“กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช“
ลิงค์: https://ehenx.com/13805/ หรือ
ตำแหน่ง: นักวิชาการตรวจสอบภายในปฏิบัติการ,นักวิชาการเงินและบัญชีปฏิบัติการ,นักวิชาการพัสดุปฏิบัติการ,นักวิเคราะห์นโยบายและแผนปฏิบัติการ,นักวิชาการคอมพิวเตอร์ปฏิบัติการ,วิศวกรโยธาปฏิบัติการ,เจ้าพนักงานธุรการปฏิบัติงาน,เจ้าพนักงานการเงินและบัญชีปฏิบัติงาน,เจ้าพนักงานพัสดุปฏิบัติงาน,เจ้าพนักงานสถิติปฏิบัติงาน,นายช่างเขียนแบบปฏิบัติงาน,นายช่างเครื่องกลปฏิบัติงาน,นายช่างเทคนิคปฏิบัติงาน,นายช่างไฟฟ้าปฏิบัติงาน,นายช่างโยธาปฏิบัติงาน,นายช่างศิลป์ปฏิบัติงาน,นายช่างสำรวจปฏิบัติงาน,นักกีฏวิทยาปฏิบัติการ,นักวิทยาศาสตร์ปฏิบัติการ,นายสัตวแพทย์ปฏิบัติการ
ระดับการศึกษา: ปวส.,ปวส.ทุกสาขา,ปวส.,ปริญญาตรี,ปริญญาตรีทุกสาขา,ปริญญาตรี,ปริญญาโท
อัตราเงินเดือน: 10,840-19,830
อัตราว่าง: 86
ปฏิบัติงานที่: กรุงเทพมหานคร
เปิดรับสมัครตั้งแต่: บัดนี้ – 23 เม.ย. 2564
**เฉพาะผู้สอบผ่านภาค ก. ก.พ.**
—
กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช เปิดรับสมัคร
เรื่อง รับสมัครสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการในตำแหน่งต่าง ๆ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔
ด้วยกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุพืช จะดำเนินการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุบุคคลเข้า รับราชการในตำแหน่งต่าง ๆ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕๓ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ และหนังสือสำนักงาน ก.พ. ที่ นร ๑๐๐๔/ว ๑๗ ลงวันที่ ๑๑ ธันวาคม ๒๕๕๖ เรื่อง การสรรหาโดยการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุบุคคลเข้ารับราชการ จึงประกาศ รับสมัครสอบแข่งขันฯ ดังรายละเอียดต่อไปนี้
นักวิชาการตรวจสอบภายในปฏิบัติการ
ประเภท : วิชาการ ระดับปฏิบัติการ
อัตราว่าง : 1 อัตรา
อัตราเงินเดือน : 15000-16500 บาท
คุณวุฒิ : ปริญญาตรี
นักวิชาการเงินและบัญชีปฏิบัติการ
ประเภท : วิชาการ ระดับปฏิบัติการ
อัตราว่าง : 3 อัตรา
อัตราเงินเดือน : 15000-16500 บาท
คุณวุฒิ : ปริญญาตรี
นักวิชาการพัสดุปฏิบัติการ
ประเภท : วิชาการ ระดับปฏิบัติการ
อัตราว่าง : 2 อัตรา
อัตราเงินเดือน : 15000-16500 บาท
คุณวุฒิ : ปริญญาตรีทุกสาขา*
นักวิเคราะห์นโยบายและแผนปฏิบัติการ
ประเภท : วิชาการ ระดับปฏิบัติการ
อัตราว่าง : 1 อัตรา
อัตราเงินเดือน : 15000-16500 บาท
คุณวุฒิ : ปริญญาตรีทุกสาขา*
นักวิชาการคอมพิวเตอร์ปฏิบัติการ
ประเภท : วิชาการ ระดับปฏิบัติการ
อัตราว่าง : 8 อัตรา
อัตราเงินเดือน : 15000-16500 บาท
คุณวุฒิ : ปริญญาตรี
วิศวกรโยธาปฏิบัติการ
ประเภท : วิชาการ ระดับปฏิบัติการ
อัตราว่าง : 1 อัตรา
อัตราเงินเดือน : 15000-16500 บาท
คุณวุฒิ : ปริญญาตรี
เจ้าพนักงานธุรการปฏิบัติงาน
ประเภท : ทั่วไป ระดับปฏิบัติงาน
อัตราว่าง : 22 อัตรา
อัตราเงินเดือน : 11500-12650 บาท
คุณวุฒิ : ปวส.ทุกสาขา*
เจ้าพนักงานการเงินและบัญชีปฏิบัติงาน
ประเภท : ทั่วไป ระดับปฏิบัติงาน
อัตราว่าง : 3 อัตรา
อัตราเงินเดือน : 11500-12650 บาท
คุณวุฒิ : ปวส.ทุกสาขา*
เจ้าพนักงานพัสดุปฏิบัติงาน
ประเภท : ทั่วไป ระดับปฏิบัติงาน
อัตราว่าง : 9 อัตรา
อัตราเงินเดือน : 11500-12650 บาท
คุณวุฒิ : ปวส.ทุกสาขา*
เจ้าพนักงานสถิติปฏิบัติงาน
ประเภท : ทั่วไป ระดับปฏิบัติงาน
อัตราว่าง : 2 อัตรา
อัตราเงินเดือน : 11500-12650 บาท
คุณวุฒิ : ปวส.ทุกสาขา*
นายช่างเขียนแบบปฏิบัติงาน
ประเภท : ทั่วไป ระดับปฏิบัติงาน
อัตราว่าง : 1 อัตรา
อัตราเงินเดือน : 11500-12650 บาท
คุณวุฒิ : ปวส.
นายช่างเครื่องกลปฏิบัติงาน
ประเภท : ทั่วไป ระดับปฏิบัติงาน
อัตราว่าง : 2 อัตรา
อัตราเงินเดือน : 11500-12650 บาท
คุณวุฒิ : ปวส.
นายช่างเทคนิคปฏิบัติงาน
ประเภท : ทั่วไป ระดับปฏิบัติงาน
อัตราว่าง : 1 อัตรา
อัตราเงินเดือน : 11500-12650 บาท
คุณวุฒิ : ปวส.ทุกสาขา*
นายช่างไฟฟ้าปฏิบัติงาน
ประเภท : ทั่วไป ระดับปฏิบัติงาน
อัตราว่าง : 2 อัตรา
อัตราเงินเดือน : 11500-12650 บาท
คุณวุฒิ : ปวส.
นายช่างโยธาปฏิบัติงาน
ประเภท : ทั่วไป ระดับปฏิบัติงาน
อัตราว่าง : 3 อัตรา
อัตราเงินเดือน : 11500-12650 บาท
คุณวุฒิ : ปวส.
นายช่างศิลป์ปฏิบัติงาน
ประเภท : ทั่วไป ระดับปฏิบัติงาน
อัตราว่าง : 1 อัตรา
อัตราเงินเดือน : 11500-12650 บาท
คุณวุฒิ : ปวส.
นายช่างสำรวจปฏิบัติงาน
ประเภท : ทั่วไป ระดับปฏิบัติงาน
อัตราว่าง : 21 อัตรา
อัตราเงินเดือน : 10840-12650 บาท
คุณวุฒิ : ปวส.
นักกีฏวิทยาปฏิบัติการ
ประเภท : วิชาการ ระดับปฏิบัติการ
อัตราว่าง : 1 อัตรา
อัตราเงินเดือน : 17500-19250 บาท
คุณวุฒิ : ปริญญาโท
นักวิทยาศาสตร์ปฏิบัติการ
ประเภท : วิชาการ ระดับปฏิบัติการ
อัตราว่าง : 1 อัตรา
อัตราเงินเดือน : 17500-19250 บาท
คุณวุฒิ : ปริญญาโท
นายสัตวแพทย์ปฏิบัติการ
ประเภท : วิชาการ ระดับปฏิบัติการ
อัตราว่าง : 1 อัตรา
อัตราเงินเดือน : 17500-19830 บาท
คุณวุฒิ : ปริญญาตรี
คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
นักวิชาการตรวจสอบภายในปฏิบัติการ
- ได้รับปริญญาตรีหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาการบัญชี สาขาวิชาบริหารธุรกิจ หรือสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ และ
- เป็นผู้สอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไป ของสำนักงาน ก.พ. ระดับปริญญาตรี หรือระดับที่สูงกว่า
นักวิชาการเงินและบัญชีปฏิบัติการ
- ได้รับปริญญาตรีหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาการบัญชี สาขาวิชาบริหารธุรกิจ หรือสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ และ
- เป็นผู้สอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไป ของสำนักงาน ก.พ. ระดับปริญญาตรี หรือระดับที่สูงกว่า
นักวิชาการพัสดุปฏิบัติการ
- ได้รับปริญญาตรีหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในทุกสาขาวิชา และ
- เป็นผู้สอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไป ของสำนักงาน ก.พ. ระดับปริญญาตรี หรือระดับที่สูงกว่า
นักวิเคราะห์นโยบายและแผนปฏิบัติการ
- ได้รับปริญญาตรีหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในทุกสาขาวิชา และ
- เป็นผู้สอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไป ของสำนักงาน ก.พ. ระดับปริญญาตรี หรือระดับที่สูงกว่า
นักวิชาการคอมพิวเตอร์ปฏิบัติการ
- ได้รับปริญญาตรีหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาใดสาขาวิชาหนึ่ง ทางคอมพิวเตอร์ และ
- เป็นผู้สอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไป ของสำนักงาน ก.พ. ระดับปริญญาตรี หรือระดับที่สูงกว่า
วิศวกรโยธาปฏิบัติการ
- ได้รับปริญญาตรีหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์ ทางวิศวกรรมโยธา และได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมสาขาวิศวกรรมโยธา และ
- เป็นผู้สอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไป ของสำนักงาน ก.พ. ระดับปริญญาตรี หรือระดับที่สูงกว่า
เจ้าพนักงานธุรการปฏิบัติงาน
- ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกันในทุกสาขาวิชา หรือ อนุปริญญาหลักสูตร 3 ปี ต่อจากประกาศนียบัตรประโยคมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า ในทุกสาขาวิชา และ
- เป็นผู้สอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไป ของสำนักงาน ก.พ. ในระดับ ปวส. หรืออนุปริญญา หรือระดับที่สูงกว่า
เจ้าพนักงานการเงินและบัญชีปฏิบัติงาน
- ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกันในทุกสาขาวิชา หรือ อนุปริญญาหลักสูตร 3 ปี ต่อจากประกาศนียบัตรประโยคมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า ในทุกสาขาวิชา และ
- เป็นผู้สอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไป ของสำนักงาน ก.พ. ในระดับ ปวส. หรืออนุปริญญา หรือระดับที่สูงกว่า
เจ้าพนักงานพัสดุปฏิบัติงาน
- ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกันในทุกสาขาวิชา หรือ อนุปริญญาหลักสูตร 3 ปี ต่อจากประกาศนียบัตรประโยคมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า ในทุกสาขาวิชา และ
- เป็นผู้สอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไป ของสำนักงาน ก.พ. ในระดับ ปวส. หรืออนุปริญญา หรือระดับที่สูงกว่า
เจ้าพนักงานสถิติปฏิบัติงาน
- ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกันในทุกสาขาวิชา หรือ อนุปริญญาหลักสูตร 3 ปี ต่อจากประกาศนียบัตรประโยคมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า ในทุกสาขาวิชา และ
- เป็นผู้สอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไป ของสำนักงาน ก.พ. ในระดับ ปวส. หรืออนุปริญญา หรือระดับที่สูงกว่า
นายช่างเขียนแบบปฏิบัติงาน
- ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน
ในสาขาวิชาการก่อสร้าง สาขาวิชาโยธา สาขาวิชาเทคนิคสถาปัตยกรรม หรือสาขาวิชาเขียนแบบเครื่องกล และ - เป็นผู้สอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไป ของสำนักงาน ก.พ. ในระดับ ปวส. หรือระดับที่สูงกว่า
นายช่างเครื่องกลปฏิบัติงาน
- ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกันในสาขาวิชาเครื่องกล สาขาวิชาเทคนิคการผลิต สาขาวิชาเทคนิคโลหะ หรือสาขาวิชาเขียนแบบเครื่องกล และ
- เป็นผู้สอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไป ของสำนักงาน ก.พ. ในระดับ ปวส. หรือระดับที่สูงกว่า
นายช่างเทคนิคปฏิบัติงาน
- ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกันในทุกสาขาวิชา หรือ อนุปริญญาหลักสูตร 3 ปี ต่อจากประกาศนียบัตรประโยคมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า ในทุกสาขาวิชา และ
