“สถาบันพระบรมราชชนก “
ลิงค์: https://ehenx.com/17386/ หรือ
ตำแหน่ง: นักวิชาการศึกษา,นักวิชาการเงินและบัญชี,นักวิชาการตรวจสอบภายใน,นักวิชาการคอมพิวเตอร์
ระดับการศึกษา: ปริญญาตรี,ปริญญาตรีทุกสาขา,ปริญญาตรี
อัตราเงินเดือน: 18,000-19,500
อัตราว่าง: 11
ปฏิบัติงานที่: นนทบุรี
เปิดรับสมัครตั้งแต่: บัดนี้ – 15 ส.ค. 2565
**ไม่ต้องผ่านภาค ก. ก.พ.**
—
สถาบันพระบรมราชชนก เปิดรับสมัคร
เรื่อง รับสมัครบุคคลเพื่อเลือกสรรเป็นพนักงานราชการทั่วไป ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๕
ด้วยสถาบันพระบรมราชชนก มีความประสงค์จะรับสมัครบุคคลเพื่อเลือกสรร เป็นพนักงานราชการทั่วไป ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามประกาศคณะกรรมการบริหารพนักงานราชการ เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการสรรหา และเลือกสรรพนักงานราชการ และแบบสัญญาจ้าง ของพนักงานราชการ พ.ศ. ๒๕๕๒ ลงวันที่ ๑๑ กันยายน ๒๕๕๒ และประกาศคณะกรรมการบริหารพนักงานราชการ เรื่อง การกำหนดลักษณะงานและคุณสมบัติเฉพาะของกลุ่มงาน การจัดทำกรอบอัตรากำลังพนักงานราชการ พ.ศ. ๒๕๕๔ ลงวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๔ และที่แกํไขเพิ่มเดิม จึงประกาศรับสมัครบุคคลเพื่อเลือกสรร เป็นพนักงานราชการทั่วไป จำนวน ๔ ตำแหน่ง โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
นักวิชาการศึกษา
อัตราว่าง : 4 อัตรา
อัตราเงินเดือน : 18000- บาท
คุณวุฒิ : ปริญญาตรีทุกสาขา*
นักวิชาการเงินและบัญชี
อัตราว่าง : 4 อัตรา
อัตราเงินเดือน : 18000- บาท
คุณวุฒิ : ปริญญาตรี
นักวิชาการตรวจสอบภายใน
อัตราว่าง : 1 อัตรา
อัตราเงินเดือน : 18000- บาท
คุณวุฒิ : ปริญญาตรี
นักวิชาการคอมพิวเตอร์
อัตราว่าง : 2 อัตรา
อัตราเงินเดือน : 19500- บาท
คุณวุฒิ : ปริญญาตรี
คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
นักวิชาการศึกษา
ได้รับปริญญาตรีหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้ในทุกสาขาวิชา
นักวิชาการเงินและบัญชี
ได้รับปริญญาตรี สาขาวิชาการเงิน การบัญชี หรือสาขาอื่นที่เกี่ยวข้องกับการเงิน การบัญชี หรือสาขาวิชาใดสาขาหนึ่งหรือหลายสาขา ดังกล่าวข้างต้น
นักวิชาการตรวจสอบภายใน
ได้รับปริญญาตรีในสาขาวิชาการเงิน สาขาการบัญชี สาขาวิชาบริหารธุรกิจ สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์หรือสาขาวิชาใดสาขาวิชาหนึ่งหรือหลายสาขาวิชา ดังกล่าวข้างต้น
นักวิชาการคอมพิวเตอร์
ได้รับปริญญาตรีหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้ ในสาขาวิชาใด สาขาวิชาหนึ่ง หรือหลายสาขาทางคอมพิวเตอร์
ลักษณะงานที่ปฏิบัติ
นักวิชาการศึกษา
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ที่ต้องใช้ความรู้ ความสามารถทางวิชาการในการทำงาน ปฏิบัติงานด้านการสอนและการอบรม ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับ มอบหมาย
1. ด้านการปฏิบัติการ
(๑) ศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับการศึกษา เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการพัฒนางาน ด้านการศึกษาและที่เกี่ยวข้อง
(2) ศึกษา วิเคราะห์ วิจัยเบื้องตัน เพื่อประกอบการจัดทำข้อเสนอนโยบาย แผน มาตรฐานการศึกษา หลักสูตร แบบเรียน ตำรา สื่อการเรียนการสอน สื่อการศึกษา การผลิตและพัฒนาสื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยี การส่งเสริมสนับสนุนการจัดการศึกษา
