Categories
งานราชการ-รัฐวิสาหกิจ เปิดสอบที่น่าสนใจ พนักงานรัฐวิสาหกิจ

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติแล ะสิ่งแวดล้อม เปิดรับสมัครสอบข้าราชการ 13 ก.พ. -4 มี.ค. 2563 รวม 36 อัตรา,

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

"กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติแล ะสิ่งแวดล้อม "

ลิงค์: https://ehenx.com/6209/ หรือ
ตำแหน่ง: นายช่างเทคนิคปฏิบัติงาน,นายช่างไฟฟ้าปฏิบัติงาน,เจ้าพนักงานการเงินและบัญชีปฏิบัติงาน,เจ้าพนักงานพัสดุปฏิบัติงาน,นิติกรปฏิบัติการ,นักวิชาการเงินและบัญชีปฏิบัติการ,นักประชาสัมพันธ์ปฏิบัติการ,นักจัดการงานทั่วไปปฏิบัติการ,นักวิชาการพัสดุปฏิบัติการ,นักวิชาการป่าไม้ปฏิบัติการ
ระดับการศึกษา: ปวส.ทุกสาขา,ปวส.,ปริญญาตรีทุกสาขา,ปริญญาตรี
อัตราเงินเดือน: 13,800-16,500
อัตราว่าง: 36
ปฏิบัติงานที่: กรุงเทพมหานคร
เปิดรับสมัครตั้งแต่: 13 ก.พ. – 4 มี.ค. 2563



กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เปิดรับสมัครสอบ

ประกาศสำนักงานปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

เรื่อง รับสมัครสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการในสั้งกัดสำนักงานปลัดกระทรวงรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ด้วยสำนักงานปลัดกระทรวงทรัพยากรธรมชาติและสิ่งแวดล้อม จะดำเนินการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 53 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2551 และหนังสือสำนักงาน ก.พ. ที่ นร 1004/ว 17 ลงวันที่ 11 ธันวาคม 2556 เรื่อง การสรรหา โดยการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุบุคคลเข้ารับราชการ จึงประกาศรับสมัครสอบแข่งขันฯ ดังรายละเอียดต่อไปนี้ 

ชื่อตำแหน่ง กลุ่มงาน และรายละเอียดการจ้างงาน

นายช่างเทคนิคปฏิบัติงาน

อัตราเงินเดือน :11,500 -12,650 บาท

ประเภท :ทั่วไป ระดับปฏิบัติงาน

จำนวนตำแหน่งว่าง :11 ตำแหน่ง

ระดับการศึกษา :- ปวส.- อนุปริญญา


นายช่างไฟฟ้าปฏิบัติงาน

อัตราเงินเดือน :11,500 -12,650 บาท

ประเภท :ทั่วไป ระดับปฏิบัติงาน

จำนวนตำแหน่งว่าง :2 ตำแหน่ง

ระดับการศึกษา :ปวส.


เจ้าพนักงานการเงินและบัญชีปฏิบัติงาน

อัตราเงินเดือน :11,500 -12,650 บาท

ประเภท :ทั่วไป ระดับปฏิบัติงาน

จำนวนตำแหน่งว่าง :2 ตำแหน่ง

ระดับการศึกษา :- ปวส.- อนุปริญญา


เจ้าพนักงานพัสดุปฏิบัติงาน

อัตราเงินเดือน :11,500 -12,650 บาท

ประเภท :ทั่วไป ระดับปฏิบัติงาน

จำนวนตำแหน่งว่าง :1 ตำแหน่ง

ระดับการศึกษา :- ปวส.- อนุปริญญา


นิติกรปฏิบัติการ

อัตราเงินเดือน :15,000 – 16,500 บาท

ประเภท :วิชาการ ระดับปฏิบัติการ

จำนวนตำแหน่งว่าง :1 ตำแหน่ง

ระดับการศึกษา :ปริญญาตรี


นักวิชาการเงินและบัญชีปฏิบัติการ

อัตราเงินเดือน :15,000 – 16,500 บาท

ประเภท :วิชาการ ระดับปฏิบัติการ

จำนวนตำแหน่งว่าง :1 ตำแหน่ง

ระดับการศึกษา :ปริญญาตรี


นักประชาสัมพันธ์ปฏิบัติการ

อัตราเงินเดือน :15,000 – 16,500 บาท

ประเภท :วิชาการ ระดับปฏิบัติการ

จำนวนตำแหน่งว่าง :2 ตำแหน่ง

ระดับการศึกษา :ปริญญาตรี


นักจัดการงานทั่วไปปฏิบัติการ

อัตราเงินเดือน :15,000 – 16,500 บาท

ประเภท :วิชาการ ระดับปฏิบัติการ

จำนวนตำแหน่งว่าง :1 ตำแหน่ง

ระดับการศึกษา :ปริญญาตรี


นักวิชาการพัสดุปฏิบัติการ

อัตราเงินเดือน :15,000 – 16,500 บาท

ประเภท :วิชาการ ระดับปฏิบัติการ

จำนวนตำแหน่งว่าง :1 ตำแหน่ง

ระดับการศึกษา :ปริญญาตรี


นักวิชาการป่าไม้ปฏิบัติการ

อัตราเงินเดือน :15,000 – 16,500 บาท

ประเภท :วิชาการ ระดับปฏิบัติการ

จำนวนตำแหน่งว่าง :14 ตำแหน่ง

ระดับการศึกษา :ปริญญาตรี

คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง

นายช่างเทคนิคปฏิบัติงาน

  1. ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในทุกสาขาวิชา และ
  2. ได้รับคุณวุฒิอนุปริญญาหลักสูตร 3 ปี ในทุกสาขาวิชา และ
  3. ต้องเป็นผู้สอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไป ของสำนักงาน ก.พ. ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง หรือระดับที่สูงกว่า