- เป็นผู้สอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไป ของสำนักงาน ก.พ. ในระดับ ปวส. หรืออนุปริญญา หรือระดับที่สูงกว่า
นายช่างไฟฟ้าปฏิบัติงาน
- ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาไฟฟ้ากำลัง สาขาวิชาอิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิชาเทคโนโลยีโทรคมนาคม หรือสาขาวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และ
- เป็นผู้สอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไป ของสำนักงาน ก.พ. ในระดับ ปวส. หรือระดับที่สูงกว่า
นายช่างโยธาปฏิบัติงาน
- ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาโยธา หรือสาขาวิชาการก่อสร้าง และ
- เป็นผู้สอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไป ของสำนักงาน ก.พ. ในระดับ ปวส. หรือระดับที่สูงกว่า
นายช่างศิลป์ปฏิบัติงาน
- ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาวิจิตรศิลป์ สาขาวิชาการออกแบบ สาขาวิชาศิลปหัตถกรรม หรือสาขาวิชาเทคนิคสถาปัตยกรรม และ
- เป็นผู้สอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไป ของสำนักงาน ก.พ. ในระดับ ปวส. หรือระดับที่สูงกว่า
นายช่างสำรวจปฏิบัติงาน
- ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิค (ปวท). หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกันในสาขาวิชาเทคนิควิศวกรรมสำรวจ สาขาวิชาเทคนิควิศวกรรมโยธา หรือสาขาวิชาเทคนิคการจัดการงานก่อสร้าง หรือ ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาโยธา สาขาวิชาสำรวจ หรือสาขาวิชาการก่อสร้าง และ
- เป็นผู้สอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไป ของสำนักงาน ก.พ. ในระดับ ปวท. หรือ ปวส. หรือระดับที่สูงกว่า
นักกีฏวิทยาปฏิบัติการ
ได้รับวุฒิปริญญาโท หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาเกษตรศาสตร์ ทางกีฏวิทยา หรือสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ ทางกีฏวิทยา
นักวิทยาศาสตร์ปฏิบัติการ
ได้รับปริญญาโทหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ ทางพันธุศาสตร์
นายสัตวแพทย์ปฏิบัติการ
ได้รับปริญญาสาขาวิชาสัตวแพทยศาสตร์ และได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์ จากสัตวแพทยสภา
ลักษณะงานที่ปฏิบัติ
นักวิชาการตรวจสอบภายในปฏิบัติการ
1. ด้านการปฏิบัติการ
- รวบรวมและตรวจสอบความถูกต้องและความน่าเชื่อถือของข้อมูล ตัวเลข หลักฐาน การทำสัญญา และเอกสารต่าง ๆ ทางด้านการเงิน การบัญชี เพื่อให้การตรวจสอบดำเนินไปอย่างถูกต้องและได้ผลตรงกับหลักฐานที่เกิดขึ้นจริง
- ตรวจสอบการปฏิบัติงานเกี่ยวกับกับการบริหารงบประมาณ การเงิน พัสดุและทรัพย์สินรวมทั้งการบริหารด้านอื่น ๆ ของส่วนราชการ เพื่อดูแลให้การใช้งบประมาณและทรัพยากรเป็นไปอย่างประหยัดและมีประสิทธิภาพสูง และตรงตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด
- จัดทำรายงานการตรวจสอบ เพื่อเสนอข้อตรวจพบและข้อเสนอแนะให้ผู้บังคับบัญชาหรือหน่วยงานต้นสังกัดรับทราบผลการดำเนินงาน
- ร่วมประเมินความเสี่ยงและวางระบบควบคุมภายใน ให้เพียงพอเหมาะสม มีประสิทธิผล ตลอดจนปรับปรุง และรายงานผลการประเมินประสิทธิผลการควบคุมภายในตามแบบรายการตามระเบียบคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินว่าด้วยการกำหนดมาตรฐานการควบคุมภายใน พ.ศ. 2544 เพื่อนำไปสู่การกำหนดแนวทางการปฏิบัติเพื่อป้องกันและลดความเสี่ยงต่อไป
2. ด้านการวางแผน
วางแผนการทำงานที่รับผิดชอบ ร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงานหรือโครงการ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ที่กำหนด
3. ด้านการประสานงาน
- ประสานการทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน เพื่อให้เกิดความร่วมมือและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนด
- ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แก่บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย
4. ด้านการบริการ
- ฝึกอบรม ให้คำปรึกษา เสนอแนะวิธีการปรับปรุงการปฏิบัติงานแก่หน่วยตรวจรับและเจ้าหน้าที่ระดับรองลงมา และตอบข้อซักถามและชี้แจงเรื่องต่าง ๆ เกี่ยวกับงานในหน้าที่ พร้อมทั้งช่วยแก้ปัญหาข้อขัดแย้งในหน่วยงานที่รับผิดชอบ เพื่อให้การปฏิบัติงานอย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
- ให้คำแนะนำ ตอบปัญหา และชี้แจงเกี่ยวกับงานตรวจสอบภายในที่ตนมีความรับผิดชอบในระดับเบื้องต้นแก่หน่วยงาน ราชการ เอกชน หรือประชาชนทั่วไป เพื่อให้ผู้ที่สนใจได้ทราบข้อมูลและความรู้ต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์
นักวิชาการเงินและบัญชีปฏิบัติการ
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ที่ต้องใช้ความรู้ ความสามารถทางวิชาการในการทำงานปฏิบัติงานด้านวิชาการเงินและบัญชี ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ต้องปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
1. ด้านการปฏิบัติการ
- จัดทำบัญชี เอกสารรายงานความเคลื่อนไหวทางการเงิน ทั้งเงินในและเงินนอกงบประมาณ เงินทุนหมุนเวียน เพื่อแสดงสถานะทางการเงินและใช้เป็นฐานข้อมูลที่ถูกต้องตามระเบียบวิธีการบัญชีของส่วนราชการ
- รวบรวมข้อมูล และรายงานการเงินของส่วนราชการ เพื่อพร้อมที่จะปรับปรุงข้อมูลให้ถูกต้องและทันสมัย
- จัดทำและจัดสรรงบประมาณแก่หน่วยงานของรัฐเพื่อให้การจัดสรรงบประมาณตรงกับความจำเป็นและวัตถุประสงค์ของแต่ละหน่วยงาน
- ศึกษาวิเคราะห์ผลการใช้จ่ายเงินงบประมาณของหน่วยงานภาครัฐ เพื่อให้การใช้จ่ายเงินเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงการจัดทำและจัดสรรงบประมาณ
- ดูแลการรับและจ่ายเงิน สถานะทางการเงิน ตรวจสอบเอกสารสำคัญการรับ – จ่ายเงิน เพื่อให้การรับ – จ่ายเงินขององค์กรมีประสิทธิภาพ การปฏิบัติการถูกต้องตามระเบียบปฏิบัติของราชการ
- ถ่ายทอดความรู้ด้านการเงินและบัญชี แก่เจ้าหน้าที่ระดับรองลงมา เช่น ให้คำแนะนำในการปฏิบัติงาน วางโครงการกำหนดหลักสูตรและฝึกอบรม จัดทำคู่มือประจำสำหรับการฝึกอบรมและวิธีใช้อุปกรณ์เครื่องมือที่ถูกต้อง เป็นต้น เพื่อถ่ายทอดความรู้ที่เป็นประโยชน์ในการปฏิบัติงานตามมาตรฐานและข้อกำหนด
2. ด้านการวางแผน
วางแผนการทำงานที่รับผิดชอบ ร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงานหรือโครงการ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ที่กำหนด
3. ด้านการประสานงาน
- ประสานการทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน เพื่อให้เกิดความร่วมมือและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนด
- ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แก่บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย
4. ด้านการบริการ
- ให้คำแนะนำ ตอบปัญหาและชี้แจงเกี่ยวกับงานการเงินและบัญชีที่ตนมีความรับผิดชอบในระดับเบื้องต้นแก่หน่วยงานราชการ เอกชน หรือประชาชนทั่วไป เพื่อให้ผู้ที่สนใจได้ทราบข้อมูลและความรู้ต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์
- จัดเก็บข้อมูลเบื้องต้น ทำสถิติ ปรับปรุง หรือจัดทำฐานข้อมูลหรือระบบสารสนเทศที่เกี่ยวกับงานการเงินและบัญชี เพื่อให้สอดคล้องและสนับสนุนภารกิจของหน่วยงาน และใช้ประกอบการพิจารณากำหนดนโยบาย แผนงาน หลักเกณฑ์ มาตรการต่าง ๆ
นักวิชาการพัสดุปฏิบัติการ
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ที่ต้องใช้ความรู้ ความสามารถทางวิชาการในการทำงาน ปฏิบัติงานด้านวิชาการพัสดุ ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ต้องปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
1. ด้านการปฏิบัติการ
- รวบรวมและศึกษาข้อมูลในงานพัสดุ เพื่อกำหนดคุณภาพ และมาตรฐานของพัสดุ
- ตรวจสอบและดูแลการจัดซื้อจัดจ้างด้วยวิธีต่างๆ ตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 กฎกระทรวง ประกาศ และหนังสือเวียนที่เกี่ยวข้อง
- จัดทำรายละเอียดบัญชี หรือทะเบียนคุมทรัพย์สินเกี่ยวกับคุณลักษณะเฉพาะของวัสดุ เพื่อให้สามารถตรวจสอบวัสดุต่าง ๆ ได้โดยสะดวก
- ซ่อมแซมและดูแลรักษาพัสดุในครอบครอง เพื่อให้มีสภาพที่พร้อมใช้งาน
- จำหน่ายพัสดุเมื่อชำรุดหรือเสื่อมสภาพ หรือไม่จำเป็นในการใช้งานทางราชการอีกต่อไป เพื่อให้พัสดุเกิดประโยชน์ให้แก่ทางราชการได้มากที่สุด
- ถ่ายทอดความรู้ด้านงานพัสดุแก่เจ้าหน้าที่ระดับรองลงมา เช่น ให้คำแนะนำในการปฏิบัติงาน วางโครงการกำหนดหลักสูตรและฝึกอบรม จัดทำคู่มือประจำสำหรับการฝึกอบรมและวิธีใช้อุปกรณ์เครื่องมือที่ถูกต้อง เป็นต้น เพื่อถ่ายทอดความรู้ที่เป็นประโยชน์ในการปฏิบัติงานตามมาตรฐานและข้อกำหนด
2. ด้านการวางแผน
วางแผนการทำงานที่รับผิดชอบ ร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงานหรือโครงการ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ที่กำหนด
3. ด้านการประสานงาน
- ประสานการทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน เพื่อให้เกิดความร่วมมือและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนด
- ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แก่บุคคลหรือหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย
4. ด้านการบริการ
- ให้คำแนะนำ ตอบปัญหาและชี้แจงเกี่ยวกับงานพัสดุที่ตนมีความรับผิดชอบ ในระดับเบื้องต้นแก่หน่วยงานราชการ เอกชน หรือประชาชนทั่วไป เพื่อให้ผู้ที่สนใจได้ทราบข้อมูลและความรู้ต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์
- จัดเก็บข้อมูลเบื้องต้น ทำสถิติ ปรับปรุง หรือจัดทำฐานข้อมูลหรือระบบสารสนเทศที่เกี่ยวกับงานพัสดุ เพื่อให้สอดคล้องและสนับสนุนภารกิจของหน่วยงานและใช้ประกอบการพิจารณากำหนดนโยบาย แผนงาน หลักเกณฑ์ มาตรการต่าง ๆ
นักวิเคราะห์นโยบายและแผนปฏิบัติการ
