Categories
ข้อมูลเตรียมสอบงานราชการ

ความแตกต่างของ “ปฏิบัติราชการแทน” กับ “รักษาราชการแทน”

“ความแตกต่างของ “ปฏิบัติราชการแทน” กับ “รักษาราชการแทน” 

ลิงค์: https://iqepi.com/?p=13923 หรือ


หากติดตามการเมืองในช่วงปีที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน ท่านจะคุ้นเคยกับคำว่า รักษาการแทน หรือ ปฏิบัติราชการแทน ค่อนข้างจะบ่อย แล้วเคยสงสัยกันหรือไม่ว่าคำว่า 2 คำนั้น แตกต่างกันอย่างไร ในฐานะของท่านที่เตรียมสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งเป็นข้าราชการ หรือบุคลากรในหน่วยงาน องค์กร ใดที่มีส่วนเกี่ยวข้อง หรือเป็นส่วนราชการหนึ่งในสังกัดกระทรวง กรม กอง ควรต้องทราบ เพราะบทความนี้จะเป็นบางส่วนที่อ้างอิงจาก พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 ซึ่งเป็นกฎหมายแม่บทในการปฏิบัติราชการ และ พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 และ พรฎ.ว่าด้วยการมอบอำนาจ พ.ศ.2550  ซึ่งกฎหมายเหล่านี้ล้วนเป็นส่วนหนึ่งในหลักสูตการสอบของหลายส่วนราชการที่เปิดรับสมัครสอบ

การปฏิบัติราชการแทน และการรักษาราชการแทน

ในการปฏิบัติราชการนั้น กฎหมายกำหนดให้มีการมอบอำนาจกันได้ และกำหนดให้ใช้คำสำหรับการมอบอำนาจกรณีต่างๆ แตกต่างกันไป ซึ่งปรากฎว่ามีผู้ใช้คำในกรณีการมอบอำนาจ เช่น ปฏิบัติราชการแทน รักษาราชการแทน รักษาการในตำแหน่ง หรือแม้แต่คำว่า ทำการแทน ทำให้เกิดความสับสน และสงสัยว่าการมอบอำนาจในการปฏิบัติราชการนั้นที่ถูกต้องจะต้องใช้คำใดและในกรณีใด

เมื่อพิจารณาตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 ซึ่งเป็นกฎหมายแม่บทในการปฏิบัติราชการ คำว่า “ปฏิบัติราชการแทน” บัญญัติอยู่ในหมวด 5 มาตรา 38-40 หมายถึงการมอบอำนาจในการสั่งการอนุญาต การอนุมมัติ การปฏิบัติราชการหรือการดำเนินการอื่นที่ผู้ดำรงตำแหน่งใดจะพึงปกิบัติหรือดำเนินการตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่งใด หรือมติของคณะรัฐมนตรีในเรื่องใด ให้ผู้ดำรงตำแหน่งอื่นในสว่นราชการเดียวกันหรือส่วนราชการอื่น หรือผู้ว่าราชการจังหวัดปฏิบัติราชการแทนได้ ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา ว่าด้วยการมอบอำนาจ พ.ศ.2550 เพื่อประโยชน์ในการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชน ความรวดเร็วในการปฏิบัติราชการ การกระจายความรับผิดชอบตามสภาพของตำแหน่งของผู้รับมอบอำนาจ และการมอบอำนาจนี้จะต้องทำเป็นหนังสือ โดยผู้ปฏิบัติราชการแทนจะมีอำนาจหน้าที่ เช่นเดียวกับผู้ซึ่งมอบอำนาจหรือมอบหมาย และการมอบอำนาจจะคงมีอยู่ตลอดไปจนกว่าจะมีการยกเลิกการมอบอำนาจนั้น ดังนั้น การปฏิบัติราชการแทนจึงเป็นการมอบอำนาจในกรณีที่ผู้ดำรงตำแหน่งนั้นสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ แต่มอบอำนาจให้บุคคลอื่นปฏิบัติหน้าที่แทนในบางเรื่อง เพื่อให้เกิดความรวดเร็ว สะดวกแก่ประชาชน และกระจายความรับผิดชอบ เช่น อธิบดีมอบอำนาจในการสั่งเพิกถอน หรือแก้ไขตามมาตรา 61 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน ให้รองอธิบดีปฏิบัติราชการแทนผู้ว่าราชการจังหวัดมอบอำนาจในการอนุมัติเกี่ยวกับการพัสดุ หรือการลาให้เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดปฏิบัติราชการแทน เป็นต้น

