Categories
รายงานพิเศษ สอบท้องถิ่น 2563-2564

กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น บัดนี้ –  ส่อยุบ อบจ.-อบต.

“กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น บัดนี้ –  ส่อยุบ อบจ.-อบต.”

ลิงค์: https://iqepi.com/?p=15817 หรือ
เรื่อง: ส่อยุบ อบจ.-อบต.
**ไม่ต้องผ่านภาค ก. ก.พ.**


ผนวก”อบจ.-เทศบาลเมือง”ยกเป็น”เทศบาลจังหวัด” ปฏิรูปท้องถิ่นคงเหลือเทศบาลอำเภอ-เทศบาลตำบล

คสช.ถก “มหาดไทย” ส่อยกเลิก “องค์การบริหารส่วนจังหวัด” ผนวก อบจ.เข้ากับเทศบาลเมือง ยกเป็น “เทศบาลจังหวัด” แทน สมาชิกมาจากทั้งเลือกตั้ง-แต่งตั้ง สัดส่วนเท่ากัน พร้อมยกเลิก อบต. คงเหลือเฉพาะเทศบาลจังหวัด เทศบาลอำเภอ เทศบาลตำบล

การปฏิรูปโครงสร้างการปกครองส่วนท้องถิ่นมีแนวโน้มที่อาจจะยกเลิกองค์กรปกครองท้องถิ่นบางองค์กร โดยเฉพาะองค์การบริหารส่วนจังหวัด(อบจ.)

แหล่งข่าวจากทำเนียบรัฐบาล เปิดเผยว่า เมื่อเร็ว ๆ นี้ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้ประชุมหารือพร้อมเชิญตัวแทนกระทรวงมหาดไทย(มท.) เข้าร่วม เพื่อวางแนวทางการยุบโครงสร้างองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น ตั้งแต่ อบจ. เพื่อปรับเป็น เทศบาลจังหวัด ส่วนตำแหน่ง นายก อบจ. เปลี่ยนเป็น นายกเทศมนตรีจังหวัด

สำหรับแนวทางในการปฏิรูปโครงสร้างนั้น ให้ยุบเทศบาลเมืองของจังหวัดรวมกับ อบจ. เป็นเทศบาลจังหวัด ซึ่งต่อไปนี้จะมีเพียงเทศบาลจังหวัด เทศบาลอำเภอ เทศบาลตำบล ส่วนองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ให้ยกเลิกไป

สำหรับอำนาจหน้าที่ นายกเทศมนตรีจังหวัด จะไม่ได้มามีส่วนเกี่ยวข้องในการแต่งตั้งโยกย้าย แต่จะเป็นหน้าที่ของ ปลัดสภาจังหวัด โดยสมาชิกจะมาจาก 2 ระบบ คือ มาจากการเลือกตั้ง 50% และแต่งตั้ง 50% ที่มาจาก เทศบาลอำเภอ ตำบล และข้าราชการประจำ

ส่วนข้อเสนอการปฏิรูปองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น ประกอบด้วย 1.ปฏิรูปท้องถิ่น จากเดิม มี 4 รูปแบบคือ 1.อบต. 2.เทศบาล 3.อบจ. และ 4.รูปแบบพิเศษ กทม.-เมืองพัทยา ให้คงเหลือ 2 รูปแบบ คือ 1.เทศบาล กับ 2.รูปแบบพิเศษ

2.ให้เปลี่ยนแปลงรูปแบบท้องถิ่น อบต.ทั้งหมด เป็นเทศบาลตำบล มีที่ตั้ง 1 ตำบล 1 ท้องถิ่น อบต.ใดที่มีพื้นที่เป็นตำบลเดียวกัน แต่มี 2 อบต. หรือ ตำบลเดียวกัน มีทั้ง อบต.และเทศบาลอยู่ด้วยกัน หรือ ตำบลเดียวกัน มี 2 เทศบาลอยู่ในตำบลเดียวกัน ให้ยุบรวมเป็น 1 เทศบาล ต่อ 1 ตำบล

3.จัดให้เทศบาล มี 3 รูปแบบ คือ 1.เทศบาลตำบล มีที่ตั้ง อยู่ในเขตตำบล นั้น ๆ 2.เทศบาลอำเภอ มีที่ตั้งอยู่ในเขตตำบลที่เป็นที่ตั้งของที่ว่าการอำเภอ นั้น ๆ 3.เทศบาลจังหวัด มีที่ตั้งอยู่ในเขตตำบลที่เป็นที่ตั้งของศาลากลางจังหวัด หรือเขตเทศบาลเมือง หรือเทศบาลนคร เดิม

4.แบ่งระดับชั้น ขนาดของเทศบาลไว้ 3 ระดับ ดังนี้ 1.เทศบาลตำบล มี 3 ขนาด คือ ใหญ่ กลาง เล็ก 2.เทศบาลอำเภอ มี 3 ขนาด คือ ใหญ่ กลาง เล็ก และ 3.เทศบาลจังหวัด มี 3 ขนาด คือ ใหญ่ กลาง เล็ก โดยแบ่งตาม จำนวนหมู่บ้าน พื้นที่ ประชากร พื้นที่เศรษฐกิจ อุตสาหกรรม และแหล่งท่องเที่ยว ตามเกณฑ์ที่คณะกรรมการฯ กำหนด

