Categories
งานราชการ-รัฐวิสาหกิจ เปิดสอบที่น่าสนใจ

กรมส่งเสริมสหกรณ์ เปิดรับสมัครสอบข้าราชการ 17 ม.ค. -4 ก.พ. 2565 รวม 59 อัตรา,

กรมส่งเสริมสหกรณ์

ลิงค์: https://ehenx.com/16142/ หรือ
ตำแหน่ง: นักวิชาการสหกรณ์ปฏิบัติการ,นิติกรปฏิบัติการ,นักวิเคราะห์นโยบายและแผนปฏิบัติการ,นักวิชาการคอมพิวเตอร์ปฏิบัติการ,นักวิชาการโสตทัศนศึกษาปฏิบัติการ,นายช่างเครื่องกลปฏิบัติงาน,นายช่างโยธาปฏิบัติงาน,เจ้าพนักงานธุรการปฏิบัติงาน
ระดับการศึกษา: ปวส.ทุกสาขา,ปวส.,ปริญญาตรี
อัตราเงินเดือน: 11,500-16,500
อัตราว่าง: 59
ปฏิบัติงานที่: กรุงเทพมหานคร,กระบี่,กาญจนบุรี,กาฬสินธุ์,กำแพงเพชร,ขอนแก่น,จันทบุรี,ฉะเชิงเทรา,ชัยนาท,ชัยภูมิ,ชุมพร,ชลบุรี,เชียงใหม่,เชียงราย,ตรัง,ตราด,ตาก,นครนายก,นครปฐม,นครพนม,นครราชสีมา,นครศรีธรรมราช,นครสวรรค์,นราธิวาส,น่าน,นนทบุรี,บึงกาฬ,บุรีรัมย์,ประจวบคีรีขันธ์,ปทุมธานี,ปราจีนบุรี,ปัตตานี,พะเยา,พระนครศรีอยุธยา,พังงา,พิจิตร,พิษณุโลก,เพชรบุรี,เพชรบูรณ์,แพร่,พัทลุง,ภูเก็ต,มหาสารคาม,มุกดาหาร,แม่ฮ่องสอน,ยโสธร,ยะลา,ร้อยเอ็ด,ระนอง,ระยอง,ราชบุรี,ลพบุรี,ลำปาง,ลำพูน,เลย,ศรีสะเกษ,สกลนคร,สงขลา,สมุทรสาคร,สมุทรปราการ,สมุทรสงคราม,สระแก้ว,สระบุรี,สิงห์บุรี,สุโขทัย,สุพรรณบุรี,สุราษฎร์ธานี,สุรินทร์,สตูล,หนองคาย,หนองบัวลำภู,อำนาจเจริญ,อุดรธานี,อุตรดิตถ์,อุทัยธานี,อุบลราชธานี,อ่างทอง
เปิดรับสมัครตั้งแต่: 17 ม.ค. – 4 ก.พ. 2565
**เฉพาะผู้สอบผ่านภาค ก. ก.พ.**



กรมส่งเสริมสหกรณ์ เปิดรับสมัคร

ประกาศกรมส่งเสริมสหกรณ์

เรื่อง รับสมัครสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการในกรมส่งเสริมสหกรณ์

ด้วยกรมส่งเสริมสหกรณ์จะดำเนินการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการ ในตำแหน่งต่าง ๆ ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕๓ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ และหนังสือสำนักงาน ก.พ. ที่ นร ๑๐๐๔/ว ๑๗ ลงวันที่ ๑๑ ธันวาคม ๒๕๕๖ เรื่อง การสรรหา โดยการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุบุคคลเข้ารับราชการ จึงประกาศรับสมัครสอบแข่งขันฯ ดังรายละเอียดต่อไปนี้

ชื่อตำแหน่ง กลุ่มงาน และรายละเอียดการจ้างงาน

นักวิชาการสหกรณ์ปฏิบัติการ

อัตราว่าง : 41 อัตรา

อัตราเงินเดือน : 15000-16500 บาท

คุณวุฒิ : ปริญญาตรี


นิติกรปฏิบัติการ

อัตราว่าง : 2 อัตรา

อัตราเงินเดือน : 15000-16500 บาท

คุณวุฒิ : ปริญญาตรี


นักวิเคราะห์นโยบายและแผนปฏิบัติการ

อัตราว่าง : 3 อัตรา

อัตราเงินเดือน : 15000-16500 บาท

คุณวุฒิ : ปริญญาตรี


นักวิชาการคอมพิวเตอร์ปฏิบัติการ

อัตราว่าง : 2 อัตรา

อัตราเงินเดือน : 15000-16500 บาท

คุณวุฒิ : ปริญญาตรี


นักวิชาการโสตทัศนศึกษาปฏิบัติการ

อัตราว่าง : 1 อัตรา

อัตราเงินเดือน : 15000-16500 บาท

คุณวุฒิ : ปริญญาตรี


นายช่างเครื่องกลปฏิบัติงาน

อัตราว่าง : 2 อัตรา

อัตราเงินเดือน : 11500-12650 บาท

คุณวุฒิ : ปวส.


นายช่างโยธาปฏิบัติงาน

อัตราว่าง : 3 อัตรา

อัตราเงินเดือน : 11500-12650 บาท

คุณวุฒิ : ปวส.


เจ้าพนักงานธุรการปฏิบัติงาน

อัตราว่าง : 5 อัตรา

อัตราเงินเดือน : 11500-12650 บาท

คุณวุฒิ : ปวส.ทุกสาขา*

คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง

นักวิชาการสหกรณ์ปฏิบัติการ

๑. ได้รับปริญญาตรี หรือคุณวุฒิอย่างอื่นทีเทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ สาขาวิชาการบัญชี สาขาวิชาบริหารธุรกิจ สาขาวิชานิติศาสตร์ หรือสาขาวิชาเกษตรศาสตร์ ทางธุรกิจการเกษตร หรือทางบริหารธุรกิจเกษตร หรือทางการบริหารธุรกิจเกษตร หรือทางการบริหารธุรกิจการเกษตร หรือทาง เศรษฐศาสตร์สหกรณ์ หรือ ทางเศรษฐศาสตร์เกษตร หรือทางการสหกรณ์
(ตามหนังสือสำนักงาน ก.พ. ที่ นร ๑๐๐๘/ว ๑๓ ลงวันที่ ๑๗ มิถุนายน ๒๕๕๔ และมติ อ.ก.พ. กรมส่งเสริมสหกรณ์ ครั้งที่ ๓/๒๕๕๔ วันที่ ๓ ตุลาคม ๒๕๕๔)
๒. เป็นผู้สอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไป ในระดับปริญญาตรีขึ้นไป ของสำนักงาน ก.พ. และได้รับหนังสือรับรองผลการสอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไปจากสำนักงาน ก.พ. เรียบร้อยแล้ว


