“กรมศุลกากร“
ลิงค์: https://ehenx.com/12359/ หรือ
ตำแหน่ง: นิติกรปฏิบัติการ,เจ้าพนักงานการเงินและบัญชีปฏิบัติงาน,เจ้าพนักงานธุรการปฏิบัติงาน,เจ้าพนักงานศุลกากรปฏิบัติงาน
ระดับการศึกษา: ปวส.,ปริญญาตรี
อัตราเงินเดือน: 11,500-16,500
อัตราว่าง: 50
ปฏิบัติงานที่: กรุงเทพมหานคร
เปิดรับสมัครตั้งแต่: 8 ก.พ. – 2 มี.ค. 2564
**เฉพาะผู้สอบผ่านภาค ก. ก.พ.**
—
กรมศุลกากร เปิดรับสมัคร
เรื่อง นิติกรปฏิบัติการ ตำแหน่งเจ้าพนักงานการเงินและบัญชีปฏิบัติงาน ตำแหน่งเจ้าพนักงานธุรการปฏิบัติงาน และตำแหน่งเจ้าพนักงานศุลกากรปฏิบัติงาน
ด้วย กรมศุลกากร จะดำเนินการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุบุคคลเข้ารับราชการในตำแหน่ง นิติกรปฏิบัติการ ตำแหน่งเจ้าพนักงานการเงินและบัญชีปฏิบัติงาน ตำแหน่งเจ้าพนักงานธุรการปฏิบัติงาน และตำแหน่งเจ้าพนักงานศุลกากรปฏิบัติงาน ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕๓ แห่งพระราชบัญญัติ ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ และหนังสือสำนักงาน ก.พ. ที่ นร ๑๐๐ร/ว ๑๗ ลงวันที่ ๑๑ ธันวาคม ๒๕๕๖ เรื่อง การสรรหาโดยการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุบุคคลเข้ารับราชการ จึงประกาศรับสมัครสอบแข่งขันฯ ดังรายละเอียด ต่อไปนี้
๑. ตำแหน่งที่จะบรรจุและแต่งตั้ง และเงินเดือนที่จะได้รับ
๑.๑ ตำแหน่งนิติกรปฏิบัติการ
๑.๒ ตำแหน่งเจ้าพนักงานการเงินและบัญชีปฏิบัติงาน
๑.๓ ตำแหน่งเจ้าพนักงานธุรการปฏิบัติงาน
๑.๔ ตำแหน่งเจ้าพนักงานศุลกากรปฏิบัติงาน
นิติกรปฏิบัติการ
ประเภท : วิชาการ ระดับปฏิบัติการ
อัตราว่าง : 10 อัตรา
อัตราเงินเดือน : 15000-16500 บาท
คุณวุฒิ : ปริญญาตรี
เจ้าพนักงานการเงินและบัญชีปฏิบัติงาน
ประเภท : ทั่วไป ระดับปฏิบัติงาน
อัตราว่าง : 10 อัตรา
อัตราเงินเดือน : 11500-12650 บาท
คุณวุฒิ : ปวส.
เจ้าพนักงานธุรการปฏิบัติงาน
ประเภท : ทั่วไป ระดับปฏิบัติงาน
อัตราว่าง : 10 อัตรา
อัตราเงินเดือน : 11500-12650 บาท
คุณวุฒิ : ปวส.
เจ้าพนักงานศุลกากรปฏิบัติงาน
ประเภท : ทั่วไป ระดับปฏิบัติงาน
อัตราว่าง : 20 อัตรา
อัตราเงินเดือน : 11500-12650 บาท
คุณวุฒิ : ปวส.
คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
นิติกรปฏิบัติการ
ได้รับปริญญาตรี หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชานิติศาสตร์ และเป็นผู้สอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไป ระดับปริญญาตรี ขึ้นไป ของสำนักงาน ก.พ. แล้ว
เจ้าพนักงานการเงินและบัญชีปฏิบัติงาน
1. ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาการบัญชี หรือสาขาวิชาการเงินและการธนาคาร หรือสาขาวิชาการตลาด หรือสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ หรือ
2. ได้รับอนุปริญญา หลักสูตร 3 ปี ต่อจากประกาศนียบัตรประโยคมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า ในสาขาวิชาบริหารธุรกิจ ทางการบัญชี หรือทางการเงินและการธนาคาร หรือทางการตลาด หรือทางคอมพิวเตอร์ธุรกิจ
และเป็นผู้สอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไป ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หรืออนุปริญญา ขึ้นไป ของสำนักงาน ก.พ. แล้ว
เจ้าพนักงานธุรการปฏิบัติงาน
1. ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาการบัญชี หรือสาขาวิชาการตลาด หรือสาขาวิชาการเลขานุการ หรือสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ หรือสาขาวิชาการเงินและการธนาคาร หรือสาขาวิชาธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ หรือสาขาวิชาการจัดการทรัพยากรมนุษย์ หรือสาขาวิชาการโฆษณาและประชาสัมพันธ์ หรือสาขาวิชาภาษาต่างประเทศธุรกิจ หรือสาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์ หรือสาขาวิชาการจัดการทั่วไป หรือสาขาวิชาการจัดการสำนักงาน หรือ
2. ได้รับอนุปริญญา หลักสูตร 3 ปี ต่อจากประกาศนียบัตรประโยคมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า ในสาขาวิชาบริหารธุรกิจ
และเป็นผู้สอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไป ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หรืออนุปริญญา ขึ้นไป ของสำนักงาน ก.พ. แล้ว
เจ้าพนักงานศุลกากรปฏิบัติงาน
ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาเครื่องกล หรือสาขาวิชาเครื่องมือกลและซ่อมบำรุง หรือสาขาวิชาโลหะการ หรือสาขาวิชาก่อสร้าง หรือสาขาวิชาไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ หรือสาขาวิชาพณิชยการ
และเป็นผู้สอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไป ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ขึ้นไป ของสำนักงาน ก.พ. แล้ว
๓.๑ ผู้สมัครสอบต้องมีคุณสมบัติทั่วไป และไมมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๓๖ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ ดังต่อไปนี้
ก. คุณสมบัติทั่วไป
(๑) มีสัญชาติไทย
(๒) มีอายุไม่ตํ่ากว่าสิบแปดปี นับถึงวันปิดรับสมัคร
(๓) เป็นผู้เลื่อมใสในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุขด้วยความบริสุทธใจ
ข. ลักษณะต้องห้าม
(๑) เป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
(๒) เป็นคนไร้ความสามารถ คนเสมือนไร้ความสามารถ คนวิกลจริต หรือจิตพื่นเพืเอน ไม่สมประกอบ หรือเป็นโรคตามที่กำหนดในกฎ ก.พ.
(๓) เป็นผู้อยู่ในระหว่างถูกสั่งพักราชการ หรือถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน ตามพระราชบัญญัตินี้หรือตามกฎหมายอื่น
(๔) เป็นผู้บกพร่องในศีลธรรมอันดีจนเป็นที่รังเกียจของสังคม
(๕) เป็นกรรมการหรือผู้ดำรงตำแหน่งที่รับผิดชอบในการบริหารพรรคการเมือง หรือเจ้าหน้าที่ในพรรคการเมือง
(๖) เป็นบุคคลล้มละลาย
