอกจากนี้ จะยังคงอำนาจ ของ คสช. ควบคู่ไปกับรัฐบาล โดยฝ่ายบริหาร คณะรัฐมนตรี (ครม.) รับผิดชอบงานเฉพาะด้านการบริหาร ขณะที่ คสช. จะรับผิดชอบงานด้านความมั่นคง
ขณะที่การแต่งตั้ง นายกรัฐมนตรี นั้น จะมาจากการแต่งตั้งโดย สนช. ส่วนรัฐมนตรีคนอื่นๆ นายกฯ จะเป็นผู้เสนอแต่งตั้ง
สมัครงาน สรุปสาระสำคัญ รธน. (ชั่วคราว) 57 งานราชการ สรุปสาระสำคัญ รธน. (ชั่วคราว) 57 รับสมัคร สอบ สรุปสาระสำคัญ รธน. (ชั่วคราว) 57 2557 สอบ สรุปสาระสำคัญ รธน. (ชั่วคราว) 57 57 สรุปสาระสำคัญ รธน. (ชั่วคราว) 57 เปิดสอบ