นิติกรปฏิบัติการ

๑. ได้รับปริญญาตรี หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได็ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชานิติศาสตร์
๒. เป็นผู้สอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไป ในระดับปริญญาตรีขึ้นไป ของสำนักงาน ก.พ. และได้รับหนังสือรับรองผลการสอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไปจากสำนักงาน ก.พ. เรียบร้อยแล้ว


นักวิเคราะห์นโยบายและแผนปฏิบัติการ

๑. ได้รับปริญญาตรีหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบไดในระดับเดียวกันในสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ สาขาวิชาการบัญชี สาขาวิชาบริหารธุรกิจ
๒. เป็นผู้สอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไป ในระดับปริญญาตรีขึ้นไป ของสำนักงาน ก.พ. และได้รับหนังสือรับรองผลการสอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไปจากสำนักงาน ก.พ. เรียบร้อยแล้ว


นักวิชาการคอมพิวเตอร์ปฏิบัติการ

๑. ได้รับปริญญาตรี หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาใดสาขาวิชา หนึ่ง ทางคอมพิวเตอร์
๒. เป็นผู้สอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไป ในระดับปริญญาตรีขึ้นไป ของสำนักงาน ก.พ. และได้รับหนังสือรับรองผลการสอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไปจากสำนักงาน ก.พ. เรียบร้อยแล้ว


นักวิชาการโสตทัศนศึกษาปฏิบัติการ

๑. ได้รับปริญญาตรี หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบไดีในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาใดสาขาวิชา หนึ่ง ทางโสตทัศนศึกษา ทางเทคโนโลยีการศึกษา ทางเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา ทางเทคโนโลยีและ นวัตกรรมการศึกษา ทางครุศาสตร์เทคโนโลยี หรือทางเวชนิทัศน์ หรือสาขาวิชานิเทศศาสตร์ ทางนิเทศศาสตร์ ทาง วารสารศาสตร์ ทางสื่อสารมวลชน หรือทางนิเทศศาสตร์การพัฒนา
๒. เป็นผู้สอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไป ในระดับปริญญาตรีขึ้นไป ของสำนักงาน
ก.พ. และได้รับหนังสือรับรองผลการสอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไปจากสำนักงาน ก.พ. เรียบร้อยแล้ว


นายช่างเครื่องกลปฏิบัติงาน

๑. ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพขั้นสูง หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาเครื่องกล สาขาวิชาเทคนิคการผลิต สาขาวิชาเทคนิคโลหะ สาขาวิชาเขียนแบบเครื่องกล หรือ สาขาวิชาช่างกลการเกษตร
๒. เป็นผู้สอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไป ในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพขั้นสูงขึ้นไป ของสำนักงาน ก.พ. และได้รับหนังสือรับรองผลการสอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไป จากสำนักงาน ก.พ. เรียบร้อยแล้ว


นายช่างโยธาปฏิบัติงาน

๑. ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพขั้นสูง หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบไดในระดับเดียวกันในสาขา วิชาโยธา สาขาวิชาสำรวจ หรือสาขาวิชาการก่อสร้าง
๒. เป็นผู้สอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไป ในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพขั้นสูงขึ้นไป ของสำนักงาน ก.พ. และได้รับหนังสือรับรองผลการสอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไป จากสำนักงาน ก.พ. เรียบร้อยแล้ว


เจ้าพนักงานธุรการปฏิบัติงาน

๑. ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพขั้นสูง หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในทุกสาขาวิชา
๒. เป็นผู้สอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไป ในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพขั้นสูงขึ้นไป ของสำนักงาน ก.พ. และได้รับหนังสือรับรองผลการสอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไป จากสำนักงาน ก.พ. เรียบร้อยแล้ว

ลักษณะงานที่ปฏิบัติ

นักวิชาการสหกรณ์ปฏิบัติการ

ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ที่ต้องใช้ความรู้ ความสามารถทางวิชาการในการ ทำงานปฏิบัติงานเกี่ยวกับด้านวิชาการสหกรณ์ ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
๑. ด้านการปฏิบัติการ
(๑) ร่วมศึกษา วิเคราะห์ เกี่ยวกับการส่งเสริม เผยแพร่ ให้ความรู้เกี่ยวกับอุดมการณ์ หลักการ และวิธีการสหกรณ์ รวมทั้งการจัดตั้งสหกรณ์ การบริหารจัดการ การบริหารการเงิน การพัฒนาธุรกิจ และการตลาดของสหกรณ์ และกลุ่มเกษตรกร ให้คำแนะนำแก่บุคลากรสหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร และประชาชน ทั่วไป เกิดความรู้ความเข้าใจในระบบสหกรณ์ กฎหมายว่าด้วยสหกรณ์ เพื่อให้สหกรณ์ และกลุ่มเกษตรกร สามารถ ดำเนินงานได้และพึ่งพาตนเองได้
(๒) ร่วมศึกษา วิเคราะห์ พิจารณา ให้คำปรึกษา ตอบข้อร้องเรียนในเบื้องต้น และ ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการตรวจสอบเอกสารการจดทะเบียนสหกรณ์ การควบสหกรณ์ การแยก และการเลิก สหกรณ์ เพื่อให้คำแนะนำแก่สหกรณ์ และการออกใบสำคัญรับจดทะเบียน รวมถึงการชำระบัญชี การแก่ไข เพิ่มเติมข้อบังคับ ระเบียบของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร การแก่ไขข้อบกพร่องของสหกรณ์ การร้องเรียนการ ดำเนินงานของสหกรณ์ เพื่อนำเสนอนายทะเบียนสหกรณ์วินิจฉัยหรือสั่งการแก่ไขอย่างมีประสิทธิภาพ และ เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยสหกรณ์ กฎหมายว่าด้วยการจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ และกฎหมายอื่น ที่เกี่ยวข้อง
(๓) ร่วมวิเคราะห์ และดำเนินการเกี่ยวกับการวางแผน ควบคุม ติดตาม ประเมินผล การชำระหนี้ของสหกรณ์ให้สามารถชำระหนี้ได้ภายในระยะเวลาที่กำหนด และตรงตามวัตถุประสงค์ การกู้เงินกองทุนที่อยู่ในความรับผิดชอบของกรมส่งเสริมสหกรณ์ เพื่อให้ข้อแนะนำในการวางแผนการชำระหนี้ การขอผ่อนผันการชำระหนี้ การปรับโครงสร้างหนี้ให้แก่สหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร
(๔) ร่วมดำเนินการเกี่ยวกับการส่งเสริมและพัฒนาสหกรณ์ในพื้นที่โครงการพระราชดำริ โครงการหลวง โครงการเพื่อความมั่นคง โครงการในพื้นที่เฉพาะ และโครงการอื่น ๆ เพื่อการส่งเสริมและพัฒนาที่ ยั่งยืน