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ที่ต้องใช้ความรู้ ความสามารถทางวิชาการในการทำงาน ปฏิบัติงานด้านวิเคราะห์นโยบายและแผน ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ต้องปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
1. ด้านการปฏิบัติการ
- รวบรวม วิเคราะห์ และประมวลนโยบายของรัฐบาลและสถานการณ์เศรษฐกิจการเมือง และสังคม ทั้งในและต่างประเทศ เพื่อนำมาสรุปเสนอประกอบการกำหนดนโยบายและเป้าหมายของส่วนราชการ หรือนโยบาย แผนงาน และโครงการทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง การบริหาร หรือความมั่นคง
- รวบรวมข้อมูล และศึกษาวิเคราะห์เบื้องต้น เกี่ยวกับภารกิจหลักและแผนกลยุทธ์ของส่วนราชการ หรือทิศทางการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม การเมือง เพื่อวางแผนกำหนดแผนการปฏิบัติงานหรือโครงการให้สามารถบรรลุภารกิจที่กำหนดไว้
- วิเคราะห์นโยบายของส่วนราชการ หรือนโยบาย แผนงาน และโครงการทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง การบริหาร หรือความมั่นคง และเสนอข้อคิดเห็น เพื่อช่วยจัดทำแผน กำหนดตัวชี้วัดในการขับเคลื่อน การปฏิบัติงาน แผนงาน โครงการ หรือ กิจกรรมได้ตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
- ศึกษา วิเคราะห์ กลั่นกรองงบประมาณของส่วนราชการให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นโยบายรัฐบาล และนโยบายของหน่วยงาน
- สำรวจ รวบรวม และประมวลผลข้อมูลการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและประเด็น ปัญหาทางเศรษฐกิจ การเมือง และสังคม ทั้งในและต่างประเทศ เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับการจัดทำแผนงาน หรือกำหนดยุทธศาสตร์ และทิศทางองค์การ วิสัยทัศน์ พันธกิจ ประเด็นยุทธศาสตร์ เป้าประสงค์และตัวชี้วัด
- ศึกษาวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างยุทธศาสตร์และนโยบายของรัฐบาลเพื่อประกอบ การเสนอแนะแนวทางการประสานผลักดันยุทธศาสตร์และนโยบาย ตลอดจนการกำหนดตัวชี้วัดและติดตามประเมินผลให้สอดคล้องไปในแนวทางเดียวกัน
2. ด้านการวางแผน
วางแผนการทำงานที่รับผิดชอบ ร่วมดำเนินการกำหนดทิศทางองค์การ การวางแผนการทำงานของหน่วยงานหรือโครงการ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ที่กำหนด
3. ด้านการประสานงาน
- ประสานการทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน เพื่อให้เกิดความร่วมมือและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนด
- ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แก่บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย
4. ด้านการบริการ
- รวบรวมข้อมูล เพื่อเผยแพร่และถ่ายทอดองค์ความรู้ที่เกี่ยวกับการจัดทำแผนงานโครงการ การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ
- ให้คำปรึกษา แนะนำ ตอบปัญหา และชี้แจงเรื่องต่างๆ เกี่ยวกับการจัดทำคำรับรองการปฏิบัติราชการ งานนโยบายและแผนเพื่อแก้ปัญหาในการปฏิบัติงาน การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ
นักวิชาการคอมพิวเตอร์ปฏิบัติการ
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ที่ต้องใช้ความรู้ ความสามารถทางวิชาการในการทำงาน ปฏิบัติงานด้านวิชาการคอมพิวเตอร์ ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ต้องปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
1. ด้านการปฏิบัติการ
- ติดตั้งเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ชุดคำสั่งระบบปฏิบัติการ ชุดคำสั่งสำเร็จรูป ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง เพื่อสนับสนุนให้งานเทคโนโลยีสารสนเทศดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับความต้องการของหน่วยงาน
- ประมวลผลและปรับปรุงแก้ไขแฟ้มข้อมูล เพื่อให้ข้อมูลที่ได้ถูกต้องแม่นยำและทันสมัย
- ทดสอบคุณสมบัติด้านเทคนิคของระบบ เพื่อให้ระบบมีคุณสมบัติที่ถูกต้อง ตรงตามความต้องการและสภาพการใช้งานของหน่วยงาน
- เขียนชุดคำสั่งตามข้อกำหนดของระบบงานประยุกต์ และระบบข้อมูลที่ได้วางแผนไว้ เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานเทคโนโลยีสารสนเทศให้ดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- เขียนชุดคำสั่ง ทดสอบความถูกต้องของคำสั่ง แก้ไขข้อผิดพลาดของคำสั่งเพื่อให้ระบบ ปฏิบัติการทำงานได้อย่างถูกต้องแม่นยำและมีประสิทธิภาพ
- ช่วยรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ความต้องการของระบบงานประยุกต์ และระบบข้อมูลของหน่วยงานที่ไม่ซับซ้อน เพื่อพัฒนาระบบงานเทคโนโลยีในหน่วยงานให้มีประสิทธิภาพ และตรงตามความต้องการของหน่วยงาน
- ช่วยรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ ออกแบบ และพัฒนาระบบงานประยุกต์ เพื่อให้ได้ระบบงานประยุกต์ที่ตรงตามคุณลักษณะและความต้องการของหน่วยงาน
- รวบรวมข้อมูลประกอบการกำหนดคุณลักษณะเฉพาะของเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ ระบบเครือข่าย ระบบงานประยุกต์และระบบสารสนเทศ การจัดการระบบการทำงานเครื่อง การติดตั้งระบบเครื่อง เพื่อให้ได้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน และตรงตามความต้องการใช้ของหน่วยงาน
- ช่วยตรวจสอบ สืบค้น และรวบรวมข้อมูลการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศที่เข้าข่ายไม่เหมาะสม ขัดต่อกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับที่กำหนด หรือไม่เป็นไปตามมาตรฐานสากลเพื่อความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลหรือระบบ
- ช่วยตรวจสอบและรวบรวมข้อมูลเพื่อประกอบการออกใบอนุญาต เพื่อให้การออกใบอนุญาตเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด
2. ด้านการวางแผน
วางแผนการทำงานที่รับผิดชอบ ร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงานหรือโครงการ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ที่กำหนด
3. ด้านการประสานงาน
- ประสานงานทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน เพื่อให้เกิดความร่วมมือและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนด
- ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แก่บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย
4. ด้านการบริการ
- ช่วยจัดทำคู่มือระบบและคู่มือผู้ใช้ เพื่อให้ผู้ใช้สามารถใช้งานคอมพิวเตอร์ได้ด้วยตนเองอย่างมีประสิทธิภาพ
- ดำเนินการฝึกอบรมหรือถ่ายทอดความรู้ สนับสนุนการใช้ระบบงานที่พัฒนาแก่เจ้าหน้าที่ผู้ใช้งาน เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจในด้านวิชาการคอมพิวเตอร์
- ให้คำปรึกษาแนะนำแก่ผู้ใช้เมื่อมีปัญหาหรือข้อสงสัยในการใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อให้ผู้ใช้สามารถแก้ไขและใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
วิศวกรโยธาปฏิบัติการ
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ที่ต้องใช้ความรู้ ความสามารถทางวิชาการในการทํางาน ปฏิบัติงานเกี่ยวกับวิศวกรรมโยธา ภายใต้การกำกับ แนะนํา ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ต้องปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
1. ด้านการปฏิบัติการ
- สํารวจ ศึกษา วางแผน วิเคราะห์ วิจัย ออกแบบ คํานวณ ประมาณราคา ควบคุมงานก่อสร้าง งานบํารุง งานบูรณะซ่อมแซม งานอํานวยความปลอดภัย งานผังเมืองหรืองานอื่นใดที่เกี่ยวข้องกับวิศวกรรมโยธาและโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อให้เป็นไปตามหลักวิชาการ กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
- ตรวจสอบ แบบแปลน โครงสร้าง สภาพการใช้งานของอาคารหรือโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อให้เกิดความปลอดภัย
- ควบคุม ดูแลการปฏิบัติงานสำรวจ ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยใช้เครื่องมือที่ทันสมัย เพื่อให้ได้รูปแบบ แผนที่ต่าง ๆ ที่ถูกต้อง
- ศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อ กำหนด กฎ ระเบียบ มาตรฐาน มาตรการ ที่เกี่ยวข้องกับวิศวกรรมโยธา และโครงสร้างพื้นฐาน
- ศึกษา วิจัย และทดสอบวัสดุ ที่ใช้ในงานด้านวิศวกรรมโยธาและโครงสร้างพื้นฐานเพื่อให้มีความมั่นคง แข็งแรง ปลอดภัยและประหยัดงบประมาณ
- ตรวจสอบสัญญาก่อสร้าง บำรุง บูรณะซ่อมแซมและอำนวยความปลอดภัย รวมถึงการแก้ไขสัญญางานวิศวกรรมโยธา เพื่อให้งานมีคุณภาพเป็นไปตามมาตรฐานและข้อกำหนด
2. ด้านการวางแผน
วางแผนการทำงานที่รับผิดชอบ ร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงานหรือโครงการเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายผลสัมฤทธิ์ที่กำหนด
3. ด้านการประสานงาน
- ประสานการทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน เพื่อให้เกิดความร่วมมือและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนดไว้
- ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แก่บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย
4. ด้านการบริการ
- ให้คำปรึกษาแนะนำ ชี้แจง ตอบปัญหาและเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับงานวิศวกรรม-โยธา และโครงสร้างพื้นฐานในความรับผิดชอบในระดับเบื้องต้นแก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ได้ข้อมูลความรู้ต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ รวมทั้งการมีส่วนร่วม
- จัดเก็บข้อมูลเบื้องต้น ทำสถิติ ปรับปรุง จัดทำฐานข้อมูลหรือระบบสารสนเทศที่เกี่ยวกับงานวิศวกรรมโยธาและโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อให้สอดคล้องและสนับสนุนภารกิจของหน่วยงาน และใช้ประกอบ การพิจารณากำหนดนโยบาย แผนงาน หลักเกณฑ์ มาตรการต่าง ๆ
เจ้าพนักงานธุรการปฏิบัติงาน
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้นซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาปฏิบัติงานด้านธุรการ สารบรรณ พัสดุ หรือบริการทั่วไป ตามแนวทาง แบบอย่าง ขั้นตอน และวิธีการ ที่ชัดเจน ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ต้องปฏิบัติ
