Categories
งานราชการเปิดสอบ-รัฐวิสาหกิจ เปิดสอบ ทั่วไป

กรมสุขภาพจิต เปิดรับสมัครสอบพนักงานราชการ 17 ส.ค. -21 ส.ค. 2563 รวม 6 อัตรา,

กรมสุขภาพจิต

ลิงค์: https://ehenx.com/10489/ หรือ
ตำแหน่ง: นักเวชศาสตร์การสื่อความหมาย,นักจิตวิทยา,นักวิชาการสาธารณสุข,นักจัดการงานทั่วไป
ระดับการศึกษา: ปริญญาตรี
อัตราเงินเดือน: 18,000-19,500
อัตราว่าง: 6
ปฏิบัติงานที่: กรุงเทพมหานคร (สถาบันราชานุกูล)
เปิดรับสมัครตั้งแต่: 17 ส.ค. – 21 ส.ค. 2563
**ไม่ต้องผ่านภาค ก. ก.พ.**



กรมสุขภาพจิต เปิดรับสมัคร

ประกาศสถาบันราชานุกูล

เรื่อง รับสมัครบุคคลเพื่อเลือกสรรเป็นพนักงานราชการทั่วไป

ด้วยสถาบันราชานุกูล กรมสุขภาพจิต ประสงค์จะรับสมัครบุคคลเพื่อจัดจ้างเป็นพนักงานราชการทั่วไป จึงประกาศรับสมัครบุคคลเพื่อเลือกสรรเป็นพนักงานราชการทั่วไป โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

ชื่อตำแหน่ง กลุ่มงาน และรายละเอียดการจ้างงาน

นักเวชศาสตร์การสื่อความหมาย

ประเภท : วิชาชีพเฉพาะ

อัตราว่าง : 1 อัตรา

อัตราเงินเดือน : 19500- บาท

คุณวุฒิ : ปริญญาตรี


นักจิตวิทยา

ประเภท : บริหารทั่วไป

อัตราว่าง : 2 อัตรา

อัตราเงินเดือน : 18000- บาท

คุณวุฒิ : ปริญญาตรี


นักวิชาการสาธารณสุข

ประเภท : บริหารทั่วไป

อัตราว่าง : 1 อัตรา

อัตราเงินเดือน : 18000- บาท

คุณวุฒิ : ปริญญาตรี


นักจัดการงานทั่วไป

ประเภท : บริหารทั่วไป

อัตราว่าง : 2 อัตรา

อัตราเงินเดือน : 18000- บาท

คุณวุฒิ : ปริญญาตรี

คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง

นักเวชศาสตร์การสื่อความหมาย

ได้รับปริญญาตรีในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์การแพทย์ ทางเวชศาสตร์การแก้ไขความผิดปกติของการสื่อความหมาย และได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาการแก้ไขความผิดปกติของการสื่อความหมาย


นักจิตวิทยา

ได้รับปริญญาตรีในสาขาวิชาใดวิชาหนึ่งหรือทางใดทางหนึ่ง ได้แก่ จิตวิทยาทหรือจิตวิทยาคลินิก


นักวิชาการสาธารณสุข

ได้รับปริญญาตรีในสาขาวิชาใดวิชาหนึ่งหรือทางใดทางหนึ่ง ได้แก่จิตวิทยา สาธารณสุขศาสตร์ พยาบาลศาสตร์ วิทยาศาสตร์ชีวภาพ วิทยาศาสตร์กายภาพแพทยศาสตร์ วิทยาศาสตร์ประยุกต์ วิทยาศาสตร์การแพทย์ สังคมสงเคราะห์ศาสตร์ สังคมศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์ การแพทย์แนไทย การแพทย์แผนไทยประยุกต์ สุขศึกษา วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม วิศวกรรมสุขาภิบาล เศรษฐศาสตร์สาธารณสุข