(๕) ร่วมศึกษา วิเคราะห์ พิจารณา และตรวจสอบเกี่ยวกับข้อมูลและเอกสารที่เกี่ยวข้องกับ การจัดที่ดินในเขตนิคมสหกรณ์ การออกหนังสือหรือยกเลิกหนังสืออนุญาตให้สมาชิกทำประโยชน์ในที่ดิน ให้แก่ราษฎรในเขตพื้นที่นิคมสหกรณ์ เพื่อให้สหกรณ์ปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการจัดที่ดิน เพื่อการครองชีพ เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการนิคมสหกรณ์ได้ถูกต้อง
(๖) ร่วมศึกษา วิเคราะห์ วิจัย เกี่ยวกับระบบสหกรณ์ เพื่อให้ข้อเสนอแนะแนวทางการ พัฒนาสหกรณ์ให้กับคณะกรรมการพัฒนาสหกรณ์แห่งชาติ เพื่อเสนอนโยบายและกิจกรรมการพัฒนาสหกรณ์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
(๗) รวบรวมและตรวจสอบข้อมูลสารสนเทศเกี่ยวกับการสหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร เพื่อประกอบ การดำเนินงานเกี่ยวกับการส่งเสริมและพัฒนาสหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
๒. ด้านการวางแผน
วางแผนการทำงานที่รับผิดชอบ ร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงานหรือ โครงการ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายผลสัมฤทธิ้ที่กำหนด
๓. ด้านการประสานงาน
(ด) ประสานการทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน เพื่อให้เกิด ความร่วมมือและผลสัมฤทธี้ตามที่กำหนด
(๒) ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แก่บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย
๔. ด้านการบริการ
(๑) ให้คำปรึกษา แนะนำในเบื้องต้นแก,สหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร หน่วยงานราชการ เอกชน หรือประชาชนทั่วไป เกี่ยวกับการจัดตั้งสหกรณ์ การบริหารจัดการ การพัฒนาธุรกิจ และกฎหมายสหกรณ์ เพื่อประโยชน์ต่อการสหกรณ์
(๒) สำรวจและจัดเก็บข้อมูล ปรับปรุงหรือจัดทำฐานข้อมูลหรือระบบสารสนเทศที่เกี่ยวกับ งานสหกรณ์ เพื่อให้สอดคล้องและสนับสนุนภารกิจของหน่วยงาน รวมทั้งใช้ประกอบการพิจารณากำหนด นโยบาย แผนงาน หลักเกณฑ์ และมาตรการต่าง ๆ
(๓) ร่วมดำเนินการเกี่ยวกับการจัดทำเอกสาร ตำรา คู่มือ เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจ ในเรื่องต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการส่งเสริมและพัฒนาสหกรณ์


นิติกรปฏิบัติการ

ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ที่ต้องใช้ความรู้ ความสามารถทางวิชาการในการ ทำงานปฏิบัติงานด้านนิติการ ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมี ลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
๑. ด้านการปฏิบัติการ
(๑) เสนอความคิดเห็นแก่ผู้บังคับบัญชาในการตอบข้อหารือหรือวินิจฉัยปัญหากฎหมาย เกี่ยวกับระเบียบของทางราชการที่มีผลกระทบต่อการดำเนินงานของหน่วยงาน เพื่อเป็นข้อมูลสนับสนุน การพิจารณาของผู้บังคับบัญชา
(๒) ศึกษา วิเคราะห์ และวิจัยเพื่อปรับปรุงกฎหมายและระเบียบเกี่ยวกับหน่วยงาน ที่รับผิดชอบ เพื่อให้ทันกับสถานการณ์และอำนวยความสะดวกในการทำงาน โดยพิจารณาถึงความเหมาะสมและ เป็นธรรมต่อทุกฝ่าย
(๓) ศึกษาข้อมูล รวบรวม แสวงหาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย เสนอความเห็นใน การดำเนินการเรื่องใด ๆ ที่เกี่ยวกับวินัยข้าราชการ การร้องทุกข์ การพิทักษ์ระบบคุณธรรม รวมถึงการดำเนินการ ใด ๆ ตามกฎหมายปกครองที่เกี่ยวข้องกับการบริหารราชการ และการดำเนินคดีของหน่วยงานเพื่อใช้เป็น แนวทางในการปฏิบัติงาน และสามารถดำเนินการได้อย่างถูกต้อง
๒. ด้านการวางแผน
วางแผนการทำงานที่รับผิดชอบ ร่วมตำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงานหรือ โครงการ เพื่อให้ดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายและผลสัมฤทธี้ที่กำหนด
๓. ด้านการประสานงาน
(๑) ประสานงานทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน เพื่อให้เกิด ความร่วมมือและผลสัมฤทธี้ตามที่กำหนด
(๒) ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แก่บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย
๔. ด้านการบริการ
ให้คำปรึกษาแนะนำด้านกฎหมายแก่บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจ ในข้อกฎหมายที่เป็นปัญหา และให้ความรู้ถึงข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องและเป็นประโยชน์กับการดำเนินงานของ บุคคลหรือหน่วยงานดังกล่าว


