Categories
รายงานพิเศษ

สอบ ภาค ก. ก.พ. บัดนี้ –  กรณีพิเศษฯ VS สนามใหญ่ประจำปี 2558

“สอบ ภาค ก. ก.พ. บัดนี้ –  กรณีพิเศษฯ VS สนามใหญ่ประจำปี 2558”

ลิงค์: https://iqepi.com/?p=15814 หรือ
เรื่อง: กรณีพิเศษฯ VS สนามใหญ่ประจำปี 2558
**ไม่ต้องผ่านภาค ก. ก.พ.**


สอบ ภาค ก. ก.พ. กรณีพิเศษฯ ดูเหมือนว่าการที่สำนักงาน ก.พ. จัดสอบภาค ก. ก.พ. กรณีพิเศษฯ จะสร้างความสับสนให้กับหลายท่านมาก ไม่แปลกหรอกครับ เพราะเรามักจะคุ้นแต่กับการสอบภาค ก. ก.พ. สนามใหญ่ ที่เปิดสอบเป็นประจำทุกปี ปีละครั้ง จนคุ้นชิน พอมีการเปลี่ยนแปลงก็ทำให้สับสนในช่วงแรกๆ เป็นธรรมดา

เพื่อไม่ให้สับสน แบ่ง ภาค ก. ออกเป็น 2 รูปแบบก่อน คือ
1. ภาค ก. ก.พ. สนามใหญ่
2. ภาค ก. ก.พ. กรณีพิเศษฯ

ภาค ก. ก.พ. สนามใหญ่ เป็นการจัดสอบภาค ก. ก.พ. ประจำทุกปี เพื่อออกใบรับรองผลการสอบผ่านภาค ก. ที่จัดสอบโดยสำนักงาน ก.พ. การรับสมัคสอบก็จะรับสมัครพร้อมกันหมดทั่วประเทศ ทุกระดับ ปวช. ปวส. ปริญญาตรี ปริญญาโท ทุกคนสมัครสอบได้หมด ไม่มีข้อจำกัดใดๆ นอกจากนี้อีก ในส่วนนี้คงไม่ต้องกล่าวอะไรมากเพราะไม่มีอะไรซับซ้อนและลหายท่านก็คุ้นกับ ลักษณะการสอบภาค ก. ก.พ. สนามใหญ่แล้ว สอบผ่าน/สอบตกมากแล้ว

ภาค ก. ก.พ. กรณีพิเศษฯ เป็นการจัดสอบภาค ก. ก.พ. จะคล้ายกับการจัดสอบสนามใหญ่ ต่างกันที่รับสมัครเฉพาะผู้ที่สอบผ่านภาค ข. แล้วเท่านั้น ถ้าไม่ผ่านไม่มีสิทธิ์สมัครสอบภาค ก. ก.พ. กรณีพิเศษ โดยเมื่อสอบผ่านภาค ข. ไม่ว่าจากส่วนราชการใดที่ระบุในประกาศรับสมัครสอบว่ารับผู้ที่สอบผ่านภาค ก. ก.พ. และผู้ที่สอบไม่ผ่านภาค ก. ก.พ. โดยให้ผู้ที่สอบไม่ผ่านสอบภาค ข. ก่อน เมื่อผ่านแล้วจึงไปสมัครสอบภาค ก. กรณีพิเศษฯ กับ ก.พ. อีกครั้งแล้วนำผลการสอบภาค ก. มายื่นในวันที่สอบภาค ค.