ในด้านต่าง ๆ ดังนี้
1. ด้านการปฏิบัติการ
- ปฏิบัติงานธุรการ งานสารบรรณ งานบริหารทั่วไป ได้แก่ การรับ – ส่งหนังสือ การลง ทะเบียน รับหนังสือ การร่างโต้ตอบหนังสือราชการ การบันทึกข้อมูล การจัดทำฎีกาเบิกจ่ายเงินและการพิมพ์เอกสาร จดหมาย และหนังสือราชการต่าง ๆ การเตรียมการประชุม การจดรายงานการประชุม เป็นต้น
เพื่อสนับสนุนให้งานต่าง ๆ ดำเนินไปด้วยความสะดวกเรียบร้อยตรงตามเป้าหมายมีหลักฐานตรวจสอบได้ - รวบรวมข้อมูล จัดเก็บข้อมูลสถิติ เอกสาร หลักฐานหนังสือ ตามระเบียบวิธีปฏิบัติ เพื่อสะดวกต่อการค้นหา และเป็นหลักฐานทางราชการ
- ดำเนินการเกี่ยวกับการเงิน บัญชี พัสดุ ครุภัณฑ์ของสำนักงาน เพื่อให้มีอุปกรณ์ที่มีคุณภาพไว้ใช้งานและอยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน
- รวบรวมรายงานผลการปฏิบัติงานและข้อมูลต่าง ๆ นำเสนอต่อผู้บังคับบัญชา เพื่อนำไปใช้เสนอแนะและปรับปรุงการปฏิบัติงานต่อไป
- ดำเนินการด้านงานบุคคล ข้อมูลพื้นฐาน ทะเบียนประวัติ
- รวบรวมข้อมูล จัดเก็บข้อมูลสถิติ เช่น สมุดลงเวลาปฏิบัติราชการ รายชื่อ พนักงาน ข้อมูลจำนวนบุคลากร เอกสารอื่น ๆ ที่เป็นหลักฐานตามระเบียบวิธีการปฏิบัติเพื่อสะดวกต่อการค้นหาสำหรับใช้เป็นหลักฐานตรวจสอบได้
- ตรวจสอบ และสอบทานความถูกต้องของเอกสาร หนังสือ และจดหมายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงาน เพื่อให้แน่ใจว่าเอกสารทั้งหมดมีความถูกต้อง ครบถ้วน และปราศจากข้อผิดพลาด
- จัดทำและแจกจ่าย ข้อมูล เอกสาร หลักฐาน หนังสือเวียน หรือระเบียบวิธีปฏิบัติเพื่อแจ้งให้หน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องทราบ หรือดำเนินการต่าง ๆ ต่อไป
- ดำเนินการเกี่ยวกับพัสดุ ครุภัณฑ์ ยานพาหนะ และอาคารสถานที่ของหน่วยงาน เช่น การจัดเก็บรักษา การเบิกจ่ายพัสดุครุภัณฑ์ การจัดทำทะเบียนพัสดุครุภัณฑ์ การดูแลรักษายานพาหนะ และสถานที่ เพื่อให้การดำเนินงานด้านพัสดุ ครุภัณฑ์ ยานพาหนะ และอาคารสถานที่เป็นไปอย่างถูกต้อง และมีความพร้อมใช้งานอยู่เสมอ
- การรวบรวมรายงานผลการปฏิบัติงาน เช่น เอกสารตรวจรับรองมาตรฐาน (ธรรมาภิบาล) และเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการตรวจ เพื่อนำไปใช้ปรับปรุงการปฏิบัติงาน
- จัดเตรียมการประชุม บันทึกการประชุม และจัดทำรายงานการประชุม เพื่อให้การประชุมเป็นไปด้วยความเรียบร้อย จัดเตรียม และดำเนินการผลิตเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการประชุม การฝึกอบรม สัมมนา นิทรรศการ และโครงการต่าง ๆ เพื่อให้เอกสารที่ถูกต้อง ครบถ้วน และพร้อมใช้ในการดำเนินงานต่าง ๆ อย่างมีประสิทธิภาพ และตรงต่อเวลา
- ปฏิบัติงานศูนย์ข้อมูลข่าวสาร เช่น จัดเตรียมเอกสาร เพื่อเปิดเผย ตาม พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสาร เพื่อให้ผู้ที่ต้องการข้อมูลข่าวสารรับทราบข้อมูลข่าวสาร
- ศึกษา และติดตามเทคโนโลยีองค์ความรู้ใหม่ ๆ กฎหมาย และระเบียบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานสารบรรณ งานธุรการ งานบริหารทั่วไป งานการบริหารงานบุคคล งานพัสดุ ครุภัณฑ์ งานงบประมาณ งานประชาสัมพันธ์ และงานประชุม เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
2. ด้านการบริการ
- ให้คำปรึกษาและแนะนำในเบื้องต้นแก่บุคลากร ประชาชน ผู้ที่มาติดต่อ และหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง และสามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง
- อำนวยความสะดวก ติดต่อ และประสานงานกับทุกส่วนงานของหน่วยงานในเรื่องการประชุม และการดำเนินงานต่าง ๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย เพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปตามกำหนดเวลา และบรรลุวัตถุประสงค์
- ติดต่อประสานงานกับบุคคลภายในหน่วยงานเดียวกันหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปด้วยความราบรื่น
- ให้บริการข้อมูลแก่ผู้มาติดต่อราชการ เพื่อให้ได้รับข้อมูลที่จะนำไปใช้ประโยชน์ได้ต่อไป
- ผลิตเอกสารต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานตามภารกิจของหน่วยงาน และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องตามที่ได้รับมอบหมาย
เจ้าพนักงานการเงินและบัญชีปฏิบัติงาน
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้นซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาปฏิบัติงานด้านการเงินและบัญชี ตามแนวทาง แบบอย่าง ขั้นตอน และวิธีการที่ชัดเจน ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ต้องปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
1. ด้านการปฏิบัติการ
- จัดทำและปฏิบัติงานด้านเอกสารทางการเงินและบัญชีในระดับต้น เพื่อให้งานเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด
- รวบรวมรายละเอียดการจัดทำงบประมาณ เพื่อใช้ประกอบในการทำงบประมาณประจำปีของหน่วยงาน
- ตรวจสอบและดูความถูกต้องของเอกสารสำคัญทางการเงิน เพื่อให้เกิดความถูกต้องในการปฏิบัติงาน
- ประสานงานในระดับฝ่ายหรือกลุ่มกับหน่วยงานราชการ เอกชน หรือประชาชนทั่วไป เพื่อขอความช่วยเหลือและร่วมมือในงานและแลกเปลี่ยนความรู้ความเชี่ยวชาญที่เป็นประโยชน์ต่อการทำงานของหน่วยงาน
- ตรวจสอบและกำกับดูแล การรับเงิน การจ่ายเงิน การนำเงินส่งคลัง
2. ด้านการบริการ
- ให้คำแนะนำ ตอบปัญหา ชี้แจงเกี่ยวกับงานการเงินและบัญชี แก่เจ้าหน้าที่ระดับรองลงมา หน่วยงานราชการ เอกชน และประชาชนทั่วไป เพื่อถ่ายทอดความรู้ ความชำนาญแก่ผู้ที่สนใจ
- ประสานงานในระดับกลุ่ม กับหน่วยงานราชการ เอกชน หรือประชาชนทั่วไป เพื่อขอความช่วยเหลือและร่วมมือในงานการเงินและบัญชี และแลกเปลี่ยนความรู้ความเชี่ยวชาญที่เป็นประโยชน์ต่อการทำงานของหน่วยงาน
เจ้าพนักงานพัสดุปฏิบัติงาน
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้นซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญา ปฏิบัติงานพัสดุตามแนวทาง แบบอย่าง ขั้นตอน และวิธีการที่ชัดเจน ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่างๆ ดังนี้
2. ด้านการปฏิบัติการ
- ปฏิบัติงานขั้นต้นเกี่ยวกับงานพัสดุในการจัดหา จัดซื้อ จัดจ้าง การเก็บรักษา นำส่งการซ่อมแซม และบำรุงรักษาพัสดุ ครุภัณฑ์ อุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ เพื่อให้อยู่ในสภาพดี พร้อมต่อการใช้งาน
- ทำทะเบียนการเบิกจ่ายพัสดุ การเก็บรักษาใบสำคัญหลักฐานและเอกสารเกี่ยวกับพัสดุเพื่อรวบรวมไว้เป็นข้อมูลในการดำเนินงาน
- ร่างและตรวจสอบสัญญาซื้อขาย สัญญาจ้าง หนังสือโต้ตอบ บันทึกย่อเรื่องเกี่ยวกับงานพัสดุ เพื่อเป็นหลักฐานในการดำเนินงาน
- รายงาน สรุปความเห็นเกี่ยวกับงานพัสดุ เพื่อจัดทำรายงาน และนำเสนอผู้บังคับบัญชาในหน่วยงาน
- ศึกษาและเสนอความเห็นเกี่ยวกับระเบียบงานพัสดุ เพื่อร่วมพัฒนาให้ระเบียบการปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพแลรวดเร็วยิ่งขึ้น
- ชี้แจงรายละเอียดข้อเท็จจริงเกี่ยวกับงานพัสดุให้การปฏิบัติงานมีความโปร่งใส ตรวจสอบได้
2. ด้านการบริการ
- ให้คำแนะนำเกี่ยวกับระเบียบและวิธีการปฏิบัติงานที่อยู่ในความรับผิดชอบแก่ผู้ร่วมงาน หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อความเข้าใจอันดีในการปฏิบัติงาน และให้การดำเนินการสำเร็จลุล่วง
- ประสานงานกับบุคคลภายในหน่วยงานเดียวกัน ต่างหน่วยงาน หรือประชาชนทั่วไป เพื่อให้บริการ หรือขอความช่วยเหลือในด้านที่ตนรับผิดชอบ
เจ้าพนักงานสถิติปฏิบัติงาน
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาปฏิบัติงานสถิติตามแนวทาง แบบอย่าง ขั้นตอน และวิธีการที่ชัดเจน ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
1. ด้านการปฏิบัติการ
- สำรวจ จัดทำ รวบรวม ตรวจสอบข้อมูลสถิติที่มีความซับซ้อนไม่มากนัก เพื่อเป็นฐานข้อมูล หรือข้อมูลสนับสนุนในการจัดทำเอกสารทางวิชาการต่าง ๆ
- สนับสนุนการปฏิบัติงานสำรวจสถิติ อาทิ ช่วยในการจัดทำร่างตารางรายงานสถิติ ช่วยร่างแบบสอบถาม เพื่อให้การปฏิบัติงานสำรวจสถิติดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
- จัดหมวดหมู่ และจัดทำระเบียบข้อมูลสถิติ เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการค้นหาข้อมูล
2. ด้านการบริการ
- ให้บริการข้อมูลสถิติแก่หน่วยงานหรือบุคคลที่สนใจ เพื่อให้หน่วยงานหรือบุคคลเหล่านั้นได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง
- ให้คำปรึกษา แนะนำแก่เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การปฏิบัติงานดำเนินไปอย่างราบรื่น
นายช่างเขียนแบบปฏิบัติงาน
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาปฏิบัติงานด้านช่างเขียนแบบ ตามแนวทาง แบบอย่าง ขั้นตอน และวิธีการที่ชัดเจน ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
1. ด้านการปฏิบัติการ
- สำรวจ ออกแบบ เขียนแบบงานสถาปัตยกรรม งานแผนที่ งานวิศวกรรมโครงสร้าง และงานระบบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อสนับสนุนงานออกแบบของหน่วยงานต่าง ๆ
- ศึกษาข้อมูลของวัสดุก่อสร้าง เพื่อนำมาใช้ในงานเขียนแบบให้เกิดความสมบูรณ์
- ประมาณราคางานก่อสร้างของหน่วยงานราชการ เพื่อใช้ในการเปิดสอบราคา และนำไปสู่การก่อสร้างตามวัตถุประสงค์
2. ด้านการบริการ
- ให้คำแนะนำเกี่ยวกับระเบียบและวิธีการปฏิบัติงานที่อยู่ในความรับผิดชอบแก่ผู้ร่วมงานหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อความเข้าใจอันดีในการปฏิบัติงาน และให้การดำเนินงานสำเร็จลุล่วง
- ประสานงานกับหน่วยงานต่าง ๆ และประชาชนทั่วไป เพื่อให้บริการและให้ความช่วยเหลือในงานที่รับผิดชอบและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องตามที่ได้รับมอบหมาย
นายช่างเครื่องกลปฏิบัติงาน