นักวิเคราะห์นโยบายและแผนปฏิบัติการ

ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ที่ต้องใช้ความรู้ ความสามารถทางวิชาการในการ ทำงาน ปฏิบัติงานด้านวิเคราะห์นโยบายและแผน ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
๑. ด้านการปฏิบัติการ
(๑) รวบรวม วิเคราะห์ และประมวลนโยบายของรัฐบาลและสถานการณ์เศรษฐกิจ การเมือง และสังคม ทั้งในและต่างประเทศ เพื่อนำมาสรุปเสนอประกอบการกำหนดนโยบายและเป้าหมายของ ส่วนราชการ หรือนโยบาย แผนงาน และโครงการทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง การบริหารหรือความมั่นคง
(๒) รวบรวมข้อมูล และศึกษาวิเคราะห์เบื้องต้น เกี่ยวกับภารกิจหลักและแผนกลยุทธ์ของ ส่วนราชการ หรือทิศทางการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม การเมือง เพื่อวางแผนกำหนดแผนการปฏิบัติงานหรือ โครงการให้สามารถบรรลุภารกิจที่กำหนดไว้
(๓) วิเคราะห์นโยบายของส่วนราชการ หรือนโยบาย แผนงาน และโครงการทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง การบริหาร หรือความมั่นคง และเสนอข้อคิดเห็น เพื่อช่วยจัดทำแผนการปฏิบัติงาน แผนงาน โครงการ หรือกิจกรรมได้ตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
(๔) สำรวจ รวบรวม และประมวลผลข้อมูลการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและประเด็น ปัญหาทางเศรษฐกิจ การเมือง และสังคม ทั้งในและต่างประเทศ เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับการจัดทำแผนงาน หรือ กำหนดยุทธศาสตร์
(๕) ศึกษาวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างยุทธศาสตร์และนโยบายของรัฐบาล เพื่อประกอบ การเสนอแนะแนวทางการประสานผลักดันยุทธศาสตร์และนโยบาย ตลอดจนการติดตามประเมินผล ให้สอดคล้องไปในแนวทางเดียวกัน
๒. ด้านการวางแผน
วางแผนการทำงานที่รับผิดชอบ ร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงานหรือ โครงการ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายและผลสัมฤทธี้ที่กำหนด
๓. ด้านการประสานงาน
(๑) ประสานการทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน เพื่อให้เกิด ความร่วมมือและผลสัมถุทธิ้ตามที่กำหนด
(๒) ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แก่บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย

๔. ด้านการบริการ
(๑) รวบรวมข้อมูล เพื่อเผยแพร่และถ่ายทอดองค์ความรู้ที่เกี่ยวกับการจัดทำแผนงาน โครงการ
(๒) ให้คำปรึกษา แนะนำ ตอบปัญหา และชี้แจงเรื่องต่าง ๆ เกี่ยวกับงานนโยบายเละแผน เพื่อแก้ปัญหาในการปฏิบัติงาน
คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
๑. ได้รับปริญญาตรีหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบไดในระดับเดียวกันในสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ สาขาวิชาการบัญชี สาขาวิชาบริหารธุรกิจ
๒. เป็นผู้สอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไป ในระดับปริญญาตรีขึ้นไป ของสำนักงาน ก.พ. และได้รับหนังสือรับรองผลการสอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไปจากสำนักงาน ก.พ. เรียบร้อยแล้ว


นักวิชาการคอมพิวเตอร์ปฏิบัติการ

ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ที่ต้องใช้ความรู้ ความสามารถทางวิชาการในการ ทำงาน ปฏิบัติงานด้านวิชาการคอมพิวเตอร์ ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับ มอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
๑. ด้านการปฏิบัติการ
(๑) ติดตั้งเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ชุดคำสั่งระบบปฏิบัติการ ชุดคำสั่งสำเร็จรูป ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง เพื่อสนับสบุนให้งานเทคโนโลยีสารสนเทศดำเนินไปได้ อย่างมีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับความต้องการของหน่วยงาน
(๒) ประมวลผลและปรับปรุงแก้ไขแฟ้มข้อมูล เพื่อให้ข้อมูลที่ได้ถูกต้องแม่นยำและทันสมัย
(๓) ทดสอบคุณสมบัติด้านเทคนิคของระบบ เพื่อให้ระบบมีคุณสมบัติที่ถูกต้อง ตรงตาม ความต้องการและสภาพการใช้งานของหน่วยงาน
(๔) เขียนชุดคำสั่งตามข้อกำหนดของระบบงานประยุกต์ และระบบข้อมูลที่ได้วางเผนไว้ เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานเทคโนโลยีสารสนเทศให้ดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ
(๕) เขียนชุดคำสั่ง ทดสอบความถูกต้องของคำสั่ง แก้ไขข้อผิดพลาดของคำสั่งเพื่อให้ ระบบปฏิบัติการทำงานได้อย่างถูกต้องแม่นยำและมีประสิทธิภาพ
(๖) ช่วยรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ความต้องการของระบบงานประยุกต์ และระบบข้อมูล ของหน่วยงานที่ไม่ซับซ้อน เพื่อพัฒนาระบบงานเทคโนโลยีสารสนเทศในหน่วยงานให้มีประสิทธิภาพ และ ตรงตามความต้องการของหน่วยงาน
(๗) ช่วยรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ ออกแบบ และพัฒนาระบบงานประยุกต์ เพื่อให้ได้ ระบบงานประยุกต์ที่ตรงตามคุณลักษณะและความต้องการของหน่วยงาน
(๘) รวบรวมข้อมูลประกอบการกำหนดคุณลักษณะเฉพาะของเครื่องคอมพิวเตอร์และ อุปกรณ์ ระบบเครือข่าย ระบบงานประยุกต์และระบบสารสนเทศ การจัดการระบบการทำงานเครื่อง การติดตั้ง ระบบเครื่อง เพื่อให้[ด้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน และตรงตามความต้องการใช้ของหน่วยงาน
(๙) ช่วยตรวจสอบ สืบค้น และรวบรวมข้อมูลการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศที่เข้าข่าย ไม่เหมาะสม ขัดต่อกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับที่กำหนด หรือไม่เป็นไปตามมาตรฐานสากล เพื่อความมั่นคง ปลอดภัยของข้อมูลหรือระบบ
(๑๐) ช่วยตรวจสอบและรวบรวมข้อมูลเพื่อประกอบการออกใบอนุญาต เพื่อให้การออก ใบอนุญาตเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด

  Youtube: iqepin LINE it! เพิ่มเพื่อน  

๒. ด้านการวางแผน
วางแผนการทำงานที่รับผิดชอบ ร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงานหรือ โครงการ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายและผลสัมฤทธึ๋ที่กำหนด
๓. ด้านการประสานงาน
(๑) ประสานการทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน เพื่อให้เกิด ความร่วมมือและผลสัมฤทธิ้ตามที่กำหนด
(๒) ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แก่บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย
๔. ด้านการบริการ
(๑) ช่วยจัดทำคู่มือระบบและคู่มือผู้ใช้ เพื่อให้ผู้ใช้สามารถใช้งานคอมพิวเตอร์ได้ด้วยตนเอง อย่างมีประสิทธิภาพ
(๒) ดำเนินการผิกอบรมหรือถ่ายทอดความรู้ สนับสนุนการใช้ระบบงานที่พัฒนา แก่เจ้าหน้าที่ผู้ใช้งาน เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจในด้านวิชาการคอมพิวเตอร์
(๓) ให้คำปรึกษาแนะนำแก่ผู้ใช้เมื่อมีปัญหาหรือข้อสงสัยในการใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อให้ผู้ใช้สามารถแก่ไขและใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ


นักวิชาการโสตทัศนศึกษาปฏิบัติการ

ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ที่ต้องใช้ความรู้ ความสามารถทางวิชาการในการ ทำงาน ปฏิบัติงานด้านวิชาการโสตทัศนศึกษา ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับ มอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
๑. ด้านการปฏิบัติการ
(๑) จัดเตรียมและควบคุมการใช้อุปกรณ์ประเภทเครื่องเสียง เครื่องฉาย การผลิตวัสดุ อุปกรณ์ที่ใช้ในการจัดแสดงหรือบรรยาย เพื่อให้การแสดงหรือบรรยายที่ต้องอาศัยเครื่องเสียงหรือเครื่องฉาย ดำเนินไปโดยความเรียบร้อย และเกิดความเหมาะสม
(๒) ช่วยเขียน เรียบเรียง คำบรรยายภาพ คำบรรยายแผนภูมิ บทรายการวิทยุ ภาพยนตร์ หรือโทรทัศน์ เพื่อเผยแพร่ความรู้ หรือข้อมูลอันเป็นประโยชน์ในด้านต่าง ๆ
(๓) จัดหา ดูแล รักษา ซ่อมแซม เครื่องเสียง เครื่องฉาย ตลอดจนวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้ ในการปฏิบัติงาน เพื่อให้สามารถใช้งานได้ดี ประหยัดงบประมาณของหน่วยงาน และดำเนินงานได้อย่าง มีประสิทธิภาพ
๒. ด้านการวางแผน
วางแผนการทำงานที่รับผิดชอบ ร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงานหรือ โครงการ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายและผลสัมฤทธิ้ที่กำหนด
๓. ด้านการประสานงาน
(๑) ประสานการทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน เพื่อให้เกิด ความร่วมมือและผลสัมฤทธิ้ตามที่กำหนด
(๒) ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แก่บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย
๔. ด้านการบริการ
ให้คำปรึกษา แนะนำในด้านการใช้ บำรุงรักษาเครื่องเสียง เครื่องฉาย ตลอดจน โสตทัศนูปกรณ์แก่หน่วยงานต่าง ๆ เพื่อให้สามารถดำเนินการด้านโสตทัศนศึกษาได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น


นายช่างเครื่องกลปฏิบัติงาน

ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้นซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญา ปฏิบัติงานด้านช่างเครื่องกล ตามแนวทาง แบบอย่าง ขั้นตอน และวิธีการที่ชัดเจน ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
๑. ด้านการปฏิบัติการ
(๑) ดำเนินการตรวจสอบ บำรุงรักษา ซ่อมแก่ไข ปรับปรุง เครื่องจักรกล ยานพาหนะ เครื่องมือ อุปกรณ์ และงานด้านเครื่องกล เพื่อให้พร้อมใช้อยู่เสมอ
(๒) ดำเนินการออกแบบ เขียนแบบเครื่องกล การผลิตชิ้นส่วนเครื่องมือและอุปกรณ์ ติดตั้ง ทดลอง ทดสอบ สอบเทียบเครื่องมือ ประมาณราคา เครื่องจักรกล ยานพาหนะ และงานด้านเครื่องกล เพื่อให้ เกิดประสิทธิภาพและเหมาะสมกับการใช้งาน
(๓) สำรวจ รวบรวมข้อมูล จัดทำสถิติ ประวัติการบำรุงรักษา การซ่อมเครื่องจักรกล เครื่องมือ กล ยานพาหนะ และงานด้านเครื่องกล เพื่อเป็นข้อมูลหลักฐานสำหรับนำไปใช้ไนการพัฒนาปรับปรุงงาน
๒. ด้านการบริการ
(๑) ติดต่อประสานงานกับหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ การปฏิบัติงานเป็นไปด้วยความสะดวกรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
(๒) ให้คำแนะนำและบริการแก่ผู้มาติดต่อราชการ เพื่อให้ประชาชนเกิดความรู้ความเข้าใจ ในการทำงาน


นายช่างโยธาปฏิบัติงาน

ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้นซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญา ปฏิบัติงานด้านช่างโยธา ตามแนวทาง แบบอย่าง ขั้นตอน และวิธีการที่ชัดเจน ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
๑. ด้านการปฏิบัติการ
(๑) สำรวจ ออกแบบ เขียนแบบ ก่อสร้าง บำรุงรักษาโครงการก่อสร้างต่าง ๆ เพื่อให้ตรง ตามหลักวิชาช่าง ความต้องการของหน่วยงาน และงบประมาณที่ได้รับ
(๒) ตรวจสอบ แก่ไข และกำหนดรายละเอียดของงานให้ตรงกับแบบรูปและรายการ เพื่อให้ การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
(๓) ถอดแบบ เพื่อสำรวจปริมาณวัสดุที่ใช้ตามหลักวิชาช่าง เพื่อประมาณราคาค่าก่อสร้าง
(๔) ควบคุมงานก่อสร้าง งานปรับปรุง และซ่อมแซม หรือตรวจการจ้างตามที่ได้รับ มอบหมาย พร้อมรายงานความก้าวหน้าของงาน เพื่อให้เป็นไปตามระเบียบที่กำหนด
(๕) รวบรวมและจัดเก็บข้อมูล เพื่อการศึกษา วิเคราะห์ วิจัยในงานด้านช่าง
๒. ด้านการบริการ
(๑) ให้คำแนะนำ ตอบปัญหาและฟิกอบรมเกี่ยวกับงานโยธาที่ตนมีความรับผิดชอบ แก่ผู้ใต้บังคับบัญชา หรือเจ้าหน้าที่ระดับรองลงมา หน่วยงานราชการ เอกชน หรือประชาชนทั่วไป เพื่อให้ผู้ที่ สนใจได้รับทราบข้อมูล ความรู้ต่าง ๆ และมีทักษะเหมาะสมแก่การปฏิบัติงาน
(๒) ประสานงานในระดับกลุ่ม กับหน่วยงานราชการ เอกชนหรือประชาชนทั่วไป เพื่อขอ ความช่วยเหลือและร่วมมือในงานโยธา และแลกเปลี่ยนความรู้ความเชี่ยวชาญที่เป็นประโยชน์ต่อการทำงานของ หน่วยงานและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องตามที่ได้รับมอบหมาย


