Categories
งานราชการ-รัฐวิสาหกิจ เปิดสอบที่น่าสนใจ

กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน เปิดรับสมัครสอบข้าราชการ 1 เม.ย. -29 เม.ย. 2564 รวม 12 อัตรา,

กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน

ลิงค์: https://ehenx.com/13214/ หรือ
ตำแหน่ง: วิศวกรปฏิบัติการ,วิศวกรปฏิบัติการ(ด้านโยธา),วิศวกรปฏิบัติการ(ด้านไฟฟ้า),นักวิชาการเงินและบัญชีปฏิบัติการ,นักวิเคราะห์นโยบายและแผนปฏิบัติการ,เจ้าพนักงานการเงินและบัญชีปฏิบัติงาน,เจ้าพนักงานพัสดุปฏิบัติงาน
ระดับการศึกษา: ปวส.ทุกสาขา,ปวส.,ปริญญาตรี
อัตราเงินเดือน: 11,500-16,500
อัตราว่าง: 12
ปฏิบัติงานที่: กรุงเทพมหานคร
เปิดรับสมัครตั้งแต่: 1 เม.ย. – 29 เม.ย. 2564
**เฉพาะผู้สอบผ่านภาค ก. ก.พ.**



กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน เปิดรับสมัคร

ประกาศกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน

เรื่อง รับสมัครสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการ

ด้วยกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงานจะดำเนินการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุบุคคล เข้ารับราชการในตำแหน่งวิศวกรปฏิบัติการ ตำแหน่งวิศวกรปฏิบัติการ (ด้านโยธา) ตำแหน่งวิศวกรปฏิบัติการ (ด้านไฟฟ้า) ตำแหน่งนักวิชาการเงินและบัญชีปฏิบัติการ ตำแหน่งนักวิเคราะห์นโยบายและแผนปฏิบัติการ (ด้านภาษาอังกฤษ) ตำแหน่งเจ้าพนักงานการเงินและบัญชีปฏิบัติงาน และตำแหน่งเจ้าพนักงานพัสดุปฏิบัติงาน ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕๓ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ และ หนังสือสำนักงาน ก.พ. ที่ นร ๑๐๐๔/ว ๑๗ ลงวันที่ ๑๑ ธันวาคม ๒๕๕๖ เรื่อง การสรรหาโดยการสอบแข่งขัน เพื่อบรรจุบุคคลเข้ารับราชการ จึงประกาศรับสมัครสอบแข่งขันฯ ดังรายละเอียดต่อไปนี้

ชื่อตำแหน่ง กลุ่มงาน และรายละเอียดการจ้างงาน

วิศวกรปฏิบัติการ

ประเภท : วิชาการ ระดับปฏิบัติการ

อัตราว่าง : 3 อัตรา

อัตราเงินเดือน : 15000-16500 บาท

คุณวุฒิ : ปริญญาตรี


วิศวกรปฏิบัติการ (ด้านโยธา)

ประเภท : วิชาการ ระดับปฏิบัติการ

อัตราว่าง : 1 อัตรา

อัตราเงินเดือน : 15000-16500 บาท

คุณวุฒิ : ปริญญาตรี


วิศวกรปฏิบัติการ (ด้านไฟฟ้า)

ประเภท : วิชาการ ระดับปฏิบัติการ

อัตราว่าง : 4 อัตรา

อัตราเงินเดือน : 15000-16500 บาท

คุณวุฒิ : ปริญญาตรี


นักวิชาการเงินและบัญชีปฏิบัติการ

ประเภท : วิชาการ ระดับปฏิบัติการ

อัตราว่าง : 1 อัตรา

อัตราเงินเดือน : 15000-16500 บาท

คุณวุฒิ : ปริญญาตรี


นักวิเคราะห์นโยบายและแผนปฏิบัติการ

ประเภท : วิชาการ ระดับปฏิบัติการ

อัตราว่าง : 1 อัตรา

อัตราเงินเดือน : 15000-16500 บาท

คุณวุฒิ : ปริญญาตรี


เจ้าพนักงานการเงินและบัญชีปฏิบัติงาน

ประเภท : ทั่วไป ระดับปฏิบัติงาน

อัตราว่าง : 1 อัตรา

อัตราเงินเดือน : 11500-12650 บาท

คุณวุฒิ : ปวส.