นายช่างไฟฟ้าปฏิบัติงาน

  1. ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาไฟฟ้ากำลัง สาขาวิชาอิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิชาเทคโนโลยีโทรคมนาคม หรือสาขาวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และ
  2. ต้องเป็นผู้สอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไปของสำนักงาน ก.พ. ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หรือระดับที่สูงกว่า

เจ้าพนักงานการเงินและบัญชีปฏิบัติงาน

  1. ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในทุกสาขาวิชา และ
  2. ได้รับคุณวุฒิอนุปริญญาหลักสูตร 3 ปี ในทุกสาขาวิชา และ
  3. ต้องเป็นผู้สอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไปของสำนักงาน ก.พ. ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หรือระดับที่สูงกว่า

เจ้าพนักงานพัสดุปฏิบัติงาน

  1. ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในทุกสาขาวิชา และ
  2. ได้รับคุณวุฒิอนุปริญญาหลักสูตร 3 ปี ในทุกสาขาวิชา และ
  3. ต้องเป็นผู้สอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไปของสำนักงาน ก.พ. ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หรือระดับที่สูงกว่า

นิติกรปฏิบัติการ

  1. ได้รับปริญญาตรี หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชานิติศาสตร์ และ
  2. ต้องเป็นผู้สอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไปของสำนักงาน ก.พ. ระดับปริญญาตรี หรือระดับที่สูงกว่า

นักวิชาการเงินและบัญชีปฏิบัติการ

  1. ได้รับปริญญาตรี หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาการบัญชี สาขาวิชาบริหารธุรกิจ หรือสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ และ
  2. ต้องเป็นผู้สอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไปของสำนักงาน ก.พ. ระดับปริญญาตรี หรือระดับที่สูงกว่า

นักประชาสัมพันธ์ปฏิบัติการ

  1. ได้รับปริญญาตรี หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชานิเทศศาสตร์ และ
  2. ต้องเป็นผู้สอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไปของสำนักงาน ก.พ. ระดับปริญญาตรี หรือระดับที่สูงกว่า

นักจัดการงานทั่วไปปฏิบัติการ

  1. ได้รับปริญญาตรีหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในทุกสาขาวิชา และ
  2. ต้องเป็นผู้สอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไปของสำนักงาน ก.พ. ระดับปริญญาตรี หรือระดับที่สูงกว่า

นักวิชาการพัสดุปฏิบัติการ

  1. ได้รับปริญญาตรีหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในทุกสาขาวิชา และ
  2. ต้องเป็นผู้สอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไปของสำนักงาน ก.พ. ระดับปริญญาตรี หรือระดับที่สูงกว่า

นักวิชาการป่าไม้ปฏิบัติการ

  1. ได้รับปริญญาตรีหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาใดสาขาวิชาหนึ่ง ทางวนศาสตร์ และ
  2. ต้องเป็นผู้สอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไปของสำนักงาน ก.พ. ระดับปริญญาตรี หรือระดับที่สูงกว่า

ลักษณะงานที่ปฏิบัติ

นายช่างเทคนิคปฏิบัติงาน

1. ด้านการปฏิบัติการ
(1) ดูแล ควบคุม ตรวจซ่อมและบำรุงรักษา ระบบสาธารณูปโภค เครื่องจักร เครื่องยนต์ เครื่องมือ อุปกรณ์ต่างๆ วัสดุและครุภัณฑ์อื่นๆ ในความรับผิดชอบ เพื่อให้เกิดความปลอดภัยและพร้อมในการใช้งาน
(2) ซ่อม สร้าง ผลิต ประกอบ ดัดแปลง เขียนหรือออกแบบ ติดตั้ง เครื่องจักร เครื่องยนต์ เครื่องมือ อุปกรณ์ต่างๆ รวมทั้งการทดลองใช้เครื่องจักร เครื่องกล และสิ่งก่อสร้าง เพื่อให้เป็นไปตามหลักวิชาและมาตรฐานงานช่าง และให้เกิดความปลอดภัย
2. ด้านการบริการ
(1) ให้คำปรึกษา แนะนำ จัดทำข้อมูล ถ่ายทอดความรู้ทั้งในเชิงทักษะเฉพาะด้านและทักษะทั่วไปให้แก่บุคลากรภายในหน่วยงานที่รับผิดชอบ หน่วยงานราชการ เอกชน และประชาชน เพื่อให้มีความรู้ ความสามารถและมีทักษะเหมาะสมแก่การปฏิบัติงานในหน้าที่
(2) ติดต่อประสานกับหน่วยงานหรือเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องตามที่ได้รับมอบหมาย


นายช่างไฟฟ้าปฏิบัติงาน

1. ด้านการปฏิบัติการ
(1) สำรวจ เขียนแบบ ประมาณการ ติดตั้ง ซ่อม ประดิษฐ์ ดัดแปลง ปรับปรุง ควบคุมการใช้งาน ดูแล บำรุงรักษา และใช้งานเครื่องมือ อุปกรณ์ เครื่องจักรกลไฟฟ้า ระบบไฟฟ้า ระบบเครื่องปรับอากาศ ระบบไฟฟ้าสื่อสารและโทรคมนาคม ระบบสารสนเทศ ระบบควบคุมอัตโนมัติ ระบบอิเล็กทรอนิกส์ ระบบคอมพิวเตอร์รับส่งข้อมูลข่าวสาร ในภารกิจที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้สามารถใช้งานได้อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพตอบสนองความต้องการของหน่วยงานภายในและภายนอก
(2) จัดทำทะเบียน รวบรวม และเก็บข้อมูลทางสถิติของการใช้งาน เพื่อการวางแผน บำรุงรักษา
2. ด้านการบริการ
(1) ให้คำแนะนำ ตอบปัญหาแก้ไขปัญหา ให้แก่ผู้ใช้งานและผู้รับบริการ ทั้งภายในและภายนอกหน่วยงาน เพื่อให้สามารถใช้งานได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ
(2) ประสาน แลกเปลี่ยนความรู้และข้อมูลต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกหน่วยงาน เพื่อประกอบการปฏิบัติงานได้อย่างครอบคลุม และมีประสิทธิภาพ