โดยส่วน ราชการดังกล่าวจะต้องส่งรายชื่อผู้สอบผ่านภาค ข. ให้สำนักงาน ก.พ. ภายในเวลาที่ ก.พ.กำหนด ก็คือก่อนวันเปิดรับสมัครสอบภาค ก. ก.พ. กรณีพิเศษ ไม่น้อยกว่า 5 วันทำการ

ผู้ที่สอบผ่านจะได้ รับใบรับรองผลการสอบผ่านภาค ก. ก.พ. ไว้ใช้สมัครสอบภาค ข. โดยไม่ต้องสอบภาค ก. ก.พ. อีกเลยตลอดชีวิตสำหรับระดับที่สอบผ่าน เช่นเดียวกันกับการสอบภาค ก. ก.พ. สนามใหญ่

ภาค ก. ก.พ. กรณีพิเศษนี้ ทางสำนักงาน ก.พ. จะจัดสอบให้ปีละ 2 ครั้ง แต่ในสนามใหญ่จะจัดสอบให้เพียง 1 ครั้งต่อปี เนื่องจากมีขั้นตอนการสอบซ่อมวิชาภาษาอังกฤษรวมระยะเวลาทั้งหมดในการดำเนิน การจัดสอบภาค ก. ก.พ. ของสำนักงาน ก.พ. แล้ว ตั้งแต่เดือนมีนาคมจนถึงเดือนพฤศจิกายน ใช้เวลาเกือบหนึ่งปีเต็มเลยทีเดียว

เมื่อเป็นดังนี้แล้ว ตามประกาศจึงมีการกำหนดว่าผู้สมัครสอบภาค ก. ก.พ. ในแต่ละครั้ง ไม่ว่าจะสนามใหญ่หรือกรณีพิเศษ จะต้องเว้นระยะห่าง 150 วัน นับตั้งแต่วันสอบครั้งก่อนจนถึงวันที่จะสมัคร ไม่นับวันสอบซ่อมภาษาอังกฤษ คำนวณคร่าวๆ ก็ประมาณ 5 เดือน เช่น ครั้งก่อนสอบวันที่ 29 ม.ิย. 57 เริ่มนับไป 150 วัน ก็คือวันที่ 26 พ.ย.57 เป็นวันที่จะสามารถสมัครสอบภาค ก. ก.พ. ได้อีกครั้งไม่ว่าการสมัครสอบหลังจากวันที่ 26 พ.ย. 57 จะเป็นการจัดสอบภาค ก. ก.พ. สนามใหญ่ หรือ ภาค ก. ก.พ. กรณีพิเศษ ก็ตาม

ดังนั้น ผู้ที่เคยสอบภาค ก. ก.พ. สนามใหญ่ เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2557 ก็สามารถสมัครสอบ สำหรับการสอบภาค ก. ก.พ. กรณีพิเศษฯ ครั้งที่ 1 ได้ตั้งแต่วันที่ 26 พฤศจิกายน 2557 เป็นต้นไป หรือจะไปสมัครสอบครั้งที่ 2 ก็ได้ แต่ไม่แนะนำเพราะไม่ใช่ว่าทุกคุณวุฒิจะสมัครสอบได้เหมือนกับสนามใหญ่ ผู้กำหนดคุณวุฒิคือส่วนราชการที่จัดสอบภาค ข.ตามคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งที่ระบุในประกาศรับสมัครสอบภาค ข. ซึ่งก็ไม่ทราบได้ว่าจะเป็นตำแหน่งใด คุณวุฒิใด สาขาอะไร เพราะถ้าไม่ตรงก็สมัครสอบภาค ข. ไม่ได้ก็ไม่มีสิทธิ์สอบภาค ก. ก.พ. กรณีพิเศษฯ แต่สำหรับการสอบครั้งที่ 1 กรมพินิจฯ มีบางตำแหน่งที่เปิดรับสมัครสอบปริญญาตรีทุกสาขา หากสมัครได้ก็ควรสมัครเพราะระหว่างทางกว่าจะถึงการสอบรอบต่อไปอาจจะมีการเปิดรับสมัครสอบงานราชการที่สำคัญแล้วผลจากการที่ไม่ได้สมัครสอบครั้งนี้คือ

