“สถาบันพระบรมราชชนก“
ลิงค์: https://ehenx.com/14049/ หรือ
ตำแหน่ง: นักวิชาการเงินและบัญชี,นักวิชาการคอมพิวเตอร์,นักทรัยากรบุคคล,นักจัดการงานทั่วไป,นักวิชาการพัสดุ,นักวิชาการศึกษา
ระดับการศึกษา: ปริญญาตรี,ปริญญาตรีทุกสาขา,ปริญญาตรี
อัตราเงินเดือน: 18,000-19,500
อัตราว่าง: 15
ปฏิบัติงานที่: นนทบุรี
เปิดรับสมัครตั้งแต่: 29 เม.ย. – 10 พ.ค. 2564
**ไม่ต้องผ่านภาค ก. ก.พ.**
—
สถาบันพระบรมราชชนก เปิดรับสมัคร
เรื่อง รับสมัครบุคคลเพื่อเลือกสรรเป็นพนักงานราชการทั่วไป
ด้วยสถาบันพระบรมราชชนก ประสงค์จะรับสมัครบุคคลเพื่อจัดจ้างเป็นพนักงานราชการ ประเภทพนักงานราชการทั่วไป ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามประกาศคณะกรรมการบริหารพนักงานราชการ เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการสรรหา และเลือกสรรพนักงานราชการ และแบบสัญญาจ้าง ของพนักงานราชการ พ.ศ. ๒๕๕๒ ลงวันที่ ๑๑ กันยายน ๒๕๕๒ และประกาศคณะกรรมการบริหารพนักงานราชการ เรื่อง การกำหนดลักษณะงานและคุณสมบัติเฉพาะของกลุ่มงาน และการจัดทำกรอบอัตรากำลังพนักงานราชการ พ.ศ. ๒๕๕๔ ลงวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๔ และที่แกัไขเพิ่มเดิม จึงประกาศรับสมัครบุคคลเพื่อเลือกสรร เป็นพนักงานราชการทั่วไป โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
นักวิชาการเงินและบัญชี
ประเภท : บริหารทั่วไป
อัตราว่าง : 3 อัตรา
อัตราเงินเดือน : 18000- บาท
คุณวุฒิ : ปริญญาตรี
นักวิชาการคอมพิวเตอร์
ประเภท : วิชาชีพเฉพาะ
อัตราว่าง : 2 อัตรา
อัตราเงินเดือน : 19500- บาท
คุณวุฒิ : ปริญญาตรี
นักทรัยากรบุคคล
ประเภท : บริหารทั่วไป
อัตราว่าง : 4 อัตรา
อัตราเงินเดือน : 18000- บาท
คุณวุฒิ : ปริญญาตรีทุกสาขา*
นักจัดการงานทั่วไป
ประเภท : บริหารทั่วไป
อัตราว่าง : 3 อัตรา
อัตราเงินเดือน : 18000- บาท
คุณวุฒิ : ปริญญาตรีทุกสาขา*
นักวิชาการพัสดุ
ประเภท : บริหารทั่วไป
อัตราว่าง : 2 อัตรา
อัตราเงินเดือน : 18000- บาท
คุณวุฒิ : ปริญญาตรี
นักวิชาการศึกษา
ประเภท : บริหารทั่วไป
อัตราว่าง : 1 อัตรา
อัตราเงินเดือน : 18000- บาท
คุณวุฒิ : ปริญญาตรี
คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
นักวิชาการเงินและบัญชี
ได้รับปริญญาตรีหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้ ในสาขาวิชาการบัญชี สาขาวิชาบริหารธุรกิจ หรือสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ หรือสาขาวิชาใดสาขาวิชาหนึ่งหรือหลายสาขาวิชาดังกล่าวข้างต้น
นักวิชาการคอมพิวเตอร์
ได้รับปริญญาตรีหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้ ในสาขาวิชาใด สาขาวิชาหนึ่ง
ทางคอมพิวเตอร์
นักทรัยากรบุคคล
ได้รับปริญญาตรีหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้ในทุกสาขาวิชา
นักจัดการงานทั่วไป
ได้รับปริญญาตรีหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้ในทุกสาขาวิชา
นักวิชาการพัสดุ
ได้รับปริญญาตรีหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้ในสาขาวิชาการบัญชีบริหารธุรกิจ
หรือทางการบัญชีทางบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์ นิติศาสตร์ สาขาวิชาใดวิชาหนึ่งทางไฟฟ้า ทางอิเล็กทรอนิกส์ ทางไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ทางเทคโนโลยีการไฟฟ้า ทางโยธา ทางก่อสร้าง หรือสาขาวิชาใดสาขาวิชาหนึ่ง หรือหลายสาขาวิชาดังกล่าวข้างต้น