เจ้าพนักงานธุรการปฏิบัติงาน

ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้นซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญา ปฏิบัติงานด้านธุรการ ตามแนวทาง แบบอย่าง ขั้นตอน และวิธีการที่ชัดเจน ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
๑. ด้านการปฏิบัติการ
(๑) ปฏิบัติงานธุรการ งานสารบรรณ งานบริการทั่วไป เช่น การรับส่ง ลงทะเบียน ร่างหนังสือ โต้ตอบ จัดเตรียมการประชุม การบันทึกข้อมูล เพื่อสนับสนุนให้งานต่าง ๆ ดำเนินไปได้ โดยสะดวกราบรื่น และมีหลักฐานตรวจสอบได้
(๒) รวบรวมข้อมูล จัดเก็บข้อมูลสถิติ เอกสาร หลักฐานหนังสือ ตามระเบียบวิธีปฏิบัติ เพื่อสะดวกต่อการค้นหา และเป็นหลักฐานทางราชการ
(๓) ดำเนินการเกี่ยวกับพัสดุ ครุภัณฑ์ของสำนักงาน เพื่อให้มีอุปกรณ์ที่มีคุณภาพไว้ใช้งาน และอยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน
(๔) รวบรวมรายงานผลการปฏิบัติงานและข้อมูลต่าง ๆ นำเสนอต่อผู้บังคับบัญชา เพื่อนำไปใช้เสนอแนะและปรับปรุงการปฏิบัติงานต่อไป
๒. ด้านการบริการ
(๑) ติดต่อประสานงานกับบุคคลภายในหน่วยงานเดียวกันหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ การปฏิบัติงานเป็นไปด้วยความราบรื่น
(๒) ให้บริการข้อมูลแก่ผู้มาติดต่อราชการ เพื่อให้ได้รับข้อมูลที่จะนำไปใช้ประโยชน์ได้ต่อไป
(๓) ผลิตเอกสารต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานตามภารกิจของหน่วยงาน และปฏิบัติ หน้าที่อื่นที่เกี่ยวช้องตามที่ได้รับมอบหมาย

วิชาที่สอบ

นักวิชาการสหกรณ์ปฏิบัติการ

๑. การสอบเพื่อวัดความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง (คะแนนเต็ม ๒๐๐ คะแนน) ทดสอบความรู้ความสามารถที่ใช้ในการปฏิบัติงาน โดยวิธีสอบข้อเขียน ได้แก่ (๑) ความรู้เกี่ยวกับวิชาการสหกรณ์
(๒) ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยสหกรณ์ พ.ศ. ๒๕๔๒ และที่แก่ไขเพิ่มเติม
(๓) ความรู้เกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์ การบริหารจัดการ การบริหารธุรกิจ การตลาด และการเงิน
(๔) ความรู้เกี่ยวกับการบัญชี และการบัญชีสหกรณ์
(๕) ความรู้เกี่ยวกับยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี
๒. การสอบเพื่อวัดความเหมาะสมกับตำแหน่ง (คะแนนเต็ม ๑๐๐ คะแนน)
ประเมินบุคคลเพื่อพิจารณาความเหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่จากประวัติส่วนตัว ประวัติ การศึกษา ประวัติการทำงาน จากการสังเกตพฤติกรรมทีปรากฏของผู้เข้าสอบและจากการสัมภาษณ์ ทั้งนี้ อาจใช้วิธีการอื่นใดเพิ่มเดิมเพื่อพิจารณาความเหมาะสมในด้านต่าง ๆ เช่น ความรู้ที่อาจใช้เป็นประโยชน์ ในการปฏิบัติงานในหน้าที่ ความสามารถ ประสบการณ์ ท่วงทีวาจา อุปนิสัย อารมณ์ ทัศนคติ จรรยาบรรณของ ข้าราชการพลเรือน คุณธรรม จริยธรรม การปรับตัวเข้ากับผู้ร่วมงาน สังคม และสิ่งแวดล้อม ความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ ปฏิภาณ ไหวพริบ และบุคลิกภาพอื่น เป็นต้นรวมถึงสมรรถนะหลัก สมรรถนะที่จำเป็นของตำแหน่ง


นิติกรปฏิบัติการ

๑. การสอบเพื่อวัดความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง (คะแนนเต็ม ๒00 คะแนน) ทดสอบความรู้ความสามารถที่ใช้ในการปฏิบัติงาน โดยวิธีสอบข้อเขียน ได้แก่
(๑) กฎหมายว่าด้วยสหกรณ์ กฎหมายว่าด้วยการจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ
(๒) ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ประมวลกฎหมายอาญา ประมวลกฎหมายวิธี พิจารณาความแพ่ง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
(๓) กฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง กฎหมายว่าด้วยความรับผิดทางละเมิด ของเจ้าหน้าที่ กฎหมายว่าด้วยจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง กฎหมายว่าด้วยข้อมูลข่าวสารของ ราชการ กฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน กฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน
(๔) ความรู้เกี่ยวกับวิชาการสหกรณ์ และความรู้เกี่ยวกับสถานการณ์ปัจจุบันทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม
๒. การสอบเพื่อวัดความเหมาะสมกับตำแหน่ง (คะแนนเต็ม ๑00 คะแนน)
ประเมินบุคคลเพื่อพิจารณาความเหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่จากประวัติส่วนตัว ประวัติ การศึกษา ประวัติการทำงาน จากการสังเกตพฤติกรรมที่ปรากฏของผู้เข้าสอบและจากการสัมภาษณ์ ทั้งนี้ อาจใช้วิธีการอื่นใดเพิ่มเดิมเพื่อพิจารณาความเหมาะสมในด้านต่าง ๆ เข่น ความรู้ที่อาจใช้เป็นประโยชน์ ในการปฏิบัติงานในหน้าที่ ความสามารถ ประสบการณ์ พ่วงทีวาจา อุปนิสัย อารมณ์ ทัศนคติ จรรยาบรรณของ ข้าราชการพลเรือน คุณธรรม จริยธรรม การปรับตัวเข้ากับผู้ร่วมงาน สังคม และสิ่งแวดล้อม ความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ ปฏิภาณ ไหวพริบ และบุคลิกภาพอื่น เป็นต้น รวมถึงสมรรถนะหลัก สมรรถนะที่จำเป็นของตำแหน่ง