  Youtube: iqepin LINE it! เพิ่มเพื่อน  

สำหรับคำว่า “รักษาราชการแทน” บัญญัติอยู่ในหมวด 6 มาตรา 41-50 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 หมายถึง กรณีไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งใดหรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ กฎหมายกำหนดให้ผู้ดำรงตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่งเข้าไปรักษาราชการแทนในตำแหน่งนั้น โดยผู้รักษาราชการแทนมีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับผู้ซึ่งที่ตนแทน การรักษาราชการแทนดังกล่าวเกิดขึ้นโดยผลของกฎหมายไม่ต้องมีการแต่งตั้ง และเมื่อมีผู้ดำรงตำแหน่งแล้วหรือมาปฏิบัติหน้าที่ได้แล้วการรักษาราชการแทนก็จสิ้นสุดลง ซึ่งตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 กำหนดให้มีการรักษาราชการแทนสำหรับบางตำแหน่ง เช่น นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวง/ทบวง เลขานุการรัฐมนตรี ปลัดกระทรวง/ทบวง รองปลัดกระทรวง/ทบวง อธิบดี รองอธิบดี เลขาธิการ รองเลขาธิการ ผู้อำนวยการ รองผู้อำนวยการ หรือตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่นซึ่งเทียบเท่าปลัดกระทรวงหรืออธิบดีในส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเป็นกรม รวมทั้งผู้ดำรงตำแหน่งเลขานุการกรม และผู้อำนวยการกอง หัวหน้ากอง หรือหัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเทียบเท่ากอง

ส่วนคำว่า “รักษาการในตำแหน่ง” ปรากฎอยู่ในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2551 ซึ่งกำหนดกรณีที่มิได้บัญญัติไว้ในกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน กรณีตำแหน่งข้าราชการพลเรือนที่เห็นสมควรรักษาการในตำแนห่งได้ ดังนั้น ในกรณีที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งใดๆ ซึ่งมิได้กำหนดไว้ในพระราชบัญยัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 จะใช้คำว่า “รักษาการในตำแหน่ง” โดยผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา 57 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2551 จะต้องมีคำสั่งแต่งตั้ง เช่น ตำแหน่งผู้อำนวยการส่วน หรือหัวหน้าฝ่ายในสำนัก/กองใดในกรมที่ดิน อธิบดีซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา 57 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2551 มีอำนาจแต่งตั้งผู้รักษาการในตำแหน่งได้

จึงสรุปได้ว่า ในการปฏิบัติหน้าที่ราชการนั้น แม้ผู้บังคับบัญชาอยู่ปฏิบัติหน้าที่หรือสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ก็สามารถมอบอำนาจให้ผู้ใต้บังคับบัญชาปฏิบัติหน้าที่แทนเพื่อความรวดเร็ว สะดวกแก่ประชาชน โดยการมอบอำนาจเป็นหนังสือ ซึ่งกรณีนี้ใช้คำว่า “ปฏิบัติราชการแทน” สำหรับกรณีที่ไม่มีผู้ดำรงตำแนห่งหรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ราชการได้ จะใช้คำว่า “รักษาราชการแทน” หรือ “รักษาการในตำแหน่ง” แล้วแต่กรณี “การรักษาราชการแทน” จะเกิดขึ้นโดยผลของกฎหมายไม่ต้องมีการแต่งตั้งเป็นไปโดยอัตโนมัติ ส่วน “การรักษาการในตำแหน่ง” ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุจะต้องมีคำสั่งแต่งตั้ง โดยผู้รักษาราชการแทน หรือรักษาการในตำแหน่ง จะมีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับผู้ซึ่งที่ตนแทน และเมื่อมีผู้ดำรงตำแหน่งแล้วหรือมาปฏิบัติหน้าที่ได้แล้วการรักษาราชการแทนหรือรักษาการในตำแหน่ง ก็จะสิ้นสุดลง ส่วนคำว่า “ทำการแทน” ไม่ปรากฎว่ามีบัญญัติไว้ในกฎหมายดังกล่าวแต่อย่างใด

อย่างไรก็ดี แม้กฎหมายจะกำหนดให้มีการมอบอำนาจในการปฏิบัติหน้าที่ราชการได้ แต่บางเรื่องผู้มอบอำนาจอาจไม่มอบอำนาจก็ได้ ตามมาตรา 6 แห่งพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการมอบอำนาจ พ.ศ.2550 โดยการกำหนดไม่ให้มีการมอบอำนาจในบางเรื่องได้ ดังเช่น กรณีที่กรมที่ดินมีคำสั่งกำหนดหน้าที่และทุนทรัพย์ในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมของเจ้าพนักงานที่ดิน ตามคำสั่งกรมที่ดิน ที่ 955/2552 ลงวันที่ 22 พฤษภาคม 2552 โดยกำหนดอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดนั้น

สมัครงาน ปฏิบัติราชการแทนรักษาราชการแทน งานราชการ ปฏิบัติราชการแทนรักษาราชการแทน รับสมัคร สอบ ปฏิบัติราชการแทนรักษาราชการแทน 2557 สอบ ปฏิบัติราชการแทนรักษาราชการแทน 57 ปฏิบัติราชการแทนรักษาราชการแทน เปิดสอบ


ดาวน์โหลดรายละเอียด/ประกาศรับสมัครสอบ คลิกที่นี่!!

Comments

comments

ข่าวงานราชการเปิดสอบ 2567-2569
Privacy Overview

This website uses cookies so that we can provide you with the best user experience possible. Cookie information is stored in your browser and performs functions such as recognising you when you return to our website and helping our team to understand which sections of the website you find most interesting and useful.