5. อบจ. หรือองค์การบริหารส่วนจังหวัด ให้เปลี่ยนอำนาจหน้าที่ จากเดิมให้บริการสาธารณะเหมือนท้องถิ่นอื่น เปลี่ยนใหม่ให้เป็นฝ่ายอำนวยการ โดยให้เปลี่ยนชื่อองค์กรใหม่ จัดตั้งเป็น สำนักงานท้องถิ่นจังหวัด…………. มีหน้าที่ เป็นฝ่ายอำนวยการให้กับเทศบาล จัดตั้งแยกงบประมาณเป็นกองทุน จัดสวัสดิการ เงินเดือน ค่าตอบแทน ประโยชน์ตอบแทนอื่น การบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น กำกับดูแล ตรวจสอบ รับเรื่องร้องเรียน สอบสวนทางวินัย ฝึกอบรมให้ความรู้ ให้กับข้าราชการท้องถิ่น ในจังหวัดนั้น ๆ และจัดสรรงบประมาณให้กับ เทศบาลตำบล เทศบาลอำเภอ และเทศบาลจังหวัด อย่างเป็นธรรมและเสมอภาค เป็นประจำทุกปี โดยจัดให้มี หัวหน้าสำนักงานมาจากข้าราชการประจำ (อาจมาจาก ปลัดเทศบาลที่มีคุณสมบัติผ่านการสอบคัดเลือกมาก็ได้) เรียกชื่อ ผู้อำนวยการท้องถิ่นจังหวัด…..ไม่มีฝ่ายการเมืองมาทำหน้าที่ ยกเลิกการเลือกตั้งในระดับนี้

6.จัดให้มีการเลือกตั้งนายกเทศมนตรี ทุกระดับโดยตรง ให้เทศบาลตำบล มี รอยนายกฯ ได้ 1 คน เลขานายก 1 คนเทศบาลอำเภอ มีรองนายก 2 คน เลขานายก 1 คน เทศบาลเมือง มีรองนายก 3 คน เลขานายก 1 คน เป็นผู้ช่วยเหลือการปฏิบัติงาน ให้นายกเทศมนตรี มีอัตราเงินเดือนอยู่ที่ขั้นสูงสุดของระดับซีหรือแท่งเงินเดือนของปลัดเทศบาลนั้น ๆ นายกเทศมนตรีอยู่ได้ ไม่เกิน 2 วาระติดต่อกัน มีวาระละ 4 ปี

  Youtube: iqepin LINE it! เพิ่มเพื่อน  

7.สภาเทศบาลตำบล และเทศบาลอำเภอ ให้มาจากจำนวนผู้ใหญ่บ้าน ทุกหมู่บ้านในเขตตำบลนั้น ๆ เท่าที่มีอยู่เป็นสมาชิกสภาโดยตำแหน่ง สภาเทศบาลจังหวัด ให้ใช้หัวหน้าชุมชน เป็นสมาชิกสภาเทศบาล มีจำนวน ไม่เกิน 36 คน หากจำนวนชุมชนเกินกว่า 36 ชุมชน ให้เลือกกันเองให้เลือกไม่เกิน 36 คน ตามขนาดของเทศบาลจังหวัด โดยให้สมาชิกสภาเทศบาล ได้รับค่าตอบแทนรายเดือน แต่ไม่น้อยกว่าเงินเดือนขั้นต่ำระดับปริญญาตรี และมีเบี้ยประชุม เป็นรายครั้งที่มีการประชุม ตามระเบียบที่กำหนด

8.จำนวนสมาชิกสภาเทศบาลตำบล ขนาดเล็ก มีจำนวน ไม่เกิน 10 คน ขนาดกลาง ไม่เกิน 12 คน ขนาดใหญ่ ไม่เกิน 16 คน หากจำนวนหมู่บ้านมีเกินกว่าจำนวนสมาชิก จัดให้มีการจับฉลากออกเพื่อสับเปลี่ยนทุก ๆ 2 ปี

9.จำนวนสมาชิกสภาเทศบาลอำเภอ ขนาดเล็ก มีจำนวน ไม่เกิน 12 คน ขนาดกลาง ไม่เกิน 16 คน ขนาดใหญ่ ไม่เกิน 18 คน หากจำนวนหมู่บ้านมีเกินกว่าจำนวนสมาชิก จัดให้มีการจับฉลากออกเพื่อสับเปลี่ยนทุก ๆ 2 ปี

10.จำนวนสมาชิกสภาเทศบาลจังหวัด ขนาดเล็ก มีจำนวน ไม่เกิน 18 คน ขนาดกลาง ไม่เกิน 24 คน ขนาดใหญ่ ไม่เกิน 36 คน หากจำนวนชุมชนมีเกินกว่าจำนวนสมาชิก จัดให้มีการจับฉลากออกเพื่อสับเปลี่ยนทุก ๆ 2 ปี