(๓) จัดทำแผนงาน/โครงการต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมสนับสนุนการจัดการศึกษา
(๔) ดำเนินการเกี่ยวกับงานทะเบียนและ เอกสารด้านการศึกษา รวมทั้งปรับปรุงให้ทันสมัย เพื่อเป็นหลักฐานอ้างอิงและให้การส่งเสริมสนับสนุนการจัดการศึกษา
(๕) ส่งเสริมสนับสนุนการจัดการศึกษา เพื่อให้การจัดการศึกษามีคุณภาพและมาตรฐาน
(๖) ติดตาม ประเมินผลการดำเนินงาน กิจกรรมและสรุปผลด้านการศึกษา วิเคราะห์ วิจัย เพื่อพัฒนางานด้านการศึกษา
๒. ด้านการวางแผน
วางแผนการทำงานที่รับผิดชอบ ร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงานหรือโครงการเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายผลสัมฤทธิ์ที่กำหนด
๓. ด้านการประสานงาน
(๑) ประสานการทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน เพื่อให้เกิดความร่วมมือและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนดไว้
(๒) ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แก่บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย
๔. ด้านการบริการ
(๑) จัดบริการส่งเสริมการศึกษา เช่น จัดนิทรรศการ กิจกรรม พิพิธภัณฑ์ทางการศึกษาและแหล่งเรียนรู้ เพื่อให้การบริการความรู้และบริการทางด้านการศึกษาและวิชาชีพแก่ประชาชนอย่างทั่วถึง
(๒) ผลิตคู่มือ แนวทางการอบรม เอกสารทางวิชาการ รวมทั้งให้คำแนะนำปรึกษาเบื้องต้นแก่นักเรียน นิสิต นักศึกษาและชุมชน ประชาชนทั่วไป
(๓) ดำเนินการจัดการประชุมสัมมนาวิชาการนานาชาติ จัดประชุมอบรมและสัมมนาเกี่ยวกับการแนะแนวการศึกษาและวิชาชีพ เพื่อส่งเสริมความรู้ความเข้าใจและให้แนวทางการศึกษาและแนวทางการเลือกอาชีพที่เหมาะสมกับบุคคลทั่วไป
(๔) เผยแพร่การศึกษา เช่น จัดรายการวิทยุ โทรทัศน์ เขียนบทความ จัดทำวารสารสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เอกสารต่าง ๆ รวมทั้งการใช้เทคโนโลยีทางการศึกษาอื่นๆ เพื่อให้ความรู้ด้านการศึกษา การแนะแนวการศึกษาและวิชาชีพ อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ
นักวิชาการเงินและบัญชี
ปฏิบัติงานทางวิชาการเงินและบัญชี ซึ่งมีลักษณะงานที่ปฏิบัติเกี่ยวกับการเงิน งบประมาณ การบัญชีทั่วไปของส่วนราชการ การศึกษา วิเคราะห์ ติดตาม ประเมินผล การใช้จ่ายเงิน
การวิเคราะห์ฐานะทางการเงินและบัญชี การวิเคราะห์งบประมาณ การพัฒนาระบบงานคลัง ตรวจสอบความถูกต้องของการลงบัญชีประเภทต่าง ๆ และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๑. ด้านการปฏิบัติการ
(๑) จัดทำบัญชี เอกสารรายงานความเคลื่อนไหวทางการเงิน ทั้งเงินในและเงินนอกงบประมาณ เงินทุนหมุนเวียน เพื่อแสดงสถานะทางการเงินและใช้เป็นฐานข้อมูลที่ถูกต้องตามระเบียบวิธีการบัญชี ของส่วนราชการ
(2) รวบรวมข้อมูล และรายงานการเงินของส่วนราชการ เพื่อพร้อมที่จะปรับปรุงข้อมูล ให้ถูกต้องและทันสมัย
(๓) จัดทำและจัดสรรงบประมาณแก่หน่วยงานของรัฐเพื่อให้การจัดสรรงบประมาณตรงกับความจำเป็นและวัตถุประสงค์ของแต่ละหน่วยงาน
(๔) ศึกษาวิเคราะห์ผลการใช้จ่ายเงินงบประมาณของหน่วยงานภาครัฐเพื่อให้การใช้จ่ายเงินเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงการจัดทำและจัดสรรงบประมาณ
(๕) ดูแลการรับและจ่ายเงิน สถานะทางการเงิน ตรวจสอบเอกสารสำคัญการรับ – จ่ายเงินเพื่อให้การรับ จ่ายเงินขององค์กรมีประสิทธิภาพ การปฏิบัติการถูกต้องตามระเบียบปฏิบัติของราชการ