1. ไม่มีสิทธิ์สมัครสอบภาค ข. กรณีที่ส่วนราชการดังกล่าวไม่ประสงค์รับผู้ที่สอบไม่ผ่านภาค ก. ก.พ. เพราะไม่มีประกาศใดที่จำกัดว่าส่วนราชการที่จะเปิดรับสมัครสอบบรรจุบุคคลเข้ารับราชการจะต้องดำเนินการในรูปแบบเดียวกับกรมพินิจฯ
2. เพิ่มภาระในการเตรียมสอบ หากส่วนราชการดังกล่าวจัดสอบรูปแบบเดียวกับกรมพินิจฯ ก็เสียเปรียบผู้ที่ผ่านภาค ก. ก.พ. แล้วเพราะต้องเตรียมสอบทั้งภาค ก. และ ภาค ข. พร้อมกันก็อาจจะทำให้สอบไม่ผ่านเลยทั้งภาค ก. และภาค ข. หรือทำภาค ข. ได้คะแนนไม่ดีไม่ถูกเรียกบรรจุ และถ้าเป็นตำแหน่งที่ใฝ่ฝันหรือส่วนราชการที่ปรารถนา พอนึกภาพออกใช่ไหมว่าจะเสียใจแค่ไหน การเสียเปรียบที่ไม่ควรจะเสียเปรียบเพียงแต่วางแผนให้ดีๆ

หาก สังเกตให้ดีๆ ในการสอบภาค ก. ก.พ. ประจำปี 2557 สนามใหญ่ ก.พ.ได้กำหนดวันประกาศผลการสอบภาค ก. ก.พ. เฉพาะผู้ที่สอบไม่ผ่านเฉพาะวิชาภาษาอังกฤษ(สอบซ่อม) หลังการประกาศรายชื่อผู้สอบผ่านวิชาภาษาอังกฤษรอบสุดท้ายนี้ ก็เป็นอันสิ้นสุดกระบวนการสอบภาค ก. ก.พ. ประจำปี 2557 สนามใหญ่จริงๆ นั่นคือ วันที่ 26 พ.ย. 2557 ซึ่งเป็นวันที่ครบกำหนด 150 วันพอดิบพอดี จากนั้นก็เริ่มกระบวนการจัดการรับสมัครและจัดสอบ ภาค ก. ก.พ. กรณีพิเศษครั้งที่ 1

  Youtube: iqepin LINE it! เพิ่มเพื่อน  

ด้วยเหตุที่ สำนักงาน ก.พ. เป็นหน่วยงานเดียวที่จัดเก็บผลการสอบภาค ก. ซึ่งไม่เหมือนกับภาค ก. อื่นๆ ที่ไม่เก็บผลคะแนนหลังจากสอบแล้วผ่านหรือไม่ผ่านก็ไม่มีสามารถนำผลการสอบภาค ก. ไปใช้เพื่อการใดได้อีก แต่สำหรับ ภาค ก. ก.พ. จะเก็บผลการสอบภาค ก. ให้ใช้เป็นหลักฐานยื่นเพื่อไม่ต้องสอบภาค ก. อีกได้ตลอดชีวิตตามระดับที่สอบได้ มาถึงตรงนี้คงเข้าใจแล้วว่าทำไมต้องห่าง 150 วัน เพื่อให้ ก.พ. จัดการขึ้นบัญชีผู้ที่สอบผ่านภาค ก. ก.พ. ครั้งก่อน และจัดทำใบรับรองผลการทดสอบภาค ก. ก.พ.ให้กับผู้เข้าสอบนั่นเอง

ใน การกำหนดคุณวุฒิของผู้สมัครสอบ การสอบภาค ก. ก.พ.กรณีพิเศษฯ สำนักงาน ก.พ. ไม่ได้เป็นผู้กำหนด เหมือนกับการสอบสนามใหญ่ ผู้ที่จะกำหนดคุณวุฒิในการรับสมัครสอบภาค ก. ก.พ. กรณีพิเศษฯ คือส่วนราชการที่จัดสอบภาค ข. คุณวุฒิจึงต้องเป็นไปตามคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งที่กำหนดในประกาศรับสมัครสอบ ภาค ข. ของส่วนราชการที่ได้สมัครสอบภาค ข. ไว้ ไม่สามารถใช้คุณวุฒิที่ไม่ตรงกันสมัครเพื่อไปสอบภาค ก. ก.พ. กรณีพิเศษฯ