เจ้าพนักงานการเงินและบัญชีปฏิบัติงาน

1. ด้านการปฏิบัติการ
(1) จัดทำและปฏิบัติงานด้านเอกสารทางการเงินและบัญชีในระดับต้น เพื่อให้งานเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด
(2) รวบรวมรายละเอียดการจัดทำงบประมาณ เพื่อใช้ประกอบในการทำงบประมาณประจำปีของหน่วยงาน
(3) ตรวจสอบและดูความถูกต้องของเอกสารสำคัญทางการเงิน เพื่อให้เกิดความถูกต้องในการปฏิบัติงาน
(4) ประสานงานในระดับฝ่ายหรือกลุ่มกับหน่วยงานราชการ เอกชน หรือประชาชนทั่วไป เพื่อขอความช่วยเหลือและร่วมมือในงานและแลกเปลี่ยนความรู้ความเชี่ยวชาญที่เป็นประโยชน์ต่อการทำงาน
ของหน่วยงาน
2. ด้านการบริการ
(1) ให้คำแนะนำ ตอบปัญหา ชี้แจงเกี่ยวกับงานการเงินและบัญชี แก่เจ้าหน้าที่ระดับรองลงมา หน่วยงานราชการ เอกชน และประชาชนทั่วไป เพื่อถ่ายทอดความรู้ ความชำนาญแก่ผู้ที่สนใจ
(2) ประสานงานในระดับกลุ่ม กับหน่วยงานราชการ เอกชน หรือประชาชนทั่วไป เพื่อขอความช่วยเหลือและความร่วมมือในงานการเงินและบัญชี และแลกเปลี่ยนความรู้ความเชี่ยวชาญที่เป็นประโยชน์
ต่อการทำงานของหน่วยงาน


เจ้าพนักงานพัสดุปฏิบัติงาน

1. ด้านการปฏิบัติการ
(1) ปฏิบัติงานขั้นต้นเกี่ยวกับงานพัสดุในการจัดหา จัดซื้อ ว่าจ้าง การเก็บรักษา นำส่ง การซ่อมแซม และบำรุงรักษาพัสดุ ครุภัณฑ์ อุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ เพื่อให้อยู่ในสภาพดีพร้อมต่อการใช้งาน
(2) ทำทะเบียนการเบิกจ่ายพัสดุ การเก็บรักษาใบสำคัญหลักฐานและเอกสารเกี่ยวกับพัสดุ เพื่อรวบรวมไว้เป็นข้อมูลในการดำเนินงาน
(3) ร่างและตรวจซื้อสัญญาซื้อ สัญญาจ้าง หนังสือโต้ตอบ บันทึกย่อเรื่องเกี่ยวกับงานพัสดุ เพื่อเป็นหลักฐานในการดำเนินงาน
(4) รายงาน สรุปความเห็นเกี่ยวกับงานพัสดุ เพื่อจัดทำรายงาน และนำเสนอผู้บังคับบัญชาในหน่วยงาน
(5) ศึกษาและเสนอความเห็นเกี่ยวกับระเบียบงานพัสดุ เพื่อร่วมพัฒนาให้ระเบียบการปฏิบัติงาน มีประสิทธิภาพและรวดเร็วยิ่งขึ้น
(6) ชี้แจงรายละเอียดข้อเท็จจริงเกี่ยวกับงานพัสดุให้การปฏิบัติงานมีความโปร่งใส ตรวจสอบได้
2. ด้านการบริการ
(1) ให้คำแนะนำเกี่ยวกับระเบียบและวิธีการปฏิบัติงานที่อยู่ในความรับผิดชอบแก่ผู้ร่วมงานหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อความเข้าใจอันดีในการปฏิบัติงาน และให้การดำเนินงานสำเร็จลุล่วง
(2) ประสานงานกับบุคคลภายในหน่วยงานเดียวกัน ต่างหน่วยงาน หรือประชาชนทั่วไป เพื่อให้บริการ หรือขอความช่วยเหลือในด้านที่ตนรับผิดชอบ


นิติกรปฏิบัติการ

1. ด้านการปฏิบัติการ
(1) เสนอความเห็นแก่ผู้บังคับบัญชาในการตอบข้อหารือหรือวินิจฉัยปัญหากฎหมายเกี่ยวกับระเบียบของทางราชการที่มีผลกระทบต่อการดำเนินงานของหน่วยงาน เพื่อเป็นข้อมูลสนับสนุนการพิจารณาของผู้บังคับบัญชา
(2) ศึกษา วิเคราะห์ และวิจัยเพื่อปรับปรุงกฎหมายและระเบียบเกี่ยวกับหน่วยงานที่รับผิดชอบ เพื่อให้ทันกับสถานการณ์และอำนวยความสะดวกในการทำงาน โดยพิจารณาถึงความเหมาะสมและเป็นธรรมต่อทุกฝ่าย
(3) ศึกษาข้อมูล รวบรวม แสวงหาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย เสนอความเห็นในการดำเนินการเรื่องใดๆ ที่เกี่ยวกับวินัยข้าราชการ การร้องทุกข์ การพิทักษ์ระบบคุณธรรม รวมถึงการดำเนินการใดๆ ตามกฎหมายปกครองที่เกี่ยวข้องกับการบริหารราชการ และการดำเนินคดีของหน่วยงาน เพื่อใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน และสามารถดำเนินการได้อย่างถูกต้อง
2. ด้านการวางแผน
วางแผนการทำงานที่รับผิดชอบ ร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงานหรือโครงการ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ที่กำหนด
3. ด้านการประสานงาน
(1) ประสานการทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน เพื่อให้เกิดความร่วมมือและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนด
(2) ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แก่บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย
4. ด้านการบริการ
ให้คำปรึกษาแนะนำด้านกฎหมายแก่บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจในข้อกฎหมายที่เป็นปัญหา และให้ความรู้ถึงข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องและเป็นประโยชน์กับการดำเนินงานของบุคคลหรือหน่วยงานดังกล่าว