นักวิชาการศึกษา
ได้รับปริญญาตรีหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้ในทุกสาขาวิชา
ลักษณะงานที่ปฏิบัติ
นักวิชาการเงินและบัญชี
ปฏิบัติงานทางวิชาการเงินและบัญชี ซึ่งมีลักษณะงานที่ปฏิบัติเกี่ยวกับการเงิน การงบประมาณ การบัญชีทั่วไปของส่วนราชการ การศึกษา วิเคราะห์ ติดตาม ประเมินผล การใช้จ่ายเงิน การวิเคราะห์ฐานะทางการเงินและบัญชี การวิเคราะห์งบประมาณ การพัฒนาระบบงานคลัง ตรวจสอบความถูกต้องของการลงบัญชีประเภทต่าง ๆ และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
นักวิชาการคอมพิวเตอร์
ปฏิบัติงานทางวิทยาการคอมพิวเตอร์ซึ่งมีลักษณะงานที่่ปฏิบัติเกี่ยวกับการศึกษา วิเคราะห์ กําหนดคุณลักษณะของเครื่อง จัดระบบติดตั้ง เชื่อมโยงระบบเครื่องคอมพิวเตอร์ ศึกษาวิเคราะห์ ออกแบบเกี่ยวกับชุดคําสั่งระบบ ชุดคําสั่งประยุกต์ การจัดทําคู่มือการใช้คําสั่งต่าง ๆ กําหนดคุณลักษณะ ติดตั้งและใช้เครื่องมือชุดคําสั่งสื่อสาร การจัดและบริหารระบบสารสนเทศ รวมทั้งการดําเนินการเกี่ยวกับการกระทําผิด
ทางคอมพิวเตอร์ และธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ การให้คําปรึกษาแนะนํา อบรมเกี่ยวกับวิทยาการคอมพิวเตอร์ด้านต่าง ๆ แก่บุคคล หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ติดตามความก้าวหน้าของเทคโนโลยีใหม่ ๆ
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
นักทรัยากรบุคคล
ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการบริหารและการพัฒนาทรัพยากรบุคคล ซึ่งมีลักษณะงานที่ปฏิบัติเกี่ยวกับ การศึกษา วิเคราะห์ และดําเนินการเกี่ยวกับการวางระบบ มาตรฐาน หลักเกณฑ์และวิธีการบริหาร ทรัพยากรบุคคล การวางแผนทรัพยากรบุคคล การกําหนดตําแหน่ง การให้ได้รับเงินเดือนและเงินประจําตําแหน่ง การสรรหา การบรรจุ และการแต่งตั้ง การฝึกอบรมและพัฒนาข้าราชการและบุคลากรอื่น การเสริมสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติราชการการรักษาจรรยาและวินัย การออกจากราชการ การคุ้มครองระบบคุณธรรม และปฏิบัติหน้าที่อื่น
ที่เกี่ยวข้อง
นักจัดการงานทั่วไป
ปฏิบัติตามแต่จะได้รับคําสั่งโดยไม่จํากัดขอบเขตหน้าที่ เช่น การศึกษาวิเคราะห์เกี่ยวกับข้อมูล สถิติการรายงาน ช่วยวางแผนและติดตามงาน การติดต่อนัดหมาย จัดงานรับรองและงานพิธีต่าง ๆ เตรียมเรื่องและเตรียมการสําหรับการประชุม จดบันทึก และเรียบเรียงรายงานการประชุมทางวิชาการ และรายงานอื่น ๆ ทําเรื่องติดต่อกับหน่วยงานและบุคคลต่าง ๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ติดตาม ผลการปฏิบัติงานตามมติที่ประชุมหรือผลการปฏิบัติงานตามคําสั่งหัวหน้าส่วนราชการ หรือมีลักษณะงานที่ต้องปฏิบัติเกี่ยวกับการควบคุม และบริหารงานหลายด้านด้วยกัน เช่น งานสารบรรณ งานบริหาร ทรัพยากรบุคคล งานจัดระบบงาน งานบริหารงบประมาณ งานการเงินและบัญชี งานพัสดุงานบริหาร อาคารสถานที่ งานเอกสาร งานระเบียบแบบแผน งานรวบรวมข้อมูลสถิติงานสัญญา เป็นต้น และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
นักวิชาการพัสดุ
ปฏิบัติงานทางวิชาการพัสดุซึ่งมีลักษณะงานที่ปฏิบัติเกี่ยวกับการศึกษา วิเคราะห์รายละเอียด
ของพัสดุ เพื่อกําหนดมาตรฐานและคุณภาพการร่างสัญญาซื้อและสัญญาจ้าง การเสนอความเห็นเกี่ยวกับพัสดุการวางระบบเกี่ยวกับระเบียบ และวิธีปฏิบัติงานด้านการพัสดุ และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