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้นซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาปฏิบัติงานด้านช่างเครื่องกล ตามแนวทาง แบบอย่าง ขั้นตอน และวิธีการที่ชัดเจน ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
1. ด้านการปฏิบัติการ
- ดำเนินการตรวจสอบ บำรุงรักษา ซ่อมแก้ไข ปรับปรุง เครื่องจักรกล ยานพาหนะ เครื่องมือ อุปกรณ์ และงานด้านเครื่องกล เพื่อให้พร้อมใช้อยู่เสมอ
- ดำเนินการออกแบบ เขียนแบบเครื่องกล การผลิตชิ้นส่วนเครื่องมือและอุปกรณ์ ติดตั้ง ทดลอง ทดสอบ สอบเทียบเครื่องมือ ประมาณราคา เครื่องจักรกล ยานพาหนะ และงานด้านเครื่องกล เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและเหมาะสมกับการใช้งาน
- สำรวจ รวบรวมข้อมูล จัดทำสถิติ ประวัติการบำรุงรักษา การซ่อมเครื่องจักรกล เครื่องมือกล ยานพาหนะ และงานด้านเครื่องกล เพื่อเป็นข้อมูลหลักฐานสำหรับนำไปใช้ในการพัฒนาปรับปรุงงาน
2. ด้านการบริการ
- ติดต่อประสานงานกับหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปด้วยความสะดวกรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
- ให้คำแนะนำและบริการแก่ผู้มาติดต่อราชการ เพื่อให้ประชาชนเกิดความรู้ความเข้าใจในการทำงาน
นายช่างเทคนิคปฏิบัติงาน
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้นซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาปฏิบัติงานด้านช่างเทคนิคตามแนวทาง แบบอย่าง ขั้นตอน และวิธีการที่ชัดเจน ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ต้องปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
1. ด้านการปฏิบัติการ
- ดูแล ควบคุม ตรวจซ่อมและบำรุงรักษา ระบบสาธารณูปโภค เครื่องจักร เครื่องยนต์ เครื่องมือ อุปกรณ์ต่าง ๆ วัสดุและครุภัณฑ์อื่น ๆ ในความรับผิดชอบ เพื่อให้เกิดความปลอดภัยและพร้อมในการใช้งาน
- ซ่อม สร้าง ผลิต ประกอบ ดัดแปลง เขียนหรือออกแบบ ติดตั้ง เครื่องจักร เครื่องยนต์ เครื่องมือ อุปกรณ์ต่าง ๆ รวมทั้งการทดลองใช้เครื่องจักร เครื่องกล และสิ่งก่อสร้าง เพื่อให้เป็นไปตามหลักวิชาและมาตรฐานงานช่าง และให้เกิดความปลอดภัย
2. ด้านการบริการ
- ให้คำปรึกษา แนะนำ จัดทำข้อมูล ถ่ายทอดความรู้ทั้งในเชิงทักษะเฉพาะด้านและทักษะทั่วไปให้แก่บุคลากรภายในหน่วยงานที่รับผิดชอบ หน่วยงานราชการ เอกชน หรือประชาชน เพื่อให้มีความรู้ ความสามารถและมีทักษะเหมาะสมแก่การปฏิบัติงานในหน้าที่
- ติดต่อประสานกับหน่วยงานหรือเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องตามที่ได้รับมอบหมาย
นายช่างไฟฟ้าปฏิบัติงาน
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้นซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาปฏิบัติงานด้านช่างไฟฟ้า ตามแนวทาง แบบอย่าง ขั้นตอน และวิธีการที่ชัดเจน ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ต้องปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
1. ด้านการปฏิบัติการ
- สำรวจ เขียนแบบ ประมาณการ ติดตั้ง ซ่อม ประดิษฐ์ ดัดแปลง ปรับปรุง ควบคุมการใช้งาน ดูแล บำรุงรักษา และใช้งานเครื่องมือ อุปกรณ์ เครื่องจักรกลไฟฟ้า ระบบไฟฟ้า ระบบเครื่องปรับอากาศ ระบบไฟฟ้าสื่อสารและโทรคมนาคม ระบบสารสนเทศ ระบบควบคุมอัตโนมัติ ระบบอิเล็กทรอนิกส์ ระบบคอมพิวเตอร์ รับส่งข้อมูลข่าวสาร ในภารกิจที่เกี่ยวข้องเพื่อให้สามารถใช้งานได้อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพตอบสนองความต้องการของหน่วยงานภายในและภายนอก
- จัดทำระเบียน รวบรวม และเก็บข้อมูลทางสถิติของการใช้งาน เพื่อการวางแผนบำรุงรักษา
- ปรับเทียบค่ามาตรฐานตามภารกิจที่เกี่ยวข้องเพื่อใช้ในการออกใบรับรองตามที่หน่วยงาน หรือกฎหมายกำหนด
2. ด้านการบริการ
- ให้คำแนะนำ ตอบปัญหา แก้ไขปัญหา ให้แก่ผู้ใช้งานและผู้รับบริการ ทั้งภายในและภายนอกหน่วยงาน เพื่อให้สามารถใช้งานได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ
- ประสาน แลกเปลี่ยนความรู้และข้อมูลต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกหน่วยงาน เพื่อประกอบ การปฏิบัติงาน ได้อย่างครอบคลุมและมีประสิทธิภาพ
นายช่างโยธาปฏิบัติงาน
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้นซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาปฏิบัติงานด้านช่างโยธา ตามแนวทาง แบบอย่าง ขั้นตอน และวิธีการที่ชัดเจน ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ต้องปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
1. ด้านการปฏิบัติการ
- สำรวจ ออกแบบ เขียนแบบ ก่อสร้าง บำรุงรักษาโครงการก่อสร้างต่าง ๆ เพื่อให้ตรงตามหลักวิชาช่าง ความต้องการของหน่วยงาน และงบประมาณที่ได้รับ
- ตรวจสอบ แก้ไข และกำหนดรายละเอียดของงานให้ตรงกับแบบรูปและรายการ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
- ถอดแบบ เพื่อสำรวจปริมาณวัสดุที่ใช้ตามหลักวิชาช่าง เพื่อประมาณราคาค่าก่อสร้าง
- ควบคุมงานก่อสร้าง งานปรับปรุง และซ่อมแซม หรือตรวจการจ้างตามที่ได้รับมอบหมาย พร้อมรายงานความก้าวหน้าของงาน เพื่อให้เป็นไปตามระเบียบที่กำหนด
- รวบรวมและจัดเก็บข้อมูล เพื่อการศึกษา วิเคราะห์ วิจัยในงานด้านช่าง
2. ด้านการบริการ
- ให้คำแนะนำ ตอบปัญหาและฝึกอบรมเกี่ยวกับงานโยธาที่ตนมีความรับผิดชอบแก่ผู้ใต้บังคับบัญชา หรือเจ้าหน้าที่ระดับรองลงมา หน่วยงานราชการ เอกชน หรือประชาชนทั่วไป เพื่อให้ผู้ที่สนใจได้รับทราบข้อมูล ความรู้ต่าง ๆ และมีทักษะเหมาะสมแก่การปฏิบัติงาน
- ประสานงานในระดับกลุ่ม กับหน่วยงานราชการ เอกชนหรือประชาชนทั่วไป เพื่อขอความช่วยเหลือและร่วมมือในงานโยธา และแลกเปลี่ยนความรู้ความเชี่ยวชาญที่เป็นประโยชน์ต่อการทำงานของหน่วยงานและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องตามที่ได้รับมอบหมาย
นายช่างศิลป์ปฏิบัติงาน
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้นซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาปฏิบัติงานช่างศิลป์ ตามแนวทาง แบบอย่าง ขั้นตอน และวิธีการที่ชัดเจน ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ต้องปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
1. ด้านการปฏิบัติการ
- ออกแบบงานศิลป์และตกแต่งภายใน บอร์ด ป้ายประกาศ ป้ายโฆษณา การจัดทำภาพ ฉาก ประดิษฐ์ตัวอักษร เวทีของหน่วยงาน ผังสถานที่ สื่อสิ่งพิมพ์ จัดตกแต่งห้องประชุมและอาคารสถานที่เพื่อประกอบกิจกรรมต่าง ๆ ให้มีประสิทธิภาพ สะอาดสวยงาม เป็นระเบียบเรียบร้อย และสื่อความได้เป็นอย่างดี
- ดูแล จัดเก็บ บำรุงรักษา ซ่อมแซม วัสดุอุปกรณ์การทำงานให้เป็นระบบเพื่อให้อุปกรณ์อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานอยู่เสมอ
2. ด้านการบริการ
- ให้คำแนะนำ การออกแบบ เทคนิค การจัดงานศิลป์ การจัดนิทรรศการแก่บุคลากรทั้งภายในและภายนอก เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในงานศิลป์
- ช่วยจัดทำสื่อสิ่งพิมพ์ คู่มือ หนังสือ แผ่นพับและนิทรรศการ เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์เสริมสร้างภาพพจน์ และส่งเสริมการออกแบบงานศิลป์
นายช่างสำรวจปฏิบัติงาน
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้นซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาปฏิบัติงานด้านช่างสำรวจ ตามแนวทาง แบบอย่าง ขั้นตอน และวิธีการที่ชัดเจน ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ต้องปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
1. ด้านการปฏิบัติการ
- สำรวจรังวัด จัดทำแผนที่ป่าอนุรักษ์
- สำรวจรังวัด หมายแนวเขต และจัดทำเครื่องหมายแนวเขตป่าอนุรักษ์
- สำรวจรังวัด จัดทำหมุดหลักฐานแผนที่
- สำรวจรังวัด แปลงถือครองที่ดินของราษฎร ในเขตป่าอนุรักษ์
- สำรวจรังวัด จัดทำระวางแผนที่ มาตรฐาน มาตราส่วน 1:4,000
- สำรวจรังวัดตรวจสอบแปลงที่ดินกับขอบเขตป่าอนุรักษ์
- สำรวจรังวัดรายละเอียดภูมิประเทศ เช่น ลำคลอง ห้วย ถนน เพื่อจัดทำแผนที่ป่าอนุรักษ์
- สำรวจ ออกแบบ และควบคุมการก่อสร้าง
2. ด้านการบริการ
- ให้คำปรึกษา แนะนำ ทั้งในเชิงทักษะเฉพาะด้านและทักษะทั่วไปแก่บุคลากรทุกสายงาน เพื่อให้บุคลากรมีความรู้ ความสามารถและมีทักษะเหมาะสมแก่การปฏิบัติงานในหน้าที่
- ให้คำแนะนำ ปรึกษา ตอบปัญหา เกี่ยวกับงานสำรวจรังวัด จัดทำแผนที่ และตรวจสอบแปลงที่ดิน ที่ตนมีความรับผิดชอบ แก่หน่วยงานภาครัฐ เอกชนหรือประชาชนทั่วไป เพื่อให้ผู้รับบริการ ได้รับทราบข้อมูลเบื้องต้นที่มีประโยชน์
- ติดต่อประสานกับหน่วยงานหรือเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องตามที่ได้รับมอบหมาย
- ประสานงานกับหน่วยงานภาครัฐ เอกชนหรือประชาชนทั่วไป เพื่อขอความช่วยเหลือ และร่วมมือในการปฏิบัติงาน เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพเป็นประโยชน์ต่อการทำงานของหน่วยงาน และปฏิบัติหน้าที่อื่น ที่เกี่ยวข้องตามที่ได้รับมอบหมาย
นักกีฏวิทยาปฏิบัติการ
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ที่ต้องใช้ความรู้ ความสามารถทางวิชาการในการทำงาน ปฏิบัติงานด้านตรวจสอบภายใน ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ต้องปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
1. ด้านการปฏิบัติการ
- ศึกษา ค้นคว้า วิจัยและสำรวจความหลากหลายของแมลงป่าไม้ เพื่อจัดทำระบบฐานข้อมูล
- ศึกษา ค้นคว้า วิจัยด้านอนุกรมวิธาน ชีววิทยาและนิเวศวิทยา ของแมลงป่าไม้
- ให้บริการความรู้ทางวิชาการ ถ่ายทอดองค์ความรู้ ตลอดจนการฝึกอบรม เพื่อให้เกิดประโยชน์ในด้านการอนุรักษ์แมลงป่าไม้
- ให้บริการด้านวิชาการเกี่ยวกับปัญหาการแพร่ระบาดของแมลงศัตรูป่าไม้ในพื้นที่อนุรักษ์
2. ด้านการวางแผน
วางแผนการทำงานตามหน้าที่ที่รับผิดชอบ และร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงาน หรือโครงการเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ที่กำหนด
3. ด้านการประสานงาน