เจ้าพนักงานพัสดุปฏิบัติงาน

ประเภท : ทั่วไป ระดับปฏิบัติงาน

อัตราว่าง : 1 อัตรา

อัตราเงินเดือน : 11500-12650 บาท

คุณวุฒิ : ปวส.ทุกสาขา*

คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง

วิศวกรปฏิบัติการ

ได้รับปริญญาตรี หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกันในสาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์


วิศวกรปฏิบัติการ (ด้านโยธา)

ได้รับปริญญาตรีหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกันในสาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์ ทางวิศวกรรมโยธา


วิศวกรปฏิบัติการ (ด้านไฟฟ้า)

ได้รับปริญญาตรีหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกันในสาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์ ทางวิศวกรรมไฟฟ้า ทางวิศวกรรมไฟฟ้ากำลัง ทางวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์


นักวิชาการเงินและบัญชีปฏิบัติการ

ได้รับปริญญาตรีหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกันในสาขาวิชาการบัญชี หรือ สาขาวิชาบริหารธุรกิจ หรือ สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ 


นักวิเคราะห์นโยบายและแผนปฏิบัติการ

ได้รับปริญญาตรีหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกันในสาขาวิชาภาษา วรรณคดี หรือ สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ หรือ สาขาวิชาบริหารรัฐกิจ (รัฐประศาสนศาสตร์) หรือ สาขาวิชารัฐศาสตร์ 


เจ้าพนักงานการเงินและบัญชีปฏิบัติงาน

ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในทุกสาขาวิชา 


เจ้าพนักงานพัสดุปฏิบัติงาน

ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในทุกสาขาวิชา 

ลักษณะงานที่ปฏิบัติ

วิศวกรปฏิบัติการ

โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้

1. ด้านการปฏิบัติการ

  1. ตรวจสอบแผนผัง แผนปฏิบัติการ รายการคำนวณ รูปแบบทางวิศวกรรมต่าง ๆ ในงานที่รับผิดชอบให้ถูกต้องตามหลักกฎหมาย หลักวิชาการและมาตรฐานสากล เพื่อให้เกิดความมั่นคงแข็งแรง ปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน
  2. หาข้อมูลและตรวจสอบด้านวิศวกรรม กรณีเกิดอุบัติเหตุในพื้นที่ปฏิบัติงาน สถานประกอบการ และพิจารณาสั่งการให้เป็นไปตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
  3. ค้นคว้า ทดลอง และตรวจสอบการใช้พลังงานในอาคารและโรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ เพื่อการอนุรักษ์ ประหยัดและปลอดภัยในการใช้พลังงานของประเทศ
  4. สำรวจ ออกแบบ วิเคราะห์ ค้นคว้า ทดสอบและตรวจสอบงานด้านวิศวกรรม
  5. สาธิตและถ่ายทอดเทคโนโลยีเกี่ยวกับงานวิศวกรรม และการจัดการสิ่งแวดล้อม
    โดยประยุกต์เทคโนโลยีที่เหมาะสมจากภูมิปัญญาท้องถิ่นและเทคโนโลยีสากล เพื่อเพิ่มศักยภาพของท้องถิ่นและการมีส่วนร่วมในงานวิศวกรรม และการจัดการสิ่งแวดล้อม
  6. ตรวจสอบ ควบคุม กำกับ ดูแล การประกอบกิจการ เพื่อให้การดำเนินงานของสถานประกอบการถูกต้องตามหลักเกณฑ์ที่วางไว้
  7. ตรวจสอบ การขอจดทะเบียน การแจ้ง การขออนุญาต ตั้ง ขยาย ย้าย ยกเลิก ต่อใบอนุญาต การประกอบกิจการ เพื่อให้การประกอบกิจการเป็นไปตามกฎหมาย หลักเกณฑ์ และเงื่อนไขที่กำหนดไว้
  8. ปฏิบัติงาน กำกับดูแลการซ่อมบำรุงรักษา ผลิตและสอบเทียบ เครื่องมือและอุปกรณ์วิทยาศาสตร์ และระบบไฟฟ้า ระบบสื่อสาร และเครื่องจักรกล เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  9. ศึกษา รวบรวม วิเคราะห์ข้อมูล ออกแบบ และกำหนดรูปแบบรายการ เครื่องมือ และอุปกรณ์วิทยาศาสตร์ ระบบไฟฟ้า ระบบสื่อสาร และเครื่องจักรกล เพื่อการผลิตและการพัฒนาและปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงาน
  10. ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมาย

2. ด้านการวางแผน

วางแผนการทำงานที่รับผิดชอบร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงานหรือโครงการเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายผลสัมฤทธิ์ที่กำหนด

3. ด้านการประสานงาน

  1. ประสานการทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน เพื่อให้เกิดความร่วมมือและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนดไว้
  2. ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แก่บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย

4. ด้านการบริการ

  1. ให้คำแนะนำ ตอบปัญหาและชี้แจง เกี่ยวกับงานวิศวกรรมต่าง ๆ ที่อยู่ในความรับผิดชอบ
    ในระดับเบื้องต้นแก่ผู้ประกอบการ หน่วยงานราชการ เอกชน หรือประชาชนทั่วไป เพื่อให้ผู้ที่สนใจได้ทราบข้อมูลและความรู้ต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์
  2. จัดเก็บข้อมูลเบื้องต้น ทำสถิติ ปรับปรุง หรือจัดทำฐานข้อมูลหรือระบบสารสนเทศ
    ที่เกี่ยวกับงานวิศวกรรมต่าง ๆ เพื่อให้สอดคล้องและสนับสนุนภารกิจของหน่วยงาน และใช้ประกอบการพิจารณากำหนดนโยบาย แผนงาน หลักเกณฑ์ มาตรการต่าง ๆ