(๖) ถ่ายทอดความรู้ด้านการเงินและบัญชี แก่เจ้าหน้าที่ระดับรองลงมา เช่น ให้คำแนะนำในการปฏิบัติงาน วางโครงการกำหนดหลักสูตรและฝึกอบรม จัดทำคู่มือประจำสำหรับการฝึกอบรมและวิธีใช้อุปกรณ์เครื่องมือที่ถูกต้อง เป็นต้น เพื่อถ่ายทอดความรู้ที่เป็นประโยชน์ในการปฏิบัติงานตามมาตรฐานและข้อกำหนด
๒. ด้านการวางแผน
วางแผนการทำงานที่รับผิดชอบร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงานหรือโครงการเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายผลสัมฤทธิ์ที่กำหนด
๓. ด้านการประสานงาน
(๑) ประสานการทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน เพื่อให้เกิดความร่วมมือและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนดไว้
(๒) ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แก่บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย
๔. ด้านการบริการ
(๑) ให้คำแนะนำ ตอบปัญหาและชี้แจงเกี่ยวกับงานการเงินและบัญชีที่ตนมีความรับผิดชอบ ในระดับเบื้องต้นแก่หน่วยงานราชการ เอกชน หรือประชาชนทั่วไป เพื่อให้ผู้ที่สนใจได้ทราบข้อมูลและความรู้ต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์
(๒) จัดเก็บข้อมูลเบื้องต้น ทำสถิติ ปรับปรุง หรือจัดทำฐานข้อมูลหรือระบบสารสนเทศที่เกี่ยวกับงานการเงินและบัญชีเพื่อให้สอดคล้องและสนับสนุนภารกิจของหน่วยงาน และใช้ประกอบการพิจารณากำหนดนโยบาย แผนงาน หลักเกณฑ์ มาตรการต่าง ๆ
นักวิชาการตรวจสอบภายใน
ปฏิบัติงานตรวจสอบป้องกันการรั่วไหลเสียหายในการใช้จ่ายเงินและทรัพย์สินของทางราชการ การติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานในฐานะที่เป็นเครื่องมือของผู้บริหาร ซึ่งมีลักษณะงานที่ปฏิบัติเกี่ยวกับการตรวจสอบการดําเนินงาน การบริหารจัดการ การงบประมาณ การเงิน การบัญชีการพัสดุของหน่วยงาน ในสังกัดของส่วนราชการ ให้สอดคล้องกับแผนงาน โครงการ และนโยบายของส่วนราชการ กำหนดหลักเกณฑ์การประเมินความเสี่ยง การประเมินประสิทธิภาพระบบการควบคุมภายใน และเทคนิควิธีการตรวจสอบ เสนอแนะนโยบายและแนวทางการตรวจสอบ มาตรการ การควบคุมภายใน และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
นักวิชาการคอมพิวเตอร์
ปฏิบัติงานทางวิทยาการคอมพิวเตอร์ซึ่งมีลักษณะงานที่ปฏิบัติเกี่ยวกับการศึกษา วิเคราะห์ กำหนดคุณลักษณะของเครื่อง จัดระบบติดตั้ง เชื่อมโยงระบบเครื่องคอมพิวเตอร์ ศึกษาวิเคราะห์ ออกแบบเกี่ยวกับชุดคำสั่งระบบ ชุดคำสั่งประยุกต์ การจัดทำคู่มือการใช้คำสั่งต่าง ๆ กำหนดคุณลักษณะ ติดตั้งและใช้เครื่องมือชุดคำสั่งสื่อสาร การจัดและบริหารระบบสารสนเทศ รวมทั้งการดำเนินการเกี่ยวกับการกระทำผิดทางคอมพิวเตอร์ และธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ การให้คำปรึกษาแนะนำ อบรมเกี่ยวกับวิทยาการคอมพิวเตอร์ด้านต่าง ๆ แก่บุคคล หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ติดตามความก้าวหน้าของเทคโนโลยีใหม่ ๆ และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
วิชาที่สอบ
นักวิชาการศึกษา