นักวิชาการเงินและบัญชีปฏิบัติการ

1. ด้านการปฏิบัติการ
(1) จัดทำบัญชี เอกสารรายงานความเคลื่อนไหวทางการเงิน ทั้งเงินในและเงินนอกงบประมาณ เงินทุนหมุนเวียน เพื่อแสดงสถานะทางการเงินและใช้เป็นฐานข้อมูลที่ถูกต้องตามระเบียบวิธีการบัญชีของ ส่วนราชการ
(2) รวบรวมข้อมูล และรายงานการเงินของส่วนราชการ เพื่อพร้อมที่จะปรับปรุงข้อมูลให้ถูกต้องและทันสมัย
(3) จัดทำและจัดสรรงบประมาณแก่หน่วยงานของรัฐเพื่อให้การจัดสรรงบประมาณตรงกับความจำเป็นและวัตถุประสงค์ของแต่ละหน่วยงาน
(4) ศึกษาวิเคราะห์ผลการใช้จ่ายเงินงบประมาณของหน่วยงานภาครัฐ เพื่อให้การใช้จ่ายเงินเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงการจัดทำและจัดสรรงบประมาณ
(5) ดูแลการรับและจ่ายเงิน สถานะทางการเงิน ตรวจสอบเอกสารสำคัญการรับ-จ่ายเงิน เพื่อให้การรับ-จ่ายเงินขององค์กรมีประสิทธิภาพ การปฏิบัติการถูกต้องตามระเบียบปฏิบัติของราชการ
(6) ถ่ายทอดความรู้ด้านการเงินและบัญชี แก่เจ้าหน้าที่ระดับรองลงมา เช่น ให้คำแนะนำในการปฏิบัติงาน วางโครงการกำหนดหลักสูตรและฝึกอบรม จัดทำคู่มือประจำสำหรับการฝึกอบรมและวิธีใช้อุปกรณ์เครื่องมือที่ถูกต้อง เป็นต้น เพื่อถ่ายทอดความรู้ที่เป็นประโยชน์ในการปฏิบัติงานตามมาตรฐานและข้อกำหนด
2. ด้านการวางแผน
วางแผนการทำงานที่รับผิดชอบ ร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงานหรือโครงการ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ที่กำหนด
3. ด้านการประสานงาน
(1) ประสานการทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน เพื่อให้เกิดความร่วมมือและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนด
(2) ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แก่บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย
4. ด้านการบริการ
(1) ให้คำแนะนำ ตอบปัญหาและชี้แจงเกี่ยวกับงานการเงินและบัญชีที่ตนมีความรับผิดชอบในระดับเบื้องต้นแก่หน่วยงานราชการ เอกชน หรือประชาชนทั่วไป เพื่อให้ผู้ที่สนใจได้ทราบข้อมูลและความรู้ต่างๆ ที่เป็นประโยชน์
(2) จัดเก็บข้อมูลเบื้องต้น ทำสถิติ ปรับปรุง หรือจัดทำฐานข้อมูลหรือระบบสารสนเทศที่เกี่ยวกับงานการเงินและบัญชี เพื่อให้สอดคล้องและสนับสนุนภารกิจของหน่วยงาน และใช้ประกอบการพิจารณากำหนดนโยบาย แผนงาน หลักเกณฑ์ มาตรการต่างๆ


นักประชาสัมพันธ์ปฏิบัติการ

1. ด้านการปฏิบัติการ
(1) จัดกิจกรรมตามโครงการประชาสัมพันธ์ทั้งในและต่างประเทศ โดยประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การดำเนินงานประชาสัมพันธ์บรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมาย
(2) สำรวจความคิดเห็นของประชาชน และรวบรวมข้อมูลข่าวสารต่างๆ และสรุปผล เพื่อเป็นข้อมูลในการดำเนินการประชาสัมพันธ์
(3) ศึกษา ค้นคว้า วิเคราะห์ข้อมูล เพื่อประกอบการวิจัย วางแผนการประชาสัมพันธ์และติดตามผล
(4) จัดทำเอกสาร และผลิตบทความ เพื่อการประชาสัมพันธ์และเผยแพร่
2. ด้านการวางแผน
วางแผนการทำงานที่รับผิดชอบ ร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงานหรือโครงการ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ที่กำหนด
3. ด้านการประสานงาน
(1) ประสานการทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน เพื่อให้เกิดความร่วมมือและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนด
(2) ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แก่บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย
4. ด้านการบริการ
ให้บริการข้อมูลการประชาสัมพันธ์แก่ประชาชนและหน่วยงานต่างๆ เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง ตรงตามข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น