วิศวกรปฏิบัติการ (ด้านโยธา)

โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้

1. ด้านการปฏิบัติการ

  1. ตรวจสอบแผนผัง แผนปฏิบัติการ รายการคำนวณ รูปแบบทางวิศวกรรมต่าง ๆ โดยเฉพาะทางวิศวกรรมโยธา ในงานที่รับผิดชอบให้ถูกต้องตามหลักกฎหมาย หลักวิชาการและมาตรฐานสากล เพื่อให้เกิดความมั่นคงแข็งแรง ปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน
  2. หาข้อมูลและตรวจสอบด้านวิศวกรรมโยธากรณีเกิดอุบัติเหตุในพื้นที่ปฏิบัติงาน สถานประกอบการ และพิจารณาสั่งการให้เป็นไปตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
  3. ค้นคว้า ทดลอง และตรวจสอบการใช้พลังงานในอาคารและโรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ เพื่อการอนุรักษ์ ประหยัดและปลอดภัยในการใช้พลังงานของประเทศ
  4. สำรวจ ออกแบบ วิเคราะห์ ค้นคว้า ทดสอบและตรวจสอบงานด้านโยธา
  5. สาธิตและถ่ายทอดเทคโนโลยีเกี่ยวกับงานวิศวกรรม และการจัดการสิ่งแวดล้อม
    โดยประยุกต์เทคโนโลยีที่เหมาะสมจากภูมิปัญญาท้องถิ่นและเทคโนโลยีสากล เพื่อเพิ่มศักยภาพของท้องถิ่นและการมีส่วนร่วมในงานวิศวกรรม และการจัดการสิ่งแวดล้อม
  6. ตรวจสอบ ควบคุม กำกับ ดูแล การประกอบกิจการ เพื่อให้การดำเนินงานของสถานประกอบการถูกต้องตามหลักเกณฑ์ที่วางไว้
  7. ตรวจสอบ การขอจดทะเบียน การแจ้ง การขออนุญาต ตั้ง ขยาย ย้าย ยกเลิก ต่อใบอนุญาต การประกอบกิจการ เพื่อให้การประกอบกิจการเป็นไปตามกฎหมาย หลักเกณฑ์ และเงื่อนไขที่กำหนดไว้
  8. ปฏิบัติงาน กำกับดูแลการซ่อมบำรุงรักษาด้านโยธา และระบบไฟฟ้า เครื่องจักรกล เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  9. ศึกษา รวบรวม วิเคราะห์ข้อมูล ออกแบบด้านโยธา เพื่อการผลิตและการพัฒนาและปรับปรุงประสิทธิภาพของโรงไฟฟ้า
  10. ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมาย

2. ด้านการวางแผน

วางแผนการทำงานที่รับผิดชอบร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงานหรือโครงการเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายผลสัมฤทธิ์ที่กำหนด

3. ด้านการประสานงาน

  1. ประสานการทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน เพื่อให้เกิดความร่วมมือและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนดไว้
  2. ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แก่บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย

4. ด้านการบริการ

  1. ให้คำแนะนำ ชี้แจง ตอบปัญหาและเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับงานวิศวกรรมโยธาและโครงสร้างพื้นฐานในความรับผิดชอบในระดับเบื้องต้นแก่หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนทั่วไป เพื่อให้ได้ข้อมูลความรู้ต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ รวมทั้งการมีส่วนร่วม
  2. จัดเก็บข้อมูลเบื้องต้น ทำสถิติ ปรับปรุง จัดทำฐานข้อมูลหรือระบบสารสนเทศ
    ที่เกี่ยวกับงานวิศวกรรมโยธาและโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อให้สอดคล้องและสนับสนุนภารกิจของหน่วยงาน และใช้ประกอบการพิจารณากำหนดนโยบาย แผนงาน หลักเกณฑ์ มาตรการต่าง ๆ 

วิศวกรปฏิบัติการ (ด้านไฟฟ้า)

โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้

1. ด้านการปฏิบัติการ

  1. ตรวจสอบแผนผัง แผนปฏิบัติการ รายการคำนวณ รูปแบบทางวิศวกรรมต่าง ๆ โดยเฉพาะทางวิศวกรรมไฟฟ้า ในงานที่รับผิดชอบให้ถูกต้องตามหลักกฎหมาย หลักวิชาการและมาตรฐานสากล เพื่อให้เกิดความมั่นคงแข็งแรง ปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน
  2. หาข้อมูลและตรวจสอบด้านวิศวกรรมไฟฟ้า กรณีเกิดอุบัติเหตุในพื้นที่ปฏิบัติงาน สถานประกอบการ และพิจารณาสั่งการให้เป็นไปตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
  3. ค้นคว้า ทดลอง และตรวจสอบการใช้พลังงานในอาคารและโรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ เพื่อการอนุรักษ์ ประหยัดและปลอดภัยในการใช้พลังงานของประเทศ
  4. สำรวจ ออกแบบ วิเคราะห์ ค้นคว้า ทดสอบและตรวจสอบงานด้านระบบไฟฟ้า เครื่องจักรกล
  5. สาธิตและถ่ายทอดเทคโนโลยีเกี่ยวกับงานวิศวกรรม และการจัดการสิ่งแวดล้อม
    โดยประยุกต์เทคโนโลยีที่เหมาะสมจากภูมิปัญญาท้องถิ่นและเทคโนโลยีสากล เพื่อเพิ่มศักยภาพของท้องถิ่นและการมีส่วนร่วมในงานวิศวกรรม และการจัดการสิ่งแวดล้อม
  6. ตรวจสอบ ควบคุม กำกับ ดูแล การประกอบกิจการ เพื่อให้การดำเนินงานของสถานประกอบการถูกต้องตามหลักเกณฑ์ที่วางไว้
  7. ตรวจสอบ การขอจดทะเบียน การแจ้ง การขออนุญาต ตั้ง ขยาย ย้าย ยกเลิก ต่อใบอนุญาต การประกอบกิจการ เพื่อให้การประกอบกิจการเป็นไปตามกฎหมาย หลักเกณฑ์ และเงื่อนไขที่กำหนดไว้
  8. ปฏิบัติงาน กำกับ ดูแล การซ่อมบำรุงรักษางานด้านไฟฟ้า โครงข่ายไฟฟ้า และระบบไฟฟ้า เครื่องจักรกล เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  9. ศึกษา รวบรวม วิเคราะห์ข้อมูล ออกแบบด้านไฟฟ้า เพื่อการผลิตและการพัฒนาและปรับปรุงประสิทธิภาพของโรงไฟฟ้า
  10. ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมาย

2. ด้านการวางแผน

วางแผนการทำงานที่รับผิดชอบร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงานหรือโครงการเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายผลสัมฤทธิ์ที่กำหนด

3. ด้านการประสานงาน

  1. ประสานการทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน เพื่อให้เกิดความร่วมมือและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนดไว้
  2. ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แก่บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย

4. ด้านการบริการ

  1. ให้คำแนะนำ ชี้แจง ตอบปัญหาและเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับงานวิศวกรรมไฟฟ้าและโครงสร้างพื้นฐานในความรับผิดชอบในระดับเบื้องต้นแก่หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนทั่วไป เพื่อให้ได้ข้อมูลความรู้ต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ รวมทั้งการมีส่วนร่วม
  2. จัดเก็บข้อมูลเบื้องต้น ทำสถิติ ปรับปรุง จัดทำฐานข้อมูลหรือระบบสารสนเทศ
    ที่เกี่ยวกับงานวิศวกรรมไฟฟ้า เพื่อให้สอดคล้องและสนับสนุนภารกิจของหน่วยงาน และใช้ประกอบการพิจารณากำหนดนโยบาย แผนงาน หลักเกณฑ์ มาตรการต่าง ๆ 

นักวิชาการเงินและบัญชีปฏิบัติการ

โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้

1. ด้านการปฏิบัติการ

  1. จัดทำบัญชี เอกสารรายงานความเคลื่อนไหวทางการเงิน ทั้งเงินในและเงินนอกงบประมาณ เงินทุนหมุนเวียน เพื่อแสดงสถานะทางการเงินและใช้เป็นฐานข้อมูลที่ถูกต้องตามระเบียบวิธีการบัญชีของส่วนราชการ
  2. รวบรวมข้อมูล และรายงานการเงินของส่วนราชการ เพื่อพร้อมที่จะปรับปรุงข้อมูลให้ถูกต้องและทันสมัย
  3. จัดทำและจัดสรรงบประมาณแก่หน่วยงานของรัฐเพื่อให้การจัดสรรงบประมาณตรงกับความจำเป็นและวัตถุประสงค์ของแต่ละหน่วยงาน
  4. ศึกษาวิเคราะห์ผลการใช้จ่ายเงินงบประมาณของหน่วยงานภาครัฐ เพื่อให้การใช้จ่ายเงินเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงการจัดทำและจัดสรรงบประมาณ
  5. ดูแลการรับและจ่ายเงิน สถานะทางการเงิน ตรวจสอบเอกสารสำคัญการรับ-จ่าย เพื่อให้การรับ-จ่ายเงินขององค์กรมีประสิทธิภาพ การปฏิบัติการถูกต้องตามระเบียบปฏิบัติของราชการ
  6. ถ่ายทอดความรู้ด้านการเงินและบัญชี แก่เจ้าหน้าที่ระดับรองลงมา เช่น ให้คำแนะนำในการปฏิบัติงาน วางโครงการกำหนดหลักสูตรและฝึกอบรม จัดทำคู่มือประจำสำหรับการฝึกอบรมและวิธีใช้อุปกรณ์เครื่องมือที่ถูกต้อง เป็นต้น เพื่อถ่ายทอดความรู้ที่เป็นประโยชน์ในการปฏิบัติงานตามมาตรฐานและข้อกำหนด