นักวิเคราะห์นโยบายและแผนปฏิบัติการ

๑. การสอบเพื่อวัดความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง (คะแนนเต็ม ๒๐๐ คะแนน) ทดสอบความรู้ความสามารถที่ใช้ในการปฏิบัติงาน โดยวิธีสอบข้อเขียน ได้แก่
(๑) พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔ และที่แก้ไขเพิ่มเดิม พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ และที่แก้ไขเพิ่มเดิม พระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๑ พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. ๒๕๔๖
(๒) ความรู้เกี่ยวกับยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี แผนปฏิรูปประเทศ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและ สังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๓
(๓) ความรู้เกี่ยวกับการวิเคราะห์ การวางแผนเชิงกลยุทธ์ การจัดทำแผนงาน/โครงการ ตัวชี้วัด การติดตามประเมินผล และการจัดทำงบประมาณ
(๔) ความรู้เกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์ การบริหารจัดการ การบริหารธุรกิจ และการตลาด
(๕) ความรู้เกี่ยวกับวิชาการสหกรณ์ และความรู้เกี่ยวกับสถานการณ์ปัจจุบันทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม
๒. การสอบเพื่อวัดความเหมาะสมกับตำแหน่ง (คะแนนเต็ม ๑๐๐ คะแนน)
ประเมินบุคคลเพื่อพิจารณาความเหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่จากประวัติส่วนตัว ประวัติ การศึกษา ประวัติการทำงาน จากการสังเกตพฤติกรรมที่ปรากฏของผู้เข้าสอบและจากการสัมภาษณ์ ทั้งนี้ อาจใช้วิธีการอื่นใดเพิ่มเดิมเพื่อพิจารณาความเหมาะสมในด้านต่าง ๆ เช่น ความรู้ที่อาจใช้เป็นประโยชน์ ในการปฏิบัติงานในหน้าที่ ความสามารถ ประสบการณ์ พ่วงทีวาจา อุปนิสัย อารมณ์ ทัศนคติ จรรยาบรรณของ ข้าราชการพลเรือน คุณธรรม จริยธรรม การปรับตัวเข้ากับผู้ร่วมงาน สังคม และสิ่งแวดล้อม ความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ ปฏิภาณ ไหวพริบ และบุคลิกภาพอื่น เป็นต้นรวมถึงสมรรถนะหลัก สมรรถนะที่จำเป็นของตำแหน่ง


นักวิชาการคอมพิวเตอร์ปฏิบัติการ

๑. การสอบเพื่อวัดความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง (คะแนนเต็ม ๒00 คะแนน) ทดสอบความรู้ความสามารถที่ใช้ในการปฏิบัติงาน โดยวิธีสอบข้อเขียน ดังนี้
(๑) พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๐ และ ที่แก่ไขเพิ่มเติม พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ พ.ศ. ๒๕๖๒ พระราชบัญญัติคุ้มครอง ข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. ๒๕๖๒ และพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. ๒๕๔๔ และที่แก่ไข เพิ่มเติม
(๒) ความรู้เกี่ยวกับการเขียนโปรแกรม การเขียนโค้ด 0ป1กรู) โครงสร้างข้อมูล (0ล๒ 5ปน(1นโธ) และฐานข้อมูล (03๒เว35ธ) ในลักษณะ ผ6เว /|วเว(เธลป(วก 1/!0เว|(ธ /|วเว(เธลป๐ก และ /บุวเว(เ(ะลปเวท โดยใช้ภาษา กแเว (ะ# และ .ผถโ และฐานข้อมูล 0๓(16 1/เร 501- และ เ^/501
(๓) ความรู้เกี่ยวกับระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
(๔) ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาระบบงานประยุกต์ การวิเคราะห์ความต้องการ การวางแผน แก่ไขปัญหา การเขียนโปรแกรม การทดสอบและแก่ไขโปรแกรม
(๕) ความรู้เกี่ยวกับการบริหารจัดการข้อมูลและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการจัดการ (IVแร) และการวิเคราะห์ข้อมูล (03๒ ทลเ/ป(ะ)
(๖) ความรู้เกี่ยวกับคุณลักษณะพื้นฐานครุภัณฑ์คอมพิวเตอร์ที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจ และสังคมกำหนด การจัดทำโครงการและแนวทางการจัดทำร่างขอบเขตของงาน (76โ๓5 เวโ ก6๒โ6ก(ะ6 – 70ก) ด้านดิจิทัล


นักวิชาการโสตทัศนศึกษาปฏิบัติการ

๑. การสอบเพื่อวัดความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง (คะแนนเต็ม ๒๐๐ คะแนน) ทดสอบความรู้ความสามารถที่ใชในการปฏิบัติงาน โดยวิธีสอบข้อเขียน ได้แก่
(๑) พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๐ และที่
(๒) ความรู้เกี่ยวกับการจัดเตรียม การติดตั้ง การควบคุมการใช้งานโสตทัศนูปกรณ์และ การดูแลบำรุงรักษาอุปกรณ์!สตทัศนูปกรณ์
(๓) ความรู้เกี่ยวกับการออกแบบโปสเตอร์ สื่อสิ่งพิมพ์ และสื่ออิเล็กทรอนิกส์
(๔) ความรู้เกี่ยวกับหลักการถ่ายภาพเบื้องต้น
(๕) ความรู้เกี่ยวกับวิชาการสหกรณ์ และความรู้เกี่ยวกับสถานการณ์ปัจจุบันทางการเมือง
เศรษฐกิจ และสังคม
๒. การสอบเพื่อวัดความเหมาะสมกับตำแหน่ง (คะแนนเต็ม ๑๐๐ คะแนน)
ประเมินบุคคลเพื่อพิจารณาความเหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่จากประวัติส่วนตัว ประวัติ การศึกษา ประวัติการทำงาน จากการสังเกตพฤติกรรมที่ปรากฏของผู้เข้าสอบและจากการสัมภาษณ์ ทั้งนี้ อาจใช้วิธีการอื่นใดเพิ่มเดิมเพื่อพิจารณาความเหมาะสมในด้านต่าง ๆ เช่น ความรู้ที่อาจใช้เป็นประโยชน์ ในการปฏิบัติงานในหน้าที่ ความสามารถ ประสบการณ์ พ่วงทีวาจา อุปนิสัย อารมณ์ ทัศนคติ จรรยาบรรณของ ข้าราชการพลเรือน คุณธรรม จริยธรรม การปรับตัวเข้ากับผู้ร่วมงาน สังคม และสิ่งแวดล้อม ความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ ปฏิภาณ ไหวพริบ และบุคลิกภาพอื่น เป็นต้น รวมถึงสมรรถนะหลัก สมรรถนะที่จำเป็นของตำแหน่ง