นักวิชาการศึกษา
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ที่ต้องใช้ความรู้ความสามารถทางวิชาการในการทํางาน ปฏิบัติงานด้านการสอนและการอบรม ภายใต้การกํากับ แนะนํา ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับ มอบหมาย
วิชาที่สอบ
นักวิชาการเงินและบัญชี
(1) การประเมินสมรรถนะครั้งที่ 1 สอบข้อเขียน (คะแนนเต็ม 100 คะแนน) (1.1) ความรู้ความสามารถทั่วไป 50 คะแนน – ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526 และที่แก้ไขเพิ่มเติม – ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยพนักงานราชการ พ.ศ. 2547 – พระราชบัญญัติสถาบันพระบรมราชชนก พ.ศ. 2562 และความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับสถาบัน พระบรมราชชนก – หลักธรรมาภิบาล – ความรู้ทั่วไป (1.2) ความรู้ความสามารถเฉพาะสำหรับตำแหน่ง 50 คะแนน – ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกเงินจากคลัง การรับเงิน การจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงินและการนำเงินส่งคลัง พ.ศ.2562 – พระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังภาครัฐ พ.ศ. 2561 – พระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2561 (2) การประเมินสมรรถนะ ครั้งที่ 2 (คะแนนเต็ม 100 คะแนน)
นักวิชาการคอมพิวเตอร์
(1) การประเมินสมรรถนะครั้งที่ 1 สอบข้อเขียน (คะแนนเต็ม 100 คะแนน) (1.1) ความรู้ความสามารถทั่วไป 50 คะแนน – ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526 และที่แก้ไขเพิ่มเติม – ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยพนักงานราชการ พ.ศ. 2547 – พระราชบัญญัติสถาบันพระบรมราชชนก พ.ศ. 2562 และความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับสถาบัน พระบรมราชชนก – หลักธรรมาภิบาล – ความรู้ทั่วไป (1.2) ความรู้ความสามารถเฉพาะสำหรับตำแหน่ง 50 คะแนน – พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติม – พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 – พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 – พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ พ.ศ. 2562 – ความรู้เกี่ยวกับการใช้คอมพิวเตอร์ ระบบฮาร์ดแวร์ (Hardware) ระบบซอฟต์แวร์ (Software) และระบบความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศ (Security) – ความรู้เกี่ยวกับระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต และระบบเครือข่ายอินทราเน็ต – ความรู้เกี่ยวกับการใช้ภาษาทางคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือในการพัฒนาระบบงานประยุกต์ เช่น PHP, JavaScript, MySQL, MSSQL – ความรู้เกี่ยวกับระบบสารสนเทศ การพัฒนาระบบสารสนเทศ วิเคราะห์และออกแบบระบบการพัฒนาระบบฐานข้อมูล – ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนา Web Application เช่น PHP, HTML, JAVA SCRIPT และเทคโนโลยีทางเว็บ (2) การประเมินสมรรถนะ ครั้งที่ 2 (คะแนนเต็ม 100 คะแนน) ทำการทดสอบโดยวิธีสอบสัมภาษณ์และประเมินบุคคล โดยพิจารณาจากประวัติส่วนตัว ประวัติการศึกษา ประวัติการทำงาน จากพฤติกรรมที่ปรากฎของผู้เข้าสอบและจากการสัมภาษณ์ เพื่อพิจารณาความเหมาะสมในด้านต่าง ๆ ที่เป็นประโยขน์ในการปฏิบัติงานในหน้าที่ ความสามารถ ประสบการณ์ ท่วงทีวาจา อุปนิสัย อารมณ์ ทัศนคติ คุณธรรม จริยธรรม การปรับตัวเข้ากับผู้ร่วมงาน รวมทั้งสังคมและสิ่งแวดล้อม ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ เป็นต้น