2. ด้านการวางแผน

  Youtube: iqepin LINE it! เพิ่มเพื่อน  

วางแผนการทำงานที่รับผิดชอบ ร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงาน หรือโครงการ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ที่กำหนด

3. ด้านการประสานงาน

  1. ประสานการทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน เพื่อให้เกิดความร่วมมือและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนด
  2. ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แก่บุคคลหรือหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย

4. ด้านการบริการ

  1. ให้คำแนะนำ ตอบปัญหาและชี้แจงเกี่ยวกับงานการเงินและบัญชีที่ตนมีความรับผลิตชอบในระดับเบื้องต้นแก่หน่วยงานราชการ เอกชน หรือประชาชนทั่วไป เพื่อให้ผู้ที่สนใจได้ทราบข้อมูลและความรู้ต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์
  2. จัดเก็บข้อมูลเบื้องต้น ทำสถิติ ปรับปรุง หรือจัดทำฐานข้อมูลหรือระบบสารสนเทศที่เกี่ยวกับงานการเงินและบัญชี เพื่อให้สอดคล้องและสนับสนุนภารกิจของหน่วยงาน และใช้ประกอบการพิจารณากำหนดนโยบาย แผนงาน หลักเกณฑ์ มาตรการต่าง ๆ 

นักวิเคราะห์นโยบายและแผนปฏิบัติการ

หน้าที่ความรับผิดชอบ

ปฏิบัติงานในฐานะผูปฏิบัติงานระดับตน ที่ตองใชความรูความสามารถทางวิชาการในการ
ทำงาน ปฏิบัติงานดานวิเคราะหนโยบายและแผน ภายใตการกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และสามารถใช้ ภาษาอังกฤษในการปฏิบัติงานในหน้าที่ได้อย่างดี โดยใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการติดต่อประสานงาน เจรจา สื่อสาร กับบุคคล/หน่วยงาน/องค์กรระหว่างประเทศได้โดยสรุปรายงาน สรุปประเด็นความสำคัญที่เกิดจากการติดต่อ ประสานงานต่อผู้บังคับบัญชาได้ จัดทำเอกสารทางราชการเป็นภาษาต่างประเทศ การแปลเอกสาร การวิเคราะห์และประมวลนโยบาย มาตรการ เทคโนโลยี และเรื่องอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างความร่วมมือ ระหว่างประเทศด้านพลังงาน รวมทั้ง สามารถกำหนดเป็นยุทธศาสตร์ความร่วมมือระหว่างประเทศได้ จัดประชุมนานาชาติ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ไดรับมอบหมายได้

โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้

1. ด้านการปฏิบัติการ

  1. ร่าง โต้ตอบ หนังสือเป็นภาษาอังกฤษ แปลเอกสารภาษาไทยและภาษาอังกฤษ เพื่อการติดต่อประสานงาน เจรจา สื่อสาร กับบุคคล/หน่วยงาน/องค์กรระหว่างประเทศได้ พร้อมทั้งจัดทำ บันทึกสรุปผลการประชุม การเจรจา หรือประสานงานความร่วมมือระหว่างประเทศ เพื่อนำเสนอผู้บังคับบัญชา
  2. รวบรวม วิเคราะหและประมวลนโยบายของรัฐบาลและสถานการณเศรษฐกิจ
    การเมือง และสังคม ทั้งในและตางประเทศ เพื่อนำมาสรุปเสนอประกอบการกำหนดนโยบายและเปาหมาย ของสวนราชการ หรือนโยบายแผนงาน และโครงการทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง การบริหาร หรือความ มั่นคง และจัดเตรียมข้อมูล ท่าที สำหรับการเจรจาความร่วมมือด้านพลังงานระหว่างประเทศ เพื่อให้บรรลุตาม เป้าหมายที่กำหนด
  3. รวบรวมขอมูลและศึกษาวิเคราะหเบืองตน เกี่ยวกับภารกิจหลักและแผนกลยุทธของ
    สวนราชการ หรือทิศทางการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม การเมืองระหว่างประเทศ เพื่อวางแผนกำหนดแผนการ ปฏิบัติงาน หรือโครงการใหสามารถบรรลุภารกิจที่กำหนดไว
  4. วิเคราะหนโยบายของสวนราชการ หรือนโยบาย แผนงาน และโครงการทาง
    เศรษฐกิจ สังคม การเมือง การบริหาร หรือความมั่นคง และเสนอขอคิดเห็น เพื่อขวยจัดทำแผน การปฏิบัติงาน แผนงาน โครงการ หรือกิจกรรมไดตามวัตถุประสงคที่ตั้งไว
  5. สำรวจ รวบรวม และประมวลผลขอมูลการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและ
    ประเด็นปญหาทางเศรษฐกิจการเมืองและสังคม ทั้งในและตางประเทศเพื่อเปนขอมูลสำหรับการจัดทำแผนงาน หรือกำหนดยุทธศาสตร
  6. ศึกษาวิเคราะหความสัมพันธระหวางยุทธศาสตรและนโยบายของรัฐบาล
    เพื่อประกอบการเสนอแนะแนวทางการประสานผลักดันยุทธคาสตรและนโยบายตลอดจนการติดตาม ประเมิน ผลใหสอดคลองไปในแนวทางเดียวกัน