แม้ ว่าการสอบภาค ก. ก.พ. กรณีพิเศษฯ นี้ จะใช้หลักสูตรการสอบเดียวกันกับการสอบภาค ก. ก.พ. สนามใหญ่ คือ ความสามารถทั่วไป ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ใช้เกณฑ์ตัดผ่านเหมือนกัน แต่สำหรับการสอบ ภาค ก. ก.พ. กรณีพิเศษนี้จะไม่ให้สอบซ่อมวิชาภาษาอังกฤษ ใน ขณะที่สนามใหญ่ยังเปิดโอกาสให้สอบซ่อมได้ แต่ยังคงรับผลคะแนนการทดสอบภาษาอังกฤษจากสถาบัน Toeic Toefl CU-TEP TU-GET เหมือนกัน ซึ่งก็ดีกว่าสอบกับ ก.พ. มากมายเพราะนอกจากจะใช้เพื่อไม่ต้องสอบวิชาภาษาอังกฤษกับ ก.พ. แล้วยังใช้เป็นหลักฐานเพื่อเพิ่มเงินเดือนแรกเข้าได้อีก 375 ต่อเดือนด้วย

สำหรับ การสอบภาค ก. ก.พ. กรณีพิเศษ จะทำให้รูปแบบการรับสมัครสอบแข่งขันเข้ารับราชการเปลี่ยนไปจากเดิมเพราะจะ สอบภาค ข. ก่อน ภาค ก. (กรณีผ่านภาค ก. ก.พ. แล้วก็ไม่ต้องสอบอีกยื่นผลรอสอบภาค ค. ได้เลย) จะสลับกับการสอบสนามใหญ่ ที่จะสอบภาค ก. ก่อนไปสอบภาค ข. เพื่อให้ ก.พ. สามารถจัดสอบให้ส่วนราชการต่างๆ ที่จัดสอบภาค ข. ได้ในคราวเดียวกัน โดยส่วนราชการต่างๆ จะต้องส่งรายชื่อผู้สอบผ่านภาค ข. ให้กับ ก.พ. ก่อนวันที่ ก.พ. เปิดรับสมัครสอบ

เรียกว่าเป็นรูปแบบใหม่ก็ได้ เพราะในอดีตหาก ก.พ. ไปจัดสอบภาค ก. ให้ก็จะจัดสอบพร้อมกัน คือ ไม่ว่าอย่างไรก็จะจัดสอบภาค ก. ก่อนภาค ข. เช่นสอบ ก. เช้า ข. บ่าย และเหมือนว่าลำดับการตรวจก็จะเป็นแบบเดียวกันคือตรวจภาค ก. ก่อน ถ้าผ่านก็ตรวจภาค ข. ต่อ แต่รูปแบบใหม่นี้   ตามประกาศของ สำนักงาน ก.พ. เองก็ไม่ได้เจาะจงว่าเป็นการเปิดรับสมัครสอบให้กับส่วนราชการใดส่วนราชการ หนึ่งเป็นการเฉพาะ เห็นได้จากในประกาศรับสมัครสอบภาค ก.กรณีพิเศษ ไม่ได้กล่าวถึงการจัดสอบภาค ข. ของส่วนราชการใดเป็นการเจาะจงเลย ไม่ว่าจะเป็นกรมพินิจหรือส่วนราชการอื่น เป็นการจัดสอบให้ส่วนราชการต่างๆ ก็คืออาจจะมีมากกว่า 1 ส่วนราชการที่จัดสอบภาค ข. ในขณะนั้น และประสงค์จะรับสมัครผู้ที่ไม่ผ่านภาค ก. ด้วยโดยให้ไปสอบกรณีพิเศษฯ ก็สามารถ ส่งรายชื่อผู้สอบผ่านภาค ข.ให้ ก.พ. เพื่อใช้การจัดสอบภาค ก. กรณีพิเศษฯ ร่วมกับส่วนราชการอื่นๆ ได้เลย ก.พ. ก็ไม่ต้องจัดสอบภาค ก. ให้หลายครั้ง เพราไม่ว่าจะเป็นตำแหน่งใดก็ใช้หลักสูตรการสอบภาค ก. ก.พ. เดียวกันทั้งหมด แต่ด้วยสำหรับขณะนี้ถือรูปแบบใหม่ และในปัจจุบันก็มีเพียง กรมพินิจฯ ที่ใช้หลักเกณฑ์นี้ จึงทำให้ยังมองเห็นภาพไม่ชัดเจนเท่านั้นเอง