- ประสานการทำงานร่วมกัน ทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน เพื่อให้เกิดความร่วมมือและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนด
- ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แก่บุคคล หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อสร้างความเข้าใจและความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย
4. ด้านการบริการ
- รวบรวม จัดทำข้อมูล และจัดทำรายงานเกี่ยวกับงานวิจัยทางด้านกีฏวิทยาป่าไม้
เพื่อใช้ในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ และให้บริการข้อมูลแก่ผู้ประกอบการเพาะเลี้ยง และนำเข้า-ส่งออก แมลงป่าไม้ และผู้ที่เกี่ยวข้อง - ให้คำปรึกษา แนะนำ จัดทำสื่อเผยแพร่ความรู้ด้านกีฏวิทยา แก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
และประชาชนทั่วไป เพื่อให้สามารถนำความรู้ไปใช้ปฏิบัติให้เกิดประโยชน์ - ให้คำปรึกษา แนะนำ ในงานด้านวิชาการแก่เจ้าหน้าที่ระดับรองลงมา เพื่อให้สามารถดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
นักวิทยาศาสตร์ปฏิบัติการ
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ที่ต้องใช้ความรู้ ความสามารถทางวิชาการ ในการทำงานปฏิบัติงานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ต้องปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
1. ด้านการปฏิบัติการ
- ศึกษาค้นคว้าและวิเคราะห์ข้อมูล และร่วมดำเนินการวิจัย ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีด้านพันธุศาสตร์ เพื่อสร้างองค์ความรู้
- วิเคราะห์ ทดสอบ ตรวจสอบ ตรวจวัด ตรวจพิสูจน์ วินิจฉัยทางวิทยาศาสตร์ ของวัตถุตัวอย่าง สอบเทียบเครื่องมือ อุปกรณ์วัด เพื่อนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
- ร่วมปฏิบัติงานด้านการรับรองระบบงาน การบริหารจัดการการทดสอบความชำนาญจัดทำฐานข้อมูลห้องปฏิบัติการ ส่งเสริมพัฒนาห้องปฏิบัติการ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการตรวจสอบทางวิทยาศาสตร์
- ร่วมศึกษาวิเคราะห์ วิจัย พัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมและถ่ายทอดความรู้และร่วมดำเนินการจัดฝึกอบรม เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการและทันต่อความก้าวหน้าของวิทยาการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
- ศึกษา ค้นคว้า ติดตามความรู้ และพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อใช้ประโยชน์ด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
- ร่วมดำเนินงานระบบประกันคุณภาพ เพื่อให้ผลการทดสอบเป็นที่น่าเชื่อถือ
2. ด้านการวางแผน
วางแผนการทำงานที่รับผิดชอบ ร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงานหรือโครงการ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ที่กำหนด
3. ด้านการประสานงาน
- ประสานการทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน เพื่อให้เกิดความร่วมมือและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนด
- ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แก่บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย
4. ด้านการบริการ
- ให้คำปรึกษาแนะนำเบื้องต้นทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแก่ผู้ประกอบการส่วนราชการ และประชาชนผู้สนใจทั่วไป เพื่อให้ผู้ที่สนใจได้ทราบข้อมูล ความรู้ต่าง ๆ และนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
- เผยแพร่ ถ่ายทอดความรู้ ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่ผู้เกี่ยวข้อง
นายสัตวแพทย์ปฏิบัติการ
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ที่ต้องใช้ความรู้ ความสามารถทางวิชาการในการทำงาน ปฏิบัติงานด้านวิชาการสัตวแพทย์ ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ต้องปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
1. ด้านการปฏิบัติการ
- ศึกษา วิเคราะห์ วิจัยเกี่ยวกับโรคสัตว์ป่า โรคติดต่อระหว่างสัตว์และคนด้านห้องปฏิบัติการ ด้านการชันสูตรโรคสัตว์ป่า ด้านการผลิตการทดสอบชีวภัณฑ์สัตว์ป่า ด้านสาเหตุและปัจจัยที่ทำให้เกิดโรค ด้านป้องกัน ควบคุม กำจัดโรคสัตว์ป่า รวมทั้งพัฒนาระบบการจัดการด้านสุขภาพสัตว์ป่า ด้านสุขศาสตร์สัตว์ป่าและสุขอนามัย เพื่อให้สัตว์ป่ามีสุขภาพดี
- ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย เกี่ยวกับการขยายพันธุ์สัตว์ป่าด้วยวิธีการต่าง ๆ ด้านข้อมูลสารสนเทศ การสัตว์ป่า ด้านชีววิทยาสัตว์ป่า ด้านการผสมเทียม ด้านการปรับปรุงพันธุ์ การทดสอบพ่อพันธุ์
ด้านความสมบูรณ์พันธุ์ และควบคุมคุณภาพการผลิตน้ำเชื้อสัตว์พ่อพันธุ์และตัวอ่อน - ศึกษา วิเคราะห์ พัฒนามาตรฐาน ด้านการกักกันสัตว์ป่า ด้านการเลี้ยงสัตว์ป่าปลอดโรค ด้านการชันสูตรโรคสัตว์ป่า ด้านสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับการสัตวแพทย์สาธารณสุข ด้านห้องปฏิบัติการตรวจสอบ เพื่อนำมาเป็นแนวทางในการพัฒนาให้มีประสิทธิภาพ และยกระดับมาตรฐานให้เป็นสากล
- ดำเนินการตามระบบประกันคุณภาพและให้การรับรองคุณภาพ ชีวภัณฑ์สัตว์ป่า
การชันสูตรโรคสัตว์ป่า การควบคุมป้องกันโรคระบาด และสิ่งแวดล้อมของสัตว์ป่าที่มีผลกระทบต่อสุขภาพสัตว์และการสาธารณสุข - ดำเนินการตรวจสอบและรับรองคุณภาพและความปลอดภัยของสัตว์ป่า อาหารสำหรับสัตว์ป่า ยาสัตว์ ชีววัตถุ สถานที่เลี้ยงสัตว์ป่า และสิ่งแวดล้อมสำหรับสัตว์ป่า เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายและมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง
- กำกับ ดูแลงานและดำเนินการควบคุมป้องกันโรคระบาดให้แก่สัตว์ป่า ควบคุม เคลื่อนย้าย และกักกันสัตว์ป่า – ซากสัตว์ป่า
- รวบรวม วิเคราะห์ข้อมูลด้านสุขภาพสัตว์ป่า ตลอดจนสืบย้อนข้อมูล เพื่อการวางแผนและดำเนินการในการควบคุมป้องกันและบำบัดโรคสัตว์ป่า ขยายพันธุ์สัตว์ป่า เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตภัณฑ์ และแก้ไขปัญหาระบบสืบพันธุ์
- รวบรวมข้อมูลระบบตรวจสอบย้อนกลับด้านการสัตว์ป่า เพื่อควบคุม ตรวจสอบ และหาสาเหตุข้อบกพร่องในการสัตว์ป่า
2. ด้านการวางแผน
วางแผนการทำงานที่รับผิดชอบ ร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงานหรือโครงการ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ที่กำหนด
3. ด้านการประสานงาน
- ประสานการทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน เพื่อให้เกิดความร่วมมือและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนด
- ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แก่บุคคลหรือหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย
4. ด้านการบริการ
- ให้คำแนะนำ จัดทำสื่อสารสนเทศ เผยแพร่ข้อมูล ถ่ายทอดเทคโนโลยี เกี่ยวกับหลักวิชาการสัตวแพทย์และงานในหน้าที่ที่รับผิดชอบ เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง
- ให้บริการในหน้าที่ที่รับผิดชอบ เป็นไปอย่างราบรื่น และมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ผู้รับ บริการมีความพึงพอใจ
วิชาที่สอบ
นักวิชาการตรวจสอบภายในปฏิบัติการ
ทดสอบความรู้ความสามารถ ความเข้าใจ โดยวิธีการสอบข้อเขียน ดังต่อไปนี้
1. ทดสอบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับตำแหน่งนักวิชาการตรวจสอบภายใน ซึ่งประกอบด้วย
- หลักเกณฑ์กระทรวงการคลังว่าด้วยมาตรฐานและหลักเกณฑ์ปฏิบัติการตรวจสอบภายในสำหรับหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
- หลักเกณฑ์กระทรวงการคลังว่าด้วยมาตรฐานและหลักเกณฑ์ปฏิบัติการควบคุมภายในสำหรับหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2561
- หลักเกณฑ์กระทรวงการคลังว่าด้วยมาตรฐานและหลักเกณฑ์ปฏิบัติการบริหารจัดการความเสี่ยงสำหรับหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2562
- พระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2561
- พระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560
- ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560
- พระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561
- ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกเงินจากคลัง การรับเงิน การจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน และการนำเงินส่งคลัง พ.ศ. 2562 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
2. ทดสอบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับนโยบาย ยุทธศาสตร์ ภารกิจ และเหตุการณ์ปัจจุบันของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
นักวิชาการเงินและบัญชีปฏิบัติการ
ทดสอบความรู้ ความสามารถ ความเข้าใจ โดยวิธีการสอบข้อเขียน ดังต่อไปนี้
1. ทดสอบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับตำแหน่งนักวิชาการเงินและบัญชี ซึ่งประกอบด้วย
- ความรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561
- ความรู้เกี่ยวกับหลักการบัญชีเบื้องต้น
- ความรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2561
- ความรู้เกี่ยวกับระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณ พ.ศ. 2562
- ความรู้เกี่ยวกับระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกเงินจากคลัง การรับเงิน การจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน และการนำเงินส่งคลัง พ.ศ. 2562 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
- ความรู้เกี่ยวกับระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทดรองราชการ พ.ศ. 2562
- ความรู้เกี่ยวกับระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายในการบริหารงานของส่วนราชการ พ.ศ. 2553
2. ทดสอบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับนโยบาย ยุทธศาสตร์ ภารกิจ และเหตุการณ์ปัจจุบันของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
นักวิชาการพัสดุปฏิบัติการ