นักจัดการงานทั่วไปปฏิบัติการ

1. ด้านการปฏิบัติการ
(1) ศึกษา รวบรวมข้อมูล สถิติ สรุปรายงาน เพื่อสนับสนุนการบริหารสำนักงานในด้านต่างๆ เช่นงานบริหารทรัพยากรบุคคล งานบริหารงบประมาณ งานบริหารแผนปฏิบัติราชการ งานบริหารอาคารสถานที่ และงานสัญญาต่างๆ เป็นต้น
(2) ปฏิบัติงานเลขานุการของผู้บริหาร เช่น การกลั่นกรองเรื่อง การจัดเตรียมเอกสารสำหรับการประชุม เป็นต้น เพื่อไม่ให้เกิดข้อผิดพลาดในการวินิจฉัยสั่งการของผู้บริหาร
(3) จัดเตรียมการประชุม บันทึกและเรียบเรียงรายงานการประชุม และรายงานอื่นๆ เพื่อให้การบริหารการประชุมมีประสิทธิภาพและบรรลุวัตถุประสงค์ของหน่วยงาน
(4) ทำเรื่องติดต่อกับหน่วยงานและบุคคลต่างๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อให้การดำเนินงานบรรลุเป้าหมายตามที่กำหนด
(5) ช่วยติดตามการปฏิบัติตามมติของที่ประชุม หรือการปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บริหารของหน่วยงาน เพื่อการรายงานและเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาของผู้บังคับบัญชาต่อไป
2. ด้านการวางแผน
วางแผนการทำงานที่รับผิดชอบ ร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงานหรือโครงการ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ที่กำหนด
3. ด้านการประสานงาน
(1) ประสานการทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน เพื่อให้เกิดความร่วมมือและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนด
(2) ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แก่บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย
4. ด้านการบริการ
ตอบปัญหา ชี้แจง และให้คำแนะนำเกี่ยวกับงานในความรับผิดชอบ ในระดับเบื้องต้นแก่หน่วยงานราชการ เอกชน หรือประชาชนทั่วไป เพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องได้ทราบข้อมูลและเกิดความเข้าใจในงานที่รับผิดชอบ


นักวิชาการพัสดุปฏิบัติการ

  Youtube: iqepin LINE it! เพิ่มเพื่อน  

1. ด้านการปฏิบัติการ
(1) รวบรวมและศึกษาข้อมูลในงานพัสดุ เพื่อกำหนดคุณภาพ และมาตรฐานของพัสดุ
(2) ตรวจสอบและดูแลการจัดซื้อจัดจ้างแบบต่างๆ เช่น การตกลงราคา การสอบราคา ประกวดราคา วิธีพิเศษ และวิธีกรณีพิเศษ เพื่อให้เป็นไปตามระเบียบของสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ
(3) จัดทำรายละเอียดบัญชี หรือทะเบียนคุมทรัพย์สินเกี่ยวกับคุณลักษณะเฉพาะของวัสดุ เพื่อให้สามารถตรวจสอบวัสดุต่างๆ ได้โดยสะดวก
(4) ซ่อมแซมและดูแลรักษาพัสดุในครอบครอง เพื่อให้มีสภาพที่พร้อมใช้งาน
(5) จำหน่ายพัสดุเมื่อชำรุดหรือเสื่อมสภาพ หรือไม่จำเป็นในการใช้งานทางราชการอีกต่อไป เพื่อให้พัสดุเกิดประโยชน์ให้แก่ทางราชการได้มากที่สุด
(6) ถ่ายทอดความรู้ด้านงานพัสดุแก่เจ้าหน้าที่ระดับรองลงมา เช่น ให้คำแนะนำในการปฏิบัติงาน วางโครงการกำหนดหลักสูตรและฝึกอบรม จัดทำคู่มือประจำสำหรับการฝึกอบรมและวิธีใช้อุปกรณ์เครื่องมือที่ถูกต้อง เป็นต้น เพื่อถ่ายทอดความรู้ที่เป็นประโยชน์ในการปฏิบัติงานตามมาตรฐานและข้อกำหนด
2. ด้านการวางแผน
วางแผนการทำงานที่รับผิดชอบ ร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงานหรือโครงการ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ที่กำหนด
3. ด้านการประสานงาน
(1) ประสานการทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน เพื่อให้เกิดความร่วมมือและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนด
(2) ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แก่บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย
4. ด้านการบริการ
(1) ให้คำแนะนำ ตอบปัญหา และชี้แจงเกี่ยวกับงานพัสดุที่ตนมีความรับผิดชอบ ในระดับเบื้องต้นแก่หน่วยงานราชการ เอกชน หรือประชาชนทั่วไป เพื่อให้ผู้ที่สนใจได้ทราบข้อมูลและความรู้ต่างๆ ที่เป็นประโยชน์
(2) จัดเก็บข้อมูลเบื้องต้น จัดทำสถิติ ปรับปรุง หรือจัดทำฐานข้อมูลหรือระบบสารสนเทศที่เกี่ยวกับงานพัสดุ เพื่อให้สอดคล้องและสนับสนุนภารกิจของหน่วยงานและใช้ประกอบการพิจารณากำหนด นโยบาย แผนงาน หลักเกณฑ์ มาตรการต่างๆ