นักทรัยากรบุคคล
(1) การประเมินสมรรถนะครั้งที่ 1 สอบข้อเขียน (คะแนนเต็ม 100 คะแนน) (1.1) ความรู้ความสามารถทั่วไป 50 คะแนน – ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526 และที่แก้ไขเพิ่มเติม – ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยพนักงานราชการ พ.ศ. 2547 – พระราชบัญญัติสถาบันพระบรมราชชนก พ.ศ. 2562 และความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับสถาบัน พระบรมราชชนก – หลักธรรมาภิบาล – ความรู้ทั่วไป (1.2) ความรู้ความสามารถเฉพาะสำหรับตำแหน่ง 50 คะแนน – พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติม – ระเบียบกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยพนักงานกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2556 และที่แก้ไขเพิ่มเติม – พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 และที่แก้ไขเพิ่มเติม – พระราชบัญญัติข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 และที่แก้ไขเพิ่มเติม – พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 และที่แก้ไขเพิ่มเติม – การบริหารทรัพยากรบุคคล (2) การประเมินสมรรถนะ ครั้งที่ 2 (คะแนนเต็ม 100 คะแนน) ทำการทดสอบโดยวิธีสอบสัมภาษณ์และประเมินบุคคล โดยพิจารณาจากประวัติส่วนตัว ประวัติการศึกษา ประวัติการทำงาน จากพฤติกรรมที่ปรากฎของผู้เข้าสอบและจากการสัมภาษณ์ เพื่อพิจารณาความเหมาะสมในด้านต่าง ๆ ที่เป็นประโยขน์ในการปฏิบัติงานในหน้าที่ ความสามารถ ประสบการณ์ ท่วงทีวาจา อุปนิสัย อารมณ์ ทัศนคติ คุณธรรม จริยธรรม การปรับตัวเข้ากับผู้ร่วมงาน รวมทั้งสังคมและสิ่งแวดล้อม ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ เป็นต้น
นักจัดการงานทั่วไป
(1) การประเมินสมรรถนะครั้งที่ 1 สอบข้อเขียน (คะแนนเต็ม 100 คะแนน) (1.1) ความรู้ความสามารถทั่วไป 50 คะแนน – ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526 และที่แก้ไขเพิ่มเติม – ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยพนักงานราชการ พ.ศ. 2547 – พระราชบัญญัติสถาบันพระบรมราชชนก พ.ศ. 2562 และความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับสถาบัน พระบรมราชชนก – หลักธรรมาภิบาล – ความรู้ทั่วไป (1.2) ความรู้ความสามารถเฉพาะสำหรับตำแหน่ง 50 คะแนน – ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. ๒๕๒๖ และที่แก้ไขเพิ่มเติม – พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓4 และที่แก้ไขเพิ่มเติม – พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. ๒๕๔๐ – ระเบียบว่าด้วยการรักษาความลับของทางราชการ พ.ศ. ๒๕๔๔ – เทคนิคการประสานงาน การติดต่อสื่อสาร (2) การประเมินสมรรถนะ ครั้งที่ 2 (คะแนนเต็ม 100 คะแนน) ทำการทดสอบโดยวิธีสอบสัมภาษณ์และประเมินบุคคล โดยพิจารณาจากประวัติส่วนตัว ประวัติการศึกษา ประวัติการทำงาน จากพฤติกรรมที่ปรากฎของผู้เข้าสอบและจากการสัมภาษณ์ เพื่อพิจารณาความเหมาะสมในด้านต่าง ๆ ที่เป็นประโยขน์ในการปฏิบัติงานในหน้าที่ ความสามารถ ประสบการณ์ ท่วงทีวาจา อุปนิสัย อารมณ์ ทัศนคติ คุณธรรม จริยธรรม การปรับตัวเข้ากับผู้ร่วมงาน รวมทั้งสังคมและสิ่งแวดล้อม ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ เป็นต้น