(๗) เป็นผู้เคยต้องรับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกเพราะกระทำความผิด ทางอาญา เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาท หรือความผิดลหุโทษ
(๘) เป็นผู้เคยถูกลงโทษให้ออก ปลดออก หรือไล่ออกจากรัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่น ของรัฐ
(๙) เป็นผู้เคยถูกลงโทษให้ออกหรือปลดออก เพราะกระทำผิดวินัยตามพระราชบัญญัตินี้ หรือตามกฎหมายอื่น
(๑๐) เป็นผู้เคยถูกลงโทษไล่ออก เพราะกระทำผิดวินัยตามพระราชบัญญัตินี้ หรือตามกฎหมายอื่น
(๑๑) เป็นผู้เคยกระทำการทุจริตในการสอบเข้ารับราชการ หรือเข้าปฏิบัติงาน ในหน่วยงานของรัฐ
ผู้ที่จะเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนซึ่งมีลักษณะต้องห้ามตาม ข. (๔) (๖) (๗) (๘) (๙) (๑๐) หรือ (๑๑) ก.พ. อาจพิจารณายกเว้นให้เข้ารับราชการได้ แต่ล้าเป็นกรณีมีลักษณะต้องห้ามตาม (๘) หรือ (๙) ผู้นั้นต้องออกจากงานหรือออกจากราชการไปเกินสองปีแล้ว และในกรณีมีลักษณะต้องห้ามตาม (๑๐) ผู้นั้นต้องออกจากงานหรือออกจากราชการไปเกินสามปีแล้ว และต้องมิใช่เป็นกรณีออกจากงานหรือออกจาก ราชการเพราะทุจริตต่อหน้าที่ สำหรับผู้มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๓๖ ข. (๑) ให้มีสิทธิสมัครสอบแช่งขันได้ แต่จะมีสิทธิได้รับบรรจุเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญที่สอบแช่งขันได้ต่อเมื่อพ้นจากการเป็นผู้ดำรงตำแหน่ง ทางการเมืองแล้ว
สำหรับพระภิกษุหรือสามเณร ทางราชการไม่รับสมัครสอบและไม่อาจให้เข้าสอบแช่งขัน เพื่อบรรจุบุคคลเข้ารับราชการ ทั้งนี้ ตามหนังสือกรมสารบรรณ คณะรัฐมนตรีฝ่ายบริหาร ที่ นว ๘๙/๒๕๐๑ ลงวันที่ ๒๗ มิถุนายน ๒๕๐๑ และตามความในข้อ ๕ ของคำสั่งมหาเถรสมาคม ลงวันที่ ๑๗ มีนาคม ๒๕๓๘
๓.๒ ผู้สมัครสอบต้องมีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งตามที่ระบุไว้ในรายละเอียด แนบท้ายประกาศนี้
๓.๓ ผู้สมัครสอบต้องเป็นผู้สอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไป ในระดับเดียวกับวุฒิ ที่ใช้สมัครสอบ หรือสูงกว่า ของสำนักงาน ก.พ.
๓.๓.๑ ตำแหน่งนิติกรปฏิบัติการ ระดับปริญญาตรีขึ้นไป
๓.๓.๒ ตำแหน่งเจ้าพนักงานการเงินและบัญชีปฏิบัติงาน ระดับอนุปริญญา หรือ ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ขึ้นไป
๓.๓.๓ ตำแหน่งเจ้าพนักงานธุรการปฏิบัติงาน ระดับอนุปริญญา หรือประกาศนียบัตร วิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ขึ้นไป
๓.๓.๔ ตำแหน่งเจ้าพนักงานศุลกากรปฏิบัติงาน ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ขึ้นไป
ลักษณะงานที่ปฏิบัติ
นิติกรปฏิบัติการ
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานในระดับต้น ที่ต้องใช้ความรู้ ความสามารถทางวิชาการในการทำงานปฏิบัติงานด้านนิติการ ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
1. ด้านการปฏิบัติการ
(1) เสนอความเห็นแก่ผู้บังคับบัญชาในการตอบข้อหารือหรือวินิจฉัยปัญหากฎหมายเกี่ยวกับระเบียบของทางราชการที่มีผลกระทบต่อการดำเนินงานของหน่วยงาน เพื่อเป็นข้อมูลสนับสนุนการพิจารณาของผู้บังคับบัญชา
(2) ศึกษา วิเคราะห์ และวิจัยเพื่อปรับปรุงกฎหมายและระเบียบเกี่ยวกับหน่วยงานที่รับผิดชอบ เพื่อให้ทันกับสถานการณ์และอำนวยความสะดวกในการทำงาน โดยพิจารณาถึงความเหมาะสมและเป็นธรรมต่อทุกฝ่าย
(3) ศึกษาข้อมูล รวบรวม แสวงหาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย เสนอความเห็นในการดำเนินการเรื่องใด ๆ ที่เกี่ยวกับวินัยข้าราชการ การร้องทุกข์ การพิทักษ์ระบบคุณธรรม รวมถึงการดำเนินการใด ๆ ตามกฎหมายปกครองที่เกี่ยวข้องกับการบริหารราชการ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน และสามารถดำเนินการได้อย่างถูกต้อง