นักวิชาการป่าไม้ปฏิบัติการ

1. ด้านการปฏิบัติการ
(1) ร่วมดำเนินการเกี่ยวกับการสงวน อนุรักษ์ คุ้มครอง ดูแล รักษาทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่า เพื่อเป็นการรักษาสมดุลของระบบนิเวศ ตลอดจนความหลากหลายทางชีวภาพ ส่งเสริมการปลูกป่า เพื่อจัดการให้เป็นป่าเศรษฐกิจ
(2) ร่วมดำเนินการเกี่ยวกับการฟื้นฟู แก้ไข ความเสื่อมโทรมของระบบนิเวศในพื้นที่ป่าไม้ เพื่อเป็นการรักษาสมดุลของระบบนิเวศให้คงอยู่ตลอดไป
(3) ร่วมดำเนินการเกี่ยวกับการควบคุม กำกับดูแล ป้องกันการกระทำผิด บุกรุก ทำลายป่า การป้องกันและควบคุมไฟป่า การจัดการที่ดินป่าไม้ การอนุญาตการใช้ประโยชน์จากไม้ ที่ดินป่าไม้ ผลิตผลป่าไม้ อุตสาหกรรมไม้ สวนป่า ตามกฎหมายว่าด้วยการป่าไม้ เพื่อรักษาและใช้ทรัพยากรป่าไม้อย่างยั่งยืน
(4) ร่วมดำเนินการเกี่ยวกับการส่งเสริม กระตุ้น และสร้างจิตสำนึกให้ประชาชนมีความรู้สึกหวงแหนและมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่า และการจัดการป่าชุมชน เพื่อเป็นการส่งเสริมให้ประชาชนร่วมกันรักษาทรัพยากรป่าไม้ให้คงอยู่ตลอดไป
(5) ร่วมศึกษา วิจัย และพัฒนาเกี่ยวกับการอนุรักษ์ การบริหารจัดการ และการฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้ สัตว์ป่า ความหลากหลายทางชีวภาพ การปลูกป่า ผลิตผลป่าไม้ และวิชาการป่าไม้อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ทางด้านวิชาการป่าไม้
2. ด้านการวางแผน
วางแผนการทำงานที่รับผิดชอบ ร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงานหรือโครงการ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ที่กำหนด
3. ด้านการประสานงาน
(1) ประสานการทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน เพื่อให้เกิดความร่วมมือและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนด
(2) ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แก่บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย
4. ด้านการบริการ
ให้บริการข้อมูลสารสนเทศและถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่า การกำหนดกิจกรรมด้านการท่องเที่ยวและนันทนาการ การจัดทำระบบสื่อความหมาย และพัฒนาการให้ข้อมูลแก่นักท่องเที่ยว ถ่ายทอดเทคโนโลยีและการให้บริการทางวิชาการเกี่ยวกับอุทยานแห่งชาติ และการบริการการท่องเที่ยวแก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและประชาชน การบริการและการถ่ายทอดเทคโนโลยี การเพาะเลี้ยงและการอนุรักษ์สัตว์ป่า รวมถึงการสนับสนุนและแจกจ่ายกล้าไม้เพื่อการฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้ เพื่อประโยชน์ต่อการพัฒนาทางด้านการจัดการทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่า

วิชาที่สอบ

นายช่างเทคนิคปฏิบัติงาน

ทดสอบความรู้ความสามารถ ความเข้าใจเกี่ยวกับงานในตำแหน่งนายช่างเทคนิคปฏิบัติงาน โดยวิธีการสอบข้อเขียน (คะแนนเต็ม 200 คะแนน) ดังต่อไปนี้
(1) ทดสอบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายและระเบียบที่ใช้ในการปฏิบัติราชการ (50 คะแนน) ซึ่งประกอบด้วย
– พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551
– พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
– พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546
– ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการลาของข้าราชการ พ.ศ. 2555
– พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540
– เหตุการณ์ปัจจุบันทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม
(2) ทดสอบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับงานนายช่างเทคนิคที่ใช้ในการปฏิบัติงาน (150 คะแนน) ซึ่งประกอบด้วย
– ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับงานช่างพื้นฐาน
– ความรู้เกี่ยวกับการบริหารจัดการน้ำบาดาล
– ความรู้เกี่ยวกับการดูแล ควบคุม ตรวจซ่อมและบำรุงรักษา ระบบสาธารณูปโภค เครื่องจักร เครื่องยนต์ เครื่องมือ อุปกรณ์ต่างๆ
– ความรู้เกี่ยวกับการซ่อม สร้าง ผลิต ประกอบ ดัดแปลง เขียนหรือออกแบบ ติดตั้ง เครื่องจักร เครื่องยนต์ เครื่องมือ อุปกรณ์ต่างๆ


นายช่างไฟฟ้าปฏิบัติงาน

ทดสอบความรู้ความสามารถ ความเข้าใจเกี่ยวกับงานในตำแหน่งนายช่างไฟฟ้าปฏิบัติงาน โดยวิธีการ สอบข้อเขียน (คะแนนเต็ม 200 คะแนน) ดังต่อไปนี้
(1) ทดสอบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายและระเบียบที่ใช้ในการปฏิบัติราชการ (50 คะแนน) ซึ่งประกอบด้วย
– พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551
– พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
– พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546
– ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการลาของข้าราชการ พ.ศ. 2555
– พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540
– เหตุการณ์ปัจจุบันทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม
(2) ทดสอบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับงานนายช่างไฟฟ้าที่ใช้ในการปฏิบัติงาน (150 คะแนน) ซึ่งประกอบด้วย
– ความรู้เกี่ยวกับระบบควบคุมทางไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
– ความรู้เกี่ยวกับการวิเคราะห์คำนวณวงจรไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
– ความรู้เกี่ยวกับวิธีบำรุงรักษาระบบไฟฟ้า การป้องกันระบบไฟฟ้ากำลัง
– ความรู้เกี่ยวกับเครื่องมือตรวจวัดทางไฟฟ้า การตรวจทดสอบและการวัด
– ความรู้เกี่ยวกับระบบเครื่องรับ – ส่งวิทยุ ระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่และชุมสายโทรคมนาคม ระบบสื่อสารด้วยเส้นใยแก้วนำแสง ระบบสื่อสารไมโครเวฟ ระบบสายอากาศและสายนำสัญญาณ
– ความรู้เกี่ยวกับระบบสื่อสารข้อมูลดิจิตอลและคอมพิวเตอร์ ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์เครือข่ายคอมพิวเตอร์ ระบบอินเตอร์เน็ต ระบบมัลติมีเดีย ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ระบบตู้สาขาโทรศัพท์ และระบบประชุมทางไกล (Video Conference System)