หลักเกณฑ์และวิธีการเลือกสรร ผู้สมัครต้องเข้ารับการประเมินความรู้ ความสามารถ ทักษะ และสมรรถนะ ด้วยวิธีการประเมิน ดังนี้ (๑) การประเมินสมรรถนะครั้งที่ ๑ สอบข้อเขียน (คะแนนเต็ม ๑00 คะแนน) (๑.๑) ความรู้ความสามารถทั่วไป ๕0 คะแนน – ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. ๒๕๒๖ และที่แก้ไขเพิ่มเติม – ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยพนักงานราชการ พ.ศ. ๒๕๔๗ – พระราชบัญญัติสถาบันพระบรมราชชนก พ.ศ. ๒๕๖๒ และความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับสถาบัน ฯ – พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ.๒๕๔๐ – หลักธรรมาภิบาล – ข่าวสารบ้านเมือง – ความรู้ทั่วไปทางคณิตศาสตร์และภาษา (๑.๒) ความรู้ความสามารถเฉพาะสำหรับตำแหน่ง ๕0 คะแนน – การจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษา – การประกันคุณภาพการศึกษา – การวัดและการประเมินผลด้านการศึกษา – การทำวิจัยเกี่ยวกับการศึกษา (๒) การประเมินสมรรถนะ ครั้งที่ ๒ การสอบสัมภาษณ์ (คะแนนเต็ม ๑๐๐ คะแนน)
วิธีการประเมิน : สถาบันพระบรมราชชนก จะดำเนินการประเมินครั้งที่ 1 ก่อน และผู้ผ่านการประเมิน ครั้งที่ 1 ดังกล่าว จะต้องเข้ารับการประเมินในครั้งที่ 2 ต่อไป
– ทักษะ
(๑.๑) ความรู้ความสามารถทั่วไป ๕0 คะแนน – ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. ๒๕๒๖ และที่แก้ไขเพิ่มเติม – ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยพนักงานราชการ พ.ศ. ๒๕๔๗ – พระราชบัญญัติสถาบันพระบรมราชชนก พ.ศ. ๒๕๖๒ และความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับสถาบัน ฯ – พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ.๒๕๔๐ – หลักธรรมาภิบาล – ข่าวสารบ้านเมือง – ความรู้ทั่วไปทางคณิตศาสตร์และภาษา (๑.๒) ความรู้ความสามารถเฉพาะสำหรับตำแหน่ง ๕0 คะแนน – การจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษา – การประกันคุณภาพการศึกษา – การวัดและการประเมินผลด้านการศึกษา – การทำวิจัยเกี่ยวกับการศึกษา
นักวิชาการเงินและบัญชี
(๑) การประเมินสมรรถนะครั้งที่ ๑ สอบข้อเขียน (คะแนนเต็ม ๑00 คะแนน) (๑.๑) ความรู้ความสามารถทั่วไป ๕0 คะแนน – ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. ๒๕๒๖ และที่แก้ไขเพิ่มเติม – ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยพนักงานราชการ พ.ศ. ๒๕๔๗ – พระราชบัญญัติสถาบันพระบรมราชชนก พ.ศ. ๒๕๖๒ และความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับสถาบัน ฯ – พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ.๒๕๔๐ – หลักธรรมาภิบาล – ข่าวสารบ้านเมือง – ความรู้ทั่วไปทางคณิตศาสตร์และภาษา (๑.๒) ความรู้ความสามารถเฉพาะสำหรับตำแหน่ง ๕0 คะแนน – ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกเงินจากคลัง การรับเงิน การจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงินและการนำเงินส่งคลัง พ.ศ.๒๕๖๒ – ความรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖0 ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖๐ – พระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑ – พระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๓
วิธีการประเมิน : การประเมินครั้งที่ 1 – ความรู้ทั่วไปและความสามารถเฉพาะสำหรับตำแหน่ง การประเมินครั้งที่ 2 – ความรู้ความเหมาะสมกับตำแหน่ง
นักวิชาการตรวจสอบภายใน