(4) รวบรวมข้อเท็จจริง และพยานหลักฐานตลอดจนข้อกฎหมายเสนอผู้บังคับบัญชา ในการดำเนินคดีของหน่วยงาน เช่น คดีแพ่ง คดีอาญา คดีปกครอง และคดีอื่น ๆ รวมทั้งการบังคับคดี
2. ด้านการวางแผน
วางแผนการทำงานที่รับผิดชอบ ร่วมดำเนินการวางแผน การทำงานของหน่วยงานหรือโครงการ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ที่กำหนด
3. ด้านการประสานงาน
(1) ประสานงานทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน เพื่อให้เกิดความร่วมมือและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนด
(2) ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แก่บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย
4. ด้านการบริการ
ให้คำปรึกษาแนะนำด้านกฎหมายแก่บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจในข้อกฎหมายที่เป็นปัญหา และให้ความรู้ถึงข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องและเป็นประโยชน์แก่การดำเนินงานของบุคคลหรือหน่วยงานดังกล่าว
เจ้าพนักงานการเงินและบัญชีปฏิบัติงาน
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ปฏิบัติงานด้านการเงินและบัญชี ตามแนวทาง แบบอย่าง ขั้นตอน และวิธีการที่ชัดเจน ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย และสามารถปฏิบัติงานเป็นผลัดหรือเป็นกะได้ โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
1. ด้านการปฏิบัติการ
(1) จัดทำและปฏิบัติงานด้านเอกสารทางการเงินและบัญชีในระดับต้น เพื่อให้งานเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด
(2) รวบรวมรายละเอียดการจัดทำงบประมาณ เพื่อใช้ประกอบในการทำงบประมาณประจำปีของหน่วยงาน
(3) ตรวจสอบและดูความถูกต้องของเอกสารสำคัญทางการเงิน เพื่อให้เกิดความถูกต้องในการปฏิบัติงาน
(4) ประสานงานในระดับฝ่ายหรือกลุ่มกับหน่วยงานราชการ เอกชน หรือประชาชนทั่วไปเพื่อขอความช่วยเหลือและร่วมมือในงานและแลกเปลี่ยนความรู้ความเชี่ยวชาญที่เป็นประโยชน์ต่อการทำงานของหน่วยงาน
2. ด้านการบริการ
(1) ให้คำแนะนำ ตอบปัญหา ชี้แจงเกี่ยวกับงานการเงินและบัญชี แก่เจ้าหน้าที่ระดับรองลงมา หน่วยงานราชการ เอกชน และประชาชนทั่วไป เพื่อถ่ายทอดความรู้ ความชำนาญแก่ผู้ที่สนใจ
(2) ประสานงานในระดับกลุ่ม กับหน่วยงานราชการ เอกชน หรือประชาชนทั่วไป เพื่อขอความช่วยเหลือและความร่วมมือในงานการเงินและบัญชี และแลกเปลี่ยนความรู้ความเชี่ยวชาญที่เป็นประโยชน์ต่อการทำงานของหน่วยงาน
เจ้าพนักงานธุรการปฏิบัติงาน
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ปฏิบัติงานด้านธุรการ สารบรรณ หรือบริการทั่วไป ตามแนวทาง แบบอย่าง ขั้นตอน และวิธีการ ที่ชัดเจนภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย และสามารถปฏิบัติงานเป็นผลัดหรือเป็นกะได้ โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
1. ด้านการปฏิบัติการ
(1) ปฏิบัติงานธุรการ งานสารบรรณ งานบริการทั่วไป เช่น การรับส่ง ลงทะเบียน ร่างหนังสือโต้ตอบ จัดเตรียมการประชุม การบันทึกข้อมูล เพื่อสนับสนุนให้งานต่าง ๆ ดำเนินไปได้โดยสะดวกราบรื่น และมีหลักฐานตรวจสอบได้
(2) รวบรวมข้อมูล จัดเก็บข้อมูลสถิติ เอกสาร หลักฐานหนังสือ ตามระเบียบวิธีปฏิบัติ เพื่อสะดวกต่อการค้นหา และเป็นหลักฐานทางราชการ
(3) ดำเนินการเกี่ยวกับพัสดุ ครุภัณฑ์ของสำนักงาน เพื่อให้มีอุปกรณ์ที่มีคุณภาพไว้ใช้งานและอยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน
(4) รวบรวมรายงานผลการปฏิบัติงานและข้อมูลต่าง ๆ นำเสนอต่อผู้บังคับบัญชา เพื่อนำไปใช้เสนอแนะและปรับปรุงการปฏิบัติงานต่อไป
2. ด้านการบริการ
(1) ติดต่อประสานงานกับบุคคลภายในหน่วยงานเดียวกันหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปด้วยความราบรื่น
(2) ให้บริการข้อมูลแก่ผู้มาติดต่อราชการ เพื่อให้ได้รับข้อมูลที่จะนำไปใช้ประโยชน์ได้ต่อไป
(3) ผลิตเอกสารต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานตามภารกิจของหน่วยงาน และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องตามที่ได้รับมอบหมาย
เจ้าพนักงานศุลกากรปฏิบัติงาน
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ปฏิบัติงานด้านศุลกากร ซึ่งมีลักษณะงานที่ปฏิบัติเกี่ยวกับการควบคุม การบรรทุกและขนถ่ายสินค้า การเก็บรักษา การตรวจสอบ การจัดเก็บภาษีอากร การป้องกันและปราบปรามการหลีกเลี่ยงและลักลอบหนีศุลกากร ตามแนวทาง แบบอย่าง ขั้นตอน และวิธีการที่ชัดเจน ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย และสามารถปฏิบัติงานเป็นผลัดหรือเป็นกะได้ โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในงานด้านต่าง ๆ ดังนี้
1. ด้านการปฏิบัติการ
(1) ปฏิบัติงานการรับและตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ในขั้นต้นของเอกสารพิธีการ เอกสารการนำสินค้าเข้าและส่งสินค้าออก ตรวจสอบพิกัดราคา และเอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับการนำเข้าและส่งออก ช่วยปฏิบัติพิธีการจัดเก็บภาษีอากร ช่วยควบคุมการบรรทุกและขนถ่ายสินค้า ช่วยตรวจคัดไปรษณียภัณฑ์เพื่อปฏิบัติพิธีการจัดเก็บภาษีอากร
(2) ช่วยปฏิบัติพิธีการจัดเก็บภาษีอากร การจัดเก็บอากรและเงินค่าธรรมเนียมต่าง ๆ
(3) รับคำร้องขอคืนภาษีอากรและเงินอื่น ๆ ช่วยตรวจสอบใบขนสินค้า และเอกสารที่ผ่านพิธีการแล้ว
(4) รับรายงานเรือเข้า – ออก ช่วยดูแลเก็บรักษาตัวอย่างสินค้า
(5) ช่วยคุมเฝ้าและคุมส่งสินค้า ช่วยตรวจวัดน้ำมันและถังบรรจุน้ำมันเพื่อทำตารางคำนวณปริมาตรความจุประจำถัง และจัดเก็บภาษีอากร
(6) รักษาการณ์และตรวจค้นเรือต่างประเทศและเรือค้าชายฝั่ง
(7) ตรวจยวดยานคนโดยสารและของที่นำติดตัวพร้อมกับผู้เดินทางเข้าประเทศหรือออกนอกประเทศ
(8) ช่วยรับและจำหน่ายของกลาง
(9) การหาข้อมูล ช่วยสืบสวนติดตามความเคลื่อนไหว และตรวจตราป้องกันปราบปรามการหลีกเลี่ยงและลักลอบหนีศุลกากร
(10) ตรวจคัดบัญชีสินค้าประเภทต่าง ๆ รวบรวมเอกสารหลักฐานเพื่อกำหนดราคาจัดทำบัตรราคา หรือเพื่อตรวจสอบราคา
(11) ตรวจสอบเอกสารที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน
(12) การประมวลหลักฐาน สอบสวนและจัดทำประวัติผู้กระทำผิดกฎหมายศุลกากร
(13) ติดตาม รวบรวมและจัดทำรายงานผลการปฏิบัติงาน นำเสนอต่อผู้บังคับบัญชาเพื่อนำไปใช้เสนอแนะและปรับปรุงการปฏิบัติงานต่อไป
2. ด้านการบริการ
(1) ติดต่อประสานงานกับบุคคลภายในหน่วยงานเดียวกันหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปด้วยความสะดวกรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
(2) ให้คำแนะนำช่วยเหลือกับผู้มาติดต่อราชการ เพื่อเป็นการให้ประชาชนเกิดความรู้ความเข้าใจและสะดวกรวดเร็วในการทำงาน
วิชาที่สอบ
นิติกรปฏิบัติการ
หลักสูตรและวิธีการสอบแข่งขันเพื่อวัดความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง
ทดสอบเพื่อวัดความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง โดยวิธีการสอบข้อเขียน จำนวน 100 ข้อ (คะแนนเต็ม 200 คะแนน) ดังนี้
– ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกรมศุลกากร
– ความรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2560 พระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2530 (ยกเว้นภาค 2 และภาค 3) และกฎกระทรวงที่เกี่ยวข้องกับงานศุลกากร
– ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายปกครอง
– ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายล้มละลาย การพิทักษ์ทรัพย์ และการฟื้นฟูกิจการ
– ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ประมวลกฎหมายอาญา ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
– ความรู้ด้านภาษาอังกฤษ
เจ้าพนักงานการเงินและบัญชีปฏิบัติงาน
ทดสอบเพื่อวัดความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง โดยวิธีการสอบข้อเขียน จำนวน 100 ข้อ (คะแนนเต็ม 200 คะแนน) ดังนี้
– ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกรมศุลกากร
– ความรู้เกี่ยวกับหลักการบัญชีเบื้องต้น
– พระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2561
– พระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561
– ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกเงินจากคลัง การรับเงิน การจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน และการนำเงินส่งคลัง พ.ศ. 2562
– ระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณ พ.ศ. 2562
– ความรู้เกี่ยวกับระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทดรองราชการ พ.ศ. 2562
– ความรู้เกี่ยวกับระบบบริหารการเงินการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์ (GFMIS)
– ความรู้ด้านภาษาอังกฤษ
เจ้าพนักงานธุรการปฏิบัติงาน
ทดสอบเพื่อวัดความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง โดยวิธีการสอบข้อเขียน จำนวน 100 ข้อ (คะแนนเต็ม 200 คะแนน) ดังนี้
– ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกรมศุลกากร
– พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของทางราชการ พ.ศ. 2540
– พระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 และระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560
– ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
– ระเบียบว่าด้วยการรักษาความลับของทางราชการ พ.ศ. 2544
– ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการลาของข้าราชการ พ.ศ. 2555
– การเขียนหนังสือราชการ
– ความรู้ด้านภาษาอังกฤษ
เจ้าพนักงานศุลกากรปฏิบัติงาน
หลักสูตรและวิธีการสอบแข่งขันเพื่อวัดความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง
ทดสอบเพื่อวัดความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง โดยวิธีการสอบข้อเขียน จำนวน 100 ข้อ (คะแนนเต็ม 200 คะแนน) ดังนี้
– ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกรมศุลกากร
– ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2560
– ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
– ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการค้าระหว่างประเทศ
– ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
– ความรู้เกี่ยวกับสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง
– ความรู้ด้านภาษาอังกฤษ
วิธีการสมัครงานข้าราชการ กรมศุลกากร :สมัครทางอินเทอร์เน็ต
ผู้ประสงค์จะสมัครสอบ สมัครได้ทางอินเทอร์เน็ตเท่านั้น ตั้งแต่วันที่ 8 ก.พ. – 2 มี.ค. 2564 ตลอด 24 ชั่วโมง ไม่เว้นวันหยุดราชการ
ดาวน์โหลดไฟล์ “กรมศุลกากร
แผนที่ ประกาศ 1 | เว็บรับสมัคร |