เจ้าพนักงานการเงินและบัญชีปฏิบัติงาน

ทดสอบความรู้ความสามารถ ความเข้าใจเกี่ยวกับงานในตำแหน่งเจ้าพนักงานการเงินและบัญชีปฏิบัติงาน โดยวิธีการสอบข้อเขียน (คะแนนเต็ม 200 คะแนน) ดังต่อไปนี้
(1) ทดสอบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายและระเบียบที่ใช้ในการปฏิบัติราชการ (50 คะแนน) ซึ่งประกอบด้วย
– พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551
– พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
– พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546
– ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการลาของข้าราชการ พ.ศ. 2555
– พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540
– เหตุการณ์ปัจจุบันทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม
(2) ทดสอบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเงินและบัญชีที่ใช้ในการปฏิบัติงาน (150 คะแนน) ซึ่งประกอบด้วย
– ความรู้เกี่ยวกับหลักการบัญชีเบื้องต้น
– ความรู้เกี่ยวกับระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณ พ.ศ. 2562
– ความรู้เกี่ยวกับระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายในการบริหารงานของส่วนราชการ พ.ศ. 2553
– ความรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2561
– ความรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561
– ความรู้เกี่ยวกับระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกเงินจากคลัง การรับเงิน การจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน และการนำเงินส่งคลัง พ.ศ. 2562
– ความรู้เกี่ยวกับระบบบริหารการเงินการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์ (GFMIS)


เจ้าพนักงานพัสดุปฏิบัติงาน

ทดสอบความรู้ความสามารถ ความเข้าใจเกี่ยวกับงานในตำแหน่งเจ้าพนักงานพัสดุปฏิบัติงาน โดยวิธีการสอบข้อเขียน (คะแนนเต็ม 200 คะแนน) ดังต่อไปนี้
(1) ทดสอบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายและระเบียบที่ใช้ในการปฏิบัติราชการ (50 คะแนน) ซึ่งประกอบด้วย
– พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551
– พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
– พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546
– ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการลาของข้าราชการ พ.ศ. 2555
– พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540
– เหตุการณ์ปัจจุบันทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม
(2) ทดสอบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับงานพัสดุที่ใช้ในการปฏิบัติงาน (150 คะแนน)
ซึ่งประกอบด้วย
– ความรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560
– ความรู้เกี่ยวกับระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 และกฎกระทรวงที่เกี่ยวข้องกับพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560
– ความรู้เกี่ยวกับระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
– ความรู้เกี่ยวกับจรรยาบรรณของผู้ปฏิบัติงานด้านพัสดุ


นิติกรปฏิบัติการ

ทดสอบความรู้ความสามารถ ความเข้าใจเกี่ยวกับงานในตำแหน่งนิติกรปฏิบัติการ โดยวิธีการ สอบข้อเขียน (คะแนนเต็ม 200 คะแนน) ดังต่อไปนี้
(1) ทดสอบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายและระเบียบที่ใช้ในการปฏิบัติราชการ (50 คะแนน) ซึ่งประกอบด้วย
– พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551
– พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
– พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546
– ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการลาของข้าราชการ พ.ศ. 2555
– พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540
– เหตุการณ์ปัจจุบันทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม
(2) ทดสอบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับงานด้านกฎหมายที่ใช้ในการปฏิบัติงาน (150 คะแนน) ซึ่งประกอบด้วย
– ความรู้เกี่ยวกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560
– ความรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ว่าด้วยการดำเนินการทางวินัย
– ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่
– ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง
– ความรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535


นักวิชาการเงินและบัญชีปฏิบัติการ

ทดสอบความรู้ความสามารถ ความเข้าใจเกี่ยวกับงานในตำแหน่งนักวิชาการเงินและบัญชีปฏิบัติการ
โดยวิธีการสอบข้อเขียน (คะแนนเต็ม 200 คะแนน) ดังต่อไปนี้
(1) ทดสอบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายและระเบียบที่ใช้ในการปฏิบัติราชการ (50 คะแนน) ซึ่งประกอบด้วย
– พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551
– พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
– พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546
– ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการลาของข้าราชการ พ.ศ. 2555
– พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540
– เหตุการณ์ปัจจุบันทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม
– ความรู้เกี่ยวกับยุทธศาสตร์ชาติด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ
(2) ทดสอบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเงินและบัญชีที่ใช้ในการปฏิบัติงาน (150 คะแนน) ซึ่งประกอบด้วย
– ความรู้เกี่ยวกับหลักการบัญชีเบื้องต้น
– ความรู้เกี่ยวกับระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณ พ.ศ. 2562
– ความรู้เกี่ยวกับระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายในการบริหารงานของส่วนราชการ พ.ศ. 2553
– ความรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2561
– ความรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561
– ความรู้เกี่ยวกับระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกเงินจากคลัง การรับเงิน การจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน และการนำเงินส่งคลัง พ.ศ. 2562
– ความรู้เกี่ยวกับระบบบริหารการเงินการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์ (GFMIS)