นายช่างเครื่องกลปฏิบัติงาน

๑. การสอบเพื่อวัดความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง (คะแนนเต็ม ๒00 คะแนน) ทดสอบความรู้ความสามารถที่ใช้ในการปฏิบัติงาน โดยวิธีสอบข้อเขียน ได้แก่
(๑) ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับวิธีการใช้ การบำรุงรักษา และการซ่อมแซมเครื่องจักรกล การเกษตร เครื่องยนต์ต้นกำลังทางการเกษตร และเครื่องมือช่าง
(๒) ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับวิธีการใช้ การบำรุงรักษา และการซ่อมแซมเครื่องจักรกลที่ใช้ ในการแปรรูป
(๓) ความรู้เกี่ยวกับวิชาการสหกรณ์ และความรู้เกี่ยวกับสถานการณ์ปัจจุบันทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม
๒. การสอบเพื่อวัดความเหมาะสมกับตำแหน่ง (คะแนนเต็ม ๑00 คะแนน)
ประเมินบุคคลเพื่อพิจารณาความเหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่จากประวัติส่วนตัว ประวัติ การศึกษา ประวัติการทำงาน จากการสังเกตพฤติกรรมที่ปรากฏของผู้เข้าสอบและจากการสัมภาษณ์ ทั้งนี้ อาจใช้วิธีการอื่นใดเพิ่มเดิมเพื่อพิจารณาความเหมาะสมในด้านต่าง ๆ เช่น ความรู้ที่อาจใช้เป็นประโยชน์ ในการปฏิบัติงานในหน้าที่ ความสามารถ ประสบการณ์ พ่วงทีวาจา อุปนิสัย อารมณ์ ทัศนคติ จรรยาบรรณของ ข้าราชการพลเรือน คุณธรรม จริยธรรม การปรับตัวเข้ากับผู้ร่วมงาน สังคม และสิ่งแวดล้อม ความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ ปฏิภาณไหวพริบ และบุคลิกภาพอื่น เป็นต้น รวมถึงสมรรถนะหลัก สมรรถนะที่จำเป็นของตำแหน่ง


นายช่างโยธาปฏิบัติงาน

๑. การสอบเพื่อวัดความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง (คะแนนเต็ม ๒๐๐ คะแนน) ทดสอบความรู้ความสามารถที่ใซ้ในการปฏิบัติงาน โดยวิธีสอบข้อเขียน ได้แก่ (๑) ความรู้เกี่ยวกับงานสำรวจและรังวัด
(๒) ความรู้เกี่ยวกับงานเขียนแบบ การประมาณราคาวัสดุก่อสร้าง การบริหารงานก่อสร้าง การตรวจงานก่อสร้าง การควบคุมงาน กฎหมายและสัญญาก่อสร้าง เทคนิคก่อสร้าง และปฏิบัติงานก่อสร้าง
(๓) ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการเขียนแบบด้วยโปรแกรม ลน(๐0^0 รเงอ^เาบ(ว และอื่น ๆ
(๔) ความรู้เกี่ยวกับวิชาการสหกรณ์ และความรู้เกี่ยวกับสถานการณ์ปัจจุบันทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม
๒. การสอบเพื่อวัดความเหมาะสมกับตำแหน่ง (คะแนนเต็ม ๑๐๐ คะแนน)
ประเมินบุคคลเพื่อพิจารณาความเหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่จากประวัติส่วนตัว ประวัติ การศึกษา ประวัติการทำงาน จากการสังเกตพฤติกรรมที่ปรากฏของผู้เข้าสอบและจากการสัมภาษณ์ ทั้งนี้ อาจใช้วิธีการอื่นใดเพิ่มเดิมเพื่อพิจารณาความเหมาะสมในด้านต่าง ๆ เช่น ความรู้ที่อาจใช้เป็นประโยชน์ ในการปฏิบัติงานในหน้าที่ ความสามารถ ประสบการณ์ พ่วงทีวาจา อุปนิสัย อารมณ์ ทัศนคติ จรรยาบรรณของ ข้าราชการพลเรือน คุณธรรม จริยธรรม การปรับตัวเข้ากับผู้ร่วมงาน สังคม และสิ่งแวดล้อม ความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ ปฏิภาณ ไหวพริบ และบุคลิกภาพอื่น เป็นต้น รวมถึงสมรรถนะหลัก สมรรถนะที่จำเป็นของตำแหน่ง


เจ้าพนักงานธุรการปฏิบัติงาน

๑. การสอบเพื่อวัดความรู้ความสามารถที่ใซ้เฉพาะตำแหน่ง (คะแนนเต็ม ๒๐๐ คะแนน) ทดสอบความรู้ความสามารถที่ใช้ในการปฏิบัติงาน โดยวิธีสอบข้อเขียน ได้แก่
(๑) ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. ๒๕๒๖ และที่แก่ไขเพิ่มเติม
(๒) พระราขบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖๐
(๓) พระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๑ และที่แล้ไขเพิ่มเดิม
(๔) พระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. ๒๕๒๖ และที่แก่ไขเพิ่มเดิม
(๕) ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. ๒๕๕๐ และที่แก่ไขเพิ่มเดิม
(๖) ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการใช้โปรแกรม ศ^โ๐50ทั (วกีไ(ะธ
(๗) ความรู้เกี่ยวกับวิชาการสหกรณ์ และความรู้เกี่ยวกับสถานการณ์ปัจจุบันทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม
๒. การสอบเพื่อวัดความเหมาะสมกับตำแหน่ง (คะแนนเต็ม ๑๐๐ คะแนน)
ประเมินบุคคลเพื่อพิจารณาความเหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่จากประวัติส่วนตัว ประวัติ การศึกษา ประวัติการทำงาน จากการสังเกตพฤติกรรมที่ปรากฏของผู้เช้าสอบและจากการสัมภาษณ์ ทั้งนี้ อาจใช้วิธีการอื่นใดเพิ่มเดิมเพื่อพิจารณาความเหมาะสมในด้านต่าง ๆ เข่น ความรู้ที่อาจใช้เป็นประโยชน์ ในการปฏิบัติงานในหน้าที่ ความสามารถ ประสบการณ์ ห่วงทีวาจา อุปนิสัย อารมณ์ ทัศนคติ จรรยาบรรณของ ข้าราชการพลเรือน คุณธรรม จริยธรรม การปรับตัวเข้ากับผู้ร่วมงาน สังคม และสิ่งแวดล้อม ความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ ปฏิภาณไหวพริบ และบุคลิกภาพอื่น เป็นต้น รวมถึงสมรรถนะหลัก สมรรถนะที่จำเป็นของตำแหน่ง

วิธีการสมัครงานข้าราชการ กรมส่งเสริมสหกรณ์  :สมัครทางอินเทอร์เน็ต  

ผู้ประสงค์จะสมัครสอบ สมัครได้ทางอินเทอร์เน็ตเท่านั้น ตั้งแต่วันที่ 17 ม.ค. – 4 ก.พ. 2565 ตลอด 24 ชั่วโมง ไม่เว้นวันหยุดราชการ

ดาวน์โหลดประกาศ/ใบสมัคร”กรมส่งเสริมสหกรณ์

แผนที่ file 1 | เว็บรับสมัคร

Comments

comments