2. ด้านการวางแผน

วางแผนการทำงานที่รับผิดชอบ ร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงาน หรือ โครงการ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายและผลสัมฤทธที่กำหนด

3. ด้านการประสานงาน

  1. ประสานการทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน เพื่อให้เกิด ความร่วมมือและผลสัมฤทธตามที่กำหนด
  2. ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แก่บุคคลหรือหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องอย่างชัดเจน เพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย

4. ด้านการบริการ

  1. รวบรวมขอมูลเพื่อเผยแพรและถายทอดองคความรู้ที่เกี่ยวกับการจัดทำแผนงาน โครงการความร่วมมือระหว่างประเทศ
  2. ใหคำปรึกษาแนะนำตอบปญหาและชี้แจงเรื่องตางๆ เกี่ยวกับงานนโยบายและแผน เพื่อแกปญหาในการปฏิบัติงาน

เจ้าพนักงานการเงินและบัญชีปฏิบัติงาน

หน้าที่ความรับผิดชอบ
ปฏิบัติงานในฐานะผูปฏิบัติงานระดับตนซึ่งไมจำเปนตองใชผูสำเร็จการศึกษาระดับปริญญา
ปฏิบัติงานดานการเงินและบัญชีตามแนวทาง แบบอยาง ขั้นตอน และวิธีการที่ชัดเจน ภายใต การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ไดรับมอบหมาย

โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้

1. ดานการปฏิบัติการ

  1. จัดทำและปฏิบัติงานดานเอกสารทางการเงินและบัญชีในระดับตน เพื่อใหงานเปนไปตาม ระเบียบ ข้อบังคับ หนังสือสั่งการและตามเปาหมายที่กำหนด
  2. รวบรวมรายละเอียดการจัดทำงบประมาณ เพื่อใชประกอบในการทำงบประมาณ ประจำป และจัดทำแผนการเบิกจ่ายเงินของกลุ่มงาน เพื่อให้การเบิกจ่ายงบประมาณเป็นไปตามแผนการเบิกจ่ายเงินของ หนวยงาน
  3. รวบรวมและตรวจสอบความถูกต้องและความน่าเชื่อถือของข้อมูล ตัวเลข หลักฐานการทำ
    สัญญาและเอกสารต่าง ๆ ทางด้านการเงิน การบัญชี เพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปอย่างถูกต้องและได้ผลตรงกับ หลักฐานที่ขึ้นจริง
  4. ตรวจสอบการปฏิบัติงานเกี่ยวกับงบประมาณ การเงิน บัญชี พัสดุ และการบริหารงานด้าน
    อื่น ๆ เพื่อดูแลให้การใช้งบประมาณและทรัพยากรเป็นไปอย่างประหยัด มีประสิทธิภาพสูง และตรงตาม วัตถุประสงค์ที่กำหนด
  5. ร่างหนังสือตอบโต้เกี่ยวกับการเงิน บัญชี งบประมาณ เพื่อให้เกิดความถูกต้องตรงตาม รูปแบบและระเบียบที่กำหนด
  6. ศึกษาและติดตามองค์ความรูใหม่ๆ กฎหมาย และระเบียบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำมา ประยุกต้ใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

2. ดานการบริการ

  1. ใหคำแนะนำ ตอบปญหา ชี้แจงเกี่ยวกับงานการเงินและบัญชีแกเจาหนาที่ภายในหน่วยงาน เพื่อถายทอดความรูแก่ผูที่สนใจ
  2. ประสานงานกับทุกระดับหนวยงาน เพื่อขอความขวยเหลือ และความรวมมือในงานการเงิน และบัญชี และแลกเปลี่ยนความรูความเชี่ยวชาญที่เปนประโยชนตอการทำงานของหนวยงาน
  3. ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริงแก่บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย

เจ้าพนักงานพัสดุปฏิบัติงาน

หน้าที่ความรับผิดชอบ

ปฏิบัติงานในฐานะผูปฏิบัติงานระดับตนซึ่งไมจำเปนตองใชผูสำเร็จการศึกษาระดับปริญญา
ปฏิบัติงานพัสดุ ตามแนวทาง แบบอยาง ขั้นตอน และวิธีการที่ชัดเจน ภายใต การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ไดรับมอบหมาย

โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้

1. ดานการปฏิบัติการ

  1. ปฏิบัติงานขั้นด้นเกี่ยวกับงานพัสดุในการจัดหา จัดซื้อ ว่าจ้าง การเก็บรักษา
    นำส่งการ ซ่อมแซม และบำรุงรักษาพัสดุ ครุภัณฑ์ อุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ต่าง ๆ เพื่อให้อยู่ในสภาพดี พร้อมต่อการใช้งาน
  2. ทำทะเบียนการเบิกจ่ายพัสดุ การเก็บรักษาใบสำคัญหลักฐานและเอกสารเกี่ยวกับ พัสดุ เพื่อรวบรวมไว้เป็นข้อมูลในการดำเนินงาน
  3. ร่างและตรวจซื้อสัญญาซื้อ สัญญาจ้าง หนังสือโต้ตอบ บันทึกย่อเรื่องเกี่ยวกับงาน พัสดุ เพื่อเป็นหลักฐานในการดำเนินงาน
  4. รายงาน สรุปความเห็นเกี่ยวกับงานพัสดุ เพื่อจัดทำรายงาน และนำเสนอ ผู้บังคับบัญชา
    ในหน่วยงาน
  5. ศึกษาและเสนอความเห็นเกี่ยวกับระเบียบงานพัสดุ เพื่อร่วมพัฒนาให้ระเบียบการ
    ปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพและรวดเร็วยิ่งขั้น
  6. ชี้แจงรายละเอียดข้อเท็จจริงเกี่ยวกับงานพัสดุให้การปฏิบัติงานมีความโปร่งใส
    ตรวจสอบได้

2. ด้านการบริการ

  1. ให้คำแนะนำเกี่ยวกับระเบียบและวิธีการปฏิบัติงานที่อยู่ในความรับผิดชอบแก่ผู้ร่วมงาน หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อความเข้าใจอันดีในการปฏิบัติงาน และให้การดำเนินงานสำเร็จลุล่วง
  2. ประสานงานกับบุคคลภายในหน่วยงานเดียวกัน ต่างหน่วยงาน หรือประชาชน ทั่วไป เพื่อให้บริการ หรือขอความช่วยเหลือในด้านที่ตนรับผิดชอบ

วิชาที่สอบ

วิศวกรปฏิบัติการ

ทดสอบความรู้ ความสามารถดังต่อไปนี้ โดยวิธีสอบข้อเขียน (คะแนนเต็ม ๒๐๐ คะแนน)

ส่วนที่ ๑ ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการปฏิบัติงานในตำแหน่ง (๑๗๐ คะแนน)

  • ความรู้เกี่ยวกับพื้นฐานหลักวิชาการวิศวกรรมศาสตร์ เกี่ยวกับด้านไฟฟ้า เคมี เครื่องกล ที่จำเป็นตามลักษณะงานที่ปฏิบัติ
  • ความรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์พลังงานและพลังงานทดแทน
  • ความรู้เกี่ยวกับ Internet of Things (IOT) การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ที่เกี่ยวข้องกับงานที่ปฏิบัติ

ส่วนที่ ๒ ความรู้ และทักษะด้านภาษาอังกฤษ (๓๐ คะแนน)


วิศวกรปฏิบัติการ (ด้านโยธา)

หลักสูตรและวิธีการสอบแข่งขันเพื่อวัดความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง

ทดสอบความรู้ ความสามารถดังต่อไปนี้ โดยวิธีสอบข้อเขียน (คะแนนเต็ม ๒๐๐ คะแนน)

ส่วนที่ ๑ ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการปฏิบัติงานในตำแหน่ง (๑๗๐ คะแนน)

  • ความรู้เกี่ยวกับหลักวิชาการวิศวกรรมโยธาที่จำเป็นในงานที่ปฏิบัติ
  • ความรู้เกี่ยวกับกฎระเบียบควบคุมการประกอบวิชาชีพวิศวกรรมของสภาวิศวกร
  • ความรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์พลังงานและพลังงานทดแทน
  • ความรู้เกี่ยวกับ Internet of Things (IOT) การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ที่เกี่ยวข้องกับงานที่ปฏิบัติ

ส่วนที่ ๒ ความรู้ และทักษะด้านภาษาอังกฤษ (๓๐ คะแนน)


วิศวกรปฏิบัติการ (ด้านไฟฟ้า)

หลักสูตรและวิธีการสอบแข่งขันเพื่อวัดความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง

ทดสอบความรู้ ความสามารถดังต่อไปนี้ โดยวิธีสอบข้อเขียน (คะแนนเต็ม ๒๐๐ คะแนน)

ส่วนที่ ๑ ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการปฏิบัติงานในตำแหน่ง (๑๗๐ คะแนน)