11.อำนาจการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น ให้อยู่ในรูปคณะกรรมการ 3 ฝ่าย คือ 1.ผู้แทนส่วนราชการอื่นจำนวน 6 คน ผู้แทนผู้บริหารท้องถิ่น จำนวน 6 คน ผู้แทนข้าราชการประจำ 6 คน ผู้ทรงคุณวุฒิ 6 คน มีวาระการดำรงตำแหน่ง คราวละ 4 ปี โดยให้คณะกรรมการคัดเลือก ผู้ทรงคุณวุฒิ 1 คน ขึ้นเป็นประธาน มีวาระการดำรงตำแหน่ง 2 ปี ให้มีการคัดเลือกใหม่ ผู้ทรงคุณวุฒิ จะเป็นประธาน เกิน 2 วาระติดต่อกัน ไม่ได้

12.ไม่เห็นด้วย ที่จะไปเปลี่ยนให้ตำบล มี ผอ.เขต ให้บริหารงานเหมือนกับกรุงเทพมหานคร(กทม.) เพราะบริบท พื้นที่แต่ละแห่งไม่เหมือนกัน พื้นที่ในเมืองหลวงมีความแตกต่างกับพื้นที่ชนบท

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ก่อนหน้านี้ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ ได้ออกประกาศฉบับที่ 85 และ 86/2557 ให้งดการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่นทั่วประเทศ รวมถึงงดการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (ส.ก.) และ สมาชิกสภาเขต (ส.ข.) เป็นการชั่วคราว และให้ใช้การสรรหาแทน

โดยกำหนดจำนวนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประกอบด้วย องค์การบริหารส่วนตำบล มีสมาชิกสภาจำนวน 10 คน เทศบาลทุกประเภท มีสมาชิกสภาจำนวน 12 คน และองค์การบริหารส่วนจังหวัด ให้มีสมาชิกสภาจังหวัดกึ่งหนึ่ง ของจำนวนปัจจุบัน

และให้งดจัดการเลือกตั้ง ส.ก.และ ส.ข. แล้วให้ใช้วิธีการคัดเลือกบุคคลจำนวน 30 คนทำหน้าที่ ส.ก.โดยอย่างน้อย 2 ใน 3 ของจำนวน ส.ก. ต้องเคยเป็นข้าราชการ หรือข้าราชการตั้งแต่ระดับนักบริหารระดับสูง หรือระดับ 10 หรือเทียบเท่า

ซึ่งระหว่างวันที่ 28 พ.ค.-31 ธ.ค.2557 มีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ครบวาระทั้งหมด 255 แห่ง โดยแบ่งเป็นองค์การบริหารส่วนจังหวัด 1 แห่ง เทศบาลนคร 2 แห่ง เทศบาลเมือง 8 แห่ง เทศบาลตำบลจำนวน 157 แห่ง และองค์การบริหารส่วนตำบล 86 แห่ง และกรุงเทพมหานครอีก 1 แห่ง

ทันทีที่มีประกาศดังกล่าวออกมา ก่อให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์ตามมาทั้งจากสมาชิกองค์บริหารส่วนท้องถิ่น และนักวิชาการ จนเป็นประเด็นหนึ่ง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก และหัวหน้าคสช. ต้องหยิบยกขึ้นมาอธิบายถึงเหตุผลที่ คสช.ต้องออกประกาศ “งดการเลือกตั้งท้องถิ่น” และกำหนดให้มีการสรรหาทดแทนในตำแหน่งที่ว่างลง

และจากประกาศคสช.ดังกล่าว มีการคาดการณ์กันว่าจะไม่มีการเลือกท้องถิ่นไปจนกว่าจะมีรัฐธรรมนูญ และกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญฉบับใหม่

นอกจากนี้ระหว่างที่คณะทำงานด้านกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมของคสช.ที่มี พล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา ผู้ช่วยผบ.ทบ.เป็นหัวหน้าคณะ ในขณะนั้น ได้เชิญเลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) และเจ้าหน้าที่ด้านการเลือกตั้งเข้าไปหารือเกี่ยวกับการเลือกตั้งท้องถิ่นนั้น ทางคณะทำงานของคสช.ได้มีความเห็นว่า น่าจะชะลอการเลือกตั้งท้องถิ่นไปก่อน เพราะหากเลือกตั้งก็จะได้ผู้บริหารที่เป็นฐานเสียงของพรรคการเมืองระดับชาติอีก

รวมถึงหากมีรัฐธรรมนูญและมีกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวกับการเลือกตั้งฉบับใหม่ ซึ่งอาจจะกำหนดที่มาของสมาชิกและผู้บริหารท้องถิ่นใหม่ ก็ต้องดำเนินการเพื่อให้ได้สมาชิกและผู้บริหารท้องถิ่นชุดใหม่ตามที่กฎหมายกำหนด จึงอาจจะเป็นการสิ้นเปลืองงบประมาณโดยเปล่าประโยชน์

Comments

comments