(๑.๑) ความรู้ความสามารถทั่วไป ๕0 คะแนน – ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. ๒๕๒๖ และที่แก้ไขเพิ่มเติม – ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยพนักงานราชการ พ.ศ. ๒๕๔๗ – พระราชบัญญัติสถาบันพระบรมราชชนก พ.ศ. ๒๕๖๒ และความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับสถาบัน ฯ – พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ.๒๕๔๐ – หลักธรรมาภิบาล – ข่าวสารบ้านเมือง – ความรู้ทั่วไปทางคณิตศาสตร์และภาษา (1.๒) ความรู้ความสามารถเฉพาะสำหรับตำแหน่ง ๕0 คะแนน .- ความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานการบัญชีภาครัฐและนโยบายการบัญชีภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑ – ความรู้เกี่ยวกับระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกเงินจากคลังการรับเงิน การจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงินและการนำเงินส่งคลัง พ.ศ. ๒๕๖๒ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ ๒ – ความรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖0 ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖๐ – ความรู้เกี่ยวกับหลักเกณฑ์ กระทรวงการคลังว่าด้วยมาตรฐานและหลักเกณฑ์ปฏิบัติการตรวจสอบภายในสำหรับหน่วยงานของรัฐ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. ๒๕๖๔ หลักเกณฑ์กระทรวงการคลังว่าด้วยมาตรฐานและหลักเกณฑ์ปฏิบัติการตรวจสอบภายในสำหรับหน่วยงานของรัฐ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๒ และหลักเกณฑ์กระทรวงการคลังว่าด้วยมาตรฐานและหลักเกณฑ์ปฏิบัติการตรวจสอบภายในสำหรับหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑ – ความรู้เกี่ยวกับแนวทางการบริหารจัดการความเสี่ยงสำหรับหน่วยงานของรัฐ และหลักเกณฑ์กระทรวงการคลังว่าด้วยมาตรฐานและหลักเกณฑ์ปฏิบัติการบริหารจัดการความเสี่ยงสำหรับหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๒
วิธีการประเมิน : การประเมินครั้งที่ 1 – ความรู้ทั่วไปและความสามารถเฉพาะสำหรับตำแหน่ง การประเมินครั้งที่ 2 – ความรู้ความเหมาะสมกับตำแหน่ง
นักวิชาการคอมพิวเตอร์
(๑) การประเมินสมรรถนะครั้งที่ ๑ สอบข้อเขียน (คะแนนเต็ม ๑00 คะแนน) (๑.๑) ความรู้ความสามารถทั่วไป ๕0 คะแนน – พระราชบัญญัติสถาบันพระบรมราชชนก พ.ศ. ๒๕๖๒ และความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับสถาบัน ฯ – ข่าวสารบ้านเมือง – ความรู้ทั่วไปทางคณิตศาสตร์และภาษาอังกฤษ (๑.๒) ความรู้ความสามารถเฉพาะสำหรับตำแหน่ง ๕0 คะแนน – พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๐ และที่แก้ไขเพิ่มเติม .- พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. ๒๕๖๒ – พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ พ.ศ. ๒๕๖๒ – ความรู้เกี่ยวกับการใช้คอมพิวเตอร์ ระบบฮาร์ดแวร์ (Hardware) ระบบซอฟต์แวร์ (Software) และระบบความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศ (Security) – ความรู้เกี่ยวกับระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต และระบบเครือข่ายอินทราเน็ต – ความรู้เกี่ยวกับระบบสารสนเทศ การพัฒนาระบบสารสนเทศ วิเคราะห์และออกแบบระบบการพัฒนาระบบฐานข้อมูล เช่น PHP, JavaScript, MySQL, MSSQL
วิธีการประเมิน : การประเมินครั้งที่ 1 – ความรู้ทั่วไปและความสามารถเฉพาะสำหรับตำแหน่ง การประเมินครั้งที่ 2 – ความรู้ความเหมาะสมกับตำแหน่
วิธีการสมัครงานพนักงานราชการ สถาบันพระบรมราชชนก :สมัครทางอินเทอร์เน็ต
ผู้ประสงค์จะสมัครสอบ สมัครได้ทางอินเทอร์เน็ตเท่านั้น ตั้งแต่วันที่ บัดนี้ – 15 ส.ค. 2565 ตลอด 24 ชั่วโมง ไม่เว้นวันหยุดราชการ
ดาวน์โหลดประกาศ/ใบสมัคร”สถาบันพระบรมราชชนก
แผนที่ file 1 | เว็บรับสมัคร