  • ความรู้เกี่ยวกับหลักวิชาการวิศวกรรมไฟฟ้า วิศวกรรมไฟฟ้ากำลัง วิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ที่จำเป็นในงานที่ปฏิบัติ
  • ความรู้เกี่ยวกับกฎระเบียบควบคุมการประกอบวิชาชีพวิศวกรรมของสภาวิศวกร
  • ความรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์พลังงานและพลังงานทดแทน
  • ความรู้เกี่ยวกับ Internet of Things (IOT) การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ที่เกี่ยวข้องกับงานที่ปฏิบัติ

ส่วนที่ ๒ ความรู้ และทักษะด้านภาษาอังกฤษ (๓๐ คะแนน) 


นักวิชาการเงินและบัญชีปฏิบัติการ

หลักสูตรและวิธีการสอบแข่งขันเพื่อวัดความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง

ทดสอบความรู้ ความสามารถดังต่อไปนี้ โดยวิธีสอบข้อเขียน (คะแนนเต็ม ๒๐๐ คะแนน)

ส่วนที่ ๑ ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการปฏิบัติงานในตำแหน่ง (๑๘๐ คะแนน)

  • ความรู้เกี่ยวกับงานวิชาการเงินและบัญชีตามระเบียบวิธีปฏิบัติราชการ ที่จำเป็นในงานที่ปฏิบัติ
  • ความรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์พลังงานและพลังงานทดแทน
  • ความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์เบื้องต้น

ส่วนที่ ๒ ความรู้ และทักษะด้านภาษาอังกฤษ (๒๐ คะแนน) 


นักวิเคราะห์นโยบายและแผนปฏิบัติการ

หลักสูตรและวิธีการสอบแข่งขันเพื่อวัดความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง

ทดสอบความรู้ ความสามารถดังต่อไปนี้ โดยวิธีสอบข้อเขียน (คะแนนเต็ม ๒๐๐ คะแนน)

ส่วนที่ ๑ ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการปฏิบัติงานในตำแหน่ง (๑๐๐ คะแนน)

  • ความรู้เกี่ยวกับงานด้านวิเคราะห์นโยบายและแผน ที่จำเป็นในงานที่ปฏิบัติ
  • ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการประสานงาน เจรจาต่อรอง ระหว่างหน่วยงานภายในประเทศและระหว่างประเทศ
  • ความรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์พลังงานและพลังงานทดแทน
  • ความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์เบื้องต้น
    ส่วนที่ ๒ ความรู้ และทักษะด้านภาษาอังกฤษ (๑๐๐ คะแนน)
  • ความรู้ด้านภาษาอังกฤษ โดยเน้นทางด้านแกรมม่า คำศัพท์ภาษาอังกฤษ ทักษะการอ่าน 

เจ้าพนักงานการเงินและบัญชีปฏิบัติงาน

หลักสูตรและวิธีการสอบแข่งขันเพื่อวัดความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง

ทดสอบความรู้ ความสามารถดังต่อไปนี้ โดยวิธีสอบข้อเขียน (คะแนนเต็ม ๒๐๐ คะแนน)

ส่วนที่ ๑ ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการปฏิบัติงานในตำแหน่ง (๑๘๐ คะแนน)

  • ความรู้เกี่ยวกับงานการเงินและบัญชีตามระเบียบวิธีปฏิบัติราชการ ที่จำเป็นในงานที่ปฏิบัติ
  • ความรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์พลังงานและพลังงานทดแทน
  • ความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์เบื้องต้น

ส่วนที่ ๒ ความรู้ และทักษะด้านภาษาอังกฤษ (๒๐ คะแนน) 


เจ้าพนักงานพัสดุปฏิบัติงาน

หลักสูตรและวิธีการสอบแข่งขันเพื่อวัดความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง

ทดสอบความรู้ ความสามารถดังต่อไปนี้ โดยวิธีสอบข้อเขียน (คะแนนเต็ม ๒๐๐ คะแนน)

ส่วนที่ ๑ ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการปฏิบัติงานในตำแหน่ง (๑๘๐ คะแนน)

  • ความรู้เกี่ยวกับงานด้านพัสดุตามระเบียบวิธีปฏิบัติราชการ ที่จำเป็นในงานที่ปฏิบัติ
  • ความรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖๐
  • ความรู้เกี่ยวกับระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖๐
  • ความรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์พลังงานและพลังงานทดแทน
  • ความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์เบื้องต้น

ส่วนที่ ๒ ความรู้ และทักษะด้านภาษาอังกฤษ (๒๐ คะแนน) 

วิธีการสมัครงานข้าราชการ กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน :สมัครทางอินเทอร์เน็ต  

ผู้ประสงค์จะสมัครสอบ สมัครได้ทางอินเทอร์เน็ตเท่านั้น ตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย. – 29 เม.ย. 2564 ตลอด 24 ชั่วโมง ไม่เว้นวันหยุดราชการ

ดาวน์โหลดไฟล์ “กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน

แผนที่ ประกาศ 1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | เว็บรับสมัคร | 5 | 6 | 7 |

Comments

comments