หาก นึกภาพว่า มีส่วนราชการสัก 3-4 แห่ง เปิดรับสมัครในช่วงเวลาไล่เลี่ยกัน ก.พ. ก็ไม่ต้องแยกไปจัดสอบภาค ก. ให้ 3-4 ครั้ง และบางหน่วยงานก็เป็นการจัดสอบสนามเล็กๆ ที่มีผู้เข้าสอบไม่มาก ก็มาใช้การจัดสอบภาค ก. ก.พ. กรณีพิเศษฯ เพื่อให้ผู้ที่สอบผ่านภาค ข. แต่ยังสอบไม่ผ่านภาค ก. ร่วมกันได้ ก.พ.ก็จัดสอบรวมพร้อมกันครั้งเดียวเลย

ความ เห็นส่วนตัว(ตามที่ผมเข้าใจ) หลังจากที่ติดตามข้อมูลมาได้สักระยะ บางตำแหน่งที่เป็นคุณวุฒิที่มีผู้สมัครน้อยแล้วยังมาติดเรื่องไม่ผ่านภาค ก. ก.พ. อีกน่าจะเป็นส่วนสำคัญ เพราะในแต่ละปีจำนวนผู้สอบผ่านภาค ก. ก.พ. รวมทุกระดับ ขณะที่ยังไม่มีภาษาอังกฤษก็น้อยมาก มาตอนนี้มีภาษาอังกฤษเข้ามาอีกก็คงพอจะนึกภาพออกใช่ไหมครับ ทั้งผู้ที่จบใหม่จะได้มีโอกาสที่จะได้เข้าร่วมในการสอบแข่งขันฯ ภาค ข. ด้วย อย่าเพิ่งไปมองสาขาที่มีผู้เรียนจบมาแต่ปีจำนวนมาก แต่ขอให้มองสาขาที่หายากหรือคนเรียนจบออกมาแต่ละปีจำนวนน้อย อาจจะไม่ถึงกับขาดแคลนเหมือนพวกหมอหรือพยาบาล แต่ก็น้อยจนทำให้การสมัครสอบภาค ข. ของส่วนราชการนั้นๆ มีผู้สมัครสอบเพียงไม่กี่ราย เมื่อผ่านการสอบแล้วปรากฎว่าสอบไม่ผ่านเกณฑ์อีก ก็จะเป็นการสูญเสียงบประมาณไปโดยไม่ได้บุคคลากรมาบรรจุแต่งตั้งเป็นข้า ราชการเลย

หลายงานที่แม้เว็บไซต์นี้และอีกหลายเว็บไซต์จะช่วย ประชาสัมพันธ์การเปิดรับสมัครสอบแล้ว เมื่อย้อนกลับไปดูก็ปรากฎว่ายังมีผู้สมัครสอบน้อยอยู่จนต้องขยายเวลารับ สมัครสอบบ่อยๆ

อ่านประกาศสำนักงาน ก.พ. คลิกที่นี่ | ประกาศกรมพินิจฯ (ใช้ภาค ก.กรณีพิเศษ)คลิกที่นี่

Comments

comments