นักจัดการงานทั่วไป

ได้รับปริยญาตรีในสาขาวิชาใดวิชาหนึ่งหรือทางใดทางหนึ่ง ได้แก่ สาขาวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม สาขาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม สาขาวิทยาการสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ

ลักษณะงานที่ปฏิบัติ

นักเวชศาสตร์การสื่อความหมาย

ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ที่ต้องใช้ความรู้ ความสามารถทางวิชาการในการทำงานปฏิบัติงานด้านการแก้ไขความผิดปกติของการสื่อความหมาย ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบและปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย

โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่างๆ ดังนี้

1. ด้านการปฏิบัติการ

  1. ปฏิบัติงานด้านการแก้ไขความผิดปกติของการสื่อความหมายตามมาตรฐานวิชาชีพด้านแก้ไขการได้ยิน หรือด้านแก้ไขการพูด แก่ผู้ใช้บริการ ผู้ป่วย เพื่อให้สามารถช่วยเหลือตนเอง และอยู่ในสังคมด้วยตนเองได้อย่างปกติสุข
  2. รวบรวมข้อมูลทางวิชาการเบื้องต้นทางด้านความผิดปกติของการสื่อความหมายที่ไม่ซับซ้อน เพื่อประกอบการวางแผนหรือจัดทำรายงานทางวิชาการ
  3. ติดตาม ประเมินผล สรุปผลการศึกษา วิเคราะห์และวิจัยทาด้านความผิดปกติของการสื่อความหมาย เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของแผนงาน โครงการที่อยู่ในความรับผิดชอบ
  4. ศึกษา วิเคราะห์ สำรวจข้อมูล และประเมินผลด้านความผิดปกติของการสื่อความหมายที่ไม่ซับซ้อน เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการวางแผนพัฒนางานให้มีประสิทธิภาพ
  5. ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องและได้รับมอบหมาย

2. ด้านการวางแผน

วางแผนการทำงานที่รับผิดชอบร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงานหรือโครงการเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายผลสัมฤทธิ์ที่กำหนด

3. ด้านการประสานงาน

  1. ประสานการทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน เพื่อให้เกิดความร่วมมือและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนดไว้
  2. ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แก่บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย

4. ด้านการบริการ

  1. ให้บริการเชิงวิชาการด้านความผิดปกติของการสื่อความหมายในระดับที่ซับซ้อนแก่บุคลากรทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้อง เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของผู้ปฏิบัติงาน
  2. สอน นิเทศ ฝึกอบรม หรือถ่ายทอดความรู้ เทคโนโลยี ด้านความผิดปกติของการสื่อความหมาย แก่ผู้ร่วมทีมงาน ผู้ใต้บังคับบัญชาและบุคลากรที่เกี่ยวข้องเพื่อพัฒนาสมรรถนะบุคลากรให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างเต็มศักยภาพ
  3. อำนวยการพัฒนาในการถ่ายทอด ฝึกอบรม หรือถ่ายทอดความรู้แก่บุคลากรที่เกี่ยวข้องด้านความผิดปกติของการสื่อความหมาย เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด และบรรลุเป้าหมายขององค์กร

นักจิตวิทยา

ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ที่ต้องใช้ความรู้ ความสามารถทางวิชาการในการทำงานปฏิบัติงานด้านจิตวิทยา ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย

โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่างๆ ดังนี้

1. ด่้านการปฏิบัติการ

  1. ประเมิน สำรวจ วิเคราะห์ สภาวะสุขภาพจิตด้วยวิธีการทางจิตวิทยา กับกลุ่มเป้าหมาย เพื่อค้นหา อธิบาย ทำนายแนวโน้ม พฤติกรรม อารมณ์ ความคิด พัฒนาการ ศักยภาพ แรงจูงใจ ความถนัด บุคลิกภาพ สาเหตุของปัญหาสุขภาพจิต ในระดับเบื้องต้น
  2. ให้การปรึกษา แนะแนว ปรับพฤติกรรม ฟื้นฟูสภาวะทางจิตใจ สังคม อารมณ์ ส่งเสริมพัฒนาการในระดับเบื้องต้น เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายเข้า่ใจ ยอมรับปัญหาของตนเอง ปรับเปลี่ยน อารมณ์ ความคิด พฤติกรรม วิธีการปรับตัว หรือวิธีแก้ปัญหาให้เหมาะสม
  3. ส่งเสริม ป้องักน เฝ้าระวัง แก้ไขปัญหาพฤติกรรม สุขภาพจิต ของกลุ่มเป้าหมาย ด้วยเครื่องมือและกรบะวนการทางจิตวิทยาเบื้องต้น เพื่อพัฒนาความสามารถในการดำเนินชีวิตได้เหมาะสมยิ่งขึ้น
  4. รวบรวม ศึกษา ข้อมูล งานวิจัย ด้านจิตวิทยา และวิชาการอื่นๆ ที่เกีย่วข้อง เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ นวัตวกรรมด้านจิตวิทยาท สุขภาพจิต
  5. สรุปสถิติ รายงานผลการปฏิบัติงาน ทางจิตวิทยา เสนอผู้บังคับบัญชา เพื่อประกอบการวางแผน พัฒนาการปฏิบัติงาน

2. ด้านการวางแผน

วางแผนการทำงานที่รับผิดชอบร่วมดำเนินากรวางแผนการทำงานของหน่วยงานหรือโครงการเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายผลสัมฤทธิ์ที่กำหนด

3. ด้านการประสานงาน

  1. ประสานการทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน เพื่อให้เกิดความร่วมมือและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนดไว้
  2. ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แก่บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย

4. ด้านการบริการ

  Youtube: iqepin LINE it! เพิ่มเพื่อน  

  1. เผยแพร่ ประะชาสัมพันธ์ความรู้วิชาการจิตวิทยา วิชาการที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ มีความเข้าใจ ปรับใช้ในการดำเนินชีวิต
  2. ถ่ายทอด ฝึกอบรม องค์ความรู้ เทคโนโลยีด้านจิตวิทยา จัดทำแผนการฝึกอบรม เพื่อพัฒนาความรู้ ความสามารถ ของนักเรียน นักศึกษา ประชาชนทั่วไป

นักวิชาการสาธารณสุข

ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ที่ต้องใช้ความรู้ ความสามารถทางวิชาการในการทำงาน ปฏิบัติงานด้านวิชาการสาธารณสุข ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบมหาย

โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่างๆ ดังนี้

1. ด้านการปฏิบัติการ

  1. ศึกษา ค้นคว้า วิเคราะห์ วิจัย สำรวจ รวบรวม ข้อมูลทางวิชาการเบื้องต้นที่ไม่ซับซ้อนเกี่ยวกับงานด้านสาธารณสุข เช่น การส่งเสริมสุขภาพ การเฝ้าระวังโรค การควบคุมป้องกันโรคและภัยสุขภาพและการฟื้นฟูสุขภาพ รวมทั้ง การดูแลรักษาพยาบาล การจัดบริการสุขภาพการสุขศึกษาและพฤติกรรมสุขภาพ การสุขาภิบาล อนามัยสิ่งแวดล้อม พัฒนาระบบกลไกและการบังคับใช้กฎหมายสาธารณสุขภาพ การสุขาภิบาล อนามัยสิ่งแวดล้อม พัฒนาระบบกลไกและการบังคับใช้เกฎหมายสาธารณสุข เพื่อช่วยในการเสริมสร้างระบบการสาธารณสุขที่ดี
  2. สรุปรายงานเกี่ยวกับการดำเนินงาน หรือรายงานการรวบรวมข้อมูลทางวิชาการด้านสาธารณสุข เสนอผู้บังคับบัญชา เพื่อประกอบการวางแผนในการปฏิบัติงาน
  3. ติดตามผลการศึกษา วิเคราะห์ และวิจัยงานด้านสาธารณสุข เพื่อนำมาใช้ในการปฏิบัติงานให้เหมาะสมกับสถานการณ์ต่าง ๆ
  4. ร่วมพัฒนาเนื้อหา องค์ความรู้ คุณภาพมาตรฐานเกี่ยวกับงานด้านสาธารณสุข และระบบบริการสุขภาพ โดยบูรณาการแบบองค์ความรู้ว่าด้วยการคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญา เกี่ยวกับงานด้านสาธารณสุขภาพ และจัดทำคู่มือ แนวทางปฏิบัติ เเอกสารวิชาการ สื่อสุขศึกษา ประชาสัมพันธ์ เพื่อให้ประชาชน มีความรู้ สามารถป้องกันตนเองจากโรคและภัยสุขภาพ
  5. ปฏิบัติการในการส่งเสริมสุขภาพ อนามัยสิ่งแวดล้อม การควบคุมป้องกันโรคและภัยสุขภาพ การเฝ้าระวังโรค รักษาเบื้องต้น และติดตามฟื้นฟูสุขภาพในชุมชน ดูแลบำรุงรักาาเครื่องมือและอุปกรณ์ที่พร้อมใช้งาน เพื่อพัฒนาระบบบริการสาธาณรสุข อย่างมีประสิทธิภาพและทั่วถึง
  6. ช่วยจัดทำฐานข้อมูลเบื้องต้นที่เกีย่วข้องกับงานด้านสาธารณสุข เช่น ข้อมูลของผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง บุคลากรทางด้านบริการสุขภาพ ประชากร สถานะสุขภาพ ระบาดวิทยา สิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพสถานประกอบการทั้งภาครัฐและเอกชน องค์กรภาคีเครือข่าย เพื่อนำมาใช้ในการวิเคราะห์ ในการปรับปรุงระบบงานสาธารรสุขให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น
  7. ให้บริการคัดกรอง ตรวจวินิจฉัย รักษาเบื้องต้น สอบสวนสืบสวนโรค ติดตามผู้ป่วย ผู้สัมผัส เพื่อการเฝ้าระวัง ควบคุมป้องกันโรคและภัยสุขภาพ รวมทั้งส่งเสริมสุขภาพ และฟื้นฟูสุขภาพ เพื่อให้ประชาชนมีสุขภาพที่ดี
  8. ร่วมประเมินสิ่งแวดล้อมการทำงาน ประเมินสถานประกอบการ สถานบริการสาธารณะสถานที่สาธารณทางด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม เพื่อการป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพอย่างมีประสิทธิภาพ
  9. ช่วยปฏิบัิงานส่งเสริม ควบคุม กำกับมาตรฐาน การบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับการแพทย์และสาธารณสุข และกฎหมายอื่นที่เกีย่วข้อง เพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคด้านบริการและผลิตภัณฑ์สุขภาพ

2. ด้านการวางแผน

วางแผนการทำงานที่รับผิดชอบร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงานหรือโครงการเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายผลสัมฤทธิ์ที่กำหนด

3. ด้านการประสานงาน

  1. ประสานการทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน เพื่อให้เกิดความร่วมมือและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนดไว้
  2. ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แก่บุคคลหรือหน่วยงานที่เกีย่วข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย

4. ด้านการบริการ

  1. ตรวจสอบสภาพของเครื่องมืออุปกรณ์ต่างๆ ให้มีคุณภาพและเหมาะสมแก่การนำไปใช้งานอยู่เสมอ รวมทั้งสนับสนุนงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการทางสาธารณสุข เพื่อให้การบริการดังกล่าวเป็นไปอย่างราบรื่น
  2. สนับสนุนการถ่ายทอดคตวามรู้ทางวิชาการหรือเทคโนโลยี แก่บุคคลภายในหน่วยงาน เพื่อเป็นความรู้และให้สามารถดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพ
  3. สนับสนุนการถ่ายทอดความรู้ทางวิชาการหรือเทคโนโลยี แก่บุคคลภายในหน่วยงาน เพื่อเป็นการเรียนรู้และความเข้าใจในระดับต่างๆ ในงานด้านสาธารณสุข
  4. ร่วมปฏิบัติการในการพัฒนาศักยภาพของบุคลากร และองค์กร เพื่อให้เป็นบุคลากรที่มีความชำนาญ และปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  5. นิเทศงานด้านสาธารณสุขให้แก่อาสาสมัครสาธารณะสุขประจำหมู่บ้าน เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานในพื้นที่ได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ

นักจัดการงานทั่วไป

ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ที่ต้องใช้ความรู้ ความสามารถทางวิชาการในการทำงาน ปฏิบัติงานด้านการบริหาจัดการภายในสำนักงานหรือการบริหารราชการทั่วไป ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย

โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่างๆ ดังนี้

1. ด้านการปฏิบัติการ

  1. ศึกษา รวบรวมข้อมูล สถิติ สรุปรายงาน เพื่อสนับสนุนการบริหารสำนักงานในด้านต่างๆ เช่น งานบริหารทรัพยากรบุคคล งานบริหารงบประมาณ งานบริหารแผนปฏิบัติราชการงานบริหารอาคารสถานที่ และงานสัญญาต่างๆ เป็นต้น
  2. ปฏิบัติงานเลขานุการของผู้บริหาร เช่น กรกลั่นกรองเรื่อง การจัดเตรียมเอกสารสำหรับการประชุม เป็นต้น เพื่อไม่ให้เกิดข้อผิดพลาดในการวินิจฉัยสั่งการของผู้บริหาร
  3. จัดเตรียมการประชุม บันทึกและเรียบเรียงรายงานการประชุม และรายานอื่นๆ เพื่อให้การบริหารการประชุมมีประสิทธิภาพและบรรลุวัตถุประสงค์ของหน่วยงาน
  4. ทำเรื่องติดต่อกับหน่วยงานและบุคลากรต่างๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เืพ่อให้การดำเนินงานบรรลุเป้าหมายตามที่กำหนด
  5. ช่วยติดตามการปฏิบัติตามมติของที่ประชุม หรืการปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บริหารของหน่วยงาน เพื่อการรายงานและเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาของผู้บังคับบัญชาต่อไป

2. ด้านการวางแผน

การวางแผนการทำงานที่รับผิดชอบ ร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงานหรือโครงการ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ที่กำหนด

3. ด้านการประสานงาน

  1. ประสานการทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน เพื่อให้เกิดความร่วมมือและผลสัมฤทะิ์ตามที่กำหนด
  2. ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แก่บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย

4. ด้านการบริการ

ตอบปัญหา ชี้แจง และให้คำแนะนำเกี่ยวกับงานในความรับผิดชอบ ในระดับเบื้องต้นแก่หน่วยงานราชการ เอกชน หรือประชาชนทั่วไป เพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องได้ทราบข้อมูลและเกิดความเข้าใจในงานที่รับผิดชอบ

วิธีการสมัครงานพนักงานราชการ กรมสุขภาพจิต :ตนเอง  

ผู้ประสงค์จะสมัครขอและยื่นใบสมัครด้วยตนเองได้ที่ กลุ่มงานทรัพยากรบุคล อาคารอำนวยการ ชั้น 3 สถาบันราชานุกูล สถาบันราชานุกูล ตั้งแต่วันที่ 17 สิงหาคม 2563 – 21 สิงหาคม 2563 (ในวันและเวลาราชการ)

ดาวน์โหลดไฟล์ “กรมสุขภาพจิต

แผนที่ ประกาศ 1 |

Comments

comments