นักประชาสัมพันธ์ปฏิบัติการ

ทดสอบความรู้ความสามารถ ความเข้าใจเกี่ยวกับงานในตำแหน่งนักประชาสัมพันธ์ปฏิบัติการ โดยวิธีการสอบข้อเขียน (คะแนนเต็ม 200 คะแนน) ดังต่อไปนี้
(1) ทดสอบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายและระเบียบที่ใช้ในการปฏิบัติราชการ (50 คะแนน) ซึ่งประกอบด้วย
– พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551
– พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
– พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546
– ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการลาของข้าราชการ พ.ศ. 2555
– พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540
– เหตุการณ์ปัจจุบันทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม
– ความรู้เกี่ยวกับยุทธศาสตร์ชาติด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ
(2) ทดสอบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับงานด้านประชาสัมพันธ์ที่ใช้ในการปฏิบัติงาน (150 คะแนน) ซึ่งประกอบด้วย
– ความรู้ด้านเกี่ยวกับงานด้านสื่อสารมวลชน หลักการสื่อสารและการประชาสัมพันธ์
– ความรู้เกี่ยวกับการวางแผนประชาสัมพันธ์ การจัดทำโครงการประชาสัมพันธ์ การสื่อสารในยุคดิจิทัล และการผลิตสื่อประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ ในรูปแบบและช่องทางต่างๆ
– ความรู้ในการวิเคราะห์ประเด็น การเรียบเรียงข้อมูล และการเขียนเพื่อการประชาสัมพันธ์


นักจัดการงานทั่วไปปฏิบัติการ

ทดสอบความรู้ความสามารถ ความเข้าใจเกี่ยวกับงานในตำแหน่งนักจัดการงานทั่วไปปฏิบัติการ โดยวิธีการสอบข้อเขียน (คะแนนเต็ม ๒๐๐ คะแนน) ดังต่อไปนี้
(1) ทดสอบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายและระเบียบที่ใช้ในการปฏิบัติราชการ (50 คะแนน) ซึ่งประกอบด้วย
– พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551
– พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
– พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546
– ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการลาของข้าราชการ พ.ศ. 2555
– พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540
– เหตุการณ์ปัจจุบันทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม
– ความรู้เกี่ยวกับยุทธศาสตร์ชาติด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ
(2) ทดสอบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการบริหารงาน และงานด้านเลขานุการที่ใช้ในการปฏิบัติงาน (150 คะแนน) ซึ่งประกอบด้วย
– ความรู้ด้านการวางแผนและการจัดทำงบประมาณ
– ความรู้เกี่ยวกับระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
– ความรู้เกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรบุคคล และงานเลขานุการ


นักวิชาการพัสดุปฏิบัติการ

ทดสอบความรู้ความสามารถ ความเข้าใจเกี่ยวกับงานในตำแหน่งนักวิชาการพัสดุปฏิบัติการ โดยวิธีการสอบข้อเขียน (คะแนนเต็ม 200 คะแนน) ดังต่อไปนี้
(1) ทดสอบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายและระเบียบที่ใช้ในการปฏิบัติราชการ (50 คะแนน) ซึ่งประกอบด้วย
– พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551
– พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
– พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546
– ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการลาของข้าราชการ พ.ศ. 2555
– พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540
– เหตุการณ์ปัจจุบันทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม
– ความรู้เกี่ยวกับยุทธศาสตร์ชาติด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ
(2) ทดสอบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับงานพัสดุที่ใช้ในการปฏิบัติงาน (150 คะแนน)
ซึ่งประกอบด้วย
– ความรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560
– ความรู้เกี่ยวกับระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 และกฎกระทรวงที่เกี่ยวข้องกับพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560
– ความรู้เกี่ยวกับระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
– ความรู้เกี่ยวกับจรรยาบรรณของผู้ปฏิบัติงานด้านพัสดุ


นักวิชาการป่าไม้ปฏิบัติการ

ทดสอบความรู้ความสามารถ ความเข้าใจเกี่ยวกับงานในตำแหน่งนักวิชาการป่าไม้ปฏิบัติการ โดยวิธีการสอบข้อเขียน (คะแนนเต็ม 200 คะแนน) ดังต่อไปนี้
(1) ทดสอบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายและระเบียบที่ใช้ในการปฏิบัติราชการ (50 คะแนน) ซึ่งประกอบด้วย
– พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551
– พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
– พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546
– ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการลาของข้าราชการ พ.ศ. 2555
– พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540
– เหตุการณ์ปัจจุบันทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม
– ความรู้เกี่ยวกับยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
(2) ทดสอบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับงานวิชาการป่าไม้ (150 คะแนน) ซึ่งประกอบด้วย
– ความรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้และการป้องกันรักษาป่า
– ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายการป่าไม้ (พระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 พระราชบัญญัติสวนป่า พ.ศ. 2535 พระราชบัญญัติเลื่อยโซ่ยนต์ พ.ศ. 2545 พระราชบัญญัติส่งเสริมการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง พ.ศ. 2558 พระราชบัญญัติป่าชุมชน พ.ศ. 2562 พระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2562 และพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562)
– ความรู้เกี่ยวกับการส่งเสริมการปลูกป่า
– ความรู้เกี่ยวกับการจัดการที่ดินป่าไม้ และการจัดการป่าชุมชน
– ความรู้เกี่ยวกับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
– ความรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ พ.ศ. 2562

วิธีการสมัครงานข้าราชการ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติแล ะสิ่งแวดล้อม  :สมัครทางอินเทอร์เน็ต  

ผู้ประสงค์จะสมัครสอบ สมัครได้ทางอินเทอร์เน็ตเท่านั้น ตั้งแต่วันที่ 13 ก.พ. – 4 มี.ค. 2563 ตลอด 24 ชั่วโมง ไม่เว้นวันหยุดราชการ

ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบ : 22 พ.ค. 2563

ดาวน์โหลดไฟล์ “กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติแล ะสิ่งแวดล้อม

แผนที่ | ประกาศ 1 | เว็บรับสมัคร |

Comments

comments