นักวิชาการพัสดุ
(1) การประเมินสมรรถนะครั้งที่ 1 สอบข้อเขียน (คะแนนเต็ม 100 คะแนน) (1.1) ความรู้ความสามารถทั่วไป 50 คะแนน – ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526 และที่แก้ไขเพิ่มเติม – ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยพนักงานราชการ พ.ศ. 2547 – พระราชบัญญัติสถาบันพระบรมราชชนก พ.ศ. 2562 และความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับสถาบัน พระบรมราชชนก – หลักธรรมาภิบาล – ความรู้ทั่วไป (1.2) ความรู้ความสามารถเฉพาะสำหรับตำแหน่ง 50 คะแนน – พระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 – ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 – พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 และที่แก้ไขเพิ่มเติม – พระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2561 – ระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณ พ.ศ. 2562 – ความรู้เกี่ยวกับการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงาน ภาครัฐ (ITA) (2) การประเมินสมรรถนะ ครั้งที่ 2 (คะแนนเต็ม 100 คะแนน) ทำการทดสอบโดยวิธีสอบสัมภาษณ์และประเมินบุคคล โดยพิจารณาจากประวัติส่วนตัว ประวัติการศึกษา ประวัติการทำงาน จากพฤติกรรมที่ปรากฎของผู้เข้าสอบและจากการสัมภาษณ์ เพื่อพิจารณาความเหมาะสมในด้านต่าง ๆ ที่เป็นประโยขน์ในการปฏิบัติงานในหน้าที่ ความสามารถ ประสบการณ์ ท่วงทีวาจา อุปนิสัย อารมณ์ ทัศนคติ คุณธรรม จริยธรรม การปรับตัวเข้ากับผู้ร่วมงาน รวมทั้งสังคมและสิ่งแวดล้อม ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ เป็นต้น
นักวิชาการศึกษา
(1) การประเมินสมรรถนะครั้งที่ 1 สอบข้อเขียน (คะแนนเต็ม 100 คะแนน) (1.1) ความรู้ความสามารถทั่วไป 50 คะแนน – ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526 และที่แก้ไขเพิ่มเติม – ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยพนักงานราชการ พ.ศ. 2547 – พระราชบัญญัติสถาบันพระบรมราชชนก พ.ศ. 2562 และความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับสถาบัน พระบรมราชชนก – หลักธรรมาภิบาล – ความรู้ทั่วไป (1.2) ความรู้ความสามารถเฉพาะสำหรับตำแหน่ง 50 คะแนน – การจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษา – การประกันคุณภาพของอาชีวะศึกษาและอุดมศึกษา – การวัดและการประเมินผลด้านการศึกษา – การทำวิจัยเกี่ยวกับการศึกษา – พระราชบัญญัติข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (2) การประเมินสมรรถนะ ครั้งที่ 2 (คะแนนเต็ม 100 คะแนน) ทำการทดสอบโดยวิธีสอบสัมภาษณ์และประเมินบุคคล โดยพิจารณาจากประวัติส่วนตัว ประวัติการศึกษา ประวัติการทำงาน จากพฤติกรรมที่ปรากฎของผู้เข้าสอบและจากการสัมภาษณ์ เพื่อพิจารณาความเหมาะสมในด้านต่าง ๆ ที่เป็นประโยขน์ในการปฏิบัติงานในหน้าที่ ความสามารถ ประสบการณ์ ท่วงทีวาจา อุปนิสัย อารมณ์ ทัศนคติ คุณธรรม จริยธรรม การปรับตัวเข้ากับผู้ร่วมงาน รวมทั้งสังคมและสิ่งแวดล้อม ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ เป็นต้น
วิธีการสมัครงานพนักงานราชการ สถาบันพระบรมราชชนก :สมัครทางอินเทอร์เน็ต
ผู้ประสงค์จะสมัครสอบ สมัครได้ทางอินเทอร์เน็ตเท่านั้น ตั้งแต่วันที่ 29 เม.ย. – 10 พ.ค. 2564 ตลอด 24 ชั่วโมง ไม่เว้นวันหยุดราชการ
ดาวน์โหลดไฟล์ “สถาบันพระบรมราชชนก
แผนที่ ประกาศ 1 | เว็บรับสมัคร |