ทดสอบความรู้ ความสามารถ ความเข้าใจ โดยวิธีการสอบข้อเขียน ดังต่อไปนี้
1. ทดสอบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับตำแหน่งนักวิชาการพัสดุ ซึ่งประกอบด้วย
- ความรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560
- ความรู้เกี่ยวกับระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560
- ความรู้เกี่ยวกับกฎกระทรวงที่เกี่ยวข้องกับพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560
- ความรู้เกี่ยวกับระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยรถราชการ พ.ศ. 2523 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
- ความรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539
- ความรู้เกี่ยวกับจรรยาบรรณของผู้ปฏิบัติงานด้านพัสดุ พ.ศ. 2543
- ความรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561
- ความรู้เกี่ยวกับระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณ พ.ศ. 2562
- ความรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
2. ทดสอบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับนโยบาย ยุทธศาสตร์ ภารกิจ และเหตุการณ์ปัจจุบันของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
นักวิเคราะห์นโยบายและแผนปฏิบัติการ
ทดสอบความรู้ความสามารถ ความเข้าใจ โดยวิธีการสอบข้อเขียน ดังต่อไปนี้
1. ทดสอบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับตำแหน่งนักวิเคราะห์นโยบายและแผน ซึ่งประกอบด้วย
1.1 ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับนโยบายและแผนทุกระดับ
- แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561-2580)
- แผนการปฏิรูปประเทศ ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง ทรัพยากรทางบก
- แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564)
- นโยบายรัฐบาล (พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา)
- นโยบายป่าไม้แห่งชาติ
1.2 ความรู้ความสามารถเกี่ยวกับการจัดทำแผนงานโครงการ การบริหารแผนงานโครงการ การติดตามประเมินผลแผนงาน/โครงการ
- หลักเกณฑ์และวิธีการติดตามและประเมินผลตามแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณของหน่วยรับงบประมาณ
- หลักเกณฑ์กระทรวงการคลังว่าด้วยมาตรฐานและหลักเกณฑ์ปฏิบัติการควบคุมภายในสำหรับหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2561
- หลักเกณฑ์กระทรวงการคลังว่าด้วยมาตรฐานและหลักเกณฑ์ปฏิบัติการบริหารจัดการความเสี่ยงสำหรับหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2562
1.3 ความรู้เกี่ยวกับการวิเคราะห์และการจัดทำงบประมาณ
- พระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561
- พระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2561
- ระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณ พ.ศ. 2562
- ระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณรายจ่ายงบกลาง รายการเงินสำรองจ่าย
เพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น พ.ศ. 2562 - ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการดำเนินการตามแผนงานหรือโครงการภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
1.4 ความรู้เกี่ยวกับการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ (Microsoft office) และการใช้ Internet
2. ทดสอบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับนโยบาย ยุทธศาสตร์ ภารกิจ และเหตุการณ์ปัจจุบันของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
นักวิชาการคอมพิวเตอร์ปฏิบัติการ
ทดสอบความรู้ความสามารถ ความเข้าใจ โดยวิธีการสอบข้อเขียน ดังต่อไปนี้
1. ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายและเหตุการณ์ปัจจุบัน
- พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
- พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
- พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ พ.ศ. 2562
- พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562
- พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
- เหตุการณ์ปัจจุบันด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
2. ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับงานด้านวิชาการคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการปฏิบัติงาน
- การวิเคราะห์ ออกแบบ และการจัดการระบบฐานข้อมูล
- การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ หลักการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์และแนวคิด และกระบวนการในการแก้ปัญหา
- การวิเคราะห์ ออกแบบ และพัฒนาระบบสารสนเทศ
- ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
- การรักษาความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศ
- ระบบคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์
- การใช้งานระบบปฏิบัติการ และชุดโปรแกรมสำเร็จรูป
- ระบบคลาวด์คอมพิวติ้ง (Cloud Computing)
- การจัดการข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data)
3. ทดสอบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับนโยบาย ยุทธศาสตร์ ภารกิจ และเหตุการณ์ปัจจุบันของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
วิศวกรโยธาปฏิบัติการ
ทดสอบความรู้ความสามารถ ความเข้าใจ โดยวิธีการสอบข้อเขียน ดังต่อไปนี้
1. ทดสอบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับตำแหน่งวิศวกรโยธา ซึ่งประกอบด้วย
- กฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร
- กฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร ก่อสร้างอาคาร
- ความรู้เกี่ยวกับการออกแบบโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก
- ความรู้เกี่ยวกับการออกแบบโครงสร้างไม้
- ความรู้เกี่ยวกับการออกแบบโครงสร้างเหล็ก
- ความรู้เกี่ยวกับการออกแบบฐานราก
- ความรู้เกี่ยวกับการวิเคราะห์โครงสร้าง
- ความรู้เกี่ยวกับระบบระบายน้ำ ถังเก็บน้ำ ท่อส่งน้ำ ท่อระบายน้ำ
- ความรู้เกี่ยวกับโครงสร้างทาง
- ความรู้เกี่ยวกับระบบอุปกรณ์ประกอบอาคาร
2. ทดสอบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับนโยบาย ยุทธศาสตร์ ภารกิจ และเหตุการณ์ปัจจุบันของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
เจ้าพนักงานธุรการปฏิบัติงาน
ทดสอบความรู้ความสามารถ ความเข้าใจ โดยวิธีการสอบข้อเขียน ดังต่อไปนี้
1. ทดสอบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับตำแหน่งเจ้าพนักงานธุรการ ซึ่งประกอบด้วย
- ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ.๒๕๒๖ และที่แก้ไขเพิ่มเติม
- ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการรักษาความลับของทางราชการ พ.ศ. 2544 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
- ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ พ.ศ. 2552 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
- พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
- พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
- ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการลาของข้าราชการ พ.ศ. 2555
- ความรู้เกี่ยวกับการจัดการสำนักงาน
- ความรู้เกี่ยวกับการใช้คอมพิวเตอร์เบื้องต้น
- พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540
2. ทดสอบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับนโยบาย ยุทธศาสตร์ ภารกิจ และเหตุการณ์ปัจจุบันของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
เจ้าพนักงานการเงินและบัญชีปฏิบัติงาน
ทดสอบความรู้ความสามารถ ความเข้าใจ โดยวิธีการสอบข้อเขียน ดังต่อไปนี้
1. ทดสอบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับตำแหน่งเจ้าพนักงานการเงินและบัญชี ซึ่งประกอบด้วย
- ความรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561
- ความรู้เกี่ยวกับหลักการบัญชีเบื้องต้น
- ความรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2561
- ระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณ พ.ศ. 2562
- ความรู้เกี่ยวกับระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกเงินจากคลัง การรับเงิน การจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน และการนำเงินส่งคลัง พ.ศ. 2562 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
- ความรู้เกี่ยวกับระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทดรองราชการ พ.ศ. 2562
- ความรู้เกี่ยวกับระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายในการบริหารงานของส่วนราชการ พ.ศ. 2553
2. ทดสอบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับนโยบาย ยุทธศาสตร์ ภารกิจ และเหตุการณ์ปัจจุบันของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
เจ้าพนักงานพัสดุปฏิบัติงาน
ทดสอบความรู้ ความสามารถ ความเข้าใจ โดยวิธีการสอบข้อเขียน ดังต่อไปนี้
1. ทดสอบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับตำแหน่งเจ้าพนักงานพัสดุ ซึ่งประกอบด้วย
- ความรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖๐
- ความรู้เกี่ยวกับระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖๐
- ความรู้เกี่ยวกับกฎกระทรวงที่เกี่ยวข้องกับพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560
- ความรู้เกี่ยวกับระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยรถราชการ พ.ศ. ๒๕๒๓ และที่แก้ไขเพิ่มเติม
- ความรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๓๙
- ความรู้เกี่ยวกับจรรยาบรรณของผู้ปฏิบัติงานด้านพัสดุ พ.ศ. ๒๕๔๓
- ความรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑
- ความรู้เกี่ยวกับระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๒
2. ทดสอบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับนโยบาย ยุทธศาสตร์ ภารกิจ และเหตุการณ์ปัจจุบันของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
เจ้าพนักงานสถิติปฏิบัติงาน
ทดสอบความรู้ ความสามารถ ความเข้าใจ โดยวิธีการสอบข้อเขียน ดังต่อไปนี้
1. ทดสอบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับตำแหน่งเจ้าพนักงานสถิติ ซึ่งประกอบด้วย
- พระราชบัญญัติสถิติ พ.ศ. 2550
- พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540
- ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
- ความรู้ด้านสถิติเบื้องต้นเกี่ยวกับการเก็บรวบรวมข้อมูล การบันทึกข้อมูล การตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล การประมวลผลข้อมูล และการวิเคราะห์ข้อมูล
- ความรู้เกี่ยวกับการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์พื้นฐานสำหรับงานทางด้านสถิติ
2. ทดสอบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับนโยบาย ยุทธศาสตร์ ภารกิจ และเหตุการณ์ปัจจุบันของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
นายช่างเขียนแบบปฏิบัติงาน
ทดสอบความรู้ความสามารถ ความเข้าใจ โดยวิธีการสอบข้อเขียน ดังต่อไปนี้
1. ทดสอบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับตำแหน่งนายช่างเขียนแบบ ซึ่งประกอบด้วย
- ทดสอบความรู้เกี่ยวกับการเขียนแบบด้านงานโยธา
- ทดสอบความรู้เกี่ยวกับการเขียนแบบด้านเครื่องกล
- ทดสอบความรู้เกี่ยวกับการเขียนแบบด้านสถาปัตยกรรม
- ทดสอบความรู้เกี่ยวกับประมาณราคา
2. ทดสอบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับนโยบาย ยุทธศาสตร์ ภารกิจ และเหตุการณ์ปัจจุบันของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
นายช่างเครื่องกลปฏิบัติงาน
ทดสอบความรู้ความสามารถ ความเข้าใจ โดยวิธีการสอบข้อเขียน ดังต่อไปนี้
1. ทดสอบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับตำแหน่งนายช่างเครื่องกล ซึ่งประกอบด้วย
- ความรู้เกี่ยวกับไฟฟ้ารถยนต์
- ความรู้เกี่ยวกับระบบส่งกำลังและเครื่องล่างรถยนต์
- ความรู้เกี่ยวกับนิวเมติกและไฮรดรอลิกส์
- การซ่อมบำรุงรักษาเครื่องจักรกลและยานพาหนะทั่วไป
- ความรู้เกี่ยวกับเครื่องยนต์สันดาปภายใน
2. ทดสอบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับนโยบาย ยุทธศาสตร์ ภารกิจ และเหตุการณ์ปัจจุบันของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
นายช่างเทคนิคปฏิบัติงาน
ทดสอบความรู้ ความสามารถ ความเข้าใจ โดยวิธีการสอบข้อเขียน ดังต่อไปนี้
1. ทดสอบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับตำแหน่งนายช่างเทคนิค ซึ่งประกอบด้วย
- ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับงานช่างพื้นฐาน
- ความรู้เกี่ยวกับการดูแล ควบคุม ตรวจซ่อมบำรุงรักษาระบบสาธารณูปโภค เครื่องจักร เครื่องมือ อุปกรณ์ต่าง ๆ วัสดุและครุภัณฑ์อื่น ๆ
- ความรู้เกี่ยวกับการซ่อม สร้าง ผลิต ประกอบ ดัดแปลง เขียนแบบ ติดตั้ง เครื่องจักร เครื่องยนต์ เครื่องมือ อุปกรณ์ต่าง ๆ
- ความรู้ความเข้าใจงานด้านช่างเทคนิคที่จำเป็นตามลักษณะงานที่ปฏิบัติ
2. ทดสอบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับนโยบาย ยุทธศาสตร์ ภารกิจ และเหตุการณ์ปัจจุบันของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
นายช่างไฟฟ้าปฏิบัติงาน
ทดสอบความรู้ความสามารถ ความเข้าใจ โดยวิธีการสอบข้อเขียน ดังต่อไปนี้
1. ทดสอบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับตำแหน่งนายช่างไฟฟ้า ซึ่งประกอบด้วย
- ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับระบบควบคุมทางไฟฟ้า
- ความรู้เกี่ยวกับการวิเคราะห์และคำนวณวงจรไฟฟ้า
- ความรู้เกี่ยวกับการตรวจวัดทางไฟฟ้า
- ความรู้เกี่ยวกับวิธีบำรุงรักษาระบบไฟฟ้า
- ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันระบบไฟฟ้ากำลัง
- ความรู้เบื้องต้นด้านไฟฟ้าสื่อสารและโทรคมนาคม อิเล็กทรอนิกส์
- ความรู้เกี่ยวกับเทคนิคเครื่องรับส่งวิทยุสื่อสาร
- ความรู้เกี่ยวกับระบบสายส่งและสายอากาศ ระบบสื่อสารด้วยระบบเส้นใยนำแสง
- ความรู้เกี่ยวกับดิจิตอลและคอมพิวเตอร์ ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์
- ความรู้เกี่ยวกับวิธีการบำรุงรักษาเครื่องปรับอากาศ
2. ทดสอบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับนโยบาย ยุทธศาสตร์ ภารกิจ และเหตุการณ์ปัจจุบันของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
นายช่างโยธาปฏิบัติงาน
ทดสอบความรู้ ความสามารถ ความเข้าใจ โดยวิธีการสอบข้อเขียน ดังต่อไปนี้
1. ทดสอบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับตำแหน่งนายช่างโยธา ซึ่งประกอบด้วย
- การเขียนแบบ ประมาณราคาก่อสร้าง การบริหารงานก่อสร้าง การสำรวจ และความรู้ความสามารถทั่วไปเกี่ยวกับงานด้านโยธา
- การตรวจและการควบคุมการก่อสร้างอาคาร ถนน งานสาธารณูปโภค และการทดสอบวัสดุด้านวิศวกรรมโยธา
2. ทดสอบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับนโยบาย ยุทธศาสตร์ ภารกิจ และเหตุการณ์ปัจจุบันของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
นายช่างศิลป์ปฏิบัติงาน
ทดสอบความรู้ความสามารถ ความเข้าใจ โดยวิธีการสอบข้อเขียน ดังต่อไปนี้
1. ทดสอบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับตำแหน่งนายช่างศิลป์ ซึ่งประกอบด้วย
- ความรู้เกี่ยวกับงานด้านช่างศิลป์ การออกแบบ การจัดงานศิลป์ บอร์ด สื่อสิ่งพิมพ์ ป้ายโฆษณา และงานอื่น ๆ ทางด้านช่างศิลป์
- ความรู้ในหลักการออกแบบและองค์ประกอบศิลป์ การออกแบบ การตกแต่ง และจัดนิทรรศการ
- ความรู้ความสามารถในการออกแบบกราฟิก Adobe Photoshop, Adobe Illustrator
2. ทดสอบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับนโยบาย ยุทธศาสตร์ ภารกิจ และเหตุการณ์ปัจจุบันของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
นายช่างสำรวจปฏิบัติงาน
ทดสอบความรู้ความสามารถ ความเข้าใจ โดยวิธีการสอบข้อเขียน ดังต่อไปนี้
1. ทดสอบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับตำแหน่งนายช่างสำรวจ ซึ่งประกอบด้วย
- การสำรวจรังวัดแนวเขตที่ดิน เพื่อให้ได้มาซึ่งค่าพิกัดฉาก เพื่อนำมาจัดทำแผนที่
- การสำรวจรังวัด ด้วยเครื่องมือรับสัญญาณจากดาวเทียม (GPS)
- ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเครื่องรับสัญญาณจากดาวเทียม (GPS)
- ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแผนที่ภูมิประเทศ
- ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับหมุดหลักฐานแผนที่
- ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับภาพถ่ายทางอากาศ ภาพถ่ายดาวเทียม
- ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ แผนที่ภูมิประเทศ เช่น มาตราส่วนแผนที่ การวัดระยะทางในแผนที่การคำนวณเนื้อที่
- ความรู้ เกี่ยวกับเครื่องมือ สำรวจรังวัด
2. ทดสอบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับนโยบาย ยุทธศาสตร์ ภารกิจ และเหตุการณ์ปัจจุบันของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
นักกีฏวิทยาปฏิบัติการ
1 การสอบข้อเขียน (คะแนนเต็ม 100 คะแนน)
- ทดสอบความรู้ทางด้านกีฏวิทยา ชีววิทยา และนิเวศวิทยาของแมลง
- ทดสอบความรู้ทางด้านอนุกรมวิธาน และการจำแนกชนิดแมลง
- ทดสอบความรู้แมลงศัตรูป่าไม้ในพื้นที่ป่าอนุรักษ์
2. การสอบปฏิบัติ (คะแนนเต็ม 100 คะแนน)
- ทดสอบการปฏิบัติงานด้านกีฏวิทยาในห้องปฏิบัติการ
นักวิทยาศาสตร์ปฏิบัติการ
1. การสอบข้อเขียน (คะแนนเต็ม 100 คะแนน)
- ความรู้ด้านอณูพันธุศาสตร์ (Molecular Genetics) ชีววิทยาระดับโมเลกุล (Molecular Biology) จีโนมิกส์ และชีวสารสนเทศ (Bioinformatics)
- ความรู้ด้านเทคนิคการวิเคราะห์และวิจัยในห้องปฏิบัติการด้านสารพันธุกรรม (Laboratory Techniques for Genetic Materials Analysis and Research)
- ความรู้พื้นฐานด้านชีววิทยา และพันธุศาสตร์พืช (Plant Biology and Genetics)
- ความรู้ภาษาอังกฤษ ด้านไวยากรณ์ การอ่าน และการเขียน
2. การสอบปฏิบัติ (คะแนนเต็ม 100 คะแนน)
- ทดสอบการปฏิบัติงานด้านพันธุศาสตร์ป่าไม้ในห้องปฏิบัติการ
- การใช้โปรแกรมการวิเคราะห์ข้อมูลทางพันธุศาสตร์ และพันธุศาสตร์ประชากร หรือโปรแกรมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
นายสัตวแพทย์ปฏิบัติการ
การสอบข้อเขียน (คะแนนเต็ม 100 คะแนน)
- ความรู้เกี่ยวกับการจับบังคับควบคุมสัตว์ เพื่อการวินิจฉัยอาการป่วย และรักษาพยาบาลสัตว์
- ความรู้เกี่ยวกับโรคสัตว์ โรคติดต่อระหว่างสัตว์และคนและโรคอุบัติใหม่ในสัตว์ธรรมชาติ
- ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันและควบคุมโรคในสัตว์ป่า
- ความรู้เกี่ยวกับการสอบสวนโรค การชันสูตรโรคสัตว์ป่า
- ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับชีววิทยาสัตว์ป่า
- ความรู้เกี่ยวกับการสุขาภิบาลสัตว์ และระบบความปลอดภัยทางชีวภาพ
- ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการตรวจวินิจฉัยทางห้องปฏิบัติการ และการเก็บตัวอย่างที่เหมาะสม เพื่อส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ
- ความรู้เกี่ยวกับแนวทางการป้องกันโรคตามแนวคิดสุขภาพหนึ่งเดียว (One Health)
- ความรู้เกี่ยวกับการขยายพันธุ์สัตว์ป่า เทคโนโลยีด้านวิทยาการสืบพันธุ์ของสัตว์ป่า
- ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และที่เป็นประเด็นปัญหา ณ ปัจจุบัน
วิธีการสมัครงานข้าราชการ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช :สมัครทางอินเทอร์เน็ต
ผู้ประสงค์จะสมัครสอบ สมัครได้ทางอินเทอร์เน็ตเท่านั้น ตั้งแต่วันที่ บัดนี้ – 23 เม.ย. 2564 ตลอด 24 ชั่วโมง ไม่เว้นวันหยุดราชการ
ดาวน์โหลดไฟล์ “กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช
แผนที่ ประกาศ 1 | 2 | เว็บรับสมัคร |